การหลักทำงานเบื้องต้นของดิจิทัลมิเตอร์ ข้อใดถูกต้อง

การหลักทำงานเบื้องต้นของดิจิทัลมิเตอร์ ข้อใดถูกต้อง

สวัสดีครับ…ยินดีต้อนรับสู่โลกของบทความทางด้านอุตสาหกรรม วันนี้เราขอนำเสนอบทความที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือทดสอบทางไฟฟ้า นั้นคือ มัลติมิเตอร์เครื่องมือวัดที่สามารถวัดปริมาณไฟฟ้าได้อย่างหลากหลาย ถ้าเพื่อนๆ ชาว EF SOCIETY  พร้อมแล้วเราไปท่องโลกมัลติมิเตอร์กันเลยครับผม ^^

มัลติมิเตอร์ (Multimeter) เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่สามารถวัดปริมาณไฟฟ้าได้หลากหลายชนิด เช่น แรงดัน, กระแส, ความต้านทานและสามารถใช้กับไฟกระแสตรง (DC) หรือไฟกระแสสลับ (AC) ได้ แหล่งพลังงานในการทำงานของมัลติมิเตอร์ในปัจจุบันนั้นได้มาจากแบตเตอรี่ขนาด AA หรือ AAA ทำให้อุปกรณ์มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาสามารถนำไปใช้งานในที่ต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย การแสดงผลของมัลติมิเตอร์จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Multimeter) และมัลติมิเตอร์แบบตัวเลข(Digital Multimeter)

การหลักทำงานเบื้องต้นของดิจิทัลมิเตอร์ ข้อใดถูกต้อง

ความแตกต่างในการทำงานของมัลติมิเตอร์แบบเข็มและแบบดิจิตอลนั้น คือ เมื่อมีปริมาณไฟฟ้าที่ต้องการวัดไหลเข้าสู่วงจร ถ้าเป็นมัลติมิเตอร์แบบเข็มจะเปลี่ยนปริมาณไฟฟ้าที่วัดเป็นปริมาณทางกลทำให้เข็มที่ยึดติดไว้เคลื่อนที่ไปยังค่าที่วัดได้ ส่วนมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลจะเปลี่ยนปริมาณทางไฟฟ้าที่ได้รับส่งผ่านไปยังวงจรสัญญาณดิจิตอลและส่งต่อไปยังหน้าจอแสดงผลเป็นตัวเลขให้เราอ่านค่า ซึ่งคุณสมบัติของมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลกับแบบเข็มมีความแตกต่างกัน ดังนี้

การหลักทำงานเบื้องต้นของดิจิทัลมิเตอร์ ข้อใดถูกต้อง
งานด้านอุตสาหกรรมจะนิยมใช้มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลมากกว่ามัลติมิเตอร์แบบเข็มเพราะมีความแม่นยำและมีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายมากกว่า การเลือกใช้มัลติมิเตอร์หรือแม้แต่เครื่องมือวัดชนิดต่างๆ เราควรดูจากจุดประสงค์การใช้งานเป็นหลัก หากต้องการใช้ในงานอุตสาหกรรมหรืองานภาคสนาม เราควรเน้นในเรื่องของคุณภาพเช่น IEC CAT II, IEC CAT III, CE มากกว่าเรื่องของราคา นอกจากเรื่องของคุณภาพแล้วการเลือกมัลติมิเตอร์ยังต้องดูรายละเอียดต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. มาตรฐานควรเลือกมาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องมือวัดไฟฟ้า (Measurement Categories: CAT)ให้ตรงตามประเภทของการใช้งาน
  2. TURE RMS หรือ MEAN งานที่ใช้วัดเป็นประจำนั้นเหมาะกับการใช้มัลติมิเตอร์แบบ TURE RMS หรือ MEAN
  3. Resolution และ Accuracyมัลติมิเตอร์จะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดจะขึ้นอยู่กับความละเอียดและความแม่นยำนี้
  4. ช่วงของการวัด เลือกมัลติมิเตอร์ที่มีช่วงของค่าปริมาณต่างๆ อยู่ในช่วงที่เราต้องการวัด เพราะหากนำมัลติมิเตอร์ไปวัดแล้วค่าที่ได้มีค่าเกินช่วงการวัดของมัลติมิเตอร์นั้น อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เครื่องมือได้
  5. จำนวนหลักที่แสดงผล ให้พิจารณาจากค่าปริมาณที่เราใช้วัดเป็นประจำ
  6. ฟังก์ชันการใช้งาน ทางที่ดีเราควรเลือกมัลติมิเตอร์ที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่เหมาะสมกับการใช้งานของเราเพื่อช่วยให้การทำงานนั้นสะดวกและค่าที่ได้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ของ HIOKI มีฟังก์ชันในการใช้งานที่ตอบสนองและเอื้อต่อการทำงานของผู้ใช้งาน เช่น ฟังก์ชัน low-pass filter ทำหน้าที่ในการกรองความถี่ที่สูงเพื่อให้ค่าที่ได้นั้นมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น, ฟังก์ชัน DC + AC voltageเป็นฟังก์ชันที่ใช้วัดค่า ripple voltage ได้และยังสามารถเก็บข้อมูลที่วัดค่าได้ลงใน internal memory และส่งผ่านข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ได้อย่างง่ายดายด้วย USB Connection

วิดีโอแนะนำคุณสมบัติดิจิตอลมัลติมิเตอร์รุ่น DT4256 ของ HIOKI

Digital Multimeter รุ่น DT4256 ของ HIOKIได้ผ่านการทดสอบถึงประสิทธิภาพความคงทนในด้านต่างๆ ซึ่งดิจิตอลมัลติมิเตอร์รุ่นนี้สามารถทนต่อการตกหล่นได้ในระดับความสูง 1 เมตร และมีฟังก์ชัน Voltage Detection ที่สามารถทดสอบได้ว่าบริเวณนั้นมีกระแสไฟหรือไม่

วิดีโอแนะนำการใช้งาน Voltage Detection Function

บทความเกี่ยวกับมัลติมิเตอร์ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ สัปดาห์หน้าเราจะมาเจาะลึกกันถึงวิธีการใช้งานในฟังก์ชันต่างๆ ของมัลติมิเตอร์กัน หากผู้อ่านท่านในอยากทราบเกี่ยวกับข้อมูลทางด้านเทคนิคหรือตัวสินค้ามัลติมิเตอร์สามารถสอบถามเข้ามาได้เลยครับผม ทางทีมยินดีตอบทุกข้อสงสัย

วันนี้เราขอลาไปก่อนพบกันใหม่สัปดาห์หน้า…สวัสดีคร้าบบบบ