ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร

ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร

          มารยาทในการรับประทานอาหาร ทั้งแบบสากลและแบบไทยแท้ ๆ มีอะไรที่เราควรทราบไว้บ้าง เพื่อจะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม มาดูกันเลย

          การเรียนรู้เรื่องมารยาทในการรับประทานอาหาร ถือเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงกระทำ และนำมาปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสม เพราะนอกจากจะเป็นการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้กับตัวเราเองแล้ว ยังเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีในการรับประทานอาหารให้กับเพื่อนร่วมโต๊ะอาหารอีกด้วย วันนี้กระปุกดอทคอมจึงหยิบเอามารยาททั่วไปที่ควรปฏิบัติในการรับประทานอาหารมาฝากกันค่ะ

มารยาทในการรับประทานอาหารแบบสากล

ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร

         

ก่อนอื่นเราก็ต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่ามารยาทในการรับประทานอาหารแบบสากลมีอะไรบ้าง สิ่งไหนควร สิ่งไหนไม่ควรปฏิบัติขณะร่วมโต๊ะอาหารกับคนอื่น โดยเฉพาะการร่วมวงรับประทานอาหารกับชาวต่างชาติ และนี่ก็คือเคล็ดลับทั่วไปในการรับประทานอาหารตามหลักสากลที่เราควรรู้ค่ะ

         

ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
1. ไม่ส่งเสียงดังขณะรับประทานอาหาร
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
2. ควรตักอาหารคำเล็ก ๆ ไม่เลือกตักเฉพาะอาหารที่ชอบ
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
3. อย่าบ่นเมื่ออาหารไม่ถูกปาก
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
4. ไม่ควรบังคับให้แขกรับประทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ตัวเองอยากให้รับประทาน
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
5. พยายามพูดคุยกันบนโต๊ะอาหารบ้าง เพื่อไม่ให้โต๊ะอาหารเงียบจนเกินไป
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
6. ไม่ควรว่ากล่าวหรือนินทาใครขณะรับประทานอาหาร
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
7. ควรนั่งรับประทานอาหารด้วยท่าทางที่สง่าผ่าเผย
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
8. ไม่กระดิกเท้า หรือเคาะโต๊ะ
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
9. ไม่สูบบุหรี่ หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
10. ถ้าอาหารที่ยกมาเสิร์ฟมีฝาปิด ให้เปิดฝาลงไว้ในจาน
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
11. ไม่รับประทานอาหารมูมมาม

          จะเห็นว่าหลักการรับประทานอาหารในแบบสากลที่ควรรู้นั้น ไม่ได้มีข้อจำกัดที่ยุ่งยากมากจนเกินไปอย่างที่หลาย ๆ คนกังวลกันเลย แต่มันกลับเป็นแค่ทริคง่าย ๆ ที่เราสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไม่ยากเย็นเลยล่ะ

มารยาทในการรับประทานอาหารแบบยุโรป

ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร

         

มาดูเรื่องมารยาทในการรับประทานอาหารแบบยุโรปกันบ้าง มารยาทการรับประทานอาหารแบบยุโรปก็ไม่ได้แตกต่างออกไปจากแบบสากลมากนัก เพียงแต่เพิ่มรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เข้ามานิดหน่อยเท่านั้นเอง โดยเฉพาะเรื่องการใช้อุปกรณ์ทานอาหารที่จะมีขั้นตอนเพิ่มเข้ามา เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบจับอุปกรณ์บนโต๊ะอาหารขึ้นมาใช้ได้อย่างถูกต้อง ลองมาอ่านแล้วจดจำไปใช้กันเลยจ้า

          สำหรับอาหารยุโรป จะแบ่งการรับประทานออกเป็น 2 แบบ ตามลักษณะของกับใช้อุปกรณ์ คือ

        

ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
แบบที่ 1 แบบอเมริกัน เป็นแบบที่ใช้ส้อมด้วยมือขวา และเมื่อจะรับประทานอาหาร ต้องยกปลายส้อมขึ้นข้างบน แล้วใช้ส้อมตักอาหาร ส่วนมีดหากไม่ใช้ให้วางไว้ข้าง ๆ จาน 
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
แบบที่ 2 แบบยุโรป
เป็นแบบที่ใช้ส้อมด้วยมือซ้าย และเมื่อจะรับประทานอาหาร ให้คว่ำปลายส้อมลง และถือมีดไว้ด้วยมือขวาส่วนการอุปกรณ์ในการรับประทานอาหารต่าง ๆ ที่วางอยู่บนโต๊ะ เราควรหยิบมาใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม ดังนี้

         
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
1. อันดับแรกควรหยิบผ้าเช็ดปากที่วางอยู่บนโต๊ะอาหารมาคลี่ออก แล้วนำมาวางไว้บนตัก เพื่อใช้ซับอาหารที่ติดปาก
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
2. ถ้าผ้าเช็ดปากตก ให้พยายามหยิบโดยไม่สร้างความรำคาญให้กับผู้อื่น
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
3. ถ้ามีความจำเป็นต้องลุกจากโต๊ะอาหาร ในระหว่างที่ยังรับประทานอาหารอยู่ ให้วางผ้าเช็ดปากไว้ที่เก้าอี้
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
4. เมื่อใช้ผ้าเช็ดปากเสร็จแล้วไม่ต้องพับ ให้วางไว้บนโต๊ะด้านซ้ายมือ
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
5. ถ้าเป็นการรับประทานอาหารในแบบอเมริกัน ให้ใช้มือขวาจับส้อม และใช้มือซ้ายจับมีดหรือช้อน แต่ถ้าเป็นการรับประทานอาหารในแบบยุโรป ให้ใช้มือซ้ายจับส้อม และใช้มือขวาจับมีดหรือช้อน
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
6. ส่วนการรับประทานซุป ให้ใช้ช้อนตักซุปออกจากตัว และรับประทานซุปด้านข้างช้อน
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
7. สำหรับการใช้มีด เราควรพึงระลึกอยู่เสมอว่ามีดมีไว้ใช้หั่นอาหารเท่านั้น จึงไม่ควรใช้มีดตักหรือจิ้มอาหารเข้าปาก
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
8. แก้วน้ำให้หยิบด้านขวามือของตัวเอง อย่าเผลอไปหยิบด้านซ้าย เพราะจะทำให้โต๊ะอาหารรวนไปทั้งโต๊ะ
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
9. เมื่อเลิกใช้ช้อน ส้อม และมีดแล้ว ให้วางไว้บนจานรอง หรือจานอาหาร อย่าวางไว้บนโต๊ะเด็ดขาด

          เห็นไหมคะว่า เคล็ดลับในการรับประทานอาหารในแบบยุโรป ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับหลาย ๆ คนอีกต่อไป เพราะเพียงแค่เราจดจำรายละเอียดของการใช้อุปกรณ์บนโต๊ะอาหารเล็ก ๆ น้อย ๆ เอาไว้ให้ได้ แล้วนำไปบวกกับเคล็ดลับง่าย ๆ ในการรับประทานอาหารในแบบสากล เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถรับประทานอาหารยุโรปได้อย่างไม่ต้องอายใครอีกต่อไปแล้ว

มารยาทในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์

ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร

          ส่วนมารยาทในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราต้องจดจำเช่นกันค่ะ เพราะผู้รับประทานจะต้องช่วยเหลือตนเองในการตักอาหาร เราก็เลยหยิบเอาหลักการง่าย ๆ ในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ที่ควรปฏิบัติมาฝากกัน


         

ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
1. ควรลุกไปตักอาหารเอง โดยยืนต่อแถว ไม่ตักอาหารเผื่อคนอื่น และอย่าตักอาหารมากจนเกินไป ถ้าไม่พอสามารถไปเติมใหม่ได้
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
2. ไม่พูดคุยขณะที่ตักอาหาร รีบตักอาหารเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ผู้อื่นได้ตักอาหารบ้าง
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
3. ตักอาหารเป็นอย่าง ๆ อย่าวางสุมทับกัน ถ้าของเป็นชิ้นควรหยิบเพียงหนึ่งชิ้น
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
4. อาหารที่ตักมาต้องรับประทานให้หมด
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
5. เมื่อรับประทานเสร็จ ต้องเขี่ยเศษอาหารในจานให้อยู่รวมกัน แล้วรวบรวมช้อนส้อมให้เรียบร้อย
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
6. ไม่ควรใส่กระดาษเช็ดมือที่ใช้แล้วลงในจาน เพราะจะทำให้ปลิว และเก็บลำบาก จึงควรใช้จานวางทับไว้
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
7. ถ้ามีข้อกำหนดให้เอาจานอาหารมาวางไว้ที่ใดที่หนึ่งเมื่อรับประทานเสร็จแล้วควรปฏิบัติตาม
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
8. อาหารหวาน ควรตักเมื่อรับประทานอาคารคาวเสร็จแล้ว
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
9. ไม่เบียดหรือแซงคิวผู้อื่น ขณะไปยืนรอตักอาหาร รอจังหวะให้ผู้อื่นตักเสร็จเสียก่อน

          สำหรับเรื่องการวางตัวในการรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์ที่เรานำมาให้ดูกันนั้น สามารถนำไปใช้ในการรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์ทั้งของต่างชาติและของไทยได้อย่างลงตัว เพราะไม่ว่าจะชาติไหน ๆ การเข้าคิวยืนรอตักอาหารก็ถือเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง

มารยาทในการรับประทานอาหารแบบไทย

ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร

         

หลังจากที่นำเสนอมารยาทในการรับประทานอาหารในแบบสากลและแบบยุโรปกันไปแล้ว ก็ขอปิดท้ายที่มารยาทในการรับประทานอาหารแบบไทยกันบ้าง ขอบอกว่าเรื่องนี้คนไทยทุกคนควรจะต้องรู้ และปฏิบัติตามให้ได้นะจ๊ะ ซึ่งการรับประทานอาหารของไทย จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ อาหารแบบตั้งโต๊ะที่มีอาหารตั้งอยู่บนโต๊ะเอาไว้แล้ว และอาหารแบบที่ค่อย ๆ ทยอยเสิร์ฟมาทีละจาน ลองมาดูกันสิว่าเราควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง

         

ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
1. ถ้าไปร่วมงานไม่ได้ ควรแจ้งให้เจ้าภาพทราบล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย 1 วัน
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
2. เตรียมเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับงานที่จะไปให้พร้อม
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
3. ควรไปถึงงานก่อนงานเริ่มสัก 10 นาที ไม่ควรไปเร็ว หรือช้ากว่านั้น
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
4. ควรทักทายพบปะกับเจ้าภาพเมื่อไปถึงในงาน
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
5. ควรพยายามพูดคุยทักทายกับแขกคนอื่น ๆ ที่มาในงาน
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
6. เวลาที่นั่งโต๊ะ ควรให้แขกผู้ใหญ่นั่งก่อน แล้วเราค่อยนั่งตาม
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
7. เวลาเดินเข้าประจำโต๊ะ ผู้ชายควรช่วยขยับเก้าอี้ให้ผู้หญิงที่นั่งข้าง ๆ ก่อน
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
8. ก่อนนั่งโต๊ะควรงดสูบบุหรี่
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
9. เวลานั่งโต๊ะให้นั่งตัวตรง
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
10. อย่าอ่านหนังสือบนโต๊ะอาหาร นอกจากรายการอาหาร
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
11. นำผ้าเช็ดมือที่วางอยู่บนโต๊ะออกมาคลี่ แล้วนำมาวางบนตัก
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
12. อย่าเล่นช้อน ส้อม หรือผ้าเช็ดมือ
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
13. อย่ากางข้อศอกในเวลารับประทานอาหาร
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
14. ถ้ามีสิ่งใดตก ควรแจ้งให้คนเสิร์ฟทราบ
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
15. ต้องคอยสังเกตว่าอุปกรณ์ในการรับประทานชิ้นไหนเป็นของเรา อย่าหยิบผิด
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
16. ในระหว่างที่ทำการรับประทานอาหารอยู่ อย่าจับ หรือแต่งผม ผัดหน้า ทาปาก เด็ดขาด
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
17. ช่วยเหลือเพื่อนร่วมโต๊ะตามสมควร
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
18. อย่าเอื้อมหยิบของผ่านหน้าผู้อื่น แต่ถ้าเพื่อนร่วมโต๊ะส่งให้ก็ควรหยิบเป็นมารยาท
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
19. หากทำอะไรผิดก็ปล่อยเลยตามเลย ไม่ต้องแก้ตัว
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
20. ถือแก้วดื่มน้ำด้วยมือขวา
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
21. อย่าจิ้มฟันในขณะรับประทานอาหาร
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
22. รับประทานอาหารเสร็จควรรวบช้อนส้อมไว้คู่กัน แล้ววางไว้ในจาน
ประโยชน์ของมารยาทบนโต๊ะอาหาร
23. ลุกจากโต๊ะอาหารเมื่อคนอื่น ๆ อิ่มแล้ว

  และนี่ก็คือมารยาทในการรับประทานอาหารในแบบต่าง ๆ ที่เชื่อได้เลยว่าทุกคนต้องมีโอกาสได้เจอสถานการณ์เหล่านี้บ้างแน่นอน และเมื่อได้รู้แล้ว ก็อย่าลืมนำสิ่งเหล่านี้ไปปรับใช้บนโต๊ะอาหารให้เหมาะสมด้วย

  การเสริฟอาหารแบบไทยจะมี 2 ลักษณะ คือ แบบแรกจะเป็นการจัดสำรับเฉพาะคน โดยต่างคนต่างมีชุดของตนเอง ไม่เกี่ยวกับใคร เพราะสมัยโบราณคนไทยมีครอบครัวใหญ่ มีคนเยอะ ลูกเยอะ ครัวเลยต้องใหญ่ตามไปด้วย แต่จะให้กินกันแบบพร้อมหน้าพร้อมตาคงจะยาก ในครัวเลยจัดสำรับส่งไปให้ตามที่พักของแต่ละคน เมื่อรับประทานเสร็จก็เก็บมา          ลักษณะที่สอง จะเป็นแบบนั่งล้อมวงกัน โดยมีกับข้าวอยู่กลางโต๊ะ คนรับประทานจะมีจานข้าวของใครของมัน แต่กับข้าวนั้นจะตักใส่จานจนครบแล้วลงมือกิน แต่คนไทยเป็นชาติที่กินข้าวทีละคำ โดยมีการจัดวางกับข้าวที่ต้องการจะกินลงบนข้าวแล้วใช้ช้อนตักข้าวและกับนั้นด้วยปริมาณที่พอเหมาะ โดยมี “ส้อม” เป็นตัวช่วยเขี่ย แต่งให้ข้าวและกับที่ต้องการอยู่ในช้อนพอคำก่อนจะส่งเข้าปาก
          การจับช้อนส้อม ก็ไม่ต้องกำให้แน่นมาก การจับด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้เป็นหลัก โดยมีนิ้วที่เหลือเป็นตัวรองรับน้ำหนักช้อน โดยข้อศอกจะไม่ยกขึ้นมาวางบนโต๊ะซึ่งจะเหมือนกับมารยาทบนโต๊ะอาหารหลายๆ ชาติ
          เมื่อต้องการตักอาหารมาใส่จานตนเองจะใช้ช้อนกลางตัก ไม่ใช้ช้อนของตนตัก หรือถ้ามีแกงจืดที่ต้องการซดน้ำ ก็จะใช้ถ้วยแบ่งเล็กๆ ถ้าไม่มีก็ให้ใช้ช้อนกลางตักมาใส่ช้อนตัวเอง และที่สำคัญเวลาซดน้ำแกงต้องไม่มีเสียงดัง การเคี้ยวก็จะปิดปาก ไม่เคี้ยวอาหารให้มีเสียงดังแจ๊บๆ หรือพูดคุยขณะอาหารอยู่ในปาก หรืออ้าปากโดยที่ผู้อื่นมองเห็นอาหารในปาก การคายก้างหรือเศษอาหารในปาก จะคายลงช้อนก่อน แล้วนำวางไว้ที่ขอบจาน หากมีเศษอาหารที่ไม่ต้องการรับประทานหลงเหลืออยู่ในจานเมื่อรับประทานเสร็จก็ใช้ช้อนส้อมกวาดมากองไว้รวมกัน
          เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วก็จบด้วยการรวบช้อนและส้อมเข้าหากัน โดยวางคู่กันในจานคล้ายเลขสิบเอ็ด ซึ่งจะหมายถึงเรารับประทานเสร็จแล้ว ถ้าหากไปงานเลี้ยงแล้วพนักงานเสริฟคอยตักข้าวเติมให้ตลอด ทั้งๆที่อิ่มแล้ว ก็มองดูในจานข้าวว่าช้อนส้อมว่างยังไง

มารยาทการรับประทานอาหารแบบสากล

 

งานสังคมหรืองานเลี้ยงอาหารในโอกาสต่างๆ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตประจําวันของเรา  ทั้งการ เป็นแขกรับเชิญหรือการเป็นเจ้าภาพ  ธรรมเนียมปฏิบัติของแขกรับเชิญงานรับประทานอาหารแต่ละท้องถิ่นมี ความแตกต่างกัน  แต่โดยพื้นฐานแล้วมารยาทในโต๊ะอาหารมีมาตรฐานสากล  เพื่อให้รับประทานอาหารได้ สะดวกโดยไม่รบกวนหรือทําให้ผู้ร่วมโต๊ะคนอื่นต้องขัดเขิน  จึงมีแนวทางดังนี้  ก่อนเข้าโต๊ะอาหาร - เจ้าภาพ จะทักทายกับแขก และตรวจสอบยอดแขกรับเชิญ - แขกจะได้ทักทาย พูดคุยซึ่งกันและกัน และตรวจสอบที่นั่ง ณ โต๊ะอาหารจากผังที่นั่ง - ท่านที่เป็นชายจะมีหน้าที่นําแขกสุภาพสตรีที่นั่งด้านขวา  เจ้าภาพควรหาโอกาสแนะนําให้ สุภาพบุรุษรู้จักกับสุภาพสตรีที่นั่งด้านขวา หรือหาโอกาสเข้าไปแนะนําตนเองก่อนเข้าโต๊ะอาหาร - ควรมางานเลี้ยงให้ตรงเวลาตามบัตรเชิญ  หากเป็นงานเลี้ยงที่เป็นกันเอง  การนําของฝากมาให้ เจ้าภาพนับเป็นการแสดงออกที่ดี  ของฝากอาจเป็นดอกไม้  ไวน์  ช็อคโกแลต หรืออะไรก็ได้ที่เห็นว่าเหมาะสม  ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินมาไม่ได้หรือมาช้าจะต้องโทรศัพท์แจ้งเจ้าภาพเพื่อให้เจ้าภาพได้แก้ปัญหาทันเวลา - เจ้าภาพ (ส่วนใหญ่เป็นเจ้าภาพชาย) เชิญให้แขกดื่ม  แขกจะเริ่มดื่มเมื่อบริกรเดินให้บริการ ซึ่ง อาจจะรับเพิ่มเติมหรือปฏิเสธตามความเหมาะสมเมื่อบริกรเวียนมาบริการอีก เจ้าภาพเชิญเข้าห้องรับประทาน อาหารควรวางแก้วและเดินเข้าไปประจําเก้าอี้ตามผัง  ไม่ควรนําแก้วเครื่องดื่มจากห้องเลี้ยงรับรองมาที่โต๊ะ อาหาร  การเข้าโต๊ะอาหาร  - แขกรับเชิญไม่ควรจะนั่งจนกว่าเจ้าภาพหญิงและแขกผู้มีเกียรติจะนั่งแล้ว หรือเจ้าภาพเชิญให้นั่ง สุภาพบุรุษควรช่วยสุภาพสตรีด้านขวาเข้านั่งก่อนที่ตนจะเข้านั่ง - ในการนั่งควรพยายามนั่งตัวตรงโดยวางมือบนตักหรือวางเบาๆ บนโต๊ะ  แต่ไม่ควรวางข้อศอกบน โต๊ะเพราะอาจเผลอกดโต๊ะพลิกได้  และยังทําให้ผู้อยู่ซ้ายและขวาพูดคุยกันไม่สะดวก - เวลานั่งโต๊ะควรเลื่อนเก้าอี้ให้ตัวชิดกับโต๊ะมากที่สุด  เพื่อจะได้ไม่ต้องก้ม  ควรนั่งหลังตรงเวลา รับประทานอาหารอาจโน้มตัวเหนือจานเล็ดน้อย - เมื่อนั่งแล้วควรหยิบผ้าเช็ดปากที่อยู่ด้านซ้ายหรือตรงกลางมาคลี่พาดบนหน้าตักโดยรอ

ปฏิบัติหลังเจ้าภาพ  ปกติผ้าเช็ดปากจะวางด้านซ้ายในงานไม่เป็นทางการ  และวางตรงกลางสําหรับงานเป็น ทางการ  ในสังคมตะวันตกมักจะมีการกล่วงขอบคุณพระเจ้าก่อนรับประทานอาหาร  การคลี่ผ้าเช็ดปากจึงควร รอจังหวะโดยดูเจ้าภาพเป็นหลัก - หลังจากกล่าวขอบคุณพระเจ้าแล้ว  ควรคลี่ผ้าเช็ดปากโดยให้อยู่ในสภาพพับครึ่งและ วางขวางบนตัก  จะไม่ใช้เหน็บเอวหรือคอเสื้อ (วิธีเช็ดปาก : คลี่มุมผ้าแยกออกจากันพอสมควรแล้วซับที่ริม ฝีปาก ใช้แล้ว พับกลับอย่างเดิมวางไว้บนตัก ผู้นั่งใกล้เคียงจะไม่เห็นรอยเปื้อนที่เราเช็ด เพราะรอยเปื้อนจอยู่ ด้านในของผ้า) ถ้าจําเป็นต้องไอหรือจาม ให้ใช้ผ้าเช็ดปากปิดปากหรือจมูก และหันหน้าออกจากโต๊ะอาหาร อย่าสั่งน้ํามูก ขากเสลดหรือบ้วนน้ําลายลงผ้าเช็ดปาก - หลังการรับประทานอาหารเสร็จสิ้น  ถ้าเป็นภัตตาคารให้วางผ้าเช็ดปากบนโต๊ะโดยไม่ ต้องพับ  ถ้าเป็นบ้านเจ้าภาพให้พับสี่และวางบนโต๊ะ  ซึ่งถือว่าสิ้นสุดการรับประทานอาหาร  ห้ามม้วนผ้าเช็ด ปากเป็นก้อนหรือขยําไว้บนโต๊ะ

อุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร  อุปกรณ์ในการกรับประทานอาหารตนตก จะใช้ส้อมและมีดเป็นหลัก  ซึ่งมักจะเรียกว่าเครื่องเงิน (Silverware หรือ Flatware) เพราะเดิมจะทําจากเงิน sterling เครื่องเงินหรือช้อนส้อม มีด จะจัดวาง ตามลําดับการใช้งาน คือ ตามรายการอาหารที่จะเสริฟ ถ้าอาหารมีหลายรายการโดยหลักจะมีมีดและส้อมไม่ เกิน 3 เล่มหรือคัน หากจําเป็นต้องใช้มากกว่านั้นบริการจะนํามาเพิ่มตามความจําเป็น วิธีการใช้มีดังนี้ 1. เลือกใช้จากด้านนอกสุดของจานเข้าหาด้านใน (ทั้งซ้ายและขวา) นั่นคือสิ่งแรกที่ต้องใช้ คือ ช้อน คันนอกสุดจากด้านขวา หรือส้อมคันนอกสุดด้านซ้ายร่วมกับมีดเล่มนอกสุดจากด้าน ขวา 2. มีดและช้อน  จะอยู่ด้านขวาของจาน และส้อมจะอยู่ด้านซ้าย  ช้อนส้อมสําหรับของหวานจะวาง ถัดไปด้านบนของจาน  ซึ่งจะใช้เป็นอันดับสุดท้าย 3. เครื่องเงินควรใช้นําอาหารเข้าปาก ไม่ใช่ก้มปากมารับอาหาร อย่าแกว่งมีดส้อมขณะสนทนา  หาก ต้องใช้มือประกอบท่าทางควรวางมีดส้อมก่อน หากสงสัยถึงความเหมาะสมในการใช้อุปกรณ์ในการรับประทาน อาหารให้รอดูจากเจ้าภาพเป็นหลัก

ธรรมเนียมการใช้เครื่องเงิน  แบบอเมริกัน - จะถือส้อมในมือซ้าย  โดยคว่ําส้อมจิ้มจับอาหารให้นิ่งเพื่อใช้มีดในมือขวาตัด  เมื่อตัดอาหารเป็น คําๆ แล้ว  จะวางมีดด้านขวาหรือด้านบนของจานโดยหันคมมีดเข้ามาข้างใน  (จะไม่วางบนโต๊ะโดยเด็ดขาด)  และเปลี่ยนมาถือส้อมด้วยมือขวาให้ปลายส้อมหงายขึ้นจับด้ามส้อมด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้นิ้วกลางใน ลักษณะจับดินสอ  เพือจิ้มอมหารเข้าปาก  การจับส้อมในการหั่นอาหารจะจับคว่ําในอุ้งมือซ้ายโดยนิ้วชี้จะพาดกดไปตามก้านส้อม (ด้านหลัง) ส่วนมีดจะจับในอุ้งมือขวาและนิ้วชี้พาดไปตามด้ามมีด  นิ้วชี้จะไม่แตะบนสันมีด  วิธีจับส้อมและมีดในการหั่นนี้ จะเหมือนกันทั้งในธรรมเนียมอเมริกันและยุโรป  จะแตกต่างกันคือในแบบยุโรป จะไม่มีการสลับส้อมมาถือมือขวา  การนําอาหารเข้าปากจะใช้ส้อมในมือซ้ายเท่านั้น - ในปัจจุบันสามารถใช้ทั้งส้อมคว่ําและหงาย  นําอาหารเข้าปาก เช่น ถ้ารับประทานข้าวหรือถั่ง อาจหงายส้อมขึ้นและใช้มีดช่วยปาดอาหารให้ขึ้นไปอยู่บนส้อม   ไม่ว่ากรณีใดก็ตามจะไม่มีการใช้มีดนําอาหาร เข้าปากโดยเด็ดขาด - วิธีตัดอาหารเป็นชิ้นๆ พอดีคําไว้มากๆ แล้วใช้ส้อมจิ้มรับประทานด้วยมือขวาติดต่อกันมากๆ ใน บางโอกาสอาจจะไม่เหมาะ ควรค่อยตัด ค่อยรับประทานไปเรื่อยๆ จะเหมาะสมกว่า - ช้อน ถือในมือขวาในลักษณะเดียวกันกับส้อมในมือขวา (ยกเว้นของหวาน)   อาหารตะวันตกจะมี เฉพาะช้อนซุป  ซึ่งในการรับประทานซุป จะยกรับประทานจากข้างช้อน จะไม่นําทั้งช้อนเข้าปาก ควรยกช้อน มาที่ปากอยู่ก้มตัวให้ปากมาใกล้ชามซุป  ถ้าซุปร้อนมากอาจใช้การคนหรือเป่าเบาๆ  เวลาตักซุปควรตักออก จากตัวโดยตักที่ผิวหน้าของซุป และแตะก้นช้อนกับขอบชามซุปด้านไกลตัวเพื่อลดการหยดหรือเปรอะเปื้อน เวลานําซุปเข้าปาก  การรับประทานซุปเป็นลักษณะเทเข้าปากไม่ใช้การดูดจากช้อน  การตักซุปก้นชามให้จับ ตะแคงออกด้วยมือซ้าย  และใช้ช้อนตักตามปกติ เมื่อรับประทานซุปเสร็จแล้ว ให้ยกช้อนซุปวางไว้ที่ขอบจาน รองชามซุป - ช้อนของหวาน  มักจะมีส้อมของหวานวางคู่กันถัดไปด้านบนของจาน  ควรใช้ทั้งช้อนและส้อมใน การรับประทานของหวาน หรืออาจใช้ส้อมอย่างเดียงก็ได้  แต่ไม่ควรใช้ช้อนของหวานอย่างเดียว  สําหรับของ หวานที่เสริฟในถ้วยหรือจานเล็กๆ จะใช้ช้อนชาในการรับประทาน  ช้อนชาที่ใช้กันถ้วยชา กาแฟ  หลังจากใช้ เสร็จแล้วควรวางในจานรอง  หรืออาจวางช้อนกาแฟคว่ําบนจานขนมปังหรือจาน dinner ก็ได้ - มีดเนย จะอยู่ในจานขนมปังด้านซ้าย  และจะใช้สําหรับทาเนยบนขนมปังแต่ละชิ้นที่จะ รับประทาน  การตัดเนยจากจานกลางมาไว้บนจานขนมปัง  ให้ใช้มีดเนยใหญาในจานเนยกลาง  การทาเนยบน ขนมปังจะต้องใช้มีดเนยเท่านั้น - ส้อมสลัด  จะมาคู่กับมีดสลัด  ตําแหน่งในการวางจะขึ้นอยู่กับการจะเสริฟสลัดก่อนหรือหลัง อาหารหลัก - มีดปลา จะเป็นมีดปลายมนไม่มีสันคม เหมาะแก่การเลาะก้างปลาและรับประทานปลา

ระหว่างนั่งโต๊ะอาหาร มีข้อควรปฏิบัติและพึงระวังดังนี้ - เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว  ไม่ควรจับต้องเครื่องเงินเลนหรือพลิกจานชามเพื่อดูยี่ห้อ - สุภาพบุรุษ มีหน้าที่ดูแลคนที่นั่งด้านขวาเป็นหลัก ทั้งในการบริการส่งต่อหรือในการสนทนา  ตลอดระยะเวลาที่นั่งอยู่ในโต๊ะอาหาร  แต่ก็ไม่ควรละเลยบุคคลด้านซ้าย

- โต๊ะอาหารจะมีแก้ววางอยู่ทางขวามือ 3-4ใบ  ใบแรกจะใช้ดื่มไวน์ขาว  ใบถัดไปใช้กับไวน์แดง  ใบที่สามจะเป็นแก้วน้ําเย็นและในกรณีที่มีใบที่  4  จะเป็นแก้วแชมเปญ  การใช้แก้วหรือจัดลําดับแก้วเรียงขาก นอกเข้าในเช่นเดียวกับมีดหรือส้อม - หากต้องการเกลือ  พริกไทย  หรือของส่วนกลางที่วางอยู่บนโต๊ะแต่หยิบไม่ถึงให้ใช้วิธี  ขอให้ ส่งผ่าน  ไม่ควรใช้การเอื้อมหรือลุกขึ้นยืนหยิบ  เมื่อใช้เสร็จแล้วควรส่งต่อเวียนขวา - เครื่องเคียงทุกอย่างควรวางไว้ข้างจาน  และตักแบ่งใส่อาหารทีละคํา  จะมีเฉพาะพริกไทย  เกลือ  ที่จะโรยบนอาหารทั้งจาน  พึงหลีกเลี่ยงการขอสิ่งที่ไม่ได้เตรียมไว้บนโต๊ะ เพราะเท่ากับเป็นการต่อว่าเจ้าภาพ - อย่าเติมเครื่องปรุงก่อนชิม  เพราะเป็นการดูถูกว่ารสอาหารที่ปรุงมาไม่พอดี  ควรชิมก่อนจึงค่อย เติมเครื่องปรุงอาหาร  - อย่านําเครื่องปรุงส่วนตัว (น้ําปลา  พริกป่น) ไปในงานเลี้ยงด้วย - การรับประทานอาหารให้หมดจานเป็นการแสดงออกถึงความอร่อยของอาหารและเป็นการให้ เกียรติแก่เจ้าภาพ - ถ้ามีอาหารบางอย่างที่รับประทานไม่ได้เพราะแพ้อาหาร  ควรแจ้งเจ้าภาพหรือเลือกรับประทาน อาหารอย่างอื่นในจาน  หรือหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้  ถ้าเป็นอาหารแบบเสริฟให้ตักของที่แพ้เพียงเล็กน้อย และ ตักอย่างอื่นเพิ่มเป็นการชดเชย  การปฏิเสธ WINE  ไม่ถือว่าเป็นการผิดมารยาท - ไม่ควรคุยเสียงดังหรือคุยข้ามโต๊ะ  ควรจะคุยระหว่างคนข้างเคียง - หลังจากได้รับบริการอาหารแล้ว  อย่าส่งต่ออาหารให้ผู้อื่น  เพราะการเสริฟอาหารเป็นหน้าที่ขอ งบริกร - การดื่มน้ํา ควรใช้ผ้าเช็ดปากซับปากเสียก่อน  เพื่อป้องกันคราบอาหารติดที่ขอบแก้ว - อย่าแลกอาหารหรือแบ่งอาหารบางส่วนให้ผู้อื่นแม้จะอยู่ในโต๊ะเดียวกัน - ไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟันในโต๊ะอาหาร   - ไม่เรียกเครื่องดื่มที่ตนชอบมารินอีกเมื่ออาหารและเครื่องดื่มชุดนั้นผ่านไปแล้ว - กิริยาที่ไม่สุภาพในการรับประทานอาหาร  เช่น การพูดในระหว่างมีอาหารเต็มปากรับประทาน อาหารคําใหญ่เกินไป  การเรอเสียงดัง - ในระหว่างการรับประทานอาหาร  หากสุภาพสตรีด้านขวามือลุกขึ้นจากโต๊ะด้วยเหตุใดก็ตาม  สุภาพบุรุษจะต้องรีบลุกขึ้นและเลื่อนเก้าอี้ให้สุภาพสตรี  และหากมีกิจธุระจําเป็นต้องลุกจากโต๊ะ  ควรขอโทษ เจ้าภาพก่อน - การพักระหว่างรับประทานอาหารให้วางส้อมและมีดบนจานทํามุมกันประมาณ  100 องศา  โดย คว่ําส้อมและมีดหันคมไปทางซ้าย  อย่าวางกับผ้าปูโต๊ะหรือรวบส้อมมีด ซึ่งหมายถึงการอิ่มแล้ว

ลําดับการเสริฟอาหาร  การเสริฟอาหาร มีลําดับขั้นตอนคือ ขนมปังและเนย  ซุป สลัด อาหารจานหลัก ของหวาน  ชา/กาแฟ  ขนมปังและเนย  จานขนมปังอยู่ด้านซ้ายของผู้นั่งและบนจานจะมีมีดเนยสําหรับตักเนยทาขนมปังแต่ละชิ้นก่อน รับประทาน บริกรอาจจะเสริฟขนมปังเป็นรายบุคคลหรือวางตะกร้าขนมปังบนโต๊ะ  ในกรณีที่  เสริฟเป็น รายบุคคลบริกรจะนําตะกร้ามาบริการทางซ้าย  ท่านอาจจะระบุจํานวนที่ต้องการได้  ถ้าเป็นตะกร้าขนมปัง วางไว้ให้ใช้ที่คีบหรือมือหยับขนมปังมาวางบนจาน  ชิ้นใดที่จับแล้วควรหยิบมารับประทานโดยตักเนยจากจาน กลางด้วยมีดเนยกลางมาวางบนจานของตนเองแล้วจึงใช้มีดเนยของตนเองทาบนขนมปังที่ฉีกเป็นชิ้นพอดีคํา  โดยมารยาทไม่ควรนําขนมปงมาเช็ดน้ําเกรวี่หรือน้ําซอสในจานอาหารหลัก  แต่ประเทศอิตาลี การนําขนมปัง มาเช็ดซ้อสถือว่าเป็นการให้เกียรติและแสดงความอร่อยจนหยดสุดท้ายของน้ําซ้อส (พ่อครับอาจออกมากอด ขอบคุณในการให้เกียรติอย่างสูง)   ซุป  บริกรเสริฟซุปแล้วจะต้องรับประทานทันทีก่อนที่ซุปจะเย็น บริกรจะรอจนแขกคนสุดท้ายรับประทาน เสร็จแล้วจึงยกออก  พึงหลีกเลี่ยงการบิขนมปังจากจานขนมปังลงในซุป  จะมีขนมปังพิเศษที่เหมาะแก่การใส่ ลงในซุปโดยบริกรจะวางมาเป็นเครื่องเคียงในจานรองซุป  ผู้รับเชิญจะต้องรอจนอาหารแต่ละคอร์สวางตรงหน้าทุกคน  และเจ้าภาพเชิญให้เริ่มรับ ประทานจึง จะรับประทานสําหรับงานเลี้ยงใหญ่เมื่อบริกรเสริฟได้ 3-4 คน เจ้าภาพหญิงอาจเชิญให้เริ่มรับประทานได้เลย  ซุปบางประเภทเป็นซุปใสที่เสริฟถ้วยมีหูสองข้าง  สามารถจับหูทั้งสองยกรับประทานได้ให้ใช้ช้อนซุป ในการรับประทาน  ถ้าซุปเสริฟในจานใหญ่ให้วางช้อนไว้ในจานเมื่ออิ่มแล้ว  ถ้าเสริฟในถ้วยให้วางช้อนในจาน รอง

สลัด  ในงานเลี้ยงอาหารค่ําอย่างเป็นพิธีการสลัดผักจะจัดมาเป็นชุด (มีปู ปลา ไก่  กุ้ง เนื้อ)หากไม่นิยม รับประทานให้เลือกรับประทานเฉพาะผัก   เหลือที่รับประทานไม่ได้ไว้ในจาน   อาหารหลัก  (ENTREE)  หลังจากบริกรเก็บจานสลัดเรียบร้อยแล้วจะทําการเสริฟอาหารหลักเป็นจานหรือจานเปล การเสริฟ เป็นจานจะเสริฟเป็นรายบุคคล  โดยบริกรจะยกเสริฟเข้าด้านซ้าย  เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมก็เริ่มรับประทานได้ กรณีเสริฟปลาให้ใช้ช้อนและส้อมในในจานเปลตักปลาซึ่งหั่นเป็นชิ้นๆ มาไว้ที่จานตนเอง  สําหรับการเสริฟอาหารประเภทผักใช้ช้อนที่มีร่องตักเพื่อไม่ให้ส่วนประกอบที่เป็นของ เหลวหยดเปรอะเปื้อนตอนตักใส่จาน  กรณีอาหารหลักเป็นปลา  มีที่จัดให้จะเป็นมีดปลา ซึ่งจะวางถัดจากมีดสลัดเข้ามา

 การเติมอาหารครั้งที่สอง  ในอดีตการเลี้ยงอาหารแบบนั่งโต๊ะจะไม่มีการเติมครั้งที่สอง  แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปตามลักษณะและ ปริมาณของอาหาร  มีเจ้าภาพจํานวนมากที่เสนออาหารให้เติมครั้งที่สอง  เมื่อแขกได้รับการเสนอ  ไม่ควรอาย ที่จะตอบรับเพราะแสดงถึงความอร่อยของอาหารซึ่งถือเป็นการเยินยอเจ้าภาพ (โดยเฉพาะถ้าเจ้าภาพ ทําอาหารเอง)  แต่หากอิ่มสามารถปฏิเสธได้  ควรรวบส้อมและมีดโดยหันคมมีดไปทางซ้าย  ส้อมหงานขึ้นและ วางเป็นแนวดิ่งกึ่งกลางของจาน  บริกรจะเก็บจานจากทางขวาของผู้นั่ง  กาแฟ  การเสริฟกาแฟ  บริกรจะนําชาและกาแฟมาเสริฟ  โดยกาแฟจะอยู่ในภาชนะเงินขัดมัน  ทรงสูง (ถ้า เป็นชาจะใช้ภาชนะทรงป้อม)  การเติมน้ําตาลหรือครีมให้ใช้คีมคีบหรือช้อนตักน้ําตาล  และเทครีมใส่ถ้วยจาก ภาชนะเสริฟ  และใช้ช้อนของตนเองคนกาแฟ  ห้ามใช้ช้อนตักกาแฟมาชิมชิม เมื่อคนเสร็จแล้วให้วางช้อนชา บนจานรอง  การดื่มให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจับที่หูถ้วยและยกขึ้นดื่มระวังไม่ให้มีเสียงดัง  หากร้อนเกินไปให้ คอย  อย่าเป่า  อาหารอื่นนอกจากอาหารหลัก  ธรรมเนียมแบบฝรั่งเศส  เจ้าภาพจะจัดให้เสริฟสลัดผักอยู่หลังอาหารจานหลัก  นอกจากนั้นมีอาหาร  2-3 คอร์สที่อาจจะพบในงานเลี้ยงแบบตะวนตก คือ - Hors d’oeuvre  คืออาหารเรียกน้ําย่อย  ในบางร้านอาหารเรียกว่าAPPETIZERโดยทั่วไปจะเป็น อาหารจานไม่โต และมักจะอร่อยเป็นพิเศษเพื่อเรียกน้ําย่อย  เช่น  SHRIMP  COCKTAIL,  SMOKED SALMON  OYSTERS หรือ  CLAM สด - Sorbet  หรือ Sherbetเป็นไอศกรีมผลไม้ไม่ใส่นมหรือครีม  บางครั้งปรุงรสด้วยสุราโดยทั่วไป มักจะเสริฟเป็นก้อนเล็กๆ ในถ้วยไอศรีมก่อนอาหารจานหลัก  โยมีวัตถุประสงค์เพื่อคั่นระหว่างอาหารคอร์สต่อ ไปที่จะเสริฟ  เพื่อให้มีโอกาสพูดคุยระหว่างรับประทานอาหาร - เนยแข็ง หรือ cheese board จะประกอบด้วยเนยแข็งหลายประเภท  โดยบริกรจะนํามาเสริฟ เพื่อให้ผู้รับประทานเลือก  เมื่อเลือกแล้วพนักงานจะตัดเนยแข็งเสริฟพร้อมขนมปัง  อาจเสริฟก่อนผลไม้หรือ หลังของหวานขึ้นอยู่กับความประสงค์ของเจ้าภาพ

 เทคนิคพิเศษในการรับประทานอาหารชนิดต่างๆ - เนยแข็ง ตัดทีละชิ้นเล็กๆ วางบนขนมปังหรือบิสกิต  ใช้มือหยิบเข้าปาก  บางคนชอบรับประทาน ของของเนยอ่อน เช่น  camembert ซึ่งเป็นความชอบเฉพาะตัว - ปลา  มีความนิยมที่แตกต่างกันคือ แล่ปลาก่อนรับประทานหรือตัดรับประทานทีละคํา  การแล่ รับประทานง่ายกว่า  เจ้าของบ้านอาจวางจานเปล่าไว้ให้ใส่ก้าง  ถ้ามีก้างในปากให้ใช้มือหยิบออกมาอย่าง ปกปิดที่สุดแล้ววางไว้ขอบจาน  ขนมพุดดิ้งถ้าผลไม้มีเมล็ด คายอย่างไม่เปิดเผยลงในช้อนวางไว้ขอบจาน  ใน บางครั้งปลาอาจถูกเลากระดูกและก้างเรียบร้อยแล้วเรียกว่า FILLET (without bones) - ผลไม้  ผลไม้ที่มีเมล็ด เช่น องุ่น เชอรี่  ใช้วิธีรับประทานด้วยมือ  ยกมือปิดปากคายเมล็ดใส่แล้ว วางไว้ขอบจาน  ถ้าเป็นผลไม้ที่มีเมล็ดโต เช่น พีช ใช้มีดแซะเมล็ดออก  แล้วตัดผลไม้เป็นส่วนๆ ด้วยมือและ รับประทานด้วยมือ - เนื้อ  ใช้มีดเมื่อจําเป็นต้องตัด  หรือรับประทานเสต็กด้วยมีดและส้อม - หอย  ชาวอังกฤษใช้มือข้างหนึ่งจับเปลือกหอยแล้วใช้ส้อมจิ้มเนื้อเข้าปาก  ชาวฝรั่งเศสใช้เปลือก หอยเปล่าตักเนื้อหอยแทนส้อม - ถั่ว  ใช้ส้อมจิ้มถั่ว  2 -3 เมล็ด  แล้วใช้มีดเขี่ยถั่วอีกจํานวนหนึ่งขึ้นไปบนหลังส้อม หรือหงายส้อม ขึ้นแล้วตักถั่วโดยใช้มีดช่วยเขี่ยขึ้น  เมื่อตักเข้าปากแล้ววางส้อมคว่ําลงแล้วหงายขึ้นตักต่อไปอีก - พุดดิ้ง รับประทานด้วยส้อม  ไอศกรีมและ sherbet ให้ใช้ช้อน - สลัด ใช้ได้ทั้งมีดและส้อม - หอยนางรม  รับประทานสดๆ โดยใช้ส้อมหอยโดยเฉพาะ  ใช้ส้อมจิ้มทั้งตัวแล้วราดด้วยน้ํามะนาว หรือซอสค็อกเทล  รับประทานทั้งตัวในคําเดียว

กาแฟและเหล้าหลังอาหาร  อาจเสริฟที่โต๊ะหรือนอกโต๊ะอาหาร  บริกรจะรินกาแฟให้แขก  และแขกเติมน้ําตาล และครีมเอง  เหล้าหลังอาหาร  จะเสริฟทันทีหลังจากเสริฟกาแฟ  กรณีเสริฟในห้องนั่งเล่น  แก้วจะวางไว้ที่โต๊ะข้าง ฝา  ถ้าแขกอยู่ที่โต๊ะอาหารเหล้าและแก้วจะถูกเสริฟในถาด

การอําลา  ปกติแขกจะลากลับจากงานเลี้ยงอาหารแบบนั่งโต๊ะตามเวลาในบัตรเชิญ หรือเวลาในกําหนดการที่ พิมพ์ในเมนู  กรณีไม่มีกําหนดเวลาเสร็จสิ้นงานแขกควรเริ่มอําลากลับหลังจากลุกจากโต๊ะอาหารมารับประทาน เครื่องดื่มหลังอาหารประมาณ  15 – 30 นาที   สําหรับงานเลี้ยงอย่างเป็นทางการ เจ้าภาพอาจมีเทคนิคในการแสดงนัยของการจบงานเพื่อให้แขกลากลับด้วยการส่งสัญญาณให้ดนตรีหยุดแสดงหรือเปิดไฟสว่างขึ้น หรือ มีพิธีกรกล่าวปิดงาน

การขอบคุณ  นอกจากขอบคุณเจ้าภาพตอนลากลับแล้ว  แขกควรเขียนจดหมายขอบคุณในวันถัดไป  โดยกล่าวถึง จุดที่แขกพึงพอใจมากเป็นพิเศษ  (อนุโลมภายใน  1 สัปดาห์)

เรียบเรียงเนื้อหาข้างต้น : สุวัจ วงษ์นุ่ม

ข้อมูลอ้างอิง https://hilight.kapook.com/view/90805

                                                                                                  http://th.jobsdb.com/th/th

http://management.aru.ac.th/mnge/images/pdf/e-book/wanthanee/eb_chapter11.pdf

หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

---ขอบคุณครับ---

มารยาทในการรับประทานอาหารมีประโยชน์อย่างไร

มารยาทในการรับประทานอาหาร เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความเลื่อมใส หรืออาจตำหนี ดังนั้น เราควรฝึกมารยาทในการรับประทานอาหารให้ถูกต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยปฏิบัติให้เป็นนิสัย เพราะนอกจากจะรับประทานอาหารตามปกติในครอบครัวแล้ว เรายังใช้อาหารเป็นสื่อในการพบปะสังสรรค์ ดำเนินงานทางธุรกิจ หรือเข้าสังคมกับผู้อื่น การมี ...

มารยาทในการรับประทานอาหารมีกี่แบบ

1. อย่าเคี้ยวเร็วเกินไปหรือรีบรับประทาน 2. อย่าเคี้ยวอาหารค าใหญ่เกินไป จนเกิดเสียงดังเวลารับประทาน 3. ไม่ตั้งหน้าตั้งตารับประทานแต่อย่างเดียว ควรจะเว้นระยะฟังและสนทนาโต้ตอบคนข้างเคียงบ้าง 4. เมื่อพูดหรือโต้ตอบคู่สนทนา ควรเคี้ยวอาหารและกลืนอาหารให้เรียบร้อยเสียก่อน ไม่ควรพูดใน ขณะที่มีอาหารเต็มปาก 5. ไม่ดื่มเครื่องดื่ม ...

การรับประทานอาหารที่สุภาพต้องปิดปากเคี้ยวเพราะสาเหตุใด

การรับประทานอาหารที่สุภาพต้องปิดปากเคี้ยวเพราะสาเหตุใด ป้องกันการกัดลิ้นตนเอง ป้องกันอาหารหล่นจากปาก ป้องกันผู้อื่นเห็นอาหารในปาก

มารยาทการรับประทานอาหาร คืออะไร

1.เวลารับประทานอาหารต้องรับประทานโดยระมัดระวัง ไม่ทำให้เลอะเทอะมูมมาม ควรหุบปากเวลาเคี้ยวอาหารเพื่อระวังมิให้มีเสียงดัง 2.ไม่ใช้มือของตนเองแตะต้องหรือหยิบอาหารที่ผู้อื่นจะบริโภค หรืออาหารที่เป็นของกลาง