การ บริหาร งาน คลัง และ งบประมาณ หมาย ถึง

การบรหิ ารการคลงั และงบประมาณ

เสนอ
อาจารย์ วชริ วิชญ์ วรชษิ ณพุ งศ์

จัดทำโดย

๑. นายธนนนั ท์ พันธ์ทอง รหสั นักศึกษา ๖๔๑๗๗๗๐๑๑
๒. นางสาวเปรมณิการ์ อปุ ละ รหัสนกั ศกึ ษา ๖๔๑๗๗๗๐๑๓
๓. นางสาวนวลฉวี นาคอื รหสั นกั ศกึ ษา ๖๔๑๗๗๗๐๒๘
๔. นางสาวจรรยารัตน์ อิน่ ใจ รหัสนักศกึ ษา ๖๔๑๗๗๗๐๒๙
๕. นางสาวสวุ นันท์ สีมาฤทธิ์ รหัสนกั ศึกษา ๖๔๑๗๗๗๐๓๔
๖. นายสุวรรณ จันตะ๊ คาด รหสั นกั ศกึ ษา ๖๔๑๗๗๗๐๓๘
๗. นายนนทนัตท์ เยเซาะ รหัสนักศกึ ษา ๖๔๑๗๗๗๐๓๙
๘. นางสาวสชุ าดา คำมอย รหัสนักศึกษา ๖๔๑๗๗๗๐๔๓

รายงานเลม่ น้ีเปน็ สว่ นหนึ่งในรายวิชา PHA๑๔๐๑ วิชา ความรเู้ บื้องตน้ ทางรัฐประศาสนศาสตร์
ภาคเรียนท่ี ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๔

สำนักวิชารฐั ศาสตรแ์ ละรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เชยี งราย

การบริหารการคลังและงบประมาณ

เสนอ
อาจารย์ วชิรวิชญ์ วรชษิ ณพุ งศ์

จัดทำโดย

๑. นายธนนนั ท์ พนั ธ์ทอง รหัสนกั ศึกษา ๖๔๑๗๗๗๐๑๑
๒. นางสาวเปรมณิการ์ อุปละ รหสั นักศกึ ษา ๖๔๑๗๗๗๐๑๓
๓. นางสาวนวลฉวี นาคอื รหสั นักศกึ ษา ๖๔๑๗๗๗๐๒๘
๔. นางสาวจรรยารัตน์ อ่ินใจ รหัสนักศกึ ษา ๖๔๑๗๗๗๐๒๙
๕. นางสาวสวุ นันท์ สีมาฤทธ์ิ รหสั นกั ศกึ ษา ๖๔๑๗๗๗๐๓๔
๖. นายสวุ รรณ จันต๊ะคาด รหัสนกั ศกึ ษา ๖๔๑๗๗๗๐๓๘
๗. นายนนทนัตท์ เยเซาะ รหสั นกั ศึกษา ๖๔๑๗๗๗๐๓๙
๘. นางสาวสชุ าดา คำมอย รหัสนกั ศกึ ษา ๖๔๑๗๗๗๐๔๓

รายงานเล่มน้ีเปน็ ส่วนหนึ่งในรายวิชา PHA๑๔๐๑ วชิ า ความรเู้ บ้ืองต้นทางรัฐประศาสนศาสตร์
ภาคเรยี นท่ี ๑ ปกี ารศึกษา ๒๕๖๔

สำนักวชิ ารัฐศาสตรแ์ ละรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏเชยี งราย

คำนำ

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ความรู้เบื้องต้นทางรัฐประศาสนศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะ
ศึกษาหาความรูใ้ นเรื่อง แนวคิดเกี่ยวกับการบรหิ ารการคลังและงบประมาณ วัตถุประสงค์ของนโยบายการคลงั
รายได้ของรัฐบาล ภาษีอากร นโยบายงบประมาณแผ่นดิน ปัญหาของการบริหารการคลังและงบประมาณ
ความสำคัญของการกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกกรองส่วนท้องถิ่น ความสำคัญของบริหารการเงินการ
คลังขององคก์ รปกครองส่วนท้องถิ่น กรอบแนวคิดและปัญหาและการกระจายอำนาจทางการคลัง ใหแ้ ก่องค์กร
ปกครองสว่ นท้องถิ่น

ทั้งนี้ เนื้อหาได้มีการศึกษารวบรวมจากหนังสือและบนอินเทอร์เน็ต ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ท่าน
กรณุ าใหค้ วามแนะนำแกไ้ ขเนอื้ หาขอ้ ผดิ พลาดตา่ งๆ และคำแนะนำตลอดการจัดทำ ผจู้ ดั ทำหวังว่ารายงานฉบับ
นี้คงมีประโยชน์ตอ่ ผู้ที่นำไปให้ให้เกิดผลสัมฤทธ์ิตามความคาดหวัง หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด
ผ้จู ดั ทำขอนอ้ มรบั ไวแ้ ละขออภยั มา ณ ทีน่ ี้ดว้ ย

คณะผู้จดั ทำ
๕ ตลุ าคม ๒๕๖๔

สารบญั ข

เรือ่ ง หนา้
คำนำ ก
สารบญั ข
บทท่ี ๑ การบรหิ ารงานคลงั สาธารณะ ๑

แนวคิดเกี่ยวกบั การบรหิ ารการคลงั และงบประมาณ ๑
ความหมายของการบริหารการคลงั ๓
ระบบการบริหารการคลัง ๕
ประวัตกิ ารบริหารงานคลงั ของประเทศไทย ๖
บทบาทในทางเศรษฐกจิ การบรหิ ารงานคลังของรัฐบาล ๗
นโยบายการบรหิ ารงานคลงั ๘
การบริหารงานคลังสาธารณะ
สรปุ ๑๗
บทท่ี ๒ การบริหารงานงบประมาณ 19
ความหมายของงบประมาณ 19
ความสำคัญของงานงบประมาณ ๒3
หลักการบริหารงบประมาณ ๒5
รปู แบบของงบประมาณ ๒6
ลกั ษณะของงบประมาณทีด่ ี 28
ขอ้ ดีของงบประมาณ 29
ข้อจำกัดของงบประมาณ ๓0
สรุป ๓2
บทที่ ๓ นโยบายงาบประมาณ ๓3
การแบง่ ประเภทตามนโยบายงบประมาณ ๓3
การแบ่งตามประเภทของงบประมาณ ๓5
สรปุ 38

บทท่ี ๔ วา่ ดว้ ยเร่อื งภาษีอากร ค
ความหมายของภาษอี ากร
วตั ถปุ ระสงคข์ องการจดั เกบ็ ภาษอี ากร 39
ประเภทของภาษอี ากร 39
ฐานภาษี 40
สรุป 42
๔3
บทท่ี ๕ การจดั เก็บภาษีเงนิ ไดบ้ ุคคลธรรมดา 45
หลกั การจัดเกบ็ ภาษเี งนิ ไดบ้ คุ คลธรรมดา 46
ความหมายและแหล่งทมี่ าของเงนิ ได้ 46
ฐานภาษแี ละอัตราภาษี 47
สรปุ 49
51
บทท่ี ๖ การกระจายอำนาจทางการคลัง 52
การคลงั ทอ้ งถิ่น 52
การพฒั นาศกั ยภาพการคลงั ท้องถน่ิ 54
การกระจายอำนาจทางการคลงั 55
ความหมายของการกระจายอำนาจทางการคลังและการบรหิ ารการคลังทอ้ งถิน่ 56
สรุป 58
59
บทที่ ๗ การคลงั ท้องถิ่น 59
ความหมายของการคลงั ท้องถนิ่ 60
วัตถปุ ระสงค์ของการคลังท้องถ่นิ 60
ประเภทรายได้ของทอ้ งถ่นิ 62
รายจ่ายทอ้ งถิน่ 63
ปจั จัยท่ีมอี ทิ ธพิ ลต่อฐานะทางการคลังท้องถ่นิ 64
ปัญหาสำคญั ทางการคลังทอ้ งถ่นิ 65
โครงสรา้ งรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่นิ ตามกฎหมายกำหนดแผนและ
ขนั้ ตอนการกระจายอำนาจใหแ้ กอ่ งคก์ รปกครองสว่ นท้องถิ่น 67
สรปุ

บทที่ ๘ การบริหารคลงั และงบประมาณของรัฐบาลประยทุ ธ์ ง
โครงการคนละครึ่ง
โครงการเราชนะ 68
ม.๓๓ เรารักกนั 68
69
บรรณานุกรม 69
70

บทท่ี ๑
การบรหิ ารงานคลังสาธารณะ

การคลัง การหารายได้หรือการกระทำกิจกรรมของรัฐบาลเพื่อนำมาใช้จ่ายประโยชน์แก่ส่วนรวมในรูป
ของงบประมาณแผ่นดนิ และรวมถงึ การก้ยู ืมเงินมาใชจ้ ่ายภายในประเทศ ในบทนี้มเี น้อื หาหลักดังนี้ ๑) แนวคิด
เกี่ยวการบริการการคลงั มีรายละเอยี ดในเก่ยี วกับความหมายของการบรหิ ารการคลัง ระบบการบริหารการคลัง
นโยบายการคลัง และนโยบายงบประมาณแผ่นดิน ๒) ปัญหาของการบริหารการคลังและงบประมาณ มี
รายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาการจัดสรรทรัพยากร ปัญหาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ ปัญหาการว่างงาน
ปัญหาการกระจายรายได้และปัญหาคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อม และ ๓) เครื่องมือทางการคลัง มี
รายละเอยี ดเกีย่ วกับการบรหิ ารรายได้ภารรัฐ การบริหารรายจ่ายภาครฐั และการบริหารหนี้สาธารณะ

แนวคดิ เกย่ี วกบั การบริหารการคลังและงบประมาณ
การคลังเป็นการศึกษาถึงหลักการและวิธีจัดหารายรับ (government revenue) การใช้จ่ายของ

รัฐบาล (government expenditure) หนี้ของรัฐบาลหรือหนี้สาธารณะ (government debt or public
debt) นโยบายการคลัง (fiscal policy) และการบริหารการคลัง (financial administration) ซึ่งกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจต่าง ๆ เหล่านี้เป็นกิจกรรมที่ส่งผลต่อการใช้ทรัพยากร การบริโภคและการผลิตของประชาชนอย่าง
รอบดา้ น
ความหมายของการบรหิ ารการคลงั

การคลัง ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Finance ถ้าใช้ในความหมายของการบริหารงานคลังของ
รัฐบาลจะตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Public Finance Administration ส่วนการบริหารงานคลังของเอกชน
จะตรงกำคำในภาษาอังกฤษวา่ Money Administration หรือ Finance

การคลัง เป็นการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านการเงินของรัฐบาล ซึ่งในทางปฏิบัติจะ
เกี่ยวข้องกับรายได้ของรัฐบาล (Government Revenue) ที่ได้มาจากภาษีอากรและแหล่งรายได้อื่น ๆ
รายจ่ายรัฐบาล (Government Expenditure) หนี้ของรัฐบาล (Government Debt) หรือหนี้สาธารณะ
(Public Debt) และนโยบายการคลัง (Fiscal Policy)

บุญชนะ อัตถากร1 (๒๕๑๖ : ๔๓๒) ให้ความหมายการคลังภาคสาธารณะว่า เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ โดยแบง่ ปญั หาเปน็ ๔ ประการ ดงั นี้

๑.ปญั หาการจัดสรรทรัพยากร
๒.ปัญหาการกระจายรายไดข้ องประชาชาติ
๓.ปญั หาการทำใหค้ นมงี านท

1 บุญชนะ อตั ถากร. (2516). เศรษฐกิจและการบรหิ ารการคลัง. กรงุ เทพฯ: โอเดียนสโตร์.

๔.ปัญหาเสถยี รภาพของระดับราคาและการพฒั นาเศรษฐกจิ
อรัญ ธรรมโน2 (๒๕๔๘ : ๑) ให้ความหมายของการคลังสาธารณะว่า เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรม
ด้านการใชจ้ ่าย การหารายได้ การกอ่ หน้ี และการใชน้ โยบายการคลัง
ดเิ รก ปัทมสิรวิ ฒั น3์ (๒๕๕๐ : IV) ใหค้ วามหมายการคลงั สาธารณะวา่ จะเรยี กวา่ การคลังรฐั บาล หรือ
การคลังสาธารณะ ก็มีความหมายใกล้เคียงกัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องของภาษีอากร การใช้จ่ายภาครัฐ และการ
จัดสรรงบประมาณ ซึ่งนับรวมรายจ่ายของรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น การคลงั
สาธารณะจึงเกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจที่เน้นบทบาทของภาครัฐและปฏิสัมพันธ์กับ
ภาคส่วนอ่ืนๆ
ณัฐพชั ร์ สถติ พรธนชยั 4 (๒๕๕๓ : ๑๖) ใหค้ วามหมายการคลังสาธารณะว่า การคลังในสว่ นของรัฐบาล
ซึ่งเก่ียวกับการดำเนินกิจกรรมทางการคลังและ การเงินต่างๆ ของรัฐบาล ประกอบด้วย รายได้รายจ่าย
สาธารณะ ภาษีอากร งบประมาณ หนี้สาธารณะ นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
อยา่ งจำกัดและการนำทรพั ยากรไปใชใ้ หเ้ กิดประโยชน์สูงสุด
Clifford L. James5 ได้อธิบายเกี่ยวกับการคลังสาธารณะเป็นสาขาหนึ่งของเศรษฐศาสตร์ ซึ่งศึกษา
เกี่ยวกบั การแสวงหารายไดแ้ ละการใชจ้ า่ ยเงนิ ของรฐั บาล
พูนศรี สงวนชีพ6 ในภาษาไทยมีคำที่เกี่ยวกับงานคลังหรือการคลังอยู่หลายคำด้วยกัน เช่น การ
บริหารงานคลงั รัฐบาล การบริหารงานคลังสาธารณะ วทิ ยาการคลงั
กล่าวโดยสรุป การคลังสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับรายรับและร่ายจ่าย
และการก่อหนี้ของรัฐบาลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ มีผลกระทบจากกิจกรรมการดำเนินการต่างๆ
ทางการคลังของรัฐบาลที่มีต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม โดยมีขอบเขตเกี่ยวข้องกับงบประมาณแผ่นดิน
การคลังด้านรายรบั การคลังด้านรายจา่ ย และหนี้สาธารณะ

2 อรญั ธรรมโน. (2548). ความรูท้ วั่ ไปทางการคลงั (ฉบบั ปรบั ปรงุ ). กรงุ เทพฯ: ไทยวจิ ัยและฝึกอบรม.
3 ดเิ รก ปทั มสิริวฒั น์. (2550). การคลังเพ่อื สังคม จนิ ตนาการและการวิจยั เพ่ือสงั คมที่ดีกว่า (พมิ พ์คร้งั ที่ 3). กรงุ เทพฯ: พี.เอ. ลฟิ ว่ิง.
4 ณัฐพชั ร์ สถิตพรธนชยั . (2553). การคลงั สาธารณะ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอรเ์ นท็ .
5 Clifford L. James, Principles of Economics, (New York : Barns& Noble, lnc. 1957), p.285.
6 พนู ศรี สงวนชีพ, การบริหารรัฐกจิ เบอื้ งตน้ . พมิ พ์ครัง้ ที่ 9. (กรงุ เทพมหานคร : สำนักพิมพม์ หาวทิ ยาลัยนามคำแหง, 2552) หน้า 260.

ระบบการบริหารการคลัง

พื้นฐานการบริหารการคลังที่มีประสิทธิภาพและสร้างประสิทธิผลต่องานทางด้านการคลัง หน่วยงาน
ภาครัฐจะต้องกำหนดประเด็นสำคัญในการบริหาร ให้แยกออกเป็นขอบข่ายที่สำคัญ ๔ ขอบข่ายดังต่อไปนี้การ
จัดการและการคัดเลือกผู้นำ (Organizational Alignment and Leadership) การจัดการนโยบายและการ
วางแผน (Policies and Processes) การจัดการส่วนบุคคล (Personnel Management) และข้อมูลข่าวสาร
(Information)

๑. การจัดการและการคัดเลือกผู้นำ เพื่อเป็นผู้กำหนดทิศทางการคลังในทุกภาคส่วนจะต้องมีการ
บริหารงานด้าน การจัดซื้อจัดจ้างให้สอดคล้องกับหน่วยงานสอดคล้องกับความต้องการในด้านประโยชน์และ
สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของแผนงานหรือแผนกลยุทธ์ รวมทั้งกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบและบทบาท
หน้าที่ให้ชัดเจน ทั้งนี้ผู้นำจะต้องมีความสามารถ ความซื่อสัตย์ และสามารถประสานงานได้ดี ทุกภาคส่วนของ
หนว่ ยงานภาครัฐ

๒. การจัดการนโยบายและการวางแผน จะต้องใช้หลักการเชิงกลยุทธ์เข้ามาเป็นฟันเฟืองในการ
ขับเคลื่อนมีการประเมิน ผลกระทบภายในองค์การในการจัดสรรงบประมาณและต้องมีการประเมินผลกระทบ
ภายนอกควบคู่ด้วยเช่นกัน เพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพ การคลังจะต้องสร้างความร่วมมือ กับทุกองค์การ
และทกุ หนว่ ยงานท้งั หน่วยงานภาครัฐ และ หนว่ ยงานภาคเอกชนมกี ารจดั การผจู้ ัดจำหน่าย (Supplier) ลดการ
ผูกขาด (Reduce Monopoly) เน้นประสิทธิภาพในการตรวจสอบและการการกำกับดูแลสัญญาใส่ใจในการ
รบั ผดิ ชอบทางการเงิน

๓. การจัดการงานบุคคลการสั่งสมทุนมนุษย์ การสร้างวัฒนธรรมในองค์กร การมีแต่ความซื่อสัตย์และ
มีกระบวนการ กำกบั ดแู ลทมี่ ปี ระสิทธภิ าพมกี ารควบคุมอยา่ งชดั เจน สนบั สนุนการสรา้ งพฤตกิ รรมท่ีมีจริยธรรม
ในการปฏิบัตหิ น้าท่ี

๔. ข้อมูลข่าวสาร การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการข้อมูล มีการติดตามผลการวางแผน
ฐานข้อมูลทางการเงินและระบบนั้นจะต้องให้ง่ายต่อความเข้าใจในระดับผู้บริหาร มีระบบป้องกันและจัดการ
การใหข้ อ้ มูลเปน็ ความลบั

ตัวแบบท่ี ๑ ขอบข่ายการบรหิ ารการคลัง

การจัดการและ นโยบายและการ
การคดั เลือกผนู้ ำ วางแผน

การจดั การงาน ขอ้ มูลข่าวสาร
บคุ คล

สำนักงานบริหารงานทั่วไปของสหรัฐ (U.S. General Accountability Office: GAO) ได้นำเสนอ
กรอบการจัดระเบียบ การบริหารการคลังไว้โดยมีการกำหนดประเด็นสำคัญๆ ที่จะทำ ให้การบริหารการคลัง
ภาครัฐประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย ทั้ง ๔ ขอบข่าย ตามตัวแบบที่ ๑ เช่นกัน และได้กำหนดประเด็น
สำคัญองคป์ ระกอบยอ่ ยและปจั จยั กำหนดความสำเรจ็ ทแี่ ตกตา่ งกัน ดงั แสดงในตาราง7

ประเดน็ สำคญั องค์ประกอบ ปจั จัยกำหนดความสำเรจ็ (Success
(Critical Area) (Elements) Factors)

การจัดการและความ วัตถุประสงค์และความ - ความเหมาะสมในงาน

เป็นผู้นำ ต้องการ - การจดั การภายใต้วตั ถปุ ระสงคต์ ามกลยุทธ์

- กำหนดความรบั ผดิ ชอบและบทบาทท่ีชัดเจน

ดา้ นผู้นำ - ผ้นู ำมคี วามเขม้ แข็งและความสามารถ

- ผู้นำมคี วามซื่อสตั ย์และเป็นแบบอยา่ งทีด่ ี

- ผนู้ ำมีความสามารถในการสอ่ื สาร

นโยบายและขนั้ ตอน การวางแผนกลยุทธ์ - การประเมินความต้องการภายในและผลกระทบจาก
สถานการณ์ภายนอก

การจัดการทีม่ ี - สรา้ งความร่วมมอื กบั องคก์ ารอ่ืน
ประสทิ ธภิ าพ - การจัดการกบั ตัวแทนจำหน่าย

- การตรวจสอบและกำกับดแู ลสญั ญาท่มี ปี ระสทิ ธภิ าพ

- มีความรับผดิ ชอบทางการเงิน

การจดั การบุคลากร การลงทนุ ในทนุ มนุษย์ - การคดั เลอื กพนักงานท่ีเหมาะสมตามความต้องการของ
องคก์ าร

สนับสนุนพฤติกรรมท่ี - กำหนดเปา้ หมายการอบรม

ส่งเสริมจรยิ ธรรม - สนบั สนุนวฒั นธรรมองคก์ ารแห่งความซอื่ สัตยแ์ ละมี

กระบวนการกำกับดูแล

สารสนเทศ ข้อมูลและเทคโนโลยี - การตดิ ตามขอ้ มูลการจดั ซอ้ื จัดจ้าง

เพื่อสนับสนุน - รปู แบบขอ้ มูลการเงนิ ทส่ี ะดวกต่อการใช้งาน

- การวิเคราะห์รายจ่าย

การป้องกันและการเก็บ - การควบคมุ ท่มี ปี ระสิทธภิ าพ

รกั ษาความลบั - ระบบการจัดเก็บและการปอ้ งกนั ขอ้ มูล

7 U.S. Government Accountability Office (GAO). (2005). Assessing the acquisition function at federal agencies. Retrieved
September 8, 2013, from http://www.gao.gov/assets/80/76901.pdf

ประวัติการบรหิ ารงานคลงั ของประเทศไทย

สมยั สุโขทยั

ในสมัยสุโขทัยเปน็ ราชธานนี ัน้ รฐั ใชว้ ธิ ีการระดมทรพั ยากรโดยใช้ระบบส่วยอากร ๔ ชนดิ ได้แก่

๑. จังกอบ คอื ภาษีชนิดหนึง่ เชน่ ภาษปี ากเรอื

๒. อากร คือ ค่าธรรมเนียมที่รัฐเก็บจากสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติหรือสิ่งที่สร้างขึ้น เช่น อากรรังนก
นางแอ่น อากรมหรสพ

๓. ส่วย คือ ของที่เรียกเกบ็ จากทอ้ งถ่ินพื้นเมืองเพ่อื เป็นคา่ ภาคหลวง เช่น เงนิ ชว่ ยเหลอื ราชการ

๔. ฤชา คือ เงินทดแทนการเกณฑ์แรงงานไพร่ที่ผู้ครอบครองทดแทนให้หลวง ในด้านรายจ่ายไม่
ปรากฏว่ามีการจ่ายมากนัก มีการขุดคลองและสร้างถนน แต่ค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็คงเป็นรูปที่ว่า วัสดุสิ่งของจัดหา
มาเองเพราะมีอย่อู ุดมสมบูรณ์ แรงงานกค็ งมีการร่วมแรงกนั และมีการเกณฑร์ าษฎร

สมยั อยธุ ยา

ในสมัยอยุธยาตอนต้นมีการจัดระเบียบการปกครองส่วนกลางเป็นแบบ"จตุสดมภ์" ได้แก่ เวียง วัง คลงั
นา ต่อมาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ได้ปรับปรุงระบบบริหารขึ้นมาใหม่โดยแยกการบริหารราชการออกเป็น
ฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร คือ ให้สมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลเรือน ส่วนสมุหกลาโหมรับผิดชอบด้าน
การทหารและการป้องกันประเทศ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินเกิดขึ้น
ครั้งแรกในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ

สมยั รัตนโกสนิ ทร์

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓ ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องใช้เงินเพ่ือ
การสงครามเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีการเสนอให้นำเอาระบบ "เจ้าภาษีนายอากร" มาใช้เป็นครั้งแรก ซ่ึง
เทียบได้กับการให้สัมปทานบริการสาธารณะ (Public Concession) ในปัจจุบัน กล่าวคือ จะมีการมอบให้เจ้า
ภาษีซักประโยชน์จากการทำกิจกรรมบางอย่างของประชาชน กล่าวอย่างง่าย ๆ ก็คือ ให้ราษฎรรับสัมปทาน
บริการจดั เก็บภาษแี ทนรฐั นั่นเอง

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ไทยถูกบังคับให้ยอมรบั สนธสิ ัญญาเบาร่ิง
ซึ่งสนธิสัญญาดังกล่าวอนุญาตให้ไทยจัดเก็บภาษีขาเข้าได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๓ เท่านั้น ส่วนภาษีขาออกจะ
ตกลงกันเป็นเรอื่ งๆ ไป

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระพุทธเจ้าหลวงหรือรัชกาลที่ ๕) ได้ทรงโปรดให้
ต้งั หอรัษฎากรพพิ ัฒน์ขนึ้ มาในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ด้วยเหตุผล ๔ ประการ

๑. เจา้ ภาษนี ายอากรมีพฤติกรรมไมเ่ หมาะสม

๒. อำนาจในการจดั เก็บภาษีอากรอยู่ในอัตตวสิ ยั ของเจา้ นายบางคน

๓. ระบบบญั ชขี องกรมพระยาคลงั ไมเ่ ป็นระบบระเบียบ

๔. วิกฤตทางการเงินของแผน่ ดิน

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ได้มีการจัดทำ พ.ร.บ. วิธีการ
งบประมาณขน้ึ เปน็ ครงั้ แรกในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ซึ่งถอื เป็นประตไู ปสู่การจดั ทำกฎหมายการใชจ้ า่ ยในแตล่ ะปี

ในปัจจบุ นั หน้าท่ีในทางเศรษฐกจิ ของรัฐตามหลักสากล มี ๔ ประการ ดังนี้

๑. การจดั สรรทรัพยากรของสังคม (Allocation Function)

๒. การกระจายทุ รพั ยากรของสังคม (Distribution Function)

๓. การรักษาเสถยี รภาพทางเศรษฐกจิ (Stabilization Function)

๔. การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Promotion of Economic Growth)

บทบาทในทางเศรษฐกจิ การบริหารงานคลังของรัฐบาล

๑. เนื่องจากทรพั ยากรของชาติมีจำกัด แตค่ วามต้องการของคนมีไมส่ ้ินสุดเพราะฉะนัน้ จำเป็นท่ีรัฐบาล
จะต้องเข้ามาช่วยมีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากรไปใช้เพื่อสนองความต้องการของคนในประเทศให้ได้รับ
ความพอใจสูงสุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะฉะนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาใช้นโยบายการคลังเพ่ือ
จัดสรรทรัพยากรระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน ให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิด
ประโยชน์แกค่ นในสังคมใหม้ ากท่สี ดุ เท่าที่จะมากได้

๒. รฐั บาลจำเป็นตอ้ งเข้ามาแทรกแซงโดยใช้นโยบายการคลงั เพอ่ื ทำใหค้ นในประเทศมีความทัดเทยี ม
กนั โดยการจดั สรรการกระจายรายไดใ้ นสงั คมใหม้ คี วามยตุ ธิ รรมเทา่ เทียมกัน รัฐบาลอาจใชน้ โยบายการคลังให้
มผี ลกระทบต่อระดับรายไดข้ องคนมรี ายได้ต่ำให้มีรายไดม้ ากขนึ้ เพอื่ ไมใ่ หค้ นในสงั คมมีความแตกตา่ งกนั หรอื มี
ความเหลอื่ มล้ำกันมากเกนิ ไป เชน่ อาจใชน้ โยบายภาษโี ดยการจดั เกบ็ ภาษจี ากคนรวยให้มากขึ้น เพอ่ื ไม่ใหม้ ี
รายได้สูงมากเกินไป จนเกดิ ความแตกต่างเหลอื่ มล้ำกันมากจนเกนิ ไป และอาจจะ เก็บภาษีนอ้ ยลง หรอื ยกเวน้
ลดหย่อนภาษสี ำหรบั คนจนเพื่อให้คนจนลมื ตาอ้าปากได้

๓. รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาใช้นโยบายการคลงั ให้มีผลกระทบตอ่ การลงทุนระดับการผลิต การจ้างงาน
และรายได้ประชาชาติให้สูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตโดยรัฐอาจใช้นโยบายการคลัง
คือการวางแผนการเปล่ียนแปลงการใช้จา่ ยของรฐั บาลและการจดั เกบ็ ภาษี

๔. รัฐบาลจำเป็นต้องใช้นโยบายการคลังเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจบรรลุเป้าหมาย มีเสถียรภาพของราคา
ไม่ให้ระดับราคาเพิ่มสูงขึ้นมากเกินไป และอาจใช้นโยบายการคลัง รักษาเสถียรภาพภายนอก เช่น ปัญหา
ดลุ การค้า ดุลการชำระเงิน อัตราแลกเปล่ยี นค่าของเงนิ บาท

๕. มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประเภทที่เอกชนทำไม่ได้หรือไม่อยากทำ แต่มีความจำเป็นต้องมีใน
ระบบเศรษฐกิจ เช่น การป้องกันประเทศ การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรพั ย์สิน เพราะฉะนั้นรัฐจงึ ต้อง
เขา้ มาจดั หาบรกิ ารเหลา่ นใี้ ห้แก่ประชาชน

๖. มีสินค้าและบริการบางอย่างที่ผลิตขึ้นมาแล้วก่อให้เกิดผลกระทบภายนอก (Externality) กล่าวคือ
อาจก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียต่อสังคมโดยส่วนรวม เช่น บริการการศึกษาการสาธารณสุข มิใช่จะเป็นผลดีตอ่ ผู้
ไดร้ บั การศึกษาหรือการปอ้ งกันโรคภยั ไข้เจ็บเท่านัน้ หากแต่จะเป็นผลดตี ่อบุคคลอ่ืนๆในสังคมอีกด้วย หรือการ

ผลิตเหล้าขายย่อมจะเป็นผลเสียต่อสังคมส่วนรวมเช่นกัน ฉะนั้น รัฐบาลจึงต้องเข้ามาแทรกแซงหรือ ควบคุม
การผลิตสินคา้ และบริการดงั กลา่ ว

๗. กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางอย่างต้องใช้จำนวนเงินทุนมหาศาลในการลงทุนผลิตเอกชนไม่สามารถ
ทำได้ หรือทำได้แต่อาจจะต้องเป็นกิจการผูกขาด เช่น การผลิตไฟฟ้า น้ำประปา เพราะฉะนั้นรัฐต้องเข้ามา
ดำเนนิ การ

๘. ในกรณีที่ระบบเศรษฐกิจมีผู้ผลิตรายเดียว หรือมีผู้ผลิตน้อยราย ตลาดสินค้าจะเป็นตลาดผูกขาด
ของผู้ขาย ผู้ผลิตสามารถที่จะกำหนดราคาตามใจชอบได้ อาจจะมีการเอากำไรจนเกินควร เพราะฉะนั้นรัฐบาล
ควรเข้ามาดำเนินการและส่งเสริมใหเ้ กดิ การแข่งขันในระบบเศรษฐกจิ

นโยบายการบรหิ ารงานคลงั

การบริหารงานคลังมีขอบเขตครอบคลุมนโยบายในหลาย ๆ ด้าน เช่น นโยบายการเงิน นโยบายการ
คลัง นโยบายเศรษฐกิจมหาภาค นโยบายหนี้สาธารณะ นโยบายภาษีอากร เป็นต้น โดยสามารถจำแนกได้เป็น
๓ นโยบายใหญ่ๆ คือ

๑. นโยบายการเงิน เป็นนโยบายที่เกี่ยวกับการกำหนดและควบคุมปริมาณเงินให้พอเหมาะกับความ
ต้องการและความจำเป็นในการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งรัฐบาลของประเทศต่างๆ จะ
ดำเนนิ นโยบายการเงนิ ผ่านทางธนาคารกลางแนวทางในการดำเนินนโยบายทางการเงิน มีแนวทางหลักๆ อยู่ ๒
แนวทาง คือ

๑) การควบคุมเชิงปริมาณ คือ การควบคุมปริมาณเงิน เช่น การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสดสำรองของ
ธนาคารพาณชิ ย์ เป็นต้น

๒) การควบคมุ เชิงคุณภาพ เช่น การจำกัดสินเช่อื การเขม้ งวดในการปลอ่ ยสนิ เชอ่ื เป็นตน้

หน่วยงานหลักที่มีอำนาจหน้าที่และดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลังด้านนโยบายการเงิน ก็คือ
ธนาคารแห่งประเทศไทย

๒. นโยบายเศรษฐกิจ เป็นนโยบายที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
โดยรวม เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และกระตุ้นให้เกิดเสรีภาพทางเศรษฐกิจ และเพื่อรักษาความ
ยตุ ธิ รรมทางเศรษฐกจิ

๓. นโยบายการคลงั แบ่งออกเป็น ๒ ภาค คอื

๑) ภาครายรับ จะเป็นเรื่องของภาษีอากร การค้ำประกัน การก่อหนี้สาธารณะการออกพันธบัตร
รัฐบาล เปน็ ตน้

๒) ภาครายจ่าย จะเป็นเรื่องของงบประมาณแผ่นดิน หรือแผนการใช้เงินซึ่งเป็นแผนเบ็ดเสร็จที่แสดง
โครงการในการดำเนินงาน เป้าหมายวัตถุประสงค์ และจำนวนเงินที่ต้องการใช้ โดยมีการกำหนดระยะเวลาใน
การดำเนินงานดว้ ย

หน่วยงานหลักที่มีอำนาจหน้าที่และดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลังภาครายจ่าย คือ สำนัก
งบประมาณ

ส่วนหน่วยงานหลักที่มีอำนาจหน้าที่และดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลังภาครายรับ ก็คือ
กระทรวงการคลงั

ปัจจุบนั วิชาการบรหิ ารงานคลงั มีความสำคัญมากขน้ึ เนอ่ื งมาจากสาเหตุ ๑๐ ประการ คือ
๑. ขอบเขตหนา้ ท่ีของรฐั บาลใหญ่โตข้นึ
๒. โครงการใช้จ่ายของรัฐบาลกระทบกระเทือนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศและ
กระทบกระเทอื นการตดั สินใจในการจา่ ยของเอกชนอย่างมาก
๓. รัฐบาลได้กลายเป็นผู้ใช้จ่ายเงินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อการจ้างงาน
และการผลติ ภายในประเทศ
๔. การใช้จ่ายเงินของรัฐบาล มสี ่วนสำคญั มากที่จะกอ่ ให้เกิดภาวะเงนิ เฟ้อหรือเงนิ ฝดื
๕. รัฐใช้จ่ายมากจึงต้องเก็บภาษีจำนวนมาก ซึ่งเป็นการลดอำนาจซื้อหรือลดสวัสดิการทางเศรษฐกิจ
ของเอกชน
๖. การผันแปรทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นไปอย่างรุนแรงกว่าอดตี
๗. จำเป็นจะต้องยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนที่ต่ำกว่ามาตรฐาน และสร้างความเจริญใน
ประเทศดอ้ ยพัฒนา โดยการใช้จ่ายหรือการคลงั ของรฐั บาล
๘. รัฐบาลต้องใช้จ่ายเงินมากขึ้นก็ต้องก่อหนี้มากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาแก่รัฐบาลประชาชนและอำนาจ
ซอ้ื ของเงินในอนาคตด้วย
๙. รัฐบาลจะต้องพยายามหาวิธีการที่ เหมาะสมที่ จะหารายได้ และในขณะเดียวกันก็จะต้องพยายาม
ไม่ให้มีการทำลายการทำงานและการลงทนุ ดว้ ย
๑๐. รัฐบาลจะต้องขจัดความเหลื่อมล้ำต่ำสูงในการแบ่งสรรรายได้และทรัพย์สินในสังคมให้เกิดความ
เป็นธรรม

การบรหิ ารงานคลงั สาธารณะ
การบรหิ ารงานคลงั สาธารณะ แบง่ ออกเปน็ ๗ หวั ข้อ ดงั น้ี

๑. การบรหิ ารและการแบ่งส่วนราชการของกระทรวงการคลงั
การบริหารและการแบง่ ส่วนราชการของกระทรวงการคลงั แบ่งไดด้ งั นี้
๑. สำนักงานรฐั มนตรี

๒. สำนกั งานปลดั กระทรวง
๓. กรมธนารักษ์ มีหน้าที่เก็บรักษาแสตมป์ฤชาและทรัพย์สมบัติเงินคงคลังจัดทำเหรียญที่ระลึก
เครอ่ื งราชอิสรยิ าภรณ์ ซอ่ มแซมห้องและตูเ้ ซฟของคลงั จงั หวัดทัว่ ประเทศ
๔. กรมบัญชีกลาง มีหน้าที่ดูแลควบคุมการรับจ่ายและการเก็บรักษาเงินแผ่นดิน ทั้งที่เป็นเงินในและ
นอกงบประมาณ การบริหารหนส้ี าธารณะ ควบคุมรัฐวิสาหกจิ เป็นต้น
๕. กรมศุลกากร มีหน้าที่เก็บภาษีขาเข้าและขาออก ป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีภาษี
ศลุ กากร เป็นต้น
๖. กรมสรรพสามิต มีหน้าท่เี กบ็ ภาษีสุรา ยาสูบ น้ำมัน และผลิตภัณฑ์น้ำมนั เครื่องดืม่ ชเี มนต์ ไม้ขีดไฟ
ยานตั ถุ์ ไพ่ เป็นตน้
๗. กรมสรรพากร มหี น้าท่ี ๓ ประการ คือ

(๑) จดั เกบ็ ภาษตี ามประมวลรัษฎากร
(๒) จดั เก็บภาษตี ามกฎหมายอื่นทไี่ ด้รบั มอบ
(๓) ศกึ ษาคน้ คว้าและปรบั ปรุงการบริหารและการจัดเก็บภาษีอากร
๘. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่บริหารและกำกับดูแลรายได้จากรัฐพาณิชย์
อันได้แก่ รายไดจ้ ากผลกำไร เงนิ ปันผล จากองคก์ รของรัฐบาลรฐั วิสาหกจิ องคก์ รท่ีรฐั กำกับดแู ลหรือถือหุ้นเกิน
กวา่ รอ้ ยละ ๕๐
๙. สำนกั บริหารหนี้สาธารณะ
๑๐. สำนกั เศรษฐกิจการคลงั
๒. ท่ีมารายไดข้ องรัฐบาล
ตามวิธีการงบประมาณของไทย รายรับของรัฐบาล (Government receipt) จะประกอบด้วย ๓ ส่วน
ได้แก8่
๑.รายไดข้ องรัฐบาล (Government revenue) สามารถแบ่งเป็น ๒ ส่วนใหญๆ่
(๑) รายไดจ้ ากภาษี (Tax income) เชน่ ภาษเี งนิ ได้ ภาษสี รรพสามติ ภาษกี ารคา้
(๒) รายไดท้ ่ีไมใ่ ชจ่ ากภาษี (Non-Tax income) แบง่ ได้ ๓ ส่วน
๑) รายไดจ้ ากการขายสินคา้ และบริการ เชน่ รายได้จากการขายสินคา้ ของกรมราชทัณฑ์ น่คี ือ
รายไดข้ องรัฐบาลจากการขายสินคา้

8 เกรกิ เกยี รติ พิพฒั นเ์ สรธี รรม, การคลังว่าดว้ ยการจัดสรรและการกระจาย, พมิ พ์ครงั้ ท่ี 8, (กรงุ เทพมหานคร : มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์,
2546), หน้า 52.

๑๐

๒) รายได้จากรัฐวิสาหกิจ หมายถึงรายได้จากกิจการที่รัฐมิหุ้นอยู่ เช่น มีหุ้นอยู่ใน
ธนาคารกรงุ ไทย

๓) รายไดเ้ บด็ เตล็ดอ่นื ๆ เช่น ค่าปรับ ค่าแสตมป์

๒. เงินกู้ของรัฐบาล หรือหนี้สาธารณะ (Public Debt) รัฐอาจกู้จากในประเทศ และต่างประเทศก็ได้
เช่น การกจู้ ากในประเทศ กูโ้ ดยวธิ ี

(๑) การขายพนั ธบตั รรัฐบาล

(๒) การกู้จากธนาคารกลาง (ธนาคารแหง่ ประเทศไทย)

(๓) การกู้จากธนาคารออมสินถ้ากู้จากต่างประเทศก็กู้ได้จากเอกชนหรือสถาบันการเงิน
ตา่ งประเทศ

๓. เงินคงคลงั (Treasury cash balances) ต้องดูทีเ่ งินคงคลังตอนต้นปี และปลายปโี ดยเอาเงนิ คงคลงั
ปลายปตี ง้ั แลว้ ลบดว้ ยเงินคงคลังตน้ ปี กจ็ ะไดเ้ งนิ คงคลังที่เปล่ียนแปลงในรอบระยะ ๑ ปนี น้ั

๓. ภาษีอากร (Taxation)

อรัญ ธรรมโน ได้อธิบายเกี่ยวกับภาษีอากรว่า ภาษีอากร คือสิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากข้าราชการ โดย
มิได้มีสง่ิ ตอบแทนแกผ่ ู้เสียภาษีอากรโดยตรง

โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์9 อธิบายว่าภาษีอากรคือเครื่องมือทางการคลังที่สำคัญที่สุดของรัฐบาลในการหา
รายได้ เพอื่ การใช้จา่ ยของรัฐบาล

รังสรรค์ ธนะพรพันธ์10 ได้ให้ความหมายภาษีอากรไว้ว่า ภาษีอากรคือเงินที่เรียกเก็บจากบุคคล
ทรพั ยส์ นิ หรือธุรกจิ เพ่อื การสนับสนุนรัฐบาล

ภาษีอากร หมายถึง เงินท่ีรัฐบาลเรียกบังคับจัดเก็บจากประชาชนเพื่อนำไปใช้จ่ายในกิจการสาธารณะ
หรือกจิ กรรมต่าง ๆ ของประเทศโดยสว่ นรวม โดยรัฐไม่จำเป็นจะต้องมสี ่ิงตอบแทนโดยตรงแก่ผู้ชำระภาษีอากร
และเพื่อท่ีจะลดการใชจ้ า่ ยของประชาชนด้วย ทั้งนี้ภาษีอากรยังถือเป็นเครื่องมอื หลักในการหารายได้ของรฐั อกี
ดว้ ย

ลักษณะสำคญั ของภาษีอากร คอื

๑. เปน็ การชำระสง่ิ อนั เป็นทรัพย์สิน เปน็ เงนิ สดหรืออาจจะเปน็ ทรัพยส์ ินในรูป

๒. เปน็ เคร่ืองมอื ทางการคลังท่ีสำคัญที่สุดในการหารายได้ของรฐั

๓. เป็นแหล่งรายได้หลกั ของรฐั

๔. รัฐมอี ำนาจบงั คบั จัดเกบ็ โดยกฎหมายแต่ฝา่ ยเดียว

9 โฆษติ ป้ันเปี่ยมรษั ฎ์, นโยบายภาษีอากรและการพฒั นาเศรษฐกจิ , (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพอ์ กั ษรสัมพันธ์, 2555), หนา้ 31.
10 รงั สรรค์ ธนะพรพันธ์, ทฤษฎีการภาษีอากร. (กรุงเทพมหานคร : กรงุ สยามการพมิ พ์, 2546), หน้า 10.

๑๑

๕. รฐั ไมต่ ้องตอบแทนในเชิงประโยชน์โดยตรงแกผ่ บู้ งั คบั ให้เสียภาษี

๖. ภาษอี ากรท่ไี ด้ รฐั จะนำไปใชเ้ พ่อื กิจกรรมสาธารณะประโยชน์

๗. บคุ คลเทา่ น้ันทมี่ หี นา้ ที่ในการเสยี ภาษีในฐานะท่เี ปน็ ราษฎรของประเทศ

ความหมายตา่ งๆ ท่ีเกย่ี วกับการภาษีอากร

๑. หน้าที่ในการเสียภาษีอากร (Impact) คือ บุคคลที่มีหน้าที่ในการเสียภาษีอากรตามกฎหมาย
กำหนด

๒. การผลักภาระภาษี (Shifting) หมายถึง ผู้ที่รับภาระในการเสียภาษี แต่สามารถผลักหรือปัดความ
รับผิดชอบในการเสียภาษีไปใหผ้ อู้ นื่ เสยี แทนได้

๓. ภาระของภาษีอากร (Incidence or Burden) คือ บุคคลที่จะต้องรับภาระในการชำระภาษีอากรท่ี
แท้จริง

๔. ผลทางเศรษฐกิจของการเก็บภาษีอากร (Economic Effect) หมายถึง การเก็บภาษีอากรแต่ละ
ประเภทยอ่ มมผี ลกระทบต่อเศรษฐกิจของภาคเอกชน

๕. ฐาน (Base) และอัตรา (Rate) ภาษีอากร ภาษีอากรแต่ละประเภทต้อองมีฐานและอัตราภาษีเพื่อ
นำไปใช้ในการเก็บภาษีอากร เช่น ภาษีเงินได้ก็มีจำนวนเงินได้เป็นฐานในการเรียกเก็บภาษีอากร อัตรา ก็ได้แก่
รอ้ ยละของเงนิ ได้ทจ่ี ะต้องเสยี ภาษีอากร เปน็ ตน้

วตั ถปุ ระสงคข์ องการเกบ็ ภาษีอากร11

๑. เพื่อหารายได้

๒. เพื่อการควบคุมและส่งเสริม

๓. เพอ่ื การแบ่งกระจายทรัพยากร

๔. เพื่อรักษาเสถยี รภาพทางเศรษฐกิจ

ประเภทของภาษีอากร

การแบ่งประเภทของภาษีอากรอาจจะแบง่ ไดห้ ลายวธิ ี12 ดงั น้ี

๑. การแบ่งประเภทของภาษีอากรตามลักษณะของการผลักภาระภาษีอากร ซึ่งโดยวิธีนี้อาจแบ่งภาษี
อากรออกเปน็ ๒ ประเภท คือ

(๑) ภาษีทางตรง (Direct Tax) หมายถึง ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ไม่สามารถที่จะผลักภาระ
ไปยังบุคคลอื่น ๆ ได้ กล่าวคือ ผู้มีหน้าที่ในการเสียภาษีอากรตามกฎหมายต้องรับภาระภาษีไว้เอง
ท้งั หมด ภาษีประเภทนไี้ ดแ้ ก่ ภาษเี งนิ ได้ ภาษีทรพั ยส์ ิน ภาษีมรดก เปน็ ต้น

11 อรัญ ธรรมโน, ความร้ทู ่วั ไปทางการคลงั , (กรงุ เทพมหานคร : บรัษทั บพธิ จำกดั , 2548), หน้า 124-127.
12 สมนึก แตงเจรญิ , การศกึ ษาวิชาการคลงั ใน การคลังของประเทศไทย, (กรงุ เทพมหานคร : โรงพิมพอ์ ักษรสมั พันธ์, 2545), หน้า 53.

๑๒

(๒) ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) หมายถึง ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายสามารถจะ
ผลักภาระภาษีไปยังบุคคลอื่นๆ ได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้รัฐบาลไทยมีรายได้มาจากการจัดเก็บภาษีทางอ้อม
มากที่สุด ภาษีประเภทนีไ้ ดแ้ ก่ ภาษีการขาย ภาษีสรรพสามติ ภาษีศลุ กากร เปน็ ตน้

๒. การแบ่งประเภทของภาษีอากรตามลักษณะฐานของภาษอี ากร กล่าวคอื ภาษอี ากรแตล่ ะประเภทจะ
มีฐานะของมันโดยเฉพาะ เช่น ฐานของภาษีเงินได้ก็ได้แก่เงินได้ฐานของภาษีการขายก็ได้แก่ มูลค่าของปริมาณ
สินค้าที่ขาย ฐานของภาษมี รดกกไ็ ด้แก่ มูลค่ามรดก เป็นตน้

๓. การแบ่งประเภทของภาษอี ากรตามวธิ กี ารประเมนิ ภาษีท่ตี ้องเสยี แบง่ ออกเปน็ ๒ ประเภท คอื

(๑) ภาษที ่เี ก็บตามราคาหรอื มลู คา่ เช่น ภาษรี ายได้ ภาษกี ารขาย ภาษีมรดก เป็นต้น

(๒) ภาษีที่เก็บตามปริมาณ นำ้ หนัก หรือจำนวนสิง่ ท่ีต้องเสยี ภาษี เชน่ อากรแสตมป์

ข้อมูลเพิ่มเติม ภาษีเงินได้แบบติดลu (Negative Income Tax) เป็นระบบการจัดเก็บภาษีที่ช่วยเหลอื
ผู้ที่มีรายได้น้อย โดยแทนที่จะเสียภาษีให้รัฐ รัฐจะจ่ายเงินช่วยเหลือให้แทน ซึ่งเริ่มโดยการกำหนดเส้นความ
ยากจนขึน้ มาก่อน จากนั้นจึงนำรายได้มาพิจารณา ถ้ามีรายได้สูงกว่าเส้นความยากจนก็จะต้องเสียภาษี แตถ่ ้ามี
รายได้น้อยกว่าเสน้ ความยากจน รัฐก็จะจ่ายเงินชว่ ยเหลือให้

หลกั เกณฑ์สำคัญในการจดั เก็บภาษอี ากร มี ๒ ประการ คือ

๑. หลักประโยชน์ (Benefit Principle) เป็นหลักที่ถือว่าบุคคลแต่ละบุคคลควรจะรับภาระภาษีให้ได้
สัดส่วนกับประโยชน์ที่ตนได้รับจากรัฐ ดังนั้นผู้ใดได้รับประโยชน์จากรัฐมากก็ควรเสียภาษีอากรมาก ผู้ใดได้รับ
ประโยชนจ์ ากรฐั น้อยก็ควรเสียภาษอี ากรน้อยผใู้ ดไมไ่ ด้รับประโยชนจ์ ากรฐั ก็ตอ้ งไม่ต้องเสยี ภาษีอากร

๒. หลักความสามารถ (Ability to Pay Principle) เป็นหลักเกณฑ์ที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นธรรม
ที่สุด โดยถือว่าบุคคลทุกคนจะต้องเสียภาษีอากรเพื่อบำรุงรัฐตามความสามารถของตน ซึ่งวัดได้จากรายได้
ทรัพย์สนิ และรายจ่ายเพอื่ การบริโภค

หลกั เกณฑส์ ำคญั ของภาษีอากร ของ Adam Smith มี ๔ ประการ คือ

(๑) หลักความยตุ ธิ รรม (Equity)

(๒) หลกั ความแนน่ อน (Certainty)

(๓) หลกั ความสะดวก (Convenience)

(๔) หลักประหยัด (Economy)

๔. หนส้ี าธารณะ (Public Debt)

พูนศรี สงวนชีพ (๒๕๕๒ : ๒๖๐) หนี้สาธารณะ หมายถึง ข้อผูกพันของรัฐบาลซึ่งเกิดจากการกู้ยืม
โดยตรงและการค้ำประกันเงินกู้โดยรัฐบาล รวมทั้งเงินปริวรรตที่รัฐบาลรับรองด้วย การแบ่งประเภทของหน้ี
สาธารณะ

๑. แบ่งตามระยะเวลาชำระหนี้สาธารณะ แบง่ ออกเป็น ๔ ประเภทคือ

๑๓

(๑) หนีร้ ะยะสัน้ คือ หนท้ี ่ีมีระยะเวลาการไถ่ถอนคืนไมเ่ กนิ ๑ ปี
(๒) หนี้ระยะกลาง คือ หน้ที ม่ี รี ะยะเวลาในการชำระหน้ีคืนภายในระยะเวลา ๑-๕ ปี
(๓) หน้รี ะยะยาว คอื หน้ที ่ีมรี ะยะเวลาในการไถถ่ อน ตงั้ แต่ ๑๐ ปขี ้นึ ไป
๒. แบง่ ตามแหลง่ ทม่ี าของเงนิ กู้ แบง่ ออกเป็น ๒ ประเภท คอื
(๑) หนี้ภายใน ได้แก่ หนที้ ก่ี ูจ้ ากผู้ที่อยูใ่ นประเทศ
(๒) หนีภ้ ายนอก ไดแ้ ก่ หน้ที ่ีกู้จากเอกชนหรอื สถาบันการเงินตา่ งประเทศ
การกเู้ งินของรฐั บาลทม่ี ผี ลทำใหเ้ กดิ การขยายเครดติ ไดแ้ ก่
๑. การกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์
๒. การกเู้ งินจากธนาคารกลาง
๓. การกู้เงินสดจากภายนอกประเทศ
วัตถุประสงค์ของการกูเ้ งนิ มดี งั น้ีคือ
๑. เพอ่ื ใช้จ่ายในโครงการลงทุนของรฐั บาล
๒. เพราะเกบ็ รายได้ไมท่ นั กบั รายจ่าย
๓. เพือ่ รกั ษาดุลระหวา่ งรายได้กับรายจา่ ย
๔. เพ่อื ใช้จา่ ยในกรณีท่มี คี วามจำเปน็ อย่างเร่งด่วน
ภาระของหนีส้ าธารณะ มีอยู่ ๒ สว่ น คอื
๑. ภาระของการใช้คืนเงนิ ต้น
๒. ภาระของการใชด้ อกเบย้ี
๕. การงบประมาณแผ่นดิน (Government Budgeting)
ความหมายของงบประมาณแผน่ ดิน
บุญชนะ อัตถากร13 อธิบายว่า งบประมาณแผ่นดิน คือ แผนใหญ่ทางการคลังของรัฐบาล ซ่ึง
ประกอบดว้ ย
๑. รายไดซ้ ่งึ คาดวา่ จะเก็บได้ คือ วิธกี ารท่ีจะหาเงนิ มาใช้จ่ายในกจิ กรรมต่างๆ
๒. รายจา่ ยซ่ึงกำหนดว่าจะจ่าย คอื บัญชีกำหนดกจิ กรรมตา่ งๆ ซึง่ จะกระทำ

13 บญุ ชนะ อัตถากร, การคลงั , (กรงุ เทพมหานคร : โรงพิมพม์ หาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์, 2548), หน้า 52.

๑๔

Otto Eckstein14 อธิบายว่า งบประมาณแผ่นดิน คือ รายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและรายได้ที่
คาดหวงั ไวข้ องรฐั บาล

ไพศาล ชัยมงคล15 อธิบายว่า งบประมาณแผ่นดิน คือ แผนเบ็ดเสร็จซึ่งแสดงออกในรูปของตัวเงิน
แสดง โครงการดำเนินงานทั้งหมดในระยะเวลาหนง่ึ

ประเทศแรกที่ริเริ่มจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นมาคือ ประเทศอังกฤษ ส่วนประเทศไทยได้เริ่มจัดทำ
งบประมาณแผน่ ดินมาต้ังแต่ พ.ศ. ๒๔๓๓ ในสมัยรัชกาลท่ี ๕

เพราะฉะนัน้ จึงอาจสรปุ ได้วา่ การงบประมาณแผ่นดนิ ประกอบด้วยส่วนสำคญั ๒ สว่ นด้วยกัน คอื 16

๑. แผนการหารายรับ ประกอบดว้ ย การหารายไดแ้ ละการก้เู งิน

๒. แผนการใชจ้ ่าย ไดแ้ ก่ การจัดทำแผนการใช้จ่ายโดยละเอยี ดตามโครงการต่าง ๆ ทีร่ ฐั บาลคาดวา่ จะ
ดำเนนิ การในปีงบประมาณนน้ั ๆ

งบประมาณรายรบั และรายจ่ายของรัฐบาล ตามปกติจะมชี ่วงระยะเวลาเรียกว่า ปีงบประมาณ (Fiscal
Year) เช่น ปีงบประมาณของสหรัฐอเมริกาเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคมของปีปัจจุบัน ไปสิ้นสุดในวันที่ ๓๐
มิถุนายนของปีถัดไป ส่วนปีงบประมาณของไทยเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคมของปีปัจจุบัน ไปสิ้นสุดในวันที่ ๓๐
กันยายนของปีถัดไป โดยใช้ชื่อปีถัดไปเป็นปีงบประมาณ (เช่น ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ จะเริ่มวันที่ ๑ ตุลาคม
๒๕๕๓ ไปสิน้ สุดวนั ท่ี ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔)

การดำเนนิ งานเกยี่ วกับการงบประมาณแผ่นดิน ประกอบดว้ ยขั้นตอนตา่ งๆ ดงั น้ี

๑. การจดั เตรียมงบประมาณ (Budget Preparation)

๒. การอนมุ ัติงบประมาณ (Budget Resolution)

๓. การบรหิ ารงบประมาณ (Budget Execution)

ไพศาล ชยั มงคล นโยบายงบประมาณแผน่ ดนิ มี ๓ ชนิด คือ

๑. นโยบายงบประมาณสมดลุ (Balanced Budget Policy) ได้แก่ งบประมาณ ซึ่งรายได้และรายจ่าย
มีจำนวนเทา่ กัน

๒. นโยบายงบประมาณเกินตุล (Surplus Budget Policy) ไดแ้ ก่ งบประมาณ ซ่งึ รายไดม้ ีจำนวนสูง
กว่ารายจา่ ย

๓. นโยบายงบประมาณขาดดลุ (Deficit Budget Policy) ไดแ้ ก่ งบประมาณ ซึ่งรายจ่ายมีจำนวนสงู
กว่ารายได้

14 Otto Eckstein, Public Finance: Foundations of Modern Economics Series. Englewood Cliffs, (N.J. : Prentice-Hall Inc,
1967), p.21.
15 ไพศาล ชัยมงคล, งบประมาณแผ่นดนิ : ทฤษฎีและปฏิบัติ, (กรงุ เทพมหานคร : บรษิ ัท โรงพิมพ์ ไทยวัฒนาพานชิ จำกดั , 2547), หน้า 19.
16 สมนีก แตงเจริญ, การศกึ ษาวชิ าการคลัง ใน การคลังของประเทศไทย, (กรงุ เทพมหานคร : โรงพมิ พ์อักษรสัมพนั ธ์, 2545), หน้า 38.

๑๕

ประเภทของงบประมาณ แบง่ ออกเป็น ๓ ประเภท คือ
๑. งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line - Item Budget) เป็นงบประมาณแบบเกา่ หรือแบบประเพณี
(Conventional or Traditional Budget) เนน้ ในเร่อื งการควบคุมการใช้จ่ายเงนิ โดยสว่ นกลางเปน็ สำคญั
๒. งบประมาณแบบแสดงแผนงานหรือแบบปฏิบัติการ (Program or Performance Budget) บางที
เรียกว่า งบประมาณแบบจัดการ (Management Budget) เน้นในต้านการบริหารหรือการจัดการเป็นสำคัญ
สหรัฐฯ เป็นประเทศแรกทนี่ ำมาใช้ ซึง่ งบประมาณชนดิ นจ้ี ะจำแนกรายจา่ ยตามลกั ษณะงาน
๓. งบประมาณแบบระบบการวางแผ่น - การวางโครงการ - การทำงบประมาณ (Planning -
Programming - Budgeting System) เรียกย่อ ๆ ว่า PPBS เป็นงบประมาณท่ีเน้นในเรื่องการวางแผนเป็น
สำคญั โดยจะรวมเอาหน้าท่ที ้งั ๓ ประการ คอื การควบคุม การจดั การ และการวางแผนเขา้ ไวด้ ้วยกัน
หมายเหตุ ส่วนงบประมาณแบบล่าสดุ ที่ประเทศไทยใชใ้ นปัจจุบนั กค็ อื งบประมาณแบบมุง่ เน้นผลงาน
ตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance - Based Budget : SPBB) ซึ่งการจัดทำงบประมาณแบบนี้จะเน้น
ความรบั ผิดชอบของผูเ้ กย่ี วข้อง ๓ ระดับ คอื ระดบั รัฐบาล ระดับกระทรวง และระดบั กรม
หลักเกณฑ์สำคัญในการจดั สรรงบประมาณ
ป๋วย อง้ึ ภากรณ1์ 7 ได้เสนอหลักเกณฑ์สำคัญในการจัดสรรงบประมาณแผน่ ดินไว้ ๖ ประการดงั น้ี
๑. หลักคาดการณ์ไกล (Foresight)
๒. หลักประชาธิปไตย (Democracy)
๓. หลักดุลยภาพ (Balance)
๔. หลกั สารตั ถประโยชน์ (Utility)
๕. หลักยตุ ธิ รรม (Equity)
๖. หลกั ประสิทธภิ าพ (Efficiency)
๖. การใช้จ่ายของรัฐบาล (Government Expenditures)
พูนศรี สงวนชีพ18 การใชจ้ ่ายของรัฐบาล อาจแบง่ ออกเป็นประเภทตา่ ง ๆ ได้
๑. การใช้จา่ ยในกจิ การทีผ่ ไู้ ด้รับประโยชนจ์ ะต้องจ่ายคา่ ตอบแทน ไดแ้ กบ่ รกิ ารดา้ นสาธารณูปโภค เช่น
ไฟฟา้ นำ้ ประปา เปน็ ต้น
๒. การใช้จ่ายในทางที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจในระยะยาว เช่น การใช้จ่ายทางด้าน
สาธารณสขุ การศกึ ษา เปน็ ตน้

17 ปว๋ ย องึ้ ภากรณ์, เศรษฐกิจแหง่ ประเทศไทย, (กรุงเทพมหานคร : บริษทั ประมวลมิตร จำกดั , 2543), หนา้ 206-214.
18 พูนศรี สงวนชีพ, การบริหารรัฐกจิ เบ้ืองตน้ . พมิ พค์ รง้ั ที่ 9. (กรุงเทพมหานคร :สำนักพมิ พ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2552), หน้า 295.

๑๖

๓. การใช้จ่ายไปในด้านที่จะทำให้รายได้ประชาชาติ และรายได้จากภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นโดยทางอ้อม
โดยใชจ้ า่ ยไปในดา้ นการให้รกิ าร ด้านการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน เชน่ สวนสาธารณะ เป็นต้น

๔. การใช้จา่ ยท่ไี มก่ อ่ ใหเ้ กดิ ผลผลติ ข้นึ มา เช่น การใช้จ่ายไปในดา้ นการปอ้ งกันประเทศ

๕. การใช้จ่ายไปในด้านการให้ความช่วยเหลือแก่คนบางกลุ่มของสังคม เพื่อเป็นสวัสดิการของสังคม
เช่น การสงเคราะหเ์ ด็กกำพร้า การสงเคราะหค์ นพิการ เป็นต้น

๗. นโยบายการคลงั (Fiscal Policy)

อรัญ ธรรมโน19 ได้อธิบายความหมายของนโยบายการคลังว่า หมายถึงนโยบายในด้านการรับและ
จ่ายเงิน และการกู้เงินสาธารณะ ซึ่งรัฐบาลดำเนินเพื่อที่จะให้มีผลในด้านที่จะช่วยรักษาเสถียรภาพและ
ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศ

นโยบายการคลัง หมายถึง นโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการหารายได้และใช้จ่ายเงินเพื่อท่ีจะชว่ ยรักษา
เสถียรภาพและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศการใช้นโยบายการคลังและการเงินแก้ไขปัญหา
เศรษฐกิจการใชน้ โยบายการคลังและการเงนิ ในการแก้ปัญหาเงนิ ฝืด เงนิ เฟ้อ และการวา่ งงาน

๑. ภาวะเงินฝืด (Deflation) หมายถึง ภาวะท่ีอุปสงค์ด้านสินค้าและบริการ (ปริมาณเงินที่อยู่ในมือ
ของประชาชน) มีน้อยกว่าอุปทานด้านสินค้าและบริการ ตลอดจนระดับสินค้าโดยทั่วไปลดลงอย่างรวดเรว็ หรอื
อาจกล่าวไดว้ า่ เป็นภาวะเศรษฐกจิ ตกตำ่ สนิ คา้ ลน้ ตลาด ประชาชนว่างงาน

การแก้ปัญหาเงนิ ฝืดจะต้องใชน้ โยบายดงั ต่อไปนี้

๑) การใช้นโยบายการคลัง ได้แก่ การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล การใช้งบประมาณขาดดุล และการ
ลดอตั ราภาษีอากร

๒) การใชน้ โยบายการเงนิ ได้แก่ กรลดอตั ราดอกเบย้ี เงนิ กู้และเงนิ ฝาก การลดอัตราเงินสดสำรอง การ
ลดอตั ราการรบั ชว่ งซือ้ ลดตั๋วเงิน การซื้อพันธบัตรและตว๋ั เงินคลงั คนื จากประชาชน

๒. ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ภาวะเงินเฟ้อเกิดจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ อุปสงค์ด้านสินค้าและบริการ
มากกว่าอุปทานดา้ นสนิ คา้ และบริการหรอื ตน้ ทุนในการผลิตสงู ขนึ้

การแกป้ ัญหาเงินเฟอ้ จะตอ้ งใชน้ โยบายดังต่อไปน้ี

๑) กรณเี งินเฟอ้ ทีเ่ กดิ จากอปุ สงค์ดา้ นสนิ ค้าและบริการมากกวา่ สินค้าและบริการ

(๑) การใช้นโยบายการคลัง ได้แก่ การลดการใช้จ่ายของรัฐบาล การใช้งบประมาณเกินดุล
การเพิ่มอตั ราภาษอี ากร

(๒) การใช้นโยบายการเงิน ได้แก่ การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากการเพิ่มอัตราเงิน
สดสำรอง การเพ่มิ อัตราการรับช่วงซอ้ื ลดตั๋วเงนิ การขายพนั ธบตั รหรือหลักทรัพย์ของรฐั ใหป้ ระชาชน

19 อรญั ธรรมโน, ความรทู้ ัว่ ไปทางการคลัง, (กรุงเทพมหานคร : บริษทั บพิธ จำกดั , 2548), หนา้ 26.

๑๗

๒) กรณเี งินเฟ้อท่ีเกดิ จากตน้ ทุนทีใ่ ช้ในการผลติ สินคา้ และบริการสงู ขน้ึ

(๑) การใช้นโยบายการคลัง ได้แก่ การลดอัตราภาษีอากรสำหรับวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ใน
การผลิตสนิ คา้ และบรกิ าร การลดอตั ราภาษอี ากรสนิ คา้ สำเรจ็ รปู

(๒) การใช้นโยบายการเงิน ได้แก่ การจัดหาแหล่งเงินกู้ให้เอกชนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ การ
ควบคุมธนาคารพาณิชย์ไม่ให้ปล่อยกู้เพื่อใช้ในการกักตุนสินค้า การลดอัตราการรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน
สำหรับอุตสาหกรรมที่ตอ้ งการใหเ้ กิดขึ้น

๓. การว่างงาน (Unemployment) หมายถึง ภาวการณ์ที่บุคคลในวัยแรงงานซึ่งพร้อมที่จะทำงานแต่
ไม่สามารถหางานทำได้ หรอื เจบ็ ปว่ ย หรอื รองานใหม่ หรือหางานทีเ่ หมาะสมไมไ่ ด้

การแกป้ ัญหาการว่างงานจะตอ้ งใชน้ โยบายดังตอ่ ไปนี้

๑) การใช้นโยบายคลัง ได้แก่ การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล การจ่ายเงินประกันการว่างงาน การ
จ่ายเงินสงเคราะห์ช่วยเหลือ การลงทุนที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม (เช่น การสร้างถนน การสร้างที่อยู่อาศัย
สำหรับผทู้ ี่มีรายไดน้ ้อย) การลดอัตราภาษีอากร (เชน่ การลดภาษกี ารค้าหรอื ภาษีการขาย ภาษีเงินไดน้ ิติบุคคล
และภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา)

๒) นโยบายการเงิน รัฐบาลควรใช้มาตรการทางการเงินเพื่อเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ
เศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งจะมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง การลงทุนของประเทศสูงขึ้น การผลิต การจ้างงาน
เกิดการขยายตวั

สรปุ

การบริหารการคลังสาธารณะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินหรือการบริหารงานของ
กระทรวง กรมต่างๆของรัฐบาลในเรื่องเกี่ยวกับรายได้กับรายจ่ายของประเทศ รวมทั้งการงบประมาณแผ่นดนิ
เป็นแผนงานทางการคลังของรัฐบาลจะกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการหารายรับและแผนการใช้ จ่าย
สำหรับการบริหารงานคลงั มีขอบเขตครอบคลมุ นโยบายในหลายๆ ด้าน เช่น นโยบายการเงิน นโยบายการคลงั
นโยบายเศรษฐกิจมหาภาค นโยบายหนี้สาธารณะ นโยบายภาษีอากร เป็นต้น โดยสามารถจำแนกได้เป็น ๓
นโยบายใหญๆ่ คอื

๑. นโยบายการเงิน เป็นนโยบายที่เกี่ยวกับการกำหนดและควบคุมปริมาณเงินให้พอเหมาะกับความ
ต้องการและความจำเป็นในการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งรัฐบาลของประเทศต่างๆ จะ
ดำเนินนโยบายการเงนิ ผา่ นทางธนาคารกลาง

แนวทางในการดำเนินนโยบายทางการเงิน มีแนวทางหลักๆ อยู่ ๒ แนวทาง คอื

๑) การควบคุมเชิงปริมาณ คือ การควบคุมปริมาณเงิน เช่น การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสดสำรองของ
ธนาคารพาณชิ ย์ เปน็ ตน้

๒) การควบคุมเชงิ คณุ ภาพ เช่น การจำกัดสินเชือ่ การเข้มงวดในการปลอ่ ยสินเช่อื เปน็ ต้น

๑๘

หน่วยงานหลักที่มีอำนาจหน้าที่และดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลังด้าน นโยบายการเงินก็คือ
ธนาคารแห่งประเทศไทย

บทที่ ๒

การบริหารงานงบประมาณ

การจัดทำงบประมาณได้เริ่มขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ ซึ่งเป็นสมยั
ที่สภาผู้แทนราษฎรได้ประสบความสำเร็จในการสงวนอำนาจที่จะอนุมัติรายได้และรายจ่ายของรัฐบาลซึ่งจะ
เห็นได้ว่าการจัดทำงบประมาณในแบบปัจจุบันนี้มีความสัมพันธ์กับวิวัฒนาการของการปกครองในระบอบ
ประชาธปิ ไตย เพราะในการปกครองระบอบนี้ ประชาชนตอ้ งการควบคุมการรับและการจา่ ยเงินของรฐั บาล คือ
ต้องการทราบว่ารัฐบาลจะเก็บภาษีอะไรเท่าไร และจะนำเงินภาษีไปใช้จ่ายด้านใดบ้างคุ้มค่าหรือไม่ และ
ศตวรรษที่ ๑๙ ประเทศในภาคพื้นยุโรปจึงได้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งการจัดทำงบประมาณนั้น
รัฐบาลกลางเป็นผู้จักทำขึ้นก่อน และต่อมาจึงได้ขยายขอบเขตไปถึงรัฐบาลหรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ละ
หน่วยงานธุรกิจใหญ่ๆ ในเอกชน ซึ่งวัตถุประสงค์ในการจัดทำงบประมาณในระยะแรกนั้น เพื่อเป็นประโยชน์
ทางการเมืองและการคลังเท่านั้น กล่าวคือ เพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบและควบคุมการ
บริหารงานของรัฐบาล และเพื่อจัดระเบียบการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล แต่ในปัจจุบันได้เป็นที่ยอมรับกันว่า
นอกจากวัตถุประสงค์ทางการเมืองและการคลังแล้ว การจัด ทำงบประมาณแผ่นดินยังมีวัตถุประสงค์ทาง
เศรษฐกิจและสังคมด้วย สำหรับประเทศไทยนั้นได้มีการจัดทำ และแก้ไขปรับปรุงการจัดทำงบประม าณให้
เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศเริ่มตั้งแต่ ยังไม่มีการใช้ระบบงบประมาณที่แน่นอน เป็นเพียงการรวม
ตวั เลขคา่ ใช้จา่ ยต่างๆ โดยกองๆ หนึง่ ในกรมบญั ชีกลาง กระทรวงการคลังตอ่ มาในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ไดป้ ระกาศใช้
ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการขึ้นเป็นครั้งแรกและเปลี่ยนเป็นระบบงบปร ะมาณแสดงแผนงานโครงการ
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕

ความหมายของงบประมาณ

คำวา่ "งบประมาณ" ซงึ่ ในภาษาอังกฤษใช้คำวา่ "budget" มาจากภาษาฝรัง่ เศสโบราณว่า "bougette"
รากศัพท์เดิม หมายถึง กระเป๋า หรือถุงของรัฐบาลซึ่งเสนาบดีคลัง (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ของ
กษัตริย์ใช้บรรจุเอกสารต่างๆ ที่แสดงถึงความต้องการของประเทศและทรัพยากรที่มีอยู่ และในปัจจุบัน คำว่า
"งบประมาณ" มีความหมายแตกต่างกันไปตามเวลา สถานการณ์ และลักษณะงบประมาณ โดยทั่วไปจะมองใน
รูปของตัวเลขเป็นส่วนใหญ่ รัฐบาลถือว่างบประมาณเป็นส่วนสำคัญของการดำเนินงานตามเป้าหมายอย่างเหน็
ได้ชัดกว่าองค์การธุรกิจภาคเอกชนอื่นๆ ด้วยความจำเป็นที่กล่าวมา งบประมาณจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำ
องค์การไปเผชิญกับเหตุกรณ์ต่างๆ เพื่อให้รัดกุมรวบรัดทันต่อเหตุการณ์เข้าเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้เร็วยิ่งขึ้น
ดังนั้นนกั วชิ าการ ซงึ่ มมี มุ มองต่างกันออกไป ไดใ้ หค้ วามหมายของงบประมาณดงั นี้

อินสอน บวั เขยี ว20 กลา่ ววา่ งบประมาณ หมายถึง แผนการดำเนนิ งานของกิจการใดกจิ การหนึ่งที่

20 อนิ สอน บวั เขียว, สาระสำคญั การบรหิ ารชมชน, (กรงุ เทพมหานคร : พริ าบสำนกั พมิ พ์, 2337), หนา้ 164-167.

๒๐

เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับระยะใดเวลาหนึ่งในอนาคตงบประมาณเป็นการวางแผน การจัดหา และ
การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างประหยัดเกิดผลประโยชน์อย่างสูงสุด ซึ่งตามปกติกำหนดแผนดังกล่าวออกเป็น
ตัวเลข เพื่อให้หน่วยงานสามารถดำเนินงานได้ผลสำเร็จ ตามเป้าหมายงบประมาณอาจจะเป็นตัวกำหนดงบ
การเงินของกิจการไว้ล่วงหน้าเพื่อควบคุมการดำเนินงาน โดยมีการวางแผนในระยะเวลาใด ช่วงใดช่วงหนึ่ง
สว่ นใหญ่ อาจเปน็ ๖ เดอื น ๑ ปี ๓ ปี ๕ ปี ๑๐ ปี หรือ ๑๕ ปี

นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์21 ได้นิยามคำว่า งบประมาณ หมายถึง การวางแผนการบริหารของรัฐบาล
โดยแสดงถึงกิจกรรมโครงการที่จะจัดทำและหน่วยงานที่รับผิดชอบมีการประมาณค่าใช้จ่าย และที่มาของ
รายได้เพื่อการใช้จ่ายนั้นๆ ตามระยะเวลาที่แน่นอนที่เรียกว่าปีงบประมาณ และเป็นแผนบริหารที่ฝ่ายบริหาร
จัดทำขึ้นเพื่อเสนอขออนุมัติจากรัฐสภา นอกจากนี้งบประมาณยังเป็นแผนเบ็ดเสร็จ ซึ่งแสดงออกในรูปของตัว
เงิน แสดงโครงการการดำเนินงานทั้งหมดในระยะเวลาหนึ่ง แผนนี้จะรวมถึงการกะประมาณ บริการกิจกรรม
โครงการ และการใช้จ่าย ตลอดจนทรัพยากรที่จำเป็นในการสนับสนุนการดำเนินงานให้บรรลุเป้ าหมายตาม
แผนน้ี ซึง่ ประกอบด้วยการกระทำ ๓ ขน้ั ตอน คอื การจดั เตรียม การอนมุ ตั ิ และการบรหิ ารงบประมาณ

อารีลักษณ์ พงษ์โสภา22 กล่าวว่า งบประมาณ หมายถึง แผนที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือที่แสดงถึง
นโยบายของผู้บรหิ ารในการดำเนนิ งานและ ควบคมุ เพอ่ื ให้บรรลวุ ัตถปุ ระสงค์

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์23 กล่าวถึง งบประมาณว่า รวมถึงรายได้และรายจ่ายทั้งหมดของรัฐบาล
ซ่ึงไมว่ ่าจะนำไปใช้ในโครงการอะไรหรอื นำมาจากแหลง่ ใดกต็ าม

อรัญ ธรรมโน24 ได้ให้ความหมายงบประมาณว่า หมายถึง แผนการด้านรายจ่ายการหารายได้โดย
กำหนดเป็นแผนประจำปี

พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์25 กล่าวว่างบประมาณหมายถึง แผนการเงินของรัฐบาลที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดง
รายรบั รายจ่ายของโครงการต่างๆ ทกี่ ำหนดว่าจะทำในระยะเวลาทีก่ ำหนด โดยกำหนดเงินจำนวนเงนิ ค่าใชจ้ ่าย
ของแต่ ละโครงการว่าจะต้องใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนเท่าใด และ จะหาเงินจากทางใดเพื่อนำมาใช้จ่ายตาม
โครงการนั้นๆ ยัง หมายถึงแผนการเงนิ ซงึ่ แสดงวตั ถุประสงค์และจำนวนของรายจ่ายและแหล่งทม่ี า และจำนวน
ของรายรับในระยะเวลาหนึ่งและอธิบายว่า งบประมาณเป็นเอกสารประมาณการรายได้ –รายจ่ายที่มี
ระยะเวลากำหนดจดุ เร่ิมตน้ และสน้ิ สดุ ทแี่ น่นอนโดยปกติ ๑ ปี

การบริหารงบประมาณ หมายถึง การจัดทำงบประมาณ การดำเนินงานด้านแผนพัฒนาการศึกษาและ
คำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีการจัดสรรงบประมาณการบริหาร การใช้จ่ายงบประมาณและการ
ควบคุมงบประมาณที่ได้ รับให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้เกิดประโยชนสูงสุดถูกต้องต าม

21 นงสักษณ์ สุทธิวฒั นพนั ธ,์ การบรหิ ารงานงบประมาณ หลักทฤษฎี และวเิ คราะหเ์ ชิงปฏบิ ัติ, พมิ พ์คร้ังที่ 5, (กรุงเทพมหานคร : หจก.เอมเทรดดง้ิ ,
2544), หนา้ 19.
22 อารลี กั ษณ์ พษโ์ สภา, "กระบวนการงบประมาณท่ี :มีความสมั พนั ธก์ บั สมั ฤทธ์ผิ ลของการบรหิ ารงานงบประมาณ กรณีสำนกั งานการประถมศึกษา
จังหวัดชยั ภูมิ ", วิทยานพิ นธ์ปรญิ ญาศิลปศาสตรมหาบณั ฑติ , (บณั ฑิตวทิ ยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแกน่ , 2545), หนา้ 12.
23 ทิพวรรณ หลอ่ สวุ รรณรตั น์, การปฏริ ูประบบงานงบประมาณในประเทศไทย :กรณศี กึ ษาเรอื่ งการจดั เตรยี มงบประมาณในปี งบประมาณ ๒๕๔๖,
(กรงุ เทพมหานคร : ศนู ย์ส่งเสริม, 2546), หน้า 55.
24 อรญั ธรรมโน, ความรทู้ วั่ ไปทางการคลงั , (กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พรนิ้ ติ้งแอนตพ์ บั ลชิ ชิ่ง, 2548), หนา้ 48.
25 พรชยั ลิขิตธรรมโรจน์, การคลังรฐั บาลและการคลงั ท้องถิ่น, (กรงุ เทพมหานคร : โอเดยี นสโตร์. 2550), หน้า 21.

๒๑

ระเยียบทันเวลา อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ทั้งผลผลิตและผลลัพธ์ ตลอดจนติดตามรายงาน
ประเมินผลและรายงานส่วนการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (performance - based budgeting)
สบื เนอื่ งมาจากแนวคดิ ในการบริหารงานท่เี น้นผลสมั ฤทธิ์ หรอื ทเ่ี รยี กวา่ RBM (Result-Based Management)
ซึ่งภาครัฐได้นำมาใช้ปรับปรุง ปรับเปลี่ยน ภารกิจและวิธีการ บริหารงานของภาครัฐ ตามแผนการปรับเปลี่ยน
บทบาท ภารกิจและวิธีการบริหารงานของภาครัฐในส่วนของการปฏิรูประบบงบประมาณ ซึ่งเป็นกลไก
ขับเคลือ่ น RBM ให้สัมฤทธ์ิผล รัฐบาลได้เลือกใช้ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (performance -based
budgeting) เป็นแกนหลักในการปฏิรูปครั้งนี้ โดยระบบบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานหรือ PBB จะ
กระจายอำนาจการบริหารจัดการงบประมาณให้หน่วยอิสระคล้องตัวในการใช้งบประมาณให้คุ้มค่าแต่ต้อง
รับผิดชอบผลงานตามภารกิจ26

ระบบงบประมาณมีการเปลี่ยนแนวทางการบริหารไปสู่การบริหารที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์มีการกำหนด
เปา้ หมายการทำงานเปน็ ระบบ มแี ผนกลยทุ ธ์ที่ชดั เจน สอดคลองกับสถาบนั พัฒนาขา้ ราชการพลเรือน ได้กล่าว
ว่าการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานให้อิสระแกผู้บริหารในการบริหารจัดการและต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
ต่อความสำเร็จของงาน ซึ่งพิจารณาได้จากผลงานที่เกิดขึ้นในลักษณะที่เป็นผลผลิต (output) และผลลัพธ์
(outcome) ผลผลิต (output) เป็นผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากกิจกรรมที่หน่วยงานดำเนินการหรือจัดกิจกรรม
เช่น จำนวนหนงั สือท่จี ดั ซ้ือ จำนวนครูท่ีเขา้ รับการอบรม เป็นต้น ผลผลิตอาจจะเป็นสง่ิ ของหรือการให้บริการท่ี
ปรากฏชัดเจนและที่สำคัญกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการจัดกิจกรรมจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์ จากผลผลิตโดยตรง
และผลลพั ธ์ (outcome) เป็นผลท่ีเกดิ จากการนำผลผลิตทไี่ ด้ไปใชใ้ หเ้ กิดประโยชนจ์ นเกดิ ผลตามเปา้ หมายหรือ
นโยบายที่ได้กำหนดไว้ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน การมีงานทำของบัณฑิตที่จบการศึกษาสภาพ
สังคมที่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งผลงานที่เกิดขึ้นดังกล่าวจะต้องสอดคลองกับนโยบายและจุดหมาย
ของหน่วยงานหรือสถานศกึ ษาที่ไดก้ ำหนดไว2้ 7

ชยั สิทธ์ิ เฉลิมมปี ระเสรฐิ 28 ได้กล่าวถงึ ระบบงบประมาณแบบมงุ่ เน้นผลงาน (performance - based
budgeting) คือการปรับปรุงระบบงบประมาณ เพื่อมุ่งเน้นให้การจัดสรรทรัพยากรภาครัฐเป็นไปอย่างมี
ประสทิ ธภิ าพ พอสรปุ ได้ดงั นี้

๑. พัฒนาระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงานและผลลัพธ์สำหรับหน่วยงานนำร่องจัดทำแผนการ
ปรับเปลี่ยนขั้นต้นเพื่อไปสู่ ระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงานและผลลัพธ์ซึ่งจะเชื่อมโยงกับกระบวนการ
วางแผนกลยุทธ์ของภาครัฐโดยจะเร่ิมจากหนว่ ยงานทางดา้ นเศรษฐกจิ และสงั คมทม่ี คี วามพร้อมกอ่ น

๒. พัฒนาระบบการรายงานผลทัง้ ด้านการเงินและผลการดำเนินงานทีโ่ ปร่งใสสำหรับหน่วยงานนำรอ่ ง
เพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบความรับผิดชอบในการตัดสินใจและสนับสนุนให้มีโอกาสตรวจสอบการทำงานของ
ภาครัฐ

26 กันตทชั บตุ รคำ, "สภาพและปัญหาการบริหารงบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเนน้ ผลงานตามยุทธศาสตร์ในสถานศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน
สังกัดสำนักงานเขตพ้ืนทก่ี ารศกึ ษาชลบุรี เขต ," วิทยานิพนธ์ครศุ าสตรมหาบณั ฑิต สาขาการบริหารการศึกษา (บณั ฑิตวทิ ยาลัย : มหาวทิ ยาลัย
ราชภฎั ราชนครนิ ทร, 2549), หน้า 25.
27 สำนักงานคณะกรรมการขา้ ราชการพลเรอื น, การปฏริ ูประบบราชการ : ทางออกของการแก้ปญั หาและฟนั ฝ่าวิกฤต, (กรุงเทพมหานคร : กราฟ
ฟอรแมท ไทยแลนด จำกดั , 2544), หน้า 14.
28 ชัยสทิ ธ์ิ เฉลมิ มีประเสริฐ, มาตรฐานการจดั การทางการเงนิ ๗ Hurdles กับการจดั ทำงบประมาณระบบใหม่, (กรงุ เทพมหานคร : ระฟลม
แอน ไซเท็กช, ๒๕๔๔), หน้า ๑๓-๑๕.

๒๒

๓. พัฒนาระบบกระจายอำนาจการจัดการงบประมาณสำหรับหน่วยงานนำร่องโดยจะครอบคลุมถึง
การเสริมสร้างความสามารถในการจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานนำร่องระบบรายงานผลที่เปรียบเทียบกับ
แผนงานและการที่สำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลางจะให้ความยืดหยุ่นในการจัดการงบประมาณแก่
หน่วยงานมากน้อยเพียงใดนั้น จะขึ้นอยู่กับลักษณะและความเข้มของมาตรฐานการควบคุมทางการเงินและ
ระบบการรายงานผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานนั้นๆ ข้อกำหนดดังกล่าวจะถูกระบุไว้ในข้อตกลงการใช้
ทรัพยากรระหวา่ งหน่วยงานและสำนักงบประมาณ

๔. เพิ่มขอบเขตความครอบคลุมของงบประมาณ เป็นการดำเนินการจัดระบบรายงานค่าใช้จ่ายการ
ดำเนินงานของภาครัฐใหม่ ให้แสดงถึงคา่ ใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งสิน้ ของรฐั บาล ทั้งนี้กิจกรรมของหน่วยงาน
ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นที่ได้รับการสนับสนุนจากเงินกูและเงินช่วยเหลือทั้งหมด จะต้องรายงานไว้
ในแผนการเงนิ ของภาครัฐด้วยโดยเร่มิ แสดงขอ้ มลู เบื้องต้นเป็นตัวอย่างภายในปงี บประมาณ ๒๕๔๓

๕. พัฒนาระบบบัญชีการเงินภาครัฐที่เทียบเทามาตรฐานนานาชาติที่กำหนดให้ International
Federation of Accountants ท้งั น้รี ะบบดังกลา่ วจะรวมค่าใชจ้ ่ายซ่ึงจะเป็นภาระของรัฐทจี่ ะเกิดข้ึนในอนาคต
ไวในเอกสารงบประมาณดว้ ย

๖. พฒั นาระบบการจดั ทำงบประมาณการงบประมาณรายจา่ ยลว่ งหน้าสำหรบั หน่วยงานนำร่องซึ่งเป็น
การพัฒนาประมาณการงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าที่สามารถแสดงให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายในอ นาคตภายใต้
แผนงานโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจในปัจจุบัน การพัฒนาประมาณการรายจ่ายล่วงหน้านี้จะ
เชื่อมโยงเข้ากับแผนการคลังระยะปานกลางที่ จัดทำโดยสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง สำนักงาน
คณะกรรมการพฒั นาการเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาตแิ ละธนาคารแหง่ ประเทศไทย

๗. กระจายอำนาจงบประมาณและการบรหิ ารงบประมาณสอู่ งค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซงึ่ จะเปน็ การ
ออกแบบวิธีการจัดสรรเงินอุดหนุนในรูปแบบใหม่ รวมทั้งการกำหนดมาตรการที่จะเสริมสร้งขีด ความสามารถ
ในการจดั การทางการเงินให้แกองคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถน่ิ มากยิง่ ขน้ึ

๘. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการทางการเงินในระดับมหาภาคตลอดจนพัฒนา
ระบบบริหารการเงินในระดับมหาภาคตลอดจนพัฒนาระบบบริหารการเงิน ในระดับหน่วยงานเพื่อสร้างความ
โปร่งใสให้แกการจัดสรรงบประมาณ โดยพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงข้อมูลทางด้านการจัดการและ
ทางด้านการเงินเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้การตัดสินใจของหน่วยงานอยู่บนฐานข้อมูลที่ทันสมัยสมบูรณ ครบถ้วน
และเช่ือถอื ได้

๙. ทบทวน ปรับปรุง แกไข เพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบงบประมาณรายงานทางการเงินและ
การคลงั

๑๐. ปรับปรุงระบบการบริหารงานพัสดุ โดยพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านพัสดุและเน้นให้
หน่วยงานภาครัฐมีระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ในราคาที่เหมาะสมและทันเวลาที่จะใช้รวมทั้งให้มีการดูแล
บำรุงรักษาใหอ้ ย่ใู นสภาพที่ดแี ละใชง้ านได้อยา่ งคมุ้ ค่า

๑๑. ขยายผลการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ การเงินและการพัสดุต่อจากจากโครงการนำร่องให้
ครอบคลุมทั่วทั้งภาครัฐสำนักงบประมาณมีกลยุทธ์ในการดำเนินการปรับปรุงระบบการจัดการงบประมาณโดย

๒๓

เริ่มจากการดำเนินโครงการนำร่อง (pilot project) ในส่วนราชการที่มีความพรอมโดยคัดเลือกจากความสมัคร
ใจของหน่วยงานและผู้นำที่มีความตั้งใจ หลังจากสำนักงบประมาณได้คัดเลือกหน่วยงานนำร่องตามโครงการ
ปรับปรุงระบบการจัดการงบประมาณแลว กลยุทธ์ต่อไป คือ การใช้วิธีแบบมีเงื่อนไข (hurdle approach)คือ
การกำหนดเงื่อนไขให้หน่วยงานนำร่องดำเนินการก่อนที่หน่วยงานนำร่องจะได้รับความคลองตัวทางการเงิน
ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการนำบประมาณไปใช้ อย่างไม่มีประสิทธิภาพและไม่มี
ประสิทธิผลเงื่อนไขดังกล่าวคือ การลงนามบันทึกความเข้าใจ (memorandum of understanding) ระหว่าง
สำนักงบประมาณและหน่วยงานนำรอ่ งเกี่ยวกบั มาตรฐานการจดั การทางการเงินและการลงนามในขอ้ ตกลงการ
ใช้ทรัพยากร (resource agreement หรือ output agreement โดยในปี ๒๕๔ สำนักงบประมณได้คัดเลือก
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศกึ ษาแหง่ ชาติและกรมสามัญศกึ ษา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้
พื้นฐานในปัจจุบัน) เป็นหน่วยงานนำร่องในการปรับปรุงระบบงบประมาณของกระทรวงศึกษาธกิ ารและไดร้ ่วม
ลงนามบันทึกความเข้าใจ (memorandum of understanding) การปรับระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้น
ผลงาน (PBB) โดยได้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันในการเตรียมความพรอมทางด้านการเงิน การบริหารและการ
รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละปี บนกรอบพื้นฐานการพัฒนามาตรฐานการจัดการทางการเงิน ๗
ด้าน ประกอบไปด้วย การวางแผนงบประมาณ การคำนวณต้นทุนผลผลิต การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง การ
บริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน การบริหาร
สนิ ทรัพยแ์ ละการตรวจสอบภายในโดยได้เร่มิ โครงการในปีงบประมาณ ๒๕๔๕ และไดร้ ว่ มมือกับสถาบันพฒั นา
นโยบายและการจดั การจดั ทำแผนกลยุทธ์ ของสำนักงานการศกึ ษาข้นั พ้นื ฐาน ต้งั แต่ปี ๒๕๔๕ - ๒๕๔๙ สำหรบั
คุณลักษณะของการจัดทำงบประมาณระบบเดิมและการจัดทำงบประมาณระบบใหม่ (งบประมาณแบบมุ่งเน้น
ผลงาน) จากทัศนะต่างๆ สรุปได้ว่า การบริหารงานงบประมาณ หมายถึง การดำเนินการใช้เงินงบประมาณที่
ไดร้ บั อยา่ งเป็นระบบ ตรงตามวตั ถปุ ระสงค์ถูกต้องตามระเบียบ ทนั เวลาและเพื่อประโยชน์สูงสุดในการพฒั นา

สรุปได้ว่า งบประมาณ หมายถึง การกำหนดแผนการใช้จ่ายเงินหรือประมาณการรายรับ-รายจ่าย
ล่วงหน้า การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดซึ่งแสดงในรูปตัวเงินมีระยะเวลากำหนด
ที่แน่นอน โดยแสดงกิจกรรมหรือโครงการที่จะปฏิบัติ ซึ่งแผนนี้จะรวมถึงการกะประมาณบริการ กิจกรรม/
โครงการ และคา่ ใชจ้ ่ายตลอดจนทรัพยากรทจี่ ำเปน็ ในการสนับสนนุ การดำเนินงานให้บรรลตุ ามแผน

ความสำคัญของงานงบประมาณ

จากความหมายของงบประมาณ จะเห็นได้ว่างานงบประมาณเป็นเรื่องที่สำคัญที่ผู้บริหารต้องเอาใจใส่
และดแู ลเปน็ พิเศษ เนอ่ื งจากงบประมาณเป็นเครอ่ื งมือสำคัญในการสนบั สนุนใหก้ ารดำเนินงานหรอื ภารกิจอื่นๆ
ในองคก์ ารสามารถบรรลุตามวัตถปุ ระสงคไ์ ด้ดว้ ยดี ซ่งึ ไดม้ ีผู้กล่าวถึงความสำคัญ และประโยชน์ของงบประมาณ
ไว้ดงั น้ี

อนิ สอน บวั เขียว29 ไดก้ ล่าวถึงประโยชนข์ องงบประมาณไวด้ ังนี้

29 อนิ สอน บัวเขยี ว, สาระสำคญั การบริหารชมชน, (กรุงเทพมหานคร : พริ าบสำนกั พมิ พ์, ๒๕๓๗), หนา้ ๑๖๗-๑๖๙.

๒๔

๑) งบประมาณเป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารองค์การ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่สร้างขึ้นมาโดยการมองเห็น
อนาคตอยา่ งคร่าวๆ โดยอาจจะได้จากการพยากรณส์ ิ่งต่างๆ ควบคูก่ ันกบั ภาวะเศรษฐกิจต่างๆ ไปในตวั

๒) เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานของตนเอง หรือของหน่วยงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งทุกคนมี
ส่วนร่วมในการปฏบิ ตั งิ านใหถ้ ึงจุดม่งุ หมาย

๓) ในแง่ ของการบริหารงาน จะเห็นว่าประสิทธิภาพของการบริหารงานนั้นจะต้องใช้ความรู้ ความ
เขา้ ใจ ทักษะ หรือความชำนาญพิเศษของแต่ ละคนให้เหน็ ประโยชน์ของหน่วยงานเปน็ ทต่ี ง้ั

๔) เพื่อให้หน่วยงานมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าใจลักษณะงานและ
ปฏิบัติงานต่อเนื่องกัน มีความชำนาญเฉพาะ ด้านที่เกี่ยวข้องตลอดจนหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ดังน้ัน
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตลอดจนผู้บริหารได้เข้าใจในเรื่องงบประมาณอย่างดีแล้วก็ควรกำหนดเป้าหมายและ
วัตถุประสงค์ไวอ้ ย่างชัดเจนจะช่วยให้การดำเนินงานสัมฤทธผิ์ ลได้เร็วย่ิงขน้ึ

ณรงค์ สัจพันโรจน์30 กล่าวสอดคล้องกันว่างบประมาณมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อ
ประเทศชาติอยู่หลายประการ รัฐบาลสามารถนำ เอางบประมาณแผ่นดินมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหาร
ประเทศใหเ้ จรญิ กา้ วหนา้ และเปน็ ประโยชน์ตอ่ ประชาชนพอสรุปได้ ดงั น้ี

๑. ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศ ให้มีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกันตามแผนงานที่วางไว้
เพ่ือปอ้ งกันการ่วั ไหลและการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นของหนว่ ยงานลด ลง

๒. ใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยรัฐบาลจะต้องพยายามใช้จ่าย
และจัดสรรงบประมาณให้เกิดประสิทธิผลและไปสู่ โครงการที่จำเป็นและเป็นโครงการในด้านการลงทุนเพ่ือ
กอ่ ใหเ้ กิดความก้าวหนา้ ทางเศรษฐกจิ อยา่ งแท้จรงิ

๓. ใชเ้ ปน็ เครอ่ื งมือในการจัดสรรทรพั ยากรที่มอี ยอู่ ย่างจำกดั ให้มปี ระสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สงู สุด

๔. ใช้เป็นเครื่องมอื ในการกระจายรายไดป้ ระชาชาติทเี่ ปน็ ธรรม

๕. ใชเ้ ปน็ เครือ่ งมอื ในการรักษาเสถยี รภาพทางเศรษฐกจิ และการเงินการคลงั ของประเทศ

๖. ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อประชาสัมพันธ์งาน และผลงานที่รัฐบาลดำเนินการให้แก่ผู้ใช้บริการเข้าใจถึง
กระบวนการและความก้าวหน้าของการดำเนินงาน

รุ่ง แก้วแดง31 ได้กล่าวถึงการบริหารงบประมาณและการเงินแบบใหม่ว่า โรงเรียนจะต้องให้
ความสำคัญกบั การวางแผนกำหนดเป้าหมายและจัดลำดับความสำคญั ของการใช้เงินให้ชดั เจน กล่าวคือ ตอ้ งให้
ความสำคัญกับกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นอันดับแรกและในการดำเนินงานก็ต้องแสดงให้เห็นว่า ได้ใช้
งบประมาณทีส่ อดคล้องกับแผนเป้าหมายและวสิ ัยทศั นข์ องสถานศึกษา

30 ณรงค์ สจั พันโรจน์, การจดั ทำอนมุ ตั ิการบริหารงบประมาณแผ่นดิน : ทฤษฎีและปฏบิ ตั ิ, (กรงุ เทพมหานคร : บพติ รการพมิ พ์, ๒๕๔๓), หน้า
๕๔.

31 รงุ่ แกว้ แดง, โรงเรยี นนิตบิ ุคคล, (กรงุ เทพมหานคร : สำนักพิมพว์ ัฒนาพานชิ จำกดั , ๒๕๔๖), หน้า ๑๒๑-๑๒๒.

๒๕

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์32 กล่าวถึงความสำคัญของงบประมาณไว้ว่า เป็นเครื่องมือในการบริหารงาน
เพราะเป็นแผนงานการเงินที่มีการกำหนดรายรับและรายจ่ายของงาน/โครงการต่างๆ ไว้ล่วงหน้า จึงทำให้
ผู้บริหารใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือในการควบคุมนโยบายของหน่วยงานในกา รดำเนินงานตามแผ่นงานและ
โครงการต่างๆของหน่วยงานเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบการปฏิบัติงาน ว่าได้ดำเนินการตามแผนที่ตั้งไว้
หรือไม่ ซง่ึ เปน็ การวดั ความสามารถของผบู้ รหิ ารไปพรอ้ มกันด้วย

สรุปได้ว่างบประมาณมีประโยชน์โดยตรงต่อฝ่ายบริหาร ไม่ว่าจะเป็นในรูปองค์การทั้งขนาดเล็กและ
ขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นองค์การด้านธุรกิจ หรือองค์การด้านการศึกษาก็ตาม เพราะว่างบประมาณมีส่วนสำคัญ
ทำให้การทำงานสำเร็จ ไปสู่วัตถุประสงค์หลักขององค์การส่งผลให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และยังสามารถเป็นเคร่อื งมือในการตรวจสอบ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบตั งิ านดา้ นอื่นท่ีเกี่ยวข้อง

หลักการบรหิ ารงบประมาณ

การบริหารงบประมาณ ได้มีการปรับปรุงระบบงบประมาณมาอย่างต่อเนื่องสำหรับประเทศไทยใน
ระยะเริ่มแรก สำนักงบประมาณได้ใช้ระบบประมาณแบบแสดงรายการ (Line Item Budgeting ซึ่งเป็นแบบ
รวมศูนย์อำนาจที่ยึดการตัดสินใจจากส่วนกลางเป็นหลัก ผู้บริหารส่วนกลาง เป็นผู้กำหนดแผนงาน /โครงการ
และจัดสรรงบประมาณหน่วยปฏิบัติตามประเภทรายจ่ายจนกระทั่งปีงบประมาณ ๒๕๒๕ เมื่อมีการกระจาย
อำนาจจากสว่ นกลางให้หน่วยปฏบิ ัตไิ ด้มโี อกาสตัดสินใจมากขึ้น จึงกำหนดให้มีการวางแผนมาจากหน่วยปฏบิ ัติ
ซึ่งต้องเขียนแผนงานโครงการเสนอของบประมาณ เป็นลักษณะการวางแผนเชิงระบบ โดยส่วนกลางจะจัดสรร
งบประมาณไปใหต้ ามแผนงานของหน่วยปฏิบัติ และแผนงานของสว่ นกลาง ซึ่งเรียกการจัดทำแผนงบประมาณ
ลักษณะนี้ว่า ระบบงบประมาณแบบแผนโครงการ (Planning Programming Budgeting System :PPBS) ใน
ปัจจุบันได้มีการกระจายอำนาจให้หน่วยปฏิบัติได้ตัดสินใจมากขึ้น การวางแผนจึงเป็นลักษณะการวางแผน
เชิงกลยุทธ์ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกมากขึ้น โดยเฉพาะชุมชนและองค์กรต่างๆจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมกำหนด
ทิศทางของหน่วยงาน ดังนั้นจึงต้องใช้แผนกลยุทธ์เป็นแผนแม่บทในการวางแผนเพื่อให้หน่วยงานบรรลุเป้ า
หมายงบประมาณเป็นแหล่งทรัพยากรหลักเพื่อการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ซึ่งมา
จากการจัดเก็บภาษีจากประชาชน จึงมิใช่ สมบัติของผู้หนึ่งผู้ใด หรือ หน่วยงานใดโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละ
หน่วยงานหรือผู้บริหารแต่ ละคนจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่องบประมาณที่ได้รับจัดสรรทั้งที่เป็นตัวเงินและอื่น
๑ ด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรของหน่วยงานให้เป็นไปอย่างประหยัด คุมค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อ
ประชาชนและ สังคมซึ่งเป็นเจ้าของงบประมาณโดยคำนงึ ถึงหลกั บริหารจดั การ ดังนี้

๑) หลักการกระจายอำนาจไปยังเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา เพื่อให้ผู้บริหารมีอิสระและ
คล่องตัวในการตัดสินใจ และบริหารทรัพยากรของสถานศึกษาเพื่อจัดการศึกษาที่สนองตอบความต้องการของ
ผเู้ รียน

32 เสรมิ ศักติ วิศาลาภรณ์, "ปญั หาและแนวโนม้ เกี่ยวกับการมสี วนรวมของประชาชนในการบรหิ ารการศกึ ษา." ประมวลชุดวิชาสมั มนาปัญหา
แนวโนม้ ทางการบรหิ ารการศึกษา หนว่ ยท่ี ๗. (นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช, ๒๕๓๗), หนา้ ๘.

๒๖

๒) หลักความโปร่งใสและความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ การที่ผู้บริหารมีอิสระและความคล่องตัวใน
การบรหิ ารจดั การทรัพยากรของสถานศกึ ษาจะตอ้ งควบคู่ กับความรบั ผดิ ชอบที่ โปรง่ ใสและสามารถตรวจสอบ
ได้

๓) หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล ภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ผู้บริหาร
เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจะต้องพิจารณาตัดสินใจ และเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอย่างประหยัด คุ้มค่า
และบรรลุวตั ถปุ ระสงค์ตามเป้าหมายและภารกจิ ซึ่งจะต้องสามารถวิเคราะห์ ความเปน็ ไปไดข้ องแผนงาน งาน/
โครงการ เพื่อตัดสินใจเลือกแผนงาน งาน/โครงการ ที่เกิดประสทิ ธิภาพ และประสิทธผิ ลสงู สุดภายใต้เป้าหมาย
ผลผลิตและผลลพั ธ์ทช่ี ดั เจน สามารถวดั ไดป้ ระเมนิ ได้33

กิตตมิ า ปรีดีดลิ ก34 กล่าวถึงหลกั งบประมาณทด่ี ไี ว้ ๒ ประเดน็ คือ

๑) เปน็ แหล่งท่ีแสดงรายรบั รายจา่ ยของรัฐบาลทกุ รายการใหไ้ ด้มากท่สี ุดเทา่ ท่ีจะทำได้เพราะจะช่วยให้
รัฐบาลสามารถตัดสินใจในการใช้จ่ายเงินได้ถูกต้องตามความสำคัญมากน้อยก่อน หลัง และจะช่วยให้เกิดการ
ประหยัดด้วยแง่ ของการทำงานซำ้ ชอ้ นกัน

๒) งบประมาณจะต้องทำให้เกิดความเจรญิ แก่ ประเทศ ชาติจากหลักการบริหารงบประมาณจะเห็นวา่
ต้องการให้เกิดการ ใช้ระบบถ่วงดุล ความรับผิดชอบ โดยให้ผู้บริหารระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับ
สถานศึกษาเป็นผู้ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานทั้งนี้การที่จะบรรลุผลสำเร็จตามหลักการดังกล่าว ระบบ
และวิธีการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วนถือว่าเป็นเงื่อนไขที่
สำคญั ทจี่ ะช่วยให้กรอบหลักการดงั กลา่ วประสบผลสำเรจ็

รปู แบบของงบประมาณ

รูปแบบของงบประมาณมีหลายรูปแบบที่สำคัญได้แก่ งบประมาณคงที่และงบประมาณยืดหยุ่น
งบประมาณฐานศูนย์ งบประมาณส่วนเพิ่ม งบประมาณตามงวดระยะเวลาและงบประมาณต่อเนื่อง
งบประมาณ ตามกิจกรรม ทงั้ น้ี การใช้งบประมาณแบบใดขน้ึ อยูก่ บั ลักษณะและวัตถปุ ระสงคใ์ นการจดั ทำ ดงั น้ี

๑. งบประมาณคงที่ และงบประมาณยดื หย่นุ งบประมาณคงท่ี (Fixed budget) คอื งบประมาณท่ีวาง
ไว้ตายตัวสำหรับกจิ กรรมใดๆ ถึงแม้ขนาดของ กิจกรรมนัน้ จะเปลี่ยนก็จะไม่เปลี่ยนแปลงงบประมาณ ในกรณีที่
กิจกรรมไม่แตกตา่ งไปจากระดับกิจกรรมที่ได้ ประมาณไว้งบประมาณคงท่จี ะมีประโยชน์ถ้าหากตน้ ทุนท่ีเกิดขึ้น
เป็นต้นทุนคงที่เกือบทั้งหมด เพราะต้นทุนคงที่ จะไม่เปลี่ยนแปลงแม้ระดับการผลิตจะเปลี่ยนแปลงไป
งบประมาณคงที่จะมีประโยชน์ในแง่การควบคุมต้นทุน เท่านั้น แต่ไม่ได้แสดงการกะประมาณค่าใช้จ่ายที่จะ
เกิดขึ้นเมื่อกิจการดำเนินกิจกรรมในระดับ ณ ระดับอื่น ดังนั้น ถ้ากิจการคาดว่าจะมีการผลิตเกิดขึ้นใน
ช่วงกว้างๆ ก็ควรจะใช้งบประมาณยืดหยุ่น ซึ่งงบประมาณยืดหยุ่น (Flexible budget คือ งบประมาณท่ี
เปลี่ยนแปลงได้ตามขนาดของกิจกรรม35 การวางแผนงบประมาณ ต้องการวางระยะสั้นและระยะยาวให้

33 ธงชัย สันติวงษ์, องคก์ าร ทฤษฎี และการออกแบบ, (กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานชิ , ๒๕๕๐), หน้า ๔๓.
34 กติ ิมา ปรดี ดี ิลก, การบรหิ ารและการนเิ ทศเบอื้ งต้น, (กรุงเทพมหานคร : อกั ษรพิพัฒน์ จำกัด, ๒๕๕๓), หน้า ๓๓.
35 สมาคมนกั บญั ชแี ละผสู้ อบบญั ชีรับอนุญาตแหง่ ประเทศไทย "ศัพท์บญั ชี", (กรงุ เทพมหานคร : บรษิ ทั พ.ี เอ.ลีฟว่ิง จำกัด, ๒๕๓๘), หนา้ ๘๑.

๒๗

สอดคล้องกันเนื่องจากการวางแผนระยะ ยาวเป็นการคาดหวังกำไรและการเติบโตในอนาคตโดยจะประสบ
ผลสำเรจ็ ได้ต้องมาจาก การบรรลผุ ลสำเร็จ อย่าง โดยปกตจิ ะอยู่ ณ ระดบั การผลิตหรือการขาย ณ หนว่ ยท่ผี ลิต
หรือขายที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้นในการจัดทำงบประมาณยึดหยุ่นจึงต้องศึกษาพฤติกรรม ต้นทุนอย่างละเอียด
งบประมาณที่จัดทำจึงจะใช้ได้กับทุกระดับกิจกรรมเพราะเป็นงบประมาณที่ใช้ในการควบคุม เชิงเปลี่ยนแปลง
มากกว่าจะคงทจ่ี ึงใชใ้ นการวางแผน ควบคมุ และวดั ผลการปฏบิ ัติงานจรงิ ได้อย่างมปี ระสิทธิภาพ

๒. งบประมาณฐานศูนย์ งบประมาณฐานศูนย์ คือ งบประมาณที่จัดทำขึ้นโดย มีได้คำนึงถึงประมาณ
ค่าใช้จ่ายเดิมของปีก่อนๆ แต่จะเริ่มลงมือพิจารณาและวิเคราะห์ข้อมูลใหม่ทั้งหมดซึ่ง ผู้เสนอของบประมาณ
ต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ โครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่กิจการต้องดำเนินการในปีงบประมาณอย่าง
ชัดเจนพร้อมเหตุผลและวงเงินที่เสนอ โดยมีการ วิเคราะห์ ประเมินค่า และจัดลำดับความสำคัญของโครงการ
หรือกิจกรรมต่างๆ ก่อนหลังตาม ผลตอบแทนหรือประโยชน์ที่มตี ่อกจิ การ พร้อมจัดสรรทรัพยากรใหเ้ หมาะสม
ตามท่ีไดว้ ิเคราะห์

๓. งบประมาณส่วนเพิ่ม งบประมาณส่วนเพิ่ม คือ งบประมาณที่ช่วยในการตัดสินใจในกรณีที่มี
ทางเลือกตั้งแต่ ๒ ทางเลือก โดย งบประมาณส่วนเพิ่มนี้จะแสดงความแตกต่างของตันทุนในระหว่างทางเลือก
๒ ทางเลอื กถงึ ตน้ ทุนส่วนเพม่ิ ซ่ึงเป็นต้นทนุ ในอนาคตท่ีจะเกิดขึ้นหรือตน้ ทุนทปี่ ระหยัดได้หรือลดลงจากตน้ ทุน
รวมเนื่องจากรายได้ที่เพ่ิมขึ้น เมื่อระดับกิจกรรมเปล่ียนแปลงไปหรือเมื่อมีการตัดสนิ ใจกระทำการเปลี่ยนแปลง
ทางธุรกิจอย่างหนึ่ง การประมาณ ต้นทุนส่วนเพิ่มอาจวิเคราะห์เป็นต้นทุนต่อหน่วย หรือเปรียบเทียบต้นทุน
ตา่ งๆ เป็นยอดรวมกไ็ ด้

๔. งบประมาณตามงดระยะเวลาและงบประมาณต่อเนื่อง งบประมาณตามงวดระยะเวลา คือ
งบประมาณทจี่ ัดทำขึน้ สำหรับช่วงระยะเวลาใดเวลาหน่ึงอาจเปน็ ระยะสั้นคือ ๖ เดอื น หรอื ๑ ปี หรือระยะยาว
คือ ๓ ปี ๕ ปี หรือมากกว่านั้น ในการวางแผนประจำงวดนั้นจะต้องมี การวางแผนทุกขั้นตอนของกิจกรรมที่
ควรมี และคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นประจำในแต่ละงวด ส่วน งบประมาณต่อเนื่อง คือ งบประมาณที่
จัดทำขึ้นอย่างต่อเนื่องในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อให้กิจการบรรลุวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้และดำเนินงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพต่อไป เช่น เมื่อได้มีการจัดทำงบประมาณในการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ ต่อมาจะมีการตั้งประมาณ
การเกี่ยวกับค่าใชจ้ า่ ยในการซอ่ มแซม บำรงุ รักษาและอัพเกรดคอมพวิ เตอร์ เปน็ ต้น

๕. งบประมาณตามกิจกรรม งบประมาณตามกิจกรรม คือ งบประมาณที่เน้นกิจกรรมที่เกิดขึ้นใน
องคก์ ร เปน็ กระบวนการการ วางแผนและควบคุมกิจกรรมต่างๆทีค่ าดว่าจะเกิดขน้ึ ในองคก์ ร เชน่ การขาย การ
ผลิต การกำหนดปริมาณสินค้า คงเหลือ เป็นต้น เมื่อระบุกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้แล้วจึงจะประมาณ
ต้นทนุ ทจี่ ะเกิดข้ึนสำหรบั กจิ กรรมนน้ั

๖. งบประมาณตามช่วงระยะเวลาการจัดทำงบประมาณเพื่อการวางแผนและควบคุม ๕ ต่อเนื่องใน
ระยะส้นั ชว่ งเวลางบประมาณระยะส้ันหรือระยะยาวข้ึนอยกู่ บั ลกั ษณะของการประกอบธุรกจิ และ รายละเอยี ด
ที่ ต้องการซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับการวางแผนองค์กร (Corporate plan) ในภาพรวมทั้งหมด งบประมาณระยะ
สั้น เป็นชุดงบประมาณที่สมบูรณ์เกี่ยวกับการ ดำเนินงาน ในปัจจุบัน โดยทั่วไปงบประมาณระยะสั้นมี
ระยะเวลาประมาณ ๑ ปีหรือน้อยกว่า ฝ่ายจัดการอาจจะจัดทำงบประมาณแบ่งทอนเวลาตลอดทั้งปีให้เป็น
ระยะเวลาสั้นๆ หลายช่วงเวลา เช่น งบประมาณ ๓ เดือน ๖ เดือน หรืออาจขยายเป็น ๑๘ เดือน โดย ๓ เดือน

๒๘

แรกเป็นงบประมาณของปีก่อน จัดทำงบประมาณ ๑๒ เดือนของปีปัจจุบัน และ ๓ เดือนหลังเป็น งบประมาณ
ปีต่อไป การทำงบประมาณให้คาบเกี่ยวช่วงเดือนกันสามารถปรับเปลี่ยนแผนงานและแก้ปัญหาในสถานการณ์
ต่างๆ ได้และเพื่อให้สัมพันธ์กับการ ควบคุมภายในควรจะกำหนดวัด ผลการดำเนินงาน ๓ เดือน ๖ เดือนและ
๑๒ เดือนขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจและประสิทธิภาพในการวางแผนกำหนดการผลิตให้เพียงพอในแต่ ละ
ผลิตภัณฑ์ งบประมาณระยะยาว อาจแบ่งช่วงเวลางบประมาณเป็นระยะปานกลางมีระยะเวลาประมาณ ๒-๓
ปี โดยพจิ ารณาถงึ สิง่ ทเ่ี กดิ ขนึ้ ในปจั จุบัน และมงุ่ ดำเนินโครงการเพ่อื ให้บรรลุจุดประสงคข์ องกจิ การในระยะยาว
การวางแผนกำไรระยะยาวเป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการตัดสินใจในปัจจุบันและคาดการ ณ์สิ่งที่เกิดขึ้นใน
อนาคต อย่างดีที่สุดซึ่งแสดงในรูปการขาย การจ่ายลงทุน กิจกรรมการวิจัยและพัฒนาและความต้องการเงิน
ลงทุน ดังนั้น งบประมาณระยะยาวจึงมีระยะเวลาประมาณ ๓ ปีขึ้นไป เป็นโครงการลงทุนที่มีลักษณะเป็นการ
จ่ายเงินจำนวน มากโดยหวังประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับเป็นระยะเวลานาน เช่น โครงการลงทุนเพื่อซื้อสินทรัพย์
ใหม่แทนสินทรัพย์ เดิม โครงการซื้อเครื่องจักรใหม่ สร้างโรงงานหรือสำนักงานใหม่เพิ่มเติมเพื่อขยายกิจการ
เป็นต้น งบประมาณ ระยะยาวเป็นการวางกรอบโดยกว้างและต้องอาศัย ความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน ท่ี
สอดคล้องกับแผนงานที่ กำหนดไว้เพื่อสามารถจัดทำงบประมาณระยะปานกลางและระยะสั้นให้รองรับ
แผนงานตามงบประมาณระยะยาว

ลกั ษณะของงบประมาณทีด่ ี

งบประมาณทด่ี ีและเปน็ ประโยชนตอ่ หนว่ ยงาน ควรจะตอ้ งมลี กั ษณะ ดงั น3้ี 6

๑. เป็นศูนย์รวมของเงินงบประมาณท้ังหมดปกติการใช้จ่ายเงินงบประมาณควรจะใช้จา่ ยและพิจารณา
จากศูนย์หรือแหล่งรวมเดียวกันทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อจะได้มีการพิจารณาเปรียบเทียบการใช้จ่ายในแต่ละรายการ
หรือทุกโครงการว่ารายการใดมีความสำคัญจำเป็นมากน้อยกว่ากนั หากรายการใดมีความสำคัญและจำเปน็ มาก
ก็ควรได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายมาก ทั้งนี้เพื่อความยุติธรรมในการจัดสรรเงินงบประมาณทุก
โครงการควรมีสทิ ธเิ ทา่ ๆ กันในการเสนอเข้ารับการพิจารณาในการจดั สรรงบประมาณพรอ้ มกัน เพื่อจะได้มีการ
ประสานงานและโครงการเข้าด้วยกัน ป้องกันมิให้มีการทำงานหรือโครงการช้ำซ้อนอันจะเป็นการสิ้นเปลือง
งบประมาณ ดังนั้น จึงไม่ควรแยกการพิจารณางบประมาณไว้ในหลายๆ จุดหรือหลายครั้ง ซึ่งจะก่อให้เกิดการ
พิจารณาที่ต่างกันและไม่ยุติธรรมแต่อย่างไรก็ตาม ในบางโอกาสก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องแยกตั้งเงินไว้
ต่างหากเป็นงบพิเศษ นอกเหนือจากงบประมาณ เช่น งบกลาง งบราชการลับ ซึ่งถ้ามีจำนวนไม่มากเกินไป ก็
มักจะไม่เป็นภัย ทั้งยังช่วยใหเ้ กิดความสะดวกบางอย่างด้วย แต่ถ้าการตั้งงบพิเศษมีมากเกนิ ไปจะเกิดผลเสียต่อ
การบริหารงบประมาณ เพราะจะทำให้เกิดการ คือ โอกาส แยกเงินมาใช้จ่ายได้ง่ายขึ้นและยังทำให้การบริหาร
งบประมาณเปน็ ไปแบบไมม่ ีแผนและเป้าหมายท่ชี ดั เจน

๒. มีลักษณะของการพัฒนาเป็นหลักงบประมาณที่ดีควรจะดำเนินการจัดสรรโดยยึดหลักการพัฒนา
เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าเป็นหลัก ทั้งนี้เนื่องจากมีงบประมาณจำกัด จึงควรมีการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ
ตามหลักการพฒั นาที่ดีวา่ ดา้ นไหนควรมากอ่ นหลงั ตามสถานการณและความจำเป็น

36 ณรงค สัจพันโรจน, การจดั ทำอนมุ ตั ิและบริหารงบประมาณแผนดินทฤษฎแี ละปฏิบัติ, (กรุงเทพมหานคร : บพธิ การพิมพ์, ๒๕๓๘), หนา้ ๓๒.

๒๙

๓. การกำหนดเงินต้องสอดคลองกับปัจจัยในการทำงานการจัดงบประมาณในแผนงานต้องมีความ
เหมาะสมให้งานนั้นๆ สามารถจัดทำกิจกรรมได้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรืออีกนัยหนึ่ง คือ การกำหนด
เป้าหมายหรอื ผลทจ่ี ะได้รบั ต้องสอดคลองกับงบประมาณและความเปน็ ไปได้

๔. มีลักษณะที่สามารถตรวจสอบได้ หรือเป็นเครื่องมือที่จะใช้ตรวจสอบการบริหารงานของหน่วยงาน
ได้ การจัดงบประมาณในแผนงานต่างควรมีรายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ อย่างพอเพียงและเกิดผลเป็น
รปู ธรรม

๕. มีระยะการดำเนินงานที่เหมาะสม ตามปกติงบประมาณที่ดีควรมีระยะเวลาเหมาะสมตามสถาน
การณ ไม่สั้นไม่ยาวเกินไป โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลาประมาณ ๑ ปี การเริ่มต้นใช้งบประมาณจะเริ่มในเดือนใด
ขน้ึ อยู่กบั ความเหมาะสมของแตล่ ะหน่วยงาน เชน่ งบประมาณแผนดิน เริ่มเดอื นตุลาคมถึงเดือนกันยายนของปี
ต่อไป งบประมาณเงินรายไดข้ องสถานศกึ ษาใชต้ ามปกี ารศึกษาเปน็ ตน้

๖. มีลกั ษณะชว่ ยใหเ้ กิดการประหยัดในการทำงบประมาณ ควรพยายามให้การใชจ้ า่ ยเงินตามโครงการ
ต่างๆ ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยพยายามไม่ให้มีการใช้จ่ายเกินความจำเป็นพุม่ เฟือยหรือเป็นการใช้จ่ายที่สญู
เปล่าไมเ่ กดิ ประโยชนค์ ุม้ คา่

๗. มีลักษณะชดั เจน งบประมาณที่ดีควรมีความชัดเจนเข้าใจง่ายเนน้ ถึงความสำคัญแตล่ ะโครงการได้ดี
ไมค่ ลุมเครอื ง่ายต่อการพจิ ารณาวเิ คราะห์ และเป็นประโยชนต์ อ่ ผ้นู ำไปปฏิบตั ิด้วย

๘. มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ งบประมาณที่ดีจะต้องเป็นงบประมาณที่มีความถูกต้องทั้งใน
รายละเอียดทั้งในด้านตัวเลขและรายละเอียดของโครงการต่างๆ หากงบประมาณมีข้อบกพรองในด้านความ
ถูกต้อง ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดพลาดหรือความไม่รอบคอบก็ตามอาจเกิดผลเสียหายขึ้นได้ และต่อไป
งบประมาณอาจไม่รบั ความเชอื่ ถอื

๙. จะต้องเปิดเผยได้ งบประมาณที่ดีจะต้องมีลักษณะที่สามารถจะเปิดเผยแก่สาธารณะ หรือ
ผู้เกี่ยวข้องทราบได้ ไม่ถือเป็นความลับ เพราะการเปิดเผยเป็นการแสดงถึงความบริสุทธิ์และโปร่งใสในการ
บรหิ ารหนว่ ยงาน

๑๐. มีความยืดหยุ่นงบประมาณที่ดีควรจะยืดหยุ่นได้ตามความจำเป็น หากจัดวางงบประมาณไว้อย่าง
เคร่งครัดจนขยับไม่ได้ อาจจะก่อให้เกิดความไม่คลองตัวในการทำงาน เพราะลักษณะของการทำงบประมาณ
เป็นการวางแผนการทำงานในอนาคต ซึ่งอาจมีปัจจุบันอื่นมากระทบทำให้การบริหารงบประมาณผิดพลาด
และอย่างไรกต็ าม ถา้ มคี วามยืดหย่นุ มากกอ็ าจเกิด ปัญหาการใชง้ บประมาณที่ไม่มปี ระสทิ ธิภาพ

๑๑. มีความเชื่อถือได้ในแง่ความบริสุทธิ์ งบประมาณที่ดีต้องสามารถตรวจสอบได้เพื่อป้องกันการ
ทจุ รติ ซ่ึงจะชว่ ยใหเ้ กดิ ความเชื่อถอื ได้ ประหยัด และตรงตามวตั ถุประสงค์

ขอ้ ดีของงบประมาณ

งบประมาณขององค์การมีส่วนช่วยให้การดำเนินการสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
นับวา่ มีประโยชนต์ ่อองค์การอย่างมากมาย อาทิเช่น

๓๐

๑. ทำให้ผู้บริหารรู้จักนำเอาการวางแผนมาเป็นเครื่องมือกำหนดงานแต่ละชนิด เพื่อให้สอดคล้องกับ
วตั ถปุ ระสงคท์ ่ีกำหนดไว้

๒. งบประมาณจะกำหนดเป้าหมายท่ีแน่นอน และเปน็ ไปได้
๓. มกี ารประสานงานกันในการปฏิบตั ิงาน ทำให้การปฏบิ ัตงิ านมีประสทิ ธิภาพ
๔. งบประมาณเปน็ เคร่ืองมือช่วยชี้ว่ากิจกรรมนั้นๆ มีความสามารถในระดับใดเม่ือเทียบกับการทำงาน
ปที ผ่ี ่านมา
๕. งบประมาณชว่ ยให้พนักงานผู้ใต้บงั คับบัญชาทราบแนวทางของตนทีจ่ ะปฏิบตั ิงาน เกิดความรู้สึกว่า
เขามีส่วนรว่ ม
๖. การใช้จ่ายของคนส่วนใหญ่ อาจขาดความรู้สึกทั้งนี้เพราะอาจนึกว่าเราพยายามทำงานให้ดีที่สุดอยู่
แล้ว หากเรามีงบประมาณมาเป็นเครื่องมือในการบังคับการจ่ายเงินดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติหาเหตุผลเพ่ือ
ปฏเิ สธบางกรณไี ด้
๗. การทำงานบรรลุตามงบประมาณทใ่ี ห้ไวเ้ กดิ ความรูส้ กึ ได้มีส่วนร่วมเป็นผลดี
สรุปได้ว่า ข้อดีของงบประมาณ คือ ช่วยให้การดำเนินงานขององค์การหรือหน่วยงานดำเนินการ
สัมฤทธผิ์ ลตามเป้าหมาย หรือวตั ถุประสงคท์ ีว่ างไว้

ข้อจำกัดของงบประมาณ
งบประมาณแม้จะมีประโยชน์และสามารถใช้เป็นเครื่องมือ ในการบริหารองค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์

ต่างๆ และมีความสำคัญอย่างมากก็จริง แต่งบประมาณก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ในตัวของงบประมาณ ซึ่งข้อจำกัด
เหล่านี้มิใช่ เป็นข้อเสียหายหรือทำให้การงบประมาณด้อยค่าลงไป เพียงแต่ ประเด็นเหล่านี้จะต้องนำมา
พิจารณาในการใชง้ บประมาณ เพื่อใหส้ ามารถใชง้ บประมาณอย่างเป็นประโยชน์สงู สุดและมีประสิทธิภาพอย่าง
แท้จริง

อินสอน บัวเขียว37 กล่าวถงึ ข้อจำกัดงบประมาณ ดงั นี้
๑. หากผู้ปฏิบัติงานไม่เข้าใจเรื่องงบประมาณอย่างดีแล้ว อาจมีความคิดเห็นว่าผู้บริหารต้องการ
ความสำเร็จเป็นที่ตั้ง การวางแผนงานต่างๆผู้บริหารเป็นผู้กำหนดเมื่อเป็นเช่นนี้ พนักงานส่วนใหญ่ จะเกิดขวัญ
เสีย ไม่ปฏบิ ตั ติ าม
๒. หากการแบ่งหน่วยงานไม่เป็นระเบียบ ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ดีแล้ว การใช้งบประมาณมาเป็นเครื่องมือ
เพียงอย่างเดียวอาจจะยังไม่เพียงพอ เพราะหน่วยงานแต่ละหน่วย อาจให้ผลตอบแทนทางด้านรายได้ไม่
ทัดเทยี มกัน

37 อินสอน บัวเขียว, สาระสำคัญการบรหิ ารชมชน, (กรุงเทพมหานคร : พริ าบสำนกั พิมพ์, ๒๕๓๗), หน้า ๑๗๓-๑๗๔.

๓๑

๓. การได้รับงบประมาณไม่เท่ากันอาจเป็นสาเหตุที่ทำหัวหน้าหน่วยงานมีข้อคิดเห็นไม่เป็นไปในรูป
เดียวกนั ซง่ึ อาจเกดิ เป็นข้อพิพาทได้ในอนาคต

๔. งบประมาณบางครั้งนำมาวัดค่าของการทำงานของผู้ปฏิบัติ เพื่อพิจารณาความดีความชอบ ซึ่งอาจ
ทำใหเ้ กิดความไม่ยุตธิ รรมขนึ้ ได้

๕. บางหน่วยงานการใช้จ่ายมีวงเงินจำกัด แต่เมื่อเห็นว่างบประมาณยังเหลืออยู่ก็พยายามใช้ให้มาก
ทส่ี ุด เผอ่ื วา่ ปหี นา้ หากของบประมาณมาแล้วอาจถูกตดั ไดเ้ พราะเมอื่ มแี ลว้ ไมใ่ ช้ เกดิ ผลเสยี ตอ่ กจิ การในทีส่ ุด

ณรงค์ สจั พันโรจน3์ 8 กลา่ วถงึ ข้อกำหนดและขอ้ จำกดั ของงบประมาณโดยแบ่งได้ ดงั น้ี

๑. ดา้ นการบริหาร

๑) ผู้บริหาร บทบาทของผู้บริหาร ต้องตระหนักและเห็นความสำคัญของงบประมาณว่าเป็นเครื่องมือ
สำคัญที่ใช้ในการบริหารงบประมาณให้มีประสิทธิภาพสูงต้องจัดองค์การและวางแผนการปฏิบัติงานให้
สอดคลอ้ งกบั งบประมาณทม่ี ีอยู่ และให้มกี ารประสานงานในระหวา่ งหน่วยงานในองค์การ โดยเฉพาะหนว่ ยงาน
ที่เป็นหน่วยข้อมูลกลางในการบริหารงบประมาณขององค์การ จะต้องจัดหน้าท่ีรับผิดชอบเกี่ยวกับงาน
งบประมาณให้เป็นงานที่ต่อเนื่องและมีข้อมูลในด้านต่างๆ ไว้พร้อมจะต้องจัดเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการ
บริหารงานงบประมาณไว้ครบถ้วน เพอ่ื ใหง้ บประมาณเป็นไปด้วยความรวดเร็ว

๒) ด้านองคก์ ร ต้องมบี ทบาทในการจัดระบบงานและองคก์ รให้มีสายบังคบั บัญชาในองคก์ รใหแ้ น่ นอน
จัดให้มีการประสานงานกันในหน่วยงาน ในการบริหารงบประมาณ โดยเฉพาะงานงบประมาณและงานบัญชี
และจัดให้มีองค์กรกลางเป็นศูนย์รวมข้อมูลงบประมาณขององค์กรเพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนการบริหาร
งบประมาณ การงานอนื่ ๆ ทเ่ี ก่ยี วขอ้ งให้สอดคล้องกนั ในด้านข้อมูลทใี่ ช้

๓) เจ้าหนา้ ท่ี ตอ้ งปฏิบตั ดิ ังน้ี คือ ตอ้ งรู้ จักและเขา้ ใจบทบาทอำนาจหน้าท่ีของตนเองเปน็ อย่างดี และ
เปน็ คนมีเหตุผล ตอ้ งมปี ระสบการณแ์ ละความรอบคอบกว้างขวางในด้านตา่ งๆ อาทิ ด้านนโยบาย ด้านแผนงาน
ด้านเศรษฐกิจ ฯลฯ ต้องรู้จักปฏิบัติตัวกับหน่วยงานและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้มีบรรยากาศในการบริหาร
งบประมาณ ใหเ้ ปน็ ไปอยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ และประสทิ ธิผลสูงสดุ เปน็ ประโยชนต์ อ่ ประเทศชาตแิ ละส่วนรวม

๒. ด้านนิติบัญญัติ กระบวนการงบประมาณ ต้องผ่านความเห็นชอบของฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว จึง
ประกาศกฎหมายหรือพระราชบญั ญตั ิงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ ฉะนั้นฝ่ายนิติบญั ญัติจึงมคี วามสำคญั ตอ่
กระบวนการงบประมาณอย่างมาก หากฝ่ายนิติบัญญัติเป็นบุคคลที่มีความรอบรู้ ย่อมสามารถควบคุมเงิน
งบประมาณให้ใช้จ่ายไปอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ ตรงกันข้ามหากฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีความรอบรู้ รอบด้าน
แล้วงบประมาณย่อมจะต้องถูกกำหนดและจำกัดไปสู่ จุดที่ไม่ถึงไม่ปรารถนา และเป็นผลดีต่อประเทศชาติและ
ส่วนรวมในท่สี ดุ

38 ณรงค์ สัจพนั โรจน์, การจดั ทำอนมุ ตั ิการบริหารงบประมาณแผน่ ดนิ : ทฤษฎแี ละปฏบิ ตั ิ, (กรุงเทพมหานคร : บพิตรการพิมพ์, ๒๕๔๓), หนา้
๙๗-๙๘.

๓๒

๓. ด้านเศรษฐกิจ งบประมาณย่อมถูกกำหนดและจำกัดโดยสภาพเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้น
เป็นสำคัญ เพราะเงินรายรับที่จะนำมาใช้จ่ายเป็นงบประมาณรายจ่ายนั้นย่อมขึ้นอยู่กับรายได้ประชาชาติหรือ
ภาวะเศรษฐกจิ ดีหรอื เลว ภาวะประเทศชาติร่ำรวยหรือยากจนเป็นสำคัญ

๔. ด้านสังคม ลักษณะของสังคมจะเป็นตัวกำหนดและจำกัดงบประมาณอีกเช่นกัน อาทิ อัตราการ
ว่างงาน อัตราการอ่านออกเขียนได้ อัตราโจรผู้ร้าย ฯลฯ ย่อมเป็นตัวกำหนดให้รัฐบาลตระหนักว่า ควรจะใช้
งบประมาณเพื่อการน้เี ป็นจำนวนเทา่ ไร เพื่อให้สอดคลอ้ งกับความต้องการของสังคมด้านต่างๆ

๕. ด้านอื่นๆ เช่น ข้อกำหนดและข้อจำกัดทางการศาสนาการต่างประเทศการเมือง กฎหมายและ
ประวตั ิศาสตร์

สรุปได้ว่า งบประมาณเป็นแผนงานแสดงถึงความต้องการใช้จ่ายเงินและทรัพยากรในการดำเนิน
กิจกรรม/โครงการต่างๆในอนาคตขององค์การหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งงบประมาณเป็นการกะ
ประมาณการรายรบั และรายจา่ ยทีจ่ ะได้มาและจ่ายไปในอนาคต

สรุป

ความหมายของงบประมาณจะแตกต่างกันออกไปตามกาลเวลาและลักษณะการให้ความหมายของ
นักวิชาการแต่ละด้าน ซึ่งมองงบประมาณแต่ ละด้านไม่ เหมือนกัน เช่น นักเศรษฐศาสตร์ มองงบประมาณใน
ลักษณะของการใชท้ รพั ยากรท่ี มอี ยู่ จำกัดให้เกดิ ประโยชนส์ ูงสุด นกั บริหาร จะมองงบประมาณในลักษณะของ
กระบวนการหรือการบริหารงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยบรรลุเป้าหมายของแผนงานที่ วางไว้
นักการเมืองจะมองงบประมาณในลักษณะของการมุ่งให้รัฐสภาใช้อำนาจควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐบาล
ความหมายดั้งเดิม งบประมาณหรือ Budget ในความหมายภาษาอังกฤษแต่เดิม หมายถึง กระเป๋ าหนังสือใบ
ใหญ่ ที่เสนนาบดีคลังใช้บรรจุเอกสารต่างๆ ที่แสดงถึงความต้องการของประเทศและทรัพยากรที่มีอยู่ในการ
แถลงต่อรัฐสภาต่อมาความหมายของ Budget ก็ค่อย ๆ เปลี่ยนจากตัวกระเป๋าเป็นเอกสารต่าง ๆ ที่บรรจุใน
กระเป๋านั้น ซึ่งแสดงออกในรูปตัวเงินแสดงโครงการดำเนินงานทั้งหมดในระยะหนึ่งรวมถึงการกะประมาณการ
บริหารกิจกรรม โครงการและค่าใช้จ่ายตลอดจนทรัพยากรที่จำเป็นในการสนับสนุน การดำเนินงานให้บรรลุ
ตามแผนน้ยี ่อมประกอบดว้ ยการทำงานเปน็ ข้นั ตอน คือ การจดั เตรียม การอนุมตั ิ และการบรหิ าร

บทท่ี ๓
นโยบายงาบประมาณ

นโยบายงบประมาณ คือการจัดการใส่สวนของรายได้ (ภาษี) และค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในประเทศหรือ
รัฐ นโยบายงบประมาณ ยังรวมถึงนโยบายภาษี ในแต่ละปีเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจะลงคะแนนเสียงสำหรับ
งบประมาณตามรายได้จากการคาดการณ์ค่าใช้จ่ายซึ่งสามารถนำเสนอรูปแบบของงบประมาณแบบสมดุล
(Balanced Budget Policy) งบประมาณแบบสมดุล หมายถึงการจัดทำงบประมาณที่อยู่ในลักษณะ
งบประมาณรายรับมีจำนวนเท่ากับงบประมาณรายจ่ายพอดี งบประมาณแบบเกินดุล ( Surplus Policy)
งบประมาณแบบเกินดุล หมายถึง การประมาณการรายได้ (Income) มากกว่าประมาณการรายจ่าย
(Expenditures) กล่าวคือ มีการประมาณการรายรับในจำนวนที่มากกว่าประมาณการค่าใช้จ่าย และ
งบประมาณแบบขาดดุล (Defecit Budget Policy) งบประมาณแบบขาดดุล หมายถงึ การประมาณรายจา่ ยสูง
กว่าประมาณการรายไดท้ ่ีคาดว่าจะจดั หาได้

การแบ่งประเภทตามนโยบายงบประมาณ
การแบ่งประเภทของงบประมาณมีเกณฑ์ในการแบ่ง ๒ ลักษณะ คือแบ่งตามนโยบายงบประมาณ

(budget policy) และแบ่งตามบทบาทของงบประมาณ (budget roles) งบประมาณแต่ละประเภทมี
รายละเอียดดงั น3ี้ 9

๑. การแบง่ ประเภทตามนโยบายงบประมาณ (budget policy) แบง่ ไดเ้ ป็น ๓ ประเภท คือ
๑) งบประมาณเกินดุล (surplus budget) ได้แก่ งบประมาณที่มีรายได้สูงกว่ารายจ่าย การเลือกใช้
นโยบายเกินดุลนี้เนื่องจากรัฐต้องแก้ปัญหาด้วยการเก็บภาษีอากรเข้าคลังให้ได้มากกว่างบประมาณที่รัฐจ่าย
ออกไป
๒) งบประมาณขาดดุล (deficit budget) ได้แก่ งบประมาณที่มีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ งบประมาณ
ประเภทนี้เนื่องจากรัฐใช้นโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกจิ ตกต่ำหรือภาวะที่รัฐจำต้องใช้จ่ายเงินเปน็ จำนวนมาก เพื่อ
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รัฐจึงจำเป็นต้องยอมใช้จ่ายเงินมากกว่าจำนวนภาษีอากรที่เก็บได้
ส่วนเงนิ ทข่ี าดรัฐอาจใช้วิธกี ยู มื จากสถาบันการเงนิ ระหว่างประเทศหรอื ในประเทศกไ็ ด้
๓) งบประมาณสมดุล (balance budget) ได้แก่ งบประมาณท่ีมีรายได้กับรายจ่ายเทา่ กันงบประมาณ
ประเภทนเี้ ป็นงบประมาณทีร่ ัฐใชน้ โยบายประหยัด ใช้จา่ ยเท่าทีม่ เี งนิ ใช้จา่ ยเท่าท่ภี าษอี ากรเก็บได้

39 ชัยสทิ ธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ, มาตรฐานการจดั การทางการเงนิ ๗ Hurdles กับการจดั ทำงบประมาณระบบใหม่, (กรงุ เทพมหานคร : ธรี ะเฟลม แอน
ไซเท็กช, ๒๕๔๔), หน้า ๑๓ -15.

๓๔

๒. การแบง่ ตามบทบาทของงบประมาณ (budget roles)

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณพ.ศ.๒๕๐๒ ขึ้น ซึ่งมี
สาระสำคัญคอื การกำหนดหน้าทีก่ ารจัดการงบประมาณให้อยู่ในความรบั ผิดชอบของสำนกั งบประมาณ โดยใช้
ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ (lime-item budgeting) ซึ่งเป็นระบบงบประมาณที่แสดงการใช้จ่ายเงิน
เป็นรายการวัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินและให้ความสำคัญกับการควบคุมปัจจัยนำเข้า (input) แต่ละ
รายการโดยแสดงให้เห็นแต่เพียงว่าในการบริหารงานนั้นจะมีการใช้จ่ายงบประมาณรายการประเภทใด เช่น
จ่ายเป็นรายเดือน ค่าสิ่งของ ค่าบรกิ ารอยา่ งละเทา่ ใด ซ่ึงระบบงบประมาณแบบแสดงรายการน้ี ข้อดีคอื ชว่ ยใน
การควบคุมการใช้จ่ายของหน่วยงานได้ดีเพราะมีการแสดงค่าใช้จ่ายไวอย่างชัดเจน จึงง่ายต่อการปฏิบัติในการ
ปรับ เพิ่มหรือลดรายการ แต่มีข้อบกพรองที่ไม่สามารถวัดผลสำเร็จของงานได้เพราะการอนุมัติเงินประจำงวด
จะอนุมัติตามหมวดรายจ่าย มิได้อนุมัติตามแผนงาน งานหรือโครงการ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นความเช่ือมโยง
ระหว่างทรัพยากรที่จัดสรรให้แกงานหรือโครงการหนึ่งๆ กับผลที่ต้องการให้เกิดขึ้นหรือวัตถุประสงค์ของงาน
หรือโครงการนั้นๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการประเมินผลสำเร็จของการดำเนินการ นอกจากนี้การควบคุม
รายละเอียดของการใช้จ่ายเงินทำให้ผู้บริหารงานเท่าที่ควร จึงไม่สามารถใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือในการ
ควบคมุ การดำเนินงานใหเ้ ปน็ ไปตามแผนทีก่ ำหนดไว้ได้

จากข้อบกพรองของระบบงบประมาณดังกล่าวในปีงบประมาณ ๒๕๒๕ สำนักงบประมาณได้ปรับปรุง
ระบุงบประมาณ โดยนำหลักการและแนวทางการจัดทำงบประมาณแบบแผนงาน (program budgeting) มา
ใช้ผสมผสานกับระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ ซึ่งระบบที่มีความมุ่งหมายให้มีการเชื่อมโยง การจัดสรร
งบประมาณเข้ากับการวางแผนและเพื่อการจัดสรรงบประมาณเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล จึงได้แสดง
งบประมาณในลักษณะแผนงานไวในรา่ งพระราชบัญญัตงิ บประมาณรายจ่ายประจำปใี นขณะเดียวกันไดจ้ ำแนก
งบประมาณรายจ่ายของงานหรือโครงการ ออกเป็นหมวดรายจ่ายต่างๆ ในเอกสารงบประมารฉบับรายละเอยี ด
ประกอบงบประมาณรายจา่ ย

อย่างไรก็ตามแม้ว่าระบบงบประมาณแบบแผนงานจะเป็นระบบที่ส่งเสริมการพัฒนาประเทศที่มีแผน
รองรับ มีการวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและประหยัด
แต่ในทางปฏิบัติยังมีเงื่อนไขและข้อจำกัดเกี่ยวกับเทคนิคที่นำใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ตัดสินใจ ปัจจัยทาง
การเมือง ทักษะของเจ้าหนา้ ทตี่ ลอดจนการวัดมาตรฐานของผลงาน

จากวิกฤตเศรษฐกิจท่เี กดิ ข้ึนเม่ือปพี .ศ. ๒๕๔๐ รฐั บาลจำเป็นต้องมีการปฏิรปู ระบบราชการในลักษณะ
องค์รวมเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบบรหิ ารภาครัฐไปสู่ "รูปแบบการบริหารภาครฐั แนวใหม่" ซึ่งเน้นการทำงานที่ยึด
ผลลัพธ์เป็นหลัก มีการวัดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีความโปร่งใสและมอบความรับผิดชอบต่อผู้ปฏิบัติ โดยยึด
ประชาชนเป็นศูนยก์ ลาง การปฏิรูประบบบริหารภาครัฐตามแนวทางดังกล่าวครอบคลุมถึงแผนการปรับเปลี่ยน
ระบบงบประมาณ การเงนิ และพัสดุ เพอ่ื ปรบั ปรงุ ระบบการจดั การงบประมาณใหส้ ามารถจัดสรรงบประมาณได้
อย่างมีประสิทธิภาพมีความโปร่งใสและเป็นธรรม จึงนับเป็นการเปลี่ยนระบบงบประมาณ จากแบบเดิมท่ี
มุ่งเน้นการควบคุมการใช้ทรัพยากร มาเป็นระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงาน ( performance based
budgeting) ซึ่งมุ่งเน้นผลสำเร็จของผลผลิตและผลลัพธ์ มีการกำหนดเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมมีแผนกลยุทธ์
ชดั เจน มตี ัวชวี้ ัดผลสัมฤทธขิ์ องงานและสามารถวัดประเมินผลการทำงานได้ โดยมีความยืดหยุน่ ในกระบวนการ

๓๕

ทำงาน เพอื่ ใหส้ อดคลองกับสถานการณทเี่ ปลี่ยนแปลงไปและเนน้ ความรบั ผดิ ชอบของผบู้ รหิ ารแทนการควบคมุ
แบบรายละเอยี ดในการเบิกจ่ายแบบปจั จุบัน

สรุปว่าระบบงบประมาณมีการปรับเปลี่ยนวิธีการจากระบบงบประมาณที่ เน้นการควบคุมการใช้
ทรัพยากรมาเป็นระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงาน เพื่อให้การบริหารงบประมาณมีประสิทธิภาพ โปร่งใสและ
เป็นธรรม เน้นการควบคุมการใช้ทรัพยากร มุ่งผลสำเร็จของผลผลิตและกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนมีตัวชี้วัด
ผลสัมฤทธิ์ของงานและสามารถวัดประเมินผลการทำงานได้

การแบง่ ตามประเภทของงบประมาณ

ณรงค สัจพันโรจน กล่าวว่างบประมาณที่ประเทศต่างๆ ใช้กันอยู่ในขณะนี้มีหลายประเภท แต่ที่
สำคัญๆ และรูจักกันโดยท่ัวไปมีอยู่ประมาณ ๕ - ๖ ประเภทด้วยกัน แต่ละประเภทจะมีลักษณะการใช้และการ
ดำเนินการต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไปและมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แต่ละประเภทจะเหมาะสมกับประเทศใด
ประเทศหนึ่งนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้านไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางการบริหาร ความรูความสามารถ ปัจจัยด้าน
การเมือง กลุ่มประโยชนและปัจจัยอื่น ๆ เช่นปัจจัยด้านสังคม เป็นต้น สำหรับงบประมาณแต่ละรูปแบบมี
ดงั น4ี้ 0

๑. งบประมาณแบบแสดงรายการ (line - item budgeting) ระบบงบประมาณนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะ
ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุม มีรายการต่าง ๆ มากมายและกำหนดเอาไวตายตัว จะจ่ายเป็นรายการอื่นผิด
จากที่กำหนดไวไม่ได้ ถ้าจะผันแปรหรือจ่ายเกินวงเงินอย่างหนึ่งจะต้องทำความตกลงกับสำนักงบประมารหรือ
กระทรวงการคลังและหาเงินรายจ่ายมาเพิ่มให้พอจ่ายเสียก่อน ระบบงบประมาณนี้ ไม่เน้นการวางแผน
วตั ถปุ ระสงคแ์ ละเป้าหมายตลอดจนประสิทธิภาพของการบรหิ ารงานเทา่ ใดนัก

ในช่วงก่อนปีพ.ศ.๒๕๒๕ ระบบงบประมาณของไทย เป็นระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ ซึ่งการ
จัดทำงบประมาณในระบบดังกล่าวไม่สามารถแสดงถึงผลสำเร็จของงานได้ อีกทั้งมีความเชื่อมโยงกับแผนงาน
โครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลและเน้นประเภทรายจ่ายเป็นสำคัญและมีการควบคุมรายละเอียดของการใช้จ่าย
มาก ส่งผลให้ผู้บริหารทุกระดับไม่มีความคลองตัวในการบริหารงาน ด้วยเหตุผลนี้รัฐบาลจึงไม่สามารถใช้
งบประมาณเป็นเครื่องมือในการบริหารและควบคุมการปฏิบัติตามนโยบายที่ กำหนดได้ สถาบันพัฒนา
ข้าราชการพลเรอื น สำนักงาน ก.พ.41

๒. งบประมาณแบบแสดงผลงาน (performance budgeting) เป็นระบบงบประมาณทีใ่ ช้เครื่องมือใน
การควบคุมและตรวจสอบการดำเนินงาน ให้ได้ผลตามความมุ่งหมายที่ตั้งงบประมาณรายจ่ายไว โดยมีการ
ติดตามและประเมินผลโครงการต่างๆ อย่างใกล้ชิดและมีการวัดผลงานในลักษณะวัดประสิทธิภาพในการ
ทำงานว่างานที่ได้แต่ละหนว่ ยงานนั้นจะตอ้ งเสยี ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ เช่นนักเรียนเสียคา่ ใชจ้ า่ ยในการให้การศกึ ษา
เทา่ ไรตอ่ หัว เปน็ ต้น

40 ณรงค สจั พันโรจน, การจัดทำอนมุ ตั ิและบรหิ ารงบประมาณแผน่ ดินทฤษฎแี ละปฏิบัติ, (กรงุ เทพฯ : บพธิ การพิมพ, ๒๕๔๑), ๓๖.
41 สถาบันพัฒนาขา้ ราชการพลเรอื น สำนักงาน ก.พ.,Accessed ๒ April, ๒๐๑๓.Available from
http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/uploads/file/intcgration.pdf

๓๖

๓. งบประมาณแบบแผนงาน (planning programming budgeting) เพื่อแก้ไข ข้อบกพรองของ
ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ (line - item budgeting) ในปงี บประมาณพ.ศ.๒๕๒๕ สำนักงบประมาณ
จึงได้ปรับปรุงงบประมาณเป็นระบบงบประมาณแบบแผนงาน (planning programming budgeting โดย
นำมาใช้ผสมผสานกับระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ (line - item budgeting) ทั้งนี้สำนักงบประมาณ
ได้ปรับปรุงกระบวนการงบประมาณให้สอดคลองกับแนวคิดของระบบงบประมาณแบบแผนงานและมีความ
เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ คือ ในด้านการจัดทำงบประมาณ ได้มีการกำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์การจัดทำ
งบประมาณแบบกำหนดสัดส่วนของวงเงินงบประมาณรายจ่ายแต่ละด้านและแต่ละกระทรวงในลักษณะของ
การวางแผนมหาภาคผสมผสานกับการวิเคราะห์รายละเอียดคำขอตั้งงบประมาณขององค์กรภาครัฐโดยให้
สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ในด้านการบริหารงบประมาณได้
เปลี่ยนแปลงระบบอนุมัติเงินประจำงวดให้มีความคลองตัวมากยิ่งขึ้นโดยได้จัดสรรเงินงบประมาณไปตั้งจ่ายใน
สว่ นภมู ภิ าค ต้ังแต่การอนมุ ัตเิ งินประจำงวดและให้หวั หน้าองคก์ รภาครฐั เจาของงบประมาณ ไดร้ บั มอบอำนาจ
ในการบริหารงบประมาณมากขึ้นรวมทั้งการมอบอำนาจการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่า
ด้วยการพสั ดุให้แกผ่ ู้วา่ ราชการจงั หวัดดำเนนิ การแทน

ลักษณะของงบประมาณนี้ คือ ๑) เลิกการควบคุมรายละเอียด ๒) ให้กระทรวงทบวง กรม กำหนด
แผนงาน ๓) สำนักงบประมาณจะอนุมัติงบประมาณรายจ่ายให้แต่ละแผนงานโดยอิสระ ๔) สำนักงบประมาณ
จะควบคุมโดยการตรวจสอบและประเมินผลของงานแต่ละแผนงานว่าจะบรรลเุ ป้าหมายตามแผนงานเพียงใด

กระบวนการในการดำเนินการ ดังนี้ ๑) ให้มีการจัดแผนงาน งานหรือโครงการเป็นระบบขึ้นมา โดย
จัดเป็นโครงสร้างแผนงาน งานหรือโครงงาน ๒) ให้มีการระบเุ ปา้ หมายหรือวัตถปุ ระสงค์ของแผนงานให้มีความ
ชัดเจน ๓) ให้แสดงค่าใช้จ่ายทั้งหมดของแผนงานงานหรือโครงการ ๔) ให้แสดงถึงผลที่ได้รับจากแผนงาน งาน
หรือโครงการเมื่อสำเร็จเสร็จเรียบร้อย ๕) ให้มีการวิเคราะห์เลือกแผนงาน งานหรือโครงการใดว่าจะมีความ
เหมาะสม ท่ีจะดำเนนิ การก่อนหรือหลงั อยา่ งไร

ในทางปฏิบัตขิ องระบบงบประมาณแบบแผนงาน มีข้อจำกัดซึง่ เปน็ อุปสรรคอยูห่ ลายประการ ไม่ว่าจะ
เป็นกระบวนการจัดทำงบประมาณ ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางการเมือง ทักษะของเจาหน้าที่สำนัก
งบประมาณและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากหากไม่เข้าแนวคิดและกระบวนการวิเคราะห์เชิงระบบ
(system analysis) จะเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งการปฏิบัติงานภายใต้ระบบ
งบประมาณแบบแผนงานทผ่ี ่านมามปี ญั หาสำคัญ คอื ๑) เนน้ รายการการใชจ้ า่ ยมากกว่ามงุ่ ความสำเร็จของงาน
๒) ขาดความเชื่อมโยงในการวางแผนทุกระดับ ๓) ขาดความเชื่อมโยงระหว่างแผนปฏิบัติงานกับการจัดสรร
งบประมาณ ๔) ขาดการวางแผนการเงินล่วงหน้า ๕) ขาดความครอบคลุมครบถ้วนทุกแหล่งเงิน ๖) ขาดความ
คลองตัวในการบริหารจดั การด้านงบประมาณ ๗) ไม่คำนงึ ถงึ ประสิทธิภาพในการบรหิ ารสินทรพั ย์

ดังนั้น จึงมีแรงผลักดันให้มีการปฏิรูประบบงบประมาณของประเทศอย่างจริงจังเพื่อให้งบประมาณ
เปน็ เครอ่ื งมือในการพฒั นาเศรษฐกจิ สังคม การเมือง การบรหิ ารเทคโนโลยี สง่ิ แวดลอ้ มฯลฯ โดยสอดคลองกับ
นโยบายรัฐบาลที่ต้องการปฏิรูประบบบริหารภาครัฐไปสู่รูปแบบการบริหารการจัดการภาครัฐแนวใหม่ ที่เน้น
การทำงานโดยยึดหลักผลผลิตและผลลัพธ์เป็นหลัก รัฐจึงปรับเปลี่ยนงบประมาณ จากระบบงบประมาณแบบ
แผนงาน (planning programming Budgeting) เป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (performance -
based budgeting)

๓๗

๔. งบประมาณแบบฐานศูนย์ (zero - based budgeting system) เป็นระบบงบประมาณที่จะ
พิจารณางบประมาณทุกปีอย่างละเอียดทุกประการ โดยไม่คำนึงว่ารายการหรือแผนนั้นจะเป็นรายการหรือ
แผนงานเดิมหรือไม่ ถึงแม้รายการหรือแผนงานเดิมจะได้รับงบประมาณไปแล้วในปีที่แล้ว แต่อาจจะถูก
พจิ ารณาอกี ครัง้ และอาจเป็นไดว้ า่ ในปีนี้อาจจะถูกตดั งบประมาณลงกไ็ ด้

๕. ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ( performance – based budgeting system)ให้
ความสำคัญกับผลผลิต (outcome) ของการดำเนินงานผลผลิตที่เกิดขึ้น จะต้องเป็นระบบที่แสดงความ
เชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้ไปกับผลตอบแทนที่จะได้รับ ระบบงบประมาณนี้มีความเชื่อว่าการใช้ระบบ
งบประมาณเป็นเงื่อนไขในการบริหารจัดการโดยให้มุ่งเน้นผลงาน จะทำให้ผู้บริหารของหน่วยงานนำทีมงาน
ปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จ ตามนโยบายระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานนี้ จะมีการเชื่อมโยงกับผลลัพธ์
และผลลัพธ์จะต้องมีการสอดคลองกับเป้าหมายและนโยบายของรัฐบาล โดยการให้อำนาจผู้บริหารของ
หน่วยงานในการตัดสินใจและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ในการใช้จ่ายงบประมาณ เน้นเรื่องประสิทธิภาพและ
ประสิทธผิ ลของการดำเนินงาน ซึง่ ประสทิ ธภิ าพน้ันจะพิจารณาจากผลผลิตท่ไี ด้รับจาก การดำเนนิ งานเทียบกับ
ทรัพยากรที่ใช้ไป การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องได้ผลผลิตที่มากที่สุด โดยใช้ทรัพยากรที่น้อยที่สุด
สว่ นประสิทธผิ ลน้นั มุ่งเนน้ ผลตามท่ีตอ้ งการซ่งึ กำหนดไวในนโยบายและจุดหมายโดยผลทเี่ กิดขึ้นต้องสอดคลอง
กบั นโยบายและจุดมุ่งหมายของรัฐบาล

๖. ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (strategic performance - based
budgeting system) ในการนำระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์มาใช้ มีความเป็นมา ดังนี้
๑) ในระยะเริ่มแรกของการจัดการทำงบประมาณนั้น สำนักงบประมาณ ได้ใช้ระบบงบประมาณแบบแสดง
รายการ (line item budgeting) จนถึงปีงบประมาณ ๒๕๒๔ ๒) ในปีงบประมาณ ๒๕๒๕ สำนักงบประมาณ
ได้นำระบบงบประมาณแบบแผนงาน (planning programming budgeting system) มาใช้โดยไม่ได้นำมาใช้
อย่างเต็มรูปแบบ แต่ได้ผสมผสานกับระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ (line item budgeting) ซึ่งได้ใช้
ตลอดมาจนถึงปีงบประมาณ ๒๕๔๕ซึ่งมีข้อจำกัด คือ เน้นการใช้จ่ายมากกว่ามุ่งความสำเร็จของงาน มี
กฎระเบียบควบคุมค่อนข้างเคร่งครัด ขาดความคลองตัวในการบริหารจัดการขาดการวางแผนงบประมาณ
ล่วงหน้า ๓) ด้วยข้อจำกัดข้างต้นสำนักงบประมาณจึงดำเนินการพัฒนาระบบงบประมาณมาเป็นรูปแบบการ
จัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (performance – based budgeting system) ใช้ในปีงบประมาณ
๒๕๔๖ แต่ยังไม่เต็มรูปแบบ ๔) ในปีงบประมาณ ๒๕๔๙ รัฐบาลมีนโยบายให้ปรับปรุงระบบงบประมาณแบบ
มงุ่ เนน้ ผลงาน ไปเป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเนน้ ผลงานตามยทุ ธศาสตร์(strategic performance – based
budgeting system)

ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ ๑) มุ่งเน้นผลสำเร็จตามเป้าหมาย
เชิงยุทธศาสตร๒์ ) เน้นหลักธรรมาภบิ าล ๓) เนน้ การมอบอำนาจการบรหิ ารการจัดงบประมาณ ๔) เพมิ่ ขอบเขต
ความครอบคลุมของงบประมาณ ๕) จัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหนาระยะปานกลาง (medium
terms expenditure framework) ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์มีแนวคิดและ
หลกั การสำคัญ ๓ ประการ คือ ๑) การปรับปรุงใหร้ ัฐบาลสามารถใช้วธิ ีการและกระบวนการงบประมาณให้เป็น
เครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดผลสำเร็จตามนโยบายและเห็นผลที่ประชาชนจะได้รับจากรัฐบาล
๒) การมุ่งเน้นให้เกิดการใช้งบประมาณ โดยคำนึงความโปร่งใสมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ๓) การ

๓๘

ตรวจสอบความคลองตัวในการจัดทำและบริหารงบประมาณให้กับผู้ปฏิบัติ (Devolution) ในขณะเดียวกัน
หน่วยปฏิบัติจะต้องแสดงถึงความรับผิดชอบ (accountability) จากการนำงบประมาณไปใช้ให้เกิดผลงานตาม
ยุทธศาสตร์และสอดคลองกับความต้องการของประชาชน โดยผ่านกระบวนการตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน
และผลทางการเงนิ ทีร่ วดเร็ว ทนั สมยั

กล่าวโดยสรุป งบประมาณเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการเมือง ดังนั้นเพื่อให้การ
บริหารงบประมาณเกิดประโยชนสูงสุด เกิดประสิทธิภาพตามเป้าหมายต่อการบริหารประเทศ จึงเป็นเหตุให้
ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงงบประมาณเรื่อยมา โดยเน้นผลผลิตและผลลัพธ์เป็นหลักตั้งแต่ปีงบประมาณ
๒๕๔๖ ได้ใช้ระบบงบประมาณแบบมงุ่ เน้นผลงานตามยุทธศาสตร์

สรุป

นโยบาย ขอบขา่ ย การจดั ทำและเสนองบประมาณ เปน็ นโยบายงบประมาณ คอื การจัดการใส่สวนของ
รายได้ (ภาษี และค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในประเทศหรือรัฐ นโยบายงบประมาณ ยังรวมถึงนโยบายภาษีในแต่ละ
ปี ซึ่งมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการและจากการกระจายอำนาจมาให้สถานศึกษา หรือหน่วยงานต่าง ๆ
ทำให้การบริหารนิติบุคคลมีความสะดวกคลองตัวมากขึ้น การบริหารงบประมาณ จำต้องมีความคุ้มค่า มีความ
โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในการปฏิบัติงานซึ่งเป็นปัจจัยที่จะ
สนับสนุนให้ การบริหารที่เป็นนิติบุคคลประสบความสำเร็จ โดยใช้กระบวนการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้น
ผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ การวางแผนงบประมาณ การกำหนดผลผลิตและการคำนวณต้นทุน การจัดระบบจัดซื้อจัด
จ้าง การบริหารการเงินและควบคุมงบประมาณการรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน การบริหาร
สินทรัพย์ การตรวจสอบภายในมาบริหารจัดการ เพื่อให้การจัดทำและเสนอของบประมาณ การจัดสรร
งบประมาณ การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน การะดม
ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา การบริหารการเงิน การจัดทำบัญชี และการบริหารสินทรัพย์ของ
สถานศึกษา หรือหนว่ ยงานภาครฐั มคี ณุ ภาพอนั จะส่งผลตอ่ การพฒั นาและเปน็ ไปนโยบายการศกึ ษาของรัฐ

บทท่ี ๔

วา่ ดว้ ยเรื่องภาษอี ากร

ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่รัฐนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการหารายได้เข้าสู่คลัง โดย
มีแนวความคิดพื้นฐานในการจัดเก็บภาษีที่แตกต่างจากภาษีอากรประเภทอื่น ทั้งนี้ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิม่
จะต้องคำนึงถึงหลักภาษีอากรที่ดี เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเกิดความมีประสิทธิภาพ ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งจากการ
จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม รัฐได้นำมาใช้เป็นรายจ่ายสาธารณะด้านการสาธารณสุขและยารักษาโรคเพื่อส่งเสริมสุข
ภาวะที่ดีของประชาชน อันเป็นการสอดคล้องต่อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ นอกจากนี้ รัฐยังได้มีการส่งเสริม
ให้มกี ารใชย้ ารักษาโรคอยา่ งสมเหตผุ ล รวมถงึ การกำหนดคำจำกดั ความของยารกั ษาโรคเพือ่ ให้เกดิ ความชัดเจน
ในการบังคับใช้กฎหมาย ในบทนี้ ผู้วิจัยจะได้กล่าวถึงความหมายของภาษีอากร หลักภาษีอากรที่ดีกับการ
จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หลักการพื้นฐานของภาษีมูลค่าเพิ่ม คำจำกัดความของยารักษาโรค นโยบายของรัฐ และ
การควบคุมราคายารักษาโรคตามองค์การเพอ่ื ความร่วมมอื ทางเศรษฐกจิ และการพัฒนา

ความหมายของภาษอี ากร

รัฐบาลมีภารกิจที่จะต้องดำเนินการตามนโยบายที่ถูกกำหนดไว้ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งถือเป็นนโยบาย
เพื่อสาธารณะ การที่จะปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วงไปได้จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายซึ่งถือว่าเป็น
รายจ่ายสาธารณะ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแสวงหารายรับเพื่อนำมาจัดสรรนโยบายสาธารณะให้สามารถ
ตอบสนองความต้องการของประซาชนไดอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพ

รายรบั ของรัฐบาลมที ่มี าจากแหลง่ ตา่ งๆ ประกอบไปดว้ ยรายรบั จากการขายทรัพยส์ ินหรือการ
ใหบ้ ริการ รายรบั จากรฐั พาณิชย์ หรอื รายรบั จากภาษอี ากร42 เป็นตน้ แตแ่ หลง่ รายรับที่สำคญั ท่ีสดุ ของรฐั บาล
คอื ภาษอี ากร

คำว่า "ภาษีอากร" มีผ้ใู หค้ วามหมายไวม้ ากมายแตกตา่ งกนั ดังตอ่ ไปนี้

M.MEHL ไดใ้ ห้ความเหน็ ไวว้ ่า ภาษเี ป็นเงนิ ตราทีร่ ัฐบาลเรยี กเกบ็ จากบคุ คลธรรมดาหรอื นติ บิ ุคคลตาม
หลักความสามารถในการรับภาระสาธารณะ โดยมลี ักษณะเป็นการใชอ้ ำนาจในการบังคับจดั เกบ็ ซึ่งเป็นรายได้
ทม่ี ีการจดั เกบ็ อยา่ งถาวรและไมม่ ีผลประโยชน์ ตอบแทนโดยตรงต่อผู้เสียภาษี เนื่องจากเป็นรายไดท้ มี่ ีไว้เพ่ือ
ครอบคลุมภาระสาธารณะของรัฐและองค์การปกครองสว่ นท้องถิน่ หรือการแทรกแซงอำนาจรัฐ43

Seligman ไดใ้ หค้ วามเหน็ ไวว้ ่า ภาษอี ากร คอื เงินท่รี ัฐ บาลบงั คบั เกบ็ จากบคุ คลเพื่อนำไปใชจ้ ่ายใน
การดำเนนิ กิจกรรมต่างๆ ของรฐั โดยท่ี ผู้เสียภาษี มไิ ด้รบั ผลประโยชน์ใดๆ เป็นการตอบแทน44

42 เกริกเกยี รติ พิพัฒนเ์ สรธี รรม, การคลงั วา่ ด้วยการจัดสรรและการกระจายรายได้, พมิ พค์ รั้งที่ ๙). (กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์,
(๒๕๕๒). หน้า ๑๔๑.
43 ศภุ ลกั ษณ์ พินจิ ภวู ดล, คำอธบิ ายทฤษฎีและหลักกฎหมายภาษอี ากร, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรงุ เทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั , ๒๕๔๗)
หนา้ ๒.
44 ปรดี า บญุ ยัง, ชาญชยั วิชญานภุ าพ และชวลิต หงสกลุ , คมู่ อื ภาษีการค้า. (กรุงเทพมหานคร : สมาคมนกั ศึกษาเก่าพาณชิ ยศาสตร์, ๒๕๔๖),
หน้า ๓.

๔๐

ภาษีอากร คือ เงินหรือสิ่งของที่รัฐบาลบังคับเรียกเก็บจากประชาชนเพื่อนำไปใช้ในกิจการของ
รฐั บาล45

ภาษอี ากร คือ เงินทร่ี ัฐเรียกเก็บจากบคุ คล ทรัพยส์ ิน หรอื ธุรกจิ เพอ่ื ลดการใชจ้ า่ ยของเอกชน46

จากความหมายของภาษีอากรดังกล่าว แม้จะมีความแตกต่างกัน แต่ก็มีประเด็นสำคัญที่สอดคล้องกัน
๒ ประเดน็ คอื

๑. เป็นการบังคับจัดเก็บ กล่าวคือ รัฐบาลมีอำนาจบังคับจัดเก็บจากประชาชนภายในขอบเขตท่ี
กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายของรัฐนั้นๆ ซึ่งอำนาจในการบังคับจัดเก็บเงินภาษีอากรของรัฐบาลใช้
บังคับกับบุคคล ภายในประเทศของตนหรือบุคคลที่ได้รับบริการภายในประเทศเท่านั้น จะไปเรียกเก็บจาก
ประชาชนของประเทศอื่นๆ ทไ่ี มม่ สี ่วนได้ส่วนเสียกบั รฐั บาลนนั้ ๆ ไมไ่ ด้47

เนือ่ งจากรฐั บาลมีความจำเปน็ ตอ้ งใช้จ่ายตามนโยบายสาธารณะ กย็ ่อมมีความจำเป็นต้องมีรายรับจาก
ภาษีอากร แต่เมื่อประชาชนไม่ยอมจ่ายภาษี ดังนี้ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องใช้อำนาจตามกฎหมายในการบังคับให้
ประชาชนเสียภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นการบังคับจัดเก็บโดยตรง เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือการบังคับ
จัดเก็บโดยอ้อม เช่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บจากประชาชนอาจอยู่ในรูปแบบของรายได้
ทรพั ยส์ ิน การบริโภค ผล ประโยชน์ หรือบรกิ ารจากตวั ผู้เสยี ภาษี เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตว่า หากพิจารณาตามลักษณะนี้แล้ว ทำให้เข้าใจได้ว่าการที่ประชาชน
สมัครใจเสียภาษใี หแ้ กร่ ฐั บาลไม่อาจถอื เป็นการเสียภาษอี ากร48

๒. มิได้มีผลประโยชน์ตอบแทนโดยตรง กล่าวคือ รัฐบาลไม่มีพนั ธะกรณี ที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทน
โดยตรงแก่ผู้เสียภาษี49คนหนึ่งคนใดโดยตรงเป็นการเฉพาะหากแตเ่ กบ็ ไว้เปน็ รายรับส่วนรวมของรัฐบาลในการ
ดำเนินกิจการสาธารณะ เชน่ การป้องกนั ประเทศ การสาธารณสุข เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม แม้คำว่าภาษีอากรจะไม่สามารถหาคำนิยามที่ชัดเจนได้ แต่รัฐบาลก็ยังมีความจำเป็นที่
จะต้องจัดเก็บรายรับจากภาษีอากร การจัดเก็บภาษีโดยมุ่งแสวงหาแต่รายรับให้สมดุลกับรายจ่ายโดยไม่
คำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนผู้มีหน้าที่เสียภาษี ย่อมเป็นการสร้างภาระอันหนักหน่วงต่อประชาชน อาจทำ
ให้ประชาชนไม่พอใจกับการดำเนินการของรัฐบาล และอาจส่งผลต่อการพัฒนาประเทศได้ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาล
จึงควรจัดเก็บภาษีอากรให้เหมาะสมกับความต้องการด้านรายรับ ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อ
ประชาชนผู้มีหน้าทเี่ สียภาษีดว้ ยตามหลกั ภาษีอากรทด่ี ี

วัตถปุ ระสงคข์ องการจัดเกบ็ ภาษีอากร

การจัดเก็บภาษีอากร มีวัตถุประสงค์ในการหารายได้เพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการ
บริหารประเทศ และเป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้และทรัพย์สินของประชาชนให้มีความเป็นธรรม

45 ขจร สาธพุ นั ธุ์, คำอธบิ ายวิชาภาษอี ากร, (กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย, ๒๕๕๓), หน้า ๑.
46 รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ, ทฤษฎกี ารภาษีอากร, (กรงุ เทพมหานคร : สำนกั พมิ พเ์ คล็ดไทย, ๒๕๕๖), หนา้ ๙
47 ขจร สาธุพันธ,ุ์ คำอธบิ ายวิชาภาษอี ากร, หนา้ ๒.
48 อรัญ ธรรมโน, ความรู้ทั่วไปทางการคลัง (ฉบบั ปรบั ปรงุ ), (กรงุ เทพมหานคร : อมรนิ ทร์พรนิ้ ต้ิงแอนด์พับลิชซิง่ , ๒๕๔๘), หน้า ๗๒.
49 ขจร สาธุพนั ธ,์ุ คำอธบิ ายวิชาภาษอี ากร, หน้า ๓.

๔๑

ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางด้านธุรกิจและการค้า รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจช่วยควบคุมการบริโภคของ
ประชาชน เพ่ือการชำระหนี้สนิ ของภาครฐั และเพ่อื สนองนโยบายการคลังของรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม ภาษีอากรอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการด้านต่าง ๆเพื่อให้ประชาชนมีความ
เป็นอยู่ที่ดี ลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมระหว่างคนจนกับคนรวย และเพื่อให้บรรลุเป้ าหมายในทาง
เศรษฐกจิ ของประเทศและเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ดังน5ี้ 0

๑. เนื่องจากรัฐบาลมีรายจ่ายในการให้บริการสาธารณะด้านต่าง ๆ อาทิการป้องกันประเทศ การ
สาธารณสขุ การศึกษา การสงั คมสงเคราะห์ เป็นตน้ การหารายได้เพอื่ ใหเ้ พียงพอกับรายจา่ ยดังกล่าว จึงเป็นส่ิง
สำคัญท่ี รัฐบาลต้องดำเนินการ และการจดั เกบ็ ภาษีอากรถือเปน็ วิธีการหน่ึงที่แทรกแซงต่อระบบเศรษฐกิจน้อย
กว่า การที่รัฐบาลจะใช้วิธีการการกู้ยืมเงิน การเวนคืนหรือยึดทรัพย์สินมาเป็นของรัฐบาล ทั้งยังทำให้รัฐบาล
สามารถควบคมุ การจดั สรรทรพั ยากรไปในทางท่ีก่อใหเ้ กดิ ประโยชน์ตอ่ เศรษฐกจิ ได้ดีกวา่

๒. โดยปกติกลกตลาดสามารถทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ในบางครั้งกลไกตลาดอาจไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งการจัดเก็บภาษีอากรเป็นเครื่องมือที่ช่วย
แก้ไขข้อบกพร่องของกลไกตลาดอย่างหนึ่ง เพื่อช่วยให้การจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ ในการจัดสรรสินค้าสาธารณะ (Public G๐๐ds) เช่น ผู้ผลิตไม่สามารถ
ป้องกันมีให้ผู้ที่ไม่ชำระค่าสินค้าสา ธารณะใช้บริการสินค้าสาธารณะได้ และผู้ผลิตมีแนวโน้มที่จะผ ลิตสินค้า
สาธารณะลดน้อยลง แต่เนื่องจากประชาชนทุกคนซึ่งอยู่ในประเทศมีสิทธิได้รับประโยชน์จากสินค้าสาธารณะ
อย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องเข้ามาเป็นผู้ผลิตสินค้าสาธารณะเสียเอง โดยการเก็บภาษีอากรเพ่ือ
นำมาใช้ในการผลิตสินค้าสาธารณะนั้นการจัดสรรสินค้าที่เป็นคุณประโยชน์ต่อสังคม (Merit Goods) เช่น การ
ให้บริการทางการศึกษา หรือการให้บริการทางการแพทย์ แม้ว่าจะมีการจ่ายค่าบริการสำหรับการใช้บริการ ผล
ของการให้บริการหาได้ตกแก่ผู้รับบริการแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ถือว่ารัฐบาลได้รับประโยชน์ในรูปของการได้
ประชากรที่ มีการศึกษาและมีสุขภาพที่ดี ดังนั้นรัฐบาลจึงควรเข้ามาแบกรับภาระค่าใช้จ่ายบางส่วนหรือให้การ
สนับสนุน ด้วยวิธีการให้เงินอุดหนุนหรือใช้นโยบายทางภาษีอากร เช่น อนุญาตให้ผู้ให้บริการสินค้าที่เป็น
คุณประโยชน์ต่อสังคมดังกล่าวหกั รายจ่ายสำหรบั ตน้ ทนุ ในอตั ราพเิ ศษ เป็นต้น

สำหรับการจัดสรรสินค้าที่ไม่เป็นคุณประโยชน์ต่อสังคม ( De-Merit Goods) เช่น เครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ บุหรี่ ซึ่งเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภค อันส่งผลให้รัฐบาลต้องรับภาระ
ค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพของคนในสังคมเพิ่มขึ้น ดังนั้น รัฐบาลจึงเข้ามาแทรกแชงโดยวิธีการเก็บภาษีแก่สินค้า
ดังกล่าว

๓. กลไกของตลาดเสรีไม่สามารถทำให้การกระจายรายได้ของประชากรเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน
กล่าวคือ ผู้ที่มีทนุ หรือปัจจัยการผลิตมาก ย่อมมีรายได้หรือค่าตอบแทนมากกว่าผู้ที่ไม่มี ทุนหรือปัจจัยการผลิต
หรอื มีแตม่ นี ้อย ดงั น้ันภาษอี ากรจึงเปน็ เครื่องมือของรฐั บาลในการกระจายรายได้ เช่น ในการจดั เก็บภาษีเงินได้
บคุ คลธรรมดาจะใช้อัตราก้าวหน้า เพ่อื ให้ผู้ทม่ี รี ายได้มากตอ้ งเสยี ภาษีในอัตราสูงกวา่ ผ้ทู ี่ มรี ายได้น้อย เปน็ ตน้

๔. หน้าที่ของรัฐบาลในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คือ ต้องดำรงไว้ซึ่งระดับการจ้างงานให้อยู่
ในอัตราสูง และให้ระดบั ราคาสินคา้ อยู่ในระดับท่ีมีเสถียรภาพ ซ่ึงภาษอี ากรเปน็ เคร่ืองมือท่ีสำคัญของรัฐบาลใน
การรักษาเสถยี รภาพทางเศรษฐกิจแบบอัตโนมตั ิ (Automatic Stabilizers) เช่น ในกรณที เ่ี ศรษฐกิจอยใู่ นภาวะ
ถดถอยประชาชนมีรายได้น้อย บริษัทห้างร้านต่าง ๆ มีกำไรจากการประกอบธุรกิจน้อยลง ภาษีอากรที่รัฐบาล

50 กล่มุ นักวชิ าการภาษอี ากร, ภาษีอากรตามประมวลรษั ฎากร ๒๕๕๗, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพเ์ รอื นแกว้ การพิมพ์, ๒๕๕๗), หน้า ๑.

๔๒

จัดเก็บย่อมน้อยลงไปตามจำนวนของรายได้หรือผลกำไรจากการประกอบธุรกิจ ดังนั้น เมื่อภาษีอากรที่รัฐบาล
จดั เก็บนอ้ ยลงจะส่งผลกระต้นุ ใหเ้ กิดความตอ้ งการมวลรวม (Aggregated Demand) ของประชาชนหรือบริษัท
ห้างร้านมีเงินได้หลังจากหักภาษีที่เพิ่มขึ้นสามารถจับจ่ายใช้สอยหรือจ้างแรงงานได้เพิ่มมากขึ้นอันส่งผลให้
เศรษฐกิจของประเทศฟ้นื ตวั จากภาวะถดถอย

ประเภทของภาษีอากร

ภาษีอากรแต่ละประเภทที่จัดเก็บนั้น ย่อมมีผลกระทบต่อฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนและการ
ประกอบธุรกิจการค้า ตลอดจนการทำงานของระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวมอาจกล่าวได้ว่า ประเภทของภาษี
อากรข้ึนอยูก่ บั วตั ถุประสงค์ ในการจำแนกโดยพจิ ารณาจากลกั ษณะของการรับภาระภาษีเปน็ สำคญั ดงั นี้

๑. จำแนกตามฐานภาษี สามารถแบ่งการจัดเก็บออกเป็น ๓ ฐานภาษี คือ ฐานเงินได้ฐานการบริโภค
และฐานทรัพย์สินหรือความมั่งคั่งโดย เฮนรี่ ไซม่อน (Henry Simons) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกา ได้เคย
กล่าวถึงความสมั พันธข์ องฐานภาษีไว้ว่า "เงินได้ส่วนบุคคล คือ ผลรวมทางพีชคณติ ระหว่างมูลคา่ ทางตลาดของ
สิทธิที่ถูกใช้ไปในการบริโภคกับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าเพิ่มของสิทธิในทรัพย์สินซึ่งสะสมไว้ ระหว่างช่วง
ระยะเวลาเริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดของช่วงเวลาที่ใช้พิจารณา"หรืออาจกล่าวได้ว่า การเก็บภาษีจากเงินได้จะเท่ากับ
การเก็บภาษีจากการบริโภค (เท่ากับการเก็บภาษีจากเงินได้หักด้วยรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นทุน) และการเก็บ
ภาษีจากความมัง่ คั่งหรือทรพั ย์สนิ (เท่ากบั การเก็บภาษีจากเงนิ ไดห้ กั ลบด้วยรายได้ส่วนทีจ่ ับจ่ายออกไปเพ่อื การ
บรโิ ภค) ฐานภาษีแต่ละประเภทอาจอธิบายได้ดงั นี้

๑) ภาษที ีจ่ ัดเก็บจากฐานเงนิ ได้ (Income Tax Base) เปน็ ภาษเี งินไดแ้ บบฐานกว้าง(Comprehensive
Income Tax) ซึ่งหมายความรวมถึงเงินได้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นรูปตัวเงินหรือไม่ รวมถึงประโยชน์ที่เจ้าของ
ทรพั ยส์ นิ ไดร้ บั จากการใช้ทรัพยส์ นิ ของตนเอง ไดแ้ ก่ ภาษีเงนิ ไดบ้ คุ คลธรมดาภาษีเงินใตน้ ิตึบุคคล ภาษีส่วนเกิน
มูลค่าทรัพยส์ ิน (Capital Gains Tax) เปน็ ต้น

๒) ภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค (Consumption Tax Base) เป็นภาษีการบริโภคฐานกว้าง
(Comprehensive Consumption Tax) ที่ไม่มีข้อยกเว้นแก่สินค้าหรือบริการประเภทใด ๑ หรือมีข้อยกเว้น
นอ้ ยทีส่ ุด ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพม่ิ ภาษกี ารขาย ภาษสี รรสามติ ภาษศี ลุ กากร เปน็ ตน้

๓) ภาษีที่จัดเก็บจากฐานทรัพย์สินหรือความมั่งคั่ง (Property or Wealth Tax Base)เป็นภาษีความ
มั่งคั่งฐานกว้าง (Comprehensive Wealth Tax)แต่มิได้จัดเก็บครอบคลุมถึงทรัพย์สินทุ กประเภท ส่วนใหญ่
เกบ็ จากทรัพย์สินจำพวกอสังหาริมทรพั ย์ ไดแ้ ก่ ภาษโี รงเรอื นและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ เปน็ ต้น

๒. จำแนกตามการผลักภาระภาษี โดย จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) นักเศรษฐศาสตร์ท่าน
หนึ่ง มีความเห็นว่า ในการแบ่งประเภทของภาษีอากรควรที่จะไดห้ ยิบยกเอาเรื่องภาระภาษีขึ้นมาพิจารณาเป็น
หลัก กล่าวคือ ภาษีประเภทใดก็ตามที่จัดเก็บโดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายเป็นผู้
รับภาระภาษีน้นั ท้งั หมด ภาษีชนดิ น้ันจดั เปน็ "ภาษีทางตรง" แตถ่ า้ ภาษีประเภทใดที่จัดเกบ็ โดยเปดิ โอกาสให้ผู้มี
หน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายสามารถผลกั ภาระภาษไี ปให้ผู้อื่นรับแทนไดภ้ าษีชนดิ นัน้ จัดเป็น "ภาษีทางอ้อม" ซ่ึง
อาจอธบิ ายได้ดงั น5ี้ 1

51 สรายทุ ธ์ วุฒยาภรณ์, "ความร้ทู วั่ ไปเกยี่ วกบั กฎหมายภาษอี ากร." ในหนงั สอื รวมบทความทางวชิ าการเนือ่ งในโอกาสครบรอบ ๑๙ ปี ศาล
ภาษีอากรกลาง, (อดั สำเนา), หนา้ ๓๖.

๔๓

๑) ภาษีทางตรง (Direct Tax) คือ ภาษีที่เก็บจากบุคคลซึง่ รับภาระภาษีโดยตรง โดยผู้เสียภาษไี ม่อาจ
ผลักภาระภาษีต่อไปยังบุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ภาระภาษีจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจของผู้เสียภาษี
แต่ละราย เช่น ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการให้ ภาษีความมั่งคั่ง หรือ ภาษีการรับ
มรดก เป็นต้น

๒) ภาษที างออ้ ม (Indirect Tax) คอื ภาษที ีเ่ กบ็ จากบคุ คลซึ่งสามารถผลกั ภาระภาษีตอ่ ไปยงั บุคคลอืน่
ซึ่งถือเป็นผู้รับภาระภาษีที่แท้จริงได้ หรืออาจกล่าวได้ว่าผู้เสียภาษีที่เป็นผู้ประกอบการสามารถผลักภาระภาษี
ไปยงั ผบู้ รโิ ภคได้ โดยวิธีการเพมิ่ ราคาสินค้า เชน่ ภาษีมูลคา่ เพม่ิ ภาษีศลุ กากรภาษีสรรพสามติ ภาษีธุรกจิ เฉพาะ
และอากรแสตมป์ เปน็ ต้น

๓.จำแนกตามภาระภาษี เมื่อรัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรแล้ว บุคคลใดเป็นผู้แบกรับภาระภาษีที่แท้จริง
โดยอาจแบง่ พิจารณาออกไดเ้ ปน็ ๒ นยั ดงั นี้

๑) ภาระภาษีทางเศรษฐกิจหรือภาระภาษีที่แท้จริง (Effective Incidence) หมายถึง ภาระภาษีที่ตก
อยู่กับบุคคลในชั้นสุดท้ายของห่วงโซภาษี กล่าวคือ บุคคลนั้นไม่สามารถผลักภาระภาษีให้แก่ผู้อื่นได้อีกต่อไป
ดังนั้นรายได้ของผู้รับภาระภาษีท่ีแท้จริงก็จะลดลงเนื่องจากการถูจดั ก็บภาษีนี้ซึ่งในการพิจารณาว่าภาระภาษีที่
แท้จริงของภาษีแต่ละประเภทจะตกอยู่กับผู้ใด ในจำนวนเท่าใดจำเป็นต้องพิจารณาจากความสามารถในการ
ผลักภาระภาษีของผู้มีหน้าที่เสียภาษี ตามกฎหมายเป็นสำคัญเช่น ภาษีเงินไต้บุคคลธรรมดาภาษีเงินได้นิติ
บคุ คล เปน็ ต้น

๒) ภาระภาษีอย่างเป็นทางการ (Statutory Incidence) หรือภาระภาษีตามกฎหมาย (Formal
Incidence) หมายถึง ภาระในจำนวนหนี้ภาษีอากรของผู้มีหนา้ ที่เสียภาษีตามทีก่ ฎหมายกำหนดไว้ซึ่งผู้มีหน้าที่
เสียภาษีอาจไม่ต้องรับภาระโดยแท้จริงก็ได้เพราะผู้เสียภาษีอาจผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นหรือผู้บริโภคได้ เช่น
ภาษมี ูลคา่ เพม่ิ ภาษธี ุรกิจเฉพาะ เป็นต้น

ฐานภาษี

ฐานภาษี (Tax Base) หมายถึง ส่ิงซง่ึ เปน็ มูลเหตุข้ันตน้ ท่ีทำใหบ้ คุ คลตอ้ งเสียภาษอี ากร เปน็ แหล่งทม่ี า
หรือแหล่งเงินทุนในการจัดหารายได้ของรัฐบาล เพื่อนำมาเป็นค่าใช้ใช้จ่ายในการบริหารประเทศ และเป็น
องคป์ ระกอบสำคัญประการหนึง่ ของกฎหมายภาษีและระบบภาษี

ไซม่อน เจมส์ และครสิ โตเฟอร์ โนเบส (Simon James and Christopher Nobes) ไดใ้ ห้ความหมาย
ของคำวา่ "ฐานภาษี" หมายถงึ สง่ิ ที่ จะตอ้ งรับผิดในการเสียภาษี เช่น เงินได้ ความมัง่ คัง่ หรือคา่ ใช้จา่ ย

แนนซี่ วอลล์ (Nancy Wall) ได้ให้ความหมายของคำว่า "ฐานภาษี" หมายถึงแหล่งที่มาทั้งหมดของ
รายได้ในการจัดเก็บภาษี เช่น กำไรสุทธิ ของนิติบุคคลฐานภาษีที่เป็นยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย ฐานภาษีที่
เป็นเงนิ ไดท้ จี่ ่ายจากหรือในประเทศไทย และฐานภาษที เ่ี ปน็ การจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศ ถือเปน็ แหล่งที่มา
ในการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล เงินได้และตัว บุคคลเป็นแหล่งที่มาในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สินค้าและบริการเป็นแหล่งที่มา ในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น ฐานภาษีที่กว้างขวางที่ครอบคลุมการทำ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกประเภทและทุกชนิด ย่ออำนวยรายได้ให้แก่รัฐเป็นอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลในหลาย
ประเทศจึงพยายามหาทางขยายฐานภาษีหรือออกแบบวิธีการหารายได้เข้ารัฐ โดยการจัดเก็บภาษีจาก
แหล่งทีม่ าทแี่ ตกต่างกัน