อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ผลงาน

สุชีพ ปุญญานุภาพ (13 เมษายน พ.ศ. 2460 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543) เป็นนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับทั้งจากพุทธศาสนิกชนและคณะสงฆ์ไทยอย่างกว้างขวาง ในฐานะที่สมบูรณ์ด้วยวิชาความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างเยี่ยมยอด หาใครเทียมได้ยาก ในเวลาเดียวกัน ก็มีความประพฤติที่ดีงาม สุภาพอ่อนโยน ระหว่างที่ท่านเคยบวชเป็นพระอยู่ในชื่อว่า สุชีโว ภิกขุ ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด เพราะประการแรก ท่านเชี่ยวชาญพระพุทธศาสนาเป็นเลิศ ประการที่สอง ท่านรอบรู้วิชาการสมัยใหม่อย่างเยี่ยม ประการที่สาม ท่านเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่บรรยายธรรมเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้เกิดการติดต่อระหว่างชาวพุทธในต่างประเทศกับประเทศไทย แม้ว่าท่านจะมีภาระงานมากมาย แต่ท่านก็เป็นนักเขียน ที่ผลิตงานเขียน ทั้งในรูปหนังสือและตำราเผยแพร่ความรู้ด้านพุทธศาสนา รวมทั้งนวนิยายอิงธรรมะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังเป็นผู้บุกเบิกทำพจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนาอีกด้วย

สุชีพ ปุญญานุภาพ (13 เมษายน พ.ศ. 2460 — 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543) เป็นนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับทั้งจากพุทธศาสนิกชนและคณะสงฆ์ไทยอย่างกว้างขวาง ในฐานะที่สมบูรณ์ด้วยวิชาความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างเยี่ยมยอด หาใครเทียมได้ยาก ในเวลาเดียวกัน ก็มีความประพฤติที่ดีงาม สุภาพอ่อนโยน ระหว่างที่ท่านเคยบวชเป็นพระอยู่ในชื่อว่า สุชีโว ภิกขุ ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด เพราะประการแรก ท่านเชี่ยวชาญพระพุทธศาสนาเป็นเลิศ ประการที่สอง ท่านรอบรู้วิชาการสมัยใหม่อย่างเยี่ยม ประการที่สาม ท่านเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่บรรยายธรรมเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้เกิดการติดต่อระหว่างชาวพุทธในต่างประเทศกับประเทศไทย แม้ว่าท่านจะมีภาระงานมากมาย แต่ท่านก็เป็นนักเขียน ที่ผลิตงานเขียน ทั้งในรูปหนังสือและตำราเผยแพร่ความรู้ด้านพุทธศาสนา รวมทั้งนวนิยายอิงธรรมะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังเป็นผู้บุกเบิกทำพจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนาอีกด้วย

อาจารย์สุชีพได้ถึงแก่กรรมลง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 เวลา 15.51 น. สิริอายุ 83 ปี 21 วัน

ประวัติ

สุชีพ ปุญญานุภาพ เกิด 13 เมษายน พ.ศ. 2460 ที่ตำบลบางไทรป่า อำเภอบางปลา (อำเภอบางเลน ในปัจจุบัน) จังหวัดนครปฐม ท่านมีพี่น้องทั้งหมด 12 คนที่เกิดร่วมพ่อแม่เดียวกัน แต่ทั้งหมดเสียชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ เหลือท่านเพียงคนเดียวเท่านั้น พ่อแม่จึงตั้งชื่อให้ท่านว่า "บุญรอด" ภายหลัง ท่านได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น 'สุชีพ' ตามฉายาภาษาบาลีของท่านคือ "สุชีโว" (ผู้มีชีวิตที่ดี) ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) พระอุปัชฌาย์ของท่านได้ตั้งให้เพื่อเป็นสิริมงคล

อาจารย์สุชีพสร้างลูกศิษย์ผู้ชำนาญทางพระพุทธศาสนามากมายทั่วประเทศ ทั้งพระทั้งฆราวาส ศิษยานุศิษย์เหล่านี้ต่างมีบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระดับชั้นต่าง ๆ ของสังคม อาทิ พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ), พระราชญาณกวี (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช), พระเทพปริยัติวิมล (แสวง ธมฺเมสโก) รักษาการอธิการบดีมหามกุฏราชวิทยาลัย, พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย), รศ.ดร. สุภัทร ปัญญาทีป, รศ. สุวรรณ เพชรนิล, วศิน อินทสระ, ศ. แสง จันทร์งาม (หรือ ธรรมโฆษ), รศ.ดร. สุนทร ณ รังษี, เสถียร โพธินันทะ, สุเชาวน์ พลอยชุม ฯลฯ รวมทั้งเจ้าอาวาสวัดหลายแห่งทั่วประเทศไทย จากความพยายามในการพัฒนาการศึกษาสงฆ์จนเกิดเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ของท่าน

การศึกษา

ท่านสำเร็จการศึกษาเปรียญ 9 ประโยค วัดกันตมาตุยาราม ซึ่งขึ้นกับสำนักเรียนวัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร อย่างไรก็ดี แม้ว่าท่านจะจบเพียงเปรียญ ๙ ประโยค แต่ท่านก็มีวิริยะอุตสาหะเรียนรู้วิชาสมัยใหม่อื่นๆ ด้วยตนเองเป็นหลัก จึงชำนาญหลายๆ วิชา อาทิ ภาษาอังกฤษ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ ภาษาสันสกฤต และ ภาษาปรากฤต ท่านสามารถค้นวรรณคดีและพจนานุกรมภาษาเหล่านี้ได้อย่างละเอียด สำหรับภาษาสันสกฤตนั้น ท่านเป็นศิษย์ของ พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) ตอนหลัง ท่านได้ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหงและ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพเคยให้สัมภาษณ์ว่าบุคคลในพระพุทธศาสนาในอุดมคติที่ท่านถือเป็นแบบในการพัฒนาตนเป็นนัก วิชาการทางพระพุทธศาสนาคือพระวชิรญาโณ ภิกฺขุ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ท่านเคยให้เหตุผลว่าสองท่านนี้เป็นคนไทยรุ่นบุกเบิกที่ประยุกต์พระพุทธศาสนาให้เข้ากับสังคมร่วมสมัยโดยนำเอาวิชาการสมัยใหม่มาใช้เป็นประโยชน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

อาจารย์สุชีพอยู่ในเพศพระภิกษุจนได้ตำแหน่งสมณศักดิ์ที่ ‘พระศรีวิสุทธิญาณ’ สมัยที่ท่านยังเป็นพระภิกษุนั้น ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ ไม่มีใครยุคนั้นเทียบได้ ต่อมาได้ลาสิกขาสู่เพศฆราวาส ระหว่างที่ท่านลาสิกขาเมื่ออายุ 35 ปี มีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากร้องไห้เพราะความเสียดาย หลังจากสึกหาลาเพศแล้ว ท่านเช่าห้องพักที่ถนนข้าวสาร บางลำภู ก่อนจะย้ายไปปลูกบ้านหลังใหม่บริเวณถนนสุขุมวิท

อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ที่สุภาพอ่อนโยน ในด้านความรู้ทางพระพุทธศาสนานั้น ท่านได้รับการยกย่องจาก ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรีและประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ว่าเป็น พระไตรปิฎกเคลื่อนที่ หมายเลข 1 ของประเทศเพราะท่านสามารถอธิบายและตอบคำถามทาง พระพุทธศาสนา หรือหลัก พุทธธรรม ได้ทุกอย่างอย่างละเอียด พร้อมอ้างที่มาในพระไตรปิฎกให้เพื่อการค้นคว้าต่อไปอย่างแม่นยำอีกด้วย ด้วยเหตุนี้เองชาวพุทธจำนวนมากจึงได้กล่าวขานถึงท่านด้วยฉายา 'พระไตรปิฎกเคลื่อนที่' ตาม ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์

 ����تվ �ح�ҹ��Ҿ ���������ҡ��� �� �� �֡���������¹�ҧ��оط���ʹ� ������ҧ�ŧҹ����繻���ª�����оط���ʹ� ��л���Ȫҵ����ҧ������ͧ �������ط���ʹԡ���������Ъ�ǵ�ҧ�ҵԨӹǹ������ ���դ�������������㹾�оط���ʹ� ����դ�����ѷ��㹾�оط���ʹ��ҡ��觢��

สุชีพ ปุญญานุภาพ ชื่อเดิมว่า บุญรอด สงวนเชื้อ เป็นบุตรชายของนายอ่วม และนางทองคำ สงวนเชื้อ เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2460 ณ หมู่บ้านตลาดบางไทรป่า ตำบลไทรป่า อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

การศึกษาเบื้องต้น

เมื่อวัยเด็ก สุชีพได้เข้าเรียนหนังสือในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลวัดโพธิ์ ตำบลบางไทรป่า อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เมื่อจบชั้นประถมชั้นปีที่ 1 แล้วได้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดสัมปทวน ตำบลวัดแค อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เมื่ออายุ 12 ปี การบรรพชา-อุปสมบท เมื่อจบชั้นประถมศึกษาตามเกณฑ์แล้ว สุชีพได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสัมทวน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2473 โดยมีพระปฐมนคราจารย์ (วงศ์ โอทาตวณโณ) เจ้าอาวาสวัดสัมปทวน และเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม เป็นผู้บวชให้ สามเณรบุญรอดหลังจากบวชแล้วได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดกันยาตุยาราม เขตสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพมหานคร และได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่สำนักวัดเทพศิริทราวาส จนสอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค ซึ่งเป็นประโยคสูงสุด สำเร็จใน พ.ศ.2482

ผลงานขณะเป็นพระภิกษุ

หลังจากจบการศึกษาชั้นสูงสุดแล้ว สุชีโว ภิกขุ ได้รับมอบหมายงานและตำแหน่งต่างๆ หลายอย่าง เช่น พ.ศ.2482-2492 ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดทำนิตยสารธรรมจักษุ พ.ศ.2484 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสังฆสภา ตามพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 พ.ศ.2489 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระศรีวิสุทธิญาณ พ.ศ.2486-2487 เสนอโครงการตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้น และใน พ.ศ.2488 คณะสงฆ์เห็นชอบได้มีคำสั่งตั้งสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต) ผลงานทางพระพุทธศาสนาที่โดดเด่นของสุชีโว ภิกขุ คือ ผลงานด้านวรรณกรรม ซึ่งมีวรรณกรรรมประเภทร้อยกรอง สุภาษิต ความเรียง ชุมชนบทความสั้น ชุมนุมบันทึกเบ็ดเตล็ด ปาฐกถาทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่สำคัญท่านเป็นคนแรกที่ริเริ่มการแต่งจินตนิยายอิงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยอาศัยหลักฐานจากคัมภีร์พระไตรปิฏกฝ่ายเถรวาทล้วนๆ ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในรูปแบบจินตนิยายอิงหลักธรรมได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา นอกจากผลงานด้านวรรณกรรมแล้ว ผลงานที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งของสุชีโว ภิกขุคือ

  1. การร่วมกันก่อตั้งองค์การพุทธศาสนิกชนสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล) ขึ้น ณ ประเทศศรีลังกา เมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2493
  2. ท่านยังเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่สามารถแสดงพระธรรมเทศนาเป็นภาษาอังกฤษแก่ชาวต่างประเทศ

ผลงานขณะเป็นฆราวาส

สุชีโว ภิกขุ หลังจากลาสิกขา (สึก) แล้วใช้ชื่อว่า สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้ปฏิบัติงานทั้งในด้านราชการ รัฐวิสาหกิจ และงานด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น

  1. เป็นเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม (พ.ศ.2495-2501)
  2. เป็นรองผู้อำนวยการ อ.ส.ท.ฝ่ายการส่งเสริม (พ.ศ.2519-2520)
  3. เป็นอาจารย์พิเศษวิชาศาสนาเปรียบเทียบ ในระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
  4. เป็นอนุกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
  5. เป็นที่ปรึกษาองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล. :2523 )

ด้วยผลงานด้านการศึกษาดังกล่าวข้างต้น อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ จึงได้รับการยกย่องเกรียติคุณให้เป็น นักปราชญ์ทางปรัชญาศาสนา และได้รับมอบปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาต่างๆ จากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น

  1. สาขาวิชาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2539
  2. ศาสนศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ.2542 เป็นต้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งในและต่างประเทศ คือ

  1. ตริตาภรณ์มงกุฏไทย (ต.ม.) 5 ธันวาคม พ.ศ.2495
  2. ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) 5 ธันวาคม พ.ศ.2496
  3. ทวิติยาภรณ์มงกุฏไทย (ท.ม.) 5 ธันวาคม พ.ศ.2497
  4. สิธุ (พม่า) 19 มกราคม พ.ศ2499
  5. ล้านช้างร่มขาวชั้น 3 (ลาว) 2 พฤษภาคม พ.ศ.2499

อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้ปฏิบัติงานต่างๆ ด้วยดีและเป็นผู้มมีสุขภาพสมบรูณ์มาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อวันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2543 ท่านป่วยและเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลกรุงเทพฯ และเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2543 ท่านได้ถึงแก่กรรมด้วยอาการสงบ รวมอายุได้ 83 ปี 21 วัน คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ มีคุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตหลายประการ พอสรุปได้ดังนี้

สุชีพ ปุญญานุภาพปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างด้านศาสนสัมพันธ์อย่างไร

อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม และวามประพฤติดีงาม สมควรเป็นผู้ใหญ่ที่มีผู้น้อยเคารพนับถือ ตลอดจนถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต ท่านดำรงตนตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด และใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการทำงานและปฎิบัติตนให้ถูกต้อง ท่านมักกล่าวแก่ศิษย์และผู้ใกล้ชิดอยู่เสมอว่า “ใครเขาจะ ...

ชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้สุชีพ ปุญญานุภาพ ว่าอย่างไร

สุชีพ ปุญญานุภาพ เกิด 13 เมษายน พ.ศ. 2460 ที่ตำบลบางไทรป่า อำเภอบางปลา (อำเภอบางเลน ในปัจจุบัน) จังหวัดนครปฐม ท่านมีพี่น้องทั้งหมด 12 คนที่เกิดร่วมพ่อแม่เดียวกัน แต่ทั้งหมดเสียชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ เหลือท่านเพียงคนเดียวเท่านั้น พ่อแม่จึงตั้งชื่อให้ท่านว่า "บุญรอด" ภายหลัง ท่านได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น 'สุชีพ' ตามฉายาภาษาบาลี ...

พระภิกษุไทยรูปแรกที่สามารถแสดงพระธรรมเทศนาเป็นภาษาอังกฤษแก่ชาวต่างประเทศ คือท่านใด *

เป็นหลัก จึงชำนาญหลายๆ สาขาวิชา เช่นภาษาอังกฤษ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ ภาษาสันสกฤต และภาษาปรากฤต ท่านสามารถค้นวรรณคดีและพจนานุกรมภาษาเหล่านี้ได้อย่างละเอียด นอกจากนี้ สุชีโวภิกขุยังเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่บรรยายธรรมเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้เกิดการติดต่อระหว่างชาวพุทธในต่างประเทศกับประเทศไทยมากขึ้น