คนใต้เรียกกลุ่มดาวลูกไก่ว่า

ดาวลูกไก่

อังคารที่ 5 มกราคม 2559 เวลา 01.21 น.

คนใต้เรียกกลุ่มดาวลูกไก่ว่า

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้บทนิยามคำ ลูกไก่ ว่า ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์กฤติกา มี ๘ ดวง มีรูปเหมือนลูกไก่ฝูงหนึ่ง, ดาวกฤตติกา ดาวกัตติกา หรือ ดาวธงสามเหลี่ยม ก็เรียก. และให้บทนิยามคำ กฤตติกา ว่า ดาวฤกษ์ที่ ๓ มี ๘ ดวง เห็นเป็นรูปธงสามเหลี่ยม มีหางเรียวยาว, ดาวธงสามเหลี่ยม ดาวลูกไก่ ดาวกฤติกา หรือ ดาวกัตติกา ก็เรียก. มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า มีตากับยายอาศัยอยู่ในป่า วันหนึ่งมีพระธุดงค์ผ่านมา ตากับยายจึงปรึกษากันว่าจะฆ่าแม่ไก่ที่เลี้ยงไว้เพื่อไปทำอาหารถวายพระในตอนเช้า แม่ไก่ได้ยินก็สั่งเสียลูกไก่ทั้ง ๗ ตัวให้รักษาตัวให้ดี แม่นั้นต้องทดแทนคุณตายายที่เลี้ยงดูเรามา เมื่อถึงเวลาตากับยายฆ่าแม่ไก่เตรียมแกง ลูกไก่ทั้ง ๗ ตัวก็กระโดดเข้าเตาไฟตายตามแม่ไก่ไปด้วย เทวดาท่านเห็นแก่ความกตัญญูของแม่ไก่และลูกไก่ จึงให้ทั้งหมดไปเกิดเป็นดาว ๘ ดวงอยู่บนท้องฟ้า

กระจุกดาวลูกไก่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในฤดูหนาวของซีกโลกเหนือและในฤดูร้อนของซีกโลกใต้ จัดเป็นเทห์ฟ้าที่สำคัญในกลุ่มดาววัว ซึ่งคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ดาราศาสตร์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ให้นิยามกลุ่มดาววัว, กลุ่มดาวพฤษภ (Taurus; Bull ) ว่า กลุ่มดาวจักรราศีกลุ่มหนึ่งทางซีกฟ้าเหนือ มีดาวฤกษ์เรียงตัวเป็นหน้าและหัวใจของวัวในประมวลเรื่องปรัมปรากรีกโบราณ เป็น ๑ ใน ๔๘ กลุ่มดาวโบราณของทอเลมี ดาวฤกษ์สว่างที่สุดมีโชติมาตร ๑ ชื่อ อัลเดบารัน (Aldebaran) หรือดาวโรหิณี ซึ่งมีสีแดงอยู่ตรงตำแหน่งตาวัว มีดาวฤกษ์ที่โชติมาตรน้อยกว่า ๔ จำนวน ๑๔ ดวง มีเทห์ฟ้าที่สำคัญหลายเทห์ฟ้า เช่น เนบิวลาปู (Crab nebula, M1) กระจุกดาวลูกไก่ (Plieades, M45) กระจุกดาวธง (Hyades) เพราะมองเห็นเป็นรูปธงสาม เหลี่ยม ภาษาถิ่นพายัพ เรียก ดาววี.

รัตติกาล ศรีอำไพ

คุณเห็นด้วยกับข่าวนี้หรือไม่

  • เห็นด้วย

    0%

  • ไม่เห็นด้วย

    0%

เปิดตำนาน"ดาวลูกไก่" จากทั่วโลก เหมือนกันหรือไม่ ?

การที่กระจุกดาวลูกไก่สามารถมองเห็นในท้องฟ้ายามค่ำคืนได้อย่างเด่นชัด จึงเป็นที่รู้จักในแทบทุกวัฒนธรรมทั่วโลกนับแต่อดีตกาล ชาวไทยเราเรียกว่า ดาวลูกไก่ หรือ ดาวกฤติกา ชาวญี่ปุ่นเรียก ซุบารุ ชาวจีนเรียก เหม่าซิ่ว (昴宿; หรือกลุ่มดาวคนผมดก) http://winne.ws/n19482

คนใต้เรียกกลุ่มดาวลูกไก่ว่า

1.6 หมื่น ผู้เข้าชม

Tags :

เรื่องเล่าในตำนานและวัฒนธรรมพื้นบ้าน 

       การที่กระจุกดาวลูกไก่สามารถมองเห็นในท้องฟ้ายามค่ำคืนได้อย่างเด่นชัด จึงเป็นที่รู้จักในแทบทุกวัฒนธรรมทั่วโลกนับแต่อดีตกาล ชาวไทยเราเรียกว่า ดาวลูกไก่ หรือ ดาวกฤติกา ชาวญี่ปุ่นเรียก ซุบารุ ชาวจีนเรียก เหม่าซิ่ว (昴宿; หรือกลุ่มดาวคนผมดก) ส่วนชาวพื้นเมืองในหมู่เกาะบอร์เนียวเรียกว่า บิตังสโกระ ในพระคัมภีร์ไบเบิลยังมีการเอ่ยถึงดาวกลุ่มนี้โดยเรียกชื่อว่า คิมา (Khima) ในวัฒนธรรมอาหรับซึ่งเป็นนักดูดาวมาแต่โบราณ เรียกชื่อดาวกลุ่มนี้ว่า อัล-ทูเรย์ยา (الثريا; al-Thurayya)

       แต่ชื่อของกระจุกดาวในทางดาราศาสตร์จะเรียกชื่อในภาษาอังกฤษ ซึ่งตั้งชื่อกลุ่มดาวนี้ตามตำนานกรีก กล่าวคือ ดาวเหล่านี้เป็นตัวแทนของหญิงสาวเจ็ดพี่น้องแห่งไพลยาดีส ขณะที่ตำนานชาวไวกิงบอกว่าดาวเหล่านั้นคือแม่ไก่ทั้งเจ็ดตัวของเฟรย์ยา ชื่อของกระจุกดาวในภาษาโบราณของทางยุโรปหลายๆ แห่งจะมีความหมายว่า แม่ไก่กับลูกไก่ ซึ่งคล้ายคลึงกับตำนานของไทย

      นิทานดาวลูกไก่ในตำนานไทยเล่าว่า มีตายายคู่หนึ่งอาศัยอยู่ในป่า วันหนึ่งมีพระธุดงค์ผ่านมา คิดจะหาอาหารไปถวาย แต่เนื่องจากอยู่ในป่าไม่มีอาหารดีๆ จึงหารือกันจะฆ่าไก่ที่เลี้ยงไว้เพื่อไปทำอาหารถวาย แม่ไก่ได้ยินก็สั่งเสียลูกไก่ทั้งหกตัวให้รักษาตัวให้ดี ตัวเองต้องแทนคุณตายายที่เลี้ยงดูมา เมื่อถึงเวลาตายายฆ่าแม่ไก่ ลูกไก่ก็กระโดดเข้าเตาไฟตายตามแม่ไปด้วย เทพยดาเห็นแก่ความกตัญญู จึงให้แม่ไก่และลูกไก่ทั้งหมดขึ้นไปเป็นดาวอยู่บนฟ้าเพื่อเตือนใจคน[1]

      ในยุคสำริดของยุโรป ชาวยุโรปบางส่วนเช่นชาวเคลต์หรือวัฒนธรรมอื่นก่อนหน้านั้น เชื่อว่ากระจุกดาวนี้เกี่ยวข้องกับความอาลัยและงานศพ ในอดีตจะมีงานเทศกาลช่วงวันระหว่างวันศารทวิษุวัตจนถึงวันเหมายัน (ดู วันฮัลโลวีน หรือวันแห่งจิตวิญญาณ) เป็นเทศกาลเพื่อระลึกถึงผู้วายชนม์ กระจุกดาวนี้จะเริ่มปรากฏบนท้องฟ้าด้านตะวันออกหลังจากตะวันลับขอบฟ้า เหตุนี้กระจุกดาวลูกไก่จึงมักให้ความรู้สึกถึงน้ำตาและความเศร้าโศก

       การปรากฏของดวงดาวบนฟ้ามักใช้เป็นจุดสำคัญเพื่อกำหนดระยะเวลาตามปฏิทินของมนุษย์ในสมัยก่อน[2] การปรากฏบนฟ้าของกระจุกดาวลูกไก่ (ประมาณเดือนมิถุนายน) ถือเป็นการขึ้นปีใหม่สำหรับชาวมาวรีในนิวซีแลนด์ ซึ่งเรียกกระจุกดาวนี้ว่า มาตาริกิ (แปลว่าดวงตาดวงเล็ก ๆ[3]) มีวันหยุดลักษณะคล้ายกันนี้สำหรับชาวฮาวายด้วย เรียกว่าวัน Makaliʻi ชาวแอสแตคโบราณในเม็กซิโกและอเมริกากลางมีปฏิทินของพวกเขาที่อ้างอิงตามกระจุกดาวลูกไก่ โดยเริ่มนับปีใหม่เมื่อพวกนักบวชมองเห็นดาวเรียงเด่นปรากฏขึ้นบนฟากฟ้าตะวันออก ก่อนที่แสงสุดท้ายของดวงอาทิตย์จะลับหายไป ชาวแอสแตคเรียกกระจุกดาวนี้ว่า Tianquiztli (แปลว่า "ตลาด")

       กระจุกดาวลูกไก่ หรือ กระจุกดาวไพลยาดีส (อังกฤษ: Pleiades) หรือวัตถุเมสสิเยร์ M45 หรือ ดาวพี่น้องทั้งเจ็ด เป็นกระจุกดาวเปิดในกลุ่มดาววัว ประกอบด้วยดาวฤกษ์ระดับ B ที่มีประวัติการสังเกตมาตั้งแต่สมัยกลาง นับเป็นหนึ่งในกระจุกดาวที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด และอาจเป็นกระจุกดาวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า

       กระจุกดาวนี้ประกอบด้วยดาวฤกษ์สีน้ำเงินที่มีอายุราว 100 ล้านปี แต่เดิมเคยเชื่อว่าเศษฝุ่นที่ทำให้เกิดการสะท้อนแสงจาง ๆ เรืองรองรอบดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดน่าจะเป็นเศษที่หลงเหลือจากการก่อตัวของกระจุกดาว (จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เนบิวลามายา ตามชื่อดาวมายา) แต่ปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน เป็นเพียงฝุ่นเมฆในสสารระหว่างดาวที่ดาวฤกษ์กำลังเคลื่อนผ่านเท่านั้น นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่ากระจุกดาวนี้จะมีอายุต่อไปอีกอย่างน้อย 250 ล้านปี หลังจากนั้นก็จะกระจัดกระจายออกไปเนื่องจากปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงที่เกิดจากดาราจักรเพื่อนบ้านใกล้เคียง

ชื่อและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

        กระจุกดาวลูกไก่มีดาวสว่างที่สุดจำนวน 9 ดวง แต่ละดวงตั้งชื่อตามไพลยาดีส (Pleiades) หญิงสาวพี่น้องเจ็ดคนในเทพปกรณัมกรีก ได้แก่ Asterope, Merope, Electra, Maia, Taygete, Celaeno, Alcyone และชื่อพ่อแม่ของพวกนางคือ แอตลัส กับนางไพลยานี เนื่องจากนางทั้งเจ็ดเป็นบุตรีของแอตลัส ดังนั้น ไฮยาดีส (กระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัว) จึงเป็นพี่น้องกับพวกนาง

อ้างอิงจาก: https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=กระจุกดาวลูกไก่&action=edit&section=2