ธนาคารทิสโก้ สํานักงานใหญ่

บริษัท ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)

TISCO BANK PUBLIC COMPANY LIMITED

สถานะ ยังดำเนินกิจการอยู่
วันที่จดทะเบียน 1 กรกฎาคม 2539
ทุนจดทะเบียน 9,215,676,920 บาท

สมาชิก dataforthai.com สามารถดูข้อมูลการติดต่อเพิ่มเติมได้

สมัครสมาชิกฟรี



* ข้อมูลผู้ประกอบการอ้างอิงจากข้อมูลเปิดภาครัฐ (Government Open Data)
* ท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม และตรวจสอบความถูกต้องได้ที่ เว็บไซต์ dbd.go.th
* ข้อมูลสำหรับติดต่อเพิ่มเติมเช่นเบอร์โทร เว็บไซต์ของผู้ประกอบการ รวบรวมมาจากผลการค้นหาจากข้อมูลที่เปิดเผยสาธารณะในอินเตอร์เน็ต

เพื่อพัฒนาระบบและเพิ่มประสิทธิภาพด้านบริการ ธนาคารจะปรับปรุงระบบให้บริการ ตามช่วงเวลาดังนี้ 

วันที่ 17 ต.ค. เวลา 23.00 น. - วันที่ 18 ต.ค. เวลา 05.00 น.

  และ

วันที่ 22 ต.ค. เวลา 21.00 น. - วันที่ 23 ต.ค. เวลา 09.30 น.

  • ATM / บัตรเดบิตทิสโก้
  • TISCO Mobile Banking

วันที่ 22 ต.ค.  เวลา 21.00 น. -  23.00 น. 

  และ

วันที่ 23 ต.ค. เวลา 08.00 น. -  09.30 น.

  • TISCO eStatement

หากลูกค้าต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้า

  • โทรศัพท์ : 0 2080 6000 หรือ 0 2633 6000 กด 2
  • อีเมล : 

ไทยแลนด์ เยลโล่เพจเจส

โดย บริษัท เทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครือเอไอเอส ในฐานะผู้นำที่ไม่เคยหยุดพัฒนาบริการที่ดีที่สุดด้านดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง ผ่านเว็บไซต์รวมสินค้าและบริการ จากผู้ประกอบการที่เชื่อถือได้ มีการตรวจสอบและยืนยันตัวตนจริง และครอบคลุมทุกหมวดธุรกิจมากที่สุดในประเทศ เราจะมอบบริการที่เหนือความคาดหมาย จากทีมงานคุณภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารทิสโก้ สํานักงานใหญ่
ประเภทบริษัทมหาชน (SET:TISCO)
อุตสาหกรรมfinancial service 
ธนาคารทิสโก้ สํานักงานใหญ่
รูปแบบธนาคารพาณิชย์
ก่อตั้ง30 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 (53 ปี)
สำนักงานใหญ่48/2 อาคารทิสโก้ทาวเวอร์
ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 ประเทศไทย

บุคลากรหลัก

ปลิว มังกรกนก(ประธานคณะกรรมการ)
ศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
เมธา ปิงสุทธิวงศ์(กรรมการผู้จัดการใหญ่)
เว็บไซต์www.tisco.co.th
เลขทะเบียน0107551000223

ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: TISCO Bank Public Company Limited) (SET:TISCO) เป็นธนาคารในประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 โดยในขณะนั้นใช้ชื่อว่า บริษัท ค้าหลักทรัพย์และลงทุน จำกัด และ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ต่อมาได้แปรสภาพเป็นบริษัทเงินทุน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เงินทุน ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2548 จึงแปรสภาพอีกครั้งเป็นธนาคารพาณิชย์อย่างเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และยังเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) อีกด้วย ปัจจุบัน (18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565) นาย ปลิว มังกรกนก เป็น ประธานคณะกรรมการ นาย ศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ เป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นาย เมธา ปิงสุทธิวงศ์ เป็น กรรมการผู้จัดการใหญ่

ประวัติ[แก้]

ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: TISCO Bank Public Company Limited) (SET:TISCO) เป็นธนาคารในประเทศไทย ที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังให้ยกระดับจาก "บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทิสโก้ จำกัด" เป็น "ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)" เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2548 โดยมีโครงสร้างและการดำเนินกลยุทธ์การแข่งขันที่แตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ทั่วไป มุ่งเน้นการบริการทางการเงินอย่างผู้เชี่ยวชาญ มีการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างคล่องตัวเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ด้านการให้บริการ มีธุรกิจการให้กู้ยืมเงิน อาทิ สินเชื่อโครงการ สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค สินเชื่อเช่าซื้อ บริการรับฝากเงิน ธนบดีธุรกิจ ตลอดจนบริการการวิจัยเพื่อการค้าและโครงการอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นธุรกิจหลักที่ดำเนินการอยู่ภายใต้การกำหนดนโยบายธุรกิจและกำกับดุแลกิจการของบริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือเป็นบริษัทแม่

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ธนาคารทิสโก้มีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้าทุกกลุ่ม รวมถึงการพัฒนาภาพลักษณ์ให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับจุดยืน "สร้างโอกาสให้ชีวิต" ที่มุ่งสร้างโอกาสให้แก่ลูกค้าและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเพิ่มสัญลักษณ์รูป "วงแหวนแห่งโอกาส" ที่สื่อถึงคำว่าโอกาส (opportunity) บนตัวอักษร TISCO ซึ่งให้ความหมายเชิงบวกและเข้าใจง่าย โดยในปัจจุบันธนาคารทิสโก้เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้นำธุรกิจสินเชื่อรายย่อย สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจวาณิชธนกิจ ธุรกิจจัดการกองทุน ธุรกิจธนบดี และธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ตลอดจนมีบทบาทโดดเด่นในการเข้าไปมีส่วนร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมการเงิน โดยยึดหลักการกำกับดูและกิจการที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง

ธุรกิจและบริการ[แก้]

ธนาคารทิสโก้มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าให้กับกลุ่มลูกค้าทุกกลุ่ม ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุด ขยายช่องทางในการเข้าถึงบริการ รวมทั้งการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ อย่างต่อเนี่อง เพื่อตอบสนองความต้องการและเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในระยะยาว โดยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่หลากหลาย ตอบสนองต่อครรลองชีวิต (lifestyle) ที่แตกต่างกัน และความต้องการของลูกค้าในแต่ละช่วงชีวิต อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินธุรกิจแบบการรวมศูนย์ที่ลูกค้า (client centric) ทิสโก้ได้ปรับโครงสร้างทางธุรกิจและจัดแบ่งธุรกิจเพื่อให้บริการลูกค้า แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้

1. กลุ่มลูกค้ารายย่อย จะให้บริการสินเชื่อแก่ลูกค้ารายย่อย มุ่งเน้นบริการสินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ดำเนินการโดย ธนาคารทิสโก้, บริษัทไฮเวย์ และบริษัท ทิสโก้ โตเกียว ลีสซิ่ง บริการสินเชื่อหลักในพอร์ตสินเชื่อของทิสโก้ประกอบด้วย สินเชื่อเช่าซื้อ ทั้งรถยนต์ใหม่ รถยนต์มือสอง และรถจักรยานยนต์ รวมถึงสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด มีผลิตภัณฑ์เด่น คือ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ในชื่อ "ทิสโก้ ออโต้ แคช" ซึ่งมีจุดเด่น คือ สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องโอนเล่มทะเบียน โดยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันผ่านสาขาทั่วประเทศ ภายใต้ชื่อ "สมหวัง" สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กนั้น ทิสโก้ได้ให้บริการสินเชื่อในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ สินเชื่อธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่ง สินเชื่อโครงการ และสินเชื่อเพื่อผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ จากการรับโอนธุรกิจลูกค้ารายย่อยจากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ทิสโก้ได้ให้บริการทางด้านการเงินเพิ่มเติม ได้แก่ บริการสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อธุรกิจรายย่อยซึ่งดำเนินการโดยธนาคารทิสโก้ และบริการบัตรเครดิตซึ่งดำเนินการโดย บริษัท ออล-เวย์ส จำกัด

2. กลุ่มลูกค้าบรรษัท ให้บริการสินเชื่อที่หลากหลายรวมทั้งบริการให้คำปรึกษาทางการเงิน แก่กลุ่มลูกค้าที่เป็นบริษัทหรือองค์กรตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ อาทิ สินเชื่อโครงการ สินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลาสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ และบริการที่ปรึกษาทางการเงินการลงทุน

3. กลุ่มลูกค้าธนบดีและจัดการกองทุน เป็นการบริการกลุ่มลูกค้าระดับสูง โดยมีเป้าหมายในการเป็นผู้ให้บริการที่ปรึกษาการลงทุนระดับแนวหน้า ที่ตอบโจทย์การบริหารความมั่งคั่งทั้งในแง่การออมและการลงทุนอย่างครบวงจร ภายใต้บริการ "ทิสโก้ เวลธ์" ซึ่งทิสโก้ได้นำเสนอบริการดังกล่าวในรูปแบบการให้บริการที่เรียกว่า "Open Architecture" ที่ให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์กองทุน-ประกันจากหลากหลายค่ายให้แก่ลูกค้าในจุดเดียวอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งผลิตภัณฑ์กองทุนรวม และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ นอกจากนี้ยังมี ผลิตภัณฑ์เงินฝาก และหลักทรัพย์ ด้วยคุณภาพการบริการที่มีประสิทธิภาพ และความรู้ความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาทางการเงินที่โดดเด่นอันเป็นจุดแข็งของทิสโก้ จะสามารถมอบบริการระดับดีเยี่ยมและรักษาผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวให้กับลูกค้า ผ่านบุคลากรมืออาชีพที่มีประสบการณ์ ด้วยความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องที่จะเป็น "ผู้ให้บริการที่ปรึกษาการลงทุนระดับแนวหน้า" อย่างครบวงจร

พัฒนาการสำคัญ[แก้]

  • พ.ศ. 2512 - ก่อตั้งเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แห่งแรกในประเทศไทย โดยมีธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา (Bankers Trust New York) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ริเริ่มบริการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นครั้งแรกในไทย
  • พ.ศ. 2513 - ริเริ่มการคำนวณดัชนีราคาหุ้นทิสโก้ (TISCO Price Index) ดัชนีราคาหุ้นตัวแรกของประเทศไทย / ริเริ่มสะสมงานศิลปะร่วมสมัย (TISCO Art Collection) ชิ้นแรก
  • พ.ศ. 2516 - ริเริ่มให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์แก่ลูกค้ารายย่อยเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2518 - ก่อตั้ง บริษัทหลักทรัพย์ ไทยค้า จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจด้านหลักทรัพย์โดยเฉพาะ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด/ เป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2521 - ก่อตั้ง บริษัท ไฮเวย์ จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจให้สินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์
  • พ.ศ. 2525 - ก่อตั้ง "มูลนิธิทิสโก้เพื่อการกุศล เพื่อดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์
  • พ.ศ. 2526 - จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2535 - ก่อตั้ง "บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บริหารทุนไทย จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจจัดการกองทุนรวม ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด
  • พ.ศ. 2536 - แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
  • พ.ศ. 2538 - เปิดสำนักอำนวยสินเชื่อภูมิภาคใน 8 จังหวัด
  • พ.ศ. 2547 - เป็นบริษัทเงินทุนแห่งแรกที่ได้รับอนุญาตให้ยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบจากกระทรวงการคลัง ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้ในเดือนตุลาคม 2547
  • พ.ศ. 2548 - เริ่มประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ภายใต้ชื่อ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
  • พ.ศ. 2551 - ปรับโครงสร้างการถือหุ้นเป็นรูปแบบบริษัทโฮลดิ้งเป็นแห่งแรก โดยมี บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทแม่ ถือหุ้นโดยตรงในบริษัทย่อยในกลุ่มทั้งหมด / ร่วมทุนกับผู้ถือหุ้นญี่ปุ่น ก่อตั้ง บริษัท ทิสโก้ โตเกียว ลีสซิ่ง จำกัด เพื่อให้บริการสินเชื่อลีสซิ่งแก่กลุ่มลูกค้านิติบุคคลญี่ปุ่นที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2552 - เข้าซื้อกิจการบริษัท ไพรมัส ลีสซิ่ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในเครือฟอร์ด มาสด้า และวอลโว่ ซึ่งมีสินทรัพย์ประมาณ 7,000 ล้านบาท / ซื้อสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท จีเอ็มเอซี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในกลุ่มเจนเนอรัล มอเตอร์ส มูลค่ารวมประมาณ 1,750 ล้านบาท
  • พ.ศ. 2553 - ขยายธุรกิจสินเชื่อรายย่อย ภายใต้ บริษัท ทิสโก้ ลีสซิ่ง จำกัด เพื่อให้บริการสินเชื่อรถใช้แล้ว และ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ แก่ลูกค้าในเขตปริมณฑล และภูมิภาค

ก่อตั้ง บริษัท ศูนย์การเรียนรู้ทิสโก้ จำกัด เพื่อดำเนินการด้านการพัฒนาความสามารถและทักษะของบุคลากรในกลุ่มทิสโก้โดยเฉพาะ ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร

  • พ.ศ. 2554 - เปิดบริการ TISCO Wealth ให้คำปรึกษาการลงทุนแบบบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวแก่ลูกค้าที่มีพอร์ตลงทุน 5 ล้านบาทขึ้นไป

ก่อตั้งศูนย์วิเคราะห์เศษฐกิจและกลยุทธ์ เพื่อให้บริการงานวิจัยและที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจในทุกมิติแก่ลูกค้า

  • พ.ศ. 2555 - ขยายช่องทางบริการ ผ่านสาขาธนาคารทิสโก้และสาขาสำนักอำนวยสินเชื่อ เพิ่มเป็น 87 แห่งทั่วประเทศที่เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ / ร่วมกับ กลุ่มธนาคารดอยซ์แบงก์ จัดตั้งบริษัทร่วมทุน บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน ดอยซ์ ทิสโก้ เพื่อให้บริการด้านงานวิจัยและที่ปรึกษาลงทุนให้แก่ลูกค้าสถาบันทั้งในและต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2556 - ปรับแผนบริหารเงินทุนรับธุรกิจเติบโต โดยเสนอผู้ถือหุ้นจ่ายปันผลและออกใบแสดงสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (transferable subscription right) พัฒนาการสื่อสารแบรนด์ ปรับตราสัญลักษณ์ เพิ่มสัญลักษณ์วงกลมสีน้ำเงิน สื่อถึงการสร้างโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้อง / ขยายบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วย โครงการให้ความรู้ทางการเงิน แก่เยาวชน ชุมชน และสาธารณชน (Social Financial Literacy) , ก่อตั้ง บริษัท ทิสโก้ อินชัวรันส์ โซลูชั่น จำกัด เพื่อขยายธุรกิจนายหน้าประกันภัย
  • พ.ศ. 2557 - เปิดบริการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ TISCO Global Trade เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าที่ต้องการลงทุนในบริษัทชั้นนำทั่วโลก และขยายธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ ภายใต้ชื่อ "สมหวัง เงินสั่งได้" ดำเนินงานโดยบริษัทไฮเวย์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย
  • พ.ศ. 2559 - เข้าซื้อพอร์ตธุรกิจรายย่อยจากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ณ วันที่ 30 ก.ย. 59 มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ มีมูลค่าประมาณ 5,500 ล้านบาท ประกอบด้วย ยอดสินทรัพย์ประมาณ 41,600 ล้านบาท และหนี้สินประมาณ 36,100 ล้านบาท ภายใต้ข้อตกลง ธนาคารทิสโก้ รับโอนธุรกิจสินเชื่อบุคคล สินเชื่อเพื่อการเคหะ สินเชื่อธุรกิจบริหารความมั่งคั่งและเงินฝากบุคคล สินเชื่อธุรกิจรายย่อยบริการธนบดีธนกิจ (wealth management) ธุรกิจแบงก์แอสชัวรันส์ ส่วนบริษัทออล-เวย์ส รับโอนธุรกิจบัตรเครดิต และขยายช่องทางบริการ ผ่านสาขาธนาคารทิสโก้และสาขาสำนักอำนวยสินเชื่อ เป็น 230 แห่งทั่วประเทศ
  • พ.ศ. 2560 - เปิดตัวบริการ "Open Architecture" บริการซื้อขายกองทุน-ประกัน จากหลากหลายค่ายเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์คุณภาพให้แก่ลูกค้าในจุดเดียวอย่างครบวงจร และในวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน ธนาคารฯยังรับโอนกิจการของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) เฉพาะธุรกิจและการบริการแก่ลูกค้าบุคคล มาเป็นของธนาคาร
  • พ.ศ. 2561 - ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ออล-เวย์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยภายใต้บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บรรลุข้อตกลงการโอนธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและธุรกิจบัตรเครดิต ที่รับโอนมาจากธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ให้แก่ ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ. สาขากรุงเทพฯ (ซิตี้แบงก์) ณ วันที่ 30 มี.ค. 61 ด้วยมูลค่า 6,900 ล้านบาท / เปิดตัวแอปพลิเคชัน TISCO Guru Plus
  • พ.ศ. 2562 - จัดทำกิจกรรมพิเศษเพื่อสังคมเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี อาทิ โครงการ “Friends for Life” เชิญชวนเพื่อนองค์กรพันธมิตร ลูกค้า คู่ค้า และผู้มีจิตศรัทธา สมทบทุนซื้อเครื่องมือแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลของรัฐฯ จำนวน 5 แห่ง โดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เป็นจำนวน 118,999,950 ล้านบาท, จัดนิทรรศการศิลปกรรม “Opportunity Inspired” โดย 12 ศิลปินชั้นนำของไทย เพื่อถ่ายทอดความหมายของคำว่า “โอกาส” และ กิจกรรม “ออมไอดอล” ประกวดผลงานส่งต่อความรู้ทางการเงินสู่ชุมชนจากกิจกรรม “ค่ายการเงิน”
  • พ.ศ. 2563 - ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด 16 ทำให้ธนาคารทิสโก้ ริเริ่มโครงการให้ความรู้ทางการเงินสู่รูปแบบออนไลน์
  • พ.ศ. 2564 - ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) จัดตั้งโครงการพิเศษ "คืนรถจบหนี้" เร่งช่วยเหลือลูกหนี้เช่าซื้อ-จำนำทะเบียนรถยนต์ของทิสโก้ทั่วประเทศ ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากโควิด 19 หากผ่อนค่างวดไม่ไหวสามารถนำรถมาคืนได้ โดยที่ธนาคารจะ "ยกหนี้ให้" ตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยจะไม่ดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม พร้อมระบุสถานะเป็นลูกค้า “ปิดบัญชี” / อัพเกรดแอปพลิเคชัน TISCO Mobile Banking สู่บริการ TISCO My Wealth

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)