กิจกรรมนันทนาการทางสังคม หมายถึง

       ดังนั้นกิจกรรมนันทนาการจึงหมายถึง กิจกรรมที่ทำในเวลาว่างจากการทำภารกิจส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การกิน การนอน การพักผ่อน โดยทุกกิจกรรมต้องทำด้วยความเต็มใจโดยไม่มีการบังคับ และเกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นด้วย

กิจกรรมใดที่บุคคลเข้าร่วมทำเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยความสมัครใจและเมื่อกระทำแล้วเกิดความสุขกายสบายใจสนุกสนานร่าเริง” กล่าวได้ว่า สถาบันการนันทนาการมีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อประโยชน์ในการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในรูปของการกีฬาและการบันเทิงในสังคม


บทบาทและหน้าที่   

            บทบาทและหน้าที่ของสถาบันนันทนาการ คือการทำให้คนในสังคมผ่อนคลายความตึงเครียดเพิ่มพูนอนามัยที่ดี ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ต่างๆ รวมทั้งสนองความต้องการทางสังคม ในรูปแบบความบันเทิงต่างๆ เช่น ศิลปะ การละเล่น การกีฬา เป็นต้น โดยผลที่ตามมานอกจากความผ่อนคลาย ความเพลิดเพลินใจแล้ว ก็คือทำให้มีละคร ภาพยนตร์ งานบันเทิง มหรสพ คนตรี ฟ้อนรำ ขึ้นมาในสังคม


องค์ประกอบที่สำคัญ 

       1.   เป็นกิจกรรม 

       2.    ทำในเวลาว่าง 

       3.    โดยความสมัครใจ 

       4.     ให้ความสุขเพลิดเพลิน 

       5.      ถูกต้องตามกฎหมายและวัฒนธรรม ประเพณี


         กิจกรรมทางนันทนาการมีอะไรบ้าง

     1.   ศิลปหัตถกรรม (Arts & craf)

      2.   เกมและการละเล่น (games & folks)

      3.   เต้นรำ ฟ้อน รำพื้นเมือง (dances)

      4.   ดนตรีและร้องเพลง (music & singing)

      5.   อ่าน เขียน พูด (read write speak )

      6.   ละครและการแสดง (drama & play)

      7.   กิจกรรมทางสังคม (social activities)

      8.   กิจกรรมนอกเมือง (outbound activities)

      9.   งานอดิเรก (hobbies)

     10.   กิจกรรมศาสนา (religion activities)

     11.   กิจกรรมอาสาสมัคร(volunteer activities)

     12.   กิจกรรมพิเศษ (spacial activities)


ประโยชน์ของกิจกรรมในด้านต่างๆ

ครอบครัว

กิจกรรมนันทนาการ เป็นสื่อสำคัญที่จะช่วยสร้างบรรยากาศให้เกิดความรัก ความอบอุ่น และสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้สมาชิกภายในครอบครัวได้เป็นอย่างดีและช่วยลดปัญหาการใช้เวลาว่างที่ไม่เกิดประโยชน์ ให้กลายเป็นประโยชน์สูงสุด 


ประชากรในสังคม

กิจกรรมนันทนาการจะเป็นสื่อและส่งเสริมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา และมีคุณภาพชีวิตที่ดี 


ชุมชน

นันทนาการจะช่วยพัฒนาชุมชน ให้มีความสมบูรณ์หลายๆ ด้านด้วยกัน คือ ช่วยสร้างคนให้เป็นสมาชิกที่ดี มีเหตุผล เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน มีความขยันขันแข็ง ทั้งนี้เพราะนันทนาการนั้นจะต้องอาศัยกิจกรรมนันทนาการเข้าช่วยในการเสริมสร้างสมาชิกที่ดีให้กับชุมชน เช่น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ จะช่วยทำให้สมาชิกในสังคมรู้จักการเสียสละ และช่วยเหลือผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

ช่วยลดปัญหาอาชญากรรม การปล่อยปละละเลยกลุ่มวัยรุ่นที่มีเวลาว่างมากเกินไป จนทำให้เขาหันไปหาอบายมุข และประพฤติตัวไม่ดี จนก่ออาชญากรรมได้ในที่สุด ดังนั้น หากชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมนันทนาการให้กับกลุ่มวัยรุ่นเหล่านี้ได้ ก็จะช่วยลดปัญหาอาชญากรรมได้อีกวิธีหนึ่ง

ช่วยทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ทั้งนี้เพราะว่ากิจกรรมนันทนาการนั้น จะครอบคลุมไปจนถึงเรื่องการจัดสภาพแวดล้อมให้สวยงาม เป็นการป้องกันปัญหามลภาวะได้อีกทางหนึ่ง เช่น การจัดสวนหย่อมที่ดี หรือการจัดสวนไม้ดอกไม้ประดับ ก็จะช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติได้เป็นอย่างดี


ประเทศชาติ

กิจกรรมนันทนาการ นับว่ามีบทบาทต่อประเทศชาติเป็นอย่างมาก เพราะกิจกรรมนันทนาการนั้น จะช่วยสร้างประชากรให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ลดปัญหาค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ลดปัญหาอาชญากรรม ทำให้ประเทศชาติมีความสงบสุข


ประโยชน์ของการนันทนาการ                     

1.           การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 

2.           ทำให้พักผ่อนหย่อนใจจากการทำงานปกติ 

3.           ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต 

4.           ช่วยป้องกันอาชญากรรมและความประพฤติเกเรของเด็ก 

5.           เป็นรางวัลให้กับคนที่เข้าร่วม 

6.           ส่งเสริมให้เกิดความสุข ความพอใจ 

7.           ทำให้เกิดความปลอดภัยแก่สังคม 

8.           ช่วยเสริมความรัก ความอบอุ่น และความเข้าใจอันดี ภายในครอบครัว 

9.           ส่งเสริมการเป็นพลเมืองที่ดี ส่งเสริมให้มีการสงวนทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ


ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ

          กิจกรรมนันทนาการมีหลายประเภทเพื่อให้บุคคลเข้าร่วมทำกิจกรรมได้ตามความสนในดังนี้

1.   การฝีมือและศิลปหัตถกรรม (Arts and crafts) เป็นงานฝีมือหรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น การวาดรูป งานแกะสลัก งานปั้น การประดิษฐ์ดอกไม้ เย็บปักถักร้อย ทำ ตุ๊กตาประดิษฐ์ข้าวของเครื่องใช้ และงานศิลปะอื่น ๆ


2.    เกมส์ กีฬา และกรีฑา (Games, sport and track and field’s) กิจกรรมนันทนาการประเภทนี้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กีฬากลางแจ้ง (Outdoor Games) ได้แก่ กีฬาที่ต้องใช้สนามกลางแจ้ง เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอลและกิจกรรมกลางแจ้งอื่น ๆกีฬาในร่ม (Indoor Games) ได้แก่ กิจกรรมในโรงยิมเนเซียม หรือในห้องนันทนาการ เช่น แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส หมากรุก ฯลฯ



3.   ดนตรีและร้องเพลง (Music) เป็นกิจกรรมนันทนาการที่ให้ความบันเทิง ดนตรีเป็นภาษาสากลที่ทุกชาติทุกภาษาสามารถเข้าใจเหมือนกัน แต่ละชาติแต่ละท้องถิ่นจะมีเพลงพื้นบ้านของตนเอง และเครื่องดนตรีพื้นบ้าน เราสามารถเลือกได้ตามความสนใจไม่ว่าจะเป็นสากลหรือพื้นบ้าน


4.   ละครและภาพยนตร์ (Drama) เป็นนันทนาการประเภทให้ความรู้ความบันเทิง ความสนุกสนานเพลิดเพลิน และสะท้อนให้เห็นถึงสภาพจริงของสังคมยุคนั้น ๆ


5.   งานอดิเรก (Hobbies) ป็นกิจกรรมนันทนาการที่ช่วยให้การดำ เนินชีวิตประจำ วัน มีความสุข เพลิดเพลิน งานอดิเรกมีหลายประเภท สามารถเลือกได้ตามความสนใจเช่น

                    5.1 ประเภทสะสม               

                    5.2 การปลูกต้นไม้

                    5.3 การเลี้ยงสัตว์                

                    5.4 การถ่ายรูป


6.   กิจกรรมทางสังคม (Social activities) เป็นกิจกรรมที่กลุ่มคนในสังคมร่วมจัดขึ้น โดยมี จุดมุ่งหมายเดียวกัน เช่น การจัดเลี้ยงปีใหม่ งานเลี้ยงวันเกิด กานฉลองในโอกาสพิเศษต่าง ๆ


      7.   เต้นรำ ฟ้อนรำ (Dance) เป็นกิจกรรมที่ใช้จังหวะต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่ให้ความสนุกสนาน เช่น เต้นรำ พื้นเมือง การรำ ไทย รำ วง นาฏศิลป์ ลีลาศ


8.   กิจกรรมนอกเมือง (Outdoor activities) เป็นกิจกรรมนันทนาการนอกสถานที่ ที่ให้โอกาสมนุษย์ได้เรียนรู้ธรรมชาติ ได้พักผ่อน เช่น การอยู่ค่ายพักแรม ไปท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ


9.   ทัศนศึกษา (Field trip) เพื่อศึกษาศิลปวัฒนธรรม ตามวัดวาอาราม หรือศึกษาความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ในนิทรรศการหรืองานแสดงต่าง ๆ


      10.   กิจกรรมพูด เขียน อ่าน ฟัง (Speaking Writing and Reading) การพูด เขียน อ่านฟัง ที่นับว่าเป็นกิจกรรมนันทนาการ ได้แก่

                   10.1   การพูด ได้แก่ การคุย การโต้วาที การปาถกถา ฯ

                   10.2   การเขียน ได้แก่ การเขียนบันทึกเรื่องราวประจำ วัน เขียนบทกวี เขียนเพลง เรื่องสั้น บทความ ฯ

                   10.3   การอ่าน ได้แก่ การอ่านหนังสือพิมพ์ อ่านหนังสือทั่ว ๆ ไป ที่ให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน

                   10.4   การฟัง ได้แก่ การฟังวิทยุ ฟังอภิปราย โต้วาที ทอล์คโชว์ ฯ


       11. กิจกรรมอาสาสมัคร (Voluntary Recreation) เป็นกิจกรรมบะเพ็ญประโยชน์ที่บุคคลเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนา และกิจกรรมอาสาสมัครต่าง ๆ


การเข้าถึงนันทนาการทางเทคโนโลยี (ความก้าวหน้า)

            ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของนันทนาการ คือ การที่ไม่ต้องออกไปพบประผู้คนหรือออกนอกสถาที่เพื่อทำกิจกรรมนันทนาการ แต่เราสามารถรวมกลุ่มนันทนนาการทางสือต่างๆแทนได้ เช่น

1.   การดูหนังผ่านอินเตอร์เน็ต                

2.   การสร้างกลุ่ม Line เพื่อใช้ในทางนันทนาการ

3.   การวีดีโอคอลกันใน Line กลุ่มเพื่อการสนทนากัน






อ้างอิง

http://1.179.134.197/digitalschool/social1_1_1/social2_2/more/page07.php

https://prezi.com/zpgqmj8xzzvx/presentation/


https://sites.google.com/site/wichahnathiphlmeuxngsilthrrm/sthaban-thang-sangkhm-          elea-sthaban-khrxbkhraw/sthaban-nanthnakar