10 อันดับ e-commerce ในไทย

10 อันดับ e-commerce ในไทย

Show
10 อันดับธุรกิจดาวรุ่ง ปี 2565

อัปเดตล่าสุด 20 ธ.ค. 2564

  • Share :
  • 10 อันดับ e-commerce ในไทย
  • 10 อันดับ e-commerce ในไทย
  • 10 อันดับ e-commerce ในไทย
  • 7,301 Reads   

♦ ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม และธุรกิจ E-Commerce ครองแชมป์ธุรกิจดาวรุ่งอันดับ 1 แห่งปี 2565
♦ ธุรกิจแพลตฟอร์ม (ตัวกลางหรือตลาดกลางด้านอิเล็กทรอนิกส์) ติดดาวรุ่งอันดับ 2
♦ ตามด้วยธุรกิจโลจิสติกส์ Delivery คลังสินค้า และฟินเทค, การชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยีติดดาวรุ่งอันดับ 3

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564 ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดย ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์ฯ ได้เผยผลวิจัยทางธุรกิจเกี่ยวกับแนวโน้ม 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่งในปี 2565

10 ธุรกิจเด่น หรือ ธุรกิจดาวรุ่งมาแรงในปี 2565 ได้แก่ 

  1. ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาน และธุรกิจ E-Commerce 
  2. ธุรกิจแพลตฟอร์ม (ธุรกิจตัวกลางหรือตลาดกลางทางด้านอิเล็กทรอนิกส์)
  3. ธุรกิจโลจิสติกส์ Delivery และคลังสินค้า และธุรกิจด้าน Fintech และการชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี
  4. ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต และธุรกิจเวชภัณฑ์ยา ธุรกิจการขายส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์ รวมถึง ธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์
  5. ธุรกิจอาหารเสริมและสุขภาพ และธุรกิจขายตรง
  6. ธุรกิจแปรรูปยาง เช่น ถุงมือยาง ถุงยาง เป็นต้น และธุรกิจอาหารสำเร็จรูป
  7. ธุรกิจธุรกิจจัดทำคอนเทนต์ ธุรกิจ Youtuber และการรีวิวสินค้า และธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์ เช่น อาหารสัตว์สำเร็จรูป การดูแลสุขภาพสัตว์
  8. ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ และธุรกิจ Modern Trade/ร้านค้าปลีกสมัยใหม่
  9. ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน   
  10. ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์แนวราบ และธุรกิจท่องเที่ยวและบริการต่อเนื่อง

 

โดยผลการวิจัยครั้งนี้ ได้อ้างอิงปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยเสี่ยงของแต่ละธุรกิจ รายละเอียดดังนี้

ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม

มีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีส่วนช่วยให้มีการวิจัยและพัฒนายาการรักษาและวัคซีนให้มีคุณภาพสูงขึ้น 2) กระแสการให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ การกินอาหารสุขภาพ การออกกาลังกายและการดูแลความงามยังมีอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการเข้ามาลงทุนและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้ในปัจจุบัน 3) จำนวนผปู้่วยในโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านของความดันและอื่น ๆ 4) การเติบโตของสงัคมผ้สู ูงอายุทา ให้ความต้องการใช้บริการด้านการแพทยเพิ่มสูงขึ้น 5) การดูแลเรื่องของความสวยงาม และผิวพรรณของคนในปัจจุบันมีมากขึ้น 6) เทคนิคและวิธีการในการดูแลสุขภาพและผิวพรรณต่างๆ และ 7) การกลับมาให้บริการเต็มรูปแบบของธุรกิจ Wellness

มีปัจจัยเสี่ยงจาก 1) สถานการณ์ด้านรายได้ที่ลดลงมากเมื่อเทียบกับหนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้กำลังซื้อลดลง 2) การปลอมแปลงทางเวชภัณฑ์และการหลอกลวงในการให้บริการจนเป็นเหตุให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือ 3) จำนวนผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรทางการแพทย์มีไม่เพียงพอในการรักษา โดยเฉพาะสาขาพยาบาลและแพทย์เฉพาะทางที่มีอยู่อย่างจำกัด 4) ต้นทนุการดำเนินธุรกิจยังสูงต่อเนื่อง และการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากทั้งผเู้ล่นรายเดิมและรายใหม่จำนวนมาก 5) การเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างประเทศยังคงชะลอตัวจากการคมเข้มของสถานการณ์ COVID-19 

ธุรกิจ E-Commerce​ 

มีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) จากสถานการณ์โควิด-19 พฤติกรรมของประชาชนหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ลดการใช้ชีวิตนอกบา้น 2) ผู้ประกอบการหันมาทำธุรกิจ E-commerce มากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีแนวทางการเลือกสินค้าได้และมีรูปแบบการส่งเสริมการขายที่หลากหลาย 3) ช่องทางการจำหน่ายมีต้นทุนต่ำ และสามารถซื้อขายได้ 24 ชม. 4) มีระบบการชำระเงินที่หลากหลาย สะดวกและรวดเร็ว 5) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ 6) การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางทำให้มีรายได้สูงขึ้น 7) การรีวิวสินค้าของบุคคลที่มีชื่อเสียงและลูกค้าเคยใช้สินค้า 8) การขยายตัวของชุมชนเมือง หนุนความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภค 9) เทคโนโลยีถูกพัฒนาให้มีราคาถูกลง แต่มีความเร็วและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

มีปัจจัยเสี่ยงจาก 1) นโยบายเก็บภาษีธุรกิจค้าขายออนไลน์ 2) ปัญหาการหลอกขายสินค้า สินค้าไม่ได้คุณภาพ 3) การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งจากคู่แข่งเดิมและคู่แข่งรายใหม่ 4) การเข้ามาแข่งขันของธุรกิจขนาดใหญ่โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ที่หันมาทำการตลาดออนไลน์มากขึ้น รวมทั้งสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการไทยเน้นการขายทางออนไลน์มากขึ้น 5) การแข่งขันทางด้านราคา ทำให้กำไรของธุรกิจค่อนข้างต่ำ 

ธุรกิจแพลตฟอร์ม (ธุรกิจตัวกลางหรือตลาดกลางทางด้านอิเล็กทรอนิกส์)

มีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มที่รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 2) กระแสของธุรกิจแพลตฟอรมที่มีการพัฒนาที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ทำให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้ตรงจุด พร้อมกับลดต้นทุนในการดำเนินงาน 3) การส่งเสริมผลักดันโยบาย/มาตรการ และแนวคิดให้มีแพลตฟอร์มของคนไทย ด้วยการสนับสนุนของภาครัฐฯ-เอกชน 4) ธุรกิจมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

มีปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ธุรกิจมีการแข่งขันกันค่อนข้างสงู เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มให้เหนือกว่าคู่แข่ง 2) จำนวนบุคลากร/ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับความต้องการ 3) ความไม่ชัดเจนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 4) ระบบการรักษาความปลอดภัยและการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล 5) การเปลี่ยนแปลงของระดับเทคโนโลยีอย่างรวดเรว 6) การก่ออาชญากรรมทางด้านเทคโนโลยี

ธุรกิจทำโลจิสติกส์ Delivery คลังสินค้า

มีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) บริการส่งสินค้าจากการซื้อผ่านออนไลน์และการขยายตัวของอีคอมเมิรซ ทำให้ความต้องการใช้บริการขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้น 2) การมีธุรกิจแพลตฟอร์มมากขึ้น ทั้งแพลตฟอร์มรับส่งเอกสาร เดินทาง สั่งอาหาร ส่งสินค้า เป็นต้น 3) การเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างเศรษฐกิจในภูมิภาค การเพิ่มจำนวนของสาขา ทำให้มีการขนส่งที่กระจายพื้นที่มากขึ้น 4) การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการขนส่งสินค้ามีมากขึ้น อาทิเช่น Kerry, Grab, Line Man, Flash Express ฯลฯ 5) เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวได้จากการคลี่คลายจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้ยอดส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 2) การสนับสนุนภาครัฐ เช่น ผลักดันโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรมให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอมอีและวิสาหกิจ

มีปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การแข่งขันรุนแรง และมีการเข้ามาแข่งขันในตลาดเพิ่มมากขึ้น จากการเติบโตของธุรกิจ E-commerce 2) การแพร่ระบาดระรอกใหม่ของโควิด-19 อาจส่งผลให้พื้นที่หรือต่างประเทศในบางประเทศใช้มาตรการล็อกดาวน์ ทำให้เกิดความล่าช้าและต้นทุนที่สูงขึ้น 3) ระยะเวลาการจัดส่งสินค้าที่มากขึ้น จากความเข้มงวดการนำเข้าสินค้าของแต่ละประเทศ 4) การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคมของภาครฐัที่ยังไม่แล้วเสร็จ 5) ต้นทุนการประกอบการมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อาทิราคาพลังงาน ค่าน้ำมัน ค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น

ธุรกิจด้าน Fintech และการชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) นโยบายการละเว้นค่าธรรมเนียมทางการเงิน การโอน การชำระเงิน ฯลฯ 2) การพัฒนาแหล่งการชำระเงินตามร้านค้าดั้งเดิม ร้านค้าออนไลน์ผู้ประกอบการที่มีการชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น 3) พฤติกรรมการชำระเงินด้วยอิเล็กทรอนิกส์มีเพิ่มขึน้ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ 4) รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการทา ธุรกรรมผ่านดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะการออกมาตรการช่วยเหลือจากการระบาดของโควิด-19 ผ่านแอปพลิเคชัน "เป๋าตัง“ 5) สะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทางไปสาขาและเพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ในช่วงการระบาดของโควิด-19 6) ระบบเทคโนโลยีทันสมัยผลิตภัณฑ์และบริการที่นำเสนอบน Mobile Banking และเว็บไซต์สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า 7) การซื้อสินค้าออนไลน์และการชำระเงินผ่านระบบออนไลน์มีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อความปลอดภัยในการให้บริการผ่านแพลตฟอร์มของธนาคาร 2) ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Hacker) ที่เพิ่มสงูขึ้นตามพัฒนาการของเทคโนโลยี 3) ข่าวเรื่องความปลอดภัยในเรื่องของข้อมูล และอาชญากรรมทางด้านเทคโนโลยี เช่น มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นธนาคารผ้ใูห้บริการเงินกู้แล้วหลอกลวงเงินผ่าน SMS, Line, Facebook แอปเงินกู้และโทรศัพท์ 4) การปลอมแปลงหน้าตา application ของสถาบันการเงินต่างๆ 5) การหลอกลวงนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในทางที่มิชอบ

ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) จากสถานการณ์โควิด-19 ช่วงปี 63-64 ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพมากขึ้น รวมทั้งมีความรู้และความเข้าใจมากขึ้น 2) ค่าครองชีพที่สูงขึ้นโดยเฉพาะการรักษาพยาบาลหรือการซ่อมบำรุงต่างๆ 3) ผลิตภัณฑ์มีจำนวนมากขึ้นหลากหลาย และมีราคาถูกตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภค 4) ประชาชนหันมาให้ความสำคัญกับการออมและระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น 5) การเข้าส่สูังคมผู้สูงอายุและการวางแผนการเงินของคนยุคปัจจุบัน ทำให้ประกันชีวิตแบบบำนาญและประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น 6) ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิตเริ่มปรับเปลี่ยนสินค้าและบริการแพลตฟอร์มสู่ดิจิทัลมากขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การระบาดระรอกใหม่ของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่เช่น โอไมครอน (Omicron) 2) การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งระหว่างบริษัท ประกันชีวิตด้วยกันเอง บริษัทประกันสุขภาพรวมถึงธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน 3) ค่าครองชีพที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น กำลังซื้อหดตัวลง 4) อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน 5) ความไม่แน่นอนของภัยธรรมชาติ 6) ความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือต่อธุรกิจ (การให้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจนหรือเกินจริงของตัวแทน/การบังคับทำประกันของธนาคาร/ระบบความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า) 7) การเรียกร้องค่าสินไหมประกันโควิด หากเกิดการระบาดระรอกใหม่และจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้น อาจกระทบกับสถานะการเงินของธุรกิจ

ธุรกิจเวชภัณฑ์ยา ธุรกิจการขายส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนมีพฤติกรรมการเรียนรู้และการศึกษาเกี่ยวกับการรักษา และการซื้อยาผ่านออนไลน์ต่าง ๆ ทำได้ง่ายขึ้น 2) มีเทคโนโลยีเกี่ยวกับการรักษา และป้องกันมากขึ้น 3) นวัตกรรมใหม่ของเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ที่ตอบสนองความต้องการได้มากขึ้น 4) การเจ็บป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งกลุ่มโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ รวมถึงจำนวนผู้สูงอายที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 5) ประชากรไทยสามารถเข้าถึงช่องทางการรกัษาที่ดีขึ้นภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) คู่แข่งมาก และมีการตัดราคากัน 2) การพัฒนาเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมที่รวดเร็ว 4) ต้นทุนค่อนข้างสูง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ 4) การเข้ามาแข่งขันของยาราคาถูกจากคู่แข่งอย่างอินเดียและจีนที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย

ธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ความต้องการใช้เครื่องมือแพทย์ตรวจวินิจฉัยโรคที่ทันสมัยและใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมากขึ้น ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 2) การลงทุนของธุรกิจโรงพยาบาลทั้งการสร้างใหม่และการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น 3) นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐในการให้สิทธิพิเศษทางภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุน 4) เป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-curve) ซึ่งภาครัฐสนับสนุนการลงทุนอย่างต่อเนื่อง 5) กระแสการใส่ใจสุขภาพของคนไทยเพิ่มขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การลงทุนมีต้นทุนที่สูง 2) มาตรฐานและการรับรองต่างๆ ของเครื่องมือแพทย 3) เทคโนโลยีทางการแพทย์บางอย่างมีความซับซ้อนสูง ประเทศไทยไม่สามารถผลิตได้ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ 4) ต้นทุนสินค้านำเข้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี 5) ด้วยแรงสนับสนุนจากภาครฐั ทำให้จำนวนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมจึงเพิ่มสูงขึ้น

ธุรกิจอาหารเสริมและสุขภาพ

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ผู้ริโภคใส่ใจในเรื่องของสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Y ที่มีกำลังซื้อสูง และการก้าวเข้าส่กูารเป็นสังคมสูงวัย ไปจนถึงการอุบัติใหม่ของโรคต่าง ๆ และการแพร่ระบาดของโควิด-19 2) ประชาชนนิยมอาหารที่ทำมาจากพืช ผัก ผลไม้ (Plant-based) มากขึ้น ส่งผลให้อาหารเสริมเป็นตวัเลือกที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเพราะตระหนักถึงภัยจากไวรัสโควิด-19 3) ช่องทางการจำหน่ายสินค้าออนไลน์/ทีวีช้อปปิ้ง และแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ อื่นๆ เช่น Lazada, Shopee และ Facebook Fanpage 4) นวัตกรรมในการผลิตอาหารเสริมต่างๆ เพิ่มสงูขึ้น และมีความหลากหลาย 5) หน่วยงานของรฐับาลส่งเสริมคนรักสุขภาพและหันมารับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ธุรกิจมีจำนวนมาก และมีการเข้ามาแข่งขันอย่างต่อเนื่อง (Over Supply) ต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่สูง 2) การแข่งขันด้านโปรโมชันที่เข้มข้น ตัดราคากันเอง ใช้เครื่องมือการตลาดคล้ายๆกันขาดจุดเด่นที่ชัดเจน 3) วงจรธุรกิจสั้น เพียง 1-2 ปีแล้วต้องออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 4) การปลอมแปลง ลอกเลียน และสินค้าคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน 5) ความน่าเชื่อถือของตราสินค้าและคุณภาพ 6) การโจมตีผ่านสื่อออนไลน์

ธุรกิจขายตรง

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ธุรกิจนำระบบ "ดิจิทัล" เข้ามาเสริมธุรกิจขายตรง ควบคู่กูับแบบ Offline 2) พฤติกรรมผู้ริโภคเปลี่ยนเน้นซื้อสินค้าเพื่อสุขภาพ ความงาม และของที่จำเป็นใช้ในชีวิตประจำวัน และเน้นราคาไม่สูง 3) ผลกระทบจากการตกงาน นักขายหน้าใหม่เกิดขึ้นมาก ทำให้ธุรกิจขายตรงฟื้นตัวและเติบโตขึ้น 4) การผ่อนคลายล็อกดาวน์และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ช่วยให้สถานการณ์โดยรวมของธุรกิจขายตรงดีขึ้น 5) การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เช่น TV และออนไลน์ต่างๆ

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การแข่งขันของธุรกิจขายตรงที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก 2) ระดับราคาสินค้าที่ต้องอย่ใูนระดับต่ำ 3) ความน่าเชื่อถือของตราสินค้า) การโจมตีกันของคู่แข่งที่สูง 5) ลูกข่ายไม่รับผิดชอบงาน และทำให้ลูกค้าประสบปัญหาหลังจากซื้อสินค้า 6) การโจมตีผ่านสื่อออนไลน์ ทำให้สินค้าดูด้อยคุณค่า

ธุรกิจแปรรูปยาง เช่น ถุงมือยาง ถุงยาง เป็นต้น

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ความต้องการใช้ถุงมือยางทั่วโลกเพิ่มขึ้น 2) การยกระดับบริการภาคสาธารณสขุ ในไทยทั่วโลก 3) การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ เช่น อาหาร อิเล็กทรอนิกส์ 4) ไทยมีโอกาสขยายตลาดถุงมือยางธรรมชาติจากการที่มาเลเซียลดการผลิตและหนีไปผลิตถุงมือยางสังเคราะห์แทน 5) U.S. Customs and Border Protection (CBP) ได้ประกาศยุติการนำเข้าถุงมือยางจากมาเลเซีย เปิดโอกาศไทยแย่งส่วนแบ่งตลาดสหรฐัฯ 6) ไทยเป็นแหล่งวัตถุดิบยางพารา และน้ำยางข้นชั้นนาของโลก

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ราคาวัตถุดิบน้ำยางข้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2) ผ้ผูลิตถุงมือยางรายใหญ่ของโลกหลายๆ ราย ขยายกำลังการผลิตถงุ มือยางอย่างต่อเนื่อง 3) อาจขาดแคลนน้ำยางสดได้ หากมีการขยายการผลิตสินค้าเช่น รถยนต์หรือผลิตภัณฑ์ใหม่มาก 4) สภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภมูิอากาศ (Climate Change) ซึ่งทำให้ผลผลิตน้ำยางสดลดลง 5) แนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้ถุงมือยางไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคาส่งออก และสูญเสียส่วนแบ่งตลาด

ธุรกิจอาหารสำเร็จรูป

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) นวัตกรรมการแปรรูปอาหารที่มีความหลากหลายมากขึ้น 2) พฤติกรรมการใช้บริการที่สะดวกและรวดเร็ว 3) พฤติกรรมการเก็บตุนอาหารเพื่อการบริโภคอาหารที่บ้าน 4) พฤติกรรมผู้บริโภคที่ลดการออกไปทานอาหารนอกบ้าน และหันมาเลือกซื้ออาหารแช่แข็ง และอาหารพร้อมทานที่เก็บ็ได้นานมีความสะดวกในการปรุง 5) โปรดักต์ตอบโจทย์พฤติกรรมวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) เพราะสามารถซื้อเก็บไว้ได้นาน และช่วยลดความเสี่ยงจากการไปซื้อของตามตลาดหรือห้างร้านที่แออัด

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การเกิดโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์ 2) ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อกำลังซื้อของคนในประเทศ 3) ต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตอาหารที่เพิ่มขึ้น 4) คู่แข่งมากและมีการตัดราคากัน 5) การเข้ามาแข่งขันของธุรกิจต่างชาติ 6) กฎระเบียบและข้อจำกัดในการนำเข้า-ส่งออก ของค่คู้าในประเทศต่างๆ

ธุรกิจจัดทำคอนเทนต์ธุรกิจ Youtuber และการรีวิวสินค้า

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) การเพิ่มขึ้นของช่องทางในการสื่อสาร โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ที่สามารถรับชมได้ตลอด 24 ชม. 2) การเพิ่มขึ้น ของการโปรโมทโฆษณาผ่าน Social Influencer อาทิเช่น Net-Idol หรือ Youtuber 3) การจัดงานอีเวนต์เริ่มกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง 4) กลยุทธ์การเพิ่มยอดขายของธุรกิจผ่าน Application มีเพิ่มขึ้น 5) ธุรกิจขนาดเล็กใหญ่หันมาโปรโมทสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น 6) พฤติกรรมในการติดตามสื่อของคนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป 7) การเข้าสู่ตลาดเกี่ยวกับ  Youtuber ง่ายและมีต้นทุนการดำเนินการที่ต่ำ

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) กฎระเบียบ กฎหมายต่างๆ ที่ไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ 2) เมื่อเกิดความผิดพลาดหรือเป็นโทษต่อผบู้ริโภค ธุรกิจอาจถึงขั้นต้องปิดกิจการ 3) การแข่งขันที่รุนแรงในช่องทีวีดิจิทัล 4) ข้อจำกัดในการเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคบางส่วน 5) การเติบโตของรายจ่ายด้านโฆษณา อ้างอิงจากเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังฟื้นตัว 6) ธุรกิจมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเรื่องราคาหรือการให้โปรโมชัน 7) ศิลปินดาราผันตัวมาเป็น Youtuber จำนวนมาก ส่งผลให้การแข่งขันในตลาด Influencer ทวีความรุนแรงมากขึ้น

ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์ เช่น อาหารสัตว์สำเร็จรูป การดูแลสุขภาพสัตว์

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ประเทศคู่ค้ามีความเชื่อมั่นในสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงที่ผลิตจากไทย ซึ่งไทยติด 1 ใน 3 ผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก 2) พฤติกรรมของคนส่วนใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มวัยมิลเลนเนียลซื้อสัตว์เลี้ยงเลี้ยงกันมากขึ้น และให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพสัตว์ 3) จำนวนครอบครัวเดี่ยวและคนโสดเพิ่มมากขึ้น แนวโน้มการเลี้ยงสัตวเลี้ยงเปลี่ยนไปจากความเป็นเจ้าของเป็นการเลี้ยงเหมือนสมาชิกในครอบครัวแทน (Pet Humanization) 4) คลินิกรักษาสัตว์เกิดขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะ Pet Healthcare เช่น โรงพยาบาล คลินิก สปา อาบนน้ำ ตัดขน โรงเรียนฝึก โรงแรม และบริการอื่นๆ 5) ช่องแพลตฟอร์มออนไลน์มีความหลากหลาย ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อและเปรียบเทียบราคาได้อย่างสะดวกสะบาย 6) กลยุทธ์การเพิ่มยอดขายของธุรกิจผ่าน Application มีเพิ่มขึ้น 7) คู่แข่งในตลาดยังมีน้อย

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ผู้เล่นหน้าใหม่มองเห็นถึงโอกาสในการตลาด ส่งผลให้ตลาดมีการแข่งขนมากขึ้น 2) ภาระค่าครองชีพที่มีแนวโน้มสูงขึ้น 3) ต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงสูง เช่น ค่าอาหารเวชภัณฑ์สัตว์และโภชนาการสัตว์ รวมไปถึงการรักษาพยาบาล อาจส่งผลให้ผู้บริโภคมีความระมมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น 4) อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น 5) วัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ขาดแคลน หรือมีระดับราคาสูงขึ้น

ธุรกิจบรรจุภัณฑ์

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) พฤติกรรมของผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความสะอาด ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะมากขึ้น 2) การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ของธุรกิจ e-Commerce และธุรกิจส่งอาหารที่ขยายตัวอย่างมาก 3) เทคโนโลยีวัสดุที่นำมาใช้ผลิตบรรจภัณฑ์พัฒนา สร้างนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ตอบโจทย์ด้านสุขอนามัยให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า 4) Social Distancing เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ COVID-19 ส่งผลให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทใช้แล้วทิ้งเพิ่มมากขึ้น 5) การใช้เจลและสเปรย์ล้างมือที่มากขึ้นทำให้มีความต้องการบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้นตาม 6) พฤติกรรมการสร้างรูปแบบบรรจุภัณฑ์ดึงดูดความต้องการของลูกค้า ซึ่งคล้ายกับบรรจุภัณฑ์ของประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น 7) การซื้อสินค้าของผบู้ริโภคเน้นบรรจภัณฑ์มากกว่าสินค้าที่อยู่ภายใน

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) เทรนด์รักษ์โลก ที่หันไปใช้บรรจภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนพลาสติก 2) การรณรงค์ลดการใช้พลาสติก 3) มีการแข่งขันทางธุรกิจค่อนข้างสูง 4) ความน่าเชื่อถือของบริษัทในการออกแบบผลิตภัณฑ์แพ็กเกจจิ้ง 5) ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น

ธุรกิจ Modern Trade / ร้านค้าปลีกสมัยใหม่

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2) กระแสความนิยมการซื้อสินค้าออนไลน์ของห้างสรรพสินค้าเพราะมีความน่าเชื่อถือ 3) การปรับธุรกิจให้มีรูปแบบ delivery 4) ความต่อเนื่องของมาตรการของภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
5) พฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย อาทิ ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าหลายประเภทในที่แห่งเดียว ตั้งแต่อาหาร ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน 6) พฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ที่เน้นความเป็นระเบียบและความสะดวก ในการเลือกซื้อสินค้าเอง

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) กำลังซื้อในประเทศอาจไม่สูงมาก จากภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัว 2) พฤติกรรมผู้ริโภคที่มีความเคยชินกับการซื้อสินค้าออนไลน์ 3) การแข่งขันด้านการตลาดและราคาค่อนข้างรุนแรง 4) คู่แข่งจากร้านค้าออนไลน์ (E-commerce) มีเพิ่มอย่างรวดเร็ว

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนของประเทศไทยคาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจของโลก และความต้องการอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนมากขึ้น 2) เครือข่ายเทคโนโลยีสื่อสาร 5G จะช่วยเร่งการนำอินเทอร์เน็ตของสิ่งต่าง ๆ มาใช้ ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สูงขึ้น โดยเฉพาะไอซี (วงจรอิเล็กทรอนิกส์) 3) พฤติกรรมของคนยุคปัจจุบันเน้นการใช้เทคโนโลยี 4) การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่องในทุกปี ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทุก ๆ ปี5) ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอน ส่งผลให้ซัพพลายเออร์บางส่วนได้ประโยชน์จากคำสั่งซื้อย้ายมายังไทย แต่บางส่วนได้รับผลกระทบจากการที่ผู้ผลิตไทยอย่ใูนห่วงโซ่อุปทานการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของทั้งสองประเทศ

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ต้นทุนค่อนข้างสูง อนัเนื่องมาจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ 2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว แต่ว่าการผลิตของไทยยังขาดเทคโนโลยีต้นน้ำ ซึ่งมีต้นทุนสูงและต้องพึ่งการนำเข้าวัตถดิบค่อนข้างสูง 3) การพัฒนาด้านบุคลากรและเทคโนโลยียังก้าวไม่ทันคู่แข่งหลายประเทศ ทำให้ศักยภาพการแข่งขันอยู่ในระดับต่ำและอาจนำไปสู่การปรับแผนกระจายการลงทุนใหม่ๆ ของบริษัทข้ามชาติ 4) อัตราแลกเปลี่ยนที่มีโอกาสแข็งค่าขึ้น

ธุรกิจเพื่อความบันเทิง

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) การผ่อนคลายมาตรการรัฐ ทำให้ธุรกิจกลับมาฟื้นตัวได้ 2) ความต้องการของผบู้ริโภคที่ต้องการความบันเทิงในการผ่อนคลายความเครียด 3) การจัดงานอีเวนต์เริ่มกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง 4) กลยุทธ์การเพิ่มยอดขายของธุรกิจเพิ่มขึ้น 5) ความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่ต่างพากันปรับตัวเข้าหาผู้บริโภคผ่านอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี 6) Application ต่างๆ ที่มีให้เลือกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของหนัง ละครและซีรีส์ต่างๆ 7) พฤติกรรมของเด็กรุ่นใหม่เน้นความสะดวกและไม่ต้องการดูโฆษณาขั้น

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่รวดเร็ว 2) ผู้บริโภคบางส่วนไม่สามารถเข้าถึงสื่อผ่านช่องทางออนไลน์์ได้ เนื่องจากใช้อุปกรณ์ไม่เป็น 3) การแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจ 4) การเปลี่ยนแปลงของการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 5) ข้อจำกัดในการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคบางส่วน

ธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์แนวราบ

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) การลงทุนก่อสร้างโดยรวมขยายตัวดีขึ้นตามโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ 2) การขยายตัวของเมืองที่มีเพิ่มขึ้นตามโครงการลงทุนของภาครัฐ ทำให้มีความต้องการลงทุน และก่อสร้างที่อยู่อาศัยหรืออาคารเพื่อการพาณิชย์ 3) การส่งออกวัสดุก่อสร้างได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังวิกฤต COVID-19 4) ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวหลังวิกฤต COVID-19 คลี่คลาย ทำให้วัสดุก่อสร้างประเภทงานโครงสร้างจะฟื้นตัวต่อเนื่อง 5) การระบาดของ COVID-19 มีแนวโน้มที่จะเริ่มผ่อนคลายและจำนวนผ้ตูิดเชื้อรายวันมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้มีการกลับมาก่อสร้าง 6) ความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการบ้านในแนวราบ

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ส่งผลให้ต้นทุน การก่อสร้างเพิ่มขึ้น 2) ต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้น 3) การระบาดของ COVID-19 ที่ยืดเยื้อ กระทบต่อกำลังซื้อลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเริ่มทำงาน ส่งผลให้ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยยังชะลอตัว 4) ความล่าช้าของการเบิกจ่ายงบประมาณ 5) สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันอยู่ในภาวะล้นตลาด จากทั้งฝั่งอุปทานที่ล้น และอุปสงค์ที่หดตัวทำให้การแข่งขันเพิ่มขึ้น กดดันให้ราคาปรับตัวลดลง

ธุรกิจยานยนต์

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ความต้องการรถเพื่อการพาณิชย์มีแนวโน้มขยายตัวดี อานิสงส์จากการขยายตัวของภาคก่อสร้าง ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ และธุรกิจโลจิสติกส์ 2) มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ระบบประหยัดพลังงาน ระบบการขับขี่ด้วยความปลอดภัย ระบบการถอยจอดอัตโนมัติเป็นต้น จูงใจความต้องการซื้อของผู้บริโภค 3) ยอดขายรถยนต์ในประเทศมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัว 4) ความต้องการของผบู้ริโภคในการซื้อรถยนต์ / จักรยานยนต์ ยังคงมีสูง

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) รายได้ของผู้บริโภคยังไม่กลับมาฟื้นตัว โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรัายได้ปานกลาง-น้อย ทำให้ผู้คนไม่มั่นใจในการใช้จ่าย 2) ความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาด COVID-19 3) ต้นทุนในการผลิตปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาเหล็ก ส่งผลกระทบต่ออัตรากำไรขั้นต้น
4) เมกะเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกที่มีนโยบายสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า อาจกระทบต่อการส่งออกรถยนต์ของไทย ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเครื่องสันดาปภายใน 5) ความเข้มงวดของการปล่อยสินเชื่อจากสถาบันการเงิน

ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการต่อเนื่อง

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ภาครฐัผ่อนคลายมาตรการจากกัดการเดินทาง ส่งเสริมการจัดอีเวนต์ขนาดใหญ่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2) การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว เป็นสัญญาณเชิงบวกในการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว 3) นักท่องเที่ยวต่างชาติมีความเชื่อมั่นมากขึ้นที่จะเดินทางท่องเที่ยวในไทยจากสถานการณ์โควิด-19 ที่แนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง 4) ภาครับผลักดันนโยบายในการกระตุ้นการท่องเที่ยวผ่านโครงการเราเที่ยวด้วยกัน อย่างต่อเนื่องและมาตรการเพิ่มเติมในอนาคต 5) สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 6) นักท่องเที่ยวต้องการเดินทางท่องเที่ยวหลังจากที่ชะลอการท่องเที่ยวกว่า 2 ปี

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การแพร่ระบาดของ COVID-19 อาจทำให้รัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลกออกมาตรการปิดเมือง (Lockdown) เพื่อควบคมุ การเดินทางระหว่างประเทศ 2) ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อกำลังซื้อของคนในประเทศลดลง 3) แนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาท 4) จีนยังคงมาตรการปิดประเทศ กระทบภาคการท่องเที่ยวของไทย 5) พฤติกรรมของคนในประเทศเริ่มปรับเปลี่ยนในการจองและหาสถานที่ต่างๆเอง ผ่านเทคโนโลยี 6) การแข่งขันทางด้านราคา เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว