ปริมาณออกซิเจนในที่อับอากาศ

ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพื้นที่อับอากาศคือพื้นที่ที่มีลักษณะจำกัดทางเข้าออก มีจำนวนน้อยหรือมีขนาดคับแคบ และมีการระบายอากาศได้ไม่เพียงพอ ส่งผลให้อากาศภายในพื้นที่ลักษณะนี้มีสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และไม่ปลอดภัย มักไม่สามารถทำงานในพื้นที่อับอากาศได้อย่างต่อเนื่อง ลักษณะของพื้นที่นี้ได้แก่ อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังบรรจุน้ำมัน ถังในกระบวนการผลิตขนาดใหญ่ ถังไซโล ท่อ เตา และภาชนะที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าไปได้ หรือลักษณะอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน โดยอันตรายที่เกิดในระหว่างการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศนั้นก็เกิดเนื่องมาจากปริมาณออกซิเจนที่ต่ำกว่าปกติ การปนเปื้อนของก๊าซ ไอ ละอองที่สามารถติดไฟหรือระเบิดได้ มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ในปริมาณที่สูงจนเกิดอันตรายได้ ค่าความเข้มข้นของสารเคมีบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิดอันตรายในพื้นที่ Confined Space คืออะไร

ปริมาณออกซิเจนในที่อับอากาศ
อันตรายจากการทำงานในพื้นที่อับอากาศ

1. ระดับออกซิเจนที่ต่ำเกินไป


โดยทั่วไปในชั้นบรรยากาศของโลกจะมีระดับออกซิเจนอยู่ที่ 20.9% แต่ในบริเวณพื้นที่อับอากาศนั้นระดับของออกซิเจนจะอยู่ที่ต่ำกว่า 19.5% หรือมากกว่า 23.5% ซึ่งในกรณีที่ระดับออกซิเจนต่ำเกินไปนั้นจะส่งผลให้ร่างกายมีปริมาณออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง จนทำให้อวัยวะหลายส่วนได้รับอันตราย ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายจะถูกสะสมเพิ่มมากขึ้น ระดับพลังงานในร่างกายจึงลดลง และค่า pH (ความเป็นกรด ด่างในร่างกาย) ลดลงตามไปด้วย ร่างกายจึงเกิดปฏิกิริยาได้ทันทีที่ได้รับออกซิเจนในปริมาณที่ต่ำเกินไป แต่ระดับความรุนแรงก็อาจขึ้นกับสุขภาพร่างกาย และระยะเวลาที่ได้รับออกซิเจนน้อยเกินไป โดยอาการเบื้องต้นของผู้ที่ได้รับออกซิเจนน้อยเกินไปคือรู้สึกสับสนมึนงง เหงื่อออกมากผิดปกติ การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ จะแย่ลง การเคลื่อนไหวร่างกายลำบาก ขาดสมาธิ อาจเกิดปัญหาความจำเสื่อมชั่วคราว ดังนั้นหากผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศเกิดอาการต่อไปนี้ ควรอพยพออกมาในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายที่รุนแรงมากขึ้น

2. การสะสมของก๊าซ ไอ และละอองไวไฟ

อากาศคือสิ่งที่มนุษย์เราสามารถสัมผัสได้ แต่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งในอากาศนั้นก็มีองค์ประกอบที่สามารถติดไฟได้ง่าย หรืออาจรุนแรงถึงการระเบิดได้ โดยลักษณะของก๊าซ ไอ หรือละอองที่ติดไฟได้ง่ายใน Confined Space คืออะไร ก๊าซ Hydrogen, Methane, iso-Butane(LPG), Propane, Benzene, Hydrogen sulfide หรือ Carbon monoxide ซึ่งเป็นก๊าซที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ แต่ในพื้นที่อับอากาศที่อากาศไม่สามารถถ่ายเทได้สะดวก อาจส่งผลให้ก๊าซ ไอ หรือละอองเหล่านี้เกิดการสะสมในปริมาณที่สูงจนติดไฟได้ง่าย ยิ่งเป็นการทำงานที่มีลักษณะของการเกิดประกายไฟอย่างงานเชื่อม งานโลหะ ก็ยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการทำงานภายในพื้นที่อับอากาศให้มากขึ้น อาจต้องตรวจสอบสภาพอากาศภายในพื้นที่ปฏิบัติงานนั้น ๆ ก่อนเข้าปฏิบัติงานด้วย

3. การสะสมของฝุ่นที่ติดไฟ

อันตรายของฝุ่นละอองนอกจากอาการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นภายใน Confined Space คืออะไร การระเบิดของฝุ่นละออง ซึ่งฝุ่นที่สามารถเกิดการระเบิดหรือติดไฟได้นั้นคือฝุ่นที่สามารถสันดาปได้ หรือเป็นฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดเล็กกว่า 420 ไมโครเมตร และมีความเข้มข้นในอากาศที่เหมาะสม ซึ่งในพื้นที่อับอากาศที่มีการไหลเวียนของอากาศต่ำมีโอกาสที่จะมีปริมาณฝุ่นเหล่านี้มากจนถึงระดับที่เป็นอันตรายได้ โดยสามารถแบ่งประเภทของฝุ่นที่สามารถติดไฟได้ ดังนี้

ฝุ่นที่มีอินทรีย์สารเป็นส่วนประกอบ เช่น ฝุ่นแป้ง ฝุ่นไม้ ผงน้ำตาล เป็นต้น

ฝุ่นที่มีอินทรีย์สารสงเคราะห์เป็นส่วนประกอบ เช่น ฝุ่นพลาสติก ฝุ่นยา หรือสารเคมีฆ่าแมลง เป็นต้น

ฝุ่นถ่านและถ่านหิน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงประเภทหนึ่ง

ฝุ่นที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ เช่น ผงอะลมิเนียม แมกนีเซียม สังกะสี

4. ค่าความเข้มข้นของสารเคมีที่เป็นอันตราย

สารเคมีคือธาตุหรือสารประกอบที่สามารถรวมตัวกันได้ด้วยพันธะทางเคมี ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ หรือมนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อการใช้งานบางประเภท ซึ่งอันตรายของสารเคมีในพื้นที่ Confined Space คืออะไร

เกิดอาการระคายเคืองตามผิวหนัง รู้สึกคัน แสบ ร้อน และพุพอง มักเกิดจากกรดชนิดต่าง ๆ ก๊าซที่มีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างคลอรีน แอมโมเนีย และซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ทำให้หมดสติได้ เป็นอาการที่เกิดจากสูดสารเคมีเข้าไปในปริมาณมากจนเกิดการแทนที่ออกซิเจนทำให้หมดสติ ตัวอย่างเช่นคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน และไซยาไนด์

เกิดอันตรายต่อระบบประสาท เช่นสารที่ระเหยได้ง่าย อย่างแอลกอฮอล์ เบนซินอะซิโตน อีเทอร์ หรือคลอโรฟอร์ม ซึ่งเมื่อสูดเข้าไปในปริมาณมาก ๆ ก็จะทำให้ปวดศีรษะ วิงเวียน และมึนงงได้

เกิดอันตรายต่อกระบวนการสร้างโลหิต เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อรับสารเคมีในปริมาณมาก ๆ หรือได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่นสารตะกั่วที่จะทำให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติไปได้ เกิดปัญหาโลหิตจางขึ้น

อันตรายต่อกระดูก เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อรับสารเคมีในปริมาณมาก ๆ หรือได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเช่นเดียวกับสารเคมีที่มีผลต่อเลือก เช่นฟอสฟอรัส หรือแคลเซียมที่ทำให้กระดูกผิดรูป หรือทำให้กระดูกเปราะแตกง่าย เป็นต้น

อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่นทราย ฝุ่นถ่านหิน ที่ทำให้ยากต่อการหายใจ เป็นต้น

               เมื่อทราบรายละเอียดแล้วว่าอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นภายใน Confined Space คืออะไร ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการปฏิบัติงาน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ปฏิบัติงานจะมีความปลอดภัยตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ


บทสรุป

เหตุผลที่ทำให้เกิดอันตรายในพื้นที่ Confined Space คืออะไร

ปริมาณออกซิเจนในที่อับอากาศ

1. ระดับออกซิเจนที่ต่ำเกินไป
2. การสะสมของก๊าซ ไอ และละอองไวไฟ
3. การสะสมของฝุ่นที่ติดไฟ
4. ค่าความเข้มข้นของสารเคมีที่เป็นอันตราย

Share:

More Posts

ปริมาณออกซิเจนในที่อับอากาศ

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor

ที่อับอากาศต้องมีออกซิเจนเท่าไร

4.1 ข้อกำหนดของประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องความปลอดภัยในการทำงานในพื้นที่อับอากาศ กำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ 4.1.1 ออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 18 % (V/V) 4.1.2 ไฮโดรเจนซัลไฟด์ 50 ppm. ในเวลา 10 นาที 4.1.3 แก๊สที่ติดไฟได้ต้องมีความเข้มข้นได้ไม่เกิน 20% ของค่า LEL ของแต่ละชนิด

ที่อับอากาศตรวจวัดตอนไหนบ้าง

การตรวจสอบอาจมากกว่าหนึ่งครั้งก็ได้สำหรับการตรวจสอบบรรยากาศก่อนเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ และควรจะทำการตรวจสอบก่อนที่ทำการระบายอากาศ และต้องทำการตรวจสอบก่อนที่พนักงานเข้าไปทำงานไม่เกิน 20 นาที ผลการทดสอบต้องทำการบันทึกไว้และติดป้ายแสดงไว้ที่ปากทางเข้าออกที่อับอากาศทุกจุด

ลมหายใจออกมีออกซิเจนกี่เปอร์เซ็น

โดยปกติแล้ว อากาศที่เราหายใจเข้าไปนั้น,ประกอบด้วยออกซิเจนประมาณ 21% และไนโตนเจนประมาณ 79% และปริมาณออกซิเจนที่สภาพเหมาะสมที่คนเราสามารถอยู่ได้อย่างสบาย จะต้องมีออกซิเจน อยู่ประมาณ 19.5-23.5% แต่ถ้าปริมาณออกซิเจนในอากาศลดลงเหลือ 15-17% จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ของร่างกายเกิดขึ้น นั่นก็คืออาการของภาวะพร่องออกซิเจน ( ...

ออกซิเจนมีกี่เปอร์เซน

เรามักเรียกชั้นบรรยากาศว่าอากาศ เมื่อเกี่ยวข้องกับการหายใจ ในอากาศรอบๆตัวเรา จะประกอบด้วยก๊าซต่างๆ คือ ไนโตรเจน ประมาณ 78% ออกซิเจนประมาณ 21% ส่วนที่เหลือคือ อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซน์ และก๊าซอื่นๆ ในอากาศยังมีส่วนประกอบอื่น เช่น ความชื้น ฝุ่น