สาเหตุ ที่ สถาปนา กรุงธนบุรี เป็นราชธานี

พระยาตากกับเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร

สาเหตุ ที่ สถาปนา กรุงธนบุรี เป็นราชธานี

       กรุงธนบุรีเป็นราชธานีไทยช่วงสั้นๆที่มีพระมหากษัตริย์ทรงครองราชย์เพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลังจากที่พระเจ้าตากสินทรงกอบกู้อิสระภาพกรุงศรีอยุธยาจากพม่าได้สำเร็จ แล้วทรงย้ายราชธานีมาอยู่ ณ ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน ธนบุรีมีฐานะเป็นจังหวัดคู่กับจังหวัดพระนครหรือกทม.ปัจจุบันโดยอยู่คนละฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเมืองฝาแฝดกันมาก่อน แต่ต่อมาได้มีการยุบรวมการปกครองธนบุรีเข้ากับพระนครหรือกรุงเทพฯ เพื่อเป็นการขยายพื้นที่กรุงเทพฯให้กลายเป็นกรุงเทพมหานครดังปัจจุบันนี้ ปัจจุบันธนบุรีเป็นเพียงเขตต่างๆของกทม.เท่านั้น แต่ก็ชักจะมีความเห็นบ้างแล้วว่า น่าแยกจังหวัดธนบุรีออกจากกทม.เสียดีกว่า เพราะการบริหารกทม.ที่ใหญ่โตเกินไปก็ชักจะดูแลไม่ทั่วถึงเสียแล้ว ทำให้ธนบุรีเสียโอกาสของตัวเองไปมาก สำหรับในด้านประวัติศาสตร์ก็เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุที่ไม่ปรากฏว่าธนบุรีเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง จึงอาจจะทำให้ประวัติศาสตร์คลาดเคลื่อนไปจนหมดก็ได้ และด้วยเหตุนี้ จขบ.จึงขอนำประวัติศาสตร์กรุงธนบุรีและสถานที่น่าเที่ยวชมมาเสนอให้ได้อ่านกันครับ จะได้เตือนใจให้นึกถึงประวัติและวิถีชีวิตชาวกรุงธนบุรีกันบ้าง

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์เมืองธนบุรีก่อน พ.ศ. 2310

สาเหตุ ที่ สถาปนา กรุงธนบุรี เป็นราชธานี

         ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์เมืองธนบุรีก่อน พ.ศ. 2310หลังจากกรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้วสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ได้ทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ขึ้น พระราชทานนามว่า “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” เมื่อจุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวดสัมฤทธิศก ตรงกับพ.ศ. ๒๓๑๐ จวบจนถึง พ.ศ. ๒๓๒๕ นับเป็นเวลาแห่งราชธานีเพียง ๑๕ ปีเท่านั้นขณะที่กรุงศรีอยุธยาทำสงครามกับพม่าอยู่นั้น พระยาตากได้เห็นความอ่อนแอของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ และมองไม่เห็นหนทางที่จะเอาชนะข้าศึกได้ จึงไม่อยากอยู่ร่วมปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปบังเกิดขึ้นหลายครั้งดังนี้พระยาตากคุมทหารออกไปรบนอกเมือง และสามารถรบชนะข้าศึกได้แต่ทางการไม่ส่งทหารมาเพิ่ม จึงต้องเสียค่ายนั้นไปอีกพระยาตากได้รับบัญชาให้ยกกองทัพเรือออกไปรบพร้อมกับพระยาเพชรบุรีแต่พระยาตากเห็นว่าพม่ามีพลที่มากกว่า จึงห้ามไม่ให้พระยาเพชรบุรีไปออกรบ แต่พระยาเพชรบุรีไม่เชื้อฟัง จึงออกไปรบ และเสียชีวิตในสนามรบทำให้พระยาตากถูกกล่าวหาว่าทิ้งให้พระยาเพชรบุรีเป็นอันตราย๓ เดือนก่อนกรุงแตก พม่ายกกองมาปล้นทางเหนือของพระนคร พระเจ้าตากเห็นการ จึงจำเป็นต้องขออนุญาตจากกรุงให้ใช่ปืนใหญ่ แต่ทางกรุงไม่อนุญาตพระยาตากจึงคิดว่าถ้ายังเป็นอย่างนี้ กรุงศรีอยุธยาจะต้องแตกพระยาตากจึงตัดสินใจตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกไป พร้อมกับขุนนางนายทหารผู้ใหญ่ตีฝ่าวงล้อมพม่า โดยนายทหารและขุนนางผู้ใหญ่มี พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงพิชัยราชา หลวงราชเสนา ขุนอภัยภักดี และหมื่นราชเสน่หา ออกไปตั้งค่ายที่ วัดพิชัยเมื่อเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีจอจุลศักราช ๑๑๒๘ ตรงกับวันที่ ๓ มกราคมพ.ศ. ๒๓๑๐ พอไปถึงบ้านสำบัณฑิตเวลาเที่ยงคืนเศษ ก็แลเห็นแสงเพลิงไหม้จากพระนครเจ้าตากทรงพิจารณาเห็นว่า เมืองจันทบุรีเป็นเมืองที่ใหญ่ และยังอุดมสมบูรณ์ บ้านเรือนเป็นปกติสุขอยู่ เจ้าตากจึงทรงเกลี้ยกล่อมเมืองจันทบุรีให้มาช่วยกู้เอกราชพระยาจันทบุรีรับคำไมตรีในช่วงแรก แต่แล้ว พระยาจันทบุรีกลับไปร่วมมือกับขุนรามหมื่นส้อง วางแผนลวงให้เจ้าตากยกกอง ททัพเข้าไปตีเมืองจันทบุรีแล้วค่อยกำจัดเสียในภายหลัง แต่พระยาตากทรงรู้ทัน จึงทรงหยุดยั้งอยู่หน้าเมืองเมื่อเจ้าตากทรงพิจารณาเห็นว่าพระยาจันทบุรีหลงเชื่อคำของขุนรามหมื่นส้อง ไม่ยอมอ่อนน้อมให้แล้ว จึงตรัสให้ทหารทั้งปวง เทอาหารทิ้งทุบหม้อทุบต่อยหม้อแกงจนแหลกหมด แล้วจึงตรัสว่า วันนี้เราจะเอาเมืองจันทบุรีให้ได้ ไปหาข้าวของกินกันในเมือง หากไม่ได้ก็จงตายเสียให้สิ้นด้วยกันเถิดครั้นตกดึกประมาณ๓ นาฬิกา เจ้าตากก็สามารถบุกเข้าเมืองได้ ตรงกับวันที่๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๑๐เจ้าตากจึงสามารถรวบรวมหัวเมืองตะวันออกได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราดได้

สาเหตุ ที่ สถาปนา กรุงธนบุรี เป็นราชธานี
สาเหตุ ที่ สถาปนา กรุงธนบุรี เป็นราชธานี

        เมื่อพระเจ้าตากทรงขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว ก็รวบรวมผู้คนทรัพย์สมบัติ และสิ่งต่าง ๆ ซึ่งสุกี้พระนายกองยังมิได้นำไปยังพม่า นำกลับมายังค่ายที่เมืองธนบุรี ปรากฏว่าที่เมืองลพบุรี มีพระบรมวงศานุวงศ์ของราชวงศ์อยุธยามาพำนักอยู่เป็นจำนวนมาก พระเจ้าตากจึงสั่งให้คนไปอัญเชิญมายังเมืองธนบุรีพระองค์ทรงขุดพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ขึ้นมาถวายพระเพลิงตามราชประเพณี ต่อจากนั้น พระองค์ก็ทรงคิดที่จะปฏิสังขรณ์พระนครศรีอยุธยาให้กลับคืนเป็นดังเดิม แต่แล้วหลังจากตรวจดูความพินาจของเมือง ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อพยพผู้คนเคลื่อนลงมาทางใต้ ตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรีเรียกนามว่า   กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร

ศักยภาพของเมืองธนบุรีก่อนการสถาปณาราชอาณาจักร

การกอบกู้เอกราช

     เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรับราชการเป็นพระยาตากในระหว่างสงครามการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง  พระยาตากได้ถอนตัวจากการป้องกันพระนครพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งเพื่อไปตั้งตัว โดยนำทัพผ่านบ้านโพสามหาร บ้านบางดง หนองไม้ทรุง เมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี พัทยา สัตหีบ ระยอง โดยกลุ่มผู้สนับสนุนพระยาตากได้ยกย่องให้ให้เป็น “เจ้าชาย”  และตีได้เมืองจันทบุรีและตราด เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310

สาเหตุ ที่ สถาปนา กรุงธนบุรี เป็นราชธานี

       ในเวลาใกล้เคียงกัน ฝ่ายกองทัพพม่าได้คงกำลังควบคุมในเมืองหลวงและเมืองใกล้เคียงประมาณ 3,000 คน โดยมีสุกี้เป็นนายกอง ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโพธิ์สามต้น พร้อมกันนั้น พม่าได้ตั้งนายทองอินให้ไปเป็นผู้ดูแลรักษาเมืองธนบุรีไว้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะสิ้นสภาพลงไปแล้ว แต่ยังมีหัวเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเสียหายจากศึกสงคราม หัวเมืองเหล่านั้นจึงต่างพากันตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน ส่วนทางด้านพระยาตากเองก็สามารถรวบรวมกำลังได้จนเทียบได้กับหนึ่งในชุมนุมทั้งหลายนั้น โดยมีจันทบุรีเป็นฐานที่มั่น

     ต่อมา พระยาตากจึงนำกำลังที่รวบรวมประมาณ 5,000 คน ตีเมืองธนบุรีและอยุธยาคืนจากข้าศึก เสร็จแล้วจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา และทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงธนุบรี

การรวมชาติและการขยายตัว

ครั้นเมื่อพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่าทรงทราบข่าวเรื่องการกอบกู้เอกราชของไทย พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองทวายคุมกองทัพมาดูสถานการณ์ในดินแดนอาณาจักรอยุธยาเดิม เมื่อปลาย พ.ศ. 2310 แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปโดยกองทัพธนบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เอง

ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้จัดเตรียมกำลังเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง เพื่อให้เกิดการรวมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2311 ทรงมุ่งไปยังเมืองพิษณุโลกเป็นแห่งแรก ทว่า กองทัพธนบุรีพ่ายต่อกองทัพพิษณุโลก ณ ปากน้ำโพ จึงต้องเลื่อนการโจมตีออกไปก่อน แต่ภายหลังเจ้าพิษณุโลกถึงแก่พิราลัย ชุมนุมพิษณุโลกอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าพระฝางแทน

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เปลี่ยนเป้าหมายไปยังชุมนุมเจ้าพิมาย เนื่องจากทรงเห็นว่าควรจะปราบชุมนุมขนาดเล็กเสียก่อน กรมหมื่นเทพพิพิธสู้ไม่ได้ ทรงจับตัวมายังกรุงธนบุรี และถูกประหารระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2311   เมื่อขยายอำนาจไปถึงหัวเมืองลาวแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามใช้พระราชอำนาจของพระองค์ช่วยให้ นักองราม เป็นกษัตริย์กัมพูชา โดยพระองค์โปรดให้ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพไปตีกัมพูชา แต่ไม่สำเร็จ

ในปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีศุภอักษรไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงเขมร โดยให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี แต่สมเด็จพระนารายณ์ราชาปฏิเสธ พระองค์ทรงขัดเคืองจึงให้จัดเตรียมกองกำลังไปตีเมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พระองค์ได้ส่งพระยาจักรีนำกองทัพไปปราบเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทรงทราบข่าวทัพพระยาจักรีไปติดขัดที่ไชยา จึงทรงส่งทัพหลวงไปช่วย จนตีเมืองนครศรีธรรมราชได้เมื่อเดือน 10 ฝ่ายแม่ทัพธนบุรีในเขมรไม่ได้ข่าวพระเจ้าแผ่นดินมานาน จึงเกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบ รีบยกกองทัพกลับบ้านเมืองเสียก่อน และทำให้การโจมตีเขมรถูกระงับเอาไว้

ในปี พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงยกกองทัพขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ตีได้เมืองพิษณุโลก และตามไปตีเมืองสวางคบุรี เจ้าพระฝางสู้ไม่ได้ ชุมนุมฝางจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรธนบุรี

 

สาเหตุ ที่ สถาปนา กรุงธนบุรี เป็นราชธานี

การสิ้นสุด

หลักฐานส่วนใหญ่กล่าวว่า เกิดเหตุจลาจลในปลายรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คือ พระยาสรรค์ได้ตั้งตัวเป็นกบฏ ได้บุกมาแล้วบังคับให้พระองค์ผนวช ขณะนั้น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงทำศึกอยู่ที่กัมพูชา ทรงทราบข่าวจึงได้เสด็จกลับมายังกรุง ได้ปราบปรามจลาจลแล้ว สืบสวนหารือควรสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และโปรดเกล้าให้ย้ายราชธานีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และในต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า กรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระราชโอรสพระองค์โตในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์เช่นกัน

การปกครอง

การปกครองในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ยืดถือแบบการแบบกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

การปกครองส่วนกลาง

กรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลาง มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง ” เจ้าพระยา ” จำนวน 2 ท่าน ได้แก่

สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งในราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย ผู้เป็นจะมียศเป็น “เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์” หรือที่เรียกว่า “ออกญาจักรี”

สาเหตุ ที่ สถาปนา กรุงธนบุรี เป็นราชธานี

สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง ยศนั้นก็จะมี “เจ้าพระยามหาเสนา” หรือที่เรียกว่า “ออกญากลาโหม”

สาเหตุ ที่ สถาปนา กรุงธนบุรี เป็นราชธานี

ส่วนจตุสดมภ์นั้นยังมีไว้เหมือนเดิม มีเสนาบดีตำแหน่ง ” พระยา ” จำนวน 4 ท่าน ได้แก่

กรมเวียง หรือ นครบาล มีพระยายมราชทำหน้าที่ดูแล และ รักษาความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร

กรมวัง หรือ ธรรมาธิกรณ์ มีพระยาธรรมาธิกรณ์ ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในเขตพระราชฐาน

กรมคลัง หรือ โกษาธิบดี มีพระยาโกษาธิบดี ทำหน้าที่ดูแลการซื้อขายสินค้า ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลหัวเมืองฝ่ายตะวันออกด้วย

กรมนา หรือ เกษตราธิการ มีพระยาพลเทพ ทำหน้าที่ดูแลการเกษตรกรรม หรือ การประกอบอาชีพของประชากร

การปกครองส่วนภูมิภาค

หัวเมืองชั้นใน จะมีผู้รั้งเมือง เป็นผู้ปกครอง จะอยู่รอบๆไม่ไกลจากราชธานี

เมืองพระยามหานคร จะแบ่งออกได้เป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง

เมืองประเทศราช คือเมืองที่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้กรุงธนบุรี ซึ่งในขณะนั้น จะมี นครศรีธรรมราช เชียงแสน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ปัตตานี ไทรบุรี ตรังกานู มะริด ตะนาวศรี พุทไธมาศ พนมเปญ จำปาศักดิ์ หลวงพระบาง และ เวียงจันทน์ ฯลฯ

เศรษฐกิจ

ราคาข้าว

ปีราคาต้นรัชกาลถังละเท่ากับทองคำครึ่งบาท2311-2312เกวียนละ 160 บาท2313เกวียนละ 3 ชั่ง2317เกวียนละ 10 ตำลึง

ช่วงต้นรัชกาล สภาพบ้านเมืองเสียหายจากการสงครามอย่างหนัก เกิดทุพภิกขภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย[12] เนื่องจากขาดการทำนามานาน ราคาข้าวในอาณาจักรสูงเกือบตลอดรัชกาล ก่อนจะค่อย ๆ ลดลงในตอนปลายรัชกาล จะมีเพิ่มสูงขึ้นบ้างก็ในปี พ.ศ. 2312 ที่เกิดหนูระบาด  สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อข้าวมาให้แก่ราษฎรทั้งหลาย ช่วยคนได้หลายหมื่น   ทั้งยังกระตุ้นให้ชาวบ้านทั้งหลายเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงด้วย

สาเหตุ ที่ สถาปนา กรุงธนบุรี เป็นราชธานี

นอกจากนี้ พระองค์ยังได้ทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรือกับต่างชาติ เนื่องจากไม่อาจพึ่งรายได้จากภาษีอากรจากผู้คนที่ยังคงตั้งตัวไม่ได้ อีกทั้งการส่งเสริมการขายสินค้าพื้นเมืองยังเป็นการสร้างงานให้กับชาวบ้าน โดยพระองค์ได้ทรงพยายามผูกไมตรีกับจีนเพื่อที่จะให้เกิดประโยชน์ทางการค้ามากยิ่งขึ้น

ผลดีประการหนึ่งของสงครามคราวเสียกรุงคือมีผู้คนอพยพมาสร้างความเจริญแก่ท้องที่อื่นให้ดีขึ้นกว่าสมัยอยุธยามาก[18] กรุงธนบุรีได้กลายมาเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของไทยแทนกรุงศรีอยุธยาเดิมที่ถูกเผาทำลายไป[19] และเนื่องจากเมืองมะริดและตะนาวศรีได้ตกเป็นของพม่าอย่างถาวร จึงทำให้เมืองถลางได้กลายเป็นเมืองท่าสำคัญในการค้าขายกับต่างชาติทางฝั่งทะเลอันดามันแทน โดยในสมัยอยุธยามีความสำคัญเป็นเมืองท่าลำดับสอง และมีดีบุกเป็นจำนวนมาก   เช่นเดียวกับเมืองไชยาและเมืองสงขลาที่เจริญก้าวหน้ากว่าในสมัยอยุธยาเดิม ชาวต่างชาติยังเขียนอีกว่า ท้องที่ใดมีชาวจีนอาศัยอยู่มาก ท้องที่แห่งนั้นย่อมเจริญแน่ เพราะคนจีนขยันกว่าคนไทย

ไทยมีรากฐานเศรษฐกิจดี มีภูมิประเทศและภูมิอากาศเอื้อต่อเกษตรกรรม เมื่อเว้นว่างจากศึกสงคราม เสบียงอาหารก็บริบูรณ์ขึ้นดังเดิม ฝ่ายคนจีนและคนไทยบางส่วนได้เอาเงินและทองที่บรรพชนเก็บไว้ในพระพุทธรูปไป บ้างก็ทำลายพระพุทธรูปและพระเจดีย์เสียเพื่อเอาเงิน บาทหลวงคอร์ระบุว่า “การที่ประเทศสยามกลับตั้งแต่ได้เร็วเช่นนี้ ก็เพราะความหมั่นเพียรของพวกจีน ถ้าพวกจีนไม่ใช่เป็นคนมักได้แล้ว ในเมืองไทยทุกวันนี้คงไม่มีเงินใช้เป็นแน่

สังคม

สภาพสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา คือมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น

1. พระมหากษัตริย์

2. พระบรมวงศานุวงศ์

3. ขุนนาง

4. ไพร่ เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดในสังคม

5. ทาส

หลังจากบ้านเมืองแตกแยก เพราะการล่มสลายของอาณาจักรอยุธยาแล้ว เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รวบรวมอาณาจักรเป็นปึกแผ่น พม่าจึงเล็งเห็นว่า ไม่ต้องการให้อาณาจักรสยามเจริญได้อีก จึงต้องมีการรบราญกันอยู่บ่อย การเรียกกำลังพลจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการหลบหนี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงตรากฎหมายการสักเลกขึ้น โดยไพร่ชายใดอายุถึงกำหนด ต้องสักเลก เพื่อให้สามารถตรวจสอบจำนวนคนได้ และถ้าหากมีการหลบหนีเมื่อใด อาจจะมีโทษถึงประหารชีวิต โดยพระเจ้ากรุงธนบุรีจะเป็นผู้ตัดสินคดีด้วยตัวของพระองค์เอง ส่วนชนชั้นอื่น ๆ ที่เหลือนั้นก็มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับอยุธยา

วัฒนธรรม

รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแม้จะไม่ยาวนานนักได้ฟื้นฟูปรับปรุงบ้านเมืองในด้านวัฒนธรรมอย่างมากเช่น ด้านศาสนาได้แต่งตั้งพระสังฆราช ด้านศิลปะผลงานไม่เด่นชัด ด้านการศึกษาเด็กผู้ชายจะมีโอกาสได้เรียนเท่านั้น

วรรณกรรม

ถึงแม้ว่ากรุงธนบุรีจะดำรงอยู่เป็นเวลาอันสั้น วรรณกรรม วรรณคดีทั้งหลายถูกทำลายลง แต่ก็มีเวลาที่จะมาฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม

–          สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

สาเหตุ ที่ สถาปนา กรุงธนบุรี เป็นราชธานี

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชทานเมื่อปี พ.ศ. 2313 อันเป็นปีที่ 3 ในรัชกาลพระองค์ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ฉบับนี้มี 4 ตอน แบ่งออกเป็น 4 เล่ม

–          นายสวน มหาดเล็ก ซึ่งแต่งโคลงสี่สุภาพ แต่งขึ้นเพื่อยกพระเกียรติและสรรเสริญ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี 85 บท เป็นสำนวนที่เรียบง่าย แต่ทรงคุณค่าด้วยเป็นหลักฐานที่คนรุ่นต่อมาได้ทราบถึงสภาพบ้านเมืองและความเป็นไปในยุคนั้น

–          หลวงสรวิชิต (หน) ซึ่งต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน) งานประพันธ์ของท่านเป็นที่รู้จักและแพร่หลาย จนถึงปัจจุบัน เช่น สามก๊ก เป็นต้น ส่วนในสมัยกรุงธนบุรี ประพันธ์เรื่อง ลิลิตเพชรมงกุฎ (พ.ศ. 2310-2322) และอิเหนาคำฉันท์ (พ.ศ. 2322)

สาเหตุ ที่ สถาปนา กรุงธนบุรี เป็นราชธานี

–          พระยามหานุภาพ

นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน หรือ นิราศกวางตุ้ง แต่งเมื่อปี พ.ศ. 2324

ทำไมต้องเป็นเมืองธนบุรี

 

     ”กรุงธนบุรี” เป็นราชธานีต่อเนื่องมาจาก กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนาเป็นเมืองหลวงมาตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2310และมาสิ้นสุดการเป็นราชธานี เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ฝั่งพระนคร เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2325การเป็นราชธานีของธนบุรีจึงมีระยะเวลายาวนานเพียงแค่ 15 ปี เท่านั้น แต่การเป็นจังหวัดธนบุรียาวนานกว่านั้นมากมาย

เหตุผลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี

1. กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก ปกครองดูแลได้ง่าย

2. กรุงธนบุรีตั้งอยู่บนปากแม่น้ำเจ้าพระยา สะดวกในการติดต่อค้าขาย

3. กรุงธนบุรีมีพื้นที่ทำเลไม่ซับซ้อนมาก สะดวกในการควบคุมกำลัง ลำเลียงอาวุธและเสบียงต่างๆ

4. กรุงธนบุรีถ้าไม่อาจต้านทานข้าศึกได้ ก็ย้ายที่มั่นไปจันทบุรีได้สะดวกเพราะใกล้ทะเล

5. กรุงธนบุรีมีป้อมปราการที่เคยสร้างไว้แล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา

นั่นคือเหตุผลเมื่อปี พ.ศ. 2310 แต่เหตุผลทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ก็ฉายภาพความเป็น กรุงธนบุรี หรือ กรุงธนบุรี ได้อย่างชัดเจน

ยิ่งเติมเหตุผล ณ เวลาปัจจุบันเข้าไปอีก จึงไม่มีเหตุผลอะไรมาลบเลือนประวัติศาสตร์ได้ เพราะกรุงธนบุรี เคยเป็นเมืองหลวง เป็นราชธานีมาก่อนจริงๆ ไม่ใช่ปรากฏในนวนิยาย

การสถาปณากรุงธนบุรีเป็นราชธานี

      เมื่อ เจ้าตากทรงขับไล่พม่าออกไปจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว ก็ทรงรวบรวมผู้คนและทรัพย์สมบัติซึ่งสุกี้พระนายกองยังมิได้ส่งไปยังเมือง พม่า และได้นำมาเก็บรักษาไว้ในค่ายนั้น มีแม่ทัพนายกอง ข้าราชการ และเจ้านายหลายพระองค์ในพระราชวงศ์แห่งกรุงศรีอยุธยาตกค้างถูกกุมขังอยู่ใน ค่าย เจ้าตากได้ประทานอุปการะเลี้ยงดูตามสมควร ส่วนเมืองลพบุรีก็ยอมอ่อนน้อม ปรากฏว่าที่ลพบุรี มีพระบรมวงศานุวงศ์ของพระเจ้าเอกทัศลี้ภัยมาพำนักอยู่มาก

เจ้าตากทรงสั่งให้คนไปอัญเชิญไว้ยังเมืองธนบุรี และกระทำการขุดพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศขึ้นมาถวายพระเพลิงตามโบราณ ราชประเพณี ต่อจากนั้นเจ้าตากได้เสด็จออกตรวจตราดูความพินาศเสีย

หายของ ปราสาทราชมณเฑียรและวัดวาอารามทั้งปวงแล้ว ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อพยพผู้คนเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้ ตั้งราชธานีขึ้นใหม่ที่เมืองธนบุรี เรียกนามราชธานีนี้ว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร

1. เหตุผลที่ทรงย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยา หลัง จากเจ้าตากทรงตรวจดูซากปรักหักพังของกรุงเก่าแล้ว มีเรื่องราวเล่าไว้ในพงศาวดารว่า พระองค์ทรงพระสุบินว่า พระมหากษัตริย์องค์ก่อนๆ ได้ทรงขับไล่

มิให้พระองค์ทรงอยู่ที่นั่น จึงทรงคิดจะย้ายราชธานีไปที่อื่น มีเหตุผลสำคัญ ดังนี้

1)  กรุงศรีอยุธยานั้นถึงแม้เป็นบริเวณที่มีชัยภูมิน้ำล้อมรอบและเป็นเมืองป้อมปราการมั่นคง แต่รี้พล

ของเจ้าตากที่มีอยู่ไม่เพียงพอแก่การรักษากรุงศรีอยุธยาและต่อสู้กับข้าศึกได้ เพราะขณะนั้นศัตรู

ยังมีมาก ทั้งพม่าและคนไทยก๊กอื่น อาจยกกองกำลังมาย่ำยีเมื่อใดก็ได้

2)  กรุงศรีอยุธยาอยู่ในทำเลที่ข้าศึกจะมาถึงได้สะดวก ทั้งทางบกและทางน้ำ หากมีกำลังไม่พอรักษา

ข้าศึกโดยเฉพาะพม่ารู้ลู่ทางภูมิประเทศ และจุดอ่อนของกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างดี ทำให้เสีย

เปรียบในการป้องกันพระนคร

3)  กรุงศรีอยุธยาทรุดโทรมมากจนยากแก่การบูรณะให้ดีดังเดิมได้เพราะต้องใช้กำลังคน กำลังทรัพย์

และเวลาในการบูรณะซ่อมแซม

4)  กรุงศรีอยุธยาอยู่ห่างทะเลมากเกินไป ไม่สะดวกแก่การติดต่อค้าขายกับนานาประเทศซึ่งนับวัน  จะเจริญขึ้น

2. เหตุผลที่ทรงเลือกเมืองธนบุรีเป็นราชธานี การที่เจ้าตากได้ทรงเลือกเมืองธนบุรีเป็นที่ตั้งราชธานีแห่งใหม่ มีเหตุผลสำคัญ ดังนี้

1)  กรุงธนบุรีตั้งอยู่ที่น้ำลึกใกล้ทะเล หากข้าศึกยกมาทางบก โดยไม่มีทัพเรือ เป็นกำลังสนับสนุน

ด้วยแล้วก็ยากที่จะตีได้สำเร็จ และในกรณีที่ข้าศึกมีกำลังมากกว่าที่จะรักษากรุงไว้ได้ ก็อาจย้ายไป

ตั้งมั่นที่จันทบุรี โดยทางเรือได้สะดวก

2)  กรุงธนบุรีมีป้อมปราการอยู่ทั้ง 2 ฟากแม่น้ำ คือ ป้อมวิชัยประสิทธิ์และป้อมวิไชเยนทร์ที่สร้างไว้

ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หลงเหลืออยู่พอที่ใช้ป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามา

รุกรานโดยยกกำลังมาทางเรือได้บ้าง

3)  กรุงธนบุรีตั้งอยู่บนเกาะเหมือนกรุงศรีอยุธยา และยังมีสภาพเป็นที่ลุ่ม มีบึงใหญ่น้อยอยู่ทั่วไป ซึ่ง

จะเป็นเครื่องกีดขวางข้าศึกมิให้โอบล้อมพระนครได้ง่าย

4)  กรุงธนบุรีตั้งปิดปากน้ำระหว่างเส้นทางที่หัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงจะได้ไปมาค้าขายติดต่อกับ

ต่างประเทศ จึงสามารถกีดกันมิให้หัวเมืองฝ่ายเหนือที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ ซื้อหาเครื่องศัสตราวุธ

ยุทธภัณฑ์จากต่างประเทศได้

5)  กรุงธนบุรีอยู่ใกล้ทะเล สะดวกแก่การไปมาค้าขายและติดต่อกับต่างประเทศ เรือสินค้าสามารถเข้า

จอดเทียบท่าได้โดยไม่ต้องขนถ่ายสินค้าลงเรือเล็กอย่างสมัยกรุงศรีอยุธยาทำให้ประหยัดเวลา

และค่าใช้จ่ายได้มาก

6)  กรุงธนบุรีเป็นเมืองเก่า มีวัดจำนวนมากที่สร้างไว้แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  เพียงแต่บูรณะและ

ปฏิสังขรณ์บ้างเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องสร้างวัดขึ้นใหม่ทั้งหมด

7)  กรุงธนบุรี มีดินดี มีคลองหลายสาย มีน้ำใช้ตลอดปีเหมาะแก่การทำนา ปลูกข้าว ทำสวนผัก และ

ทำไร่ผลไม้

ด้วยเหตุนี้ เจ้าตากจึงทรงพาผู้คนมาตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ธนบุรี และได้ทรงทำพิธีปราบดาภิเษก ประกาศพระเกียรติยศขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ ในปี พ.ศ. 2310 ทรงครอบครองกรุงธนบุรีสืบมา มีพระนามอย่างเป็นทางการว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

การสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีในช่วงแรกเกิดปัญหาอะไร

เมื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ย้ายราชธานีมายังกรุงธนบุรี ปัญหาประการหนึ่งที่ราชธานีใหม่พบคือเรื่องปัญหาปากท้องของราษฎร พระเจ้าตากฯ มีนโยบายแก้ปัญหาหลายประการ บันทึกจดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี ที่ทรงบันทึกเล่าเรื่องราวความทุกข์ยากปัญหาของราษฎรปลายกรุงธนบุรี เขียนไว้ว่า

กรุงธนบุรีในการเป็นราชธานีคืออะไร

พ.ศ. 2310. พระเจ้าตากสิน ทรงกอบกู้เอกราชครั้งที่ 2ให้กับกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ และทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ พระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 ขณะมีพระชนมายุได้ 33 พรรษา และสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่แทนกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2311.

เหตุผลที่ทรงเลือกอาณาจักรอยุธยาเป็นราชธานีคืออะไร

ด้วยทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาที่มีลักษณะเป็นเกาะเมืองมีแม่น้ำที่สำคัญ 3 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน รวมทั้งเป็นชุมทางคมนาคม และเป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันข้าศึก ศัตรู กรุงศรีอยุธยาจึงเป็นราชธานีใหญ่สามารถกุมอำนาจเหนือเมืองใกล้เคียงเป็นเวลานาน

การสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีมีขึ้นเมื่อใด

4 ตุลาคม 2313 พระเจ้าตากสินมหาราช สถาปนากรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” เป็นราชธานี ภาพจิตรกรรมภายในตำหนักเก๋ง พระราชวังเดิม แสดงเหตุการณ์เมื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เกณฑ์ไพล่พลมาสร้างเมืองหลวงใหม่ที่กรุงธนบุรี และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์