แนวโน้ม ในการใช้พลังงาน

ชีวิตและวิถีชีวิต เศรษฐกิจและชุมชน ขึ้นอยู่กับพลังงานที่หาง่าย เชื่อถือได้ และราคาย่อมเยา เพื่อที่จะเจริญรุ่งเรืองและเติบโต ปัจจุบัน ผู้คนเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ผู้คนมากขึ้นได้รับโอกาสที่ดีกว่าเดิม รวมทั้งมีสุขภาพและมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

พลังงานส่วนใหญ่ที่เราใช้ในปัจจุบันมาจากน้ำมันและถ่านหิน และมาจากก๊าซธรรมชาติมากขึ้น ไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้ให้พลังงาน ความร้อน และความเย็นกับครัวเรือนและสถานที่ทำงาน รวมถึงเป็นเชื้อเพลิงของระบบการขนส่งที่พาเราไปทำงานหรือโรงเรียนหรือพาเราไปยังจุดหมายปลายทางในวันหยุดพักผ่อน พลังงานเหล่านี้ช่วยให้อุตสาหกรรมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเราสามารถดำเนินต่อไปได้และเป็นวัตถุดิบสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่เราซื้อ เช่น อุปกรณ์ที่คุณใช้อ่านเนื้อหาหน้านี้

ความต้องการพลังงานทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นและมาตรฐานความเป็นอยู่ที่สูงขึ้น

ภายในปี 2050 คาดการณ์ว่าจำนวนประชากรบนโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 9 พันล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเกือบ 2 พันล้านคน ผู้คนมากมายในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่จะกลายเป็นชนชั้นกลางของโลก คนเหล่านี้จะซื้อตู้เย็น เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ที่ใช้พลังงาน และจะมีคนอีกมากมายซื้อรถ เพิ่มจำนวนรถบนท้องถนนมากขึ้นกว่าเดิมเกินสองเท่า

เมืองต่าง ๆ ของเราจะมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณสามในสี่ของประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในเมืองภายในกลางศตวรรษนี้ ซึ่งเพิ่มความกดดันด้านทรัพยากรอาหาร แหล่งน้ำ และพลังงานที่จำเป็นสำหรับความเป็นอยู่ที่ดีและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของเรา

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับงานของเชลล์สำหรับเมืองในอนาคต

ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องกันว่า ความต้องการพลังงานทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มเป็นสองเท่าภายในปี 2050 เมื่อเทียบกับระดับของปี 2000 ในเวลาเดียวกัน การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ยิ่งสำคัญมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

การรับมือความท้าทายเหล่านี้ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในระบบพลังงานของโลกและแหล่งพลังงานใหม่ เนื่องจากระบบพลังงานมีขนาดใหญ่มากและความต้องการพลังงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องใช้ความพยายามร่วมกันอย่างมหาศาล

อนาคตของพลังงานสะอาด

เชลล์เตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายของพลังงานคาร์บอนต่ำในอนาคตมาระยะหนึ่งแล้วผ่านการจำลองสถานการณ์

New Lens Scenario ของเราอธิบายถึงอนาคตที่อาจเป็นไปได้ ซึ่งแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมสามารถให้พลังงานได้ถึง 40% ของพลังงานทั่วโลกภายในปี 2060 และดวงอาทิตย์จะกลายเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลกที่ใหญ่ที่สุดในทศวรรษต่อมา

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบบจำลองสถานการณ์ของเชลล์และดาวน์โหลดสำเนา

แนวโน้ม ในการใช้พลังงาน

สถานการณ์พลังงานไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 การใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นสุดท้าย เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศเริ่มฟื้นตัวรวมถึงการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ของภาครัฐ ซึ่งการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นในทุกประเภทพลังงาน โดยเฉพาะการใช้ลิกไนต์ในภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ขณะที่ความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้น ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.8 จากการใช้ LNG ที่ลดลงในภาคการผลิตไฟฟ้าเพื่อรักษาระดับต้นทุนราคาไฟฟ้าให้เหมาะสมตามนโยบายของรัฐบาล สำหรับสถานการณ์พลังงานรายเชื้อเพลิงไตรมาสแรกของปี 2565 สรุปได้ดังนี้

  • การใช้น้ำมันสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 โดยการใช้น้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 เป็นผลจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น และนโยบายการตรึงราคาให้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร ของรัฐบาล การใช้น้ำมันเบนซิน ลดลงร้อยละ 5.7 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ประกอบกับราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินที่อยู่ในระดับสูง สำหรับการใช้น้ำมันเครื่องบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.7 เป็นผลมาจากมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ การผ่อนคลายมาตรการการบินและการเดินทางเข้า – ออกประเทศ โดยเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ฉีดวัคซีนครบแล้วแบบไม่กักตัวและไม่จำกัดพื้นที่ (Test & Go) ส่วนการใช้ น้ำมันเตา เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 โดยส่วนใหญ่เป็นการใช้ในภาคขนส่ง และอุตสาหกรรม การใช้ LPG (โพรเพน และบิวเทน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เป็นผลมาจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง
  • การใช้ก๊าซธรรมชาติ ลดลงร้อยละ 3.4 จากการใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม และการใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในขณะที่การใช้ในภาคอุตสาหกรรม และการใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ (NGV) เพิ่มขึ้น
  • การใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 ส่วนใหญ่เป็นการใช้ที่เพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรม และเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
  • การใช้ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 โดยเฉพาะในสาขาครัวเรือน ธุรกิจ และอุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องกับเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น เป็นผลมาจากการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19

สำหรับแนวโน้มการใช้พลังงานปี 2565 ซึ่ง สนพ. ได้มีการพยากรณ์โดยอ้างอิงสมมุติฐานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะขยายตัวร้อยละ 2.5 – 3.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ แนวโน้มการขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้าตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก รวมทั้งการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวภายหลังจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยอนุญาตให้กลุ่มชาวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนครบแล้วไม่ต้องกักตัว รวมทั้งการผ่อนคลายมาตรการการเดินทางระหว่างประเทศของประเทศต้นทางนักท่องเที่ยว

ซึ่งความต้องการพลังงานขั้นต้น ปี 2565 นั้น คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 2,034 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับปี 2564 ตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มฟื้นตัวและการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับนโยบายเปิดประเทศของไทยและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าการใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภท ยกเว้นก๊าซธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบจากราคาก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบระหว่างรัสเซียและยูเครนทำให้เกิดความไม่แน่นอนของอุปทานในตลาด อย่างไรก็ตาม สนพ. ยังคงจับตาสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 และสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ ซึ่งยังเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อราคาพลังงานในตลาดโลกที่ยังต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด

- Advertisment -

แนวโน้ม ในการใช้พลังงาน

………………………..

Advertisment

แนวโน้ม ในการใช้พลังงาน