ผู้บูชาย่อมได้รับการบูชาตอบ

ใส่ความเห็น

Enter your comment here...

Fill in your details below or click an icon to log in:

อีเมล (ต้องการ) (Address never made public)

ชื่อ (ต้องการ)

เว็บไซต์

You are commenting using your WordPress.com account. ( Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

You are commenting using your Twitter account. ( Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

You are commenting using your Facebook account. ( Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

ยกเลิก

Connecting to %s

Notify me of new comments via email.

Notify me of new posts via email.

Δ

ปูชโก ลภเต ปูชํ วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ

ผมสงสัยว่าเป้นคำเเต่งใหม่  หรีออยุ่ในสุตรไหนครับ มีใครพอที่จะให้หลักฐานบ้างครับว่าอยู่ในสุตรไหนหรีอธรรมบทเรี่องใดเพราะผมเคย
Searchหาในgoogleไม่เจอครับพอดีกำลังค้นเรี่องนี้อยู่ครับ

แก้ไขข้อความเมื่อ

0

ผู้บูชาย่อมได้รับการบูชาตอบ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้

ความคิดเห็นที่ 1

ปูชโก ลภเต ปูชํ วนฺทโก ปฎิวนฺทนํ
ผู้บูชาเขาย่อมได้รับการบูชาตอบ ผู้ไหว้เขา ย่อมได้รับการไหว้ตอบ

ถ้อยทีถ้อยอาศัย...
ปูชโก ลภเต ปูชํ วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ
ยโสกิตฺติญฺจ ปปฺโปติ โยมิตฺตานํ น ทุพฺภติ

ผู้บูชาเขา ย่อมได้รับการบูชาตอบ
ผู้ไหว้เขา ย่อมได้รับการไหว้ตอบ
ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมได้รับเกียรติยศ

มาจาก google

0

ผู้บูชาย่อมได้รับการบูชาตอบ

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

กมฺมุนา วตฺตตี โลโก
สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม


         คำว่า กรรม ได้แก่ การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือ ทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่นขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม (แต่ถ้ารู้อยู่ว่า บ่อน้ำที่ตนขุด ๆไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตายก็ไม่พ้นเป็นกรรม) การกระทำที่ดีเรียกว่า “กรรมดี” ที่ชั่ว เรียกว่า “กรรมชั่ว”ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก มนุษย์มีความเชื่อถือกันว่า วีถีชีวิตของคนเราจะเป็นไปอย่างไรนั้น เทพเจ้าเท่านั้นจะเป็นผู้บันดาล แต่ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น พระองค์ทรงค้นพบว่า ชีวิตของคนจะเป็นอย่างไรนั้น คือ ดี เลว ประณีต ยากจน ร่ำรวย หรืออับเฉาทั้งหมดขึ้นอยู่กับผลของกรรมที่ตนเองทำไว้ คนอื่นจะทำความดี ความชั่ว และรับผลของกรรมดีกรรมชั่วแทนกันไม่ได้ทางพระพุทธศาสนาถือกันว่ากรรมเป็นผู้ตกแต่งว่าจะให้ใครเป็นอย่างไร คือจะให้ดีหรือเลว มิใช่พระเจ้าหรือเทพเจ้าเป็นผู้แต่ง ที่ว่าสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมนั้น หมายความว่า คนเราจะเป็นอย่างไร แรงกรรมเท่านั้นเป็นผู้พาไป มิใช่มีใครคอยดลบันดาลให้ ฉะนั้น พุทธศาสนิกชนควรประกอบกรรมดี คือกุศลกรรม หลีกเลี่ยงกรรมไม่ดี คือ อกุศลกรรมการประพฤติปฏิบัติดีย่อมส่งผลให้ผู้ประพฤติปฎิบัติได้รับผลแห่งกรรมดีนั้น ดังพุทธภาษิตว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

ผู้บูชาย่อมได้รับการบูชาตอบ

กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ
 ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

        หนังสือคติธรรมจากพุทะศาสนสุภาษิต เล่ม 1 ได้อธิบายพุทธศาสนสุภาษิตบทนี้ไว้ว่า พุทธศาสนาเป็นกรรมนิยามเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หว่านถั่วได้ถั่ว หว่านงาได้งา หว่านถั่วจะเกิดเป็นงาหรือหว่านงาจะเกิดเป็นถั่วไปไม่ได้แต่เนื่องจากคำว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วมีคนเข้าใจผิดอยู่เป็นจำนวนมาก คือ เข้าใจกันแต่การทำดี แต่ไม่เข้าใจคำว่าได้ดี คำว่าได้ดีนี้ หมายเอาทั้งของดีและคุณงามความดี เช่นคนรับจ้างแบกของแล้วได้เงินค่าจ้าง เรียกว่าได้ของดี คนที่ทำงานโดยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คด ไม่โกง ย่อมได้รับคุณงามความดี คือ มีคนยกย่องสรรเสริญ เรียกว่าได้คุณความดีคนที่ให้ทาน รักษาศีล ผลทาน อานิสงส์ของศีล ย่อมส่งผลให้เขาไปสุคติได้ ส่วนคนทำชั่วจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่น คนที่เลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพ มีการลักขโมย เป็นต้น ย่อมจะมีอายุสั้น และจะถูกผู้อื่นเบียดเบียนข่มเหง ฉะนั้นพระพุทธองค์ จึงทรงเตือนว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
 การสั่งสมบุญนำสุขมาให้

         คำว่า บุญ หมายถึง เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฤติชอบทางกาย วาจาและใจ หรือ กุศลธรรม ส่วนคำว่า บุญกิริยาวัตถุ หมายถึง สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ได้แก่ ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีลและภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนาการสั่งสมบุญ จึงหมายถึง การทำคุณงามความดีอันเป็นเครื่องชำระสันดาน การบำเพ็ญกุศล การประพฤติชอบทางกาย วาจาและใจ รวมตลอดถึงการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา การกระทำคุณงามความดีเหล่านี้แม้ทีละเล็กทีละน้อย ย่อมนำความสุขความเจริญมาให้แก่ผู้ประพฤติปฏิบัติ ประดุจน้ำฝนซึ่งตกลงมาทีละหยาด ๆ ตกนาน ๆ เข้าย่อมยังภาชนะ คือ ตุ่ม ไห หรือถาด เป็นต้น ที่หงายตั้งเอาไว้กลางแจ้งให้เต็มได้ บุญกุศลคือความดีที่บุคคลสั่งสมไว้ก็เช่นเดียวกัน แม้ทำไว้ทีละน้อย ๆ บุญกุศลก็เพิ่มพูนขึ้นโดยลำดับ และก่อให้เกิดความสุขใจว่า “บุญนี้อันเราทำไว้แล้ว และบุญนั้นเราก็ได้ทำไว้” ดังนี้บุคคลผู้หมั่นสร้างสมคุณงามความดี แม้ทีละเล็กทีละน้อย ย่อมมีความรู้สึกอิ่มเอิบใจ มีผิวพรรณผ่องใส จิตใจสดชื่น สะอาด ปราศจากสิ่งรบกวนจิตใจ ไม่หงุดหงิดง่าย มีความทรงจำที่ดี จิตใจเป็นสมาธิเร็ว จะเรียน เขียน อ่าน หรือคิดการณ์ใด ๆ ย่อมสำเร็จตามที่มุ่งหมาย มีสติสัมปชัญญะกำกับอยู่กับตัวอยู่ตลอดเวลา

ผู้บูชาย่อมได้รับการบูชาตอบ

ปูชโก ลภเต ปูชํ วนฺทโก ปฎิวนฺทนํ
ผู้บูชาเขาย่อมได้รับการบูชาตอบ ผู้ไหว้เขา ย่อมได้รับการไหว้ตอบ

        บูชา หมายถึง การให้ความนับถือ หรือการแสดงความเคารพเทิดทูน มี 2 ลักษณะ คือ อามิสบูชา ด้วยอามิส คือสิ่งของและปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยกาปฏิบัติตามจากหนังสือคติธรรมจากพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม 1 ได้กล่าวถึงการบูชาย่อมได้รับบูชาไว้ว่าสิ่งซึ่งจะผูกมัดน้ำใจของคนที่ เกี่ยวข้องใกล้ชิดกันให้สนิทแนบแน่น ก็คือ ต่างฝ่ายต่างบูชานับถือกันตามฐานะธรรมดาบุตรธิดา ต้องบูชาบิดามารดาของตนในฐานะผู้ให้กำเนิดและอุปการะเลี้ยงดูตนมาบิดามารดา จึงจะปลาบปลื้มมองเห็นความเป็นบุตรธิดาที่เหมาะสมกับการที่จะเป็นผู้รับ ทรัพย์มรดกและมอบให้ซึ่งความไว้วางใจในฐานะทายาท ธรรมดาศิษย์ต้องเคารพเชื่อฟังอาจารย์ บูชาพระคุณของอาจารย์ไม่ลบลู่ดูหมิ่นอาจารย์ จึงจะได้รับเมตตาสั่งสอนวิชาการต่าง ๆ ให้อย่างไม่ปิดบัง แม้มิตรบูชามิตร ด้วยวัตถุสิ่งของ เขาก็จะได้รับการบูชาตอบด้วยวัตถุสิ่งของเช่นเดียวกัน ฉะนั้น คนที่บูชากันด้วยน้ำใสใจจริง ย่อมได้รับผลการตอบแทนเกินคาดเสมอส่วนการไหว้เป็นการลงทุนน้อย และไม่ต้องใช้อามิส แต่มีผลมาก เวลาได้พบหน้ากัน สิ่งซึ่งแสดงถึงน้ำใจไมตรีหรือความมีสัมมาคารวะต่อกันก็คือ การไหว้ และการไหว้นี้ถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมอันดีของคนในชาติ ผู้ที่ไหว้ถูกต้องตามลักษณะของการไหว้ เช่น ไหว้แบบเบญจางคประดิษฐ์ ย่อมได้รับความนิยมยกย่องว่าเป็นคนมีมรรยาท ไปในสังคมไหนย่อมได้รับการต้อนรับไม่เคอะเขิน มีแต่คนสรรเสริญเยินยอให้พรให้เจริญรุ่งเรือง