ผู้ แต่ง วรรณคดี เรื่อง นิราศ ภูเขาทอง เกิด เมื่อ

รหัสข้อมูล

TLD-001-178

ชื่อเรื่องหลัก

นิราศภูเขาทอง

ยุคสมัย

วันที่แต่ง

พ.ศ.2371

ผู้แต่ง

คำประพันธ์

นิราศ 

ฉันทลักษณ์

กลอนนิราศ 

เนื้อเรื่องย่อ

สุนทรภู่เดินทางเพื่อไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทอง วัดภูเขา ที่อยุธยา โดยเดินทางทางเรือพร้อมกับพัดบุตรชายที่เกิดจากนางจันภรรยาคนแรกของสุนทรภู่  ในเดือน 11 ช่วงออกพรรษาและรับกฐินแล้ว จากวัดราชบูรณะล่องเรือผ่านสถานที่ต่าง ๆ จนถึงสถานที่ปลายทางคือพระเจดีย์ภูเขาทอง วัดภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุนทรภู่ได้ไปกราบนมัสการพระบรมธาตุที่บรรจุในพระเจดีย์ภูเขาทอง ณ ที่นี้สุนทรภู่พบพระธาตุในเกสรดอกบัวจึงอัญเชิญใส่ขวดแก้วนำมาวางไว้ที่หัวนอนเพื่อบูชา แต่เมื่อถึงรุ่งเช้าพระธาตุกลับหายไป ทำให้สุนทรภู่เสียใจมาก หลังจากนั้นจึงเดินทางกลับกรุงเทพฯ และขึ้นบกที่ท่าน้ำวัดอรุณราชวราราม

วัตถุประสงค์

ผู้เรียบเรียง

เอกสารอ้างอิง

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา . ชีวิตและงานของสุนทรภู่ . กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2515.

คำสำคัญ

ผู้ แต่ง วรรณคดี เรื่อง นิราศ ภูเขาทอง เกิด เมื่อ

ถึงหน้าวังดังหนึ่งใจจะขาด

คิดถึงบาทบพิตรอดิศร

โอ้ผ่านเกล้าเจ้าประคุณของสุนทร

แต่ปางก่อนเคยเฝ้าทุกเช้าเย็น

พระนิพพานปานประหนึ่งศีรษะขาด

ด้วยไร้ญาติยากแค้นถึงแสนเข็ญ

ทั้งโรคซ้ำกรรมซัดวิบัติเป็น

ไม่เล็งเห็นที่ซึ่งจะพึ่งพา

จะสร้างพรตอตส่าห์ส่งส่วนบุญถวาย

ประพฤติ ฝ่ายสมถะทั้งวสา

เป็นสิ่งของฉลองคุณมุลิกา

ขอเป็นข้าเคียงพระบาททุกชาติไปฯ

ขึ้นต้นมาด้วยบทกลอนแบบนี้ เพื่อน ๆ คงสงสัยว่าทำไมและใครกันนะที่เป็นคนแต่ง ขอบอกว่ามีคำใบ้ในบรรทัดที่ “โอ้ผ่านเกล้าเจ้าประคุณของสุนทร” เอ...คำว่าสุนทรนี่คล้าย ๆ ชื่อของใครกันนะ...ใช่แล้วค่ะ สุนทรภู่นั่นเอง ที่เป็นคนแต่งบทกลอนนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิราศภูเขาทอง ที่ StartDee หยิบยกมาให้เรียนกันในวันนี้ อ่านรายละเอียดกันต่อไปได้เลย

หรือจะดูแบบแอนิเมชันเก๋ ๆ ดาวน์โหลดได้เลยที่แอปพลิเคชัน StartDee !

ผู้ แต่ง วรรณคดี เรื่อง นิราศ ภูเขาทอง เกิด เมื่อ

ประวัติความเป็นมาของนิราศภูเขาทอง

ผู้แต่งนิราศภูเขาทอง คือ สุนทรภู่ โดยแต่งเมื่อปลาย พ.ศ. ๒๓๗๓ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ สวรรคตได้ ๖ ปี ในขณะที่บวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดราชบุรณะ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดเลียบ

นิราศภูเขาทอง เป็นนิราศที่มีเนื้อหาสั้นที่สุดของสุนทรภู่ คือ มีความยาวเพียง ๑๗๖ คำกลอนเท่านั้น

จุดประสงค์ในการแต่งนิราศภูเขาทอง

เพื่อบอกเล่าการเดินทางของสุนทรภู่เอง โดยเป็นการเดินทางจากวัดราชบุรณะไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทอง ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สาเหตุที่ต้องเดินทางไปกราบพระเจดีย์ภูเขาทองในครั้งนี้ ก็เพื่อหาความสบายใจให้แก่ตนเอง เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนใจบางประการ ในขณะที่พำนักอยู่ที่วัดราชบุรณะ

ลักษณะคำประพันธ์

สุนทรภู่ได้แต่งนิราศภูเขาทอง ให้มีลักษณะเป็นกลอนนิราศ โดยทั่วไป กลอนนิราศมีลักษณะเหมือนกลอนแปด แต่มักเริ่มบทแรกด้วยวรรครับ ไม่เริ่มด้วยวรรคสดับ จึงเหลือเพียง 3 วรรค คือ วรรครับ วรรครอง และวรรคส่ง แล้วจบท้ายด้วยคำว่า เอย โดยไม่มีการจำกัดความยาว

ผู้ แต่ง วรรณคดี เรื่อง นิราศ ภูเขาทอง เกิด เมื่อ

เนื้อเรื่องนิราศภูเขาทอง

ก่อนจะเข้าสู่เนื้อเรื่อง StartDee อยากให้ทุกคนอ่านบทเริ่มต้นกันด้านล่างนี้กันก่อน จะได้เห็นตัวอย่างลักษณะคำประพันธ์ประเภทกลอนนิราศ ที่เริ่มบทแรกด้วยวรรครับ

เดือนสิบเอ็ดเสร็จธุระพระวสา

รับกฐินภิญโญโมทนา                       ชุลีลาลงเรือเหลืออาลัย

ออกจากวัดทัศนาดูอาวาส                 เมื่อตรุษสารทพระวสาได้อาศัย

สามฤดูอยู่ดีไม่มีภัย                          มาจำไกลอารามเมื่อยามเย็น

โอ้อาวาสราชบุรณะพระวิหาร            แต่นี้นานนับทิวาจะมาเห็น

เหลือรำลึกนึกน่าน้ำตากระเด็น          เพราะขุกเข็ญคนพาลมารานทาง

จะยกหยิบธิบดีเป็นที่ตั้ง                    ก็ใช้ถังแทนสัดเห็นขัดขวาง

จึ่งจำลาอาวาสนิราศร้าง                   มาอ้างว้างวิญญาณ์ในสาครฯ

จากบทเริ่มต้นของนิราศภูเขาทองของสุนทรภู่ จะเห็นได้ว่า ในเดือน ๑๑ เมื่อออกพรรษาและรับกฐินแล้ว สุนทรภู่ซึ่งขณะนั้นบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดเลียบ ในพรรษาที่ ๓ ได้รับความทุกข์ยากเดือดร้อนหนัก ในเย็นวันหนึ่งจึงได้เดินทางออกจากวัดเลียบ พร้อมด้วยลูกชายคือหนูพัด เพื่อจะไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่วัดภูเขาทอง จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทาง

สุนทรภู่ถูกคนพาลเบียดเบียน และขับไล่ออกจากวัดอย่างไม่เป็นธรรม จึงได้ออกเดินทางด้วยเรือแจว พระสุนทรภู่ล่องไปตามลำน้ำเจ้าพระยา เมื่อผ่านพระบรมหาราชวัง พระสุนทรภู่ได้ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ (คำว่า บาทบพิตรอดิศร หมายถึง รัชกาลที่ ๒ นั่นเอง) พร้อมทั้งบรรยายความรู้สึกของตนอย่างเศร้าสลด อีกทั้งเล่าถึงความทุกข์ยากของตนว่ามี ๔ ประการ ได้แก่

  1. ไร้ญาติขาดมิตร
  2. ยากแค้นแสนสาหัส 
  3. มีโรคภัยไข้เจ็บ
  4. ถูกเคราะห์กรรมซ้ำเติม

เพราะความทุกข์ทั้ง ๔ นี้ พระสุนทรภู่จึงคิดว่า การได้ไปนมัสการพระที่กรุงศรีอยุธยาจะทำให้สบายใจขึ้นบ้าง แต่เมื่อถึงหน้าแพ และมองเห็นเรือพระที่นั่ง กลับทำให้คิดถึงเมื่ออดีต และเศร้าจนน้ำตาไหลอีกครั้ง เนื่องจากตนเคยหมอบกราบรัชกาลที่ ๒ พร้อมกับพระจมื่นไวย อีกทั้งยังรับใช้ใกล้ชิดจนได้กลิ่นหอมจากพระวรกายจนกลิ่นหอมนั้นติดจมูก แต่เมื่อพระองค์สวรรคต กลิ่นหอมนั้นก็สิ้นไป เช่นเดียวกับวาสนาของสุนทรภู่ที่หมดสิ้นไปด้วยเช่นกัน

เมื่อเรือผ่านหน้าวัดประโคนปัก สุนทรภู่ตั้งจิตขอพระพุทธคุณช่วย หากเกิดชาติหน้าใหม่ขอให้มีอายุยืนยาว แล้วแล่นเรือต่อมาผ่าน บางจาก บางพลู บางพลัด และบางโพ ซึ่งสุนทรภู่อธิษฐานจิตต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ให้ตนพ้นภัยพาล จากนั้นเรือแล่นผ่านบ้านญวณ เข้าเขตนนทบุรี ถึงวัดเขมาภิรตาราม ผ่านไปถึงตลาดแก้ว แขวงเมืองนนท์ อันมีตลาดขวัญซึ่งเป็นตลาดน้ำ ถึงบางธรณี ซึ่งสุนทรภู่พรรณนาความรู้สึกรันทดของตน เรื่อยมาถึงเกาะเกร็ด สุนทรภู่ได้บรรยายถึงผู้หญิงมอญว่าต่างเกล้าผมดูสวยงามเป็นเอกลักษณ์

เมื่อเรือแล่นผ่านบางพูด สุนทรภู่ได้แสดงสัจธรรมเกี่ยวกับการพูดไว้ดังคำประพันธ์

ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์

มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต

แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร

จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา

กล่าวคือ ถ้าใครพูดดีก็จะมีคนรัก แต่ถ้าพูดไม่ดีก็อาจจะเป็นภัยต่อตนเองได้อีกทั้งยังไม่มีใครคบ ไม่มีเพื่อนสนิทมิตรสหาย อีกทั้งการจะดูว่าใครดีไม่ดีดูได้จากการพูดด้วยเช่นกัน

ต่อมาถึงบางเดื่อ สุนทรภู่ได้กล่าวอุปมาอุปไมยถึงคนพาล ดังคำประพันธ์

ถึงบางเดื่อโอ้มะเดื่อเหลือประหลาด

บังเกิดชาติแมลงหวี่มีในไส้

เหมือนคนพาลหวานนอกย่อมขมใน

อุปไมยเหมือนมะเดื่อเหลือระอา

กล่าวคือ ถึงหมู่บ้านบางเดื่อก็คิดถึงลูกมะเดื่อ ที่ภายนอกนั้นดูสวยงามน่ารับประทาน แต่ภายในกลับมีแมลงมีหนอนชอนไชอยู่ เหมือนกับคนพาลที่ปากพูดดี แต่ในใจคิดทำอันตราย

สุนทรภู่แล่นเรือต่อมาผ่านบางหลวงเชิงราก แล่นไปถึงสามโคก ซึ่งรัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชทานนามปทุมธานีแทนสามโคก ต่อมาถึงบ้านงิ้ว สุนทรภู่ก็ได้กล่าวว่า ใครมีชู้เมื่อตายไปแล้วก็ต้องไปปีนต้นงิ้วในนรก 

ต่อมาเมื่อพระอาทิตย์ตกก็มีเมฆมืดครึ้มมา จนดูมืดมัวไปทุกทิศทุกทาง ทำให้สุนทรภู่ต้องนอนค้างกลางทุ่งนา ต้องผจญกับยุงที่มากัด ทำให้ใจหวนคิดถึงหนหลังครั้งที่ยังสุขสมบูรณ์ จนรุ่งเช้าจึงได้ออกเดินทางต่อ

ผู้ แต่ง วรรณคดี เรื่อง นิราศ ภูเขาทอง เกิด เมื่อ

เมื่อถึงกรุงเก่า เรือผ่านหน้าจวนของเจ้าเมือง คือพระยาไชยวิชิต ทำให้คิดถึงความหลัง ตอนที่พระยาไชยวิชิตยังเป็นพระหมื่นไวย เคยหมอบเฝ้ารัชกาลที่ ๒ ด้วยกัน จนเมื่อถึงที่หมายคือ อยุธยา สุนทรภู่จอดเรืออยู่ที่ท่าหน้าวัดพระเมรุ มีงานทอดผ้าป่า และมีการละเล่นที่วัดนี้ ตกดึกมีขโมยขึ้นเรือแต่ตนลุกขึ้นร้องตื่นเสียก่อน ขโมยจึงไม่ทันได้ของไป จนรุ่งขึ้น พระสุนทรภู่จึงได้ไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองและตั้งจิตอธิษฐานว่า

ขอให้ที่ได้มากราบในครั้งนี้ ให้ได้บุญเพื่อเป็นอานิสงส์ให้พ้นภัยต่าง ๆ ถ้าจะเกิดชาติไหน ๆ ก็ขอให้ตนบริสุทธิ์ทั้งกายและใจ ทั้งความทุกข์ความโศกอย่าได้มาใกล้ สบายไปตลอดกาล ทั้งความโลภ โกรธ หลง ขอให้ตนชนะได้ ขอให้มีสติปัญญาหลักแหลม ให้มีศีลธรรมอยู่ในใจ ทั้งผู้หญิงร้ายและผู้ชายชั่วก็ขอให้อย่าได้มาพัวพัน ขออย่าให้ลุ่มหลงในความรัก และขอให้บรรลุนิพพานในชาติหน้า

รุ่งขึ้นสุนทรภู่เดินทางกลับ โดยใช้เวลาล่องเรือเพียงวันเดียวก็มาถึงกรุงเทพฯ และจอดเรือที่วัดแจ้งหรือวัดอรุณราชวราราม สุนทรภู่ค่อยรู้สึกสร่างจากความเศร้า เพราะได้กราบพระพุทธรูป และสุดท้ายก็ไม่ลืมกล่าวถึงหญิงผู้เป็นที่รัก แม้ว่าในขณะนั้นสุนทรภู่ไม่ได้มีคนรัก รวมไปถึงไม่ได้เพิ่งแยกจากคนรักมา แต่การกล่างถึงหญิงผู้เป็นที่รักนั้น ถือเป็นธรรมเนียมของการแต่งนิราศโบราณ

เพื่อน ๆ ได้ทราบถึงที่มา จุดประสงค์ ลักษณะคำประพันธ์ รวมไปถึงเนื้อเรื่องทั้งหมดของนิราศภูเขาทองแล้ว StartDee ก็หวังว่าทุกคนจะอ่านคำกลอนเรื่องนี้ได้สนุกและเห็นภาพมากขึ้น (ส่วนใครที่ยังไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไรนะ เข้าไปดูเพิ่มเติมในคลิปวิดีโอเรื่อง ถอดคำประพันธ์นิราศภูเขาทอง เปิดบันทึกสุนทรภู่ | วิชาภาษาไทย ได้ที่ Youtube ของ StartDee) รวมถึงได้คะแนนสอบดีแบบผ่านฉลุย ส่วนใครที่อ่านวิชาภาษาไทยจบแล้ว มาสนุกกับวิชาคณิตศาสตร์กันต่อ คลิกอ่านเรื่อง เส้นขนานและมุมภายใน  หรือวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ หรือจะเข้ามาหาความรู้ในแอป StartDee ก็ได้นะ