สาเหตุ ของ ปัญหา น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

การมีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานสามารถบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้มากพอกับคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ถ้าน้ำหนักต่ำเกินไป นั่นก็หมายความว่าร่างกายอาจไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต้องใช้สำหรับสร้างกระดูก ผิว และเส้นผม ในขณะที่บางคนอาจมีประวัติคนในครอบครัวที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน หรือเป็นโรคที่ป้องกันไม่ให้คุณเพิ่มน้ำหนักได้สำเร็จ

เมื่อไรถึงจะเรียกว่ามีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน?

The Centers for Disease Control  and  Prevention แนะนำให้เราใช้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เพื่อคำนวณว่ามีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน น้ำหนักที่อยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ หรือมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน การใช้ BMI ถือเป็นตัววัดน้ำหนักที่ดี เพราะมีการเปรียบเทียบน้ำหนักและส่วนสูง ตัวอย่างเช่น คนที่มีน้ำหนัก 170 ปอนด์ อาจมีน้ำหนักไม่เกินมาตรฐานถ้าตัวสูงมาก แต่อาจมีน้ำหนักเกินมาตรฐานถ้าตัวเตี้ย เราสามารถประเมินค่า BMI ได้ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 25650 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กด

สาเหตุ ของ ปัญหา น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

  • น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน: BMI น้อยกว่า 18.5
  • น้ำหนักปกติ: BMI อยู่ในช่วง 18.5-24.9
  • น้ำหนักมากกว่ามาตรฐาน: BMI อยู่ในช่วง 25.0-29.9
  • อ้วน: BMI เท่ากับ 30 หรือมากกว่านี้

อย่างไรก็ตาม การคำนวณเหล่านี้อาจไม่แม่นยำในคนที่เป็นนักกีฬาที่มีกล้ามเนื้อมาก เพราะว่ากล้ามเนื้อมีน้ำหนักมากกว่าไขมัน

ความเสี่ยงของการมีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน

  • โรคกระดูกพรุน: มีงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ.2016 พบว่า การมีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานจะทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนมากขึ้น ซึ่งกระดูกจะเปราะและมีโอกาสหักได้ง่ายขึ้น
  • มีปัญหาผิว ผม หรือฟัน: ถ้าคนได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ มันก็อาจแสดงอาการผ่านทางร่างกาย เช่น ผิวบาง ผมร่วง ผิวแห้ง สุขภาพช่องปากไม่ดี ฯลฯ
  • ป่วยบ่อย: หากเราไม่ได้รับพลังงานจากอาหารอย่างเพียงพอ ร่างกายก็อาจไม่มีสารอาหารมากพอที่จะไปต่อสู้กับการติดเชื้อ ส่งผลให้คุณป่วยบ่อย และใช้เวลานานขึ้นในการฟื้นตัวจากโรคที่พบได้ทั่วไปอย่างโรคหวัด
  • รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา: การได้รับแคลอรีไม่เพียงพออาจทำให้เรารู้สึกอ่อนเพลีย
  • โรคโลหิตจาง: คนที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนเม็ดเลือดต่ำ หรือที่รู้จักกันในนามของโรคโลหิตจาง ซึ่งสามารถทำให้ผู้ป่วยเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ และอ่อนเพลีย
  • มีประจำเดือนมาไม่ปกติ: ผู้หญิงที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานอาจมีประจำเดือนที่ไม่ปกติ พวกเขาอาจพบว่าประจำเดือนหยุดมา  มาช้า หรือหายไป
  • คลอดก่อนกำหนด: จากงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ใน An International Journal of Obstetrics & Gynaecology มีการระบุว่า ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และมีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดมากขึ้น ซึ่งหมายถึงการคลอดก่อนมีอายุครรภ์ 37 สัปดาห์
  • เติบโตช้าหรือไม่สมบูรณ์: คนที่มีอายุน้อยจำเป็นต้องได้รับสารอาหารเพื่อให้กระดูกเติบโตและมีสุขภาพดี หากร่างกายมีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน และไม่ได้รับแคลอรีอย่างเพียงพอ มันก็สามารถทำให้กระดูกเติบโตได้ไม่เต็มที่

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ใน The journal BMC Public Health ระบุว่า การมีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับคนที่มีค่า BMI อยู่ในระดับเฉลี่ย นักวิจัยให้ความเห็นว่า การมีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานอาจทำให้กระบวนการเยียวยาบาดแผลหลังอุบัติเหตุแย่ลง เมื่อเทียบกับคนที่มี BMI อยู่ในระดับเฉลี่ย

สาเหตุของน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน

  • ประวัติคนในครอบครัว: บางคนมีค่า BMI ต่ำโดยธรรมชาติ เนื่องจากพันธุกรรม
  • มีเมทาบอลิซึมสูง: หากร่างกายเผาผลาญได้สูง คนก็อาจมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อทานอาหารที่ให้พลังงานสูง
  • ออกกำลังกายบ่อย: นักกีฬา หรือคนที่ทำกิจกรรมทางกายในระดับสูงอย่างนักวิ่ง อาจเผาผลาญแคลอรีได้มาก ส่งผลให้มีน้ำหนักตัวน้อย
  • ป่วยทางกายหรือเป็นโรคเรื้อรัง: มีบางโรคที่สามารถทำให้ผู้ป่วยคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียบ่อย ทำให้ยากต่อการเพิ่มน้ำหนัก นอกจากนี้การเป็นโรคต่างๆ ก็สามารถทำให้เราเบื่ออาหาร เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ โรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร
  • มีปัญหาทางจิตใจ: การมีสุขภาพจิตที่ไม่ดีสามารถส่งผลต่อความสามารถในการทานอาหาร เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ และโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติในการทานอาหารอย่างโรคอะนอเร็กเซียและโรคบูลิเมีย

การรักษาน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน

  • การทานขนมที่มีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตสูง สามารถช่วยให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น แครกเกอร์หน้าเนยถั่ว โปรตีนบาร์ อัลมอนด์ ถั่วหรือเมล็ดพืชผสมผลไม้แห้ง พิต้าชิพ ฯลฯ
  • ทานอาหารมื้อเล็กหลายครั้งตลอดวัน
  • ใส่อาหารที่มีแคลอรีสูงเพิ่มในอาหารจานหลัก เช่น โรยถั่วอัลมอนด์บนซีเรียลหรือโยเกิร์ต โรยเมล็ดทานตะวันหรือเมล็ดเจียบนสลัดหรือซุป หรือทาเนยบนขนมปังโฮลเกรน
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ให้พลังงานเยอะ แต่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายน้อย การทานอาหารที่มีแคลอรีสูงอาจทำให้เรามีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ทั้งนี้คุณควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีน้ำตาลและเกลือสูง

อย่างไรก็ตาม หากคุณลองพยายามเพิ่มน้ำหนักด้วยตัวเองแล้วแต่ก็ไม่ได้ผล ป่วยทางจิต หรือเป็นโรคที่ทำให้พฤติกรรมการทานอาหารผิดปกติ คุณก็ควรไปพบแพทย์เพื่อหาทางรักษาที่เหมาะสมต่อไป


บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

คนที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มีผลเสียอย่างไร

การมีน้ำหนักน้อยเกินไปยังส่งผลให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ เช่น กรดอะมิโน วิตามิน และแร่ธาตุ ผิดปกติ ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนและภาวะโลหิตจาง ยิ่งไปกว่านั้นคุณยังอาจมีภาวะขาดระดู ซึ่งจะสร้างปัญหาการตั้งครรภ์ให้คุณได้ในภายหลัง! ค่าดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 18.5 = ต่ำกว่าเกณฑ์

คนที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานปฏิบัติอย่างไร

ออกกำลังกาย ทำให้เพิ่มกล้ามเนื้อที่พอเหมาะ ทำให้อยากอาหารมากขึ้น เน้นโปรตีนและข้าวแป้ง พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง แบ่งมื้ออาหารออกเป็นวันละ 5-6 มื้อ ไม่ควรดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหาร

โรคอะไรบ้างที่ทำให้น้ำหนักลด

น้ำหนักลดผิดปกติเกิดจากอะไร แบบไหนที่ควรไปพบแพทย์.
1. ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) ... .
2. กระบวนการดูดซึมสารอาหารผิดปกติ ... .
3. โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน ... .
4. มะเร็ง ... .
5. โรคติดเชื้อ ... .
6. ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด ... .
7. ภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล.

น้ําหนักลดเร็ว เกิดจากอะไร

สาเหตุที่ทำให้น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุนั้น อาจจะมีส่วนมาจากผลพวงของโรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน, โรคไทรอยด์เป็นพิษ, โรคถุงลมโป่งพอง, โรคหอบหืด, วัณโรคและพยาธิในลำไส้ เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้จะทำให้ระบบการเผาผลาญในร่างกายถดถอยลง ทำให้การดูดซึมอาหารเป็นไปได้อย่างไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้แล้ว ภาวะทางอารมณ์ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ ...