เทคโนโลยีอวกาศ จาก อดีต ถึงปัจจุบัน

เทคโนโลยีอวกาศ

จัดทำโดย
ด.ช.กิตติภณ ก้อนวิมล พร้อมคณะ

เทคโนโลยีอวกาศ

จัดทำโดย ด.ช.กิตติภณ ก้อนวิมล พร้อมคณะ

คำนำ

หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา วิทยาศาสตร์ ว23101 ชั้น
มัธยมศึกษาปี่ ที่ 3 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง เทคโนโลยีอวกาศ และได้ศึกษา
อย่างเข้าใจเพื่ อเป็นประโยชน์กับการเรียน
ผู้จัดทำหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลัง
หาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และ
ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

ผู้จัดทำ
25 กันยายน 2564

สารบัญ หน้า

เรื่อง 1

- เส้นเวลาแสดงตัวอย่างความก้าวหน้าของ 3
เทคโนโลยีอวกาศ 5
9
- เทคโนโลยีอวกาศ 11
• กล้องโทรทรรศน์ 19
• จรวด
• ดาวเทียม
• ยานอวกาศ

เรื่อง หน้า

- โครงการสำรวจอวกาศ 23
• โครงการสำรวจดวงจันทร์ 24
• โครงการสำรวจดาวอังคาร 26
• โครงการสำรวจดวงอาทิตย์ 28
• โครงการสำรวจดาวเคราะห์น้อย 29
• โครงการสำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอก 30

เทคโนโลยีอวกาศคืออะไรและ
มีความสำคัญอย่างไร ?

1

เส้นเวลาแสดงตัวอย่างความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ

เส้นเวลาแสดงตัวอย่างความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศแสดงให้
เห็นว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมาเทคโนโลยีทางด้านอวกาศได้พั ฒนา
ไปอย่างก้าวกระโดด นอกจากใช้เพื่ อการเดินทางไปสำรวจดาวอื่น ๆ แล้ว
มนุษย์ยังได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่ อศึกษาความเป็น
ไปบนโลกและดาวอื่น ๆ

2

พ.ศ.2519 พ.ศ.2549 พ.ศ.2555
ยานไวกิ้ง 1 ลงจอด ยานนิ วฮอไรซันส์เดินทาง ยานวอยเอเจอร์
บนดวงจันทร์ ไปสำรวจดาวพลูโต เดินทางออกนอกระบบสุริยะ

พ.ศ.2561
ยานอวกาศ Parker Probe
ยานอวกาศที่เคลื่อนที่ได้เร็วที่สุด
ได้เดินทางไปสำรวจดวงอาทิตย์

พ.ศ.2512 เทคโนโลยีอวกาศมีการพัฒนา พ.ศ.2500
โครงการอพอลโล 11 มาอย่างต่อเนื่ อง และได้ส่งจรวด โซเวียตส่งดาวเทียมสปุตนิ กออก
ส่ งคนไปลงบนดวงจันทร์ และดาวเทียมไปโคจรรอบโลก สู่ อวกาศ

กรีกโบราณ พ.ศ.2086 พ.ศ.2489
มนุษย์ในสมัยกรีกโบราณ เคย คอเปอร์นิ คัสคำนวณจนรู้ว่า เริ่มแนวคิดส่ งกล้องโทรทรรศน์
ชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของ โลกและดาวเคราะห์โคจรรอบ ออกไปนอกชั้นบรรยากาศโลก
เอกภพ ดวงอาทิตย์
พ.ศ.2153
กาลิเลโอใช้กล้องโทรทรรศน์ สังเกตจน
พบทางช้างเผือกและดวงจันทร์ 4 ดวงของ
ดาวพฤหัสบดี

3

เทคโนโลยีอวกาศ (space technology)

เทคโนโลยีอวกาศ หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการสำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่
ภายนอกโลกและภายในโลกของเรา เพื่ อนำความรู้ที่ได้จากการสำรวจมาใช้
ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษาเกี่ยวกับดาราศาสตร์ การสื่อสาร
การคมนาคม อุตุนิยมวิทยา และการสำรวจทรัพยากรโลก เทคโนโลยีที่ใช้ใน
การสำรวจอวกาศที่เราควรรู้จัก มีดังนี้

4

เรารู้หรือไม่ว่าเทคโนโลยีอวกาศ
มีอะไรบ้าง ?

5

1 กล้องโทรทรรศน์ (telescope)

เป็นอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นเพื่ อขยายขอบเขตการมองเห็นด้วยสายตามนุษย์ให้
สามารถใช้สังเกตวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ไกลจากโลก ซึ่งแสงจากวัตถุที่เดินทางผ่านอวกาศ
มาถึงผู้สังเกตมีปริมาณน้อย จึงทำให้เราเห็นดาวบางดวงริบหรี่ แต่กล้องโทรทรรศ์
ช่วยรวมแสงและแยกภาพวัตถุที่อยู่ใกล้กันให้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมไปถึงทำให้สังเกตราย
ละเอียดของวัตถุท้องฟ้าได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วย กล้องโทรทรรศน์จึงใช้เพื่อการ
ศึกษาหรือสังเกตการณ์อวกาศในระยะไกล (space observation) เช่น การศึกษา
การกำเนิดของดาว ติดตามการเปลี่ยนแปลงของดาว ติดตามวัตถุท้องฟ้าซึ่งอยู่ใกล้
โลก รวมถึงวางแผนการสำรวจอวกาศ (space exploration) ในอนาคต

6

กล้องโทรทรรศน์ที่สังเกตแสงที่ตามองเห็นมี 2 ประเภท แบ่งโดยใช้หลักการรวม
แสงเมื่อผ่านอุปกรณ์ชนิดต่างๆเป็นเกณฑ์ ได้แก่

1.กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง (refracting telescope)

กล้องประเภทนี้ใช้หลักการหักเหของแสง
ผ่านเลนส์นูน 2 ชุด คือ เลนส์ใกล้วัตถุและเลนส์ใกล้ตา
เมื่อแสงผ่านเลนส์ใกล้วัตถุจะเกิดการหักเหไปรวมกัน
ทำให้เกิดภาพจริงที่จุดโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ ภาพนี้
จะเป็นวัตถุของเลนส์ใกล้ตาทำให้เกิดภาพเสมือนขนาด
ขยาย

กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงเหมาะสำหรับการสังเกตเนบิวนาหรือกาแล็กซีซึ่งมีแสงน้อย ในกรณีที่ต้องการความสว่างของ
ภาพ อาจทำได้โดยการเพิ่ มขนาดของเลนส์ รวมถึงเพิ่ มความยาวของกล้อง

7

2.กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง (reflecting telescopes)

กล้องประเภทนี้ใช้หลักการรับและรวมแสง
จากวัตถุไปยังกระจกเงาเว้าให้สะท้อนไปรวมกันเกิด

ภาพจริงที่จุดโฟกัสของกระจกเงาเว้าภาพจะเป็น

วัตถุของเลนส์ใกล้ตาทำให้เกิดภาพเสมือนขนาด
ขยายหากต้องการให้ภาพมีขนาดขยายมากขึ้นและ

คเพืม่ อช
ัใดห้ยสิ่งามขึ้านรทถำรไวด้มโดแยสใงช้ไกด้รมะาจกกขึเ้งนาเว้าที่มีขนาดใหญ่

ปัจจุบัน กล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูง ส่วนใหญ่แบบสะท้อนแสง ซึ่งทำความสะอาดง่ายและต้นทุนต่ำ นอกจากนั้นยังมี
ขนาดกะทัดรัดกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงที่มีกำลังขยายเท่ากัน

8

เราได้เรียนรู้มาแล้วว่า ยิ่งวัตถุอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลาง
ของโลกมากเท่าไหร่ แรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อ
วัตถุจะยิ่งน้อยลงเท่านั้น นั่นคือ แรงโน้มถ่วงของโลก
เป็นตัวการหรือสาเหตุที่ทำให้วัตถุทั้งหลายที่อยู่บนพื้ น
ผิวโลกไม่หลุดลอยออกไปจากโลกหรือไปสู่อวกาศ แต่
ถ้ามนุษย์ต้องการเดินทางไปสู่อวกาศ มนุษย์ต้องเอา
ชนะแรงโน้มถ่วงของโลกให้ได้ ในที่สุดมนุษย์ก็ค้นพบ
พาหนะที่สามารถไปสู่อวกาศได้ นั่นก็คือ จรวด

2 จรวด (rocket) 9

เทคโนโลยีอวกาศที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ จรวด (rocket) ภาพ : ตัวอย่างจรวด
จรวดจะต้องมีอัตตราเร็วมากพอค่าหนึ่ง จนแรงโน้มถ่วงของโลกไม่สามารถที่
จะดึงดูดไว้ได้เพื่ อนำยานอวกาศ (spacecraft) ออกไปปฏิบัติภารกิจใน
อวกาศได้ จรวดส่วนใหญ่จะมีหลายท่อนซึ่งอาจเป็นเชื้อเพลิงแข็งหรือเชื้อ
เพลิงเหลว เพราะหากมีเชื้อเพลิงส่วนเดียวอาจไม่เพี ยงพอต่อการเดินทางที่
ยาวนาน แต่บ้างครั้งการส่งจรวดขึ้นไปอาจเพี ยงการนำอุปกรณ์ ดางเทียม
(satellite) หรือชิ้นส่วนบางอย่างขึ้นสู่สถานีอวกาศ โดยยังอยู่ใกล้สนามโน้ม
ถ่วงของโลก

10

หลักกา
รส่งจรวดโดยใช้เชื้อเพลิงเหลวขึ้นสู่อวกาศ เป็นไปตามกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิว

ตัน คือ แรงกิริยาของแก๊สร้อนร้อนจากการเผาไหม้ถูกขับออกมาจะเท่ากับแรงปฏิกิริยาที่กระทำต่อจรวด
ทำให้จรวดเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงข้าม จรวดจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยแรงมหาศาล จนสามารถหลุดพ้ น
จากแรงโน้มถ่วงของโลกออกสู่อวกาศได้

จรวดที่ใช้สำหรับส่งยานอวกาศจะแบ่งเป็น 3 ท่อน
แต่ละท่อนมีเครื่องยนต์และถังเก็บเชื้อเพลิง ซึ่งจะสลัดทิ้งให้
หล่นร่วงเมื่อเชื้อเพลิงแต่ละท่อนหมดไป ส่วนปลายยอดของ
จรวดจะเป็นห้องเก็บสัมภาระ บรรทุกดาวเทียม ยานอวกาศ
ซึ่งเป็นพาหนะของนักบินอวกาศ

11

3 ดาวเทียม (artificial sattellite)

คือสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกและดาวเคราะห์ เช่น ดาวเทียมการสื่อสาร
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ มีอุปกรณ์สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล
และปฏิบัติการเพื่ อถ่ายทอดข้อมูลที่เก็บได้ส่งกลับมายังโลก

ดาวเทียมที่ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกต้องมีจรวดหรือห้องบรรจุสัมภาระที่หัวจรวด ฉะนั้น
ตัวดาวเทียมซึ่งมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากต้องสามารถพั บได้ ภายในมีแก๊สเพี ยงเล็กน้อย เมื่อ
ปล่อยในอวกาศจะพองตัวขึ้น

ตัวดาวเทียมต้องใช้วัสดุแข็งแรงทนต่อความร้อน เนื่องจากด้านที่ถูกแสงอาทิตย์จะ
ร้อนจัดอย่างยิ่ง และด้านที่ไม่ได้รับแสงอาทิตย์จะเย็นจัด จึงทำให้วัตถุที่ใช้เป็นเส้นใยคาร์บอนและ
อลูมิเนียมหรือโทเทเนียม ประกอบเสริมพลังทำเป็นรังผึ้ง มีฉนวนกันความร้อนรั่วไหลในด้านเย็น
มีกระจกเงาแสงในด้านร้อน และมีระบบการระบายความร้อนสู่อวกาศ

12

การใช้ประโยชน์จากดาวเทียม

ปัจจุบันการส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรรอบโลกมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก มีดาวเทียมโคจร
รอบโลกอยู่นับพั นดวง ประเทศต่างๆ ได้นำดาวเทียมมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้

• ด้านอุตุนิยมวิทยา

ในด้านอุตุนิยมวิทยาเราใช้ดาวเทียมเพื่ อประโยชน์ในการพยากรณ์อากาศของโลกได้
อย่างถูกต้องแม่นยำ รวมถึงวิเคราะห์และศึกษาปรากฎการณ์ต่างๆ ดาวเทียมประเภทนี้อาจติด
ตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพสภาพอากาศที่ปกคลุมโลก เครื่องวัดอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศ ช่วยใน
การติดตามการก่อตัวของเมฆและการเคลื่อนที่ของพายุ ซึ่งนักพยากรณ์อากาศจะนำข้อมูล
เหล่านี้มาวิเคราะห์ เพื่ อรายงานสภาพอากาศและมีพยากรณ์อากาศให้ประชาชนทราบ

ภาพ : ภาพถ่ายจากดาวเทียม 13

หรือใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
วิเคราะห์ปริมาณแสงจากดวงอาทิตย์ในพื้นที่ต่างๆ เพื่อ
เลือกพื้ นที่ที่เหมาะสำหรับการจัดตั้งระบบพลังงานงาน
แสงอาทิตย์ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เช่น ดาวเทียมโนอา
ดาวเทียมจีโออีเอส เป็นต้น

นอกจากจะมีประโยชน์ด้าน
อุตุนิยมวิทยาแล้ว ยังมีประโยชน์

ด้านอื่นอีกไหม ?

14

• ด้านการสื่อสาร

ในด้านการสื่อสารเราใช้ดาวเทียมเพื่ อเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารจากทั่ว

ทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน ใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารระยะไกล เช่น โทรศัพท์

รวมไปถึงการเผยแพร่สัญญาณโทรทัศน์ วิทยุ และอินเทอร์เน็ต เช่น ดาวเทียม

อินเทลแซต (INTELSAT communications satellite) และดาวเทียมไทยคม

(Thai communications satellite)

ภาพ: ดาวเทียมไทยคม 8

15

• ด้านการกำหนดตำแหน่ง

ในด้านการกำหนดตำแหน่ง ดาวเทียมนำร่องจะใช้คลื่นวิทยุและรหัส
จากดาวเทียมจำนวนมากกว่า 3 ดวงที่อยู่ในอวกาศ ทำงานร่วมกันโดยส่ง
สัญญาณไปยังเครื่องรับสัญญาณบนพื้ นผิวโลกซึ่งเป็นส่วนควบคุมและคำนวณ
ระยะทางระหว่างจุดที่ต้องการทราบตำแหน่งซึ่งเป็นผู้ใช้งาน

ดาวเทียมประเภทนี้นำมาใช้ระบุตำแหน่งของผู้ใช้งานได้
ถูกต้อง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโลกและในทุก
สภาพอากาศ เรียกว่าระบบ GPS (Global Positioning
System) รวมถึงสามารถคำนวณความเร็วและทิศทางได้
เพื่ อนำมามาใช้ร่วมกับแผนที่ในการเดินทางได้

ภาพ : การส่งสัญญาณดาวเทียม กำหนดตำแหน่ง

16

• ด้านการสำรวจทรัพยากร

ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรได้รับการออกแบบเฉพาะเพื่ อการสำรวจ
ติดตามทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ บนพื้นผิวโลก ดาวเทียมประเภทนี้จึงนำมาใช้
ประโยชน์หลายด้าน ได้แก่

• การเกษตร เช่น วิเคราะห์ปริมาณการใช้น้ำในการปลูกพืชและติดตามปริมาณพืผลทางการเกษตร

ภาพ : ภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat 8

• การป้องกันภัยพิบัติ เช่น วิเคราะห์และติดตามการเกิดภัยพิบัติ เพื่อหาแนวทาง 17
ป้องกัน ติดตามผลกระทบจากอุบัติภัย และหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป

ภาพ : การใช้ประโยชน์จากดาวเทียมด้านการป้องกันภัยพิ บัติ

18

• ด้านดาราศาสตร์

ดาวเทียมสำรวจดาวต่างๆที่อยู่ห่างไกลโลก ใช้สังเกตดาวเคราะห์
กาแล็กซี่ (galaxy) และวัตถุท้องฟ้าอื่นๆในอวกาศ เช่น กล้องโทรทรรศน์
อวกาศฮับเบิล (Hubble space telescope) กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์
เว็บ (James Webb space telescope) เป็นต้น เพื่อศึกษาความเป็นไปใน
ห้วงอวกาศ ตลอดจนป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับโลก

ภาพ : กาแล็กซี NGC 5037
บันทึกภาพโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

19

4 ยานอวกาศ (spacecraft)

เป็นยานพาหนะที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ปฏิบัติงานในอวกาศ โดย
มีวัตถุประสงค์ของการใช้งานในแต่ละครั้งแตกต่างกันตามความ
ต้องการของมนุษย์ โดยภาระกิจของยานอวกาศ ได้แก่ การสื่อสาร
ทั่วไป การสำรวจโลก การทำเส้นทาง ยานอวกาศสามารถแบ่งเป็น
2 ประเภท คือ

1.ยานอวกาศที่ไม่มีนักบินอวกาศควบคุม 20

คือ ยานอวกาศที่ติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และระบบ ภาพ : ยานกาลิเลโอ
คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ยานอวกาศสามารถปฏิบัติภารกิจสำรวจดาว
เคราะห์ได้เองทุกประการ ยานอวกาศที่ไม่มีนักบินอวกาศควบคุม
เช่น ยานมาริเนอร์ ยานกาลิเลโอ และยานวอยเอเจอร์

ภาพ : สถานีอวกาศ 2.ยานที่มีนักบินอวกาศควบคุม

คือ ยานอวกาศที่นำนักบินอวกาศขึ้นไปโคจรในวงโคจร
รอบโลกเพื่อทำงานในอวกาศ และนำนักบินอวกาศไปสำรวจดาวเคราะห์
และดวงจันทร์ เช่น โครงการอพอลโล โครงการเจมินี สถานีอวกาศ
นานาชาติ

21

ความรู้เพิ่ มเติม

การสร้างสถานีอวกาศ (International Space Station : ISS) ต้องใช้จรวดบรรทุกชิ้นส่วนของ
สถานีอวกาศเป็นจำนวนหลายรอบ เพื่ อนำไปประกอบเป็นสถานีอวกาศในขณะที่กำลังโคจรรอบโลกสถานี
อวกาศ (space station) เปรียบเสมือนบ้านของนักบินอวกาศ นอกจากจะสร้างขึ้นเพื่ อใช้กับงาน
ทดลองและวิจัยที่ไม่สามารถทำบนโลกได้แล้วภายในสถานีอวกาศยังประกอบด้วยห้องนอน ห้องน้ำ ห้อง
ออกกำลังกาย และมีห้องทดลองอีกหลายและห้องทดลิงอีกหลายห้อง นักบินอวกาศสามารถดำเนินชีวิต
ประจำวันบนสถานีอวกาศได้ เช่น ทำอาหาร นอน ออกกำลังกาย เข้าห้องน้ำ รวมไปถึงตรวจเช็คระบบการ
ทำงานต่างๆ ว่าทุกอย่างดำเนินไปตามปกติ

22

โครงการสำรวจอวกาศมีมากมายตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
แต่ละโครงการมีจุดประสงค์แตกต่างกันไป การสำรวจอวกาศทำให้
เราทราบข้อมูลของวัตถุต่างๆ ในอวกาศ ไม่ว่าจะเป็นดาวเคราะห์
ดาวฤกษ์ ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย การค้นพบสิ่งใหม่ๆ ทำให้เรา
เพิ่มพู นความรู้ความเข้าใจในวัตถุเหล่านั้น ตลอดจนเข้าใจการเกิด
ปรากฎการณ์ต่างๆ รวมถึงการสังเกตสิ่งที่จะเป็นภัยต่อโลก เช่น
ภัยจากพายุสุริยะ ภัยจากดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก เพื่อที่มนุษย์จะ
ได้ระวังและแก้ไขปัญหาต่อไป

23

โครงการสำรวจอวกาศ

โครงการสำรวจอวกาศส่วนใหญ่จะมาจากองค์การบริหารการบินและ
อวกาศแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือที่รู้จักกันในนามว่าองค์การนาซา
หรือ(National Aeronautics and Space Administration : NASA) ซึ่งมี
โครงการสำรวจอวกาศที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการสำรวจดาวเคราะห์ สำรวจ
ดวงอาทิตย์ สำรวจดาวเคราะห์น้อย ไปจนถึงสำรวจวัตถุที่อยู่นอกระบบสุริยะ
นอกจากนี้ยังมีองค์การที่ศึกษาเกี่ยวกับอวกาศจากประเทศอื่น เช่น จีน อินเดีย
ญี่ปุ่น รัสเซีย องค์การอวกาศยุโรปหรืออีเอสเอ (European Space
Agency) โครงการสำรวจอวกาศที่น่าสนใจมีดังนี้

24

โครงการสำรวจดวงจันทร์

ดวงจันทร์เป็นเพื่อนบ้านที่ใกล้โลกของเรามากที่สุด เราศึกษาดวงจันทร์จากการสังเกต

ด้วยกล้องโทรทรรศน์มานาน จนเมื่อ พ.ศ.2500 สหภาพโซเวียตได้ส่ง สปุตนิก (Sputnik)

ดาวเทียมดวงแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศ จึงเป็นจุดเริ่มต้นการแข่งขันเพื่ อเดินทางไปยังดวง

จันทร์ ทำให้เกิดโครงการสำรวจดวงจันทร์มากมายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โครงการที่สำคัญๆ

มีดังนี้

• โครงการลูนา (Luna) เป็นโครงการอวกาศของสหภาพโซเวียตในช่วงปี พ.ศ.2502 -
พ.ศ.2519 ได้ส่งยานไปสำรวจดวงจันทร์หลายลำและหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการพั่ งชนดวงจันทร์
โคจรรอบดวงจันทร์ แล้วถ่ายภาพกลับมา ลงจอดบนดวงจันทร์และเก็บตัวอย่างดินส่งกลับ
มายังโลก แต่ก็ยังไม่สามารถนำมนุษย์ลงสู่ดวงจันทร์ได้

• โครงการอพอลโล 11 (Apollo 11) ขององค์การนาซาประสบ 25
ความสำเร็จในการส่งมนุษย์อวกาศไปสำรวจดวงจันทร์และพากลับ
มายังโลกได้อย่างปลอดภัยเป็นครั้งแรก โดยในวันที่ 20 กรกฎาคม
พ.ศ.2512 นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) และ บัซซ์ อัลดริน
(Buzz Aldrin) นักบินอวกาศทั้งสองคนได้นำยานลงจอดบนดวง
จันทร์และเดินสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก หลัง
จากนั้นก็มีมนุษย์อวกาศอีกหลายคนที่ได้ไปเหยียบดวงจันทร์ และ
เก็บตัวอย่างดิน และหินมาศึกษาทางด้านธรณีวิทยาของดวงจันทร์

ภาพ : นีล อาร์มสตรอง กำลังปักธงชาติ
สหรัฐอเมริกาบนดวงจันทร์

ภาพ : ตัวอย่างหินที่เก็บได้จากดวงจันทร์

26

โครงการสำรวจดาวอังคาร

มนุษย์ยังคงมีคำถามที่ต้องการคำตอบเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร ดาว

เคราะห์เพื่อนบ้านเรา ทั้งนี้เนื่องด้วยดาวอังคารมีสภาพเเวดล้อมใกล้เคียงกับโลกมาก

ที่สุดทำให้บางคนมีแนวคิดในการตั้งอาณานิคมเป็นบ้านหลังที่สองบนดาวอังคาร มนุษย์

ประสบความสำเร็จในการส่งยานสำรวจพื้นผิวดาวอังคารต่อจากดวงจันทร์ โดยองค์การ

นาซาได้ส่งยานไปสำรวจมากที่สุด เช่น ยานออปพอร์ทูนิตี (Opportunity) สำรวจหิน

และดินเพื่ อศึกษาร่องรอยของน้ำบนดาวอังคารในอดีตและศึกษาสภาพทางธรณีวิทยา

ยานคิวริออซิตี (Curiosity) ศึกษาสภาพเอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ภูมิอากาศ

ธรณีวิทยา รวมถึงเก็บภาพพื้ นผิวบนดาวอังคารเพื่ อเป็นข้อมูลสำหรับใช้วางแผน

โครงการส่งมนุษย์อวกาศไปดาวอังคารในอนาคต ยานอินไซต์ (InSight) ศึกษา

โครงสร้างภายในของดาวอังคารจากการวิเคราะห์

27

คลื่นไหวสะเทือน นอกจากนี้ยังมียานมังคลายาน (Mangalyaan) ของประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศ
แรกของเอเชียที่ส่งยานไปโคจรรอบดาวอังคารได้สำเร็จเพื่อทดสอบเทคโนโลยีการสำรวจอวกาศ และ
การศึกษาลักษณะทางธรณีวิทยาและชั้นบรรยากาศ

ภาพ : ภาพจำลองยานออปพอร์ทูนิตี ภาพ : ภาพถ่ายยานคิวริออซิตี ภาพ : ภาพจำลองยานอินไซต์

28

โครงการสำรวจดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญต่อโลกของเรา ถ้าปราศจากดวงอาทิตย์ สิ่งมีชีวิตต่างๆ
บนโลกก็ไม่สามารถดำรงชีวิตต่อได้ การศึกษาดวงอาทิตย์จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการเปลี่ยนแปลงบน
ดวงอาทิตย์ย่อมส่งผลต่อให้มนุษย์โดยตรง โครงการนาซามีแผนส่งยานอวกาศปาร์กเกอร์ โซลาร์
(Parker Solar Probe) ให้เข้าใกล้พื้นผิวของดวงอาทิตย์มากที่สุดเพื่อเก็บข้อมูลและทำความเข้าใจ
บรรยากาศของดวงอาทิตย์ ซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์มีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับลมสุริยะ ส่วน
องค์การอีเอสเอก็มีโครงการที่จะปล่อยยานโซลาร์ ออร์บิเทอร์ (Solar Orbiter) เพื่อศึกษาชั้น
บรรยากาศของดวงอาทิตย์เช่นกัน

29

โครงการสำรวจดาวเคราะห์น้อย

ภาพ : ยานอวกาศโอไซริสเร็กซ์

เราอาจจะเคยได้ยินข่าวดาวเคราะห์น้อยเคลื่อนที่เฉียด เข้ามาใกล้โลกและสร้างความ
วิตกกว่าจะเป็นภัยต่อโลก ถึงแม้ดาวเคราะห์น้อยจะมีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่ถ้าตดเข้ามายังโลก
ก็อาจสร้างความเสียหายต่อมนุษย์ได้ นอกจากนี้การศึกษาดาวเคราะห์น้อยยังเป็นกุญแจช่วย
ไขปริศนาเกี่ยวกับการกำเนิดของระบบสุริยะจักรวาลอีกด้วย โครงการโอไซริส เร็กซ์
(OSIRIS-REx) จากองค์การนาซามีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยแล้วนำ
กลับมาวิเคราะห์ดูองค์ประกอบต่างๆ

30

โครงการสำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอก

มวลส่วนใหญ่ของวัตถุท้องฟ้าทั้งหมดในระบบสุริยะกว่า

ร้อยละ 99.86 คือมวลของดวงอาทิตย์ ที่เหลือรองลงมาคือดาว

พฤหัสบดีและดาวเสาร์ ดังนั้นการศึกษาทั้งสองดวงจะช่วยให้

เข้าใจว่ามวลส่วนใหญ่ที่ก่อให้เกิดดาวเคราะห์มีกลไกอย่างไร ยาน

จูโน (JUNO) ขององค์การนาซาเป็นยานสำรวจลักษณะทาง

กายภาพและองค์ประกอบทางเคมีของดาวพฤหัสบดี รวมถึง

ภาพ : ภาพถ่ายบริเวณขั้วใต้ ศึกษาโครงสร้างภายในดาวพฤหัสบดีว่ามีแกนกลางเป็นหินหรือไม่
ของดาวพฤหัสบดีจากยานจูโน
ซึ่งจะเป็นข้อมูลเพื่ อสร้างความเข้าใจเรื่องการกำเนิดดาวเคราะห์ใน

ระบบสุริยะต่อไป

31

ดาวบริวารของดาวเคราะห์ชั้นนอกก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจ
เนื่องจากดาวบริวารหลายดวงมีของเหลวอยู่ภายใน เช่น ดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสบดี
ดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ โครงการแควสินี-ฮอยเกนส์ (Cassini-Huygens) เป็นโครงการ
ร่วมระหว่างองค์การนาซา องค์การอีเอสเอ และองค์การอวกาศอิตาลี (Agenzia Spaziale
Italians : ASI) ที่ใช้เวลากว่า 7 ปี ในการเดินทางไปสำรวจดาวเสาร์และดวงจันทร์ไททัน และได้ค้น
พบสิ่งที่น่าสนใจมากมาย เช่น ค้นพบพายุหกเหลี่ยมบริเวณขั้วใต้ดาวเสาร์ ทะเลสาบมีเทนและอี
เทนในสถานะของเหลวและลักษณะพื้ นผิวของดวงจันทร์ไททัน

ภาพ : พายุรูปหกเหลี่ยมบนดาวเสาร์ ภาพ : พื้นผิวบนดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์

32

การสำรวจอวกาศต้องมีการวางแผนล่วงหน้าในระยะยาวเป็นอย่างดี เพราะถึงแม้ยานอวกาศจะ
เคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วสูง การเดินทางไปยังดาวเคราะห์ต่างๆ ในระบบสุริยะก็ใช้เวลานานหลายสิบปี
ดังเช่น ยานวอยเอเจอร์ 1 และ2 (Voyager 1 & 2) ออกเดินทางจากโลกในปี พ.ศ.2520 เพื่อสำรวจ
ดาวิเคราะห์ชั้นนอก ยานทั้งสองลำเคลื่อนที่ด้วยความเร็วกว่า 60,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และใช้เวลา
กว่า 2 ปี เพื่อเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดี และกว่า 12 ปี เพื่อเข้าใกล้ดาวเคราะห์ที่ไกลที่สุดอย่างเนปจูน หลัง
จากนั้นยานทั้งสองยังคงเดินทางออกนอกระบบสุริยะไปเรื่อยๆ จนในปี พ.ศ.2555 และ 2561 ยานวอย
เอเจอร์ 1 และ 2 ตามลำดับก็ได้เดินทางออกนอกระบบสุริยะ นับว่าเป็นยานที่อยู่ใกล้ที่สุดที่ยังทำงานได้
อยู่และยังคงเดินทางต่อไป นอกจากนี้ยานนิวฮอไรซันส์ (New Horizons) หลังจากสำรวจดาวพลูโต
แล้วก็กำลังมุ่งหน้าสำรวจวัตถุคอยเปอร์และมุ่งหน้าออกสู่อวกาศให้ไกลขึ้นต่อไป

ภาพ : ภาพวาดแสดงตำแหน่งของยานวอยเอเจอร์ 1 และ 2 ในปี พ.ศ.2561

พวกเราหวังว่าท่านจะได้รับความ
รู้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันนะ

จัดทำโดย

ด.ช.กิตติภณ ก้อนวิมล เลขที่ 11
เลขที่ 16
ด.ช.พงศ์พิพัฒ แพงวิเศษ เลขที่ 18
ด.ญ.สโ
รชา ไชยกองชา เลขที่ 22
เลขที่ 29
ด.ญ.อรัญญา ศิริพรรณ

ด.ช.วรพนธ์ อนุอัน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 1

แหล่งที่มา

• หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 1
• http://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1581307276_example.pdf
• https://www.bbc.com/thai/international-56956002
• https://spaceth.co/insight-spacecraft/
• http://thaiastro.nectec.or.th/library/marsmissions2003/marsmissions2003.html

เทคโนโลยีอวกาศในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

ประเภทของเทคโนโลยีอวกาศ.
ดาวเทียมสื่อสาร (communications satellite) ... .
ดาวเทียมสังเกตการณ์โลก.
(earth observation satellite).
ดาวเทียมพ้องคาบโลก (geosynchronous satellite).
ดาวเทียมการทหาร (military satellite) ... .
ดาวเทียมนำทาง (navigation satellite).
ดาวเทียมติดตามและถ่ายทอดข้อมูล (tracking and data relay satellite).

เทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศมีมากมาย เช่น ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ดาวเทียมสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) เป็นต้น

การพัฒนาของเทคโนโลยีอวกาศเป็นอย่างไร

เทคโนโลยีอวกาศมีพัฒนาการมาจากการสังเกตท้องฟ้าด้วยตาเปล่าของมนุษย์ ต่อมามีการใช้กล้องโทรทรรศน์แบบต่าง ๆ ทั้งที่อยู่บนโลกและในอวกาศ จนกระทั่งการใช้ยานอวกาศแบบต่าง ๆ ในการสำรวจอวกาศเพื่อปฏิบัติภารกิจมากมาย ยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยีอวกาศยังเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งนี้เพื่อให้มนุษย์ได้ใช้ ...

อะไรเป็นเทคโนโลยีอวกาศที่พัฒนาขึ้นอันดับแรก

การประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยี อวกาศชิ้นแรกขึ้นมา เพื่อขยายขอบเขตการมองเห็น ของมนุษย์ทำให้สามารถศึกษาสิ่งต่าง ๆ ในอวกาศ ได้มากขึ้น เช่น การมองเห็นดาวที่อยู่นอกระบบ สุริยะของเราเพิ่มขึ้น อุปสรรคในการใช้กล้องโทรทรรศน์มีอยู่มาก เนื่องจากกล้องโทรทรรศน์ต้องตั้งอยู่บนพื้นโลก