พีระมิดประชากรไทย ปัจจุบัน

Show

สำมะโนประชากรและเคหะ

     นานาสาระ ข้อมูลประชากร

     แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากรที่สำคัญที่สุดของประเทศคือ   สำมะโนประชากรและเคหะ  ซึ่งเป็นโครงการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำนักงานสถิติแห่งชาติจัดทำทุก 10 ปี   ข้อมูลจากโครงการสำมะโนประชากรและเคหะเป็น ข้อมูลแบบปฐมภูมิ คือข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูลโดยตรง โดยวิธีส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสัมภาษณ์ครัวเรือน เพื่อนับจำนวนประชากรของทั้งประเทศ ภาพด้านล่างนี้แสดงจำนวนประชากรของประเทศไทย ในปี 2523, ปี 2533 และปี 2543 (หน่วยเป็นล้านคน)

ปิรามิดประชากร
(Population Pyramid)​​
​​

โครงสร้างอายุและเพศ
(Age-Sex Structure)

ปิรามิดประชากร (Population Pyramid) คือรูปกราฟแท่งแนวนอน ที่แสดงให้เห็นโครงสร้างของประชากรจำแนกตามเพศและหมวดอายุ (ส่วนใหญ่ 5 ปี) โดยอาจแสดงเป็นจำนวนประชากรหรือเป็นสัดส่วน (ร้อยละ) ของประชากรในแต่ละหมวดอายุก็ได้ เพื่อให้เปรียบเทียบเห็นความแตกต่างของข้อมูลระหว่างทั้งสองเพศได้ชัดเจน กราฟแท่งแทนข้อมูลของเพศชายและหญิงจะวางคู่กันไว้ด้านขวาและด้านซ้ายของแกนปิรามิด สำหรับแต่ละหมวดอายุ โดยอายุน้อยที่สุดจะอยู่แท่งล่างสุด เริ่มตั้งแต่หมวดอายุ 0 - 4 ปี, 5 - 9 ปี สูงขึ้นเรื่อยๆ ด้านบนสุดคือหมวดอายุที่สุงที่สุด ซึ่งจะมีจำนวนประชากรน้อยกว่าหมวดอายุอื่นๆ ทำให้ส่วนบนเป็นยอดแหลม จึงเรียกว่าปิรามิด รูปร่างของปิรามิดจะแสดงให้เห็นถึงผลสะสมของการเกิด การตายและการย้ายถิ่น เช่น

  • ถ้าอัตราเกิดยังคงสูงขึ้น ประชากรในวัยเด็กจะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ฐานของปิรามิดจะกว้างออก ถ้าอัตราเกิดกำลังลดลง ฐานของปิรามิดจะค่อยๆ แคบเข้า
  • ถ้าอัตราตายลดลง อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสุขอนามัยที่ทำให้คนอายุยืนขึ้น ยอดของปิรามิดซึ่งแสดงถึงจำนวนประชากรวัยสูงอายุก็จะค่อยๆ กว้างออก
  • การตายในสงครามหรืออุบัติเหตุที่เกิดจากก​ารใช้ชีวิตโลดโผนในหมู่วัยรุ่นชาย อาจทำให้จำนวนประชากรชายน้อยกว่าหญิงในหมวดอายุเดียวกัน ซึ่งจะแสดงให้เห็นจากแท่งกราฟด้านซ้ายจะสั้นกว่าด้านขวา

​   สำหรับการย้ายถิ่นมีผลต่อโครงสร้างของปิรามิดไม่มากนัก เนื่องจากจำนวนผู้ย้ายถิ่นสุทธิจะมีไม่มากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรของทั้งประเทศ

โครงสร้างอายุและเพศ (Age-Sex Structure)​หมายถึง ส่วนประกอบของประชากรของประเทศ ที่จำแนกตามเพศและชายหญิงและหมวดอายุ (5 ปี) ซึ่งมักจะแสดงในรูปปิรามิดประชากร (Population Pyramid) หน่วยของประชากรที่แสดงในปิรามิดอาจจะใช้เป็นพันคน หรือล้านคน รูปร่างของปิรามิดจะแสดงให้เห็นถึงผลสะสมของการเกิด การตายและการย้ายถิ่น (ดูเรื่องปิรามิดประชากรประกอบ)

 ​​จำนวนประชากรของประเทศไทย (ล้านคน)​

ปี 2523

พีระมิดประชากรไทย ปัจจุบัน

44.8​

ปี 2533

พีระมิดประชากรไทย ปัจจุบัน
​​

54.5

ปี 2543

พีระมิดประชากรไทย ปัจจุบัน
 

60.9

ปี 2553

ะเริ่มนับวันที่
1 กรกฎาคม
2553

 ที่มา: สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2523 - 2543

    จำนวนประชากรเป็นรายอายุ คือตั้งแต่อายุ 1 ปีจนถึง 98 ปีขึ้นไป มีจำนวนเท่าใดในแต่ละอายุ อยู่จังหวัดไหนบ้าง และอยู่ในเขตหรือนอกเขตเทศบาลกี่คน คลิกเข้าไปดูข้อมูลได้ที่    ตารางข้อมูลสำมะโนประชากร   (ตารางที่ 2)​

     ข้อมูลจำนวนประชากรตามหมวดอายุ นอกจากจะนำเสนอในรูปตารางข้อมูลแล้ว ยังนิยมแสดงด้วยแผนภูมิกราฟที่เรียกว่า ปิรามิดประชากร (Population pyramid) ภาพด้านล่างนี้ คือโครงสร้างอายุและเพศของประชากรไทยระหว่างปี 2513 - 2543 ซึ่งแสดงในรูปปิรามิด​

โครงสร้างอายุและเพศของประชากรไทย (ร้อยละ)​

ปี 2513

พีระมิดประชากรไทย ปัจจุบัน
​​

ปี 2523

พีระมิดประชากรไทย ปัจจุบัน

ปี 2533

พีระมิดประชากรไทย ปัจจุบัน

ปี 2543

พีระมิดประชากรไทย ปัจจุบัน

ที่มา: สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2543​

มารู้จักกับปิรามิดประชากรกันก่อน เพื่อจะได้ทราบว่าข้อมูลเกี่ยวกับอายุจากปิรามิดบอกอะไรบ้าง ด้านซ้ายของปิรามิดเป็นข้อมูลประชากรเพศชาย ด้านขวาเป็นข้อมูลของเพศหญิง กราฟแท่งที่วางแนวนอนซ้อนกันเป็นชั้นๆ แต่ละแท่งแทนข้อมูลแต่ละหมวดอาย ความสูงของแท่งด้านแนวตั้ง คือหมวดอายุ หมวดละ 5 ปี เริ่มตั้งแต่แท่งล่างสุด แทนอายุ 0 - 4 ปี,  จนถึงแท่งบนสุดแทนหมวดอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป  ความยาวของแท่งกราฟไปทางด้านแนวนอน โดยทั่วไปคือจำนวนประชากรในหมวดอายุนั้น ถ้าแท่งไหนยาวกว่า ก็แสดงว่ามีจำนวนประชากรในหมวดอายุนั้นมากกว่าของแท่งที่สั้นกว่า

     สำหรับปิรามิดในภาพ แสดงประชากรในแต่ละหมวดอายุเป็นร้อยละแทนที่จะเป็นจำนวนคน โดยให้จำนวนประชากรทั้งสิ้นของประเทศมีค่าเท่ากับหนึ่งร้อย ความยาวของแท่งกราฟคือสัดส่วนหรือร้อยละของประชากรในเพศและหมวดอายุนั้น เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งสิ้นของประเทศ

     การปรับฐานให้จำนวนประชากรทั้งสิ้นในแต่ละปีเท่ากับ 100 ทำให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูลได้หลายมิติ เช่น  เปรียบเทียบร้อยละของประชากรเพศเดียวกันแต่ต่างหมวดอายุกัน หรือหมวดอายุเดียวกันแต่ละคนเพศ หรือเปรียบเทียบข้อมูลของอายุและเพศเดียวกันแต่ต่างปี  เป็นต้น

     นอกจากจะแสดงข้อมูลจำนวนหรือสัดส่วนประชากรในแต่ละเพศและหมวดอายุตามที่กล่าวแล้ว ปิรามิดประชากรทั้ง 4 ภาพ ยังแสดงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของไทยระหว่างปี 2513 - 2543 และแสดงผลของนโยบายด้านประชากรในระยะเวลาต่างๆ ได้อย่างชัดเจน

     จากภาพแรกจะเห็นได้ว่าในปี 2513 ปิรามิดเป็นรูปทรงเจดีย์ เนื่องจากประชากรในวัยเด็กมีสัดส่วนสูง ฐานของปิรามิดจึงกว้าง ในขณะที่ส่วนยอดแหลมคือกลุ่มของผู้สูงอายุนั้น มีสัดส่วนต่ำมากเมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศ 

​ 

     สิบปีต่อมา ในปี 2523 สัดส่วนประชากรในวัยเด็กลดลงด้วยความมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องของนโยบายคุมกำเนิดของภาครัฐ แท่งกราฟของกลุ่มเด็กอายุ 0 - 4. และ 5 - 9 ปี ที่ฐานปิรามิดหดสั้นลง ทำให้ฐานของปิรามิดแคบเข้าอย่างเห็นได้ชัด

     ​ต่อมาในปี 2533 สัดส่วนของประชากรวัยเด็กยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากฐานของปิรามิดที่ยังคงแคบเข้ามามากกว่าเดิม ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุเริ่มจะมีสัดส่วนสูงขึ้นเนื่องจากความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่ทำให้อัตราตายด้วยโรคต่างๆ ลดลง และประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น  ซึ่งสัดส่วนผู้สูงอายุที่สูงขึ้นยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเห็นได้ชัดเจนในปี 2543

ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2564 มีพีระมิดประชากรแบบใด

พีระมิดทรงกรวยปากแคบ หรือ พีระมิดแบบคงที่ (Stationary Pyramid) แสดงถึงโครงสร้างของประชากรที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ มีรูปแบบของอัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรที่ค่อนข้างต่ำ สามารถพบโครงสร้างอายุประชากรลักษณะนี้ได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา และไทย เป็นต้น

พีระมิดประชากร ไทย เป็น แบบ ไหน

2. พีระมิดแบบคงที่(stationary pyramid) เป็นพีระมิดประชากรที่มีรูปแบบคล้าย ทรงกรวยปากแคบ หรือมีโครงสร้างประชากรในแต่ละช่วงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งแสดงถึง รูปแบบของอัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรที่ต่ํา พบโครงสร้างประชากรแบบนี้ได้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ไทย เป็นต้น

ปัจจุบันสถานการณ์ทางประชากรของประเทศไทยอยู่ในระดับใด

ประเทศไทยมีขนาดของประชากรประมาณ 1% ของประชากรโลกและมีการเพิ่มขึ้นของประชากรประมาณ 1 ใน 140 ส่วน ของการเพิ่มประชากรโลก หรืออาจกล่าวได้ว่าทุก 1 นาที โลกจะมีเด็กเกิดใหม่ 140 คน ในขณะที่ประเทศไทยทุก 1 นาที จะมีประชากรไทยเพิ่มขึ้น 1 คน ซึ่ง 1 คนที่เพิ่มขึ้นนี้อาจจะเป็นเด็กเกิดใหม่ หรืออาจจะเป็นการเพิ่มโดยการย้ายถิ่นเข้ามา

คนไทยมีกี่คน 2565

300,336. มกราคม - กรกฎาคม 2565 = 270,454.