ประกันสังคม อายุ 60 ปี ขึ้นไป

วันที่ 12 กันยายน 2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้แจ้งเตือนผู้ประกันตนตามมาตรา 33  และมาตรา 39 ซึ่งมีอายุครบ 55 ปี และปัจจุบันมีสถานะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนแล้ว ให้ตรวจสอบสิทธิการได้รับบำเหน็จ หรือบำเหน็จชราภาพ พร้อมกับยื่นขอรับเงิน ณ สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด

  สำหรับช่องทางการตรวจสอบสิทธิและยอดเงินสมทบชราภาพ หากไม่สะดวกเดินทางไปยังสำนักงานประกันสังคม ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบผ่านช่องทางออนไลน์ได้ 3 ช่องทาง คือเว็บไซต์ของ สปส.  www.sso.go.th, แอปพลิเคชั่น SSO Connect สามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง ระบบ iOSและ Android และ Line Official Account ของ สปส. @ssothai

  ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบและทราบสิทธิที่จะได้รับแล้วสามารถยื่นขอรับบำเหน็จ หรือ บำเหน็จชราภาพ ได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด โดยใช้เอกสารเป็นบัตรประชาชนตัวจริง และกรอกใบคำขอ สปส. 2-01 หรือ SSO. 2-01 พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ที่จะรับโอนเงิน แต่หากผู้ประกันตนมีบัญชีพร้อมเพย์ที่ใช้เลขบัตรประชาชนผูกกับบัญชีออมทรัพย์ สามารถแจ้งขอรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ไปพร้อมการยื่นคำร้องได้ โดยไม่ต้องใช้สำเนาสมุดบุญชีธนาคาร (บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ไม่สามารถใช้ได้)

  น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สำหรับสิทธิของผู้ประกันตนกรณีชราภาพนั้นจะแยกเป็น 2 กรณี  ได้แก่ 1) รับบำเหน็จชราภาพ  ได้แก่ ผู้จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ซึ่งจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตนที่จ่ายให้กับสำนักงานประกันสังคม แต่หากจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบส่วนของผู้ประกันตน รวมกับส่วนของนายจ้างที่จ่ายเงินสมทบให้และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปี

  2) กรณีรับบำนาญชราภาพ ได้แก่ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็น         รายเดือนตลอดชีวิต ในอัตราร้อยละ 20 ของเงินค่าจ้าง(ไม่เกิน 15,000 บาท) เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และกรณีที่จ่ายเกินกว่า 180 เดือนจะเพิ่มอัตราการจ่ายเงินบำนาญ ให้อีกร้อยละ 1.5 ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุกๆ 12 เดือน

  นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ผู้รับบำนาญชราภาพเสียชีวิตลงระหว่างรับบำนาญชราภาพยังไม่ถึง 60 เดือน ที่ทายาทสามารถติดต่อเพื่อรับบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนได้ โดยสามารถดูข้อเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หรือสอบถามที่สายส่วน สปส. 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกันสังคม อายุ 60 ปี ขึ้นไป
 

เกษียณแล้ว ได้อะไรจากกองทุนประกันสังคม

ปัญหาความไม่รู้และไม่เข้าใจของผู้ประกันตน เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในกองทุนประกันสังคมยังคงมีอยู่ตลอดเวลา จากคำถามที่ว่า “เกษียณแล้วได้อะไรจากกองทุนประกันสังคม” เพื่อให้ผู้ประกันตนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สิทธิได้อย่างถูกต้อง ลองดูกรณีตัวอย่างคำถาม-คำตอบดังต่อไปนี้…
เมื่อออกจากมาตรา 33 แล้ว ขอรับเงินบำนาญเลย ต่อมาเดือนที่ 5 นับตั้งแต่ออกจากมาตรา 33
จึงสมัครเป็นมาตรา 39 และเมื่อลาออกจากมาตรา 39 จะได้รับเงินบำนาญคุ้มค่ากว่า ใช่หรือไม่
ตอบ ใช่ เหตุที่เงินบำนาญคุ้มค่ากว่า เพราะการคำนวณเงินบำนาญจะใช้ฐานค่าจ้างมาตรา 33 กล่าวคือ
ถ้าออกจากมาตรา 33 แล้ว ต้องยื่นขอรับเงินบำนาญก่อน ซึ่งจะได้รับเงินบำนาญจากการคำนวณจากฐานค่าจ้าง มาตรา 33 คือ ฐานค่าจ้างสูงสุด 15,000 บาท จากนั้นเมื่อสมัครเป็นมาตรา 39 และเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 จะถูกงดจ่ายเงินบำนาญ และต่อมาหากลาออกจากมาตรา 39 จะคำนวณเงินบำนาญจากฐานค่าจ้างมาตรา 33 (เดิม คือ 15,000 บาท) ไม่ใช่ฐานค่าจ้าง มาตรา 39 (4,800 บาท) และอัตราที่จะนำมาคำนวณเงินบำนาญเพิ่มขึ้น 1.5% ของทุกๆ การจ่ายเงิน 12 งวดเดือน (ติดต่อกัน)
ถ้าอายุครบ 60 ปี ออกจากบริษัทหนึ่งไปทำงานต่ออีกบริษัทหนึ่ง สามารถเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ต่อได้หรือไม่
ตอบ ไม่มีสิทธิเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แต่จะต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เนื่องจากกฎหมายประกันสังคม มาตรา 33 กำหนดคุณสมบัติในเรื่องอายุของการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ไว้ว่า ให้ลูกจ้าง ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน (วรรคหนึ่ง) ดังนั้น กรณีที่ลูกจ้างออกจากบริษัท ถือว่าสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงานหรือสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างจากนายจ้างเดิม เมื่อได้ตกลงเป็นลูกจ้างกับนายจ้างใหม่หรือแม้ว่าจะเป็นนายจ้างเดิมแต่เป็นการตกลงจ้างใหม่ (เช่น ไม่ได้นับอายุงานต่อเนื่องเพื่อคำนวณค่าชดเชย) จึงไม่อาจเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ได้
แต่หากเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ต่อเนื่องกับนายจ้างเดิม (โดยไม่ได้สิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน) แม้ว่าอายุจะมากกว่า 60 ปีบริบูรณ์ บุคคลดังกล่าวนี้จะยังคงเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ต่อไป เพราะมาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และยังเป็นลูกจ้างของนายจ้างซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตนต่อไป
บริษัทกำหนดอายุเกษียณ 55 ปี แต่จ้างต่อถึง 62 ปี พนักงานยังคงเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ถูกต้องหรือไม่ และถ้าบริษัทกำหนดเกษียณอายุ 60 ปี แต่จ้างต่อถึง 62 พนักงานยังคงเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ถูกต้องหรือไม่
ตอบ ลูกจ้างที่เกษียณอายุ 55 ปี ถ้านายจ้างตกลงจ้างต่อไป จะต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ต่อไป เพราะขณะเกษียณยังมีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 (อายุน้อยกว่า 60 ปีบริบูรณ์) จนกว่าจะเลิกจ้าง (อายุ 62 ปี) ซึ่งต่างกับกรณีที่บริษัทกำหนดเกษียณ 60 ปี และจ้างต่อถึงอายุ 62 ปี กรณีนี้หากเกษียณ 60 ปี และนายจ้างคำนวณจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง การจ้างต่อถือว่าเป็นการจ้างใหม่ ตามกฎหมายประกันสังคม มาตรา 33 วรรคหนึ่ง ถือว่าพนักงานไม่มีสิทธิเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 แต่ต้องเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 

  บางส่วนจากบทความ  "เกษียณอายุ...ผู้ประกันตน คำถามและคำตอบที่ควรรู้?”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society Magazine ปีที่ 20 ฉบับที่ 229 เดือนกุมภาพันธ์ 2565


ประกันสังคม : กฎหมายแรงงาน : ปรานี สุขศรี
วารสาร : HR Society Magazine กุมภาพันธ์ 2565



ประกันสังคม อายุ 60 ปี ขึ้นไป

สิทธิประกันสังคมหมดตอนไหน

สำนักงานประกันสังคม ระบุ ไม่อยากสิ้นสภาพ อย่าพลาด ขาดส่ง ขาดสิทธิ์ เพราะหากขาดส่ง เงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือส่งไม่ครบ 9 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน (1 ปี) ก็หมดสิทธิ์ในการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ทันที

อายุกี่ปีได้เงินประกันสังคมคืน

เงินสมทบในส่วนของ "เงินออมชราภาพ" สามารถยื่นเรื่องขอรับคืนได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ประกันตนแล้วก็ตาม

ประกันสังคมมีมากี่ปีแล้ว

หมายเหตุ : กองทุนชราภาพ ประกันสังคม จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2541 ดังนั้นผู้ที่ทำงานก่อนปี 2542 และได้เข้าระบบประกันสังคม จึงเริ่มส่งเงินสมทบเข้ากองทุนชราภาพ เดือนแรกคือเดือนมกราคม 2542.

เงินชราภาพประกันสังคม จะได้ตอนไหน

7. ถาม ยื่นขอรับเงินชราภาพแล้ว จะได้เงินเมื่อไหร่ ตอบ - เงินบำเหน็จชราภาพหลังจากการได้รับอนุมัติแล้วเงินจะโอนเข้าบัญชีประมาณ 7-10 วันทำการ (ไม่นับรวมวันหยุดราชการ) - เงินบำนาญชราภาพหลังได้รับอนุมัติเงินจะโอนเข้าบัญชีภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป