ภาษา ไทย กับ ช่อง ทางการ ประกอบ อาชีพ

ภาษา ไทย กับ ช่อง ทางการ ประกอบ อาชีพ

คำอธิบายรายวิชา

          ทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการทำงาน การเขียนใบสมัครงาน การเขียนประวัติส่วนตัว การเขียนหนังสือราชการ การเขียนบันทึก การเขียนรายงานการประชุม การแนะนำตนเอง และการใช้ภาษาไทยในสื่อสังคมออนไลน์ การนำเสนอ ผลงานในที่สาธารณะและ/หรือการสื่อสารในกลุ่มใหญ่

>>> ดาวน์โหลดเอกสาร มคอ.3


Start to lesson

ภาษา ไทย กับ ช่อง ทางการ ประกอบ อาชีพ

ตารางเรียน รายวิชา 
GEN0203 ภาษาไทยเพื่อการประกอบอาชีพ 

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

ดูรายละเอียดเพิ่ม...

ภาษา ไทย กับ ช่อง ทางการ ประกอบ อาชีพ

เกณฑ์ประเมิน รายวิชา 
GEN0203 ภาษาไทยเพื่อการประกอบอาชีพ 

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

ดูรายละเอียดเพิ่ม...

ภาษา ไทย กับ ช่อง ทางการ ประกอบ อาชีพ
                                    
ภาษา ไทย กับ ช่อง ทางการ ประกอบ อาชีพ
          

View all News

ภาษา ไทย กับ ช่อง ทางการ ประกอบ อาชีพ

ความสำคัญของภาษาเพื่อสื่อสาร

                นอกจากคนไทยจะใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความรู้ และความรู้สึกนึกคิดแล้ว ภาษายังแสดงวัฒนธรรม เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นเครื่องหมายแสดงความเป็นชาติ เราโชคดีที่มีภาษาของเราเอง มีตัวหนังสือไทยเป็นตัวหนังสือประจำชาติ เป็นสื่อแสดงว่าชาติไทยมีวัฒนธรรมสูงส่งมาแต่โบราณกาลเรามีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ภาษาไทยจึงมีความสำคัญพอสรุปได้ดังนี้

๑.ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและปลูกฝังคุณธรรม

วรรณคดีไทยสะท้อนให้เห็นลักษณะสังคม ประเพณี ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม การประกอบพิธีกรรม การละเล่น

ภาษา ไทย กับ ช่อง ทางการ ประกอบ อาชีพ

 ๒.ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารให้คนในสังคมเดียวกันเข้าใจกัน

จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดของภาษาก็คือใช้ในการติดต่อสื่อสารสังคมยางมีขนาดใหญ่มากขึ้นเพียงใด ภาษาก็ยังจำเป็นสำหรับการสื่อสารมากขึ้นเพียงนั้น วิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์นับเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยในปัจจุบัน

ภาษา ไทย กับ ช่อง ทางการ ประกอบ อาชีพ

๓.ภาษาเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ

ไม่ว่าจะประกอบอาชีพใดที่ต้องมีการติดต่อกับผู้อื่นล้วนแต่ต้องใช้ภาษาในการสื่อความหมายตลอดเวลา เช่น ครูต้องใช้ในการสอนหนังสือ นักธุรกิจ พ่อค้าแม่ค้า ต้องใช้ภาษาในการซื้อขายต่อรองกัน

ภาษา ไทย กับ ช่อง ทางการ ประกอบ อาชีพ

๔.ภาษาเป็นเครื่องมือในการปกครอง

ภาษาไทยเป็นสื่อสำคัญในการปกครองและบริหารราชการ ไม่ว่าจะแถลงนโยบาย การประชุมสภา การออกกฎหมาย

ภาษา ไทย กับ ช่อง ทางการ ประกอบ อาชีพ

๕.ภาษาเป็นเครื่องมือในการศึกษาเล่าเรียน

ความสามารถในการใช้ทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนจะช่วยให้รู้วิชาการต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

 

ภาษา ไทย กับ ช่อง ทางการ ประกอบ อาชีพ

ประเภทของภาษาเพื่อสื่อสาร

๑.วัจนภาษา(Verbal Language) อ่านว่าวัด-จะ-นะ-พา-สาหมายถึง ภาษาที่ใช้ตัวอักษรสัญลักษณ์ หรือภาษาพูดที่ออกเสียงเป็นถ้อยคำหรือประโยคที่มีความสามารถเข้าใจได้ เช่น คำพูดคำสนทนาที่เราใช้ทั่วไป

๒.อวัจนภาษา (Non-verbal Language) อ่านว่า อะ-วัด-จะ-นะ-พา-สา หมายถึง ภาษาที่ใช้ท่าทาง หรือ ภาษาที่ไม่ออกเสียงเป็นถ้อยคำ แต่มีลักษณะในภาษาที่แฝงอยู่ในถ้อยคำนั้น เช่น น้ำเสียง การเน้นเสียง จังหวะของการพูดและการหยุดพูด และกิริยาท่าทาง การเคลื่อนไหว การใช้สีหน้าหรือสายตา และยังรวมไปถึงสื่ออื่นๆ

 สรุปรวมถึงความหมายของภาษาต่างๆดังนี้

๒.๑ ภาษาสัญลักษณ์หรือภาษาสัญญาณ (Sing Language  )

๒.๒ ภาษาการกระทำ (Action Language)

๒.๓ ภาษาวัตถุ (Object Language)

๒.๔ ภาษากลาเทศะ (Time and space Language)

๒.๕ ภาษาน้ำเสียง (Tone Language)

๒.๖ ภาษาสัมผัส (Body Language)

ระดับของภาษา แบ่งได้ ๓ ระดับดังนี้

๑.ภาษาระดับทางการ เป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นแบบแผนและมีมาตรฐานในการใช้ ดังนี้

·         คำที่ใช้ในวงราชการ เช่น เนื่องด้วย เนื่องจาก ตามที่ เสนอ พิจารณา อนุมัติ

·         คำที่ใช้ในวงการศึกษา เช่น แนวคิด นิเทศ ความคิด รวบยอด มโนทัศน์ สังกัป

·         คำราชาศัพท์ เช่น  เสวย บรรทม ประสูติ ประชวร หมายกำหนดการ พระราชทาน

·         คำสุภาพ เช่น รับประทาน ทราบ ศีรษะ ข้าพเจ้า บิดา มารดา

๒.ภาษาระดับกึ่งทางการ เป็นภาษาที่ใช้อย่างไม่เป็นแบบแผนหรือไม่เป็นพิธีรีตอง ดังนี้

·         คำที่ใช้ในโฆษณา เช่น ชีวิตดีไซน์ได้ อาณาจักรใหญ่ใจกลางเมือง

·         คำที่ใช้ในภาษาสื่อมวลชน เช่น นักหวดลูกขนไก่ เทกระจาด ไขก๊อก

·         คำเฉพาพกลุ่ม เช่น วงการกีฬา กลุ่มวัยรุ่น ทหาร แพทย์ ช่าง

๓.ภาษาระดับไม่เป็นทางการ เป็นภาษาที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่คำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสม

·         คำตลาดหรือภาษาปาก เช่น ผัว เมีย รถมอไซค์  กินข้าว ในหลวง

·         คำภาษาถิ่น เช่น ม่วนซื่น แซบอีหลี หัน(หมุน) กระแป๋ง

·         คำสแลงหรือคำคะนอง เช่น เริ่ด กิ๊ก ฟิน  ลั้ลลา  วืด มโน เงิบ มว๊าก

·         คำหยาบหรือคำต่ำ ได้แก่ คำด่า คำสบถ คำหยาบคาย

·         คำโบราณที่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว เช่น เผือ เขือ ศีรษะแหวน

ข้อควรระวังในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

๑.ใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย

๒.การใช้ศัพท์สำนวนให้เหมาะสมกับกาลเทศะหรือโอกาส

๓.การใช้ศัพท์สำนวนให้เหมาะสมกับระดับฐานะบุคคล

๔.การใช้สำนวนภาษาต่างประเทศโดยไม่จำเป็น

๕.การใช้คำศัพท์สแลง

๖.การใช้คำต่างระดับ

๗.การใช้คำฟุ่มเฟือยหรือซ้ำซาก

๘.การเว้นวรรคตอนที่ถูกต้อง

๙.การวางคำขยายให้ถูกที่

๑๐.การใช้ประโยคที่กะทัดรัดชัดเจน

๑๑.การใช้ประโยคที่สละสลวย

๑๒.การใช้คำกำกวม

สรุปสาระสำคัญ

    การใช้ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ภาษาจำเป็นต้องเลือกใช้ประเภทของภาษา ระดับภาษา การใช้คำและสำนวนภาษาให้ถูกต้อง/เหมาะสมกับสถานการณ์และโอกาสที่ใช้

อาชีพที่ต้องใช้ภาษาไทยในการประกอบอาชีพมีอาชีพอะไรบ้าง

วิชาชีพที่ใชภาษาไทย เปนทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ ไดแก อาชีพนักพูด นักเขียนที่ตองใชทักษะการพูด และการเขียนเปนพื้นฐาน เชน 1. ผูประกาศ 2. พิธีกร 3. นักจัดรายการวิทยุ 4. นักเขียนโฆษณาประชาสัมพันธ 5. นักขาว 6. นักเขียนประกาศโฆษณาขาวทองถิ่น 7. นักเขียนบทความ ทั้งนี้ ในการตัดสินใจเลือกอาชีพตางๆ ขึ้นอยูกับ ...

การใช้ภาษาไทยมีส่วนสำคัญต่อการประกอบอาชีพการงานอย่างไร

ความสำคัญของการใช้ภาษาในงานอาชีพ 1.1 เป็นเครื่องมือสื่อสารในการติดต่อสื่อสาร 1.2 เป็นเครื่องมือในการสืบค้นข้อมูล 1.3 เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข้อมูล 1.4 สร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีทั้งในองค์กรและภายนอกองค์กร

อาชีพอะไรที่ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารมากที่สุด

ล่ามเป็นอาชีพที่มีความใกล้ชิดกับภาษามากที่สุด อีกทั้งยังเป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับว่า ให้ผลตอบแทนที่สูงและมีความมั่นคง โดยเฉพาะล่ามที่อยู่ในภาคธุรกิจนั้น ได้รับผลตอบแทนที่ดีมากเป็นพิเศษ และก่อนที่จะมาเป็นล่ามได้นั้น จะต้องมีความเข้าใจการใช้ภาษานั้น ๆ อย่างครบครันก่อน

ใช้ภาษาไทยอย่างไรในงานอาชีพ

การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในงานอาชีพได้อย่าง มีประสิทธิภาพผู้ใช้ภาษาต้องมีความรู้ในการเลือกใช้ภาษาให้ ถูกประเภท ถูกระดับภาษา รวมทั้งการใช้ถ้อยค า ส านวนใน การสื่อสารได้ถูกต้อง เหมาะสมกับโอกาส สถานการณ์ และฐานะ ของบุคคล เพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้รับสาร