การใช้ตัวอักษรในงานทัศนศิลป์มีประโยชน์

ตอบ มีความสำคัญต่อการวาดภาพทำให้ภาพที่วาดนั้นดูสวยงามและมีความเหมือนจริง แล้วมีความเหมาะสมต่อภาพที่วาด

ทัศนศิลป์ คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิตนาการความคิดสร้างสรรค์มีระบบระเบียบ

เป็นขั้นเป็นตอน การสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นต่อเนื่อง

http://www.thaigoodview.com/node/17307

“องค์ประกอบทัศนศิลป์” คือองค์ประกอบที่ประกอบด้วย จุด เส้น สี พื้นผิว ค่าน้ำหนักอ่อนแก่ (แสง-เงา) รูปร่าง รูปทรง และบริเวณว่าง

ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญที่เป็นมูลฐาน 7 ประการคือ

1. จุด (Point,Dot) หมายถึง ส่วนประกอบที่เล็กที่สุด เป็นส่วนเริ่มต้นไปสู่ส่วนอื่นๆ

2. 2. เส้น (Line) หมายถึง จุดหลาย ๆ จุดที่เคลื่อนที่ต่อเนื่องไปในที่ว่างเปล่าจากทิศทางการเคลื่อนที่ต่าง ๆ กัน

3. 3. สี (Colour) หมายถึง ลักษณะของแสงสว่างที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นสีต่างกันสีเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก เมื่อมองเห็น และทำให้เกิดอารมณ์ สะเทือนใจต่าง ๆ

4. พื้นผิว (Texture) หมายถึง คุณลักษณะต่าง ๆ ของผิวด้านหน้าของวัตถุทุกชนิดที่มีลักษณะต่าง ๆ กันเช่นเรียบ ขรุขระ เป็นมันวาว ด้าน เป็นต้น

5. รูปร่าง (Shape) หมายถึง การบรรจบกันของเส้นที่เป็นขอบเขตของวัตถุที่มองเห็นเป็น 2 มิติ คือ มีความกว้างและความยาว 2 ด้านเท่านั้น

รูปทรง (form) หมายถึงรูปลักษณะที่มองเห็นเป็น 3 มิติ คือ มีความกว้างความยาวและความหนาลึก

4. ค่าน้ำหนัก (value) หมายถึง ค่าความอ่อนเข้มของสีที่เกิดจากของสีที่เกิดจากแสงและเงา

5. 7. ช่องว่าง(space) หมายถึง บริเวณที่ว่างเปล่าที่เรียกกันว่า "ช่องไฟ"

ทัศนธาตุเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าองค์ประกอบทัศนศิลป์ หมายถึง สิ่งที่เป็นส่วน

ประกอบสำคัญต่าง ๆ ในงานทัศนศิลป์ ได้แก่ เส้น สี พื้นผิว แสงเงาและช่องว่าง การวาดภาพที่ดี การนำส่วนประกอบสำคัญต่าง ๆ เหล่านี้มาจัดให้เกิดความสมดุลและเกิดความงาม ซึ่งจะทำให้เป็นภาพที่สมบูรณ์ได้ เรียกว่าการจัดทัศนธาตุหรือการจัดองค์ประกอบของทัศนศิลป์

การจัดองค์ประกอบทัศนศิลป์ เป็นหลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์ และผู้ศึกษางานศิลปะ เนื่องจากผลงานศิลปะใด ๆ ก็ตาม ล้วนมีคุณค่าอยู่ 2 ประการ คือ คุณค่าทางด้านรูปทรงและคุณค่าทางด้านเรื่องราว

องค์ประกอบศิลป์ (Art composition)

การจัดองค์ประกอบของศิลป์ มีหลักที่ควรคำนึงอยู่ 4 ประการ คือ

1. ความสมดุล (Balance)

2. ส่วน (Proportion)

3. จุดสนใจ (Emphasis)

4. เอกภาพ (Unity)

1. ความสมดุล (Balance)

ความสมดุลหรือดุลยภาพ หมายถึง น้ำหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบ ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง

2. ส่วน (Proportion)

ส่วน หมายถึง ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมขององค์ประกอบส่วนจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้อีก เช่น

1) ส่วนการจัดวางภาพ

2) ส่วนขนาดของภาพ

- 3) ส่วนของสี

- รูปหรือภาพสีแก่ พื้นต้องสีอ่อน

- รูปหรือภาพสีอ่อน พื้นต้องสีแก่

- รูปหรือภาพและพื้นมีสีเท่ากันแต่จะต้องมีค่าน้ำหนักของสีต่างกัน

3. จุดสนใจ (Emphasis)

จุดสนใจ หมายถึง การกระทำให้เด่นเป็นพิเศษกว่าธรรมดา

4. เอกภาพ (Unity)

เอกภาพ หมายถึง การจัดองค์ประกอบที่อยู่ในภาพให้มีลักษณะเป็นกลุ่ม ไม่ให้กระจัดกระจาย

http://dek-d.com/board/view.php?id=1048341

2. การพิจารณผลงานชิ้นหนึ่งว่ามีความงามหรือไม่นั้นต้องพิจารณาจากอะไร

ตอบ -ลายมือการเขียน ความคิดสร้างสรรค์ การลงสีหรือลวดลาย การจัดวางเนื้อหา

3. เส้นในแต่ละลักษณะให้ความรู้สึกต่อการมองเห็นแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ เส้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของศิลปภาพถ่าย เส้นสายในภาพถ่ายนอกจากจะเป็นเส้นนำสายตาผู้ชมภาพไปสู่จุดสนใจแล้ว เส้นเหล่านั้นยังให้ความรู้สึกและความหมายของภาพแตกต่างกัน บางเส้นให้อารมณ์รุนแรง ตื่นเต้น ในขณะเดียวกัน บางเส้นก็ให้ความรู้สึกเงียบสงบ อ่อนโยน

เส้นตั้งตรง เหมือนคนยืน เหมือนต้นเสา ต้นไม้ เป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคง เคร่งขรึม เอาจริงเอาจัง

เส้นตรงแนวนอน เป็นลักษณะของคนนอน ต้นไม้ล้ม หรือเส้นขอบฟ้า แสดงถึงอารมณ์ที่ราบเรียบ ผ่อนคลาย สงบเงียบ

เส้นทะแยงมุม เหมือนกับต้นไม้ใบหญ้าที่โอนเอนเมื่อถูกลมพัด ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวที่รุนแรง และความมีชีวิตชีวา

เส้นโค้งคดเคี้ยว ที่ต่อเนื่องอย่างนุ่มนวล เป็นความสนุกสนาน ความกลมกลืน และความเป็นหนุ่มเป็นสาว

เส้นที่แตกเป็นแฉกแหลมๆ เหมือนเส้นสายฟ้า เป็นสัญลักษณ์ของความโกรธ ความตื่นเต้นระทึกใจ

เส้นที่ตั้งขึ้นแล้วโค้งลงเหมือนไม้เลื้อย ให้อารมณ์หม่นหมอง เศร้าสลด เช่นเดียวกับคนก้มหน้าร้องไห้

http://www.bpsthai.org/BPS_Links/PhotoTechnic_L/Manosarae_L/Mano_L15.html

4 . นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่กับข้อความที่ว่า สีเป็นองค์ประกอบทัศนศิลป์ที่สำคัญที่สุดในงานจิตกรรม

ตอบ เห็นด้วย สีเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มลวดลายในภาพที่วาด

5 . หลักการออกแบบที่ดีควรคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง

ตอบ การออกแบบมีหลักการพื้นฐาน โดยอาศัยส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทเรียนเรื่อง “ องค์ประกอบศิลป์ ” คือ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี และพื้นผิว นำมาจัดวางเพื่อให้เกิดความสวยงาม โดยมีหลักการ ดังนี้

1. ความเป็นหน่วย (Unity)

ในการออกแบบ ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงงานทั้งหมดให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกัน เป็นกลุ่มก้อน หรือมีความ สัมพันธ์กัน ทั้งหมดของงานนั้นๆ และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลำดับ ในส่วนย่อยๆก็คงต้องถือหลักนี้เช่นกัน

2. ความสมดุลหรือความถ่วง (Balancing)

เป็นหลักทั่วๆไปของงานศิลปะที่จะต้องดูความสมดุลของงานนั้นๆ ความรู้สึกทางสมดุลของงานนี้ เป็นความรู้สึก ที่เกิดขึ้นในส่วนของความคิดในเรื่องของความงามในสิ่งนั้นๆ มีหลักความสมดุลอยู่ 3 ประการ

2.1 ความสมดุลในลักษณะเท่ากัน (Symmetry Balancing)

คือมีลักษณะเป็นซ้าย-ขวา บน-ล่าง เป็นต้น ความสมดุลในลักษณะนี้ดูและเข้าใจง่าย

2.2 ความสมดุลในลักษณะไม่เท่ากัน (Non-symmetry Balancing) คือมีลักษณะสมดุลกันในตัวเองไม่จำเป็นจะต้องเท่ากัน แต่ดูในด้านความรู้สึกแล้วเกิดความสมดุลกันในตัว ลักษณะการสมดุลแบบนี้ผู้ออกแบบจะต้องมีการประลองดูให้แน่ใจในความรู้สึกของผู้พบเห็นด้วย ซึ่งเป็น ความสมดุลที่เกิดในลักษณะที่แตกต่างกันได้ เช่น ใช้ความสมดุลด้วยผิว (Texture) ด้วยแสง-เงา (Shade) หรือด้วยสี (Colour)

2.3 จุดศูนย์ถ่วง (Gravity Balance) การออกแบบใดๆที่เป็นวัตถุสิ่งของและจะต้องใช้งานการทรงตัวจำเป็นที่ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วง ได้แก่ การไม่โยกเอียง หรือให้ความรู้สึกไม่มั่นคงแข็งแรง ดังนั้นสิ่งใดที่ต้องการจุศูนย์ถ่วงแล้ว ผู้ออกแบบ จะต้อง ระมัดระวังในสิ่งนี้ให้มาก ตัวอย่างเช่น เก้าอี้จะต้องตั้งตรง ยึดมั่นทั้งสี่ขาเท่าๆกัน การทรงตัวของ คน ถ้ายืน 2 ขา ก็จะต้องมีน้ำหนักลงที่เท้าทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน ถ้ายืนเอียงหรือพิงฝา น้ำหนักตัวก็จะลงเท้าข้างหนึ่ง และ ส่วนหนึ่งจะลงที่หลังพิงฝา รูปปั้นคนในท่าวิ่ง จุดศูนย์ถ่วงจะอยู่ที่ใด ผู้ออกแบบจะต้องรู้และวางรูป ได้ถูกต้อง เรื่อง ของจุดศูนย์ถ่วง จึงหมายถึงการทรงตัวของวัตถุสิ่งของนั่นเอง

3. ความสัมพันธ์ทางศิลปะ ( Relativity of Arts)

ในเรื่องของศิลปะนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณากันหลายขั้นตอน เพราะเป็นเรื่องความรู้สึกที่สัมพันธ์กัน อันได้แก่

3.1 การเน้นหรือจุดสนใจ ( Emphasis or Centre of Interest) งานด้านศิลปะผู้ออกแบบจะต้องมีจุดเน้นให้เกิดสิ่งที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น โดยมีข้อบอกกล่าว เป็นความรู้สึกร่วม ที่เกิดขึ้นเองจากตัวของศิลปกรรมนั้นๆ ความรู้สึกนี้ผู้ออกแบบจะต้องพยายามให้เกิดขึ้นเหมือนกัน

3.2 จุดสำคัญรอง ( Subordinate)

คงคล้ายกับจุดเน้นนั่นเอง แต่มีความสำคัญรองลงไปตามลำดับ ซึ่ง อาจจะเป็นรองส่วนที่ 1 ส่วนที่ 2 ก็ได้ ส่วนนี้จะช่วยให้เกิดความลดหลั่นทางผลงานที่แสดง ผู้ออกแบบจะต้อง คำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย

3.3 จังหวะ ( Rhythem)

โดยทั่วๆไปสิ่งที่สัมพันธ์กันในสิ่งนั้นๆย่อมมีจังหวะ ระยะหรือความถี่ห่างในตัวมันเองก็ดี หรือสิ่งแวดล้อม ที่ สัมพันธ์ อยู่ก็ดี จะเป็นเส้น สี เงา หรือช่วงจังหวะของการตกแต่ง แสงไฟ ลวดลาย ที่มีความสัมพันธ์กัน ในที่นั้น เป็นความรู้สึกของผู้พบเห็นหรือผู้ออกแบบจะรู้สึกในความงามนั่นเอง

3.4 ความต่างกัน ( Contrast)

เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้มีการเคลื่อนไหวไม่ซ้ำซากเกินไป หรือเกิดความเบื่อหน่าย จำเจ ในการ ตกแต่ง ก็เช่นกัน ปัจจุบันผู้ออกแบบมักจะหาทางให้เกิดความรู้สึกขัดกันต่างกัน เช่น เก้าอี้ชุดสมัยใหม่ แต่ขณะ เดียวกันก็มีเก้าอี้สมัยรัชกาลที่ 5 อยู่ด้วย 1 ตัว เช่นนี้ผู้พบเห็นจะเกิดความรู้สึกแตกต่างกัน ทำให้เกิดความรู้สึก ไม่ซ้ำซาก รสชาติแตกต่างออกไป

3.5 ความกลมกลืน ( Harmomies) ความกลมกลืนในที่นี้หมายถึงพิจารณาในส่วนรวมทั้งหมดแม้จะมีบางอย่างที่แตกต่างกัน การใช้สีที่ตัดกัน หรือ การใช้ผิว ใช้เส้นที่ขัดกัน ความรู้สึกส่วนน้อยนี้ไม่ทำให้ส่วนรวมเสียก็ถือว่าเกิดความกลมกลืนกันในส่วนรวม ความกลมกลืนในส่วนรวมนี้ถ้าจะแยกก็ได้แก่ความเน้นไปในส่วนมูลฐานทางศิลปะอันได้แก่ เส้น แสง-เงา รูปทรง ขนาด ผิว สี นั่นเอง

ความสำคัญของการออกแบบถ้าการออกแบบสามารถแก้ไขปัญหาของเราได้ การออกแบบจึงมีความสำคัญ และคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของเรา ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และทัศนคติ กล่าวคือ

มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเรา เช่น

1. การวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตาม ขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวาง แผนการทำงานที่ดี

2. การนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ ตรงกันอย่างชัดเจน ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจ ระหว่างกัน

3. สามารถอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภท อาจมีรายละเอียดมากมาย ซับซ้อน ผลงานออกแบบ จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผู้ออกแบบได้ทั้งหมด

4. แบบ จะมีความสำคัญมาก ถ้าผู้ออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิต เป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงาน หรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง

มีคุณค่าต่อวิถีชีวิตของเรา คือ

1. คุณค่าทางกาย

คุณค่าของงานออกแบบที่มีผลทางด้านร่างกาย คือคุณค่าที่มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวันโดยตรง เช่น ไถมีไว้สำหรับไถนา แก้วมีไว้สำหรับใส่น้ำ ยานพาหนะมีไว้สำหรับเดินทาง บ้านมีไว้สำหรับอยู่อาศัย เป็นต้น

2. คุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึก

คุณค่าของงานออกแบบที่มีผลทางอารมณ์ความรู้สึกเป็นคุณค่าที่เน้นความชื่นชอบ พึงพอใจ สุขสบายใจ หรือ ความรู้สึกนึกคิดด้านอื่น ๆ ไม่มีผลทางประโยชน์ใช้สอยโดยตรง เช่น งานออกแบบทางทัศนศิลป์ การออกแบบ ตกแต่ง ใบหน้าคุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึกนี้ อาจจะเป็นการออกแบบ เคลือบแฝงในงานออกแบบ ที่ม ีประโยชน์ทางกายก็ได้ เช่น การออกแบบตกแต่งบ้าน ออกแบบตกแต่งสนามหญ้า ออกแบบตกแต่งร่างกายเป็นต้น

3. คุณค่าทางทัศนคติ

คุณค่าของงานออกแบบที่มีผลทางทัศนคติ เน้นการสร้างทัศนคติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้พบเห็น เช่น อนุสาวรีย์สร้างทัศนคติให้รักชาติ กล้าหาญ หรือทำความดี งานจิตรกรรมหรือประติมากรรมบางรูปแบบ อาจจะ แสดงความกดขี่ขูดรีด เพื่อเน้นการระลึกถึงทัศนคติที่ดีและถูกควรในสังคม เป็นต้น

http://aom123.myfri3nd.com/blog/2008/10/30/entry-1

6 .การใช้ตัวอักษรและภาพประกอบในงานสิ่งพิมพ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจชัดเจน ควรมีลักษณะอย่างไร

ตอบ ตัวอักษร

ความแตกต่างของตัวอักษร (Type Face)

Type Face ของตัวอักษรแบบพื้นฐาน มีอยู่ 5 แบบ คือ

1.ตัวอักษรแบบตัวบาง (Light Face) มีความหมายของตัวอักษรน้อยที่สุดในจำนวน 5 แบบ

2.ตัวอักษรที่มีเส้นน้ำหนักหนา (Bold Face)

3.ตัวอักษรที่เหมาะกับงานที่มีเนื้อที่จำกัด (Condenced) เพราะมีขนาดความกว้างแคบ

4.ตัวอักษรที่มีลักษณะเตี้ย แต่มีความกว้างมาก (Extended)

5.ตัวอักษรที่มีลักษณะตัวเอียง (Italic , Obligne)

นอกจากนี้ยังมีแบบของตัวอักษรอีกหลายร้อยแบบ แต่ละแบบอยู่ในลักษณะ 5 แบบ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทั้งสิ้น เช่นแบบ Universe Bold - Face แบบ Universe Light - Face เป็นต้น Type Face อีกแบบหนึ่งก็คือ ltalicเป็นแบบตัวอักษรที่มีลักษณะเอนตัวไปทางขวา

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการใช้ตัวอักษร

1. ช่องไฟ (World Spacing) เนื้อที่ว่างระหว่างคำ มีความสำคัญมากต่อการอ่าน ถ้าหากช่องไฟมีเนื้อที่มากหรือน้อยเกินไปจะทำให้ข้อความนั้นไม่สวยหรืออ่านยาก แต่ในบางครั้งการออกแบบก็สามารถใช้ช่องไฟห่าง ๆ ในการออกแบบ

การจัดช่องไฟของตัวอักษรในภาษาต่าง ๆ มักมี 3 ลักษณะ คือ

1.ระยะระหว่างตัวอักษร ควรมีระยะพอเหมาะไม่เบียดหรือชิดเกินไป

2.ระยะระหว่างคำ ในภาษาไทยอาจมีใช้น้อย แต่ในภาษาอังกฤษจำเป็น อยู่ห่างกันจะเกิดช่องสีขาว

3.ระยะระหว่างบรรทัด ส่วนใหญ่เรียกว่า Leading

การจัดช่องไฟตัวอักษรนี้ เป็นข้อควรคำนึงที่นักออกแบบต้องทราบเป็นอย่างดี เพราะการจัดช่องไฟของตัวอักษรจะต้องมีความสัมพันธ์กับขนาดรูปเล่ม จำนวนหน้า การจัดแบ่งคอลัมน์และรูปแบบ

2. ความห่างระหว่างบรรทัด (Leading) ขึ้นอยู่กับของตัวหนังสือ และความยาวของข้อความ การนำตัวอักษรแต่ละตัวหรือแต่ละคำมาเรียงกันเป็นบรรทัด อาจทำให้หลายแบบ ดังนี้

-เสมอหน้า ตัวอักษรจะเรียงชิดเส้นขอบหน้า ส่วนปลายบรรทัดด้านขวาจะขาดหรือเกินก็ได้

-เสมอหลัง ตัวอักษรเรียงชิดขอบด้านหลัง ส่วนปลายบรรทัดด้านซ้ายจะขาดหรือเกินก็ได้

-วางไม่สมดุล จะเรียงบรรทัดไหนอย่างไรก็ได้ แต่เมื่อดูรวม ๆ กันแล้ว ต้องให้เกิดความสมดุล

-วางรอบภาพประกอบ เป็นการจัดตัวอักษรรวมกับภาพประกอบวางในทิศทาง ต่าง ๆ เช่น วางเอียง วางทแยง วางเป็นเส้นตรง

การใช้ตัวอักษรในงานสิ่งพิมพ์โฆษณา (Design With Type)

การเลือกใช้ตัวอักษรมีความสำคัญมากในงานโฆษณา เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องในการออกแบบโฆษณาและเกี่ยวข้องกับทุก ๆ องค์ประกอบ สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการโฆษณาเกี่ยวกับตัวอักษรก็คือ ขนาดของตัวอักษร ซึ่งในที่นี้กล่าวถึงตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ ในงานโฆษณานั้นตัวอักษรภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็น 2 ตัวอักษร พวกใหญ่ ๆ คือ

1. Upper Case ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวใหญ่ เช่น A, B, C, ฯลฯ

2. Lower Case ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็ก a, b, c, d ฯลฯ

นอกจากนี้ ตัวอักษรภาษาอังกฤษยังมีลักษณะแตกต่างกันอยู่อีก คือ

1. ลักษณะพวกที่มี Serif คือ ขีดส่วนบนและล่างของ Upper case ซึ่งเกิดในสมัยโรมัน เพราะการจารึกในสมัยนั้นตัวโย้ไปโย้มา จึงต้องสร้าง Serif ขึ้นมาให้อยู่ในแนวเดียวกัน

2. ส่วนที่ไม่มี Serif เรียกว่า San Serif

2.1 Agate (ใช้เฉพาะงานหนังสือพิมพ์) 14 Agate = 1

2.2 EM = ขนาดของ Type ที่ใช้ประโยชน์ในการจัดช่องไฟ = 1EM ใช้ความสูง (x-Height) เป็นหลัก

2.3 EM = 12

ขนาด 5pt ขึ้นไปจะเห็นด้วยตัวเปล่า ในการวัดถ้าเกิน 5pt-96pt จะวัดเป็นนิ้วหรือเซนติเมตร ขนาดของตัวอักษร ถ้าเล็กกว่า 15 pt เรียกว่า Text Type ถ้าใหญ่เกินกว่า 15pt เรียกว่า

Display Type

การเปรียบเทียบลักษณะในการใช้ Type Face

1. Upper Case กับ Lower Case

Lower Case จะอ่านง่ายกว่า Upper Case และ Lower Case มีส่วนที่ยื่นออกมา (Assender และ Desender) จะเป็นตัวช่วยให้อ่านง่าย แต่ Upper Case ไม่มี Assender กับ Desender ทำให้อ่านได้ยากกว่า

2. Serif กับ San Serif ตัวอักษรที่มี Serif อ่านง่ายกว่าพวกที่ไม่มี San Serif เพราะ Serif เป็นตัวช่วยเสริมเส้นต่อตัวอักษรแต่ละตัว ทำให้ตัวอักษรอยู่ในแนวเดียวกัน ทำให้สะดวกต่อการอ่าน

3. Black On White กับ White On Black ตัวหนังสือดำบนพื้นขาว ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ ส่วนตัวหนังสือขาวบนพื้นดำ จะมีแสงสะท้อนเข้าตาได้น้อยทำให้อ่านได้ยากกว่า แต่มีความน่าสนใจกว่า เด่นกว่า พอใช้ได้กับข้อความที่ไม่ยาวนัก

4. Bold Face กับ light Face ตัวอักษรหนา Bold Face อ่านยากกว่า Light Face ตัวบาง เพราะอักษรตัวหนามีความหนาอ้วนของตัวอักษรทำให้อ่านยาก ดูหนากว่า ไม่มีรายละเอียดของตัวอักษรมากเหมือน Light Face

อารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับจากการอ่านตัวอักษรคนละแบบ

ตัวอักษรแต่ละแบบจะให้อารมณ์ความรู้สึกในการอ่านแตกต่างกันออกไป การเลือกใช้ตัวอักษรจึงมีความสำคัญมากในการออกแบบสิ่งพิมพ์ เช่น ถ้าสินค้าเป็นผู้หญิง ใช้ตัวอักษรที่ นุ่มนวลอ่อนหวาน และอาศัยการจัดของผู้หญิง มาสร้างอารมณ์ให้กับงานโฆษณาของเรา การโฆษณาจะให้ผลสามารถดึงดูดสร้างอารมณ์กับผู้อ่าน กระตุ้นผู้อ่านให้เกิดการเลือกสินค้าหรือบริการได้ การใช้ความยาวของบรรทัดยาว ต้องการช่องว่างห่างมาก

Type Face ที่มีผลต่อการอ่าน

ในการใช้ตัวอักษร ควรคำนึงถึงความสะดวกในการอ่านเป็นสำคัญ ควรอ่านง่าย ไม่ ยุ่งยากมากนัก และไม่ทำให้คนอ่านเข้าใจความหมายผิด Type Face ที่เลือกควรมีความสบายในการอ่าน

ลักษณะของตัวอักษรที่มีผลต่อความรู้สึกในการอ่าน และเลือกประเภทของ Copy ที่ใช้ให้เหมาะสม ดังนี้

1. ให้ความรู้สึกเป็นผู้ชายเข้มแข็ง ควรเลือกใช้ตัวอักษรที่มี Serif และจัด Copy แบบเสมอหน้าปล่อยหลัง

2. ต้องการพลังงาน ความแข็งแกร่ง ควรเลือกตัวอักษร San Serif, และเป็นแบบ Bold ควรจัด Copy, แบบเสมอหน้าปล่อยหลัง

3. ต้องการให้ความรู้สึกเกิดเป็นผู้หญิง ควรเลือกตัวอักษรแบบ Light Face ทั้งหลายและควรเป็นอักษร Italic (ตัวเอียง) แบบ Light Face การจัด Copy จัดได้ 2 แบบ คือ แบบเสมอหน้า ปล่อยหลัง กับแบบเสมอหลัง หน้าปล่อย

4. ความรู้สึกตื่นเต้น สนุกสนาน ควรใช้ Type Face หลาย ๆ แบบผสมกัน การจัด Copy จัดแบบเสมอกลาง (Centered)

ตัวอักษรแบบประดิษฐ์เหมาะกับงานประเภทใด

4. รูปแบบประดิษฐ์ หมายถึง รูปแบบตัวอักษรที่เกิดจากการออกแบบสร้างสรรค์เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานประเภทต่าง ๆ เช่น งานออกแบบโฆษณา หัวเรื่องหนังสือ ฯลฯ ซึ่งออกแบบให้เป็นแบบเหลี่ยม แบบวงกลม แบบโค้ง และแบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสม

ตัวอักษรที่นิยมใช้ในงานที่เป็นทางการคือแบบใด

ฟอนต์ Serif จะมีขีดเล็กๆ หรือที่เรียกว่าเชิงที่ปลายตัวอักษร ฟอนต์ ประเภทนี้เป็นฟอนต์ดั้งเดิม นิยมใช้ส าหรับพิมพ์เนื้อความ เพราะมีส่วนช่วยท าให้ อ่านได้ง่ายขึ้นเมื่อกวาดสายตาไปตามเนื้อหา การใช้ฟอนต์นี้จะท าให้งานดูคลาสสิค มากขึ้น และนิยมใช้กับงานที่เป็นทางการ

สิ่งใดสำคัญที่สุดเกี่ยวกับการออกแบบตัวอักษร *

หลักการเบื้องต้นในการออกแบบตัวอักษร มีหลักสำคัญที่นักออกแบบจะต้องจดจำไว้เสมอ ได้แก่การ รักษาไว้ซึ่งโครงสร้างเดิมของตัวอักษร หากจะออกแบบประดิษฐ์ให้เป็นรูปลักษณ์อย่างใด มีรายละเอียด อย่างไร มีการตกแต่งให้เป็นแบบใด แต่ต้องคงไว้ถึงโครงสร้างเสมอ การพัฒนารูปแบบให้มีเอกลักษณ์ใหม่จึงจะ ทำให้ไม่แปรเปลี่ยนความหมายและการสื่อความ ...

ข้อใดเป็นปัจจัยในการเลือกใช้ตัวอักษรในงานออกแบบ

1. การเลือกใช้ฟอนต์โดยแบ่งตาม Class. ... .
2. อย่าใช้ฟอนต์หลากหลายเกินไป ... .
3. เลือกฟอนต์ให้เข้ากับบริบทของเนื้อหา ... .
4. เผื่อที่ว่างให้ฟอนต์อ่านง่าย ดูโดดเด่น ... .
5. พิจารณาลำดับความสำคัญ และโครงสร้างของเนื้อหา ... .
6. เลือกใช้ฟอนต์ให้เหมาะกับเนื้อหา ... .
7. ลองออกนอกกรอบด้วยเทคนิกใหม่ๆ บ้าง.