บริเวณบ้าน แบ่ง ออก เป็น กี่ ส่วน อะไร บาง

บริเวณบ้านเป็นส่วนที่อยู่รอบๆตัวบ้าน เป็นส่วนที่มองเห็นจากภายนอกของบ้านควรดูแล รักษาให้สะอาดเป็นระเบียบ ถูกสุขลักษณะ ดังนี้
1. บริเวณรั้ว ประตูและถนนเข้าบ้าน ควรดูแลรักษา ดังนี้
1.1 ประตูบ้านและรั้วบ้านถ้าเป็นเหล็กดัดควรหมั่นดูแลรักษา ถ้ามีสนิมจับให้ขัดด้วยกระดาษทรายและทากันสนิม หรือทาสีน้ำมันทับและถ้าประตูมีเสียงดังให้หยอดน้ำมันหรือทาด้วยจารบี
1.2 รั้วซีเมนต์ควรปัดกวาดทำความสะอาดเดือนละครั้ง ถ้ามีตะไคร่น้ำจับ ให้ขัดด้วยแปรงลวดโดยใช้น้ำผสมผงซักฟอก
1.3 รั้วตันไม้ เช่น รั้วกระถิน ข่อยมะขามเทศ ควรตัดแต่งบ่อยๆเพื่อไม่ให้รั้วรกและเสียรูปทรง
1.4 ถนนทางเข้าบ้าน ควรดูแลรักษาโดยกวาดหรือล้างให้สะอาด อยู่เสมอ
1.5 ไม่ควรถึงขยะวางไว้หน้าบ้านเพราะจำทำให้สุนัข แมว มาคุ้ยเขี่ยทำให้สกปรกและไม่สวยงาม
1.6 ควรปลูกดอกไม้ประดังไว้หน้าบ้าน เพื่อเพิ่มความสวยงามและสดชื่นของบ้าน
2. บริเวณลายบ้าน สนามหญ้าและสวน ควรดูแลรักษา ดังนี้
2.1 กวาดให้สะอาดถ้ามีใบไม้ร่วงให้เก็บกวาดทุกวัน
2.2 ตัดหญ้าเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งตัดแต่งกิ่งไม้ ใส่ปุ๋ยและพรวนดินต้นไม้
2.3 บริเวณที่เป็นทางเดิน ควรนำแผ่นอิฐ หรือแผ่นดินวางเป็นระยอให้สวยงาม
2.4 พื้นบริเวณที่เป็นหลุมบ่อ ให้กลบ ถาเพื่อหลีกเลี้ยงแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
3. บริเวณริบตัวบ้านและทางระบายน้ำ ควรดูแลรักษาดังนี้
3.1 กวาดบริเวณให้สะอาด ย่าให้มีน้ำขังเพราะจะทำให้ส่งกลิ่นเหม็น
3.2 ไม่ควรวางสิ่งของริบๆบานให้รกรุงรังเพราะจำทำให้บ้านไม่สวยงาม ไม่น่าอยู่
3.3 ควรปลูกต้นไม้เพื่อความร่มรื่นสวยงาม ถ้าบริเวณรอบบ้านแสงแดดไม่เพียงพอควรปลูกไม้ประดับประเภทไม้ในร่ม แต่ถ้ามีแสงแดดเพียงพอ เพื่อให้เกิดความประหยัดและคุ้มค่าควรปลูกผักสวนครัวด้วย
3.4 ถ้ามีภาชนะใส่น้ำ เช่น โอ่ง ตุ่ม หรือถึงน้ำควรปิดฝาให้มิดชิด ถ้าเปิดไว้จะทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุ่งลาย ดันเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกมาสู่เราได้
3.5 ไม่ควรทิ้งขยะหรือเศษอาหารลงในทางระบายน้ำ เพราะจะทำให้น้ำไหลไม่สะดวก

4. การดูแลรักษาเครื่องเรือน
เครื่อง เรือนเป็นสิ่งของเครื่องใช้ ที่ช่วยตกแต่งภายในบ้านให้สวยงาม เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ ชุดรับแขก เป็นต้น ในการทำความสะอาดเครื่องเรือนควรระวังอย่าให้เกิดรอยขีดข่วน ดังนั้น ในการปัดฝุ่นควรใช้ไม้ปัดขนไก่ หรือผ้านุ่ม และถ้าจะต้องล้างหรือขัดสิ่งสกปรกไม่ควรใช้ฝอยจัด ดังนั้น เพื่อให้อายุการใช้เครื่องเรือนได้ยาวนานควรดูแลรักษาให้ถูกวิธี ตามลักษณะและชนิดของวัสดุ โดยใช้วิธีการดังนี้
1. เครื่องเรือนประเภทไม้ ปัดฝุ่นและเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาด ถ้าเป็นไม้ปูด้วยแผ่นฟอร์ไมก้าควรเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำบิดพอหมาดๆ เช่นเดียวกัน ถ้าสกปรกมากควรใช้ฟองน้ำชุบน้ำผสมผง ซักฟอกขัด แล้วใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดจนหมดน้ำผงซักฟอก
2. เครื่องเรือนประเภทหนัง ควรปัดฝุ่นและใช้เศษผ้าชุบน้ำยาขัดเงาทาให้ทั่ว ขัดด้วยแปรงขนจนขึ้นเงา
3. เครื่องเรือนประเภทพลาสติกและเครื่องเคลือบ ควรปัดฝุ่นและเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำหมาด ถ้ามีสิ่งสกปรกให้ล้างน้ำขัดถูด้วยฟองน้ำและผงซักฟอก
4. เครื่องเรือนประเภทเครื่องเงิน เครื่องเงินเมื่อสัมผัสอากาศนานๆจะทำให้สีคล้ำ ดังนั้น ถ้าใช้เครื่องเรือนที่เป็นเครื่องเงินควรทำความสะอาดบ่อยๆ โดยขัดด้วยน้ำยาขัดเครื่องเงินหรอขัดด้วยสบู่ผสมน้ำอุ่น โดยใช้ผ้าหรือฟองน้ำ
5. เครื่องเรือนประเภททองเหลือง ทองเหลืองเมื่อสัมผัสอากาศจะมีสีคล้ำงเช่นเดียวกันควรทำความสะอาดโดยขัดด้วย น้ำยาจัดทองเหลำง หรือจัดด้วยน้ำมาขามเปียก หรือน้ำมารนาวโดยใช้ผ้าหรือฟองน้ำ
6. เครื่องเรือนประเภทเครื่องแก้วและกระจก เมื่อทำความสะอาดควรระมัดระวังการแตกหักและไม่ควรให้เครื่องเครอนประเภทนี้ ถูกความร้อนมาก เพราะจะทำให้เปราะแตกง่าย ในการทำความสะอาดถ้าเป็นประเภทกระจกควรเช็ดด้วยน้ำยาเช็ดกระจก หรือใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ชุบน้ำเช็ดหลายครั้งจนกระจกใส ถ้าเป็นเครื่องแก้วควรล้างด้วยน้ำผงซักฟอกและเช็ดด้วยผ้าแห้ง

รวมข้อมูลวัสดุศาสตร์เกี่ยวกับส่วนประกอบของอาคาร ซึ่งจะมีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจบ้างนั้น วันนี้ wazzadu.com ย่อยมาให้แล้ว มาชมกันเลยครับ...

โครงสร้าง

1. จันทัน (Rafter) 

ส่วนที่วางเอียงลาดไปตามลักษณะของหลังคา ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งของโครงสร้างหลังคา มีหน้าที่รองรับและถ่ายเทน้ำหนักจากแปไปสู่อกไก่ อเส และหัวเสาตามลำดับ โดยแบ่งออกเป็น จันทันเอก คือ จันทันที่พาดอยู่บนหัวเสา และอกไก่ และจันทันพราง คือ จันทันที่พาดอยู่บนอเส และอกไก่ โดยทั่วไปจันทันจะวางเป็นระยะทุกๆ 1 เมตร โดยระยะห่างของจันทันจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัสดุมุงหลังคา และระยะแป

2. สะพานรับจันทัน (Bridge Rafter) 

ส่วนที่วางอยู่บนขื่อคัด โดยทำหน้าที่รองรับจันทันพรางเพื่อไม่ให้เกิดการอ่อนตัวที่จุดกึ่งกลาง และป้องกันไม่ให้จันทันพรางบิด หรือ แอ่นตัว โดยสะพานรับจันทันมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 6 นิ้ว

3. อกไก่ (Ridge) 

ส่วนโครงสร้างหลังคาที่ทำจากไม้เนื้อแกร่ง หรือ ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่า และไม้ประดู่ โดยอกไก่จะวางอยู่บนดั้งบริเวณสันหลังคา ทำหน้าที่รับน้ำหนักจันทันส่วนบนยอดจั่วตามแนวสันหลังคา โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 6 นิ้ว และ 2 x 8 นิ้ว

4. อเส (Stud Beam) 

ส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลังคาที่พาดอยู่บนหัวเสา มีลักษณะคล้ายคานทำหน้าที่ยึดและรัดหัวเสา โดยตำแหน่งการวางมักจะวางอยู่บริเวณริมด้านนอกของเสา ถือเป็นส่วนโครงสร้างที่ช่วยรับแรงจากกระเบื้องหลังคา แปหลังคา และจันทัน โดยถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาตามลำดับ อเสทำจากไม้เนื้อแข็ง หรือ ไม้เนื้อแกร่ง เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่า และไม้ประดู่ โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 6 นิ้ว และ 2 x 8 นิ้ว

5. ขื่อ (Tie Beam​) 

ส่วนของโครงสร้างที่วางอยู่บนหัวเสาในทิศทางเดียวกับจันทัน ทำหน้าที่รับแรงดึงและยึดหัวเสาในแนวคานทางด้านจั่วหลังคา แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่เสา อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยยึดโครงผนังอีกด้วย ขื่อทำจากไม้เนื้อแข็ง หรือ ไม้เนื้อแกร่ง เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่า และไม้ประดู่ โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 6 นิ้ว และ 2 x 8 นิ้ว

6. ขื่อคัด (Collar Beam) 

ส่วนโครงสร้างซึ่งทำหน้าที่ยึดจันทันเอก เพื่อรับน้ำหนักของอกไก่ถ่ายเทไปที่จันทันเอก โดยขื่อคัดจะวางอยู่ในตำแหน่งใต้อกไก่ ขื่อคัดทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่า และไม้ประดู่ โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 1/2 x 3 นิ้ว

7. แป (Purlin) 

ส่วนประกอบของโครงหลังคาที่อยู่ตำแหน่งบนสุดของโครงสร้าง ทำจากไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้แดง มีลักษณะหน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำหน้าที่รับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคาประเภทต่างๆ โดยวางขนานกับแนวอกไก่ เริ่มต้นพาดยาวผ่านจันทันเอก และจันทันพราง แล้วไปสุดจันทันเอกที่อีกด้านหนึ่งของโครงหลังคา ซึ่งจะเว้นระยะวางห่างกันตามขนาดของวัสดุมุงหลังคาที่ใช้ โดยไม้แปมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 1/2 x 3 นิ้ว 

8. ดั้งเอก (King Post) 

ส่วนโครงสร้างที่ถูกยึดอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางของขื่อตั้งฉากตรงขึ้นไปต่อรับกับอกไก่ที่วางพาดตามแนวสันหลังคา ดั้งเอกทำหน้าที่รับน้ำหนักที่ถ่ายมาจากวัสดุมุงหลังคา แป และอกไก่

ดั้งเอกนิยมทำจากไม้เนื้อแข็ง หรือ ไม้เนื้อแกร่ง เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่า และไม้ประดู่ โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 6 นิ้ว

9. ตุ๊กตา หรือ ดั้งรอง (Queen Post) 

ชิ้นส่วนโครงสร้างที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งระหว่างดั้งเอกกับปลายขื่อทั้งสองข้าง  ดั้งรองจะถูกใช้ในกรณีที่หลังคามีขนาดใหญ่มากๆ ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยจันทันเอกรับน้ำหนักโครงหลังคาที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้จันทันเอกอ่อนตัว และบิดตัวถล่มลงมา  (ทำหน้าที่คล้ายดั้งเอก) ดั้งรองทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง ,ไม้เต็ง หรือไม้ประดู่ โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 1/2 x 3 นิ้ว

10. ค้ำยัน (Roof Bracing) 

ส่วนโครงสร้างเสริมในกรณีที่โครงสร้างหลังคามีขนาดใหญ่ ไม้ค้ำยันมีตำแหน่งอยู่ระหว่างดั้งเอก และตุ๊กตา ทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงด้วยการช่วยค้ำยันรับน้ำหนักจันทันเอก ดั้งเอก และตุ๊กตาเพื่อไม่ให้เกิดการอ่อนตัว หรือ บิดตัว ไม้ค้ำยันทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่า และไม้ประดู่ โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 4 นิ้ว

11. ปิดลอน (Fascia) 

ส่วนประกอบโครงสร้างหลังคา ทำหน้าที่ปิดช่องว่างของลอนกระเบื้องที่อยู่ปลายหลังคาเพื่อไม่ให้สัตว์ และแมลงต่างๆลอดเข้าไปทำรังหรืออาศัยอยู่ข้างในได้ ไม้ปิดลอนทำมาจากไม้เนื้อแข็ง หรือ ไม้เนื้อแข็งปานกลาง โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 x 6 นิ้ว

12. เสา (Column) 

เสาอาคารที่ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง หรือ ไม้เนื้อแกร่ง เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่า และไม้ประดู่ ซึ่งทำหน้าที่รับน้ำหนักของตัวอาคารทั้งหมด โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 4 x 4 นิ้ว ,6 x 6 นิ้ว และ 8 x 8 นิ้ว โดยมีลักษณะหน้าตัดอยู่ 2 รูปแบบ คือ เสาสี่เหลี่ยมจตุรัส และเสาทรงกลม

13. คาน (Beams) 

ส่วนโครงสร้างที่พาดอยู่ระหว่างหัวเสาสองต้น ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักวัสดุปูพื้น และตงโดยถ่ายน้ำหนักลงมาที่คานตามลำดับ ไม้คานที่ใช้ในอาคารโครงสร้างไม้ทำจากไม้เนื้อแข็ง หรือ ไม้เนื้อแกร่ง เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่า และไม้ประดู่  โดยไม้คานมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 6 นิ้ว ,2 x 8 นิ้ว และ 2 x 10 นิ้ว

14. ตง (Joists) 

ส่วนโครงสร้างที่วางพาดอยู่บนไม้คาน ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักวัสดุปูพื้นประเภทต่างๆ ไม้ตงทำมาจากไม้เนื้อแข็ง หรือ ไม้เนื้อแกร่ง เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่า และไม้ประดู่  ไม้ตงมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 1/2 x 6 นิ้ว และ 2 x 6 นิ้ว โดยติดตั้งเว้นระยะห่างทุกๆ 50 เซนติเมตร

15. ไม้เคร่า (Stud) 

โครงไม้เนื้ออ่อนที่ใช้สำหรับเป็นฉากรองรับน้ำหนักวัสดุผนังเบา หรือ วัสดุฝ้าเพดาน เมื่อเราต้องการที่จะต่อเติมกั้นห้อง หรือทำฝ้าเพดาน สิ่งที่ต้องใช้เป็นส่วนขึ้นโครงฉากสำหรับยึด และพยุงรับน้ำหนักแผ่นผนัง และฝ้าเพดานก็คือไม้เคร่านั่นเอง โดยขนาดของไม้เคร่าที่นิยมใช้ทั่วไป คือ 1 1/2 x 3 นิ้ว

16. เชิงชาย (Eaves)

ไม้ที่ปิดทับปลายของจันทัน ทำหน้าที่ปิดช่องว่างระหว่างจันทันและรับปลายกระเบื้องมุงหลังคา  ส่วนใหญ่แล้วทำจากไม้เนื้อแข็ง โดยขนาดของไม้เชิงชายที่นิยมใช้ทั่วไป คือ 1 x 4 นิ้ว ,1 x 6 นิ้ว ,1 x 8 นิ้ว และยาวท่อนละ 3 – 4 เมตร

17. ปั้นลม  (Gable Board or Eave) 

ไม้ที่ใช้ปิดหัวท้ายริมโครงสร้างหลังคาจั่วด้านสกัด โดยพาดอยู่บนหัวแปและด้านล่างของครอบข้างหลังคา มีหน้าที่กันน้ำ และลมไม่ให้ปะทะกับกระเบื้องหลังคาโดยตรง และช่วยเป็นที่ยึดเกาะของครอบข้างเพิ่มช่วยเพิ่มความสวยงาม โดยขนาดของไม้ปั้นลมที่นิยมใช้ทั่วไป คือ 3/4 x 6 นิ้ว และ 3/4 x 8 นิ้ว

หลังคา

หลังคา (Roof) เป็นส่วนประกอบด้านบนของบ้านหรืออาคาร เพื่อกันแดด กันฝน มีรูปทรง สีสัน หรือวัสดุที่ใช้แตกต่างออกไปตามความนิยมและวัฒนธรรมในแต่ละประเทศ ซึ่งหลังคาจะประกอบไปด้วย โครงหลังคา วัสดุมุงหลังคา (เช่น กระเบื้องหลังคา) และอุปกรณ์ประกอบหลังคาที่ช่วยเรื่องการระบายน้ำฝน การป้องกันความร้อน รวมถึงป้องกันหลังคารั่วซึม

รูปทรงหลังคา ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย 6 รูปทรง ประกอบด้วย

  • หลังคาทรงหน้าจั่ว (Gable Roof)
  • หลังคาทรงปั้นหยา (Hip Roof)
  • หลังคาแบน (Flat Slab Roof)
  • หลังคาเพิงหมาแหงน (Lean To Roof)
  • หลังคาแบบผีเสื้อ (Butterfly Roof)
  • หลังคาแบบร่วมสมัย (Modern& Contemporary Roof) 

บันได

บ้านไดบ้าน ถือเป็นองค์ประกอบของพี่พักอาศัยหรืออาคารต่างๆ เพราะบันไดทำหน้าที่เชื่อมต่อทางเดินระหว่างแต่ละชั้นภายในบ้านหรืออาคาร และถึงแม้อาคารนั้นๆ จะมีลิฟต์หรือบันไดเลื่อนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงต้องมีบันไดอยู่ดี เพื่อเป็นทางสัญจรกรณีฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากความสำคัญในเรื่องของฟังก็ชั่นการใช้งาน บันไดยังถูกจัดเป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับที่พักอาศัยได้

โครงสร้างบันได

  • บันไดโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • บันไดโครงสร้างไม้
  • บันไดโครงสร้างเหล็ก

ประตู-หน้าต่าง

ประตู คือองค์ประกอบหนึ่งของงานสถาปัตยกรรมที่ไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่ช่องทางเข้า-ออกและการรักษาความปลอดภัยเท่านั้น แต่ประตูยังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บ่งชี้ถึงศิลปกรรม ความเชื่อทางศาสนาทั้งเรื่องการวางผังตามทิศมงคล และการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ และความเจริญรุ่งเรืองในแต่ละท้องถิ่นอีกด้วย เรามาดูกันครับว่า 5 ประเภทประตูยอดนิยม จะมีคุณสมบัติ และมีลักษณะอย่างไรบ้าง

หน้าต่าง เกิดจากการเจาะช่องเปิดบนผนังและมีบานเพื่อเปิด-ปิดช่องเปิดนั้น ประโยชน์ใช้สอยหลักของหน้าต่าง ได้แก่ เปิดรับแสงธรรมชาติ และเปิดรับลม เพื่อการระบายอากาศภายในอาคาร นอกจากประโยชน์ใช้สอยแล้ว การเลือกประเภทของหน้าต่างให้สอดคล้องกับสไตล์การออกแบบยังเป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบสถาปัตยกรรมให้สวยงามอีกด้วย

ตัวอย่างประเภทของประตู/หน้าต่าง

  • บานเปิด (Swing Door/Window)
  • บานสวิง (Swing Bi-fold Door/Window)
  • บานเฟี๊ยม (Accordian Door/Window)
  • บานหมุน (Pivot Door/Window)
  • บานเลื่อน (Sliding Door/Window)

ฝ้าเพดาน

การออกแบบฝ้าเพดาน (Ceiling Design) เป็นส่วนหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมมาเกือบพันปี ซึ่งการเกิดขึ้นของงานออกแบบตกแต่งฝ้าเพดานยุคแรกๆ ต้องย้อนเวลาไปถึงต้นปี 1300 กันเลยทีเดียว จุดแรกเริ่มในอดีตอาจไม่สามารถเรียกว่าฝ้าเพดานได้อย่างเต็มปากนัก แต่มันคือการตกแต่งเพดานให้มีความสวยงามตามความเชื่อ และการใช้งานของคนในอดีตเท่านั้น แต่มันก็มีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนถูกพัฒนาให้กลายเป็นระบบฝ้าเพดานในปัจจุบัน ฝ้าเพดานมีหน้าที่ปกปิดความไม่เรียบร้อยของท่อร้อยสายไฟและงานระบบต่างๆ รวมถึงช่วยลดความร้อนที่จะส่งผ่านลงมาจากทางหลังคาโดยตรง (หากติดตั้งคู่กับฉนวนกันความร้อน จะช่วยลดความร้อนได้ดียิ่งขึ้น) ตลอดจนช่วยลดฝุ่นละอองตามสายไฟและงานระบบที่อาจจะตกลงมาได้ ฝ้าเพดานแบ่งออกเป็นฝ้าภายในและฝ้าภายนอก ซึ่งฝ้าภายในจะมีหลายรูปแบบให้เลือก เช่น

  • ฝ้าเพดานฉาบเรียบ 
  • ฝ้าเพดานแขวน หรือ ฝ้าที-บาร์
  • ฝ้าเพดานแบบเล่นระดับ หรือ ฝ้าหลุม
  • ฝ้าเพดานซ่อนระบบไฟ หรือ ไฟหลืบ ไฟซ่อนฝ้า
  • ฝ้าเพดานดูดซับเสียง หรือ ฝ้าอะคูสติก
  • ฝ้าเพดานโปร่ง หรือ ฝ้าระแนง
  • ฝ้าชายคา หรือ ฝ้าเพดานภายนอก

ฉนวน

ฉนวน เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการสกัดกั้น ซึ่งสำหรับงานบ้านพักอาศัยจะมีทั้งฉนวนกันความร้อนและฉนวนกันเสียง ฉนวนกันความร้อน คือ วัตถุหรือวัสดุที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนที่เกิดขึ้นจากการแผ่รังสีความร้อน การนำความร้อน หรือการพาความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุสองชิ้น หรือบริเวณสองบริเวณที่มีอุณหภูมิต่างกัน ซึ่งสามารถนำฉนวนกันความร้อนไปติดตั้งได้ทั้งในส่วนของหลังคา ฝ้าเพดาน และงานผนัง เพื่อลดความร้อนที่จะส่งผ่านเข้ามาภายในบ้าน ส่วนฉนวนกันเสียง จะเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติที่ช่วยให้เสียงเดินทางผ่านยาก เพื่อกั้นเสียงไม่ให้ทะลุจากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่ง เพื่อให้เสียงจากภายนอกบ้านไม่เข้ามารบกวนและป้องกันเสียงจากภายในบ้านไม่ให้รบกวนเพื่อนบ้าน

ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม

บริเวณบ้านแบ่งออกกี่ส่วน

บริเวณบ้านจัดเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน เพราะเป็นส่วนแรกที่สามารถสร้างบรรยากาศและความรู้สึกที่ดีของผู้ที่พบเห็นหรือมาเยี่ยมเยือน ฉะนั้นจึงควรดูแลจัด ตกแต่งและทำความสะอาดเพื่อส่งเสริมให้ตัวบ้านสวยงามอยู่เสมอ บริเวณบ้านที่ควรได้รับการจัด ตกแต่ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ

บริเวณบ้านหมายถึงสิ่งใด

(บอริเวน) น. พื้นที่ภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ เช่น บริเวณบ้าน บริเวณโบสถ์ บริเวณวัด บริเวณสนามหลวง.