เครื่องมือที่ นำ มาใช้ในการบริหารสินค้า คงคลัง เรียกว่า

เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารสินค้าคงคลัง

 สินค้าคงคลัง   Inventory.

     สินค้าคงคลัง หรือ สต๊อก  หมายถึง  วัสดุที่มีรูปร่างของวัตถุดิบ  วัสดุการผลิต  อะไหร่  เชื้อเพลิง  สินค้าที่อยู่ในระหว่างการผลิต  ตลอดทั้งสินค้าสำเร็จรูปที่ทางโรงงานเก็บไว้ในโกดัง  หรือคลังสินค้า  เพื่อรอการผลิต  รวมซ่อมชำรุด  หรือเพื่อรอจำหน่าย 

การบริหารสินค้าคงคลัง  (Inventory  Management)  

การบริหารสินค้าคงคลัง   ในการวางแผนการผลิตรวม  จะมีส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับสินค้าคงคลังและต้นทุนของสินค้าคงคลัง  ซึ่งสินค้าคงคลังนี้เป็นต้นทุนที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารการผลิต   สินค้าคงคลังของแต่ละกิจการจะแตกต่างกันไป  ผู้บริหารจะต้องกำหนดให้สินค้าคงคลังมีอยู่อย่างเหมาะสม    หากโรงงานเก็บสินค้าคงคลังไว้มากเกินไป  จะทำให้เกิดการสูญเสียในรูปดอกเบี้ยค่าดูแลรักษา  ค่าเช่าสถานที่  และอื่น ๆ อันมากมาย  แต่ในขณะเดียวกันหากเก็บไว้จำนวนน้อย  อาจทำให้เกิดผลเสียในเรื่องของระบบการผลิตซึ่งต้องใช้ในการผลิต  โดยเฉพาะในระบบการผลิตอย่างต่อเนื่อง  หากไม่มีวัสดุหรือวัตถุดิบป้อนเข้าระบบการผลิต  ก็จะทำให้สายงานการผลิตหยุดชะงัก  ผลิตสินค้าทำให้ผู้บริโภคผู้สั่งซื้อขาดความเชื่อถือ  และจะส่งผลถึงโอกาสยอดขายหายไป 

ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารสินค้าคงคลัง

1.   ABC-system

การควบคุมวัสดุคงคลังโดยระบบนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1906 เมื่อ Vilfredo Pareto สังเกตว่า ในบรรดาวัสดุคงคลังมากมายหลายรายการที่สถานประกอบการหนึ่ง ๆ เก็บไว้ในคลังสินค้ารวม ๆ กันนั้น อาจมีได้นั้นจะมีเพียงไม่กี่รายการเท่านั้น ที่จำเป็นจะต้องจัดสรรเงินทุนไปรองรับในสัดส่วนที่มากอย่างยิ่งเพื่อป้องกันความผิดพลาด แต่เนื่องจากการเก็บวัสดุทุกอย่างรวมกัน จึงต้องจัดสรรเงินลงทุนไปรองรับวัสดุทุกตัว จึงเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ดังนั้น Pareto จึงตั้งกฎแห่งความสำคัญของจำนวนน้อย (law of the significant few) ขึ้นมา โดยให้แบ่งรายการวัสดุคงคลังออกเป็นสามกลุ่มโดยจัดแบ่งตามมูลค่าของเงินทุนที่จัดสรรไปรองรับ

เครื่องมือที่ นำ มาใช้ในการบริหารสินค้า คงคลัง เรียกว่า
เครื่องมือที่ นำ มาใช้ในการบริหารสินค้า คงคลัง เรียกว่า

การควบคุมวัสดุ  ABC-system

กลุ่มที่ 1 เรียกว่า กลุ่ม A

     ได้แก่ รายการวัสดุคงคลังจำนวนไม่มาก แต่ว่าแต่ละชิ้นมีมูลค่าสูง ดังนั้นเมื่อคิดมูลค่าโดยรวมแล้วอาจจะมีมูลค่าสูงกว่าอีก 2 กลุ่มรวมกันอีก ดังนั้นวัสดุคงคลังกลุ่มนี้จึงจำเป็นจะต้องมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ เพราะถ้าเกิดความผิดพลาด เช่น วัสดุเสื่อมสภาพ หรือ สูญหาย ไปเพียงชิ้นหรือสองชิ้น ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายอย่างมากของโรงงาน ดังนั้นการจัดสรรเงินทุนในการควบคุมดูแลจะต้องจัดสรรเงินทุนจำนวนมาก

กลุ่มที่ 2 เรียกว่า กลุ่ม B

 ได้แก่ รายการวัสดุคงคลังจำนวนมากถัดขึ้นมาถัดจากกลุ่มแรก ถือได้ว่ามีปริมาณปานกลาง และแต่ละชิ้นมีมูลค่าไม่สูงมากนัก ดังนั้นการควบคุมดูแลวัสดุก็จะต้องมีการควบคุมดูแลตามปกติ การจัดสรรเงินลงทุนในการควบคุมดูแลจะต้องมีการวางแผนค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสมไม่มากเกินไป และ ไม่น้อยจนเกินไป

กลุ่มที่ 3 เรียกว่า กลุ่ม C

 ได้แก่ รายการวัสดุคงคลังจำนวนมากที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุสิ้นเปลืองที่มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำ เช่น นอต ตะปูเป็นต้น ซึ่งถ้าหากมีการสูญหายไปบ้าง ก็ไม่ได้เกิดผลกระทบอะไรกับทางโรงงาน การจัดสรรเงินลงทุนจำนวนมากในการควบคุมดูแลรักษาจะกลายเป็นค่าใช้จ่ายที่เปล่าประโยชน์ แต่อย่างไรก็ตามควรจะมีการดูแลบาง ดังนั้นในการจัดเก็บหรือการดูแล จะต้องมีการตรวจสอบเป็นบางครั้ง

 ต้นทุนของวัสดุคงคลังต่อปี

วัสดุคงคลังรายการที่

จำนวนที่ต้องใช้

ราคาต่อหน่วย

ต้นทุนรวม

คิดเป็นร้อยละของต้นทุนทั้งหมด

1

5,000

1.50

7,500

2.9

2

1,500

8.00

12,000

4.7

3

10,000

10.50

105,000

41.2

4

6,000

2.00

12,000

4.7

5

7,500

0.50

3,750

1.5

6

6,000

13.60

81,600

32.0

7

5,000

0.75

3,750

1.5

8

4,500

1.25

5,650

2.2

9

7,000

2.50

17,500

6.9

10

3,000

2.00

6,000

2.4

รวม

254,725

100.0

การจำแนกวัสดุคงคลังในตารางออกเป็นกลุ่ม A, B และ C 

กลุ่ม

วัสดุรายการที่

จำนวนร้อยละของรายการ

จำนวนร้อยละของต้นทุน

A

3, 6

50

73.2

B

2, 4, 9

30

16.3

C

1, 5, 7, 8, 10

50

10.5

รวม

100

100

2. การผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just In Time Production)

            การผลิตแบบทันเวลาพอดี  หรือนิยมเรียกว่า  “JIT”  เป็นเทคนิคที่เริ่มใช้ในบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น  โดยมีแนวคิดว่าการทำงานต้องทันเวลาพอดี  ได้แก่  ผลิตและส่งสินค้าให้ทันขายพอดี  ส่งชิ้นส่วนการผลิตหรือโครงรูปการผลิตให้ทันกับความต้องการของสายการผลิตแต่ละสายพอดี  หรือ  ส่งวัตถุดิบให้ทันกับการผลิตชิ้นส่วนพอดี  รวมความแล้ว  การมาทันเวลาพอดีเป็นความสมบูรณ์ของการผลิตในทุก ๆ ขั้น  ซึ่งทันเวลาพอดีกับการใช้และมีราคาต่ำที่สุด  แนวคิดเรื่อง  JIT  จึงเป็นทั้งกลยุทธ์และเป็นปรัชญาที่เป็นแนวทางในการแสวงหาความเป็นเลิศในการผลิตแนวคิดในการผลิตแบบทันเวลาพอดี  ต้องการให้วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนการผลิตมาถึงวันสุดท้ายหรือชั่วโมงสุดท้ายก่อนที่จะนำไปผลิตเพราะต้องการกำจัดสินค้าคงคลังหรือลดปริมาณสินค้าคงคลังให้เหลือน้อยที่สุด  โดยพยายามตัดสิ่งที่เป็นสาเหตุของการเก็บสินค้าคงคลังออกไป  ตามหลักแล้ว  สิ่งที่เป็นสาเหตุของการเก็บสินค้าคงคลังจากความไม่แน่นอนในระบบการผลิต  ซึ่งเกิดจากการไม่พอดีกันในการผลิตของแต่ละส่วน  กับสาเหตุอื่น ๆ  เช่น  การส่งวัตถุดิบไม่แน่นอน  เครื่องจักรเสียพนักงานขาดความสามารถ  สายการผลิต  หยุดชะงักเพราะเกิดปัญหาคุณภาพหรือผลผลิตได้ในปริมาณที่ไม่พอ  หรือเกิดปัญหาจากลูกค้าภายนอก  และการวางแผนการผลิตไม่ดี  เมื่อตัดปัญหาเหล่านี้ไปได้และทุกอย่างทำงานลงตัว  การผลิตแบบทันเวลาพอดีก็เกิดขึ้น  เช่น  โรงงานผลิตรถยนต์ของบริษัทเจเนอรัลมาเตอร์  ที่ชิคาโก  สั่งบริษัทเลียร์ ซี เกลอร์  (Lear Siegler)  ซึ่งอยู่ห่างไป  15  ไมล์ทำเบาะ  ใช้เวลาเพียง  3 – 4  ชั่วโมงเบาะก็มา  พอเบาะมาถึงหุ่นยนต์ก็จัดการประกอบเข้ากับตัวรถ  โดยไม่ต้องเสียเวลาเก็บสำรองไว้เหมือนเมื่อก่อนการเก็บเบาะเป็นสินค้าคงคลังจึงไม่จำเป็น  ถึงมีก็มีจำนวนน้อยที่สุดสาเหตุที่บริษัทเจเนอรัล มอเตอร์  ที่ชิคาโก  มีผู้ส่งชิ้นส่วนการผลิตที่เชื่อถือได้คอยสนับสนุน  เพราะบริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ ซิเกลอร์  ก็ลดลงเหลือเพียง  1  ใน  3  ของก่อนที่จะใช้ระบบ  JIT  บริษัททั้งสองจึงได้ประโยชน์ด้วยกัน

แนวคิดของการผลิตแบบทันเวลาพอดี

 แนวคิดของการผลิตแบบทันเวลาพอดีเป็นแนวคิดกลับข้อง (reversing concepts)  ของแนวทางในการผลิตดั้งเดิม  ได้แก่

(1)     ขายก่อนแล้วค่อยทำ  (sell it then make it)  ขณะที่การผลิตดั้งเดิมทำก่อนแล้วค่อยขาย  แต่  JIT  คิดกลับกัน  คือ  ขายก่อนแล้วค่อยทำ  กล่าวคือ  โดยหลักการแล้ว  จะไม่ผลิตจนกว่าระบุลูกค้าได้  ซึ่งจะช่วยขจัดความต้องการเก็บสินค้าคงคลังและค่าใช้จ่ายในการเก็บสำรองอื่น ๆ  ตัวอย่าง  เช่น  โรงงานผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นบางแห่งจะส่งรถยนต์พร้อมกับระบุชื่อลูกค้าติดไปด้วย

(2)     คิดย้อนหลัง  (think backwards)  ขณะที่การผลิตดั้งเดิมวางแผนจากต้นไปปลาย  JIT  จะวางแผนจากปลายย้อนมา  เช่น  เมื่อพนักงานที่รับผิดชอบผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายได้รับแผนมาก็จะเอาแผนมาคิดย้อนหลัง  โดยเริ่มจากการกำหนดความต้องการ  ซึ่งมีผลดีเพราะทำให้เข้าใจตรงกันและทำให้ต้องจัดกระบวนการผลิตให้ถูกต้องก่อนที่จะลงมือผลิต  ซึ่งเหมือนกับการจัดการห้องต้องมองให้ออกก่อนว่าจะจัดให้เป็นมาตรฐานแบบไหน  อาจต้องปัดฝุ่นเป็นงานสุดท้าย  เพราะมีงานอื่น ๆ ต้องทำก่อน  เช่น  ย้ายหนังสือ  เป็นต้น

(3)     ใช้หลักการ  “ดึง”  (pull)  แทนที่การ  “ผลัก”  (push)  การผลิตแบบดั้งเดิมอาศัยการผลัก  แต่การผลิตแบบ  JIT  จะอาศัยการดึง  หมายความว่าการผลิตแบบดั้งเดิมทำงานตามสายพานลำเลียง  เมื่องานมาอยู่ตรงหน้าก็ลงมือประกอบแล้วส่งไปข้างหน้า  การผลิตจึงถูกกำหนดโดยความเร็วของสายพานลำเลียง  แต่จะหยุดไม่ได้  เพราะต้องทำให้ทันตามกระบวนการ  ข้อดีของการผลิตแบบนี้  คือ  สามารถคาดคะเนและใช้เทคนิคการผลิตที่เหมาะสมที่สุดได้  แต่สายการผลิตจะยาว  ไม่สามารถเปลี่ยนรูปแบบการผลิตได้ง่าย ๆ  เพราะจะสิ้นเปลือง  ทำให้ปรับตัวไม่ทันกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป  นอกจากนั้น  ยังจำเป็นต้องคอยรักษาระดับการผลิตให้สมดุล  โดยการเก็บสินค้าคงคลังคอยเสริม  ซึ่งเป็นผลให้ต้นทุนสูง  เช่น  งานที่อยู่ระหว่างการผลิต  (work in progress)  อาจสูงถึงร้อยละ  70  ของมูลค่าทั้งหมดของการผลิตที่อยู่ในโรงงาน  ส่วนการผลิตตามหลักการดึงนั้นเป็นวิธีที่คิดขึ้นเพื่อไม่ให้มีการเก็บสำรองช่วยให้เกิดความยืดหยุ่น  ด้วยการอาศัยการคิดย้อนหลังและการควบคุมการปฏิบัติการ  หลักการก็คือจะไม่มีอะไรผ่านสายงานจนกว่าการปฏิบัติงานพร้อม

 การปรับองค์การใหม่เพื่อให้เกิดการผลิตแบบทันเวลาพอดี

ลักษณะการผลิตของระบบ  JIT  มีดังต่อไปนี้ 

(1)    ใช้เครื่องจักรขนาดเล็กมาก  (numerous small machines)  การผลิตในสมัยก่อนถูกออกแบบมาเพื่อผลิตตามสายงานที่ยาว  จึงไม่ยืดหยุ่น  แต่ระบบ  JIT  จะใช้เครื่องจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก  แต่ไม่แพงและสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่า

(2)    มีสมรรถนะสำรอง  (spare capacity)  การผลิตสมัยก่อนผลิตจำนวนมากจึงต้องเดินเครื่องเต็มที่  เพื่อให้ใช้งานจากเครื่องจักรที่มีราคาแพงให้มากที่สุด  แต่ระบบ  JIT  ผลิตต่ำกว่าระดับสมรรถนะสูงสุด  เพื่อให้เกิดการยืดหยุ่น  เหตุที่ทำได้ก็เพราะเครื่องจักรที่ไม่ทำงานต้นทุนต่ำกว่าระบบที่ใช้ในสมัยก่อน

(3)    ผลิตจำนวนน้อย  (small batch production)  การผลิตสมัยก่อนอาศัยการประหยัดจากการผลิตจำนวนมาก  แต่ระบบ  JIT  เลือกที่จะใช้ประโยชน์จากความยืดหยุ่น  โดยการผลิตตามที่ลูกค้าต้องการ  ผลิตจำนวนน้อย  แต่ไม่เสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งมาก  ซึ่งทำให้เปลี่ยนไปผลิตสินค้าอย่างใหม่ได้เร็ว  ทำให้ปรับตัวทันกับความต้องการของลูกค้าและลดปัญหาการผลิตเกินความต้องการที่ทำให้ต้องมีต้นทุนในการเก็บสำรอง  นอกจากนั้น  ถ้ายิ่งลดขนาดการผลิตแต่ละครั้งลงเท่าใดก็ยิ่งเกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเท่านั้น

(4)    มีความยืดหยุ่นทางด้านพนักงาน  (employee flexibility)  ตามระบบเดิมคนงานจะรอให้งานมาถึงตัว  แล้วค่อยลงมือทำ  แต่ระบบ  JIT  ใช้วิธีให้คนงานไปทำงานและย้ายไปทั่วโรงงาน  ซึ่งทำงานหลายหน้าที่  แล้วแต่ว่าความต้องการของลูกค้าจะเป็นลักษณะใด  เมื่อเกิดเครื่องจักรเสียขึ้นมาก็ช่วยกันได้หรือเปลี่ยนไปทำงานอย่างอื่นได้  หรือเมื่อผลิตเสร็จตามเป้า  คนงานก็ไปทำงานอื่นได้อีก  เช่น  ซ่อมบำรุงเครื่องจักร  เป็นต้น

(5)    ผู้บริหารเข้าไปเกี่ยวข้องกับวิศวกรรมการผลิต  (managerial involvement in production)  ตามระบบเดิมผู้บริหารจะไม่ยุ่งเรื่องการออกแบบ  ตลอดจนการออกคำสั่งเกี่ยวกับโรงงานและการซ่อมเครื่องจักร  แต่ระบบ  JIT  ถือว่าผู้บริหารต้องเข้าไปกำหนดหลักการเพราะเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารที่จะต้องทำให้ระบบดำเนินการต่อไปได้

(6)    พนักงานต้องรับผิดชอบในการบำรุงรักษาระบบการผลิต  (employee responsibility)  การผลิตแบบเดิมจะใช้วิธีส่งความต้องการซ่อมเครื่องจักรไปยังหน่วยงานกลาง  เช่น  ทำเองหมดเท่าที่จะทำได้  การรอวิศวกรจากส่วนกลางเป็นการเสียเวลา  และเหตุผลใหญ่  คือ  ร้อยละ  80  ของเครื่องจักรที่เสียนั้นสามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ

(7)    บำรุงรักษาแบบป้องกัน  (preventive maintenance)  การผลิตที่ไม่มีการเก็บสำรองอาจทำให้เครื่องจักรเสียง่าย  ดังนั้น  ระบบ  JIT  จึงต้องมีการบำรุงรักษาแบบป้องกัน  เริ่มต้นจากการซื้อเครื่องจักรดี ๆ  เครื่องจักรราคาถูกไม่ช่วยให้ประหยัดจริง  เพราะนอกจากจะมีปัญหาในขณะทำงานแล้ว  อายุงานยังสั้นด้วย  แม้ว่างานบำรุงรักษาเป็นงานของโรงงานโดยทั่วไปอยู่แล้ว  แต่ระบบ  JIT  จะเน้นเป็นพิเศษถือว่าเป็นแนวทางเชิงรุก  คือ  วางแผนและคิดไว้ล่วงหน้า  บางทีก็เรียกว่า  “การบำรุงรักษาแบบป้องกันทั้งหมด  (total preventive maintenance)”  ต่อจากโรงงานสมัยก่อนที่ถือว่าเป็นงานประจำ

(8)    ใช้ระบบป้อนวัตถุดิบแบบทันเวลา  (Just-In-Time suppliers)  ระบบ  JIT  จะซื้อวัตถุดิบจากแหล่งเดียว  โดยเลือกแหล่งที่มีคุณภาพดีที่สุดและพัฒนาความสัมพันธ์กับคู่ค้าในระยะยาว  เช่น  อาจมีการตกลงทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

จุดอ่อนของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี

ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี  เป็นระบบที่มีประโยชน์  แต่ก็ต้องปรับเปลี่ยนองค์การหลายอย่างและอาจมีจุดอ่อน  2  ข้อ  คือ  (Drummond, 1992.  125)

(1)     การส่งวัตถุดิบมีปัญหา  (supply failures)  ในทางปฏิบัติบริษัทมักมีปัญหาในการพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้ป้อนวัตถุดิบ  เพราะปกติผู้ป้อนวัตถุดิบไม่อยากให้ใครมาแทรกแซง  โดยเฉพาะองค์การที่ขอต่อรองราคา  ยิ่งไปกว่านั้น  การส่งวัตถุดิบภายในเวลาที่จำกัดยังจัดเป็นต้นทุนที่ผู้ป้อนวัตถุดิบต้องรับภาระ  ผู้ป้อนวัตถุดิบโดยทั่วไปมักไม่ใช่ผู้ป้อนวัตถุดิบที่สมบูรณ์อย่างที่ระบบ  JIT  ต้องการ  มักรู้สึกว่าตนเองได้รับแรงกดดันจากแผนการผลิตของบริษัทอื่นอย่างมาก

(2)     ผลกระทบจากการกระทำของระบบ  JIT  ที่มีต่ออุตสาหกรรม  (The effects of industrial action)  ระบบ  JIT  เป็นระบบที่ถูกบีบให้ดำเนินการ  โดยบริษัทใหญ่ ๆ บางแห่ง  จึงอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกับผู้ที่รับไม่ได้  โดยเฉพาะการไม่มีสินค้าสำรองหรือสำรองเพียงเล็กน้อยนั้น  มีผลทำให้คนงานต้องหยุดการทำงาน

ด้วยเหตุนี้  การทำให้ระบบ  JIT  ประสบความสำเร็จจึงไม่ใช่เรื่องง่าย  อย่างน้อยต้องแก้ปัญหา  4  ข้อให้ลุล่วง  ได้แก่ 

(1)  ประสานความต้องการวัตถุดิบของผู้ผลิตกับตารางการผลิตของผู้ป้อนวัตถุดิบให้ลงตัว

 (2)  รักษาระดับคุณภาพของวัตถุดิบหรือสินค้าที่ส่งมาจากผู้ป้อนวัตถุดิบให้อยู่ในระดับที่พอใจและสม่ำเสมอ

(3)  ชักจูงให้ผู้ป้อนวัตถุดิบให้ความสำคัญกับระบบ  JIT  และ

 (4)  ประสานระบบการไหลเวียนข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ผลิตกับผู้ป้อนวัตถุดิบ  ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ที่มาhttp://203.158.253.5/wbi/Language/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9%201/unit804.htm