งานจิตรกรรมไทยที่เขียนแบบภาพเล่าเรื่อง

ภาพจิตรกรรมไทยในระยะแรก ๆ มีอิทธิพลของจิตรกรรมอินเดียผสมอยู่แล้ว จึงวิวัฒนาการเรื่อยมา จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของจิตรกรรมไทยขึ้นมาภายหลัง พอสรุปได้ดังนี้



1. เป็นภาพแบบเล่าเรื่อง                                                                                                                                                                                                         ภาพจิตรกรรมไทยแบบประเพณี จะแสดงเรื่องราวติดต่อกันไปเป็นสำคัญ โดยมีภาพธรรมชาติ เช่น ภูเขา และต้นไม้เป็นตัวเชื่อม ทำให้ภาพแต่ละช่วงต่อเนื่องมีบรรยากาศน่าดู นับเป็นเรื่องน่าพิศวงที่ศิลปินไทยสามารถคัดเลือกภาพจัดภาพแต่เพียงส่วนน้อย แต่ผู้ดูดูแล้วได้ทราบเรื่องราวโดยสมบูรณ์ คล้ายกับได้อ่านชาดกหรือวรรณคดีเรื่องนั้นทั้ง

2. เป็นภาพเขียนแบบสองมิติ                                                                                                                                                                                                     จิตรกรรมไทยแบบประเพณีคำนึงถึงเรื่อง เส้นและสีเป็นสำคัญ ไม่มีแสง-เงาและระยะใกล้-ไกลจึงเป็นภาพสีแบน ๆ ตัดเส้นตลอดทั้งภาพการตัดเส้นในภาพไทยแสดงถึงทักษะ และความชำนาญซึ่งช่วยให้ภาพนั้นมีชีวิตขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้แสงเงา และระยะใกล้ไกลแบบภาพจิตรกรรมตะวันตก ดังนั้นเส้นจึงนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการเขียนภาพจิตรกรรมไทยแบบประเพณี

 3. แสดงความรู้สึกของภาพด้วยเส้น และท่าทาง                                                                                                                                                                       เนื่องจากจิตรกรรมไทยเป็นภาพสีแบน ๆ ตัดเส้น จึงไม่อาจแสดงความรู้สึกของตัวบุคคลในภาพด้วยสีหน้าหรือแววตา ดังนั้น การแสดงความรู้สึกดีใจ เสียใจ โกรธ หรือกลัว จึงใช้ท่าทางเป็นสื่อแทน เช่น รูปเทวดา นางฟ้า กษัตริย์ นางพญา นางรำ จะมีลักษณะเด่นงามสง่าด้วยลีลาอันชดช้อยแสดงอารมณ์ ความปีติยินดี หรือโศกเศร้า เสียใจด้วยอากัปกิริยา และท่าทาง ถ้าเป็นรูปยักษ์ รูปมารก็แสดงออกด้วยใบหน้า และท่าทางที่ดุดันแข็งขัน ส่วนพญาวานร และเหล่าวานรก็จะแสดงความลิงโลดคล่องแคล่วว่องไว ด้วยลีลาท่วงท่า และหน้าตา พวกชาวบ้านธรรมดาสามัญก็จะเน้นความรู้สึกตลก ขบขัน สนุกสนาน ร่าเริง หรือเศร้าเสียใจ โดยแสดงออกทางใบหน้า ส่วนเหล่าสัตว์ทั้งหลาย ได้แก่ ช้าง ม้า ก็มีรูปแบบแสดงชีวิตเป็นธรรมชาติ และใช้ส่วนรวมของเส้นเป็นเครื่องแสดงความรู้สึกของภาพ เช่น ภาพแสดงความเคลื่อนไหว ก็จะใช้เส้นส่วนรวมเป็นเส้นคดโค้งสัมพันธ์กัน และใช้เส้นตรง หนักและหนาแสดงความมั่นคงแข็งแรง เป็นต้น

4. แสดงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยสีการเขียนภาพจิตรกรรมไทย                                                                                                                                         ที่กำหนดเป็นหลักในการฝึกหัดเขียนมีอยู่ 4 หมวด คือ กนก นารี กระบี่ คชะ โดยเฉพาะ ภาพเทพเจ้า ภาพพระ ภาพนาง ยักษ์ ลิง จะมีลักษณะรูปร่าง และลักษณะท่าทางที่คล้ายคลึงกันไปหมด จึงต้องแสดงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ และอาวุธ ที่แสดงความแตกต่างได้ชัดเจนที่สุด คือ สีของร่างกายในตัวละครก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถบ่งบอกชื่อได้ เช่น พระรามกาย สีเขียว พระลักษณ์กาย สีทอง ทศกัณฑ์กาย สีเขียว หนุมานกาย สีขาว ฯลฯ

สำหรับรูปภาพมนุษย์มีการกำหนดสีตามฐานะและความสำคัญของรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

    4.1 สีทอง คือ ผิวสีเนื้อของภาพพระพุทธองค์

    4.2 สีขาว คือ ผิวสีเนื้อของพระมหากษัตริย์ พระยา

    4.3 สีขาวนวล คือ ผิวสีเนื้อของภาพคนที่มีฐานะชั้นสูง

    4.4 สีน้ำตาลอ่อน คือ ผิวสีเนื้อของภาพคนพวกไพร่พล สามัญชน

    4.5 สีคล้ำหรือสีหมึก คือ ผิวสีเนื้อภาพบุคคลประเภท กากหรือคนเลว คนชั่ว

5. แสดงจุดสนใจโดยไม่คำนึงถึงสัดส่วน                                                                                                                                                                                  คือเรื่องราว หรือภาพในตอนใดที่ต้องการให้เด่น ก็มักจะเขียนภาพนั้นให้เด่นชัดด้วย โดยการลดส่วนประกอบอื่น ๆ ลงโดยไม่คำนึงส่วนประกอบมากนัก เช่น เมื่อต้องการแสดงเรื่องราวทศกัณฐ์อยู่ในกรุงลงกาก็จะเขียนรูปทศกัณฑ์ตัวโตอยู่ในปราสาท ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ทศกัณฐ์จะยืนขึ้นหรือเคลื่อนไหวไปไหนภายในประสาทไม่ได้เลย หรือภาพเหล่าเสนา อำมาตย์ ซึ่งในเรื่องจะกล่าวว่า เฝ้าแหนเป็นจำนวนหมื่น ๆ ก็จะเขียนลดจำนวนลงเหลือไม่กี่คนหรือเขียนให้ขนาดตัวเล็กลง แต่การแสดงจุดสนใจโดยย่อส่วนประกอบหรือขยายจุดสนใจนี้ แม้จะผิดต่อความเป็นจริงก็ยังมีความกลมกลืนกันเป็นอย่างดีดูแล้วไม่ขัดตานับเป็นการจัดภาพที่ฉลาดของช่างไทยในสมัยโบราณ ในการเน้นจุดสนใจด้วยขนาด


6. เป็นภาพที่มีทัศนียภาพแบบตานกมอง (Bird’s eyes view)                                                                                                                                                     ในการมองดูภาพจิตรกรรมไทยนั้นจะสังเกตได้อย่างชัดเจนว่าตำแหน่งของภาพที่ปรากฎจะเห็นว่ามีลักษณะสูงเหมือนตานกมอง ซึ่งผิดกับหลักทัศนียภาพ เปอร์สเปคตีป” (Perspective) ตามวิธีศิลปะสมัยใหม่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า โมเดิร์นอาร์ต” (Modern art) หรือศิลปกรรมสมัยใหม่ แต่ก็ดูกลมกลืนได้เป็นอย่างดี

7. การแบ่งพื้นที่
   การแบ่งพื้นที่ด้วยเส้นแผลง ซึ่งอาจทำเป็นเส้นหนัก หรือเส้นสีเทา เป็นขอบภูเขา และขอบทิวไม้ เส้นโค้งที่คล้ายแถบผ้าริบบิ้น การวางภาพจะวางภาพประสาทราชวัง และป่าเขาลำเนาไพรเสียก่อน แล้วจึงวางตัวภาพ ตามภาพ หรือตามตำแหน่งที่เหมาะสมให้เรียบร้อยเสียก่อน แล้วจึงระบายสี การใช้สีระบายจะใช้ สีอ่อน สีแก่ ประสานกัน

งานจิตรกรรมไทยที่เขียนแบบภาพเล่าเรื่อง