จุดหมาย ของ นาฏย ศัพท์ ให้ นักเรียน เรียน รู้ และ ฝึก ปฏิบัติ ข้อ ใด สำคัญ ที่สุด

ความมุ่งหมายในการเรียนนาฏศิลป์

 การเรียนนาฏศิลป์มีความมุ่งหมายดังนี้

1.      เพื่อเป็นการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยทางศิลปะแก่ผู้เรียน

2.      เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจยิ่งขึ้น

3.      เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป

4.      เพื่อเป็นการฝึกให้รู้จักกล้าแสดงออก

ประโยชน์ในการเรียนนาฏศิลป์

            การเรียนนาฏศิลป์ทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้

1.      ทำให้เป็นคนรื่นเริงแจ่มใส

2.      มีความสามัคคีในหมู่คณะ

3.      สามารถยึดเป็นอาชีพได้

4.      ทำให้รู้จักดนตรีและเพลงต่าง ๆ

5.      ทำให้เกิดความจำและปฏิภาณดี

6.      ช่วยให้เป็นคนที่มีบุคลิกท่าทางเคลื่อนไหวสง่างาม

7.      ช่วยในการออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี

8.      ได้รับความรู้นาฏศิลป์จนเกิดความชำนาญ  สามารถปฏิบัติได้ดีมีชื่อเสียง

 คุณสมบัติของผู้เริ่มเรียนนาฏศิลป์

            การเรียนนาฏศิลป์ผู้ที่เริ่มเรียนควรมีคุณสมบัติดังนี้

1.      ต้องมีความสนใจและตั้งใจจริง

2.      ต้องทำใจให้รักและนิยมในศิลปะแขนงนี้

3.      ต้องมีสมาธิแน่วแน่ในขณะปฏิบัติ

4.      ต้องเป็นผู้ที่ช่างสังเกต

5.      ต้องพยายามเลียนแบบครูให้มากที่สุด

6.      ต้องเป็นผู้ที่ไม่ท้อถอยต่อความยากของบทเรียน  หรือความเมื่อยล้า

      ที่เกิดขึ้น

7.      ต้องเป็นผู้ที่ขยันในการทบทวนฝึกซ้อมท่ารำอยู่สม่ำเสมอ

จุดหมาย ของ นาฏย ศัพท์ ให้ นักเรียน เรียน รู้ และ ฝึก ปฏิบัติ ข้อ ใด สำคัญ ที่สุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นาฏยศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับลักษณะท่ารำ ที่ใช้ในการฝึกหัดเพื่อแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่าง ๆ[1] "นาฏย" หมายถึง เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เกี่ยวกับการแสดงละคร "ศัพท์" หมายถึง เสียง คำ คำยากที่ต้องแปล เรื่อง เมื่อนำคำสองคำมารวมกัน ทำให้ได้ความหมายขึ้นมา

การศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงโขน ละคร หรือระบำเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ก็ดี ท่าทางที่ผู้แสดงแสดงออกมานั้นย่อมมีความหมายเฉพาะ ยิ่งหากได้ศึกษาอย่างดีแล้ว อาจทำให้เข้าใจในเรื่องการแสดงมากยิ่งขึ้นทั้งในตัวผู้แสดงเอง และผู้ที่ชมการแสดงนั้น ๆ สิ่งที่เข้ามาประกอบเป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยนั้นก็คือ เรื่องของนาฏยศัพท์ ซึ่งแยกออกได้เป็นคำว่า "นาฏย" กับคำว่า "ศัพท์" ดังนี้

ประเภทของนาฏยศัพท์[2][แก้]

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. นามศัพท์หมายถึง ศัพท์ที่เรียกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลับมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมือ กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กะเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่2. กิริยาศัพท์หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา ซึ่งแบ่งออกเป็น
  • ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าทีให้ถูกต้องสวยงาม เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หักข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ดึงไหล่ กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวข้าง ทับตัว หลบเข่า ถีบเข่า แข็งเข่า กันเข่า เปิดส้น ชักส้น
  • ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำหรือท่วงทีของผู้รำที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รำรู้ตัวและแก้ไขท่าทีของตนให้ดีขึ้น เช่น วงล้า วงคว่ำ วงเหยียด วงหัก วงล้น คอดื่ม คางไก่ ฟาดคอ เกร็งคอ หอบไหล่ ทรุดตัว ขย่มตัว เหลี่ยมล้า รำแอ้ รำลน รำเลื้อย รำล้ำจังหวะ รำหน่วงจังหวะ
3. นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ดหมายถึง ศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์นอกเหนือไปจากนามศัพท์และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เดินมือ เอียงทางวง คืนตัว อ่อนเหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ทา ท่า-ที ขึ้นท่า ยืนเข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่ - พระน้อย นางกษัตริย์ นางตลาด ผู้เมีย ยืนเครื่อง

และอื่นๆ

นาฏยภาษา[แก้]

นาฏยภาษาหรือภาษาท่าทาง เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งที่ทั้งผู้ถ่ายทอดสาร (ผู้รำ) และผู้รับสาร (ผู้ชม) จำเป็นจะต้องเข้าใจตรงกัน จึงจะสามารถเข้าใจในความหมายของการแสดงออกนั้นได้อย่างถูกต้อง

การถ่ายทอดภาษาด้วยการเคลื่อนไหวของร่างกายนี้ ชาวสยามเรารู้จักใช้และเข้าใจกันมานานแล้ว จึงทำให้ภาษาการฟ้อนรำนี้พัฒนาด้วยกระบวนการทางอารยธรรมจนกลายเป็น "วิจิตรศิลป์" ดังนั้น อารยชนผู้ที่จะสามารถเข้าใจในภาษาท่าทางเหล่านี้ก็จะต้องทำความเข้าใจให้ตรงกับผู้รำเสียก่อน จึงจะสามารถดูละครรำของไทย

อ้างอิง[แก้]

  1. ลักษณะการรำไทย
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-21. สืบค้นเมื่อ 2008-06-03.

เพราะเหตุใดนักเรียนจึงต้องเรียนนาฏยศัพท์และภาษาท่า

๑. ช่วยพัฒนาการแสดงนาฏศิลป์ไทยให้มีความสวยงามได้มาตรฐาน ๒. ช่วยสื่อความหมายให้เข้าใจได้ตรงกันเมื่อเรียกและใช้ภาษานาฏศิลป์ต่างๆ ๓. ใช้เป็นแนวทางในการประดิษฐ์ท่าร่ายรำของการแสดงนาฏศิลป์ชุดต่างๆ

นาฏยศัพท์ใช้สําหรับข้อใด

นาฏยศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับลักษณะท่ารำ ที่ใช้ในการฝึกหัดเพื่อแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่าง ๆ "นาฏย" หมายถึง เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เกี่ยวกับการแสดงละคร "ศัพท์" หมายถึง เสียง คำ คำยากที่ต้องแปล เรื่อง เมื่อนำคำสองคำมารวมกัน ทำให้ได้ความหมายขึ้นมา

นาฏยศัพท์หมายความว่าอย่างไรมีความสำคัญอย่างไร

นาฏยศัพท์ (นาด-ตะ-ยะ-สับ) หมายถึง ศัพท์หรือคาที่ใช้เกี่ยวกับ ลักษณะท่ารา และท่าใช้ในการฝึกหัดเพื่อแสดงโขน ละคร เป็นคาที่ใช้กัน และเข้าใจในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายใน การแสดงต่างๆ

ท่านาฏยศัพท์ มีอะไรบ้าง

นาฏยศัพท์แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ นามศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่เรียกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลัดมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมื กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กระเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่