การให้ยาละลายลิ่มเลือด Stroke

  • หน้าหลัก
  • ออกกำลังกาย
  • สุขภาพดี
  • อาหารสุขภาพ
  • สุขภาพจิต
  • สุภาพสตรี
  • ตรวจสุขภาพ
  • การแปรผลเลือด
  • โรคผิวหนัง
  • แพทย์ทางเลือก
  • โรคต่างๆ
  • วัคซีน
  • health calculator
  • อาการของโรค

ยาละลายลิ่มเลือดสิ่งที่ท่านต้องรู้

หลอดเลือดของเราเมื่อมีอายุมากขึ้นจะมีคราบไขมันเกาะที่ผนังหลอดเลือด โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน สูบบุหรี่จะมีคราบเกิดเร็ว เมื่อคราบใหญ่ขึ้นจะทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญลดลง เมื่อคราบใหญ่ขึ้นหรือเกิดลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดจนเลือดไม่สามารถผ่านไปเลี้ยงอวัยวะจนอวัยวะขาดเลือดหรือตาย

การให้ยาละลายลิ่มเลือดจะให้ได้ผลดีขึ้นกับระยะเวลาที่ให้ตั้งแต่เริ่มมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด หากให้ช้าลิ่มเลือดจะละลายยาก หากสามารถให้ได้เร็วก็จะลดอัตราการเสียชีวิตลงได้

ยาที่ใช้สำหรับละลายลิ่มเลือดได้แก

  • alteplase (Activase),
  • streptokinase (Kabikanase, Streptase),
  • anistreplase (Eminase),
  • tissue plasminogen acitivator (TPA)
  • and urokinase (Abbokinase).

ข้อสังเกต

  • ยาละลายลิ่มเลือดจะให้ได้ผลดีจะต้องรีบให้ยาหลังจากเกิดอาการ หากเป็นหัวใจหรือหลอดเลือดสมองหากให้ภายใน 3 ชั่วโมงจะได้ผลดี ดังนั้นหากท่านเกิดอาการของโรคหัวใจขาดเลือด หรืออัมพาต ควรจะไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
  • การให้ยาละลายอาจจะทำมีเลือดออกในหลายอวัยวะซึ่งจะมีอาการมากน้อยขึ้นกับอวัยวะ และปริมาณเลือดที่ออก

หากท่านมีโรคดังต่อไปนี้ควรจะบอกแพทย์ทุกครั้ง

  • โรคเลือด
  • เลือดออกง่าย
  • โรคหลอดเลือด หรือโรคหัวใจ
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคอัมพาต
  • ลำไส้อักเสบ ดรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • วัณโรค
  • เนื้องอกในสมอง
  • โรคตับ
  • ได้รับอุบัติก่อนหน้านี้
  • เคยผ่าตัดก่อนหน้านี้

ผลข้างเคียงจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด

  • เลือดออกทางเดินปัสสาวะ
  • ท้องผูก
  • ไอเสมะหะมีเลือด
  • เลือดกำเดาไหล
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • เลือดออกทางช่องคลอด
  • ปวดสีรษะ
  • ปวดหลัง
  • ปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร

เนื่องยานี้อาจจะจะทำให้เลือดออกง่าย ท่านที่ใช้ยาดังต่อไปนี้ต้องบอกแพทย์

  • Aspirin 
  • ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID
  • ยากันชักเช่น valproic acid (Depakene) and divalproex (Depakote)
  • ยาป้องกันเลือดแข็ง
  • ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Cephalosporins,เช่น cefoperazone, cefamandole

ยาที่ใช้ในการละลายลิ่มเลือด

Alteplase

rt-PAหรือAlteplaseเป็นยาฉีดละลายลิ่มเลือด(Thrombolytic agent)  โดยAlteplaseเป็นไกลโคโปรตีนซึ่งเป็นตัวกระตุ้นโดยตรง เป็นผลให้เกิดการละลายของลิ่มเลือด ใช้ในผู้ป่วย acute ischemic stroke ,acute myocardial infarction acute massice pulmonary ambolismเป็นยาละลายลิ่มเลือดที่นิยมใช้ในภาวะฉุกเฉินมากที่สุด ข้อบ่งชี้ในการใช้

  • ST-elevation myocardial infarction (STEMI),
  • acute ischemic stroke (AIS),
  • acute massive pulmonary embolism,และ
  • central venous access devices (CVAD)

ยานี้ไม่มี antigenic ดังนั้นจึงสามารถให้ซ้ำได้

วิธีการให้ยา

  • Alteplase (tPA) ขนาด 50-100 mg ผสมใน sterile waterให้มีความเข้มข้น 1 mg/mL.หยดใน 1.5 ชั่วโมง
  • สำหรับผู้ป่วยที่หลอดเลือดหัวใจขาดเลือดจะให้ 15 mgฉีดทางน้ำเกลือ และให้ 0.75 mg/kg (up to 50 mg)ให้ทางน้ำเกลือกในเวลา 30 นาทีหลังจากนั้นให้ 0.5 mg/kg (up to 35 mg)ให้ในเวลา 60 นาที ปริมาณมากที่สุดคือ 100 mg

Reteplase

เป็น recombinant tissue-type plasminogen activatorที่ออกฤทธิ์เร็ว และมีโรคแทรกซ้อนเลือดออกน้อยกว่า ใช้ในกรณีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเท่านั้น

ขนาดยาที่ให้

  • ให้ 10-U ผสมใน sterile water (10 mL) to 1 U/mL.ฉีดให้หมดใน 2 นาที หลังจากนั้นอีก 30 นาทีจึงให้ 10 unit อีกครั้ง

Tenecteplase (TNKase)

ขณะนี้มีใช้เฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเท่านั้น แต่ก็มีการศึกษาอื่นว่าใช้ได้ในโรคหลอดเลือดสมองตีบ ข้อดีขอยานี้คือมีอุบัติการเลือดออกน้อย

ขนาดของยาที่ให้

จะให้ตามน้ำหนักโดยการผสมยา 50-mg vial in 10 mL sterile water (5 mg/mL).

โดยฉีดใน 5 วินาที ขนาดที่ให้ตามน้ำหนักตัวดังตารางข้างล่าง

  • < 60 kg - 30 mg ( ให้ 6 mL)

  • ≥ 60 kg to < 70 kg - 35 mg (ให้ 7 mL)

  • ≥ 70 kg to < 80 kg - 40 mg (ให้ 8 mL)

  • ≥ 80 kg to < 90 kg - 45 mg ( ให้ 9 mL)

  • ≥ 90 kg - 50 mg ( ให้ 10 mL)

Streptokinase

เป็นยาละลายลิ่มเลือดที่มีราคาถูกที่สุด มี antigenic ทำให้เกิดอาการแพ้ และไม่สามารถให้ยานี้ซ้ำ

ขนาดที่ให้

ให้ขนาด 1.5 million Uใน 50 mL D5W ให้ในเวลา 1 ชั่วโมง

การให้ยาละลายลิ่มเลือด Stroke



ทุกคนคงทราบดีว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมดกว่า 70-75% จะมาด้วยปัญหาหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke) ซึ่งสามารถเกิดได้อย่างเฉียบพลันและมักจะมีอาการนำ เช่น อ่อนแรงของแขนและขาครึ่งซีก ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว และเห็นภาพซ้อน ซึ่งถ้าหากเกิดอาการดังกล่าวแล้วได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างรวดเร็ว และถูกวิธีก็จะทำให้ลดอัตราการตายและการเกิดภาวะแทรกซ้อนลงได้มาก

ในทางการแพทย์มีการรักษาที่หลากหลายขึ้นอยู่กับความรุนแรง และระยะเวลาในการเกิดโรคซึ่งหลายคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับการรักษาด้วย ยาละลายลิ่มเลือด หรือ rt- PA ซึ่งผูู้ป่วยมักจะได้รับยา rt-PA โดยผ่านการวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว และการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันว่ายา rt-PA คือยาอะไร ช่วยอะไรได้บ้างในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง มีเกณฑ์การประเมินให้ยาอย่างไร และมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง มาหาคำตอบไปพร้อมกันครับ

โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke) และโรคหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) ซึ่งการให้ยาในการรักษาโรคหลอดเหลือดสมองโดยการใช้ ยาละลายลิ่มเลือด Thrombolytic Agent (rt-PA) จะใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ

(Ischemic stroke) ซึ่งยา rt-PA จะไปสลายลิ่มเลือดที่อุดตันอยู่ให้สลายตัวเพื่อให้เลือดสามารถไปเลี้ยงสมองบริเวณที่มีการขาดเลือดให้สามารถฟื้นกลับมาได้เป็นปกติ โดยก่อนการใช้ยาต้องมีการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง และระยะเวลาของการมารับการรักษาเสียก่อน และจะพิจารณาการให้ยาโดยมีเงื่อนไขดังนี้

1.ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ และอุดตันภายในเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง  นับตั้งแต่เริ่มมีอาการ

2.อายุมากกว่า 18 ปี

3.มีอาการทางระบบประสาทที่สามารถวัดได้ โดยใช้ NIHSS ( จะประเมินโดยแพทย์เป็นส่วนใหญ่ )

4.ผล CT scan ของสมองไม่พบเลือดออก

5.ผู้ป่วย/ญาติเข้าใจประโยชน์หรือโทษที่จะเกิดจากการรักษา และยินยอมให้การรักษาโดยใช้ ยา

ละลายลิ่มเลือด

การรักษาด้วยยาดังกล่าวอาการที่เกิดขึ้นต้องไม่เกิน 3 ชั่วโมงและยืดเวลาได้ถึง 4.5 ชั่วโมง เหตุผลเพราะในระยะเวลาดังกล่าวการจับตัวกันของลิ่มเลือดยังไม่แข็งตัวเต็มที่จึงทำให้การใช้ยาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อที่จะสามารถแก้ไขภาวะอุดตันของหลอดเลือดให้เลือดไหลกลับมาเลี้ยงสมองได้ทันเวลาและลดความเสี่ยงการสูญเสียการทำงานของสมองจากการขาดเลือดได้น้อยที่สุด ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นกลับสู่สภาวะปกติได้มากที่สุด

ซึ่งนอกจากนั้นยังมีข้อห้ามเพิ่มเติมในผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงเวลา 3 – 4.5 ชั่วโมง ได้แก่ มีอายุมากกว่า 80 ปี , มีอาการมาก (NIHSS > 25) , รับประทาน ยาละลายลิ่มเลือด และมีประวัติการเป็นเบาหวานที่มีโรคหลอดเลือดสมองตีบมาก่อน ซึ่งหากพบข้อใดข้อหนึ่งจะไม่สามารถให้ยา rt-PA ได้ เมื่อเรารู้ถึงการออกฤทธิ์ของยาและเกณฑ์การพิจารณาในการให้ยาแล้ว ต่อไปเรามาดูกันครับว่าการให้ยา rt-PA มีภาวะแทรกซ้อนที่ควรระวังอย่างไรบ้าง

ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่ควรระวัง และสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากได้รับยา rt-PA คือ ภาวะเลือดออกในสมองเนื่องจากผนังของหลอดเลือดบริเวณที่เกิดการอุดตันมีการเสื่อมสภาพลง ร่วมกับมีการใช้ ยาละลายลิ่มเลือด เพื่อให้เลือดสามารถไหลกลับไปเลี้ยงสมองบริเวณที่เกิดการอุดตันได้แต่จากการขาดเลือดทำให้หลอดเลือดมีการเสื่อมสภาพและถูกทำลาย

ซึ่งส่งผลให้เลือดสามารถไหลออกไปยังเนื้อสมองได้ และเนื่องจากยา  rt-PA มีผลในการเสริมฤทธิ์ของยาต้านการแข็งตัวของเลือด ดังนั้นเมื่อเกิดการแตกของหลอดเลือดในสมองจึงทำให้กลไกการห้ามเลือดมีประสิทธิภาพลดลงและเพิ่มโอกาสที่จะทำให้เกิดภาวะเลือดออกในสมองได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าผลข้างเคียงดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบทั้งต่อสมอง หลอดเลือด รวมไปถึงร่างกายของผู้ป่วยตามมา

การสังเกตุผู้ป่วยตั้งเริ่มมีอาการและการนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์อย่างรวดเร็วและถูกวิธี เพื่อที่จะได้ประเมินการใช้ยาแก่ผู้ป่วยอย่างละเอียดว่าผู้ป่วยมีคุณสมบัติในการรับยาที่ครบถ้วนจึงจะสามารถทำการให้ ยาละลายลิ่มเลือด rt-PA นั้นเป็นสิ่งสำคัญ

เพื่อที่จะให้ยา rt-PA ได้ออกฤทธิ์ในการแก้ไขภาวะอุดตันของหลอดเลือดให้เลือดไหลกลับมาเลี้ยงสมองได้ทันเวลา และป้องกันการสูญเสียการทำงานของสมองได้น้อยที่สุด นอกจากนี้การดูแลผู้ป่วยภายหลังการรับยาก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกัน ต้องคอยสังเกตผู้ป่วยอยู่เสมอว่ามีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งถ้ามีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นจะได้หาแนวทางการรักษาให้ได้อย่างเร็วที่สุด

RT-PA blood clot dissolving drug assesses quickly, heals quickly!!!

Everyone knows that over 70-75% of all stroke patients will come away with stroke or obstruction Ischemic stroke, which can occur acutely and usually has leading symptoms such as weakness of the arms and legs, half a hemisphere, headache, blurred vision and double vision, which, if the symptoms occur, is treated quickly and properly by a doctor, which can significantly reduce mortality and complications.

In medicine, there is a wide range of treatments depending on the severity and duration of the disease, which many people have heard about thrombosis therapy, or rt- PA, in which sick people are often given rt-PA through a quick diagnosis and timely correct treatment. We came up with answers as to what rt-PA is, what it can do in stroke patients. What are the evaluation criteria for the drug and what are the side effects?

1. Patients have been diagnosed with stroke and blockage within 4.5 hours of the onset of symptoms.

2. Over 18 years old

3. There are neurological symptoms that can be measured using NIHSS (it is mainly evaluated by the doctor).

4. CT scan effect of brain no bleeding detected

5. Patients/relatives understand the benefits or penalties that will be caused by treatment and consent to treatment using medications.

Dissolve blood clots

Treatment with such drugs, the symptoms of which occur must not exceed 3 hours and prolong up to 4.5 hours, the reason is that in such a period of time, the coagulation of the blood clots has not fully clotted, thus making the use of the drug as effective as possible so that it is possible to correct the blockage of blood vessels, allowing blood to flow back to the brain in time and minimize the risk of loss of brain function from ischemia. As a result, patients can recover as much as possible to normal.

In addition, there are additional contraindications in patients who are in the period of 3 – 4.5 hours, including being over 80 years old, having extreme symptoms (NIHSS > 25), taking thrombosis medications and having a previous history of diabetes with stroke.  Next, let’s see what complications rt-PA is to look out for.

This results in blood flowing out to the brain. It has the effect of enhancing the effect of anticoagulant drugs. Therefore, when a stroke occurs, the mechanism of hemorrhagic hypertension decreases and increases the chances of causing bleeding in the brain.  Blood vessels, including the patient’s body, followed.

Observing the patient sets the onset of symptoms and takes the patient to the hospital for a quick and correct medical visit. In order to thoroughly assess the use of the drug to the patient, the patient has the full range of medication properties to be able to administer the drug to dissolve the blood clot. rt-PA is important in order for rt-PA to be active in correcting blood vessel blockages so that blood flows back to the brain in time and preventing minimal loss of brain function.

In addition, caring for patients after receiving the drug is also important. Always be aware of patients if complications arise.

แหล่งอ้างอิง

1.นันทิยา แสงทรงฤทธิ์ , พย.บ. การดูแลและเฝ้าระวังการเกิดภาวะเลือดออกในสมอง ภายหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) ในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลัน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 5 ฉ.1      ( 13 มีนาคม 2555 ) : 9.

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. แนวปฏิบัติการใช้ยา Thrombolytic Agent (25/10/2011).

อ่านบทความเพิ่มเติมที่นี่

FACEBOOK :: ReBRAIN