ไฟฟ้าที่บ้านของนักเรียน

เนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วมทางภาคอีสานครั้งใหญ่ บ้าน หรือ อาคารที่อยู่ในเขตพื้นที่ดังกล่าว มีความจำเป็นที่ต้องมีการฟื้นฟู ซ่อมแซมบ้านเรือนใหม่ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสำรวจ เช็คสภาพระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ตรวจเช็คสายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าใหม่ทั้งหมดหากพบว่ามีสายไฟฟ้ามีการชำรุด ต้องทำการเปลี่ยนสายไฟใหม่ทันที เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน

หากต้องมีการแก้ไข หรือ ติดตั้งระบบไฟฟ้าใหม่ ภายในบ้าน หรือ อาคาร สิ่งที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับสายไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิต มีดังนี้

1.ตำแหน่งติดตั้งสวิตช์ และเต้ารับ ควรติดตั้งให้อยู่สูงเหนือระดับที่น้ำอาจท่วมถึงได้

2.วงจรสายไฟย่อย สำหรับเต้ารับที่อยู่ชั้นล่าง (ชั้น 1) ของบ้านที่อยู่ในพื้นที่่ที่ปรากฎว่าเคยมีน้ำท่วมถึง หรืออยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ต้องมีการป้องกันไฟฟ้าดูดโดยใช้เครื่องตัดไฟรั่ว (ตัวกันดูด) ขนาด I△n ไม่เกิน 30 มิลลิแอมแปร์

3.ควรติดตั้งตู้เมนไฟฟ้าไว้ที่ชั้นลอย หรือชั้น 2 ของบ้าน  เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม เราจะได้ทำการตัดไฟ เฉพาะชั้น 1 ของบ้านได้ เพื่อป้องกันอันตรายจากการถูกไฟดูดค่ะ

4.สำหรับบ้านชั้นเดียว ควรติดตั้งตู้เมนไฟฟ้าให้ขอบล่างของตู้อยู่สูงจากพื้นไม่ต่ำกว่า 1.6 เมตรนะคะ บ้านหรืออาคาร 2 ชั้นขึ้นไป ต้องแยกวงจรสายไฟฟ้าย่อยอย่างน้อยชั้นละ 1 วงจร เพื่อให้สามารถแยกตัดไฟเฉพาะชั้นใดชั้นหนึ่งได้ค่ะ

เฟ้ลปส์ ดอด์จ แสดงแผนผังการเดินสายไฟฟ้าภายในบ้าน อย่างถูกวิธี

ไฟฟ้าที่บ้านของนักเรียน

จากภาพ คือ แผนผังการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้าน โดยสายไฟฟ้าสำหรับวงจรย่อยสามารถเลือกติดตั้งได้ดังนี้

1.สายไฟฟ้า VAF สำหรับการเดินเกาะผนัง

2.สายไฟฟ้า ชนิด 60227 IEC 01 (THW) สำหรับการเนในช่องเดินสายร้อยท่อ

แสดงตารางชนิดสายไฟฟ้าสำหรับการติดตั้งสายไฟฟ้าภายในบ้าน

ไฟฟ้าที่บ้านของนักเรียน

1.สายไฟฟ้า ชนิด THW-A  คือ สายไฟฟ้าที่มีตัวนำเป็นอลูมิเนียมตีเกลียว หุ้มด้วยฉนวน PVC เป็นสายแกนเดี่ยว ใช้กับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 750 โวลต์ อุณหภูมิตัวนำขณะใช้งานสูงสุด 70 องศาเซลเซียส ลักษณะของสายไฟฟ้าคือ เป็นสายไฟฟ้าชนิดแกนเดี่ยวน้ำหนักเบา จึงเป็นที่นิยมใช้เดินลอยในอากาศบนเสาไฟฟ้าเข้าบ้านพักอาศัย สำหรับการใช้งานสายไฟฟ้า THW-A มีดังนี้


1.1 เดินบนเสาไฟฟ้า
1.2 เดินลอยในอากาศบนฉนวนลูกตุ้ม/ลูกถ้วย
1.3 เดินเข้าบ้าน อาคาร ไร่ สวน เดินไฟชั่วคราว

ข้อจำกัดในการใช้งาน คือ ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อนุญาตให้ใช้สายไฟฟ้า THW-A เป็น  สายเมน ได้เฉพาะการติดตั้งสายไฟฟ้าภายนอกอาคาร เท่านั้น

2. สาย 60227 IEC 01 (THW) เป็นสายไฟฟ้าชนิดแกนเดี่ยว มีตัวนำเป็นทองแดงเส้นเดี่ยว หรือตีเกลียว พิกัดแรงดัน 450/750 โวลต์ อุณหภูมิตัวนำขณะใช้งานสูงสุด 70 องศาเซลเซียส  การใช้งานสายไฟฟ้า 60227 IEC 01 (THW) มีดังนี้

2.1 ใช้งานได้ทั่วไป
2.2 เดินในช่องเดินสายและต้องป้องกันน้ำเข้าช่องเดินสาย
2.3 ห้ามร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง
2.4 ห้ามเดินบนรางเคเบิล ยกเว้นใช้เป็นสายดิน

3. สายไฟฟ้าชนิด VAF เป็นสายไฟฟ้าชนิดแบน มีตัวนำเป็นทองแดงแบบเส้นเดี่ยว หรือแบบตีเกลียว มีเปลือกนอกสีขาว พิกัดแรงดัน 300/500 โวลต์ อุณหภูมิตัวนำขณะใช้งานสูงสุด 70 องศาเซลเซียส การใช้งานสายไฟฟ้า VAF มีดังนี้

3.1 ใช้เดินเกาะผนัง
3.2 เดินนช่องเดินสาย ห้ามร้อยท่อ
3.3 ห้ามฝังดิน

สำหรับสายไฟฟ้ากลุ่ม Household ที่ใช้สำหรับติดตั้งภายในบ้านเรือน อาคาร และที่อยู่อาศัย  จะมีแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 300V-750V ได้แก่ สาย 60227 IEC01 (THW),VCT,VAF,NYY

 

โดยการเลือกสายไฟฟ้าสำหรับ บ้านพักอาศัย หรือ อาคารขนาดเล็ก สิ่งสำคัญที่สุดคือ เรื่องความปลอดภัยและคุณภาพของการผลิตของสายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน มอก. และ มาตรฐานระดับสากล IEC  เพราะสายไฟฟ้าในกลุ่มประเภท Household รวมไปถึงสายโทรศัพท์ เป็นสายไฟที่ใกล้ตัวผู้อยู่อาศัยมากที่สุด และอยู่รอบตัวของผู้ใช้ตลอดเวลา ดังนั้นควรเลือกใช้สายไฟฟ้าที่ผลิตได้ถูกต้องตรงมาตรฐานกำหนด คุณภาพสูง และ มีความปลอดภัยสูงสุด เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน นอกจากนั้นควรพิจารณาถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตด้วย ซึ่งได้แก่

1.ตัวนำทองแดง  มีค่าความนำไฟฟ้าที่ดีเยี่ยม โดย Phelps dodge เลือกใช้ทองแดงบริสุทธิ์ 99.99% ซึ่งเป็นเกรดที่ดีที่สุด

2.ฉนวนและเปลือก สายไฟต้องเลือกใช้ PVC เกรดพิเศษที่สามารถทนอุณหภูมิความร้อนได้ตรงตามมาตรฐานกำหนด

เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไม่รั่วไหลมาทำอันตรายแก่ผู้ใช้งาน และสายไฟมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ข้อมูลผลิตภัณฑ์สายไฟฟ้ากลุ่ม Household 

ไฟฟ้าที่บ้านของนักเรียน

ไฟฟ้าที่บ้านของนักเรียน

จากที่ เฟ้ลปส์ ดอด์จ กล่าวไปแล้วข้างต้นนั้น อย่าลืมว่า การติดตั้งสายไฟฟ้า หรือ ปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ให้มีมาตรฐานความปลอดภัยนั้น เพื่อความปลอดภัย ควรติดตั้งสายไฟฟ้า ดังนี้

1.สำหรับบ้าน 2 ชั้น ควรแยกตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้าหลัก ไว้ที่ชั้น 2
2.สำหรับบ้านชั้นเดียว แนะนำให้ติดตั้งตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้าไว้ที่สูง ประมาณ 1.60 เมตรขึ้นไป เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกน้ำท่วม

นอกจากนี้ สายไฟฟ้าที่ถูกน้ำท่วมนั้นควรทำการเปลี่ยนใหม่ทันที เนื่องจากสายไฟเสียหาย และเสื่อมสภาพแล้ว เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว หรือไฟ้ฟ้าดูดในภายหลังได้

เมื่อสายไฟเสื่อมสภาพชำรุด ควรเปลี่ยนใหม่ทันที เพราะอันตรายจากสายไฟฟ้ารั่วเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถทำให้เกิดอันตรายได้ถึงชีวิต

อย่างไรก็ตาม การติดตั้งระบบสายไฟฟ้าภายในบ้าน ควรทำการติดตั้งด้วยช่างผู้ชำนาญการ และเลือกใช้สายไฟฟ้าที่มีคุณภาพสูง ติดตั้งตรงตามมาตรฐานกำนด

เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตของผู้ติดตั้ง และ ผู้อยู่อาศัย  เพราะเรื่องสายไฟ ไม่ใช่อะไรก็ได้ การคำนึงถึงความปลอดภัย เป็นเรื่องที่ต้องมาอันดับหนึ่ง ทั้งของผู้ติดตั้งเอง และ ผู้ใช้งาน