หมายศาลนัดไกล่เกลี่ย เรื่องรถ

“ลูกหนี้” เมื่อได้รับ “หมายศาล” อย่าเพิ่งตกใจอาจเป็นหนทางเคลียร์หนี้


เผยแพร่ 18 ส.ค. 2564 ,11:00น.




5 ข้อควรรู้ของลูกหนี้ หากถูกฟ้องและได้รับหมายศาลแนะนำว่า "ต้องไป" เพราะเป็นโอกาสในการเจรจาต่อรองและเป็นโอกาสในการยุติคดี เคลียร์ภาระหนี้สิน

เมื่อตกเป็น “ลูกหนี้” และถูกฟ้องร้องบังคับคดี หลายคนอาจตกใจ กลัว หรือรู้สึกเครียด เมื่อได้รับ “หมายศาล” เพราะนั่นหมายความว่าเรากำลังเข้าสู่กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับศาลและการบังคับคดี แต่ที่จริงแล้ว การได้รับหมายศาลไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด แต่อาจเป็นทางออกให้กับลูกหนี้ ในการยุติคดี หรือ เจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ โดยมีคนกลางเป็นสักขีพยานให้เถือเป็นโอกาสที่จะได้ปลดหนี้แบบราบรื่น เพียงแค่เรารู้จักสิทธิและตัวบทกฎหมายที่คุ้มครองลูกหนี้ 

เผยหมดเปลือกบทเรียนราคาแพงที่ลูกหนี้ควรรู้และไม่ควรทำ

เปิดข้อมูล “ทางด่วนแก้หนี้” หนทางกู้วิกฤตหนี้สินภาคประชาชน

หมายศาลนัดไกล่เกลี่ย เรื่องรถ

เรื่องแรก จะรู้ได้อย่างไรว่าถูกฟ้อง?

เมื่อถูกฟ้องจะมี “หมายศาล” ส่งไปตามที่อยู่ใน “ทะเบียนบ้าน” ลูกหนี้มีหน้าที่ตรวจสอบสิ่งที่ส่งไปยังที่อยู่นี้ เพราะตามกฎหมาย หากหมายส่งถึงบ้านจะถือว่าลูกหนี้ได้รับแล้ว จะปฏิเสธว่าไม่ได้รับไม่ได้ นอกจากนี้ ลูกหนี้สามารถตรวจสอบว่า ตนเองถูกฟ้องหรือยัง? จากศาลในเขตอำนาจตามทะเบียนบ้าน

เรื่องที่สอง ทำอย่างไร เมื่อถูกฟ้อง?

ลูกหนี้จำนวนไม่น้อยรู้สึกตกใจ เมื่อได้รับ “หมายศาล” ทั้งที่ความจริงแล้วหมายนี้เป็นเพียงการสื่อสารระหว่างศาลซึ่งเป็นคนกลางระหว่างเจ้าหนี้ (โจทก์) และลูกหนี้ (จำเลย) ดังนั้น เมื่อลูกหนี้ได้รับหมายศาลแล้ว มีหน้าที่อ่านให้เข้าใจว่าศาลต้องการสื่ออะไร ที่สำคัญคือ

(1) หมายเลขคดี

(2) ไปศาลไหนเพราะประเทศไทยมีศาลทั่วประเทศ

 (3) ประเด็นที่เจ้าหนี้ต้องการฟ้อง

(4) จำนวนเงินที่ฟ้องตรงกับหนี้สินที่เกิดขึ้นหรือไม่ รายการใดไม่ตรงกับสัญญา

(5) เจ้าหนี้ฟ้องภายในระยะเวลาหรืออายุความที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เช่น หนี้บัตรเครดิตอายุความ 2 ปี สินเชื่อส่วนบุคคล 5 ปี  หนี้จากเงินกู้ยืมแบบผ่อนคืนเป็นงวด 5 ปี 

ทั้งนี้ หากคดีหมดอายุความแล้วลูกหนี้ปฏิเสธการชำระหนี้ได้ ยกเว้นมีหนังสือรับสภาพหนี้หรือการรับสภาพความผิด ดังนั้นทุกครั้งในการลงนามในเอกสารของเจ้าหนี้ ลูกหนี้มีหน้าที่อ่านให้ละเอียดก่อนลงนามเสมอ เพราะหลังจากลงนามแล้วจะอ้างว่า ไม่รู้ไม่ได้

เรื่องที่สาม ทำไมควรไปศาล?

การไปศาลเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานเพื่อให้ประชาชนมีพื้นที่ปลอดภัยที่จะต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมให้กับตัวเอง ซึ่งศาลจะพิจารณาเหตุผลความจำเป็น-บริบทแวดล้อม รวมทั้งสถานะการเงินตามหลักฐานที่นำมายืนยันในชั้นศาล และหากลูกหนี้พอมีเงินอยู่บ้างก็สามารถเจรจาต่อรองการชำระหนี้ในชั้นศาลได้ ซึ่งอาจทำให้ลูกหนี้ได้ลดทอนต้นเงินกู้และดอกเบี้ยได้ รวมถึงต่อรองค่าธรรมเนียมได้ด้วย

ในทางตรงข้าม หากลูกหนี้ไม่ไปศาล เท่ากับเสียสิทธิในการต่อสู้และหมดโอกาสเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ต่อหน้าคนกลาง (ศาล) ที่พร้อมจะให้ความเป็นธรรม สุดท้าย คือ ศาลจำเป็นต้องพิพากษาฝ่ายเดียว ตามคำฟ้องและเหตุผลของเจ้าหนี้เพียงด้านเดียว โดยที่ลูกหนี้ไม่ได้ชี้แจง ทำให้ต้องชำระหนี้เต็มอย่างไม่มีทางเลือก

เรื่องที่สี่ การยุติคดีโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ

หลังจากที่ลูกหนี้ถูกฟ้องแล้ว ลูกหนี้ยังสามารถเจรจากับเจ้าหนี้ จนได้ข้อยุติในการชำระหนี้คืนแล้ว ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต้องไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล (พิพากษาตามยอม) ซึ่งจะผูกพันทั้งสองฝ่าย โดยลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันที่ถูกฟ้องเป็นจำเลย สามารถทำสัญญายอมฯ ได้ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องจ้างทนายความให้เสียค่าใช้จ่าย เพราะจะมีเจ้าหน้าที่ศาลช่วยตรวจสอบความถูกต้องและให้ความเป็นธรรมให้อยู่แล้ว อีกทั้งการทำสัญญายอมฯ ในศาลนั้น ศาลจะมีคำสั่งคืนเงินค่าธรรมเนียมศาลให้เจ้าหนี้ด้วยบางส่วน ทำให้ลูกหนี้รับภาระในส่วนนี้น้อยลงและสามารถเจรจากับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องรับผิดชอบค่าทนายความของเจ้าหนี้ด้วย แต่หากลูกหนี้ผิดสัญญา เจ้าหนี้สามารถดำเนินการบังคับคดีกับลูกหนี้ได้ทันที

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดจองคิวฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 “แอสตร้าฯ-ซิโนแวค” 20,000 ราย เริ่ม 18 ส.ค.นี้

เรื่องที่ห้า หลังศาลพิพากษา ลูกหนี้มีสิทธิและหน้าที่อะไรบ้าง?

          ลูกหนี้มีหน้าที่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาและตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ว่าลูกหนี้จะร่วมฟังคำพิพากษาด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยลูกหนี้มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาล ภายในเวลา 1 เดือนนับแต่วันพิพากษา หากลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ ต้องติดต่อเจ้าหนี้เพื่อเจรจาปรับเงื่อนไขการชำระเงิน พร้อมทั้งขอให้เจ้าหนี้ชะลอการบังคับคดี อย่างไรก็ตาม เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะตกลงหรือปฏิเสธก็ได้

หากลูกหนี้ชำระไม่ได้ เจ้าหนี้จะตามสืบว่า ลูกหนี้มีทรัพย์สินอะไรบ้างและอยู่ที่ไหน ทำงานอยู่ที่ไหน หากเจอก็จะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี และศาลจะแจ้งไปยังกรมบังคับคดีให้แต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์ และ/หรือ อายัดเงินเดือน

(1) ยึดทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน เมื่อทรัพย์ถูกยึดแล้ว ก็จะถูกนำออกขายทอดตลาดได้ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้

(2) อายัดเงินเดือนและรายได้อื่นๆ แต่จะไม่อายัดทั้งหมด เช่น

- เงินเดือน อายัดไม่เกิน 30% ของอัตราเงินเดือนก่อนหักรายจ่าย และต้องมีเงินเหลือไม่น้อยกว่าเดือนละ 20,000 บาท

- เบี้ยเลี้ยงชีพ-ค่าล่วงเวลา-เบี้ยขยัน อายัดไม่เกิน 30% ของเงินที่ได้รับ

- เงินโบนัส อายัดไม่เกิน 50% ของเงินที่ได้รับ

- เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน อายัดได้แต่ให้เหลือขั้นต่ำ 300,000 บาท

ลูกหนี้มีสิทธิขอลดเงินเดือนและค่าจ้างที่อายัด ได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่อายัดไว้เดิม โดยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี และชี้แจงถึงความจำเป็นที่ต้องขอลด และจะขอลดเหลือเท่าไร และให้แนบสลิปเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือน เอกสารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย จึงได้รับการพิจารณาตามที่เห็นสมควร

สิ่งที่พึงระวังคือ กรณีที่ลูกหนี้พยายามผ่องถ่ายทรัพย์ไปให้ผู้อื่น หรือซ่อนทรัพย์จะมีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ตาม ม. 350 ประมวลกฎหมายอาญา)

สรุป สิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ในกระบวนการยุติธรรม เป็นเรื่องสำคัญที่อยากให้ลูกหนี้เอาใจใส่ เพื่อเข้าใจหลักคิดในกระบวนการยุติธรรม พร้อมกับดูแลและปกป้องตัวเองได้ถูกต้อง

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ : แก้หนี้ครบจบในเล่มเดียว ตอน : สิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ในกระบวนการยุติธรรม โดย : ชนาภรณ์ เสรีวรวิทย์กุล – อาทิตา ผลเจริญ ธปท.

พิพากษา ลูกสาว "อาม่าฮวย" ลักเงินบุพาการี 24 ล้าน คุก 12 ปี ไม่รอลงอาญา

อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline