ความสําคัญของภาษี ด้านการศึกษา

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

ความสําคัญของภาษี ด้านการศึกษา

ใช้พัฒนาประเทศ

ภาษี เป็นแหล่งรายได้สำคัญของของภาครัฐแทบทุกประเทศ ลองนึกภาพว่ารัฐคือคนหนึ่งคน รัฐก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพื่อดูแลตัวเอง เช่น

  • จ่ายตลาดซื้อของกินของใช้
  • ลงทุนทําธุรกิจเพื่อความมั่งคั่ง
  • ซื้ออุปกรณ์รักษาความปลอดภัย
  • จ่ายค่ารักษาพยาบาล
  • จ่ายค่าเล่าเรียนเพื่อสร้างอนาคต
  • เลี้ยงรับรองเพื่อนบ้านเพื่อความสัมพันธ์อันดี ฯลฯ

จะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็เพื่อความอยู่ดีมีสุขของรัฐ สุดท้ายคนที่ได้รับประโยชน์ก็คือคนในรัฐนั่นเอง ถ้ารัฐมีรายจ่ายมากแต่มีรายรับไม่พอ ประเทศชาติก็อาจล้มละลายได้ ดังนั้น คนในรัฐจึงต้องช่วยกันสนับสนุนค่าใช้จ่ายของรัฐเพื่อ ความกินดีอยู่ดีของคนในรัฐด้วยกันเอง

ความสําคัญของภาษี ด้านการศึกษา

ใช้ดูแลความประพฤติของคนในสังคม

ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ ภาษี คือ เครื่องมือทางการคลังชนิดหนึ่งของรัฐ มีไว้สำหรับควบคุมพฤติกรรมของประชาชนได้ด้วย เช่น หากต้องการให้ประชาชนสูบบุหรี่น้อยลง ก็ใช้วิธีเพิ่มภาระภาษีบุหรี่เพื่อให้ผู้บริโภคมีต้นทุนที่สูงขึ้น หรือ หากต้องการให้ประชาชนวางแผนทำประกันชีวิต ก็ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับค่าเบี้ยประกันชีวิต เพื่อจูงใจให้ประชาชนทำประกันชีวิต เป็นต้น

ภาษีอาจจะมีพลังงานบางอย่างซ่อนอยู่ก็เป็นได้…

ความสําคัญของภาษี ด้านการศึกษา

รัฐไม่เก็บภาษีได้ไหม?

ความสําคัญของภาษี ด้านการศึกษา

สมมติว่ารัฐไม่มีรายได้จากเก็บภาษีแต่ยังคงมีรายจ่ายเหมือนเดิม เรามาดูกันว่ารัฐจะมีวิธีหาเงินมาจับจ่ายใช้สอยทางไหนได้อีกบ้าง

  • ทำธุรกิจส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การประปา และรัฐวิสาหกิจต่างๆ
  • เก็บค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียม
  • เอาทรัพย์สินออกมาให้เอกชนทำประโยชน์ เช่น สัญญาสัมปทาน
  • ขอกู้เงิน เช่น ออกพันธบัตรรัฐบาล
  • พิมพ์แบงค์เองซะเลย!

ชื่อเรื่อง:

ความสำคัญของภาษีอากรฝ่ายสรรพากรกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย

ผู้แต่ง:

บุญรอด โบว์เสรีวงศ์

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา

ชื่อปริญญา:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

ปริญญาโท

สาขาวิชา:

รัฐประศาสนศาสตร์

คณะ/หน่วยงาน:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2509

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

ความมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์เพื่อที่จะทราบถึงบทบาทของภาษีอากรฝ่ายสรรพากรต่อการส่งเสริมการลงทุนของเอกชนและเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญและแน่นอนเพื่อใช้จ่ายในการพัฒนาเศรษฐกิจว่ามีอยู่อย่างไรหรือไม่เพียงใด และมีข้อบกพร่องอันควรปรับปรุงแก้ไขเพียงใด ผู้เขียนได้กำหนดขอบเขตศึกษาเฉพาะภาษีสำคัญ ๆ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีการค้าของปีงบประมาณ 2508 มิได้รวมภาษีสรรพากรอื่น ในการศึกษาวิเคราะห์ ผู้เขียนได้พิจารณาทั้งในด้านตัวบทกฎหมายและผลของกฎหมายนั้น ๆ ประกอบกับการศึกษาถึงพฤติกรรมไปในคราวเดียวกัน
จากผลการศึกษาปรากฏว่า นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยอาศัยระบบภาษีอากร ฝ่ายสรรพากรและพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนของรัฐได้ผล เพราะหลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติแล้วได้มีการขอรับการส่งเสริมเพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็นผลให้คนไทยมีงานทำหลายหมื่นคน อันนับว่าเป็นการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย และจากการศึกษางบประมาณแผ่นดิน งบภาษีอากร งบพัฒนาเศรษฐกิจ งบภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ฯลฯ แสดงว่าภาษีสรรพากรเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญและแน่นอนเพื่อใช้จ่ายในการพัฒนาเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีก็ยังปรากฏว่าภาษีอากร ฝ่ายสรรพากรยังมีอุปสรรคอีกหลายประการซึ่งผู้เขียนก็ได้พิจารณาโดยละเอียดและได้เสนอแนะข้อแก้ไขไว้ดังต่อไปนี้ คือ .-
1. กฎหมายและระเบียบปฏิบัติภาษีอากร ควรจะได้ยกร่างขึ้นใหม่ให้รัดกุมขึ้น
2. ปัญหาการปฏิบัติในการจัดเก็บภาษีควรจัดเก็บให้ทั่วถึง อุดช่องโหว่ไม่ให้มีการหลีกเลี่ยงภาษี โดยให้การศึกษาประชาชนสูงขึ้น ปรับปรุงสมรรถภาพในการตรวจสอบภาษี หาวิธีควบคุมผู้เสียภาษี ฯลฯ และในด้านการบัญชีควรมีการวางระเบียบกฎหมายสำหรับ รูป แบบ และวิธีการบัญชีให้เหมาะสมแก่สภาพของกิจการแต่ละประเภท ควรส่งเสริมให้ใช้วัตถุดิบในประเทศให้มากขึ้น ใช้แรงงานคนไทยมากขึ้น
3. ปัญหาการวางระบบภาษีอากร ควรต้องมีการวิเคราะห์วิจัยสถิติข้อมูล เพื่อให้ทราบผลของภาษีอากร ตลอดจนภาระในการเสียภาษีอากร.
4. ปัญหาการบริหารงานจัดเก็บภาษีอากร ปัญหาที่เกี่ยวพันกัน ปัญหาการบริหารงานบุคคล ซึ่งควรจะได้มีการสอนหรืออบรมผู้เข้ารับราชการเกี่ยวกับหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติเสียก่อน และปัญหาเกี่ยวกับการจัดส่วนราชการ ซึ่งควรจะได้มีการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ให้มีการมอบหมายอำนาจและหน้าที่อย่างสมดุลย์และจะต้องกำหนดไว้ให้ชัดแจ้ง และให้แบ่งเบาอำนาจควบคุมบังคับบัญชาให้หน่วยงานทุกระดับในหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม
5. ปัญหาความรู้สึกรับผิดชอบในการเสียภาษีของประชาชน ควรได้ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจหน้าที่ในการเสียภาษี ให้เกลียดชังผู้หลีกเลี่ยงภาษี โฆษณาเผยแพร่ให้ประชาชนทราบถึงผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้จ่ายของรัฐ และให้มีการตรวจสอบผู้หลีกเลี่ยงให้รัดกุมและสม่ำเสมอ

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509.

หัวเรื่องมาตรฐาน:

ภาษี -- ไทย

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

128 หน้า.

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1118