ข้อดี ข้อเสีย การศึกษาสิงคโปร์

เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) ได้ทำการเปิดเผยข้อมูลจากรายงาน Universal Basic Skills What Countries Stand To Gain ซึ่งทำการวิเคราะห์ และจัดอันดับระบบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายใน 76 ประเทศทั่วโลก

และอันดับหนึ่งนั้นตกเป็นของประเทศสิงคโปร์ เรามาดูกันว่าระบบการศึกษาของสิงคโปร์เป็นอย่างไร และทำไมประเทศนี้ถึงเป็นอันดับ 1 ของการจัดอันดับโรงเรียนม.ปลายที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2017

ข้อดี ข้อเสีย การศึกษาสิงคโปร์

การศึกษาของประเทศสิงคโปร์อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ ที่นอกจากจะดูแลสถาบันการศึกษาของรัฐแล้ว ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษา และดูแลโรงเรียนเอกชนในสิงคโปร์

ในปี 2555 รัฐบาลสิงคโปร์จัดสรรงบประมาณให้กระทรวงศึกษาธิการมากที่สุดเป็นอันดับสองของ
กระทรวงทั้งหมด (รองจากกระทรวงกลาโหม) – เป็นจำนวน 10,580 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 258,710 ล้านบาท) ซึ่งเท่ากับประมาณร้อยละ 40 ของ GDP ของสิงคโปร์ โดยรัฐบาลสิงคโปร์ประสงค์ที่จะให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา รวมทั้งเป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมของเอเชีย

ข้อดี ข้อเสีย การศึกษาสิงคโปร์

และนี่คือเหตุผลที่ทำให้ประเทศสิงคโปร์มีการศึกษาที่เต็มไปด้วยคุณภาพอันดับต้นๆ ของโลก จนติดอันดับ 1 ของการจัดอันดับโรงเรียนม.ปลายที่ดีที่สุดในโลก

1. การวางโครงสร้างของระบบการศึกษาที่ดี

การศึกษาขั้นพื้นฐานของสิงคโปร์นั้นใช้ระบบอังกฤษคือ Primary (6 ปี) > Secondary (4 ปี) >A Level >O Level การศึกษาภาคบังคับของสิงคโปร์คือ ถึงชั้น Primary 6 (เทียบเท่าชั้น ป. 6)

2. มีจุดเด่นได้แก่การเรียนสองภาษา

กล่าวคือในหลักสูตรการศึกษาในระดับประถม และมัธยมศึกษานั้นจะมีกำหนดให้เด็กนักเรียนศึกษาภาษาอังกฤษ และภาษาทางการของสิงคโปร์อีกหนึ่งภาษา (จีน มาเลย์ หรือทมิฬ)

ข้อดี ข้อเสีย การศึกษาสิงคโปร์

3. มีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนเป็นภาษาอังกฤษ

ที่ประเทศสิงคโปร์มีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนเป็นภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ระดับประถมตอนปลาย เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษให้กับนักเรียน

4. รัฐให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ

1. ค่าเล่าเรียน ค่าหนังสือเรียน ค่าชุดนักเรียน ฟรี สำหรับโรงเรียนของรัฐ ให้แก่:

– เด็กนักเรียนในครอบครัวที่มีเด็ก 1-2 คน และมีรายได้รวมไม่เกิน $1,500 ต่อเดือน

-เด็กนักเรียนในครอบครัวที่มีเด็ก 3 คนหรือมากกว่า และมีรายได้รวมไม่เกิน $1,800 ต่อเดือน

2. ให้เงินอุดหนุนสำหรับเด็กนักเรียนจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ และปานกลาง ที่ศึกษาใน โรงเรียนมัธยมอิสระต่างๆ (ปริมาณของเงินอุดหนุนขึ้นอยู่กับฐานรายได้ของครอบครัว)

ข้อดี ข้อเสีย การศึกษาสิงคโปร์

5. รัฐสนับสนุนหลักสูตร Special Education Schools

ในแต่ละปี รัฐบาลสิงคโปร์จะจัดสรรงบประมาณประมาณ 2 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์เพื่อจัดทำหลักสูตร และสถาบันการศึกษาในลักษณะ Special Education Schools สำหรับเด็ก และเยาวชนสิงคโปร์เพื่อการสร้างโอกาสด้านการศึกษาที่เท่าเทียมกัน

6. หลักสูตรการเรียนในระดับประถมและมัธยมศึกษาของสิงคโปร์เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

ปัจจุบันสิงคโปร์มีอิทธิพลด้านการศึกษาในระดับโลก เนื่องจากปัจจุบัน โรงเรียนต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ไทย อินโดนีเซีย ฮ่องกง อินเดีย และบางประเทศในแอฟริกา เลือกใช้หนังสือเรียน และหลักสูตรการเรียนของสิงคโปร์ในระดับประถม และมัธยมศึกษา โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

ซึ่งล่าสุดรัฐมนตรีว่าการศึกษาสิงคโปร์ได้ลงนามในบันทึกความตกลงร่วมกับสหรัฐฯ เพื่อต่อยอดความร่วมมือในด้านการศึกษา ซึ่งทั้งสองประเทศมีความร่วมมือระหว่างกันตั้งแต่ปี 2002

ข้อดี ข้อเสีย การศึกษาสิงคโปร์

จากเหตุผลเหล่านี้ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมระบบการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ถึงยอดเยี่ยมจนติดอันดับต้นๆ โลกทั้งในระดับมัธยมฯ และระดับอุดมศึกษาเช่นปัจจุบัน

ที่มา:  thaiembassy, campus-star

ร่วมแสดงความคิดเห็นกันจ้า...