ฮอร์โมน adh antidiuretic hormone มีอิทธิพลต่อการทำงานของส่วนไหนของหน่วยไต มากที่สุด

ฮอร์โมน adh antidiuretic hormone มีอิทธิพลต่อการทำงานของส่วนไหนของหน่วยไต มากที่สุด

ฮอร์โมน adh antidiuretic hormone มีอิทธิพลต่อการทำงานของส่วนไหนของหน่วยไต มากที่สุด

ฮอร์โมน adh antidiuretic hormone มีอิทธิพลต่อการทำงานของส่วนไหนของหน่วยไต มากที่สุด
 ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary) ไม่ได้สร้างฮอร์โมนได้เอง แต่มีปลายแอกซอนของนิวโรซีครีทอรีเซลล์ จากสมองส่วนไฮโปทาลามัสมาสิ้นสุด และหลั่งฮอร์โมนประสาทออกมาสู่กระแสเลือดเข้าสู่เส้นเลือดที่มาเลี้ยงต่อม ใต้สมองส่วนหลังดังนั้นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองส่วนหลังก็คือ ฮอร์โมนประสาทนั่นเอง เป็นที่เก็บและหลั่ง ฮอร์โมน 2 ชนิดซึ่งสร้างจากเซลล์ประสาทใน ไฮโปธาลามัส คือ
1.Oxytocin คือ ฮอร์โมนที่มีสูตรเคมีคล้ายกับ ADH มาก แต่มีหน้าที่แตกต่างกัน ออกซิโทซินจะถูกหลั่งออกมามากในหญิงตั้งครรถ์ที่ใกล้คลอด โดยมีผลกระตุ้นให้มดลูกหดตัวเป็นระยะ ๆ ซึ่งช่วยใหเกิดกระบวนการคลอด นอกจากนั้นภายหลังคลอด การดูดนมของทารกจะเป็นการกระตุ้นการหลั่งออกซิโทซิน นอกจากนั้นจะทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว เนื่องจากมีการหดตัวของมดลูก
2.วาโสเพรสซิน (Vasopressin antidiuretic hormone = ADH) ทำหน้าที่กระตุ้นการดูดซึมน้ำกลับสู่กระแสเลือดบริเวณท่อรวม (collecting duct) ของหน่วยไต ซึ่งช่วยรักษาสมดุลน้ำในร่างกาย
ความผิดปกติ : ถ้าขาดจะเป็นโรคเบาจืด จะปัสสาวะบ่อยเนื่องจาก ท่อหน่วยไตดูดน้ำกลับเข้าสู่ท่อได้น้อย

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/49304

ฮอร์โมน adh antidiuretic hormone มีอิทธิพลต่อการทำงานของส่วนไหนของหน่วยไต มากที่สุด

พจนานุกรมคำศัพท์

abdominal cavity
ช่องท้อง : ส่วนหนึ่งภายในร่างกาย มือ อวัยวะหลายอย่าง เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ไต เป็นต้น
acety choline
อะซีติลโคลีน : สารซึ่งหลั่งออกมาจากปลายของใยประสาทบริเวณไซแนปส์ สารนี้ช่วยให้กระแสประสาทผ่านจากเซลประสาทหนึ่งไปสู่อีกเซลประสาทหนึ่งได้ สารนี้บางครั้งเรียกว่า สารสื่อประสาท
acromegaly
โรคอะโครเมกาลี : โรคที่เกิดจากการที่มีฮอร์โมนโกรทหรือฮอร์โมนโซมาโตโทรฟินสูงมากเมื่อโตเต็มวัย ทำให้กระดูกบางส่วนของร่างกายเติบโตผิดปกติ เช่น กระดูกบริเวณใบหน้ายาว ทำให้มีใบหน้ายาวผิดปกติ เป็นต้น
ACTH
เอซีทีเอช : adrenocorticotrophic hormone ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิน : ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่กระตุ้นอะดรีนัลคอร์เทกซ์ของต่อมหมวกไตให้สร้างฮอร์โมนตามปกติ
active immunity
ภูมิคุ้กันก่อเอง : ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเองโดยการฉีดวัคซีนซึ่งเป็นเชื้อโรคที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์หรือตายลงจนไม่สามารถทำให้เกิดโรคได้ วัคซีนจะเป็นแอนติเจนไปกระตุ้นร่างกายให้สร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้าน ซึ่งจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคชนิดที่ฉีดเข้าไป
active transport
แอคตีฟทรานสปอร์ต : การเคลื่อนที่ของโมเลกุลหรืออิออนของสาร จากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่งโดยใช้พลังงานจากเซล
adaptation
การปรับตัว : การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะของสิ่งมีชีวิต เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อม
Addison's disease
โรคแอดดิสัน:โรคที่เกิดจากอะดรีนัลคอร์เทกซ์ถูกทำลายจนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ อาการสำคัญของโรคคือ ซูบผอม ผิวหนังตกกระ ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของน้ำและ เกลือแร่ต่าง ๆ ได้ กระเพาะและลำไส้ไม่ทำงานและถึงตายในที่สุด
adenine
อดีนิน : เบสชนิดหนึ่งเป็นผลึกสีขาว เป็นองค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก พบใน DNA และ RNA
adenosine diphosphate (ADP)
อะดีโนซีนไดฟอสเฟต (เอดีพี) : สารประกอบที่มีพลังงานสูง ส่วนใหญ่พบสารนี้มากในไมโตคอนเดรียของเซล
adenosine triphosphate (ATP)
อะดีโนซีน ไตรฟอสเฟต (เอทีพี) : สารประกอบที่มีพลังงานสูง และเป็นสารที่พร้อมจะแตกตัวเพื่อปล่อยพลังงานออกมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ที่เซลต้องการ
antidiuretic hormone (ADH) [vasopressin]
ฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก : ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง ทำหน้าที่กระตุ้นเส้นเลือดให้บีดตัวและช่วยให้หลอดไตดูดน้ำกลับเข้าสู่เส้นเลือด
adrenal cortex
อะดรีนับคอร์เทกซ์ : เนื้อเยื่อชั้นนอกของต่อมหมวกไต สร้างฮอร์โมนมากกว่า 50 ชนิด ซึ่งแยกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามหน้าที่ คือ กลูโคคอร์ติคอยด์และมิเนอราโลคอร์ติคอยด์
adrenal gland
ต่อมหมวกไต : ต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งในร่างกายของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้นคือ อะดรีนัลคอร์เทกซ์ และอะดรีนัลเมดุลลา มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมน เช่น อะดรีนาลิน อัลโดสเตอโรน เป็นต้น
adrenal medulla
อะดรีนับเมดุลลา : เนื้อเยื่อชั้นในของต่อมหมวกไต สร้างฮอร์โมนสำคัญ 2 ชนิด คือ อะะดรีนาลิน และ นอร์อะดรีนาลิน
adrenalin [epinephrin]
อะดรีนาลิน : ฮอร์โมนที่สร้างจากอะดรีนับเมดุลลาของต่อมหมวกไต ฮอร์โมนนี้จะถูกกระตุ้นให้หลั่งออกมาเมื่อร่างกายเกิดอารมณ์เครียด เช่น โกรธ ดีใจ ตื่นเต้น เป็นต้น
adrenocorticotrophic hormone (ACTH)
ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิน : ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่กระตุ้นอะดรีนัลคอร์เทกซ์ของต่อมหมวกไตให้สร้างฮอร์โมนตามปกติ
adult
ตัวเต็มวัย : สิ่งที่มีชีวิตที่เจริญเติบโตเต็มที่พร้อมจะสืบพันธุ์ได้
aerobic bacteria
แบคทีเรียแอโรบิก : แบคทีเรียที่ต้องใช้ออกซิเจนในรูปของสารอิสระในการสลายอาหาร
aflatoxin
อะฟลาทอกซิน : สารมีพิษจากราแอสเปอจิลลัสฟลาวัส มักพบตามเมล็ดข้าวโพดถั่วต่างๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เป็นต้น คนที่บริโภคสารนี้ในปริมาณมากอาจเป็นโรคมะเร็งในตับ หรือเป็นอันตรายถึงตายได้
agar
วุ้นอะการ์ : วุ้นชนิดหนึ่งได้จากการสกัดสาหร่ายสีแดง ใช้เป็นสารอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต
age pyramid
ปิระมิดอายุ : แผนภูมิแท่งซ้อนกันเป็นรูปปิระมิดซึ่งแสดงให้เห็นจำนวนประชากรโดยกำหนดวัยหรือพัฒนาการทางด้านสืบพันธุ์เป็นเกณฑ์
air pollution
มลภาวะของอากาศ : สภาวะของอากาศที่ไม่บริสุทธิ์ มีสิ่งปะปนซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
air sac
ถุงลม (ของนก) : ถุงที่แยกออกไปจากปอดและขั้วปอดหลายถุง มีแขนงติดต่อไปถึงช่องกลวงของกระดูก ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยปอด โดยทำให้ปอดได้รับออกซิเจนอยู่ตลอดเวลา เป็นประโยชน์ในการบินของนก
alanine
อะละนิน : กรดอะมิโนชนิดหนึ่ง
albumin
อัลบูมิน : สารประกอบจำพวกโปรตีนช่วยรักษาความเป็นกรดเป็นด่าง และรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย รวมทั้งการสร้างแอนติบอดีด้วย
aldosterone>
อัลโดสเตอโรน : ฮอร์โมนในกลุ่มมิเนอราโลคอร์ติคอยด์ ซึ่งสร้างจากอะดรีนับคอร์เทกซ์ของต่อมหมวกไต ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของโซเดียมในเลือด
aldrin
อัลดริน : ยาฆ่าแมลงที่เป็นศัตรูพืชเป็นสารพวกไฮโดรคาร์บอนซึ่งมีคลอรีนเป็นตัวประกอบที่สำคัญ ใช้ปราบตั๊กแตนได้ดี แต่ไม่ควรใช้ฆ่าแมลงในบ้าน
algae
สาหร่าย : โปรติสต์พวกหนึ่งอาจมีเซลเดียวหรือหลายเซล มีคลอโรฟิล ไม่มีราก ลำต้น และใบที่แท้จริง ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ
allantiois
อัลแลนตอยส์ : ถุงที่เจริญออกมาจากตัวเอมบริโอของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชั้นสูง ที่ถุงนี้มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากมาย ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซและเก็บสะสมของเสียจากเอมบริโอ สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ถุงนี้จะไม่เจริญมากนัก เพราะเอมบริโอเจริญในมดลูกจึงมีรกทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ อาหารและของเสียแทน
allele
อัลลีล : ยีนที่เป็นคู่กันหรือแสดงลักษณะเดียวกัน
alpha cells
เซลแอลฟา : กลุ่มเซลกลุ่มเล็กๆ ใน ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ ทำหน้าที่สร้างกลูคากอน
alpha phylloquinone
แอลฟาฟิลโลควิโนน : วิตามิน K เป็นวิตะมินที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ถ้าร่างกายขาดวิตะมินชนิดนี้จะทำให้เลือดแข็งตัวช้าเมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้น
alternation of generation
วงชีวิตแบบสลับ : วงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบางชนิดซึ่งในช่วงชีวิตจะมีระยะที่มีจำนวนโครโมโซน 2 ชุด (2n) สลัลกับระยะที่มีโครโมโซม 1 ชุด (n)
alveolus
อัลวีโอลัส : ถุงที่มีผนังเป็นเยื่อบางๆ ยืดหยุ่นได้ อยู่ปลายสุดของแขนงขั้วปอดรอบๆ ถุงมีเส้นเลือดฝอยหุ้มอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นที่แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์
amino acid
กรดอะมิโน : สารประกอบที่เป็นหน่วยย่อยเล็กที่สุด ที่ประกอบขึ้นเป็นโปรตีน โมเลกุลของกรดอะมิโนทุกชนิดจะประกอบด้วยหมู่คาร์บอกซิล และหมู่อะมิโน กรดอะมิโนที่จำเป็นซึ่งร่างกายขาดไม่ได้มีอยู่ประมาณ 10 ชนิด
amino group
หมู่อะมิโน : กลุ่มของอะตอมซึ่งประกอบด้วยไนโตรเจนและไฮโดรเจน
aminopeptidase
อะมิโนเปปติเดส : เอนไซม์ที่ลำไส้เล็กผลิตขึ้นมาใช้สำหรับย่อยเปปไตด์ให้เป็นกรดอะมิโน
amnion
ถุงน้ำคร่ำ : ถุงหุ้มเอมบริโอของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชั้นสูง มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ภายในถุงมีของเหลวบรรจุอยู่ ทำหน้าที่ป้องกันตัวอ่อนจากการกระทบเทือน
amoeboid movement
การเคลื่อนไหวแบบอมีบา : ลักษณะการเคลื่อนไหวโดยอาศัยการไหลของไซโตปลาสซึมไปรวมกันด้านใดด้านหนึ่ง ทำให้เซลด้านนั้นโป่งออกเป็นซูโดโปเดียมและทำให้เซลเคลื่อนที่ไปจากจุดเดิมได้ เช่น การเคลื่อนที่ของอมีบา เซลเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
amphibian
สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก : สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ระยะตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ เมื่อโตเต็มวัยอาศัยอยู่บนบก เช่น กบ คางคก งูดิน เป็นต้น
ampulla
แอทพูลลา : ส่วนบนของทิวบ์ฟิตของปลาดาว เป็นกระเปาะกล้ามเนื้อ เมื่อกระเปาะนี้หดตัวจะดันน้ำให้เคลื่อนไปที่ส่วนปลายของทิวบ์ฟิต ทิวบ์ฟิตจะยืนยาวไปแตะกับวัตถุในน้ำทำให้ปลาดาวเคลื่อนที่ได้
anaerobic bacteria
แบคทีเรียแอนาโรบิก : แบคทีเรียเฮเตอโรโทรฟิก ที่สามารถย่อยสลายอาหารโดยไม่ต้องอาศัยออกซิเจนในรูปของสารอิสระ แต่ใช้ออกซิเจนที่อยู่ในสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์
anaerobic respiration
การหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน : การหายใจของสิ่งมีชีวิตบางชนิดและเนื้อเยื่อบางอย่างของร่างกายโดยไม่ต้องใช้ออกซิเจนเข้าทำปฏิกิริยาแยกสลายโมเลกุลของอาหาร
anaphase
แอนาเฟส : ระยะหนึ่งของการแบ่งเซลถัดจากเมตาเฟส เป็นระยะที่โครมาติดแยกออกจากกันเป็นโครโมโซม 2 กลุ่ม แล้วแต่ละกลุ่มเคลื่อนไปยังขั้วเซลแต่ละด้าน
androgen
แอนโดรเจน : ฮอร์โมนเพศชายที่สร้างในอัณฑะ ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะเพศ
anemia
โรคโลหิตจาง : โรคที่เกิดจากมีเม็ดเลือดแดงในร่างกายน้อยกว่าปกติ
angiosperm
พืชมีดอก : พืชจำพวกหนึ่งที่มีระบบท่อลำเลียง มีดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ เมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม เป็นพืชที่มีมากที่สุด
angiosperm
พืชมีดอก : พืชจำพวกหนึ่งที่มีระบบท่อลำเลียง มีดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ เมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม เป็นพืชที่มีมากที่สุด
animal kingdom
อาณาจักรสัตว์ : หมวดหมู่ที่รวมสัตว์ทั้งหมดไว้ด้วยกัน
annelid
แอนนีลิด : สัตว์ในไฟลัมแอนนีลิดามีลำตัวกลมยาวเป็นปล้องคล้ายวงแหวนต่อกันทั้งภายนอกและภายใน เช่น แม่เพรียง ไส้เดือนดิน ปลิง เป็นต้น
annual ring
วงปี : ส่วนของไซเลมที่ปรากฏเป็นลายเนื้อไม้ มีลักษณะเป็นวงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ของพืชยืนต้นที่มีอายุมาก มองเห็นได้เมื่อตัดต้นไม้ตามขวาง
antagonism
แอนตาโกนิซึม : ลักษณะการทำงานของกล้ามเนื้อ 2 ชุดที่ทำงานประสานกันในทางตรงกันข้าม คือ ถ้าชุดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกชุดหนึ่งจะคลายตัวในช่วงระยะเวลาเดียวกัน เช่น การทำงานของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ที่หดตัว กล้ามเนื้อเอกเทนเซอร์ จะคลายตัว ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว
anterior lobe (of pituitary gland)
ส่วนหน้า (ของต่อมใต้สมอง) : บริเวณที่ใหญ่ที่สุดของต่อมใต้สมองประกอบ ด้วยกลุ่มเซลที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนหลายชนิด ฮอร์โมนสำคัญที่สร้าง ได้แก่ โซมาโตโทรฟิน โกนาโดโทรฟิน โปรแลกติน ฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ และ อะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิน
anther
อับละอองเรณู : ส่วนหนึ่งของเกสรตัวผู้มีลักษณะเป็นกระเปาะเป็นแหล่งสร้างและเก็บละอองเรณู
anthraxแอนเธรกซ์ : โรคระบาดที่เกิดกับสัตว์เลี้ยงพวกโค กระบือ เนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นโรคที่ร้ายแรงมาก มีผลทำให้สัตว์ตายได้คราวละมากๆ โรคนี้สามารถติดต่อถึงคนได้ สัตว์ที่เป็นโรคนี้จะต้องเผาทำลายหรือฝังในดินลึกๆ เพื่อไม่ให้แพร่เชื้อ
antibiotics
ยาปฏิชีวนะ : สารที่สกัดได้จากเชื้อราหรือแบคทีเรียบางชนิด ในปัจจุบันนี้สามารถสังเคราะห์ได้จากสารเคมีหลายชนิด สามารถยับยั้งการเติบโตหรือฆ่าเชื้อได้อย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดประโยชน์ในวงการแพทย์อย่างมาก เช่น เพนิซิลลิน สเต็ปโตไมซิน เป็นต้น
antibody
แอนติบอดี : สารจำพวกโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นในกระแสเลือดมีสมบัติต่อต้านทำลายเชื้อโรคหรือแอนติเจนที่เข้ามาในร่างกาย แอนติบอดีแต่ละชนิดที่ร่างกายผลิตขึ้นมานั้นจะมีผลทำลายเชื้อโรคหรือแอนติเจนเฉพาะอย่าง
antidiuretic hormone (ADH) [vasopressin]
ฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก : ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง ทำหน้าที่กระตุ้นเส้นเลือดให้บีบตัวและช่วยให้หลอดไตดูดน้ำกลับเข้าสู่เส้นเลือด
antigen
แอนติเจน : สิ่งแปรกปลอมที่เข้าไปในร่างกาย แล้วร่างกายจะผลิตสารซึ่งเรียกว่าแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้าน หรือทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น ๆ
antiseptic
ยาระงับเชื้อ : สารเคมีที่ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ใช้ภายนอกร่างกาย เช่น เอธานอล ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ยาแดง ยาล้างตาพวกกรดบอริก เป็นต้น
aorta
เอออร์ตา : เส้นเลือดใหญ่ที่มาจากเวนตริเคิลด้านซ้ายของหัวใจ มีแขนงแยกออกไปเพื่อนำเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาสย
appendage
ระยาง : อวัยวะที่ยื่นออกมาจากร่างกายของสัตว์ ช่วยในการเคลื่อนที่และจับอาหาร เช่น แขน ขา ปีก เป็นต้น
appendix
ไส้ติ่ง : ส่วนที่ยื่นออกมาจากตอนต้นของลำไส้ใหญ่มีปลายต้น ของคนมีความยาวประมาณ 6 ซม.<p>
aquatic ecosystem
ระบบนิเวศน์ในน้ำ : ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำและระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในน้ำ
arachnid
อแรคนิด : สัตว์พวกหนึ่งในไฟล้มอาร์โธรโปดา มีขา 4 คู่ เช่น แมงมุม แมงป่อง เห็บ แมงดาทะเล เป็นต้น
arginine
อาร์จินีน : กรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่จำเป็นสำหรับคน มีในพืชและสัตว์
artery
เส้นเลือดอาร์เตอรรี : เส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆ มีผนังเหนียวและยืดหยุ่นได้ มีกล้ามเนื้อเรียบ ทำให้หดตัวหรือขยายตัวได้ดี
arthropod
อาร์โธรปอด : สัตว์ในไฟลัมอาร์โธรโปดา ลำตัวเป็นปล้อง ทั้งขาและหนวดมีลักษณะต่อกันเป็นข้อ เช่น กุ้ง แมลงทุกชนิด เป็นต้น
artificial selection
การคัดเลือกโดยมนุษย์ : กระบวนการที่มนุษย์เลือกผสมพันธุ์และเลี้ยงสิ่งมีชีวิตให้มีลักษณะตามที่ต้องการ
ascorbic acid
กรดแอสคอร์บิก : วิตะมิน C ถ้าร่างกายขาดวิตามินชนิดนี้จะทำให้เหงือกบวม เลือดออกตามไรฟัน ฟันไม่แข็งแรง กระดูกอ่อน และเส้นเลือดเปราะ
asexual reproduction
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ : การสืบพันธุ์แบบไม่มีการผสมกันระหว่างเซลสืบพันธุ์เพศผู้กับเซลสืบพันธุ์เพศเมีย เช่น พืชอาจสืบพันธุ์โดยการแตกหน่อและสัตว์อาจสืบพันธุ์โดยการแบ่งตัว เป็นต้น
Aspergillus flavus
แอสเปอจิลลัสฟลาวัส : เชื้อราอิมเปอร์เฟกไต ซึ่งผลิตสารมีพิษเรียกว่า อะฟลาทอกซิน เชื้อราชนิดนี้ชอบเจริญตามเมล็ดพืช เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด ข้าวเจ้า ถั่วเหลือง และเมล็ดพืชที่มีน้ำมัน
associative neuron
เซลประสาทประสานงาน : เซลประสาทชนิดหนึ่งมีอยู่ในสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างเซลประสาทภายในไขสันหลังหรือภายในสมอง
atrium
เอเตรียม : ห้องบนของหัวใจสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีผนังบางกว่าเวนตริเคิล รับโลหิตจากส่วนต่างๆ ของร่างกายและจากปอด ส่งผ่านไปยังเวนตริเคิลต่อไป
auditory nerve
เส้นประสาทรับฟัง : เส้นประสาทที่ต่อจากส่วนคอเคลียในหูชั้นในไปยังสมอง
autonomic nervous system
ระบบประสาทอัตโนมัติ : ระบบประสาทส่วนหนึ่งของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังซึ่งทำงานนอกอำนาจจิตใจ ประกอบด้วยระบบประสาทซิมพาเธติกและระบบประสาทพาราซิมพาเธติก
autosome
ออโตโซม : โครโมโซมที่ไม่ใช่โครโมโซมเพศ
autotrophic bacteria
แบคทีเรียออโตโทรฟิก : แบคทีเรียที่ดำรงชีวิต โดยสร้างอาหารได้เองจากการสังเคราะห์แสงหรือสังเคราะห์เคมี
autotrophic organism
สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารได้เอง : พืชสีเขียวและโปรติสต์บางชนิดที่สร้างอาหารได้เองโดยการสังเคราะห์แสงหรือสังเคราะห์เคมี
auxin
ออกซิน : ฮอร์โมนในพืชที่มีอิทธิพลเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืช
axon
แอกซอน : ใยประสาทชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่นำกระแสประสาทหรือคำสั่งออกจากตัวเซลประสาท

ADH มีผลต่อการทํางานต่อบริเวณใดของท่อหน่วยไต

antidiuretic hormone (ADH) [ vasopressin ] ฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก, ฮอร์โมนจากต่อใต้สมองส่วนหลัง ทำหน้าที่กระตุ้นหลอดเลือดให้บีบตัวและช่วยให้หลอดไตดูดน้ำกลับเข้าสู่เส้นเลือด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]

ADH ออกฤทธิ์ที่ไตส่วนใด

สาเหตุของโรคนี้เนื่องจากร่างกายขาด ADH ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเซลล์ในสมองส่วน ไฮโพทาลามัส และหลั่งโดยต่อมใต้สมองส่วนหลัง ฮอร์โมนนี้มีหน้าที่กระตุ้นให้ท่อขดส่วน ท้าย (distal convoluted tubule) ของหน่วยไตและท่อรวม (collecting duct) ดูดกลับน้ำ

ADH มีผลต่อการทำงานของเซลล์บริเวณใด

ฮอร์โมน ADH จะถูกผลิตขึ้นจากสมองส่วนที่เรียกว่าไฮโปทาลามัส และจะถูกนำไปเก็บไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง โดยปกติแล้วต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมน ADH เพื่อตอบสนองต่ออวัยวะรับความรู้สึกที่ตรวจพบว่าออสโมแลลิตี (Osmolality) ในเลือดเพิ่มขึ้น หรือปริมาตรของเลือดลดลง ซึ่งไตจะตอบสนองต่อฮอร์โมน ADH โดยการรักษาน้ำ และผลิตปัสสาวะให้ ...

ฮอร์โมน antidiuretic hormone (ADH) ส่งผลกับการทำงานของไตอย่างไร

antidiuretic hormone (ADH) [vasopressin] ฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก : ฮอร์โมนจากต่อใต้สมองส่วนหลัง ทำหน้าที่กระตุ้นเส้นเลือดให้บีบตัวและช่วยให้หลอดไตดูดน้ำกลับเข้าสู่เส้นเลือด