คำขวัญ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คือ

คำขวัญ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คือ

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ CHAING MAI RAJABHAT UNIVERSITY

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 202 ถนนช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในเขตนครเทศบาลเมืองเชียงใหม่ มีเนื้อที่ทั้งหมด 132 ไร่ และมีไร้ฝึกหัดงานเกษตรที่อำเภอแม่ริมอีกประมาณ 50 ไร่ มีพื้นที่โครงการอุทยานการศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเป็นที่ตั้งของคณะเทคโนโลยีการเกษตร ณ ตำบลสะลวงขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5,800 ไร่ มีนักศึกษาภาคปกติประมาณ 6,000 คน มีนักศึกษาภาคพิเศษประมาณ 6,000 คน อาจารย์ประมาณ 350 คน จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในหลังสูตรการศึกษา ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์ บริหารธุรกิจ และนิติศาสตร์ และจัดการศึกษาในระดับบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู และการศึกษา และการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีบทบาทและความรับผิดชอบในฐานะ สภาบันการศึกษาและวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิชาการ ในสาขาวิชาต่างๆ ตามความต้องการของท้องถิ่น และผลิตครู บุคลากรทางการศึกษา ทำการวิจัยส่งเสริมวิทยาฐานะ ของครู อาจารย์ และบุคลากรประจำการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และให้บริการทางวิชาการแก่สังคม

สถาบันราชภัฎเชียงใหม่

                เมื่อ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม วิทยาลัยครูทั่วประเทศว่า " สถาบันราชภัฏ " แปลว่าผู้ที่อยู่ใกล้พระราชา แต่หลายท่านให้ความหมายเป็นนัยว่า " นักปราชญ์ของพระราชา " โดยมีตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันเป็นตราพระราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แต่ละสีมีความหมายดังนี้

                สีน้ำเงิน แทนสถาบันพระมหากษัตริย์

                สีเขียว แทนแหล่งที่ตั้งของสถาบัน 36 แห่ง ที่อยู่ในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม

                สีทอง แทนความรุ่งเรืองทางปัญญา

                สีส้ม แทนความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

                สีขาว แทนความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สถาบันราชภัฏ ได้เปลี่ยนครุยวิทยฐานะใหม่ ตั้งแต่ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ลักษณะและความหมายของครุยวิทยฐานะ เป็นดังนี้

                ตัวเสื้อครุยทำด้วยผ้าหรือแพรสีดำเย็บเป็นเสื้อคลุม ตัวเสื้อ ผ่าอกตลอด แขนเสื้อกว้างและยาวตกข้อมือแขนปล่อย มีสำรดรอบขอบและที่ปลายแขน ส่วนสำรดต้นแขนเป็นสิ่งแสดงถึงระดับปริญญา และมีเข็มตราสถาบันราชภัฏประดับครุยด้วยสำหรับแถบสีประจำ สาขาวิชานั้น สังเกตได้ดังนี้

                แถบสีฟ้า หมายถึง บัณฑิตสาขาวิชาครุศาสตร์

                แถบสีแสด หมายถึง บัณฑิตสาขาวิชาศิลปศาสตร์

                แถบสีเหลือง หมายถึง บัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์

                ส่วน ที่ใช้บนแถบสำรดและบนเสื้อครุยนั้น ได้ใช้สีจากตราสถาบันราชภัฏซึ่งประกอบด้วย สีทอง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีเขียว หมายถึง สถาบันราชภัฏที่มุ่งให้การศึกษาพัฒนาท้องถิ่น สีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีคุณปการอันยิ่งใหญ่ไพศาลต่อสถาบันราชภัฏ ปัจจุบันสถาบัน    ราชภัฏเชียงใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 202 ถนนช้างเผือก ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีภารกิจหลัก 6 ประการ ตามมาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ.2538 ที่ระบุให้สถาบันราชภัฏเป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คือ ทำการศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง

- ทำการวิจัย

- ให้บริการวิชาการแก่สังคม

- ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี

- ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู

                สถาบัน ราชภัฏเชียงใหม่หวังว่าบัณฑิตใหม่ทุกท่านจะนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาท้อง ถิ่นและสร้างชื่อเสียง เกียรติภูมิสู่สถาบันให้เป็นที่ขจรขจายต่อสาธารณชนสืบไปตามอุดมการที่สถาบัน ได้ยึดมั่นที่ว่า..." คนดีสร้างชาติไทย ราชภัฏเชียงใหม่สร้างคนดี "

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๗ อันมีผลให้สถาบันราชภัฏ เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ ยังความปลาบปลื้ม ยินดีแก่ชาวราชภัฏทุกคน

                และในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.๒๕๔๗ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นชาวราชภัฏทั้ง ๔๑ แห่ง จึงร่วมใจพิธีถวายราชสดุดี เฉลิมฉลองนามมหาวิทยาลัยราชภัฏ พร้อมกัน ในวันอังคารที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๙ น. พร้อมกันทั่วประเทศ

ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีคณะผู้บริหาร อาจารย์อาวุโส คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และศิษย์เก่า ร่วมพิธีกว่าหมื่นคน ณ สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่