วิทยานิพนธ์ มหามกุฏราชวิทยาลัย

DSpace at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University >
หอสมุดกลาง >
วิจัย >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/1522

Full metadata record

DC FieldValueLanguage
dc.contributor.author พระครูพิศิษฎ์คณาทร -
dc.date.accessioned 2012-05-23T03:57:05Z -
dc.date.available 2012-05-23T03:57:05Z -
dc.date.issued 2012-05-23 -
dc.identifier.uri http://202.29.33.134:8080/dspace/handle/123456789/1522 -
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพุทธวิธี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพุทธวิธี 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพุทธวิธีตามสภาพจริงโดยการปฏิบัติการฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพุทธวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการปฏิบัติอบรม ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 20 คน โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ที่ยินดีเข้าร่วมโครงการปฏิบัติการฝึกอบรมครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การปฏิบัติ การฝึกอบรม การสังเกตุพฤติกรรม และการสนทนากลุ่ม โดยการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ขั้นที่ 1 รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพุทธวิธีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราชจากการสังเกตุพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมและสนทนากลุ่มโดยการสัมภาษณ์ พบว่าปัญหาคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพุทธวิธี ในการปฏิบัติฝึกอบรม 5 ขั้นตอน 1)การทำสมาธิเบื้องต้น 2)การตัดความกังวล 3)อานาปานสติ 4)นิวรณ์ 5)ไตรสิขกา มีปัญหาการปฏิบัติการด้านคุณธรรมจริยธรรมที่เปลี่ยนไปไม่เหมาะสมตามหลักพุทธวิธี ขั้นที่2 การพัฒนารูปแบบคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพุทธวิธีของนักศึกษา จากการตรวจสอบโครงร่างแผนปฏิบัติการฝึกการอบรมตามหลักพุทวิธีที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญด้านคุณธรรมจริยธรรม จำนวน 5 คน ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.89 การปรับปรุงแก้ไขโครงร่างแผนปฏิบัติการฝึกการอบรมโดยการนำผลประเมินค่าของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละประเด็นมาพิจารณากับเกณฑ์ที่ตั้งใว้ และนำข้อเสนอแนะในประเด็นต่างๆมาแก้ไขปรับปรุงหลักจากนั้นได้นำรูปแบบการปฏิบัติการฝึกอบรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการปฏิบัติการฝึกอบรมรูปแบบ จำนวน 20 คน จากผู้ที่ยินดีเข้าร่วมโครงการปฏิบัติการฝึกอบรมครั้งนี้ สรุปผล ได้นำแผนการปฏิบัติการฝึกอบรมรูปแบบคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพุทธวิธี ไปปฏิบัติสามารถพัฒนา ความรู้ ทักษะและขั้นตอนตามหลักพุทธวิธี จึงทำให้มีความมั่นใจในการปกฺบัติการอย่างเหมาะสม ขั้นที่ 3 การประเมินรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพุทธวิธีของนักศึกษาผลการประเมินตามสภาพจริง ผลการวิจัยพบว่า 1) การสังเกตุพฤติกรรม และการสนทนากลุ่มโดยวิธีการสัมภาษณ์ 2) การติดตามการดำเนินงานของนักศึกษาหลักการปฏิบัติการฝึกอบรม และประเมินผลการปฏิบัติการฝึกการอบรม การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติการฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพุทธวิธี 3) การปรับปรุงรูปแบบคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพุทธวิธีของนักศึกษาโโยการนำผลการประเมินจากการสังเกตุพฤติกรรมและการสนทนาโดยการสัมภาษณ์หลังจาก การปฏิบัติการฝึกอบรมแล้วมาเป็นข้อมูลให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ปรับปรุง เป็นทางเลือกในการนำรูปแบบไปปฏิบัติการตามขั้นตอนคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพุทธวิธีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราชที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม en_US
dc.language.iso th en_US
dc.subject คุณธรรมจริยธรรม en_US
dc.subject หลักพุทธวิธี en_US
dc.subject ไตรสิกขา en_US
dc.subject อานาปานสติ en_US
dc.subject นิวรณ์ en_US
dc.title บทคัดย่อ : รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพุทธวิธีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช en_US
Appears in Collections: วิจัย

Files in This Item:

FileDescriptionSizeFormat
P0059-60.pdf 292.69 kB Adobe PDF View/Open

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

พระมหาวิโรจน์ คุตตวีโร. 2552. คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. นครปฐม:มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย;

พระมหาวิโรจน์ คุตตวีโร. (2552) คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย:นครปฐม.

พระมหาวิโรจน์ คุตตวีโร. คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. นครปฐม:มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552. Print.

พระมหาวิโรจน์ คุตตวีโร. (2552) คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย:นครปฐม.

          ตามที่ วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด  ISSN : 2651-2009 (Online) ได้ผ่านการประเมินคุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) โดยได้รับการจัดให้อยู่ใน วารสารกลุ่มที่ 2 : วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI (จนถึง 31 ธันวาคม 2567)  ทั้งนี้ วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยพระพุทธศาสนา ปรัชญา ศึกษาศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยกำหนดออกเผยแพร่วารสาร ปีละ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม

           ทั้งนี้ตั้งแต่ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563) วารสารได้ยกเลิกการเผยแพร่ในลักษณะรูปเล่มเอกสาร ISSN : 2286-6906 (Print) โดยเผยแพร่ในระบบออนไลน์ เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) ประเภท Online ของวารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด คือ E-ISSN : 2651-2009 เผยแพร่สืบค้น และดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่ https://so01.tcithaijo.org/index.php/AJMBU

คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ

          บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ดควรจะมีความเนื้อหาทางวิชาการอยู่ในสาขาานวิจัยพระพุทธศาสนา ปรัชญา ศึกษาศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น และผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการ บทความวิจัย และบทวิจารณ์หนังสือ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร

          ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25% โดยมีผลตั้งแต่ เดือน กรกฎาคม 2562 เป็นตันไป

          วารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม จำนวน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ  ผู้เขียนจะต้องลงทะเบียนพร้อมจ่ายค่าธรรมเนียมในระบบ วารสารจะนำค่าธรรมเนียมนี้มาปฏิบัติงานภายใน เกี่ยวกับการบริหารจัดการวารสาร โดยผู้เขียนจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของบทความตามคำแนะนำสำหรับผู้เขียน หากไม่ปฏิบัติตามกติกา กองบรรณาธิการวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์ และไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้ (1)ผู้เขียนไม่ปฏิบัติตามรูปแบบของวารสาร (2) บทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ (3)ไม่แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะตามระยะเวลาที่กำหนด  ผู้เขียนสามารถชำระค่าธรรมเนียมผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด” หมายเลขบัญชี “293-1-00411-1” เมื่อชำระแล้วให้ส่งหลักฐานไปที่ E-mail :

การส่งบทความเข้าระบบ Thaijo เพื่อได้รับการตีพิมพ์

         การส่งในระบบ (Online Submission) สามารถส่งเข้าระบบออนไลน์ได้เว็บไซต์ของวารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ได้ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU เมื่อส่งเข้าระบบสำเร็จให้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมทาง E-mail :

เข้าสู่ระบบ  หรือ  สมัครสมาชิก

การจัดเตรียมต้นฉบับบทความ

               1)เขียนตามแบบ (Modeling) ที่กำหนดไว้ เช่น ใช้กระดาษ A4 พิมพ์เต็มหน้า ความยาว 10-15 หน้า พิมพ์ด้วย Microsoft for Windows ใช้อักษร TH SarabunPSK ชื่อเรื่อง และหัวข้อใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวหนา และกั้นหน้าด้านบนกับด้านซ้าย เท่ากัน 1.5 นิ้ว ส่วนกั้นด้านขวาและด้านล่างเท่ากัน 1 นิ้ว และตารางให้มีขีดเส้นบนและล่างเท่านั้น

               2)การอ้างอิงในเนื้อหาบทความให้ใช้ระบบ APA ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็บเปิด-ปิด และระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เขียน ปี พ.ศ. ของเอกสารที่นำมาอ้างอิง และเลขหน้า ไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความนั้นก็ได้ เอกสารที่นำมาอ้างอิงในบทความจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และผู้นิพนธ์บทความต้องรับผิดชอบถึงความถูกต้องของเอกสารที่นำมาอ้างอิงทั้งหมด โดยรูปแบบของการอ้างอิงเอกสาร เช่น กุลธิดา ท้วมสุข (2548 : 16) หรือ (กุลธิดา ท้วมสุข, 2548 : 16)

               3)การอ้างอิงเอกสาร ให้รวบรวมเฉพาะเอกสารทั้งหมดที่ใช้อ้างอิงในบทความนี้เท่านั้น จัดเรื่องลำดับตามตัวอักษร

               บทความวิจัย  (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ปรัชญา ศึกษาศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

                   1) บทคัดย่อ (Abstract)

                   2) ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย

                   3) โจทย์วิจัย(ถ้ามี)

                   4) วัตถุประสงค์ของการวิจัย

                   5) สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)

                   6) ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

                   7) วิธีดำเนินการวิจัย

                   8) ผลการวิจัย เสนอผลการวิจัยที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน

                   9) อภิปรายผลการวิจัย เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยมีแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสนับสนุน

                   10) องค์ความรู้ใหม่ (ถ้ามี) (Originality and Body of Knowledge) ระบุองค์ความรู้อันเป็นผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการวิจัย สังเคราะห์ออกมาในรูปแบบโมเดล พร้อมคำอธิบายรูปแบบ/โครงสร้างของโมเดลอย่างกระชับ เข้าใจง่าย

                  11) ข้อเสนอแนะ (Suggestion) นำเสนอใน 3 ประเด็น คือ 1)ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 2) ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ปฏิบัติ และ 3)ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยต่อไป

                  12) การอ้างอิงเอกสาร ให้รวบรวมเฉพาะเอกสารทั้งหมดที่ใช้อ้างอิงในบทความนี้เท่านั้น จัดเรื่องลำดับตามตัวอักษร

                  13) คำขอบคุณ

              บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

                   1) บทคัดย่อ (Abstract)

                   2) บทนำ (Introduction)

                   3) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ

                   4) สรุป (Conclusion)

                   5) เอกสารอ้างอิง (Reference) การอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้ตามรูปแบบที่สารสารกำหนด

              บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เป็นบทความในลักษณะวิจารณ์หรืออธิบายเหตุผลสนับสนุนในประเด็นที่เห็นด้วย และ มีความเห็นแตกต่างในมุมมองวิชาการ ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

                   1) บทนำ

                   2) เนื้อเรื่อง แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ

                   3) บทวิจารณ์

                   4) คุณค่าของหนังสือ

                   5) เอกสารอ้างอิง การอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้ตามรูปแบบที่สารสารกำหนด

                   6) ประวัติผู้วิจารณ์

การเขียนเอกสารอ้างอิง

    1) หนังสือ

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.

เช่น

ถวิลวดี บุรีกุล. (2555). ความเป็นพลเมืองในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.  

   2) วารสาร  

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่(ฉบับที่). เลขหน้าที่ปรากฏของบทความในวารสาร.

เช่น

ธนวัฒน์ พรหมทอง. (2560). การศึกษาความเป็นพลเมือง: กรณีศึกษาประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. 4(1). 103-127.  

   3) สารนิพนธ์/วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์/รายงานวิจัย  

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับปริญญาของวิทยานิพนธ์. สถานที่พิมพ์ :  ชื่อสถาบันการศึกษา.

เช่น

รัศมี สีหะนัน. (2551). การประเมินสมรรถนะความเป็นครูของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อุบลราชธานีเขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผล. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

    4) เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่:  

           ชื่อผู้จัดประชุม. (ปีที่พิมพ์). ชื่อรายงานการประชุม. เมืองที่พิมพ์-ถ้ามี : สำนักพิมพ์-ถ้ามี.

    5) สื่ออิเล็กทรอนิกส์/เว็บไซต์ :  

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อเรื่องที่ปรากฏในเว็บ. สืบค้นเมื่อระบุวันที่เดือนปี. จากชื่อเจ้าของเว็บไซต์ https://xxxxxx

เช่น

อานันท์ชนก สกนธวัฒน์. (2558). ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2562. จาก https://www.tcithaijo.org/index.php/polscicmujournal/article/ download/.../71727/

รูปแบบการเขียนบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทควิจารณหนังสือ (คลิกเพื่อดูคำแนะนำและแบบการเขียนบทความ)

           การจัดเตรียมต้นฉบับ ใช้กระดาษ A4 พิมพ์เต็มหน้า ความยาว 10-15 หน้า พิมพ์ด้วย Microsoft for Windows ใช้อักษร TH SarabunPSK ชื่อเรื่อง และหัวข้อใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวหนา และกั้นหน้าด้านบนกับด้านซ้าย เท่ากัน 1.5 นิ้ว ส่วนกั้นด้านขวาและด้านล่างเท่ากัน 1 นิ้ว และตารางให้มีขีดเส้นบนและล่างเท่านั้น