การเคลื่อนที่ของแผ่น ธรณี ภาค ในข้อใดที่ ไม่ มี อิทธิพล จาก ภาย ใต้ ผิวโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเคลื่อนที่ของแผ่น ธรณี ภาค ในข้อใดที่ ไม่ มี อิทธิพล จาก ภาย ใต้ ผิวโลก

การเคลื่อนที่ของแผ่น ธรณี ภาค ในข้อใดที่ ไม่ มี อิทธิพล จาก ภาย ใต้ ผิวโลก

การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (อังกฤษ: plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้พัฒนาต่อยอดจากทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปเดิมที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานนี้ได้รับการยอมรับเป็นที่แพร่หลายหลังจากการเสนอแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500)

โครงสร้างส่วนนอกของโลกนั้นแบ่งตามคุณสมบัติของชั้นหินต่อคลื่นไหวสะเทือนได้สองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นธรณีภาค อันประกอบด้วยเปลือกโลกและเนื้อโลก ชั้นบนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและแข็งเกร็ง ชั้นล่างลงไปคือชั้นฐานธรณีภาค (asthenosphere) ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งแต่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนที่ได้คล้ายของเหลวเมื่อพิจารณาในช่วงระยะเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง

ธรณีภาคแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่นประกอบกัน ในกรณีของโลกสามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เคลื่อนที่สัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ขอบของเปลือกโลกสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทตามลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกสัมพัทธ์ของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นนั้น คือ ขอบเปลือกโลกที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเปลือกโลกที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวของภูเขา และการเกิดขึ้นของร่องลึกก้นสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี

แผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่[แก้]

แผ่นเปลือกโลกที่มีขนาดใหญ่ได้แก่

  • แผ่นแอฟริกา: ครอบคลุมทวีปแอฟริกา เป็นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป
  • แผ่นแอนตาร์กติก: ครอบคลุมทวีปแอนตาร์กติกา เป็นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป
  • แผ่นออสเตรเลีย: ครอบคลุมออสเตรเลีย (เคยเชื่อมกับแผ่นอินเดียเมื่อประมาณ 50-55 ล้านปีก่อน) เป็นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป
  • แผ่นยูเรเชีย: ครอบคลุมทวีปเอเชียและยุโรป เป็นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป
  • แผ่นอเมริกาเหนือ: ครอบคลุมทวีปอเมริกาเหนือและทางตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรีย เป็นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป
  • แผ่นอเมริกาใต้: ครอบคลุมทวีปอเมริกาใต้ เป็นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป
  • แผ่นแปซิฟิก: ครอบคลุมมหาสมุทรแปซิฟิก เปลือกโลกภาคพื้นสมุทร

นอกจากนี้ยังมีแผ่นเปลือกโลกที่มีขนาดเล็กกว่า ได้แก่ แผ่นอินเดีย, แผ่นอาระเบีย, แผ่นแคริบเบียน, แผ่นฮวนเดฟูกา, แผ่นนาสกา, แผ่นทะเลฟิลิปปินส์, และแผ่นสโกเชีย

การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกนั้นมีสาเหตุมาจากการรวมตัวและแตกออกของทวีปเมื่อผ่านช่วงเวลาหนึ่ง ๆ รวมถึงการรวมตัวของมหาทวีปในบางครั้ง ซึ่งได้รวมทุกทวีปเข้าด้วยกัน มหาทวีปโรดิเนีย (Rodinia) นั้นคาดว่าก่อตัวขึ้นเมื่อหนึ่งพันล้านปีที่ผ่านมา และได้ครอบคลุมผืนดินส่วนใหญ่บนโลก จากนั้นจึงเกิดการแตกตัวไปเป็นแปดทวีปเมื่อ 600 ล้านปีที่แล้ว ทวีปทั้งแปดนี้ต่อมาเข้ามาร่วมตัวกันเป็นมหาทวีปอีกครั้ง โดยมีชื่อว่าแพนเจีย (Pangaea) และในที่สุด แพนเจียก็แตกออกไปเป็นทวีปลอเรเชีย (Laurasia) ซึ่งกลายมาเป็นทวีปอเมริกาเหนือและยูเรเชีย และทวีปกอนด์วานา (Gondwana) ซึ่งกลายมาเป็นทวีปอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ได้กล่าวข้างต้น ดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้

การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก[แก้]

การเคลื่อนที่ของแผ่น ธรณี ภาค ในข้อใดที่ ไม่ มี อิทธิพล จาก ภาย ใต้ ผิวโลก

การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (plate motion) คือลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นที่อยู่ติดกัน สามารถจำแนกได้ออกเป็น 3 รูปแบบ ตามลักษณะการเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันระหว่างแผ่นเปลือกโลกทั้งสอง ได้ดังต่อไปนี้

  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนผ่านกัน
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนแยกจากกัน
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบชนเข้าหากัน

อ้างอิง[แก้]

  • McKnight Tom (2004). Geographica: The complete illustrated Atlas of the world. New York: Barnes and Noble Books. ISBN 076075974X.
  • Oreskes, Naomi (ed) (2003). Plate Tectonics: An Insider's History of the Modern Theory of the Earth. Westview. ISBN 0813341329.
  • Mantle Convection in the Earth and Planets. Cambridge: Cambridge University Press. 2001. ISBN 052135367X.
  • Stanley Steven M (1999). Earth System History. W.H. Freeman. pp. 211–228. ISBN 0716728826.
  • Tanimoto Toshiro, Lay Thorne (2000). "Mantle dynamics and seismic tomography". Proceedings of the National Academy of Science. 97: 12409. doi:10.1073/pnas.210382197. PMID 11035784.
  • Thompson Graham R, Turk Jonathan (1991). Modern Physical Geology. Saunders College Publishing. ISBN 0030253985.
  • Turcotte DL, Schubert G (2002). Geodynamics: Second Edition. New York: John Wiley & Sons. ISBN 0521666244.
  • Winchester, Simon (2003). Krakatoa: The Day the World Exploded: August 27, 1883. HarperCollins. ISBN 0066212855.
  • Atkinson L, Sancetta C (1993). "Hail and farewell". Oceanography. 6 (34).
  • Lyman J, Fleming RH (1940). "Composition of Seawater". J Mar Res. 3: 134–146.
  • Sverdrup HU, Johnson MW, Fleming RH (1942). The Oceans: Their physics, chemistry and general biology. Englewood Cliffs: Prentice-Hall. p. 1087.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Vine FJ, Matthews DH (1963). "Magnetic anomalies over oceanic ridges". Nature. 199: 947–949. doi:10.1038/199947a0.