จุดมุ่งหมายของการฟังและการดูมา 3 ข้อ

จุดมุ่งหมายการฟัง

          จุดมุ่งหมายของการฟัง
     เวลาเราฟังเรามักไม่ทันคิดว่า เราฟังเพื่อความมุ่งหมายอะไรแต่เรารู้ว่า เมื่อเราไปฟังดนตรี เราฟังเพื่อความเพลิดเพลินและความสุขใจเป็นสำคัญ เมื่อไปฟังปาฐกถาเราอาจฟังเพื่อให้ได้รับความรู้และได้รับความเพลิดเพลินด้วย แต่ถึงกระนั้นก็ดีหากเรากำหนดจุดมุ่งหมายในการฟังแต่ละครั้งแต่ละเรื่องไว้ก็จะทำให้เราตั้งใจฟังทำให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่ฟังและได้รับประโยชน์จากการฟังอย่างเต็มที่ เราพอจะแบ่งจุดมุ่งหมายของการฟังออกได้ดังนี้
                –  การฟังเพื่อติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน
                 –  การฟังเพื่อความเพลิดเพลิน
                  การฟังเพื่อรับความรู้
                 –  การฟังเพื่อได้คติชีวิตและความจรรโลงใจ

ความมุ่งหมายในการฟัง

            การฟังเป็นการรับรู้ความหมายของเสียงที่ได้ยิน     ผู้ฟังจะต้องตั้งใจฟังเพื่อให้เกิดความเข้าใจ   เกิดความคิด  จึงจะถือว่าเป็นการฟังที่สมบูรณ์   ผู้ที่ฟังมากจะเกิดความรู้กว้างขวางจะได้ชื่อว่าเป็นพหูสูต

            ในสังคมปัจจุบันนอกจากเราจะฟังผู้พูดพูดเพื่อการติดต่อสื่อสารหรือเพื่อกิจธุระในชีวิตประจำวันแล้ว   เราควรฟังเพื่อจุดมุ่งหมายอื่นๆ  ดังนี้

·         ฟังเพื่อจับใจความสำคัญ

·         ฟังเพื่อจับใจความอย่างละเอียด

·         ฟังเพื่อหาเหตุผลมาโต้แย้งหรือสนับสนุน

·         ฟังเพื่อให้เกิดความซาบซึ้งในวรรณคดี   เกิดสุนทรียภาพ

·         ฟังเพื่อให้เกิดความรู้   ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

·         ฟังเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

            การฟังที่ได้ผลดีต้องอาศัยการฝึกอยู่เสมอ   เมื่อฟังแล้วต้องคิดไปพร้อมๆ กัน   การฟังมากจะทำให้เป็นผู้ที่มีความรู้กว้างขวาง  สิ่งสำคัญที่สุดของการฟังก็คือ   ผู้ฟังต้องฟังด้วยความตั้งใจ  สนใจและเข้าใจเรื่องที่ฟังตรงกับจุดประสงค์ของผู้พูด

ผู้ฟังพิจารณาว่าผู้พูดมีจุดมุ่งหมายในการพูดครั้งนั้นอย่างไรบ้าง?

·         เรื่องที่ได้ฟังมีสารประโยชน์ให้แง่คิด ก่อให้เกิดความเจริญงอกงามและความคิดสร้างสรรค์อย่างไรบ้าง

·         เรื่องที่ได้ฟังมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

·         เรื่องที่ได้ฟังน่าเชื่อถือหรือไม่เพียงใด

·         ผู้ฟังวินิจว่าผู้พูดมีความจริงใจ อย่างไร เพียงไร

·         ผู้ฟังพิจารณาได้ว่าผู้พูดใช้วิธีการพูดหรือวิธีการถ่ายทอดความเจริญงอกงามและความคิดสร้างสรรค์อย่างไร

ขั้นตอนของการฟัง มนุษย์มีกระบวนการฟัง 6 ขั้น คือ
                     ขั้นได้ยิน
                                ขั้นแยก
                                ขั้นยอมรับ
                                – ขั้นตีความ
                                ขั้นเข้าใจ
                                ขั้นเชื่อ

 เป็นขั้นที่อยู่กับความสามารถของผู้ฟัง ที่จะตัดสินว่าประโยคหรือสิ่งที่ฟังมานั้นมีความจริงเพียงใด เชื่อถือได้เพียงใด และยอมรับได้หรือไม่ คนเรามีประสิทธิภาพในการฟังเมื่อมีกระบวนการฟังครบทุกตอน แต่กระบวนการฟังของคนเรามีไม่เท่ากัน บางคนมีกระบวนการฟังเพียงขั้นเดียว บางคนมีกระบวนการฟังถึงขั้นที่ห้านอกจากนี้อาจอธิบายได้อีกแง่หนึ่งว่า การฟังสารที่มีประสิทธิภาพตลอดจนได้รับประสิทธิผลจากการฟังเป็นอย่างดี ผู้ฟังฟังอย่างเข้าใจฟังแล้วจับประเด็นของเรื่องได้ ตีความสารได้ประเมินค่าสารได้ เป็นต้น

ลักษณะการฟังที่มีประสิทธิภาพ
            –  ฟังด้วยความสนใจ ไม่ว่าเรื่องที่ฟังจะเป็นเรื่องยาก สลับซับซ้อนอย่างไรก็ตาม
                –  ฟังผู้พูดทุกคน โดยไม่เลือกว่าผู้พูดคนนั้นเป็นคนพูดดี หรือพูดเก่ง ให้เข้าใจความหมายที่ผู้พูดสื่อสารออกมา
                –  ฟังโดยจับใจความ เรื่องที่ฟัง รู้ความหมายของคำพูด และความหมายที่ผู้พูดแสดงออกมาทางอากัปกิริยา ท่าทาง สีหน้าหรือนัยน์ตา
                –  ฟังด้วยความอดทน
                –  ฟังโดยสังเกตอย่างถี่ถ้วน
                –  ฟังโดยไม่คิดตอบโต้ ในขณะที่ฟัง ผู้ฟังต้องฟังอย่างมีสมาธิ
                –  ฟังโดยการไม่ถือการเล่น สำนวนเป็นใหญ่
                –  ฟังโดยไม่ขัดคอ
                –  ฟังเพื่อพยายามหาข้อตกลงร่วมกับผู้พูด
                 ฟังโดยทำความเข้าใจให้ตรงกันกับผู้พูด ฟังด้วยจิตว่าง ปราศจากอคติต่อผู้พูด ฟังอย่างเข้าซึ้งถึงจิตผู้พูดและพยายามเข้าใจสารของผู้พูดอย่างชัดเจน

ประโยชน์ของการฟัง

ประโยชน์ต่อตนเอง

·         การฟังที่ดีเป็นพฤติกรรมของผู้มีมารยาทในการเข้าสังคม ในวงสนทนาหรือในสถานที่และโอกาสต่างๆ ไม่มีผู้พูดคนใดที่ชอบให้คนอื่นแย่งพูดหรือไม่ยอมฟังคำพูดของตนเอง การฟังจึงเป็นพฤติกรรมที่ช่วยสร้างบรรยากาศของความเป็นมิตรทำให้เกิดความเข้าใจ  การยอมรับและความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน

·         การฟังที่ดีทำให้เราได้รู้เรื่องราวที่ฟังโดยตลอด สามารถเข้าใจข้อความสำคัญของเรื่องที่ฟังและจุดมุ่งหมายของผู้พูด

·         การฟังที่ดีช่วยสามารถพัฒนาสมรรถภาพการใช้ภาษา ในทักษะด้านอื่น ๆ กล่าวคือการฟังช่วยให้ผู้ฟังเรียนรู้กระบวนการพูดที่ดีของคนอื่น  นับตั้งแต่การเลือกหัวข้อหรือประเด็นในการพูด การปรับปรุงบุคลิกภาพในการพูด และวิธีการเสนอสารที่มีประสิทธิผล

·         การฟังที่ดีเป็นพื้นฐานที่ทำให้เกิดสมรรถภาพทางความคิด ผู้ฟังได้พัฒนาพื้นฐานความรู้ และสติปัญญาจากการรวบรวมข้อมูลและข้อคิดต่างๆ จากการฟัง

·         การฟังที่ดีทำให้เราได้เพิ่มศัพท์ และเพิ่มพูนการใช้ถ้อยคำภาษาได้อย่างรัดกุมและเหมาะสม ผู้ฟังจะสังเกตการใช้ศัพท์และถ้อยคำของผู้พูด  ศึกษาวิธีการใช้ถ้อยคำหรือสำนวนโวหารจากผู้พูดแล้วจดจำ ไปเป็นแบบอย่างในการพูดและการเขียน

ประโยชน์ต่อสังคม

การฟังที่ดีเป็นกระบวนการสื่อสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในแง่ที่ผู้ฟังนำความรู้แง่คิดต่างๆไปใช้ โดยผู้ฟังเองได้รับผลดีจากการปฏิบัติ และสังคมได้ประโยชน์ทางอ้อม ตัวอย่างเช่น การฟังการอภิปรายเรื่อง การรักษาสุขภาพ ส่วนบุคคล ผู้ฟังได้รับความรู้แนวคิดต่างๆ ในการรักษาสุขภาพจากการฟัง ถ้าผู้ฟังนำไปปฏิบัติตาม ผู้ฟังย่อมมีสุขภาพ พลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ในขณะเดียวกันสังคมนั้นจะมีสมาชิกของสังคมที่มีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิจารณญาณในการฟัง

     วิจารณญาณมาจากคำว่า วิจารณ + ญาณ วิจารณหรือวิจารณ์ หมายถึง การคิดใคร่ครวญโดยใช้เหตุผล ญาณ หมายถึง ปัญญา หรือความรู้ในชั้นสูง ความหมายของ วิจารณญาณ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน คือ ปัญญาสามารถสันนิษฐานเหตุผล

ดังนั้น การใช้วิจารณญาณในการฟังต้องเริ่มต้นด้วยความตั้งใจ ต่อจากนั้นก็พยายามทำความเข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่ฟัง แล้วจึงคิดใคร่ครวญตามไปด้วย โดยใช้ความรู้ ความคิด เหตุผล และประสบการณ์ประกอบ

  การใช้วิจารณญาณในการฟัง อาจเป็นไปในแง่ต่าง ๆ เช่น

กระบวนการฟังสารโดยใช้วิจารณญาณ

เมื่อคนเราได้ยินและเกิดการรับรู้แล้ว จึงจะเข้าใจความหมายของสาร กระบวนการในช่วงนี้คือการฟังโดยปกตินั่นเอง ยังไม่นับว่าถึงขั้นฟังอย่างมีวิจารณญาณต่อเมื่อได้ใช้ความคิดวิเคราะห์ใคร่ครวญและตัดสินใจได้ว่าข้อความที่ได้ฟังนั้นสิ่งใดเป็นใจความสำคัญสิ่งใดเป็นความประกอบหรือผลความ และสามารถแยกข้อความที่ได้ฟังนั้นสิ่งใดเป็นความประกอบหรือพลความและสามารถแยกข้อเท็จจริงออกจากข้อคิดเห็นได้ตลอด จนวินิจฉัยได้ว่าข้อความที่ได้ฟังเนื้อหาสาระ

แง่คิดที่ดีหรือไม่ อาจนำไปใช้ประโยชน์ได้เพียงไร รวมทั้งประเมินค่าผู้พูดในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ ความสามารถ ความจริงใจ และกลวิธีในการนำเสนอเช่นนี้ จึงเรียกว่า การฟังอย่างมีวิจารณญาณ

การใช้วิจารณญาณในการฟังสารประเภทต่าง ๆ

·         สารที่ให้ความรู้

·         สารที่โน้มน้าวใจ

·         สารที่จรรโลงใจ

1. สารที่ให้ความรู้แนวทางในการพิจารณามีดังนี้

ถ้าเรื่องที่ฟังจำเป็นต้องใช้วิจารณญาณ ต้องฟังด้วยความตั้งใจยิ่งขึ้น จับประเด็นให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นข่าว บทความหรือข้อความอื่นใดก็ตามควรพิจารณาตามไปด้วยทุกระยะ วินิจสารด้วยความระวัง (วินิจสารคือตีความให้ได้ว่าความหมายที่แท้จริงที่ผู้ส่งสารพยายามจะสื่อมาถึงผู้ฟังคืออะไร)

·         ฝึกแยกแยะข้อเท็จจริงจากความคิดเห็นพิจารณาว่าสารที่ได้ฟังเชื่อถือได้หรือไม่

·         ขณะที่ฟังบันทึกประเด็นสำคัญไว้เพื่อเตือนความทรงจำ

·         ประเมินค่าของสารที่ฟังนั้นว่ามีประโยชน์เพียงใด ให้คุณค่าอะไรบ้าง

·         พิจารณาว่าผู้พูดมีกลวิธีในการนำเสนอ น่าสนใจ ชวนติดตามเพียงใด ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาถูกต้องเหมาะสมหรือไม่เพียงไร

2. สารที่โน้มน้าวใจผู้ฟัง อาจใช้วิจารณญาณในแง่ต่าง ๆ ดังนี้

·         สารที่ฟังนั้นเรียกร้องหรือดึงดูดความสนใจของผู้ฟังหรือเสริมสร้างความเชื่อมั่น
มากน้อยเพียงใด

·         สารที่นำมาเสนอนั้นสนองความต้องการพื้นฐานของผู้ฟังอย่างไร ก่อให้เกิด
ความปรารถนาขึ้น

·         ผู้พูดเสนอแนวทางที่จะสนองความต้องการของผู้ฟังหรือแสดงให้เห็นว่าผู้ฟังจะได้
รับประโยชน์อะไรหากยอมรับข้อเสนอนั้น

·         สารนั้นเร่งเร้าให้ผู้ฟังเชื่อถือเกี่ยวกับสิ่งใดเฉพาะเจาะจงลงไปหรือไม่ว่าต้องการให้
ผู้ฟังคิดอย่างไร

·         ภาษาที่ใช้ในการโน้มน้าวใจ ใช้ดีเพียงใด

3. สารที่จรรโลงใจ อาจได้จากบทเพลง บทประพันธ์ บทละคร บทความบางชนิด คำปราศรัย สุนทรพจน์ ฯลฯ เมื่อผู้ฟังได้ฟังแล้วจะเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย เกิดจินตนาการ มองเห็นแล้วเกิดความซาบซึ้ง สารที่จรรโลงใจ อาจยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น มีวิธีพิจารณาดังต่อไปนี้

·         ฟังด้วยความตั้งใจ ขณะเดียวกันก็ทำใจให้สบายอย่าให้เกิดความเคร่งเครียด

·         ทำความเข้าใจเนื้อหาสำคัญ และควรใช้จินตนาการให้ตรงตามจุดประสงค์ของสาร

·         พิจารณาว่าสารนั้นจรรโลงใจในแง่ใด อย่างไร เพียงใด สมเหตุสมผลหรือไม่

·         พิจารณาภาษาที่ใช้ว่าเหมาะสมกับรูปแบบ เนื้อหา และผู้รับสารหรือไม่ เพียงใด

ความสำคัญของการฟัง

            การฟังเป็นองค์ประกอบสำคัญประการแรกของหัวใจนักปราชญ์ได้แก่   สุ (ฟัง)  จิ (คิด)  ปุ (ถาม)  ลิ (เขียน)   การฟังเป็นพื้นฐานสำคัญของทักษะอื่นคือการพูด  การอ่านและการเขียน

            การฟังเป็นการเสริมสร้างความรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น   ด้วยการรับรู้ด้วยหู   การอ่านรับรู้ด้วยตา   การพูดและการเขียนเป็นการถ่ายทอดความคิดจากตัวเราให้คนอื่นเข้าใจ

            การฟังกับการพูดมีความสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง   การฟังมีส่วนสำคัญที่จะทำให้การพูดสัมฤทธิ์ผลเพราะ

·         การพูดจะต้องประกอบด้วยผู้พูดและผู้ฟัง    การพูดคนเดียวหรือมีผู้นั่งอยู่แต่ไม่ฟัง    ไม่ถือว่าเป็นการพูดที่สมบูรณ์

·         การพูดที่สมบูรณ์    ผู้พูดกับผู้ฟังจะต้องเข้าใจจุดมุ่งหมายตรงกัน   และผู้ฟังสามารถจับใจความสำคัญได้ตรงตามที่ผู้พูดต้องการ

·         ผู้ฟังที่ดีมีมารยาทแสดงความสนใจ   กระตือรือร้นที่จะฟังหรือตั้งคำถาม   จะทำให้ผู้พูดมีกำลังใจมีความตั้งใจที่จะพูด   จะทำให้พูดได้ดี   แต่ถ้าผู้ฟังแสดงความเบื่อหน่ายไม่สนใจจะทำให้ผู้พูดหมดกำลังใจ

·         ผู้พูดต้องรู้จักเป็นนักฟังที่ดี   รู้ว่าเมื่อใดควรพูด  เมื่อใดควรฟัง

·         ผู้พูดที่ดีต้องฟังอยู่เสมอ    เพื่อจะได้มีความรู้เพิ่มขึ้นจากเรื่องที่ฟังและมีโอกาสได้สังเกตวิธีการพูดของผู้พูดอีกด้วย

จุดมุ่งหมายของการฟังและดูมีอะไรบ้าง

การฟังและดูเป็นการรับสารเข้าสู่สมอง ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น การฝึกรับสารด้วยการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณเป็นทักษะที่สำคัญ จะทำให้ผู้รับสารมีความรู้ที่ดี ถูกต้อง เหมาะสมและนำความรู้ที่ได้รับพูดนำเสนออกไปได้อย่างมีคุณค่า มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น

จุดมุ่งหมายของการฟังมี 3 ประการอะไรบ้าง

จุดมุ่งหมายในการฟัง 1. เพื่อติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน 2. เพื่อความเพลิดเพลิน 3. เพื่อรับความรู้

เพราะเหตุใดจึงต้องกำหนดจุดมุ่งหมายในการฟังและการดู

๕. ความมุ่งหมายในการฟังและการดู ๑. เพื่อจับใจความสำคัญและใจความอันดับรอง ๒. เพื่อแยกส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น ๓. เพื่อหาเหตุผลสนับสนุนความเชื่อและความขัดแย้ง ๔. เพื่อให้ซาบซึ้งในคุณค่าต่าง ๆ เช่น คุณค่าทางวรรณคดี คติธรรม หรือสุนทรียภาพทางดนตรี

จุดประสงค์ของการฟังเเละการพูดที่สำคัญคืออะไร

การฟังต้องมีจุดมุ่งหมาย มีจุดมุ่งหมายหลัก 3 ประการ คือ 1. ฟังเพื่อความรู้ ได้แก่ การฟังเรื่องราวที่เป็นวิชาการ ข่าวสารและข้อแนะนำต่าง ๆ 2. ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน คือ การฟังเรื่องราวที่สนุกสนานเพลิดเพลิน 3. ฟังเพื่อให้ได้รับคติหรือความจรรโลงใจ คือ การฟังเรื่องที่ทำให้เกิดแนวคิด และสติปัญญา