ความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ชาวสมหวังทราบกันไหมครับว่า เวลาที่คุณขับรถอยู่บนท้องถนน และมีเหตุให้คุณต้องเบรกอย่างกระทันหัน ต้องมีระยะเบรกเท่าไรเพื่อให้คุณหยุดรถได้อย่างปลอดภัย เพราะอุบัติเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่เราเบรกไม่ทัน เนื่องจากการเบรกในแต่ละครั้ง จะต้องมีระยะเวลาในการตัดสินใจบวกเพิ่มขึ้นมาด้วย ฉะนั้นเราลองมาดูระยะเบรกที่เหมาะสมไว้เป็นความรู้เพิ่มเติมในการใช้รถใช้ถนนกันดีกว่าครับ

สำหรับระยะเบรกของการขับรถด้วยความเร็วในระดับต่างๆ สามารถประมาณได้ดังนี้เลยครับ

  • ถ้าขับรถด้วยความเร็ว 60 กม. / ชม. จะต้องใช้ระยะเบรกอย่างน้อยที่สุดคือ 34 เมตร 
  • ถ้าขับรถด้วยความเร็ว 80 กม. / ชม. จะต้องใช้ระยะเบรกอย่างน้อยที่สุดคือ 54 เมตร
  • ถ้าขับด้วยความเร็ว 100 กม. / ชม. จะต้องใช้ระยะเบรกอย่างน้อยที่สุดคือ 80 เมตร

    จะเห็นได้ว่าหากเราขับรถชิดติดกับคันหน้ามากๆ เมื่อเกิดเหตุเบรกกะทันหัน จะไม่มีระยะเบรกที่เพียงพอต่อความปลอดภัย ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึงได้ และยิ่งขับเร็วขึ้นมากเท่าไร ก็จำเป็นต้องใช้ระยะเบรกที่เยอะขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

    เมื่อรู้แบบนี้แล้ว อย่าลืมเว้นระยะในการขับขี่ให้เพียงพอ อย่าขับจี้รถคันหน้ามากเกินไป เพื่อความปลอดภัยของทุกๆ คนนะคร้าบ

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมการขนส่งทางบก DltSafetydrive

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

24 พ.ย. 2564 เวลา 9:49 น. 7.6k

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วสำหรับ "บิ๊กไบค์” ห้ามใช้ความเร็วเกิน 80 กม.ต่อชั่วโมง ในเขตกรุงเทพฯ เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาลนคร เขตเทศบาลเมือง หรือเขตชุมชน

เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดอัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถ พ.ศ.2564 โดยมีเนื้อหาใจความสรุปว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2562 และมาตรา 67  วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจราจรบก พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้

การขับรถในทางเดินรถที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาลนคร เขตเทศบาลเมือง หรือเขตชุมชน มีอัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถ พ.ศ.2564 ดังนี้

  • รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถเกิน 2,200 กิโลกรัม หรือ รถบรรทุกคนโดยสารที่มีที่นั่งคนโดยสารเกิน 15 คน ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
  • รถขณะที่ลากจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถจักรยานยนต์ ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เว้นแต่รถจักรยานยนต์ ที่มีกำลังเครื่องยนต์ตั้งแต่ 35 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือมีขนาดความจุของกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 400 ลูกบาศก์เซนติเมตรขึ้นไป ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

  • รถโรงเรียนหรือรถรับส่งนักเรียน ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถแทรกเตอร์ รถบดถนน หรือรถใช้งานเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
  • รถอื่นนอกจากนี้ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ส่วนการขับรถในทางเดินรถที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาลนคร เขตเทศบาลเมือง หรือเขตชุมชน มีอัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถ พ.ศ.2564 ดังนี้

  • รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถเกิน 2,200 กิโลกรัม หรือ รถบรรทุกคนโดยสารที่มีที่นั่งคนโดยสารเกิน 15 คน ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  •  รถขณะที่ลากจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถจักรยานยนต์ ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เว้นแต่รถจักรยานยนต์ ที่มีกำลังเครื่องยนต์ตั้งแต่ 35 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือมีขนาดความจุของกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 400 ลูกบาศก์เซนติเมตรขึ้นไป ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถโรงเรียนหรือรถรับส่งนักเรียน ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • ถแทรกเตอร์ รถบดถนน หรือรถใช้งานเกษตรกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
  • รถอื่นนอกจากนี้ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราความเร็ว สำหรับการขับรถในทางเดินรถให้สอดคล้องกับลักษณะของทางเดินรถ ประเภทของรถ สภาพของพื้นที่ และการจราจรในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้รถและประชาชนผู้ใช้ทาง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

อ่านรายละเอียดประกาศฉบับเต็มคลิ๊กที่นี่

ความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง