การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค เกิดจาก

 การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก


     โลกเป็นดาวเคราะห์ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง มีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งส่วน ที่เป็นบรรยากาศห่อหุ้มโลกและส่วนที่ประกอบอยู่ภายในของโลก อันเป็นผลมาจากอิทธิพลของการหมุนของโลกรอบดวงอาทิตย์ และรอบตัวเอง รวมไปถึงการที่โลกยังร้อนอยู่ภายในมีทฤษฎีหลายทฤษฎี ที่อธิบายถึงการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

ทฤษฎีการเคลื่อนที่

ทฤษฎีวงจรการพาความร้อน (Convection current theory)

     กล่าวไว้ว่าการหมุนเวียนของกระแสความร้อนภายในโลก มีลักษณะเช่นเดียวกับการเดือดของน้ำในแก้ว กล่าวคือโลกส่งผ่านความร้อนจากแก่นโลกขึ้นมาสู่ชั้นแมนเทิล ซึ่งมีลักษณะเป็นของไหลที่มีสถานะกึ่งแข็งกึ่งเหลว และผลักดันให้สารในชั้นนี้หมุนเวียนจากส่วนล่างขึ้นไปสู่ส่วนบนส่งผลให้เปลือกโลกซึ่งเป็นของแข็งปิดทับอยู่บนสุดเกิดการแตกเป็นแผ่น (Plate) และเคลื่อนที่ในลักษณะเข้าหากัน แยกออกจากกัน และไถลตัวขนานออกจากกัน

 

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค เกิดจาก

การไหลเวียนของกระแสความร้อนภายในโลก

 

ทฤษฎีทวีปเลื่อน(Continental Drift Theorly)

     ในปี ค.ศ.1915 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ alfred Wegenerได้เสนอสมมติฐานทวีปเลื่อนขึ้น และได้รับการยอมรับในปี ค.ศ.1940 สมมติฐานกล่าวไว้ว่า เมื่อราว 250 ล้านปีก่อน ทวีปต่าง ๆ เคยติดกันเป็นทวีปขนาดใหญ่เรียกว่า พันเจีย (Pangea) ต่อมามีการเคลื่อนตัวแยกออกจากกัน จนมาอยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน หลักฐานที่เชื่อว่าแผ่นทวีปเคลื่อนที่นี้คือ ในปัจจุบันได้พบชนิดหิน ที่เกิดในสภาวะแวดล้อมเดียวกันแต่อยู่คนละทวีปซึ่งห่างไกลกันมากหินอายุเดียวกัน ที่อยู่ต่างทวีปกันมีรูปแบบสนามแม่เหล็กโลกโบราณคล้ายคลึงกัน และขอบของทวีปสามารถเชื่อมตัวประสานแนบสนิทเข้าด้วยกันได้

ทฤษฎีเปลือกโลกใต้มหาสมุทรแยกตัว (Sea Floor Spreading Theory)

     จากปรากฎการณ์การแตกตัวและแยกออกจากกันของแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปและใต้มหาสมุทรสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว การเกิดหมู่เกาะภูเขาไฟ การเกิดแนวเทือกเขากลางมหาสมุทร การขยายตัว และการเกิดใหม่ของมหาสมุทร ทำให้เกิดสมมติฐานและกลายเป็นทฤษฎีนี้ขึ้นเพื่ออธิบายปรากฎการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นและการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกต่าง ๆ

 

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค เกิดจาก

ขอบเขตและการกระจายตัวของแผ่นเปลือกโลก

 

ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก(plate Tectonic Theory)

     เกิดจากการนำทฤษฎีทวีปเลื่อนและทวีปแยกมารวมกันตั้งเป็นทฤษฎีใหม่ขึ้นมาโดยกล่าวไว้ว่าเปลือกโลกทั้งหมดแบ่งออกเป็นแผ่นที่สำคัญ จำนวน 13 แผ่น โดยแต่ละแผ่นจะมีขอบเขตเฉพาะได้แก่ แผ่นอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยูเรเซีย แอฟริกา อินเดีย แปซิฟิก แอนตาร์กติก ฟิลิปปินส์ อาหรับ สกอเทีย โกโก้ แคริเบียน และนาซก้าแผ่นเปลือกโลกทั้งหมดไม่หยุดหนิ่งอยู่กับที่จะมีการเ เคลื่อนที่ตลอดเวลาใน 3 แบบ ได้แก่การเคลื่อนที่เข้าหากัน แยกออกจากกัน และไถลตัวขนานออกจากกันซึ่งผลของการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกทำให้เกิดปรากฎการณ์ต่าง ๆ ขึ้น เช่น แผ่นดินไหว เทีอกเขา ภูเขาไฟ และกระบวนการเกิดแร่และหิน

ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค เกิดจาก

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค เกิดจาก

แผ่นเปลือกโลกใต้เคลื่อนที่เข้าหากัน

แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แยกตัวออกจากกันและเข้าหากัน

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค เกิดจาก

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค เกิดจาก

แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าหากัน

แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ไถลตัวขนานแยกออกจากกัน

การเดินทางของอนุทวีปไทย  

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค เกิดจาก

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค เกิดจาก

เมื่อ465ล้านปีก่อนดินแดนประเทศไทยยัง แยกตัวอยู่ใน 2 อนุทวีปฉานไทย(ส่วนของภาคเหนือลงไปถึงภาคตะวันออกและภาคใต้) และอนุทวีปอินโดจีน (ส่วนของภาคอิสาน) อนุทวีปทั้งสองขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของผืนดินกานด์วานา (ดัดแปลงจาก Burrett et al,1990,Metcafe,1997)

ต่อมาประมาณ 400-300 ล้านปีก่อนดินแดนประเทศไทยทั้งส่วนอนุทวีปฉานไทยและอนุทวีปอินโดจีน ได้เคลื่อนที่แยกตัวออกจากผืนแผ่นดินกอนด์วานา แล้วหมุนตัวตามเข็มนาฬิกาขึ้นไปทางเหนือ (ดัดแปลงจาก
Bunopas,1981,Burrett,1990,Metcafe,1997)

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค เกิดจาก

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค เกิดจาก

เมื่อประมาณ 220 ล้านปีก่อนอนุทวีปฉานไทยได้ชนกับอนุทวีปอินโดจีนรวมกันเป็นอนุทวีปที่เป็นปัจจุบันเรียกว่าคาบสมุทรมลายูแล้วไปรวมกับจีนตอนใต้รวมกันเป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย (ดัดแปลงจาก Bunopas,1981,Meteafe,1997)

จากนั้นประเทศไทยในคาบสมุทรมลายูได้เคลื่อนที่
มาอยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน

 

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคเกิดจากสาเหตุใด

การที่แผ่นเปลือกโลกสามารถเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ ได้อย่างต่อเนื่องนั้น เกิดจากการหมุนเวียนของกระแสความร้อนภายในโลก (Convection Cell) ในชั้นฐานธรณีภาคหรือชั้นเนื้อโลกตอนบนมีแร่และหินหลอมเหลวกลายเป็นหินหนืด (Magma) ซึ่งมีลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อนหรือกึ่งแข็งกึ่งเหลว (Semisolid) ถูกความร้อนจากแก่นโลกผลักดันให้หินหนืดเคลื่อน ...

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคมีการเคลื่อนที่อย่างไร

ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลกใต้เคลื่อนที่เข้าหากัน แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แยกตัวออกจากกันและเข้าหากัน แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าหากัน แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ไถลตัวขนานแยกออกจากกัน

แผ่นธรณีเคลื่อนที่แบบใดบ้าง

แนวรอยต่อของแผ่นธรณีมี 3 รูปแบบ คือ 1. แนวแผ่นธรณีแยกตัว (divergent plate. boundary) 2. แนวแผ่นธรณีเคลื่อนที่หากัน (convergent plate boundary) 3. แนว แผ่นธรณีเคลื่อนผ่านกันในแนวราบ (transform plate boundary) โดยแต่ละรูปแบบส่งผล

แนวแผ่นธรณีเคลื่อนหากันทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรณีใดบ้าง

แผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน (Convergent boundaries) เกิดขึ้นในบริเวณที่แผ่นธรณีปะทะกันซึ่งเรียกว่า “เขตมุดตัว” (Subduction zone) การปะทะกันเช่นนี้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงที่ระดับลึก (300 – 700 กิโลเมตร) และหากเกิดขึ้นในมหาสมุทรก็จะทำให้เกิดคลื่นสึนามิ เช่น สันเขาใต้สมุทรใกล้เกาะสุมาตรา และ เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ...