อิทธิพลของดนตรีต่อเศรษฐกิจ

ศ33101 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของสังคมไทยต่อดนตรีไทย


โลกปัจจุบันมีพัฒนาการทั้งทางด้านสังคม  วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองอย่างรวดเร็ว มีการรวมกลุ่มประเทศเข้าเป็นระบบเดียวกัน  มีความเจริญก้าวหหน้าทางด้านการผลิต การค้า ด้านวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ มีการสื่อสารผ่านระบบดาวเทียม ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่าส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำรงชีวิตของคนทั่วโลก และอาจส่งผลต่อค่านิยมของสังคมไทยที่มีต่อดนตรีได้ โดยในที่นี้จะกล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลให้ค่านิยมของสังคมไทยต่อดนตรีไทยเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้
      1. กระแสความนิยมวัฒนธรรมตะวันตก
กระแสวัฒนธรรมตะวันตก เป็นค่านิยมในสังคมไทยที่ปรากฏชัดเจนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อคนไทยได้มีโอกาสไปศึกษาต่อยังประเทศในแถบยุโรปและอเมริกา กลุ่มคนดังกล่าวได้มีโแอกาสเรียนรู้และดำเนินชีวิตตามแนววัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากประเพณีและวัฒนธรรมไทย เมื่อกลุ่มคนเหล่านี้กลับมาประเทศไทยก้ได้นำแนวคิด รูปแบบการดำเนินชีวิต และค่านิยมตะวันตกมาสู่สังคมไทยด้วย ซึ่งค่านิยมบางประการก็ได้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะรสนิยมในด้านความบันเทิงของคนไทยในด้านการชม การฟัง และบรรเลงดนตรีก็ได้เปลี่ยนแปลงไป  ซึ่งลักษณะดังกล่าวได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อดนตรีไทย เพราะคนไทยจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจดนตรีไทยลดลงไปจากเดิมมาก

       2.ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งต่อการเปลี่ยนแปลงดนตรีไทยและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง  ค่านิยมของคนไทยในการนำวงดนตรีไทยไปบรรเลงในงานพิธีกรรมต่างๆ เริ่มลดน้อยลง แม้การประกอบอาชีพดนตรีัของศิลปินไทยยังคงมีอยู่ แต่ได้เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นการรวมวงของศิลปินรุ่นใหม่ รับงานบรรเลงในสังคมร่วมสมัย บางส่วนรวมศิลปินมีชื่อเสียงนำเสนอเพลงไทยคุณภาพด้วยการบันทึกผลงานแผ่นซีดี หรือ ในระบบอินเตอร์เน็ต  ซึ่งความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในลักษณะดังกล่าวได้มีส่วนทำให้แนวโน้มดนตรีไทยปรับเปลี่ยนไป

      3. ระบบการศึกษาวิชาการดนตรีไทย
ในอดีตการศึกษาวิชาการดนตรี บุตรหลานของศิลปินจะได้รับการฝึกหัดและเรียนดนตรีไทยภายในครอบครัวของตนที่เป็นเสมือนสำนักดนตรี ส่วนบรรดาเด็กๆ ที่มิใช่บุตรหลานของครูดนตรี ผู้ปกครองก็จะนำไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครู เพื่อเรียนดนตรีในสำนักดนตรีหรือประจำวงดนตรีของครู ใช้สำนักของครูเป็นที่เรียน ที่อยู่  ที่กิน และเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์อาชีพดนตรี  เด็กเหล่านี้จึงมีโอกาสเรียนรู้ดนตรีไทยจากครูดนตรีโดยตรง  โดยการเรียนดนตรีจะเริ่มตั้งแต่เช้า เพื่อซ้อมเพลงร่วมกัน พอสายก็ต่อเพลงจากครู  ในบางวันหากมีงานบรรเลงซึ่งมีผู้ติดต่อว่าจ้าง เด็กเหล่านี้ก็จะไปปฏิบัติหน้าที่เป็นนักดนตรี  จึงได้ทั้งความรู้ ทักษะทางดนตรีและได้ฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ เมื่อเติบโตก็กลายเป็นนักดนตรีที่ดี  มีฝีมือ และศิลปินเต็มตัว
แต่ในปัจจุบันรูปแบบการเรียนดนตรีไทยได้เปลี่ยนแปลงไป เป็นการเรียนดนตรีตามหลักสูตรการศึกษา เนื้อหาที่เรียนจะเกี่ยวกับสาระดนตรีทั่วๆไป โดยผู้ที่สนใจดนตรีไทยก็จะต้องเลือกเรียนในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านดนตรีโดยเฉพาะ  ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่หลายสถาบันด้วยกัน เช่น โรงเรียนมัธยมสังคีต  วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เป็นต้น

อิทธิพลของดนตรีต่อเศรษฐกิจ

       4. การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนไทย
วิถีชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่ได้ปรับเปลี่ยนแตกต่างไปจากโครงสร้างวิถีชีวิตวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจและความเร่งรีบในการดำเนินชีวิต  ทำให้ผู้คนในปัจจุบันมีโอกาสน้อยที่ที่ใช้เวลากับประเพณีและกิจกรรมต่างๆอย่างที่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ได้เคยใช้วิถีชีวิตเช่นนั้นมาทำให้คนไทยในปัจจุบันปรับเปลี่ยนค่านิยมของตนต่อดนตรีไทย โดยบรรดากิจกรรมที่ประกอบกันจนเป็นประเพณี พิธีกรรม  ความเชื่อ ที่มีมาแต่เดิมก็ห่างออกไป รวมทั้งเกิดช่องว่างของคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ ซึ่งช่องว่างดังกล่าวได้ส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของสังคมไทยที่มีต่อดนตรีไทย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

อิทธิพลของดนตรีต่อเศรษฐกิจ

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ทางดนตรีสากลที่ประดิษฐ์ขึ้น  เพื่อใช้ในการบันทึกบทเพลงต่างๆมิให้สูญหาย และเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล มีดังนี้       1.  บรรทัด 5 เส้น  (Staff)             บรรทัด 5 เส้น เป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีที่ผู้เรียนดนตรีสากลควรทราบต่อจากตัวโน้ตและตัวหยุด  เป็นสิ่งที่แสดงว่าตัวโน้ตที่บันทึกลงในบรรทัด  5 เส้นนี้มีระดับใด เสียงสูง  หรือต่ำ กว่าตัวโน้ตตัวอื่นๆ  หรือไม่        ลักษณะของบรรทัด 5 เส้น หรือเส้นบันทึกโน้ต เป็นเส้นตรงแนวนอน  5 เส้น ที่ขนานกันและมีระยะห่างเท่าๆกัน ใช้สำหรับบันทึกตัวโน้ตและตัวหยุด       วิธีการนับเส้นและช่อง จะนับจากเส้นข้างล่างขึ้นไปหาเส้นข้างบน ดังนี้         นอกจากบรรทัด 5 เส้น ซึ่งใช้เป็นหลักในการบันทึกตัวโน้ต  และตัวหยุดแล้ว  ยังมีเส้นที่ใช้ขีดใต้ บรรทัด 5 เส้น หรือ เหนือบรรทัด 5 เส้น เป็นเส้นสั้นๆ ที่ใช้ขีดเฉพาะตัวโน้ตที่มีระดับเสียงต่ำกว่า หรือมีระดับเสียงสูงกว่าเส้นที่ปรากฏในบรรทัด 5 เส้น เรียกเส้นสั้นๆนี้ว่า   เส้นน้อย  (Ledger Line)           2. ลักษณะตัวโน้ต และตัวหยุด               1) ตัวโน้ต   คือ เครื่องหมายที่ใช้บันทึกแสด

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี

อิทธิพลของดนตรีต่อเศรษฐกิจ

การสร้างสรรค์บทเพลง  หรือประพันธ์เพลงไทยแต่ละเพลง  เปรียบได้กับการประพันธืบทร้อยกรองในลักษณะต่างๆ เช่น  โคลง  ฉันท์  กาพย์   กลอน เป็นต้น เพราะการสร้งสรรค์บทเพลงไทยจะต้องพิจารณษนำเสียงแต่ละเสียงมาเรียบเรียงให้สอดประสานกลมกลืนกันอย่างเหมาะสมสามารถสื่ออารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ตามที่ตนต้องการถ่ายทอดให้แก่ผู้ฟังได้  ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงรูปแบบของเพลงแต่ละประเภทให้เป็นไปตามแบบแผนที่กำหนดไว้ด้วย เช่นเดียวกับการประพันธ์บทร้อยกรองต่างๆ ที่ผู้ประพันธ์ต้องคัดสรรคำแต่ละให้มีทั้งเสียงและความหมาที่สัมผัสคล้องจองกัน  มีสัมผัสใน  สัมผัสนอก  แบ่งวรรคตอนให้ครบถ้วนตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี มีดังนี้         ๑) ธรรมชาติ   เป็นสิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อจินตนาการของผู้ประพันธ์บทเพลงไทย  การได้เห็นธรรมชาติที่สวยงามไม่ว่าจะเป็นภูเขา  นำ้ตก ทะเล ต้นไม้ ดอกไม้ หรือได้ยินได้ฟังเสียงของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น เสียงคลื่น   ลม น้ำตก ฝน ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เสียงร้องของสัตว์ต่างๆ เป็นต้น ย่อมทำให้ศิลปิน  หรือผู้ที่ได้สัมผัสสิ่งต่างๆเหล่า่นั้น  เกิดจิน

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สุโขทัยและอยุธยา)

อิทธิพลของดนตรีต่อเศรษฐกิจ

การศึกษาเรื่องราวของดนตรีไทยนั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงแหล่งกำเนิด ความเป็นมา และวิวัฒนาการของดนตรีไท่ยในแต่ละยุคสมัย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้ง  มองเห็นคุณค่าของดนตรีไทย อันเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมประจำชาติไทย ซึ่งการแบ่งยุคสมัยทางดนตรีของไทยจะนิยมกำหนดตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  ดังต่อไปนี้           1. สมัยสุโขทัย            สมัยสุโขทัยนับเป็นสมัยเริ่มต้นที่คนไทยรวตัวกันเป็นชาติอย่างสมบูรณ์  แทนที่จะเป็นเพียงอาณาจักรที่มีเขตอิทธิพลอย่างจำกัดดังแต่กอ่น เรื่องราวของสุโขทัยมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยและจารึกเรื่องราวต่างๆ ลงในหลักศิลาจารึก  และจากศิลาจารึกนี้เองทำให้คนรุ่นหลังทราบว่าสมัยสุโขทัยเป็นยุคสมัยหนึ่งที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านสังคม เศรษฐกิจ  การเมือง  การทหาร  ภาษา  และศิลปวัฒนธรรม  ชาวเมืองมีเครื่องเล่นสร้างควงามรื่นเริงบันเทิงใจ  และมีอิสระเสรีที่จะแสดงออกในเรื่องราวของบทเพลงและดนตรี  เพลงและเรื่องราวของดนตรีบางส่วนจึงปรากฏอยู่บนหลักศิลาจารึก  เช่น ข้อความที่ว่า "เสียงพาทย์ เสียงพิณ  เสียงเลื่อน  เสียงขับ"