แผง โซ ล่า เซลล์ที่นิยมใช้

JD SUNTECH IWACHI Solar Light Kanto Applegreen JUPITER TJ Solar XML-Solar Tiger World Reolink VAKIND

แผงโซล่าเซลล์ พลังงานทางเลือกของคนยุคใหม่ ดียังไง คุ้มค่าไหม ตอบทุกคำถามพร้อมกันที่นี่!

แผงโซล่าเซลล์ (Solar Cell) อีกหนึ่งในพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การตัดสินใจซื้อแผงโซล่าเซลล์ก็เปรียบเสมือนการซื้อพลังงานทดแทน โดยเรียกได้ว่าเป็นพลังงานทางเลือกที่นอกจากจะเป็นการนำพลังงานที่โลกมีอยู่มาใช้โดยไม่สูญเปล่า ยังเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศและไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกตัวการสร้างปัญหาโลกร้อนที่เราต่างเผชิญอยู่ในปัจจุบัน และในปัจจุบันเศรษฐกิจที่ไม่มีความแน่นอน การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ได้เข้ามาเป็นทางหนึ่งของการลดค่าใช้จ่ายและลดค่าไฟฟ้าของหลาย ๆ คน โดยคุณสามารถติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ได้ทั้งในบ้าน สำนักงาน ใช้ในไร่ในสวนของคุณ ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือใช้ในการลงทุนอื่น ๆ ด้วย หากใครที่กำลังมองหาแผงโซลาร์เซลล์อยู่ล่ะก็ ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล เพราะวันนี้เราได้นำข้อมูลเกี่ยวกับโซล่าเซลล์มาฝาก ตามไปดูเรื่องราวที่น่าสนใจพร้อม ๆ กันได้เลย

แผงโซล่าเซลล์คืออะไร ?

โซล่าเซลล์ คือ อุปกรณ์สำคัญที่สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ร่วมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ซึ่งพลังงานที่ได้มาเป็นพลังงานบริสุทธิ์ ปราศจากมลพิษ โซล่าเซลล์ถูกค้นพบขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1964 โดยเจ้าหน้าที่ของ NASA เพราะต้องการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนดาวเทียมในโครงการของ NASA นั่นเอง

อุปกรณ์ชนิดนี้ทำมาจากสารกึ่งตัวนำชนิดพิเศษอย่างผลึกซิลิคอน (Silicon) ที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ทันที รวมทั้งนำไปสะสมในรูปแบบพลังงานอย่างแบตเตอรี่หรือพาวเวอร์แบงค์ได้อีกด้วย ในขั้นตอนการผลิตความบริสุทธิ์ของเนื้อซิลิคอนเป็นคุณสมบัติสำคัญที่สุด หากซิลิคอนที่ใช้มีความบริสุทธิ์กว่า ภายในจะมีโมเลกุลจัดเรียงตัวดีและเป็นระเบียบกว่า ทำให้มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้นตามไปด้วย

เลือกแผงโซล่าเซลล์แบบไหนดี ?

แผงโซล่าเซลล์มีหลากหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบจะมีคุณสมบัติในการใช้งานแตกต่างกันออกไป โดยจะสามารถจัดประเภทได้ดังนี้

แผงโซล่าเซลล์โมโน (Mono Solar)

แผงโซล่าเซลล์โมโน เรียกได้ว่าเป็นแบบที่มีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงกว่าแผงชนิดอื่น ๆ ด้วยคุณสมบัติการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ แม้อยู่ในภาวะแสงแดดน้อย และมีอายุการใช้งานยาวนาน โดยเฉลี่ย 25 ปี ขึ้นไปเลยทีเดียว แผงโซล่าเซลล์โมโนนั้นทำมาจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง โดยขั้นตอนการผลิตเริ่มจาก นำแท่งซิลิคอนทรงกระบอก มาเข้าสู่กระบวนการกวน ให้ผลึกยึดเกาะกันอยู่ที่แกนกลาง แล้วนำมาตัดให้เป็นสี่เหลี่ยมและลบเหลี่ยมมุมทั้งสี่ด้านออก ดังนั้น เราจึงสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่าแผงของแบบโซล่าเซลล์โมโน จะเหมือนกับการนำแผ่นสี่เหลี่ยมที่มีขอบมน ๆ มาวางต่อ ๆ กัน เหมือนกับกระดานหมากรุกนั่นเอง

แผงโซล่าเซลล์คริสตัลไลน์ ซิลิกอน (Polycrystalline Silicon)

หรือมีชื่อเรียนอีกชื่อหนึ่งว่าโพลี เป็นโซล่าเซลราคากลาง ๆ ผลิตจากผลึกซิลิคอนเช่นเดียวและมีคุณสมบัติการใช้งานยาวนานเช่นเดียวกับแผงโมโน แต่มีราคาที่ถูกกว่า ด้วยการมีขั้นตอนการผลิตที่แตกต่างกัน ด้วยขั้นตอนการผลิตใช้ซิลิคอนเหลวมาเทใส่โมลด์ที่เป็นบล็อกสี่เหลี่ยม ก่อนจะมาตัดเป็นแผ่นบาง ๆ อีกที ทำให้โซล่าเซลล์แบบโพลีจะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมต่อ ๆ กันแบบที่เราคุ้นเคย ข้อเสียของแผงชนิดนี้คือประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 15-18% ซึ่งน้อยกว่าแบบโมโน ใช้พื้นที่มากกว่าแบบโมโน เนื่องจากผลิตไฟได้น้อยกว่าเล็กน้อย

แผงโซล่าเซลล์อะมอร์ฟัส (Amorphous Silicon)

หากคุณกำลังมองหาแผงโซล่าเซลล์ราคาถูก ต้องเลือกแผงโซล่าเซลล์อะมอร์ฟัสหรือแผงโซล่าเซลล์ฟิล์มบาง แต่โดยมากจะนิยมใช้ในอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ขนาดเล็กต่าง ๆ อย่าง นาฬิกา Solar Watch หรือเครื่องคิดเลข เป็นต้น โดยผลิตจากการนำเอาสารที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า มาฉาบเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ เพื่อให้สามารถรับแรงและนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานที่มากขึ้นและมีแระสิทธิภาพที่มากกว่านั่นเอง

การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?

การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์มีค่าใช้จ่ายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น

  • ค่าแผงโซล่าเซลล์ : แผงโซล่าเซลล์ราคาจะมีเรทที่แตกกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภทและวัตต์
  • ค่าติดตั้ง : ราคาค่าติดตั้งขึ้นอยู่กับจำนวนของแผงโซล่าเซลล์ที่ต้องการติดตั้ง
  • ค่าดูแลการเสื่อมสภาพ : มีค่าเสื่อมสภาพเพราะแผงโซล่าเซลล์จะเสื่อมสภาพลงทุกปี

สำหรับค่าดูแลการเสื่อมสภาพ จะคิดเต็มวัตต์ทุกปีไม่ได้ ต้องบวกค่าเสื่อมสภาพเข้าไปด้วย เช่น ปีแรกจะได้เต็ม 300 W ต่อแผ่น ปีที่สองประสิทธิภาพลดลง 2% เนื่องจากผลึกที่ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของโซล่าเซลล์ ที่จะทำปฏิกิริยากับสภาพสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ เมื่อเข้าช่วงปีที่ 2-25 ประสิทธิภาพจะลดลงปีละ 0.7% แต่ภายใน 25 ปี คำณวนประสิทธิภาพการใช้งานจาก 100 % เมื่อใช้งาน 25 ปี จะเหลือคุณภาพไม่ต่ำกว่า 80% หลังจากนั้นโซล่าเซลล์ก็ยังสามารถใช้งานได้อยู่ แต่ทางวิศวกรไม่สามารถรองรับประสิทธิภาพในการใช้งานได้ ทำให้ผู้ใช้โซล่าเซลล์ต้องมีการเปลี่ยนหรือปรับปรุง ดังนั้นหากใครที่สนใจติดตั้ง ต้องลองไปทำคำณวนค่าแผง ค่าติดตั้ง และค่าดูแลการเสื่อมสภาพให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อผลประโยชน์ต่อคุณเอง และหากใครสามารถติดตั้งได้เอง ก็จะตัดค่าใช้จ่ายของค่าติดตั้งออกไป คำณวนแล้วก็จะได้ราคาที่ถูกลง

แผงโซล่าเซลล์มีกี่ขนาด ?

ขนาดกำลังวัตต์ตามความพอเพียงต่อการใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่แผงโซล่าเซลล์ที่มีจำหน่ายทั่วไปเริ่มต้นที่ขนาด 10 วัตต์ 20 วัตต์ 40 วัตต์ 60 วัตต์ 80 วัตต์ 120-130 วัตต์ 200 วัตต์ 225-235 วัตต์ 240-245 วัตต์ และ 285 วัตต์ แต่ละขนาดจะเหมาะที่จะใช้กับประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเพื่อการคำนวณหาค่าที่ถูกต้อง เราจึงมีสูตรง่าย ๆ ในการคิดก่อนเลือกซื้อ นั่นก็คือ

วัตต์ (ดูจากเครื่องใช้ไฟฟ้า) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า x จำนวน ชม. ที่ใช้งานต่อวัน = ปริมาณการใช้ไฟฟ้า

ยกตัวอย่างเช่นหลอดไฟขนาด 10 วัตต์ มีจำนวน 2 หลอด ต้องการใช้งาน 10 ชั่วโมงต่อวัน ก็จะคำนวณได้ ดังนี้ 10 x 2 x 10 = 200 วัตต์ เพราะฉะนั้นปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อวันของคุณคือ 200 วัตต์ (หากมีหลายชิ้นให้นำค่าที่ได้มาบวกกัน) และนำค่าที่ได้ไปแทนในสูตรนี้

ค่าการใช้พลังงานรวมทั้งหมด ÷ 5 ชั่วโมง (ประมาณเวลาที่มีแสงแดดต่อวัน) = ขนาดของแผง

จากสูตร ปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อวันคือ 200 วัตต์ และแผงโซล่าเซล์สามารถรับแสงแดดได้เต็มที่ ประมาณ 5 ชั่วโมงต่อวัน 200 ÷ 5 = 40 วัตต์ แสดงว่าสามารถใช้แผงโซล่าเซลล์ขนาด 50 วัตต์ ขึ้นไปได้

แผงโซล่าเซลล์มีวิธีเลือกซื้ออย่างไร ?

สำหรับมือใหม่ที่เลือกซื้อโซล่าเซลล์ แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกซื้ออย่างไรก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะมีเคล็ดลับในการเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์มาฝากดังนี้

เลือกให้ตรงกับความต้องการในการใช้งาน

อย่างที่กล่าวไปขั้นต้นว่าแผงโซลาร์เซลล์มีหลากหลายประเภท เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งไว้ที่บ้านเพื่อใช้ร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ หรือใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ปัจจุบันมีแผงโซลาร์เซลล์ที่สามารถพกพาได้ จึงกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการใช้งานในสถานที่ที่แตกต่างออกไป ดังนั้นก่อนที่จะเลือกซื้อโซลาร์เซลล์ลองตรวจสอบความต้องการการใช้งานให้ดีก่อนว่าต้องใช้งานแผงโซลาร์เซลล์ในรูปแบบไหน และนี่ก็เป็นการคำนวณค่าการใช้พลังงานไฟคร่าว ๆ ที่นิยมใช้งานในชีวิตประจำวัน ซึ่งก็คือ

  • 5 วัตต์ ใช้กับสัญญาณไฟกระพริบบนท้องถนน
  • 10 – 20 วัตต์ ใช้กับไฟส่องสว่างทางเดินในบ้าน ในสวนหย่อม
  • 225 – 280 วัตต์ ใช้กับปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์

เผื่อกำลังไฟในการใช้งานด้วย

ในการเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์ควรเผื่อขนาดกำลังติดตั้งให้มากกว่าขนาดของอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างน้อย 20% เผื่อค่าสูญเสียในระบบและเป็นการถนอมแบตเตอรี่ให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น อีกอย่างการใช้งานแบตเตอรี่จนหมด แล้วชาร์จทุกวันจะทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่สั้นลงด้วย ในกรณีที่ต้องการนำแผงไปต่อใช้งานโดยตรงกับเครื่องปั๊มน้ำโดยไม่ใช้แบตเตอรี่ ควรเผื่อกำลังติดตั้งไว้ 1 เท่าของขนาดปั๊มน้ำเพราะช่วงการสตาร์ทปั๊มน้ำต้องใช้กระแสสูง การเลือกขนาดแผงโซล่าเซลล์พอดีกับขนาดปั๊มน้ำ จะไม่สามารถทำให้ปั๊มน้ำทำงานได้ เพราะช่วงสตาร์ทปั๊มน้ำต้องใช้ไฟสูงกว่าปกติ หากต้องการใช้แผงขนาดที่พอดี ควรต่อแบตเตอรี่เพื่อช่วยการสตาร์จปั๊มน้ำ จึงจะสามารถใช้พลังงานจากแผงโซล่าร์ได้โดยตรง

ซื้อกับบริษัทที่มีชื่อเสียงและมีการรับประกันสินค้าราคา

การรับประกันและบริการหลังการขายเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม แนะนำให้เลือกซื้อกับบริษัทที่มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน มีความน่าเชื่อถือ มีใบรับประกันสินค้าระยะยาว เช่น ระบุว่ารับประกันแผงโซล่าเซลล์ 20 ปี รับประกันอินเวอร์เตอร์ 5 ปี มีบริการทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์เเละตรวจเช็คระบบต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าที่ได้จะเป็นแผงโซล่าเซลล์ราคาประหยัดที่มีคุณภาพดีจริง เหมาะสมกับราคาที่ซื้อ จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลัง

แผงโซล่าเซลล์ยี่ห้อไหนดีที่สุด ?

หลังจากที่รู้ข้อมูลเบื้องต้นของแผงโซล่าเซลล์ ประเภทของแผงโซล่าเซลล์ชนิดต่าง ๆ และวิธีการเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์แล้ว มาดูกันดีกว่าว่าปัจจุบันมีแผงโซล่าเซลล์รุ่นไหนน่าสนใจบ้างดังนี้

  • แผงโซล่าเซลล์ Solar Besttech 100W Mono รุ่น CNSDPV100M : รุ่นนี้มีความแข็งแรงและทนทานอย่างมาก ผลิตมาจากซิลิคอนเกรดดีที่สุด โดยมีกำลังไฟสูงสุด 100 วัตต์ และกำลังแรงดันไฟฟ้าสูงสุดถึง 18.9 โวลต์ ให้กำลังแสงสว่างได้เต็มที่ แม้ว่าจะอยู่ในสภาวะแสงน้อยก็ตาม มีอายุใช้งานยาวนานมากกว่า 25 ปี และไม่กินพื้นที่ในการติดตั้งทำให้สะดวกต่อการติดตั้งและการดูแลในระยะยาว

  • แผงโซลาร์เซลล์ Eve ชุดโซล่ารูฟท็อป 1.5kW เซต 5 แผง : รุ่นนี้มี Inverter มาให้ในตัว ผลิตกำลังไฟฟ้าได้ 330W ประกอบด้วยแผงโซลาร์เซลล์ทั้งหมด 5 แผง สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้ที่ 330W ต่อชั่วโมง ผลิตจากผลึกซิลิคอน จึงทำให้ตัววัสดุมีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ และยังสามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันบนระบบ Android และ iOS เพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบได้อีกด้วย

  • แผงโซล่าเซลล์ Genius 340W รุ่น 340 วัตต์ Soler Panel : รุ่นนี้เป็นแบบคริสตัลไลน์ ซิลิกอน มีกำลังไฟสูงสุดถึง 330 วัตต์ ทนทานต่อระดับอุณหภูมิที่ร้อนจัดเหมาะสำหรับอากาศประเทศไทย ผ่านการรับรองโดยสถาบันต่าง ๆ ตามมาตรฐานโลก เหมาะสำหรับการใช้ไฟเพื่อสูบน้ำการเกษตร หรือใช้ร่วมกับปั้มน้ำเพื่อสูบน้ำบาดาล แต่ปั๊มน้ำต้องรองรับไฟ DC หรือมี Inverter เพื่อเแปลงไฟให้ปั้ม

  • แผงโซล่าเซลล์ TreeTools รุ่น TRE-POLY-340 : รุ่นนี้ให้กำลังไฟสูงสุดถึง 340 วัตต์ มีความโดดเด่นตรงที่แม้ว่าแผงด้านหนึ่งจะไม่โดนแสงแดดหรือโดนบดบังจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น มีใบไม้บดบังก็จะยังคงให้พลังงานได้ตามปกติ ทำมาจากวัสดุภายนอกเกรด A แสงอาทิตย์ส่องผ่านมากขึ้น ผลิตไฟสูงให้พลังงานที่สูงมาก และไม่หักแตกง่ายทนทาน

  • แผงโซล่าเซลล์ Iwachi รุ่น IWC-SOLAR-PANEL-165W : เหมาะต่อการใช้งานในครัวเรือน โดยให้กำลังไฟได้สูงสุด 165 วัตต์ (+ – 3%) ตัววัสดุภายนอกมีความแข็งแรง จึงไม่มีปัญหาเรื่องการต้องอยู่กับสภาพแวดล้อมทุกประเภท ไม่ว่าจะร้อนหรือหนาว มีประสิทธิภาพการใช้งานสูง แผงโซล่าเซลล์รุ่นนี้บอกเลยว่ากักเก็บพลังงานอย่างเต็มที่และสามารถใช้งานไฟได้เต็มที่

  • แผงโซลาร์เซลล์ Sunergist รุ่น SUNTILE : แผงโซลาร์เซลล์รุ่นนี้เหมาะกับอาคารและบ้านพักอาศัย เป็นชนิดฟิล์มบางพิเศษที่ประกอบด้วยกระจก Composite Glass ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี CIGS แต่มีความแข็งแรง วัสดุฟิล์มเบาบาง แต่ทนต่อแรงกระแทกได้ดี เหมาะสำหรับใช้ติดตั้งทับบนหลังคาบ้านโดยเฉพาะ ทางแบรนด์ระบุว่าสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดีแม้มีแดดอ่อน

แผงโซล่าเซลล์ อุปกรณ์สำคัญที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ปล่อยมลพิษ ทำให้พลังงานไฟฟ้าที่ได้เป็นพลังงานสะอาดอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังช่วยให้เราประหยัดรายจ่ายในระยะยาวด้วย เพราะพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่เราสามารถนำมาใช้ได้ฟรี ๆ โดยไม่ต้องขอใคร เพราะฉะนั้นหากใครอยากประหยัดค่าไฟในระยะยาว ไม่ต้องจ่ายค่าไฟแพง ๆ ทุกเดือน พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ก็คือคำตอบที่คุณกำลังมองหา มาลองเช็คราคา เปรียบเทียบแผงโซล่าเซลล์ ราคา หรือแผงโซล่าเซลล์ 300W ราคาถูกจากร้านค้าออนไลน์ชั้นนำทั่วประเทศ และอัพเดทส่วนลดโปรโมชั่นแบบจุใจก่อนใครได้ที่ iPrice Thailand