สรุป การจัดการ เรียนการสอน

ข่าวการศึกษา ความรู้ทั่วไป 

สรุปรูปแบบการจัดการเรียนการสอน Online

May 14, 2021May 14, 2021 ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด สื่อการสอน

สรุปรูปแบบการจัดการเรียนการสอน Online

สรุป การจัดการ เรียนการสอน
สรุป การจัดการ เรียนการสอน

ใช้รูปแบบ Facebook เพราะง่ายนักเรียนส่วนใหญ่ใช้ โดยเปิดเป็น กลุ่มปิด

สรุป การจัดการ เรียนการสอน
สรุป การจัดการ เรียนการสอน

นักเรียนไม่มีการโต้ตอบ หรือมีา้วนร่วมน้อย

สรุป การจัดการ เรียนการสอน
สรุป การจัดการ เรียนการสอน
สรุป การจัดการ เรียนการสอน
สรุป การจัดการ เรียนการสอน
สรุป การจัดการ เรียนการสอน
สรุป การจัดการ เรียนการสอน

Post Views: 2,792

Related

Comments

comments

จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวรของบุคคล  อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ในอดีต  ทั้งจากการฝึกฝน  การปฏิสัมพันธ์กับประสบการณ์รอบตัวและมีปริมาณองค์ความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น

แนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้ของ เบญจมิน บลูม (Bloom Taxonomy)

อติญาน์ ศรเกษตริน (2543 : 72-74 อ้างในบุญชม ศรีสะอาด 2537 :Bloom : 18)ได้กล่าวว่า จุดประสงค์สำคัญของการเรียนการสอน คือการให้บุคคลเปลี่ยนแปลงไปในทางที่พึงประสงค์พฤติกรรมเหล่านี้จำแนกและจัดลำดับหมวดหมู่และระดับความยากง่าย หมวดหมูเหล่านี้เรียกว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษาของ บลูม (Taxonomy of Educational objective) : ซึ่ง Benjamin Bloom (Bloom.1976) ได้แบ่งเป็น 3 หมวดดังนี้

  1. พฤติกรรมด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain) เป็นความสามารถทางด้านสติปัญญาแบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 6 ระดับ ดังนี้
    • ความสามารถในการจดจำความรู้ต่างๆที่ได้เรียนรู้มา ( Knowledge)
    • ความสามารถในการแปลความ ขยายความ ในสิ่งที่ได้เรียนรู้มา  (Comprehensive)
    • ความสามารถในการสิ่งที่เรียนรู้มาให้เกิดประโยชน์ ( Application)
    • ความสามารถในการแยกแยะความรู้ออกเป็นส่วนๆและทำความเข้าใจในแต่ละส่วนว่าสัมพันธ์
      หรือต่างกันอย่างไร ( Analysis)
    • ความสามารถในการรวบรวมความรู้ต่างๆหรือประสบการณ์ต่างๆให้เกิดเป็นสิ่งใหม่(Synthesis)
    • ความสามารถในการตัดสินคุณค่าของความรู้อย่างเป็นเหตุเป็นผล (Evaluation)

      ต่อมา Anderson and Krathwont (2001) ซึ่งเป็นกลุ่มลูกศิษย์ของ Bloom  ได้ปรับปรุง พัฒนาให้เหมาะสม  โดยเปลี่ยนแปลงขั้นตอนพฤติกรรมพุทธพิสัยดังนี้

    • ขั้นความรู้ความจำ  เปลี่ยนเป็น จำ
    • ขั้นความเข้าใจ เปลี่ยนเป็น  เข้าใจ
    • ขั้นการนำไปใช้ เปลี่ยนเป็น ประยุกต์
    • ขั้นการวิเคราะห์ เปลี่ยนเป็น วิเคราะห์
    • ขั้นการสังเคราะห์ เปลี่ยนเป็น ประเมินค่า
    • ขั้นการประเมินค่า เปลี่ยนเป็น ริเริ่มสร้างสรรค์
  2. พฤติกรรมด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดในจิตใจ ความเชื่อ ความซาบซึ้ง ประกอบด้วยพฤติกรรม 5 ระดับ ดังนี้
    • ความตั้งใจ สนใจในสิ่งเร้า หรือ รับรู้ (Receive)
    • การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกิดขึ้นหรือตอบสนองสิ่งเร้า (Respond)
    • ความรู้สึกซาบซึ้งยินดี มีเจตคติที่ดี หรือค่านิยม  (Value)
    • เห็นความแตกต่างในคุณค่า  แก้ไขข้อบกพร่อง/ขัดแย้ง  สร้างปรัชญา/เป้าหมายให้แก่ตนเอง  หรือการจัดระบบ  (Organize)
    • ทำให้เกิดเป็นคุณลักษณะหนึ่งของชีวิตตนเองหรือ บุคลิกภาพ (Characterize)
  3. พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นความสามารถในการปฏิบัติ ประกอบด้วยพฤติกรรม 5 ระดับดังนี้
    • ความสามารถในการสังเกตและรับรู้ขั้นตอนการปฏิบัติ  หรือขั้นรับรู้ (Imitation)
    • ความสามารถในการทำตามขั้นตอนหรือรูปแบบ  ที่ได้รับการแนะนำ (Manipulation)
    • ความสามารถในการทำงานด้วยตนเอง  โดยไม่ต้องมีผู้ชี้แนะและพัฒนาการทำงานด้วยตนเองให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น (Precision)
    • ความสามารถในการเลือกรูปแบบที่ตนเองพัฒนาจนมีประสิทธิภาพ  และฝึกฝนจนเกิดความคล่องแคล่วเป็นอัตโนมัติชัดเจนต่อเนื่องจน ชำนาญการ (Articulation)
    • ความสามารถที่เกิดจากการฝึกฝนจนเกิดเป็นความเชี่ยวชาญในงานนั้นเป็นการเฉพาะและเป็นธรรมชาติ ขั้น เชี่ยวชาญ (Naturalization)

การจัดการเรียนรู้ (Learning Management)

นักการศึกษาได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้ ไว้ดังนี้

  • สุมน อมรวิวัฒน์ 2533:460) ได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้คือสถานการณ์อย่างหนึ่งที่มีสิ่งต่อไปนี้เกิดขึ้น ได้แก่
    1. มีความสัมพันธ์และมีปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้น  ระหว่างผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน  ผู้เรียนกับสิ่งแวดล้อม และผู้สอนกับสิ่งแวดล้อม
    2. ความสัมพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์ก่อให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่
    3. ผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ใหม่นั้นไปใช้ได้
  • วิชัย ประสิทธ์วุฒิเวชช์ (2542 :255) ได้กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่มีระบบระเบียบคลอบคลุมการคำเนินการ ตั้งแต่การวางแผน การจัดการเรียนรู้ จนถึงการประเมินผล
  • ฮู และ ดันแคน (Hough and Duncan 1970: 144) อธิบายความหมายของการจัดการเรียนรู้ว่าหมายถึง กิจกรรมที่บุคคลได้ใช้ความรู้ของตนเองอย่างสร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้อื่นเกิดการเรียนรู้ และมีความผาสุขดังนั้นการจัดการเรียนรู้จึงเป็นกิจกรรมในแง่มุมต่างๆ 4 ด้านดังนี้
    1. การจัดการหลักสูตร(Curriculum)
    2. การจัดการเรียนการสอน(Instruction)
    3. การวัดผล(Measuring)
    4. การประเมินผลการเรียนรู้(Evaluation)หลังการเรียนการสอน

องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้

  • ผู้สอน จำเป็นจะต้องศึกษาจากข้อมูลหลายประการ เพื่อนำมาช่วยเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของตน และการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้ไม่ว่าระดับใด จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการดังต่อไปนี้
    1. ผู้เรียน
    2. บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้อต่อการเรียนรู้
    3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน บรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียน
  • ผู้เรียน ธรรมชาติของผู้เรียนเป็นสิ่งที่ครูผู้สอนจะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เกี่ยวกับความสามารถของสมอง ความถนัด ความสนใจ พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ ความต้องการพื้นฐานหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศักยภาพผู้เรียน

บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้อต่อการเรียนรู้

บรรยากาศใฝ่รู้ใฝ่เรียนถือเป็นบรรยากาศทางจิตวิทยาที่สำคัญที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนต้องมีทักษะ ประสบการณ์และจิตวิทยาในการสร้างบรรยากาศดังกล่าวได้โดยเลือก รูปแบบ (Model) วิธีการ (Innovation) เครื่องมือ (Media) ตลอดจนเทคโนโลยี(Technology) เพิ่มเสริมสร้างบรรยากาศที่เร้าให้ผู้เรียน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มากยิ่งขึ้น

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบรรยากาศทางจิตวิทยาในห้องเรียน ครูผู้สอนควรสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนทุกกลุ่มที่มีศักยภาพแตกต่างกัน ด้วยความเอื้ออาทรเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจที่จะเรียนรู้ของผู้เรียน ที่จะก้าวอย่างมั่นคงเต็มศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคลให้สูงยิ่งขึ้น และอย่าลืมว่า

  • ผู้เรียนที่มีศักยภาพต่ำต้องการความช่วยเหลือจากครูผู้สอนและเพื่อนนักเรียนในการเรียนรู้ให้ประสพผลสำเร็จ
  • ผู้เรียนที่มีศักยภาพปานกลาง ต้องการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองภายใต้การประคับประคองและให้กำลังใจของครู
  • ผู้เรียนที่มีศักยภาพสูงต้องการเรียนรู้ด้วยตนเอง ภายใต้การให้กำลังใจและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้จากครูผู้สอน ให้โอกาส ผู้เรียนใช้ความฝัน จินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ประกอบการเรียนรู้

หลักการพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้

ในการจัดการเรียนรู้สมัยใหม่ ผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถหลายอย่างในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ดังนี้