วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และละครไทย

4.4 การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปืด โทน ทับ กรับพวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต ศิลปาต่างๆ เข่น ระบำร่อนแต่ การีดยาง ปาเตต๊ะ เป็นต้น

ประเภทของนาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1.รำ คือการแสดงที่มุ่งเน้นถึงศิลปะท่วงท่า ดนตรี ไม่มีการแสดงเป็นเรื่องราว รำบางชุดเป็นการชมความงาม บางชุดตัดตอนมาจากวรรณคดี หรือบางทีก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเนื้อเพลงเช่นการรำหน้าพาทย์เป็นต้น รำจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
1.1 รำเดี่ยว เป็นการแสดงที่มุ่งอวดศิลปะทางนาฏศิลป์อย่างแท้จริงชึ่งผู้รำจะต้อมมีผีมือดีเยี่ยม เพราะเป็นการแสดงที่แสดงแต่เพียงผู้เดียว รำเดี่ยวโดยส่วนมากก็จะเป็นการรำฉุยฉายต่างๆ เช่น ฉุยฉายเบญจกาย ฉุยฉายวันทอง ฯลฯ เป็นต้น
1.2 รำคู่ การแสดงชุดนี้ไม่จำเป็นจะต้องพร้อมเพียงกันแต่อาจมีท่าที่เหมือนก็ได้ เพราะการรำคู่นี้เป็นการใช้ลีลาที่แตกต่างกันระหว่างผู้แสดงสองคน เช่นตัวพระ กับตัวนาง หรือบทบาทของตัวแสดงนั้น รำคู่นี้ก็จะแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ 1.2.1 รำคู่สวยงามจากวรรณคดี เช่น หนุมานจับนาสุพรรณมัจฉา เป็นต้น 1.2.2 รำมุ่งอวดการใช้อุปกรณ์ เช่น การรำอาวุธ รำกระบี่กระบอง
1.3 รำหมู่ รำชุดนี้เป็นการรำที่เน้นความพร้อมเพรียง เช่นรำอวยพรชุดต่างๆ
1.4 รำละคร คือการรำที่ใช้ในการแสดงละครหรือโขน เป็นการแสดงท่าท่างสื่อความหมายไปกับบทร้อง หรือบทละคร และเพลงหน้าพาทย์ต่างๆในการแสดงละคร
2.ระบำ คือการแสดงที่มีความหมายในตัวใช้ผู้แสดงสองคนขึ้นไป คือผู้คิดได้มีวิสัยทัศน์และต้องการสื่อการแสดงชุดนั้นผ่านทางบทร้อง เพลง หรือการแต่งกายแบบ ที่มาจากแรงบัลดาลใจ จากเรื่องต่างๆเช่นวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และเป็นการแสดงที่จบในชุดๆเดียว เป็นต้น ระบำ จะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
2.1 ระบำมาตรฐาน เป็นระบำที่บรมครูทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นไว้ ทั้งเรื่องเพลง บทร้อง การแต่งกาย ท่ารำ ซึ่งไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ระบำมาตรฐานจะมีอยู่ทั้งหมด 6ชุด คือ ระบำสี่บท ระบำย่องหงิดหรือยู่หงิด ระบำพรมมาตร ระบำดาวดึงส์ ระบำกฤษดา ระบำเทพบันเทิง
2.2 ระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เป็นระบำที่บรมครูหรือผู้รู้ทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นและปรับปรุงชึ้นมาใหม่ ชึ่งสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาส อาจเป็นระบำที่ได้แรงบัลดาลใจที่ผู้ประดิษฐ์ต้องการสื่ออาจเป็นเรื่องของการแต่งกาย วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ระบำปรับปรุงมีอยู่หลากหลายเช่น ระบำชุมนุมเผ่าไทย ระบำไกรราศสำเริง ระบำไก่ ระบำสุโขทัย ฯลฯ เป็นต้น
ฟ้อน และ เซิ้ง ก็จัดว่าเป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เพราะผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นขึ้นมา มีการแต่งการตามท้องถิ่นเพราะการแสดงแต่ละชุดได้เกิดขึ้นมาจากแรงบัลดาลใจของผู้คิดที่จะถ่ายทอดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิถีชีวิต การแต่งกาย ดนตรี เพลง และการเรียกชื่อการแสดงนั้น จะเรียกตาม ภาษาท้องถิ่น และการแต่งกายก็แต่งกายตามท้องถิ่น เช่นภาคเหนือก็จะเรียกว่าฟ้อน เช่นฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ภาคอิสานก็จะเรียกและแต่งกายตามท้องถิ่น ทางภาคอิสานเช่น เซิ้งกะติ๊บข้าว เซิ้งสวิง เป็นต้น การแสดงต่างๆล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นมาจากท้องถิ่นและแต่งกายตามท้องถิ่นไม่ได้มีหลักหรือ เกณฑ์ที่ใช้กันโดยทั่วไปในวงการนาฏศิลป์ไทยทั่วประเทศสามารถปรับปรุงหรื่อเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาสที่แสดง จึงถือว่า การฟ้อนและการเซิ้งเป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่
3. ละคร คือการแสดงเรื่องราวโดยมีตัวละครต่างดำเนินเรื่องมีผูกเหตุหรือการผูกปมของเรื่อง ละครอาจประกอบไปด้วยศิลปะหลายแขนงเช่น การรำ ร้อง หรือดนตรี ละครจะแบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่ 3.1 ละครแบบดั้งเดิม มีอยู่สามประเภท คือ โนห์ราชาตรี ละครนอก ละครใน 3.2 ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ มีอยู่หกประเภท ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง ละครเสภา ละครพูด ละครร้อง ละครสังคีต
4.มหรสพ' คือการแสดงรื่นเริง หรือการแสดงที่ใช้ในงานพิธีต่างๆ มีรูปแบบและวิธีการแสดงที่เป็นแบบแผน เช่น การแสดงโขน หนังใหญ่เป็นต้น

โขนตอนพระรามตามกวาง

เป็นตอนหนึ่งของการแสดงโขนชุดรามเกียรติ์ กล่าวถึง กวางทอง คือ มารีจพระยายักษ์เป็นลูกของนางกากนาสูร ซึ่งรับพระราชบัญชาของทศกัณฐ์ แปลงกายเป็นกวางทอง มาล่อหลอกให้นางสีดาเกิดความรักใคร่อยากได้ พระรามจึงเสด็จตามกวางทองไปในป่า จุดเด่นของการแสดงชุดนี้อยู่ที่ ท่ารำของพระรามและกวางทอง ที่หนีและไล่ในท่วงทีลีลานาฏศิลป์โขน ตามทำนองและจังหวะเพลง โดยเฉพาะในเพลงหน้าพาทย์เชิดฉาน ซึ่งมีท่วงทำนองที่ระทึกใจ ตื่นเต้น เมื่อกวางทอง

วิถีชีวิตคนไทยในยุคนี้เปลี่ยนไปจากเดิมเพราะได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตก ศิลปะการแสดงได้มีการพัฒนาไปอีกรูปแบบหนึ่ง

เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม  

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงฟื้นฟูนาฏศิลป์ และการละครโดยโปรดเกล้าฯ

ให้ครูละครหลวงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า

เจ้าอยู่หัว ร่วมกันแสดงเรื่อง

สังข์ทอง เพื่อให้เยาวชนได้เห็นแบบแผนฝีมือครูและโปรดเกล้าฯ ให้ครูละครหลวงในรัชกาลที่ ๔ แสดงละครเรื่องอิเหนา

ทรงสนับสนุนให้เจ้านายและเอกชนจัดตั้งคณะละครขึ้นมากมาย เช่น

๑. คณะละครของพระองค์

เจ้าสิงหนาทราชดุรงฤทธิ์

 เป็นคณะละครที่มีฝีมือดีในการรำ

และได้แสดงในงานหลวงมากกว่าละครคณะอื่นๆ แสดงละครนอก

ในสมัยต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงร่วมกับเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์

ทรงคิดและปรับปรุงขึ้นเป็นละครรูปแบบใหม่เรียกว่า

“ละครดึกดำบรรพ์”

๒. ละครของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ญ เพ็ญสกุล)

เกิดตั้งแต่สมัย   รัชกาลที่ ๔  

แสดงเรื่อง ดาหลัง ต่อมาแสดงทั้งละครใน และละครนอกมีผู้นิยมเป็นอย่างมาก    จากสาเหตุนี้ทำให้มีการแต่งบทละครใหม่ขึ้นเป็นจำนวนมากและมีการเก็บเงินเข้าชมเป็นครั้งแรกในโรงละคร

ที่มีชื่อว่า

“ปรินซ์เธียเตอร์”

๓. ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ แสดงทั้งละครนอกและละครในแต่เดิมชื่อว่า “ละครหลวงนฤมิตร” ต่อมาเปลี่ยนเป็นแสดงละครร้อง ตั้งโรงละครขึ้นในพระบรมมหาราชวังที่แพร่งนรา เรียกว่า “ละครปรีดาลัย”

วิวัฒนาการของนาฏศิลป์และละครไทยมีกี่สมัย *

นาฏศิลป์ไทยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี เรื่อยมาจนสมัย รัตนโกสินทร์ถึงปัจจุบัน ซึ่งมีการพัฒนาไปตามแต่ละยุคสมัย คงความเป็นเอกลักษณ์ซึ่งเป็น มรดกของชาติที่ทรงคุณค่า ควรได้รับการอนุรักษ์และสืบทอดให้คงอยู่ต่อไป

นาฏศิลป์ไทยมีวิวัฒนาการมาจากอะไร

เป็นการแสดงประเภทระบำ รำ ฟ้อน มีวิวัฒนาการมาจากการละเล่นของชาวบ้าน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจหลังจากเสร็จงาน หรือแสดงในงานบุญ งานรื่นเริงประจำปี ปรากฏในหนังสือไตรภูมิพระร่วงฉบับพระมหาราชาลิไทว่า “บ้างเต้น บ้างรำ บ้างฟ้อน ระบำบันลือ” แสดงให้เห็นรูปแบบของนาฏศิลป์ที่ปรากฏในสมัยนี้ คือ เต้น รำ ฟ้อน และระบำ

ละครไทยที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยามีอะไรบ้าง

สมัยอยุธยามีละคร 3 ประเภทคือ ละครชาตรีซึ่งเป็นละครดั้งเดิม ละครนอกที่แก้ไขมาจาก ละครชาตรี และละครในเป็นละครของผู้หญิง มีบทละครสำหรับแสดงละคร 22 เรื่อง เช่น มโนห์รา คาวี อิเหนา อุณรุท รามเกียรติ์ ดาหลัง

วิวัฒนาการของละครไทยเริ่มตั้งแต่สมัยใด

สมัยกรุงศรีอยุธยาละครไทยเริ่มจัดระเบียบแบบแผนให้รัดกุมยิ่งขึ้น มีการตั้งชื่อละครที่เคยเล่นกันอยู่ให้เป็นไปตามหลักวิชานาฏศิลปขึ้น มีการแสดงเกิดขึ้นในสมัยนี้หลายอย่าง เช่น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน โขน การแสดงบางอย่างก็รับวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน และวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมได้ ละครไทยเริ่มจัดระเบียบแบบแผนให้รัดกุมยิ่งขึ้น มี ...