การจัดการขยะของประเทศสวีเดน

การจัดการขยะของประเทศสวีเดน

พาดูเมืองเอสคิลส์ตูนาประเทศสวีเดน เมืองต้นแบบการแยกขยะระดับโลกด้วยถุงพลาสติกหลากสี และแยกอย่างไร ให้ (แทบ) ไม่เหลือฝังกลบ

เมืองเอสคิลส์ตูน่า (Eskilstuna) เป็นเมืองเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงสต็อกโฮล์มมากนัก ดูเผิน ๆ อาจเป็นเมืองที่เงียบสงบ ไม่มีอะไรโดดเด่นเป็นพิเศษ แต่จริง ๆ แล้ว เมืองนี้มีวิธีจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพมากจนกลายเป็นเมืองจัดการขยะระดับต้น ๆ โลกเลยทีเดียว!

เริ่มตั้งแต่ปี 2012 เมืองเอสคิลส์ตูน่าตั้งเป้าจะเปลี่ยนเป็นตัวเองเมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดในสวีเดน โดยเริ่มจากการใช้ระบบแยกขยะด้วย “ถุงขยะสีรุ้ง” ที่แยกขยะแต่ละชนิดตามสีของถุงขยะ - สีเขียวใส่เศษอาหาร สีชมพูใส่เศษผ้า สีเทาใส่ชิ้นส่วนโลหะ สีเหลืองใส่กระดาษ สีฟ้าใส่หนังสือพิมพ์ สีส้มใส่พลาสติก และสีดำใส่ขยะอื่น ๆ

เมื่อทุกครัวเรือนจัดการได้แบบนี้ก็จะนำไปสู่ขั้นตอนต่อไปคือการคัดแยกเพื่อนำไปทำประโยชน์อื่นต่อไป เช่นขยะเศษอาหารจะนำไปเข้ากระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับรถประจำทางในเมือง ขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้จะถูกส่งเข้าเตาเผาเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าในเมืองแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

ส่วนขยะที่นำไปรีไซเคิลได้ จะถูกนำไปซ่อม หรือดัดแปลงเป็นสินค้าใหม่ (Upcycling) แล้วนำมาขายในห้างสรรพสินค้าที่ชื่อว่า ReTuna ห้างสรรพสินค้าที่ขายเฉพาะสินค้ามือสองแห่งแรกของโลกภายใต้การดูแลของเทศบาลเมืองเอสคิลส์ตูน่า

จากวงจรการจัดการขยะของเมืองเอสคิลส์ตูน่านี้ ทำให้ขยะจากบ้านเรือนที่จะลงไปสู่การฝังกลบนั้นเป็นศูนย์ และยังสามารถต่อยอดไอเดีย นำขยะไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้อีกมากมาย หากวางระบบได้ครอบคลุมและทุกคนร่วมมือ ไอเดียนี้ก็สามารถนำไปเป็นต้นแบบในหลายที่ได้ไม่ยาก

ที่มา
https://www.theguardian.com/…/eskilstuna-how-a-swedish…
https://www.bbc.com/thai/features-47928933

ประเทศสวีเดนเริ่มต้นโครงการนำขยะกลับมาใช้ใหม่นี้ตั้งแต่ปี 1940 ในขณะที่ประเทศอื่นๆในโลกยังไม่มีใครตระหนักหรือสนใจกับปัญหาขยะและคิดถึง เรื่องรีไซเคิลแม้สักนิด.. แต่สวีเดนกลับเริ่มต้นโครงการในการคัดแยกขยะ และนำขยะกลับมาใช้เป็นพลังงาน จนปัจจุบันสวีเดนสามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่นำขยะกลับมาใช้เป็นพลังงานได้โดย แทบไม่ก่อให้เกิดมลพิษใดๆ

สวีเดนเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ ขยะจากภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นครัวเรือน โรงงานอุตสาหกรรม หรือภาคเกษตรกรรม ถูกรวบรวมและจำแนกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามคุณสมบัติและความเหมาะสม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 วงจร ได้แก่ การบำบัดน้ำและกากของเสีย (Wastewater treatment and sludge management) การจัดการขยะมูลฝอย (Solid waste management) ระบบก๊าซชีวมวล (Biogas system) และการจัดการพลังงานส่วนเกิน (Surplus energy management)

ขั้นแรกขยะจากครัวเรือนจะถูกจัดการด้วยการคัดแยกเป็นประเภทต่างๆ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการนำไปใช้ในขั้นตอนต่อๆ ไป ด้วย เหตุนี้ขยะจากครัวเรือนเกือบทั้งหมดถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ด้วยการรีไซเคิล เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ผ่านกระบวนการหมักเป็นก๊าซชีวมวลและปุ๋ย หรือนำไปผลิตพลังงาน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยประมาณ 50% ถูกนำกลับมาใช้เป็นพลังงาน ผ่านโครงการจัดการขยะสู่พลังงาน (Waste to energy program) ขยะปริมาณกว่า 450 กิโลกรัมต่อคนต่อปีจึงเหลือที่ต้องนำไปฝังกลบจริงๆ ไม่ถึง 1%

ส่วนการเผาขยะในโรงเผา (waste incineration) นอกจากจะจัดการขยะได้มากกว่า 2 ล้านตันต่อปีแล้ว ยังสามารถผลิตความร้อนและกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย ขยะจึงกลายเป็นสิ่งมีค่าและเป็นทรัพยากรสำคัญที่นำมาใช้ทดแทนเชื้อเพลิง ฟอสซิล ในปี ค.ศ. 2011 Avfall Sverige (Swedish Waste Management) ระบุว่า สวีเดนมีเตาเผาขยะทั้งหมด 30 แห่ง และคาดว่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นในอนาคตอันใกล้ ขณะที่ปริมาณขยะในประเทศมีไม่เพียงพอต่อกำลังการผลิตของเตาเผาขยะ จึงต้องนำเข้าขยะทั้งหมด 813,000 ตัน ในจำนวนนี้เป็นขยะครัวเรือนปริมาณ 152,000 ตัน

ความสำเร็จของโครงการไม่ได้มีเพียงเทคโนโลยี แต่ต้องขอบคุณประชากร 9.5 ล้านคน ที่มีความตระหนักถึงปัญหา และร่วมมือกับโครงการ รวมถึงกฏหมายที่เข้มงวด ความร่วมมือในการจัดเก็บและคัดแยกขยะในสวีเดนเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมาก เพราะขยะเกือบทั้งหมดถูกนำกลับไปใช้ใหม่ได้ เหลือเพียง 4% เท่านั้น ที่ไม่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่และต้องนำไปถมที่ ในทางตรงข้ามประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา ขยะมากถึง 63% ไม่ได้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ ต้องนำไปถมที่

โรงงานนำขยะมาผลิตกระแสไฟฟ้าในสวีเดน มีความต้องการใช้ขยะ 2 ล้านตันในแต่ละปี เพื่อนำมาผลิตกระแสไฟฟ้า จึงไม่มีขยะมากพอมาป้อนให้กับโรงงาน และต้องมีการนำเข้าขยะจากประเทศเพื่อนบ้าน.. เป็นข่าวดีๆในโลกใบนี้ อย่างน้อยเราก็ยังไม่สิ้นหวังกับจำนวนขยะที่เพิ่มมากขึ้นในทุกเมืองใหญ่ ..อย่างน้อยก็มีประเทศที่ประสบความสำเร็จ ให้เราเอาเป็นต้นแบบ


ที่มาของบทความและรูปภาพประกอบ: http://www.greenintrend.com201

เผยแพร่: 15 เม.ย. 2565 22:20   ปรับปรุง: 15 เม.ย. 2565 22:20   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Clip Cr.Nameless Network
ประเทศสวีเดน ขึ้นชื่อมานานด้านใช้พลังงานทางเลือกจากขยะ โดยเกือบครึ่งหนึ่งนำไปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าให้แก่อาคารบ้านเรือนของประชาชน แต่ขณะเดียวกันประเทศส่วนใหญ่ในโลกกำลังประสบปัญหามลพิษ และก่อก๊าซเรือนกระจกจากการฝังกลบ

ตามรายงานของ International Solid Waste Association (ISWA) ร้อยละ 40 ของขยะทั่วโลกไปจบลงที่ทิ้งขยะแบบเปิดและไม่มีการควบคุม คือ หลุมฝังกลบซึ่งมีขีดจำกัด ปัจจุบันหลุมฝังกลบที่ใหญ่ที่สุด 38 แห่งจากทั้งหมด 50 แห่งเริ่มที่จะสร้างมลพิษต่อพื้นที่ทะเลและชายฝั่ง ในขณะที่ผู้คน 64 ล้านคนจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากหลุมเหล่านั้น ซึ่งมักมีปัญหาสุขภาพที่รุนแรง บางแห่งที่แย่สุดคือขยะที่ย่อยสลายได้ของหลุมฝังกลบทำให้เกิดก๊าซมีเทนที่ไปเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในชั้นบรรยากาศ

“ปัจจุบัน คาดว่าอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกมีที่มาจากหลุมฝังกลบของโลกภายในปี 2025” ISWA รายงาน

ขณะที่โลกกำลังหาวิธีลดขนาดภูเขาขยะ สวีเดนกลับเป็นประเทศที่ส่งขยะน้อยกว่าร้อยละ 1 ไปยังหลุมฝังกลบ โดยผลสำเร็จส่วนของสวีเดนในการลดขยะจากหลุมฝังกลบมาจากการให้เครดิตกับอัตราการรีไซเคิลที่สูง ระหว่างขยะมูลฝอยที่นำกลับมาใช้ใหม่กับอินทรียวัตถุที่หมักแล้ว ทำให้สวีเดนสามารถรีไซเคิลเกือบครึ่งหนึ่งของสิ่งที่ทิ้งไป

สิ่งที่ทำกับอีกครึ่งหนึ่งคือสิ่งที่ทำให้สวีเดนแตกต่างจากประเทศอื่นๆ ในโลก คือขยะที่ไม่ได้รีไซเคิลของสวีเดนเกือบทั้งหมดถูกเผาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและความร้อน ถึงแม้ว่าทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ แต่ก็ดีกว่าสำหรับสภาพอากาศในการส่งขยะไปยังหลุมฝังกลบ

"การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่เป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดสำหรับการบำบัดและการใช้พลังงานในของเสียที่ตกค้างต่างๆ ซึ่งไม่สามารถรีไซเคิลได้ง่าย" Klas Svensson ที่ปรึกษาด้านเทคนิคจากขยะเป็นพลังงานที่ Avfall Sverige สมาคมการจัดการขยะของสวีเดนกล่าว “สำหรับประเทศอื่นๆ ในยุโรปมากมาย ถือเป็นโอกาสในการแทนที่ทั้งก๊าซธรรมชาติของรัสเซีย และในขณะเดียวกันก็ยุติการฝังกลบด้วย” นอกจากนี้ยังได้รับเงินเป็นจำนวนมากในสวีเดน

สวีเดนเป็นผู้ริเริ่มการนำขยะมาเป็นพลังงาน โดยเริ่มดำเนินการท่ามกลางการเติบโตของการสร้างบ้านหลังสงครามในช่วงปลายทศวรรษ 1940 บ้านใหม่เหล่านี้เชื่อมต่อกับเครือข่ายการให้ความร้อนในเขต ซึ่งสร้างความร้อนที่ตำแหน่งศูนย์กลางและสูบจ่ายไปยังบ้านแต่ละหลัง แทนที่จะให้บ้านแต่ละหลังมีหม้อไอน้ำของตัวเอง

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา โรงไฟฟ้าพลังงานจากขยะเป็นพลังงานจำนวนมากขึ้นซึ่งจ่ายพลังงานให้กับเครือข่ายการให้ความร้อนแบบเขต โดยมีการขยายครั้งใหญ่ในช่วงทศวรรษ 1970 มาทุกวันนี้ สวีเดนมีโรงงานพลังงานขยะถึง 34 แห่ง ซึ่งจัดหาพลังงานความร้อนให้กับ 1,445,000 ครัวเรือน และไฟฟ้า 780,000 ครัวเรือน นับเป็นตัวเลขน่าทึ่งสำหรับประเทศที่มีประชากรเพียง 10 ล้านคน

สำหรับ Sysav โรงไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง เผาขยะประมาณ 600,000 ตันต่อปี ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการความร้อน 60 เปอร์เซ็นต์ของเมืองมัลโม ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากร 300,000 คน ทว่าโดยรวมแล้ว โรงไฟฟ้าจากขยะเป็นพลังงานให้พลังงานในสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อยของสวีเดน โดยมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์มาจากการรวมกันของพลังน้ำและพลังงานนิวเคลียร์ ประโยชน์หลักของพวกเขาคือการเก็บขยะให้พ้นจากหลุมฝังกลบ

ทั้งนี้หลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา หลุมฝังกลบกลายเป็นแหล่งสร้างก๊าซมีเทนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่เป็นพิษต่อสภาพอากาศมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ ตลอดระยะเวลา 20 ปี ก๊าซมีเทนมีศักยภาพมากกว่า CO2 อย่างน้อย 84 เท่าในการกักเก็บความร้อนในชั้นบรรยากาศ ตามรายงานของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งยุโรปแห่งสหประชาชาติ (UN Economic Commission for Europe)

นี่คือเหตุผลที่ผู้สนับสนุนการใช้ขยะผลิตเป็นพลังงานความร้อนและไฟฟ้า พร้อมกับให้เหตุผลว่าถึงแม้จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ก็มีอันตรายน้อยกว่าหลุมฝังกลบที่สร้างก๊าซมีเทน ดังนั้น สหภาพยุโรปที่ยังส่งขยะกว่า 24% ไปยังหลุมฝังกลบจึงควรใช้วิธีการของประเทศสวีเดน

ข้อมูลอ้างอิง https://reasonstobecheerful.world/waste-to-energy-sweden-power-plants/