การดำเนินงาน ด้าน สิ่งแวดล้อม ขององค์กรเอกชน ใด ถูก ต้อง เหมาะสม ที่สุด

การดำเนินงาน ด้าน สิ่งแวดล้อม ขององค์กรเอกชน ใด ถูก ต้อง เหมาะสม ที่สุด

การดำเนินงาน ด้าน สิ่งแวดล้อม ขององค์กรเอกชน ใด ถูก ต้อง เหมาะสม ที่สุด

รู้จัก “มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (ประเทศไทย) หรือ FEED

ก้าวแรกสู่ “มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (ประเทศไทย) หรือ FEED

กว่า 15 ปี ที่ WWF ประเทศไทย ได้ดำเนินงานโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา และคิดค้นต้นแบบศูนย์ศึกษาธรรมชาติ และการดำเนินงาน ที่เหมาะสมกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสังคมไทย WWF GMPO (World Wide Fund for Nature Greater Mekong Program Office) ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรความ หลากหลายทางชีวภาพที่เอื้อประโยชน์ ทั้งต่อการพัฒนาและการอนุรักษ์ได้อย่างสมดุลในการที่จะนำไปสู่หลักการบริหาร จัดการและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development )จึงได้ผลักดันการดำเนินงานสิ่งแวดล้อมศึกษาให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น อันจะส่งผลขยายงานในระดับกว้างไปยังพื้นที่อื่นทั้งนี้ ทีมงานสิ่งแวดล้อมศึกษา WWF ประเทศไทยได้ดำเนินการรวมศูนย์ศึกษาธรรมชาติ ทั้ง 3 ศูนย์ฯ ในขณะนั้น และยื่นขอจดทะเบียนเป็น “มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย)” หรือFoundation for Environmental Education for Sustainable Development (Thailand) : FEED ขึ้น โดยได้รับรอง การขึ้นทะเบียนเป็นมูลนิธิจากกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2554 และได้รับการขึ้นทะเบียนเลขที่ 4/2555เป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2555

การดำเนินงาน ด้าน สิ่งแวดล้อม ขององค์กรเอกชน ใด ถูก ต้อง เหมาะสม ที่สุด

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน
ด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2. เพื่อจัดตั้งและสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์ศึกษาธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน
3. เพื่อส่งเสริมงานการศึกษาการพัฒนาและฝึกอบรมเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมถึง
การใช้พลังงานอย่างยั่งยืน
4. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพเกษตรกรรมหัตถกรรมอุตสาหกรรมที่เหมาะสม และกิจกรรมการท่องเที่ยว
เชิงนิเวศที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
6. ดำเนินการใดๆ ในการป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ
7. เพื่อดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลเพื่อการกุศลและองค์กรสาธารณประโยชน์เพื่อสาธารณประโยชน์

วิสัยทัศน์ (VISION)

เป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติด้วยการปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์และพฤติกรรมของบุคคลและ สังคม ผ่านกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

“Leadership in the conservation of the environment and natural resources, by promoting the process of Environmental Education for Sustainable Development ”

ภารกิจ (MISSION)

ให้ความรู้ สร้างความตระหนักกับเยาวชนและบุคคลทั่วไปในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ด้วยกระบวนการ สิ่งแวดล้อมศึกษา ส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยวิถี ชีวิตที่พอเพียง ส่งเสริม การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและสร้างเครือข่ายพันธมิตรสิ่งแวดล้อมศึกษา บูรณาการความรู้ด้านการอนุรักษ์ในแต่ละศาสตร์ ให้เกิดองค์ความรู้อย่างเป็นรูปธรรมและสามารถชี้วัดได้

การดำเนินงานของมูลนิธิ

มูลนิธิฯ มีการดำเนินงานนโยบายและการดำเนินงานอิสระจาก WWF มุ่งสร้างอนาคตที่เข้มแข็งเพื่อให้มนุษย์และธรรมชาติอยู่ร่วมกัน อย่างสมดุลบนโลกใบนี้ โดยใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาและการบูรณาการสาระการเรียนรู้ด้วยธรรมชาติโดยหวังว่าเยาวชน คนรุ่นใหม่จะมีความตระหนัก ความคิด ทัศนคติ และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้เพื่อดูแลรักษา และหวงแหนธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม ตลอดจนการบริโภคและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาดและคุ้มค่า ทั้งนี้ มูลนิธิฯ ได้ดำเนินการสนับสนุนงานหลักๆ ดังต่อไปนี้

1. บริหารจัดการศูนย์ศึกษาธรรมชาติ จัดทำนโยบาย กำกับดูแลศูนย์ศึกษาธรรมชาติ จัดทำหลักสูตรและกระบวนการด้านสิ่งแวดล้อม ศึกษาเพื่อสร้างเยาวชนที่รักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเช่น หลักสูตรสิ่งแวดล้อม ศึกษา ค่ายเยาวชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ค่ายเรียนรู้พลังงานและภาวะโลกร้อน และค่ายบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงเป็นต้น โดยปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนผ่านหลักสูตรและกระบวนการดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 30,000 คนจากศูนย์ศึกษา ธรรมชาติ ทั้งนี้ทางมูลนิธิฯ มุ่งหวังที่จะขยายศูนย์ศึกษาธรรมชาติไปยังภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ เพื่อครอบคลุมทั่วประเทศ ต่อไปในอนาคต ปัจจุบันมูลนิธิฯ ดำเนินการบริหารจัดการ 2 ศูนย์ศึกษาฯ ได้แก่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิม พระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี จังหวัดสมุทรปราการ และ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและระบบนิเวศเกษตร จังหวัดปทุมธานี

2. ดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา กิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กิจกรรมลดภาวะโลกร้อน การอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ที่สำคัญและใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงการ ป้องกันและรับมือภัยพิบัติต่างๆ

3. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเกิดความร่วมมือในการจัดทำกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาตั้งแต่ ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ

4. ประสานความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรม CSR ของภาคธุรกิจเอกชนให้สอดคล้องกับการอนุรักษ์ความหลากหลาย ทางชีวภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา ในกลุ่มเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และชุมชน

ก่อนมาเป็น “มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย)”

WWF เป็นองค์กรเอกชนที่ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เริ่มเข้ามาสนับสนุนงานในประเทศไทย
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 โดยการสนับสนุนมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จนกระทั่งปี พ.ศ.2536
ได้ตั้งสำนักงานกลางขึ้นในประเทศไทยที่ จ.ปทุมธานี และดำเนินโครงการอันเกื้อกูลประโยชน์แก่ระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมทั่วประเทศ
นับแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งในปี พ.ศ.2548 ได้รวมกับประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม ขึ้นภายใต้ชื่อWWF Greater Mekong
Programme Office

WWF มีบทบาทสำคัญในการรณรงค์อนุรักษ์สภาพแวดล้อมของโลก และได้ประกาศให้พื้นที่ 200 แห่ง (The Global 200: Key
Ecoregions for Saving Life on Earth) ซึ่งเป็นตัวแทนของความหลากหลายทางชีวภาพของโลกเป็นพื้นที่ที่ต้องปกป้องรักษาไว้
อย่างเร่งด่วนเพื่อคนรุ่นหลัง ในประเทศไทย WWF ได้ให้ความสำคัญกับผืนป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร หัวใจของผืนป่าเทือกเขา
ถนนธงชัยและตะนาวศรีหรือผืนป่าตะวันตก ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของ Global 200 ในปี พ.ศ.2541- 2543 WWF ได้นำกระบวนการ
สิ่งแวดล้อมศึกษามาใช้เป็นแนวทางอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตกให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งประสานความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ
กรมป่าไม้ และหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ “โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาห้วยแม่ดีเพื่ออนุรักษ์ป่าตะวันตก จ.อุทัยธานี” โดยมีวัตถุ
ประสงค์เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพผืนป่าตะวันตกและส่งเสริมให้ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบผืนป่ามีการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย
การพัฒนาทักษะทางด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาให้กับบุคลากรหลักต่อมาในปี พ.ศ. 2544ได้สานต่อโครงการเพื่อครอบคลุมทั่วประเทศโดยมี
กระทรวงศึกษาธิการเป็นแกนกลางในการดำเนินงานภายใต้ “โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียน (SEET)”