เศรษฐกิจระหว่างประเทศของ ประเทศไทย

ขนาดของการเปิดประเทศ หมายถึง มูลค่าการค้าขายของไทย (มูลค่าส่งออกบวกนำเข้า) คิดเป็นร้อยละเท่าไรของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ถ้าหากสัดส่วนของมูลค่าส่งออกบวกด้วยนำเข้าอยู่ในระดับสูงแสดงว่า เศรษฐกิจไทยมีการพึ่งพาภาคการค้าระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง นับแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (2504 – 2509) รัฐบาลไทยได้ใช้นโยบายส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศเพื่อมีผลให้การส่งออกและการนำเข้าขยายตัวในระดับอัตราสูง ในระยะแรกของการพัฒนา (ก่อนปี พ.ศ. 2515) รัฐบาลได้เริ่มใช้นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้า หลังปี พ.ศ. 2515 เป็นต้นมา รัฐบาลได้เลือกใช้สนับสนุนและนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ซึ่งผลของนโยบายทั้งสองมีผลให้ขนาดของการเปิดประเทศกว้างขวางขึ้น โดยที่มูลค่าและบริการของไทยที่ซื้อขายกันระหว่างประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2503 เท่ากับร้อยละ 34.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 46.0 ในปี พ.ศ. 2524 และในปี พ.ศ. 2542 สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 102.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ตัวเลขที่สูงขึ้นอย่างมากของขนาดของการเปิดประเทศอยู่ในระดับสูงแสดงถึงเศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพาภาคการค้าระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ทั้งการส่งออกและการนำเข้า (คือพึ่งพาตลาดต่างประเทศ) อยู่ในระดับสูง นั่นเอง ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจโลกได้ชะลอตัวลง หรือประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยกีดกันทางการค้าหรือมีการตั้งกำแพงภาษีนำเข้า จึงมีผลให้สินค้าออกเราขายไม่ค่อยได้ จึงมีผลกระทบกับเศรษฐกิและการจ้างงานภายในประเทศ

นอกจากจะพึ่งพาการส่งออกและการนำเข้าในระดับสูงเศรษฐกิจไทยยังคงพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศในระดับสูง มีผลให้หนี้ต่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ หนี้ต่างประเทศของไทยในปี พ.ศ. 2533 สูงถึง 29,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเพิ่มเป็น 82,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 80 เป็นหนี้ที่เกิดจากภาคเอกชน ตัวเลขหนี้ที่สูงขึ้นแสดงถึงทรัพยากรที่ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจไม่ได้ใช้ทรัพยากรภายในประเทศ แต่ขึ้นอยู่กับทรัพยากรจากต่างประเทศ ปัญหาหนี้สินต่างประเทศระดับสูงเป็นปัจจัยที่สำคัญหนึ่งที่ทำให้วิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงขึ้นเพราะมีเงินทุนไหลออกมากขึ้น ซึ่งมีผลกระทบกับการลงทุนกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. 2541 ประมาณว่าหนี้ต่างประเทศของไทยมีประมาณร้อยละ 60 ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ

อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจระหว่างประเทศของ ประเทศไทย

ที่มา : ยุทธภูมิ จารุเศร์นี (2553), “แผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2”, บทความวิชาการ, สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

เว็บไซต์ tdri.or.th บันทึกคุกกี้เฉพาะประเภทที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง (Strictly Necessary Cookies) ภายใต้ฐานประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interests) เพื่อการทำงานพื้นฐานของเว็บไซต์เท่านั้นOk

ตลอดสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมากในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ และขยับจากการเป็นประเทศรายได้ต่ำเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับสูงในเวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วรุ่น ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงถูกนำไปอ้างอิงถึงความสำเร็จด้านการพัฒนากันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการเติบโดทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและต่อเนื่อง รวมถึงการลดความยากจนได้อย่างน่าประทับใจ เศรษฐกิจของไทยเติบโตในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีโดยเฉลี่ยในช่วงปี 2503-2539 ที่เป็นช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟู และเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 5 ในช่วงปี 2542-2548 หลังจากวิกฤตการเงินเอเชีย การเติบโตนี้สร้างงานหลายล้านตำแหน่งที่ช่วยให้คนหลายล้านคนพ้นจากความยากจน สวัสดิการในด้านต่างๆ มีผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ เช่น มีเด็กจำนวนมากขึ้นที่ได้รับการศึกษามากขึ้น และเกือบทุกคนในเวลานี้ได้รับการประกันสุขภาพ ขณะที่การประกันสังคมในรูปแบบอื่นๆ ก็ได้รับการขยายให้ครอบคลุมมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเติบโตจากแนวทางที่เน้นการส่งออกที่เคยเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นดูจะลดน้อยลงไปอย่างน่าใจหาย เนื่องจากภาวะชะงักงันของการผลิต การลงทุนภาคเอกชนลดลงจากกว่าร้อยละ 40 ในปี 2540 เป็นร้อยละ 16.9 ของจีดีพีในปี 2562 ขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่มูลค่าโลกส่อแววชะงักงัน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่น่าที่จะทำหน้าที่เคลื่อนย้ายทรัพยากรจากภาคการเกษตรสู่อุดสาหกรรมเหมือนอย่างที่เคยเป็นมาอีกต่อไปแล้ว การผลิตอุตสาหกรรมแสดงความเชื่อมโยงไปข้างหน้า (forward linkages) ในระดับพอประมาณ แต่ยังคงต้องพึ่งพาวัตถุดิบและส่วนประกอบจากต่างประเทศและเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค การเดินทางและการท่องเที่ยวที่เป็นตัวหลักในภาคบริการของประเทศ แสดงความเชื่อมโยง (linkages) และแนวโน้มการกระจายทางธุรกิจ (diversification prospects) น้อยกว่าภาคบริการย่อยอื่นๆ

ความคืบหน้าในการลดความยากจนของประเทศไทยได้ชะลอตัวลงตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ซึ่งสะท้อนภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจและรายได้จากการเกษตร ธุรกิจ และค่าจ้างที่หยุดนิ่ง ประมาณการว่าความยากจนจะทรงตัวในปี 2564 ท่ามกลางการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของตลาดแรงงานและมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลที่ค่อยๆ หมดไป  การสำรวจทางโทรศัพท์อย่างรวดเร็วโดยธนาคารโลก ที่ดำเนินการช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2564 ประมาณการว่าครัวเรือนกว่าร้อยละ 70 มีรายได้ลดลงตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 โดยกลุ่มเปราะบางได้รับผลกระทบหนักที่สุด

จากรายงานตามติดเศรษฐกิจไทย การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวลงร้อยละ 6.2 ในปี 2563 เนื่องจากอุปสงค์ภายนอกลดลงที่ส่งผลต่อการค้าและการท่องเที่ยว การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน และการบริโภคภายในประเทศลดลง หลังจากประสบกับการหดตัวรุนแรงที่สุดนับแต่วิกฤตการเงินเอเชียในปี 2563 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 1.6 ในปี 2564 ท่ามกลางการแพร่ระบาดสี่ระลอก และไม่น่าจะฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนโควิด-19 ไปจนถึงปี  2566 การแพร่ระบาดนี้ยังได้ก่อให้เกิดปัญหาท้าทายเพิ่มขึ้นมาอีกหลายประการในตลาดแรงงาน ผลกระทบสำคัญเบื้องต้นคืออัตราการว่างงานที่พุ่งขึ้นอย่างฉับพลัน ในไตรมาสแรกของปี 2564 มีงานน้อยลง 710,000 ตำแหน่งเมื่อเทียบกับปีก่อน

นโยบายรับมือการแพร่ระบาดของประเทศไทยคือการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและช่วยเหลือความเป็นอยู่ของผู้ที่เปราะบางที่สุด โดยมีชุดมาตรการด้านการคลังนอกงบประมาณในวงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท (ราวร้อยละ 9 ของจีดีพี) เพื่อการแจกจ่ายเงินเยียวยา การรับมือด้านสาธารณสุข และการฟื้นฟูกิจกรรมด้านเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ยังมีโครงการขนาดใหญ่เพื่อแจกจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับกลุ่มเปราะบางต่างๆ ที่มิฉะนั้นก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ จากกลไกความช่วยเหลือทางสังคมที่มีอยู่

แนวโน้มของการแพร่ระบาดทั่วโลกยังคงไม่สามารถคาดการณ์ได้ ราคาพลังงานและอาหารที่ถีบตัวสูงขึ้นจะฉุดการเติบโตของการบริโภคภาคเอกชนและสวัสดิการครัวเรือน ผลกระทบต่อสวัสดิการนี้สามารถบรรเทาได้ด้วยการดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางสังคมและการเยียวยาจากรัฐบาลต่อไป และเพื่อให้การฟื้นตัวดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยจะต้องเดินหน้าต่อไปกับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น การดำเนินมาตรการป้องกันอื่นๆ และการตรวจ/ติดตามการติดเชื้อ และการเปิดประเทศอย่างต่อเนื่อง

เพื่อให้การลดความยากจนกลับมาเดินหน้าต่อไปได้ นโยบายสำคัญคือการขยายการให้ความช่วยเหลือทางสังคมให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรที่เปราะบาง ประมาณการว่าหากปราศจากชุดมาตรการเยียวยาของรัฐบาลแล้ว ความยากจนก็คงจะเพิ่มเป็นร้อยละ 7.4 ในปี 2563 แทนที่จะเป็นร้อยละ 6.2 ตามที่เกิดขึ้นจริง การแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกระลอกในปี 2564 ได้ฉุดรั้งการฟื้นตัวโดยกลุ่มเปราะบางเป็นผู้ได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มอื่น

ดัชนีทุนมนุษย์ (HCI) ของประเทศไทยในปี 2564 ที่มีค่า 0.61 ชี้ว่าผลิตภาพในอนาคตของเด็กที่เกิดในวันนี้จะต่ำกว่าระดับที่ควรจะเป็นหากได้รับการศึกษาครบถ้วนและมีสุขภาพดีเต็มที่ถึงร้อยละ 39 ประเทศไทยมีชื่อเสียงจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและความสำเร็จในด้านโภชนาการเด็ก แต่คุณภาพการศึกษายังคงเป็นจุดอ่อนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ จากดัชนีดังกล่าว ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับสูงในด้านจำนวนปีที่คาดว่าจะได้รับการศึกษาและสัดส่วนของเด็กที่ไม่ขาดสารอาหารจนแคระแกรน แต่ต่ำในด้านคุณภาพการศึกษา ซึ่งวัดจากผลการทดสอบรวม โครงการให้ความช่วยเหลือทางสังคมมีลักษณะกระจัดกระจาย โดยยังมีโอกาสอีกมากที่จะทำการพัฒนาปรับปรุงเกี่ยวกับการให้สิทธิประโยชน์และประสิทธิภาพ

การสูงวัยของประชากรจะนำไปสู่การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยตรง จากเงินบำนาญภาครัฐและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้น งบประมาณรายจ่ายรวมสำหรับบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคาดว่าจะเพิ่มจากร้อยละ 1.4 ของจีดีพีในปี 2560 เป็นร้อยละ 5.6 ในปี 2603 รายจ่ายสำหรับการดูแลและรักษาพยาบาลผู้สูงอายุในระยะยาวก็คาดว่าจะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประมาณการ ว่ารายจ่ายของรัฐสำหรับการรักษาพยาบาลจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.9 ของจีดีพีในปี 2560 เป็นร้อยละ 4.9 ของจีดีพีในปี 2603 เนื่องจากการสูงวัยของประชากร การขาดมาตรการแก้ไขในเรื่องนี้จะทำให้การรักษาความยั่งยืนทางการคลังเป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่งขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นปัจจัยหน่วงรั้งการเติบโตที่ควรจะเป็น

ความถี่ที่เพิ่มขึ้นของภัยธรรมชาติยังเป็นภัยคุกคามต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เนื่องจากต้องสูญเสียสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วม การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในช่วงไม่นานมานี้ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับความเหลื่อมล้ำระหว่างภูมิภาคและกิจการต่างๆ ในประเทศ ประเทศไทยเป็นผู้ปล่อยขยะพลาสติกรายใหญ่ลงตามพื้นดิน แม่น้ำลำคลอง และชายฝั่ง ด้วย แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติกทะเล ปี 2566-2570 และ เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ประเทศไทยมุ่งหมายที่จะสร้างกลไกรัฐ-เอกชน-ประชาชนสำหรับการแยกขยะพลาสติกและเพิ่มการนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่