หลัก หัวใจเศรษฐี ข้อ ใด ที่ ตรง กับ ความพอประมาณ ในหลัก เศรษฐกิจ พอ เพียง

  • หลัก หัวใจเศรษฐี ข้อ ใด ที่ ตรง กับ ความพอประมาณ ในหลัก เศรษฐกิจ พอ เพียง
    ถ้าเรามีคาถา "หัวใจเศรษฐี" และปฏิบัติตามนั้น..

    เราและครอบครัว จะมีทรัพย์สินเงินทอง 

    มีความมั่นคงแน่แท้

    ..อุ อา กะ สะ..

    🙂 อุ มาจากคำว่า "อุฏฐานสัมปทา"

    การถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียรในการแสวงหาความรู้เพื่อทำงานให้ได้ดี

    ต้องหนักเอาเบาสู้ในหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย กิจการงานต่างๆ

    ต้องรู้จักรับผิดชอบให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

    🙂 อา ย่อมาจากคำว่า "อารักขสัมปทา"

    การถึงพร้อมด้วยการรักษาคุ้มครองทรัพย์สินเงินทองที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่ให้เงินทองรั่วไหล มีอันตราย

    การระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยมิให้เปลืองเงินทองโดยใช่เหตุ

    การรู้จักทำให้เงินนั้นเกิดประโยชน์สูงสุดหรือให้เงินนั้นงอกเงยขึ้นด้วยความชอบธรรม

    การไม่ลงทุนอะไรที่เกินกำลัง

    การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
    สามารถเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสุขกายสบายใจ
    พอประมาณ ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
    มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน

    🙂 กะ ย่อมาจากคำว่า "กัลยาณมิตตตา"

    การมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่วเป็นมิตรสหาย
    การคบคนพาล พาลพาไปหาผิด
    การคบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล

    การคบคนจึงต้องดูว่าเพื่อนเป็นคนดี
    ไม่พาไปทางอบายมุข ชวนกันไปเที่ยวกลางคืน
    กินเหล้าเมายา มัวเมาในการละเล่น พนันต่างๆ

    พยายามคบและรักษาเพื่อนดีๆไว้
    ช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งในทางโลกและทางธรรม
    เพื่อนดี เพื่อนแท้ แม้มีไม่มาก แต่เปี่ยมคุณภาพ

    🙂 สะ ย่อมาจากคำว่า "สมชีวิตา"

    การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามา

    การรู้จักกำหนดรายรับและรายจ่าย
    อย่าให้ฟุ่มเฟือยหรืออัตคัดขัดสนจนเกินไป

    การรู้จักใช้เงินอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
    รวมถึงสิ่งที่หามาได้ด้วยอย่างชาญฉลาด

    ปัจจุบันเราใช้สูตร
    รายรับ - เงินออม = รายจ่าย

    เก็บเงินออมที่ตั้งเป้าหมายไว้ แล้วค่อยใช้จ่ายตามความเหมาะสม

    สรุปหัวใจเศรษฐี 4 ประการ อุ อา กะ สะ 
    คือ ขยัน หมั่นรักษา คบหาคนดี มีชีวิตพอเพียง รับรองว่าได้เป็น ”เศรษฐี” สมใจกันทุกครัวเรือน..

    🙂🙂🙂🙂

    Cr : ศักดิ์ศรี บุญรังศรี

หลักมัชฌิมาปฏิปทา(การปฏิบัติตนในทางสายกลาง)

หลัก หัวใจเศรษฐี ข้อ ใด ที่ ตรง กับ ความพอประมาณ ในหลัก เศรษฐกิจ พอ เพียง


     มัชฌิมาปฏิปทาในทางพุทธศาสนาหมายถึงทางสายกลาง คือการไม่ยึดถือสุดทางทั้ง ๒ ได้แก่ อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป และ กามสุขัลลิกานุโยคคือ การพัวพันในกามในความสบาย เป็นหลักคำสอนที่ปรากฏในพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

    นอกจากคุณค่าขั้นสูงสุดของหลักมัชฌิมาปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์แล้วคุณ

ค่าในเบื้องต้นยังเป็นไปเพื่อการรู้จักการดำเนินชีวิตให้เกิดความพอดีเป็นแนวทางของการ

แก้ทุกข์ที่เรียกว่า “อริยมรรคมีองค์ ๘” โดยมุ่งเน้นให้มีความสุขกายและสุขใจไปด้วย ดังนี้

๑ .สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง การปฏิบัติอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริง

ด้วยปัญญา

๒ .สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบหมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศล

หรือความดีงาม

๓ .สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดต้องสุภาพ แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม

๔ .สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง

๕ .สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน ไม่คดโกง เอาเปรียบคนอื่น ๆ 

มากเกินไป

๖ .สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม

๗ .สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความ

รู้ตัวอยู่เป็นปกติ

๘ .สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ(ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน)


    หลักอตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ เป็นคำสอนให้บุคคลพึ่งตนเอง ซึ่งแนวทางของระบบเศรษฐกิจพอเพียงก็ได้มุ่งเน้นให้พึ่งตนเองในการทำมาหาเลี้ยงชีพในการสร้างฐานะและการเก็บรักษาทรัพย์ที่หามาได้เพื่อจับจ่ายใช้สอยในยามจำเป็นนอกจากเป็นที่พึ่งแห่งตนแล้ว

จะต้องเป็นที่พึ่งของบุคคลอื่นด้วยนอกจากในระดับบุคคลแล้วยังมุ่งเน้นให้การพัฒนาประเทศชาติให้พึ่งตนเองในลักษณะ “เศรษฐกิจพอเพียง” นั่นคือการพัฒนาที่ไม่อิงเศรษฐกิจโลกจนเกินไป

ละครธรรมนำชีวิต ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน


หลักสันโดษ

หลักสันโดษนี้มุ่งให้บุคคลพึงพอใจในสิ่งของหรือทรัพย์สินที่ตนเองได้มาและใช้ 

จ่ายใน สิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ให้บุคคลรู้จักประมาณ ได้แก่ การประหยัดและรู้จักออม ไม่ฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อมีความเป็นอยู่อย่างสงบเรียบง่าย และโปร่งใส ไม่ทะเยอทะยานต่อสู้และเบียดเบียนบุคคลอื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขในคัมภีร์ มังคลทีปนี 

ได้ให้ความหมายของคำว่า สันโดษ ไว้ ๓ นัยคือ ยินดีสิ่งที่เป็นของตน, ยินดีในสิ่งที่มีอยู่ 

และ ยินดีด้วยใจที่เสมอ (ด้วยใจที่มั่นคง)

หลัก หัวใจเศรษฐี ข้อ ใด ที่ ตรง กับ ความพอประมาณ ในหลัก เศรษฐกิจ พอ เพียง


หลักสัปปุริสธรรม๗


     หลักสัปปุริสธรรม ๗ คือ ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ หรือคุณสมบัติของคนดี นั่นเอง ประกอบด้วย


๑. ธัมมัญญุตาความรู้จักเหตุ คือรู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล

๒.อัตถัญญุตาความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์

๓.อัตตัญญุตาความรู้จักตน คือ รู้ว่า เรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสมและ

รู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป

๔.มัตตัญญุตาความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ เป็นต้น

๕.กาลัญญุตา – ความรู้จักกาลคือรู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่ควรหรือจะต้องใช้ในการประกอบกิจ ทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา เป็นต้น

๖.ปริสัญญุตา – ความรู้จักบริษัท คือรู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กริยาที่จะประพฤติต่อ

ชุมชนนั้นๆ ว่าชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างนี้ เป็นต้น

๗.ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา – ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่าโดยอัธยาศัยความสามารถและคุณธรรม เป็นต้น ใครๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้

ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้น ๆ ด้วยดี เป็นต้น


หลัก หัวใจเศรษฐี ข้อ ใด ที่ ตรง กับ ความพอประมาณ ในหลัก เศรษฐกิจ พอ เพียง

ทิฏฐธัมมิกัตถะ

     เป็นข้อปฏิบัติสำคัญที่ทำให้เกิดผล คือ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทำให้มีทรัพย์สินเงินทอง พึ่งตนเองได้ เรียกว่าธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ปัจจุบัน บางทีเรียกว่า “หัวใจเศรษฐี” โดยมีคำย่อคือ “อุ““อา““กะ““สะ“ ดังนี้คือ

๑.อุฏฐานะสัมปทา (อุ) หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร รู้จักใช้ปัญญาไตร่ตรองพิจารณาหาวิธีการที่แยบคายในการทำงาน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักคิด 

รู้จักทำ รู้จักดำเนินการด้านเศรษฐกิจ ทำการงานประกอบอาชีพให้ได้ผลดี

๒.อารักขสัมปทา (อา) หมายถึง การถึงพร้อมด้วยการรักษา สามารถปกป้องคุ้มครองรักษาทรัพย์สินที่หามาได้ ไม่ให้สูญหายพินาศไปด้วยภัยต่างๆ

๓.กัลยาณมิตตตา (กะ) หมายถึง การรู้จักคบคนดีหรือมีกัลยาณมิตร ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ช่วยให้เจริญก้าวหน้าในวงการอาชีพนั้นๆ ทำให้รู้เห็นช่องทางและโอกาสต่างๆ ในการงาน ทันต่อเหตุการณ์ ตลอดจนรู้จักปฏิบัติต่อทรัพย์ของตนอย่างถูกต้อง ไม่ถูกมิตรชั่วชัก

จูงไปในทางอบายมุข ซึ่งจะทำให้ทรัพย์สินไม่เพิ่มพูนหรือมีแต่จะหดหายไป

๔.สมชีวิตา (สะ)หมายถึง ความเป็นอยู่พอดี หรือความเป็นอยู่สมดุล คือเลี้ยงชีพแต่พอดี 

ไม่ให้ฟุ่มเฟือย ไม่ให้ฝืดเคือง ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีเหลือเก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น


โภคาวิภาค ๔

เป็นวิธีการจัดสรรทรัพย์ในการใช้จ่าย โดยจัดสรรทรัพย์ออกเป็น ๔ ส่วน ดังนี้คือ

๑. แบ่ง ๑ ส่วน เพื่อใช้บริโภคเลี้ยงตนเองให้เป็นสุข เลี้ยงดูครอบครัว และคนที่อยู่ในความรับผิดชอบให้เป็นสุข และใช้ทำความดี บำเพ็ญประโยชน์แต่สาธารณะ เป็นต้น

๒. แบ่ง ๒ ส่วน เพื่อจัดสรรไว้สำหรับลงทุนประกอบกิจการงานต่างๆ

๓. แบ่ง ๑ ส่วน เพื่อเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น เช่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น

โภคอาทิยะ ๕

คือ เมื่อมีทรัพย์สิน ควรนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย

๑.ใช้จ่ายทรัพย์นั้นเลี้ยงตนเอง เลี้ยงดูครอบครัว มารดาบิดา ให้เป็นสุข

๒.ใช้ทรัพย์นั้นบำรุงเลี้ยงมิตรสหายผู้ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข

๓.ใช้ป้องกันภยันตรายต่าง ๆ

๔.ทำพลี คือ การสละบำรุงสงเคราะห์ ๕ อย่าง ได้แก่ อติถิพลี (ใช้ต้อนรับแขก), 

ญาติพลี (ใช้สงเคราะห์ญาติ), ราชพลี (ใช้บำรุงราชการด้วยการเสียภาษีอากร), เทวตาพลี (บำรุงเทวดา), ปุพพเปตพลี (ทำบุญอุทิศให้แก่บุพการี)

๕. ใช้เพื่อบำรุงสมณพราหมณ์

กามโภคีสุข ๔ (สุขของคฤหัสถ์ ๔)


       คือ คนครองเรือนควรจะมีความสุข ๔ ประการ ซึ่งคนครองเรือนควรจะพยายามให้เข้าถึงให้ได้ คือ

๑.อัตถิสุข - สุขเกิดจากการมีทรัพย์ เป็นหลักประกันของชีวิต โดยเฉพาะความอุ่นใจ ปลาบปลื้มภูมิใจว่าเรามีทรัพย์ที่หามาได้ด้วยกำลังของตนเอง

๒.โภคสุข -สุขเกิดจากการบริโภคทรัพย์ หรือใช้จ่ายทรัพย์ คือ รู้จักใช้จ่ายทรัพย์นั้นให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของตน เลี้ยงดูบุคคลอื่น และทำประโยชน์สุขต่อผู้อื่นและสังคม เป็นต้น

๓.อนณสุข – สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ ไม่ต้องทุกข์ใจ เป็นกังวลใจเพราะมีหนี้สินติดค้างใคร

๔.อนวัชชสุข -สุขเกิดจากความประพฤติที่ไม่มีโทษ คือ มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่สุจริต ที่ใครจะว่ากล่าวติเตียนไม่ได้ มีความบริสุทธิ์ และมีความมั่นใจในการดำเนินชีวิตของตน

หลัก หัวใจเศรษฐี ข้อ ใด ที่ ตรง กับ ความพอประมาณ ในหลัก เศรษฐกิจ พอ เพียง



หัวใจเศรษฐีข้อใด คือการอยู่อย่างพอเพียง

ประการที่สี่ : ดำรงชีวิตแบบพอเพียง (สมชีวิตา) หมายถึง การรู้จักคุณค่าของทรัพย์สินเงินทอง ที่หามาได้ใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย รวมถึงกินลึกลงไปใน ความพอประมาณ ความสมเหตุสมผล ความสมดุล และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชีวิต เกี่ยวเนื่องจาก ความพอเพียง มีลักษณะอกาลิโก (ไม่เลือกกาลไม่เลือกสมัย) คือ สามารถ ...

หลักธรรมที่ว่าหัวใจเศรษฐีเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร

การถึงพร้อมด้วยการรักษาคุ้มครองทรัพย์สินเงินทองที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่ให้เงินทองรั่วไหล มีอันตราย การระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยมิให้เปลืองเงินทองโดยใช่เหตุ การรู้จักทำให้เงินนั้นเกิดประโยชน์สูงสุดหรือให้เงินนั้นงอกเงยขึ้นด้วยความชอบธรรม