เครื่องสําอางแบบไทยสโมสร คือ

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทเสภาสามัคคีเสวก

ตอนวิศวกรรมา
ควรไทยเราช่วยบำรุงวิชาช่าง                      เครื่องสำอางแบบไทยสโมสร
ช่วยบำรุงช่างไทยให้ถาวร                           อย่าให้หย่อนกว่าเขาเราจะอาย
อันของชาติไพรัชช่างจัดสรร                       เป็นหลายอย่างต่างพรรเข้ามาขาย
เราต้องซื้อหลากหลากและมากมาย            ต้องใช้ทรัพย์สุรุ่ยสุร่ายเป็นก่ายกอง
แม้พวกเราชาวไทยตั้งใจช่วย                      เอออำนวยช่างไทยให้ทำของ
ช่างคงใฝ่ใจผูกถูกทำนอง                            และทำของงามงามขึ้นตามกาล
เราช่วยช่างเหมือนอย่างช่วยบ้านเมือง        ได้ประเทืองเทศไทยอันไพศาล
สมเป็นเมืองใหญ่โตมโหฬาร                       พอไม่อายเพื่อนบ้านจึ่งจะดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เครื่องสําอางแบบไทยสโมสร คือ

อ๊ะ ๆๆๆ สารภาพมาซะดี ๆ ว่าเพื่อน ๆ อ่านชื่อบทเรียนนี้ว่าอะ ไร (เราเชื่อว่าต้องมีคนอ่านผิดกันบ้างแหละ) วันนี้บทเรียนออนไลน์จาก StartDee จะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักบทเสภาสามัคคีเสวก พร้อม ๆ กับหาคำตอบว่า ระหว่าง ‘สะ - เหวก’ กับ ‘เส - วก’ ชื่อบทเรียนนี้อ่านว่าอะไรกันแน่นะ ?

ความเป็นมาของบทเสภาสามัคคีเสวก และ ‘เสวก’ ที่ไม่ได้อ่านว่า ‘สะ - เหวก’

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ทรงพระราชนิพนธ์บทเสภาสามัคคีเสวกเป็นในขึ้น ณ พระราชวังสนามจันทร์ เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๕๗ เพื่อใช้ขับเสภาคั่นระหว่างการแสดงระบำสามัคคีเสวก

(จริง ๆ แล้วรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์ร้อยแก้วและร้อยกรองไว้มากมาย เช่น โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน และหัวใจชายหนุ่ม เป็นต้น แม้จะเป็นของระดับชั้นม.ปลาย แต่เพื่อน ๆ ลองไปอ่านดูกันเล่น ๆ ได้นะ)

ในสมัยก่อนข้าราชการในราชสำนักจะผลัดเปลี่ยนกันจัดงานเลี้ยงที่พระราชวังสนามจันทร์ทุก ๆ วันเสาร์ นอกจากอาหารในงานเลี้ยง ยังมีการแสดงหรือการละเล่นเพื่อความบันเทิงด้วย ซึ่งในครั้งที่มหาเสวกเอก เจ้าพระยาธรรมธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) ต้องเป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยง ก็ได้ทูลขอให้รัชกาลที่ ๖ ช่วยหาการละเล่นขึ้นหนึ่งอย่าง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จึงผูกระบำสามัคคีเสวกขึ้น

เครื่องสําอางแบบไทยสโมสร คือ

ระบำสามัคคีเสวกที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงคิดค้นขึ้นใหม่นี้เป็นระบำรูปแบบใหม่ที่ไม่มีบทร้อง มีแต่ดนตรีบรรเลงจากพิณพาทย์ประกอบกับการระบำ พระองค์จึงแต่งบทเสภาเพื่อขับในระหว่างที่พิณพาทย์กำลังพักให้หายเหนื่อย โดยบทเสภาสามัคคีเสวกนั้นมีถึง ๔ ตอนด้วยกัน ได้แก่

๑. กิจการแห่งพระนนที กล่าวถึงพระนนทีผู้เป็นเทพเสวก คอยรับใช้พระอิศวรอย่างขยันขันแข็ง ถือเป็นตัวอย่างของเสวกที่ดี

๒. กรีนิรมิต (กะ - รี - นิ - ระ - มิด) สรรเสริญพระพิฆเณศซึ่งเป็นเทพแห่งศิลปะวิทยาการ

๓. วิศวกรรมา (วิด - สะ - วะ - กัน - มา) กล่าวสรรเสริญพระวิศวกรรมงานช่างและการก่อสร้าง รวมถึงชี้ใ้เห็นความสำคัญของงานศิลปะไทย

๔. สามัคคีเสวก (สา - มัก - คี - เส - วก) กล่าวถึงความสามัคคีในหมู่ข้าราชการ

ซึ่งบทเสภาสามัคคีเสวก ตอนวิศวกรรมาและสามัคคีเสวก เป็นบทที่ถูกยกมาเราได้เรียนกันในระดับมัธยมนี้

**เสวก (เส - วก) มาจากภาษาบาลี ในภาษาสันสกฤต ซึ่งหมายถึง ‘คนใช้’ สำหรับในภาษาไทย พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายของคำว่าเสวกไว้ว่า “ข้าราชการในราชสำนัก” 

ลักษณะคำประพันธ์ของบทเสภาสามัคคีเสวก

บทเสภาสามัคคีเสวกแต่งด้วยกลอนเสภาที่มีฉันทลักษณ์อย่างกลอนสุภาพ กลอนเสภานี้ใช้เป็นบทเสภาเพื่อขับเสภาระหว่างที่พิณพาทย์พักเหนื่อย สันนิษฐานว่าการขับเสภานั้นพัฒนามาจากการเล่านิทานในสมัยก่อน จากเดิมที่มีแต่การเล่านิทานแบบร้อยแก้ว ต่อมาก็เริ่มมีผู้แต่งนิทานแบบร้อยกรอง แล้วจึงมีการใส่ทำนอง ขับเสภา และใช้กรับเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะเพื่อเพิ่มอรรถรส

เครื่องสําอางแบบไทยสโมสร คือ

โดยกลอนเสภาหนึ่งบทจะมีทั้งหมด ๔ วรรค ได้แก่ วรรคสดับ (วรรคที่ ๑) วรรครับ (วรรคที่ ๒) วรรครอง (วรรคที่ ๓) และวรรคส่ง (วรรคที่ ๔)  แต่ละวรรคจะมี ๗-๙ คำ ฉันทลักษณ์ของเสภาเป็นที่นิยมทั่วไป แต่ถ้าจะแต่งให้ไพเราะก็มีข้อบังคับอยู่นิดหน่อย คือ

๑. บังคับสัมผัสนอก สัมผัสใน และสัมผัสระหว่างบท

สัมผัสนอก (สัมผัสระหว่างวรรค) เป็นสัมผัสบังคับที่ต้องมีในการแต่งกลอนแปด มีอยู่ด้วยกัน ๒ จุด คือ

คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ จะสัมผัสกับคำที่ ๑ ๒ ๓ ๔  ๕ ของวรรคที่ ๒ 

คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ จะสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ และคำที่  ๑ ๒ ๓ ๔ ๓ หรือ ๕ ของวรรคที่ ๔

สัมผัสใน เป็นสัมผัสที่ไม่ได้บังคับว่าต้องมี แต่ถ้ามีก็จะทำให้กลอนไพเราะมากขึ้นไปอีก โดยในแต่ละวรรคของกลอนจะแบ่งเป็น ๓ จังหวะคือ

ooo oo ooo

ซึ่งพยางค์ที่ ๓ จะสัมผัสกับพยางค์ที่ ๔ และพยางค์ที่ ๕ จะสัมผัสกับพยางค์ที่ ๖ การสัมผัสสามารถเป็นได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะ ตัวอย่างเช่น

ศิลปกรรม นำใจ ให้สร่างโศก ช่วยบรรเทา ทุกข์ในโลก ให้เหือดหาย

สัมผัสระหว่างบท เป็นการส่งสัมผัสไปยังบทต่อไป ทำให้กลอนเสภาแต่ละบทร้อยเรียงกันเป็นเรื่องราวที่มีความต่อเนื่องกันมากขึ้น

โดยคำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) ในบทต้น จะไปสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป

๒. บังคับเสียงคำท้ายวรรค

กลอนแปดจะไพเราะยิ่งขึ้นถ้าพยางค์สุดท้ายของแต่ละวรรคมีเสียงวรรณยุกต์ดังนี้

คำท้ายของวรรคที่ ๑ ใช้ได้ทุกเสียงวรรณยุกต์

คำท้ายของวรรคที่ ๒ ใช้เสียงจัตวา เอก โท (โบราณว่า เสียงจัตวาจะไพเราะที่สุด)

คำท้ายของวรรคที่ ๓ ใช้เสียงสามัญและเสียงตรี

คำท้ายของวรรคที่ ๔ ใช้เสียงสามัญและเสียงตรี

คำศัพท์ที่ควรรู้ในบทเสภาสามัคคีเสวก

นอกจากคำว่าเสวก บทเสภาสามัคคีเสวกยังมีคำศัพท์ที่น่าสนใจอีกมาก เพื่อให้เข้าใจบทกลอนเหล่านี้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เรามาดูคำศัพท์น่ารู้เหล่านี้กันดีกว่า (ถ้าสังเกตดี ๆ เพื่อน ๆ จะพบว่ามีคำที่ทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษอยู่ด้วย ลองหาให้เจอนะ !)

คำศัพท์ ความหมาย
กะลาสี ลูกเรือ
กัปปิตัน กัปตัน (Captain)
ช่างสถาปนา ช่างก่อสร้าง
ชาติไพรัช ต่างชาติ
ทรงธรรม์, พระภูธร, พระจักรี กษัตริย์
นรชน คน
นาริน ผู้หญิง
นาวา เรือ
รัชดา เงิน
วิเลขา งามยิ่ง
ศรีวิไล ความเจริญ, ความมีอารยะ (Civilised)
ศานติ สันติ, สงบ
สาคร ทะเล
สุวรรณ ทองคำ
เสวก ข้าราชการในราชสำนัก บางครั้งใช้คำว่าเสวี
อริพล ศัตรู


เครื่องสําอางแบบไทยสโมสร คือ

ถอดคำประพันธ์บทเสภาสามัคคีเสวก ตอนวิศวกรรมาและสามัคคีเสวก

ตอนวิศวกรรมา

นอกจากการกล่าวสรรเสริญพระวิศวกรรมผู้เป็นเทพเจ้าแห่งการก่อสร้างและการช่าง บทเสภาสามัคคีเสวก ตอนวิศวกรรมายังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของศิลปะที่มีต่อประเทศชาติ ทั้งในแง่การให้ความเพลิดเพลินใจ และการสร้างความงดงามให้กับบ้านเมือง รวมถึงชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาฝีมือช่างชาวไทย เพื่อให้สร้างสรรค์สินค้าและผลิตภัณฑ์เนื่องด้วยศิลปะไทยได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อประเทศในแง่ของเศรษฐกิจด้วย

อันชาติใดไร้ศานติสุขสงบ

ต้องมัวรบราญรอนหาผ่อนไม่

ณ ชาตินั้นนรชนไม่สนใจ

ในศิลปะวิไลละวาดงาม

ในบทนี้กล่าวว่า ประเทศใดที่แผ่นดินมีแต่ศึกสงคราม ไม่มีความสงบสุขในแผ่นดิน ประชาชนในประเทศนั้นย่อมไม่สนใจความงดงามของศิลปะ

แต่ชาติใดรุ่งเรืองเมืองสงบ

ว่างการรบอริพลอันล้นหลาม

ย่อมจำนงศิลปะสง่างาม

เพื่ออร่ามเรืองระยับประดับประดา

แต่หากชาติใดสงบสุขปราศจากสงคราม  ประชาชนก็จะหันมาทำนุบำรุงงานด้านศิลปกรรมให้เจริญรุ่งเรือง ศิลปะจึงเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความสงบสุขและความเจริญทางอารยธรรมของประเทศนั้น ๆ  

อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์

เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า

ใครใครเห็นไม่เป็นที่จำเริญตา

เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย

ชาติใดที่ไม่มีช่างศิลป์ก็เปรียบเสมือนผู้หญิงที่ไร้ความงาม ไม่เป็นที่ถูกใจของใคร มีแต่จะถูกเยาะเย้ยให้อับอาย  

ศิลปกรรมนำใจให้สร่างโศก

ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย

จำเริญตาพาใจให้สบาย

อีกร่างกายก็จะพลอยสุขสราญ

ศิลปะนั้นช่วยทำให้จิตใจคลายเศร้าโศก ช่วยทำให้ความทุกข์หมดไป เมื่อได้เห็นสิ่งสวยงาม จิตใจก็มีความสุข ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงไปด้วย

แม้ผู้ใดไม่นิยมชมสิ่งงาม

เมื่อถึงยามเศร้าอุราน่าสงสาร

เพราะขาดเครื่องระงับดับรำคาญ

โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจ

หากใครไม่เห็นคุณค่าความงามของศิลปะ  เมื่อเผชิญความทุกข์ก็ไม่มีสิ่งใดมาเป็นยาช่วยรักษาบาดแผลทางใจได้ คนพวกนี้จึงเป็นคนที่น่าสงสารยิ่งนัก

เพราะการช่างนี้สำคัญอันวิเศษ

ทุกประเทศนานาทั้งน้อยใหญ่

จึงยกย่องศิลปกรรม์นั้นทั่วไป

ศรีวิไลวิลาศดีเป็นศรีเมือง

เพราะความรู้ทางช่างศิลป์ (ศิลปกรรม) สำคัญเช่นนี้ นานาอารยประเทศจึงนิยมยกย่องคุณค่าของศิลปะและทักษะของช่างศิลป์ว่าเป็นเกียรติยศ เป็นความรุ่งเรืองของแผ่นดิน 

ใครดูถูกผู้ชำนาญในการช่าง

ความคิดขวางเฉไฉไม่เข้าเรื่อง

เหมือนคนป่าคนไพรไม่รุ่งเรือง

จะพูดด้วยนั้นก็เปลืองซึ่งวาจา

คนที่ไม่เห็นคุณค่าหรือความงามของศิลปะก็เหมือนคนป่า ป่วยการอธิบาย พูดด้วยก็เปลืองน้ำลายเปล่า  

แต่กรุงไทยศรีวิไลทันเพื่อนบ้าน

จึงมีช่างชำนาญวิเลขา

ทั้งช่างปั้นช่างเขียนเพียรวิชา

อีกช่างสถาปนาถูกทำนอง

ทั้งช่างรูปพรรณสุวรรณกิจ

ช่างประดิษฐ์รัชดาสง่าผ่อง

อีกช่างถมลายลักษณะจำลอง

อีกช่ำชองเชิงรัตนะประกร

ควรไทยเราช่วยบำรุงวิชาช่าง

เครื่องสำอางแบบไทยสโมสร

ช่วยบำรุงช่างไทยให้ถาวร

อย่าให้หย่อนกว่าเขาเราจะอาย

แต่ประเทศไทยของเรานั้นเห็นคุณค่าของงานศิลป์ จึงมีช่างศิลป์หลากหลาย ทั้งช่างปั้น ช่างเขียน ช่างก่อสร้าง ช่างทองรูปพรรณ  ช่างเงิน  ช่างถม และช่างอัญมณี (นอกจากนี้ยังมีช่างในแขนงอื่น ๆ อีก เรียกว่าช่างสิบหมู่) ชาวไทยควรช่วยส่งเสริมงานช่างศิลป์เหล่านี้ให้ก้าวหน้ารุ่งเรือง อย่าให้น้อยหน้ากว่านานาประเทศ

อันของชาติไพรัชช่างจัดสรร

เป็นหลายอย่างต่างพรรณเข้ามาขาย

เราต้องซื้อหลากหลากและมากมาย

ต้องใช้ทรัพย์สุรุ่ยสุร่ายเป็นก่ายกอง

ชาวต่างชาติมักนำสินค้าต่าง ๆ (ที่มักมีราคาแพง) เข้ามาขายในไทย การที่เราซื้อของนำเข้าเหล่านั้นก็ทำให้สิ้นเปลืองเงินมาก

แม้พวกเราชาวไทยตั้งใจช่วย

เอออำนวยช่างไทยให้ทำของ

ช่างคงใฝ่ใจผูกถูกทำนอง

และทำของงามงามขึ้นตามกาล

เราช่วยช่างเหมือนอย่างช่วยบ้านเมือง

ให้ประเทืองเทศไทยอันไพศาล

สมเป็นเมืองใหญ่โตมโหฬาร

พอไม่อายเพื่อนบ้านจึ่งจะดี

แต่ถ้าชาวไทยหันมาอุดหนุนผลงานของช่างไทย ฝีมือของช่างชาวไทยก็จะยิ่งพัฒนายิ่งขึ้น การเห็นคุณค่า และการช่วยสนับสนุนงานศิลปกรรมก็เหมือนกับการช่วยพัฒนาชาติ ให้เจริญรุ่งเรือง สมกับเป็นเมืองที่เจริญแล้ว ไม่น้อยหน้าประเทศเพื่อนบ้าน

ตอนสามัคคีเสวก

แนวคิดหลักของบทเสภาสามัคคีเสวก ตอนสามัคคีเสวกคือมุ่งเน้นสั่งสอนข้าราชการว่าควรเคร่งครัดในวินัย จงรักภักดี เคารพ และให้ความร่วมมือต่อพระมหากษัตริย์อย่างเต็มที่ โดยเปรียบเทียบประเทศเป็นเรือใหญ่ที่แล่นไปในทะเล มีพระมหากษัตริย์เป็นกัปตัน และเหล่าข้าราชการเป็นกะลาสีเรือ ปัญหาและอุปสรรคน้อยใหญ่ก็เปรียบเหมือนคลื่นทะเลที่อาจซัดเรือให้ล่มลงได้หากเหล่ากะลาสีไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และไม่เชื่อฟังกัปตันเรืออย่างพระมหากษัตริย์

ประการหนึ่งพึงคิดในจิตมั่น

ว่าทรงธรรม์เหมือนบิดาบังเกิดหัว

ควรเคารพยำเยงและเกรงกลัว

ประโยชน์ตัวนึกน้อยหน่อยจะดี

ควรนึกว่าบรรดาข้าพระบาท

ล้วนเป็นราชบริพารพระทรงศรี

เหมือนลูกเรืออยู่ในกลางหว่างวารี

จำต้องมีมิตรจิตรสนิทกัน

ในบทแรกจึงสั่งสอนเหล่าข้าราชการ (เสวก) อย่างตรงไปตรงมาว่าให้นึกอยู่เสมอว่าตนเป็นข้ารับใช้ของพระเจ้าแผ่นดิน เปรียบเหมือนลูกเรือที่อยู่ในเรือใหญ่กลางทะเล จึงต้องมีความสามัคคีต่อกัน 

แม้ลูกเรือเชื่อถือผู้เป็นนาย

ต้องมุ่งหมายช่วยแรงโดยแข็งขัน

คอยตั้งใจฟังบังคับกัปปิตัน

นาวานั้นจึ่งจะรอดตลอดทะเล

ลูกเรือต้องตั้งใจฟังคำสั่ง เชื่อฟัง และช่วยเหลือกัปตันอย่างแข็งขัน เรือจึงจะรอดไปถึงจุดหมายได้ 

แม้ลูกเรืออวดดีมีทิฐิ

และเริ่มริเฉโกยุ่งโยเส

เมื่อคลื่นลมแรงจัดซัดโซเซ

เรือจะเหล่มระยำคว่ำไป

แต่ถ้าลูกเรือไม่เชื่อฟังกัปตันและเริ่มแตกแยกกัน เวลาคลื่นลมแรงเรือก็จะอับปางลง 

แม้ต่างคนต่างเถียงเกี่ยงแก่งแย่ง

นายเรือจะเอาแรงมาแต่ไหน

แม้ไม่ถือเคร่งคงตรงวินัย

เมื่อถึงคราวพายุใหญ่จะครวญคราง

หากลูกเรือมัวแต่ทะเลาะกัน กัปตันก็จะไม่มีกำลังแรงกายแรงใจมาต่อสู้ ถ้าไม่เคร่งครัดต่อกฎระเบียบเวลาที่เกิดภัยอะไรขึ้นจะเดือดร้อน 

นายจะสั่งสิ่งใดไม่เข้าจิต

จะต้องติดตันใจให้ขัดขวาง

จะยุ่งแล้วยุ่งเล่าไม่เข้าทาง

เรือก็คงอับปางกลางสาคร

กัปตันสั่งอะไรก็ไม่ฟัง พอถึงเวลาก็มีข้อขัดแย้งต่อมาก็จะเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้น ในที่สุดเรือก็จะล่มกลางทะเล 

ถึงเสวีที่เป็นข้าฝ่าพระบาท

ไม่ควรขาดความสมัครสโมสร

ในพระราชสำนักพระภูธร

เหมือนเรือแล่นสาครสมุทรไทย

เหล่าเสวกตกที่กะลาสี

ควรคิดถึงหน้าที่นั้นเป็นใหญ่

รักษาตนเคร่งคงตรงวินัย

สมานใจจงรักพระจักรี

ไม่ควรเลือกที่รักมักที่ชัง

สามัคคีเป็นกำลังพลังศรี

ควรปรองดองในหมู่ราชเสวี

ให้สมที่ร่วมพระเจ้าเราองค์เดียว

ถึงจะเป็นข้าราชการของพระเจ้าแผ่นดินก็ไม่ควรขาดความสามัคคี เหตุการณ์ในพระราชสำนักก็เปรียบเสมือนเรือที่แล่นอยู่ในมหาสมุทร เหล่าข้าราชการในราชสำนักก็เหมือนเป็นกะลาสีควรให้ความสำคัญกับหน้าที่ต้องรับผิดชอบเป็นหลัก ปฏิบัติตนตามกฏตามระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัดและสามัคคีจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ไม่ควรแยกฝ่ายเลือกที่จะเคารพเชื่อฟังใคร ควรที่จะสามัคคีปรองดองกันในหมู่ข้าราชการเพื่อเป็นพลังในการทำความดี ให้สมกับที่มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียวกัน

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ของบทเสภาเสวก ตอนวิศวกรรมาและสามัคคีเสวก

กลวิธีทางวรรณศิลป์ที่โดดเด่นของบทเสภาสามัคคีเสวก ตอนวิศวกรรมาและสามัคคีเสวกคือการใช้ภาพพจน์เปรียบเทียบ ทั้งภาพพจน์อุปมา เช่น การเปรียบเทียบเสวก (ข้าราชการ) เหมือน ลูกเรือ และภาพพจน์อุปลักษณ์ เช่น การเปรียบเทียบเสวก เป็น กะลาสีเรือ ซึ่งปรากฎให้เห็นเด่นชัดเป็นพิเศษในตอนสามัคคีเสวก

ข้อคิดจากบทเสภาสามัคคีเสวก ตอนวิศวกรรมาและสามัคคีเสวก

๑. อธิบาย และชี้ให้เห็นความสำคัญของศิลปะในฐานะการพัฒนาคนและบ้านเมือง

๒. สะท้อนค่านิยมการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด

๓. ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาจิตใจคนในบ้านเมืองด้วยงานศิลปะ และความสามัคคีของหมู่ข้าราชการเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ

รู้หรือไม่ ?: ช่างสิบหมู่คืออะไรกันนะ ?

จากบทเสภาสามัคคีเสวก ตอนวิศวกรรมา เพื่อน ๆ จะเห็นว่ามีการพูดถึงงานช่างศิลป์ของไทยหลากหลายแขนงมาก ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงมีการรวบรวมช่างศิลป์ที่มีฝีมือและจัดตั้ง ‘กรมช่างสิบหมู่’ ขึ้น คำว่าสิบนั้นลดรูปมาจากคำว่า ‘สิปปะ’ จากภาษาบาลี ในภาษาสันสกฤตที่แปลว่า ‘ศิลปะ’ ช่างสิบหมู่จึงหมายถึงกลุ่มช่างผู้ทำงานด้านศิลปะไทย ซึ่งในสมัยนั้นได้จำแนกกระบวนช่างศิลป์ที่สำคัญของไทยไว้ ๑๐ แขนง ได้แก่ ช่างเขียน ช่างแกะ ช่างสลัก ช่างกลึง ช่างหล่อ ช่างปั้น ช่างหุ่น ช่างรัก (ลงรักปิดทอง) ช่างบุ และช่างปูน

เครื่องสําอางแบบไทยสโมสร คือ

ขอบคุณรูปภาพจาก: finesrts.go.th

งานศิลป์ไทยเหล่านี้ถูกสืบทอดผ่านหลายชั่วอายุคน ปัจจุบันกรมช่างสิบหมู่คือ ‘สำนักช่างสิบหมู่’ ในสังกัดกรมศิลปากร จำแนกออกเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มประติมากรรม กลุ่มจิตรกรรม กลุ่มศิลปประยุกต์และเครื่องเคลืบดินเผา กลุ่มประณีตศิลป์ และอีก ๑ ศูนย์ คือศูนย์ศิลปะและการช่างไทย นอกจากสืบสานมรดกทางศิลปะไทย สำนักช่างสิบหมู่ยังคงมีบทบาทในการสร้างสรรค์งานเพื่อบริการประชาชนทั่วไป งานด้านศาสนา งานของราชการและพระราชพิธีที่สำคัญของหลวง ยกตัวอย่างเช่นพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มีการรวบรวมช่างสิบหมู่ผู้มีฝีมือจากทั้งประเทศมาร่วมกันสร้างพระเมรุมาศให้งดงามสมพระเกียรติ รวมถึงการสร้างสัตว์หิมพานต์ประดับพระเมรุ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ที่สะท้อนความงดงามของงานศิลป์ไทยได้เป็นอย่างดี

นอกจากบทเรียนออนไลน์เรื่องเสภาสามัคคีเสวกแล้ว เพื่อน ๆ ชั้น ม.๒ ยังสามารถเข้าไปอ่านบทเรียนเรื่องศิลาจารึกหลักที่ ๑ ได้ด้วยนะ คลิกตรงนี้เลย

หลังจากติดตามอ่านบทเสภาสามัคคีเสวก ตอนวิศวกรรมา และสามัคคีเสวกตั้งแต่ต้นจนจบหลายคนอาจจะรู้สึกว่าอ่านแค่ตัวหนังสือนี่ไม่ได้อรรถรสเอาเสียเลย ! ก่อนจะจากกันไป StartDee เลยอยากชวนทุกคนไปเปลี่ยนบรรยากาศ พักการอ่านวรรณคดีในหนังสือแล้วไปฟังการขับเสภาในแอปพลิเคชัน StartDee กันดีกว่า ถ้าอยากรู้ว่าการขับเสภาต้องทำยังไง โหลดแอปฯ StartDee ให้พร้อม เตรียมกรับไม้ให้พร้อม แล้วไปดูพร้อม ๆ กันเลย !

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ธีรศักดิ์ จิระตราชู (ครูหนึ่ง)