ความเหมือนระหว่างไทยกับมาเลเซีย

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 ว่า ครม.เห็นชอบร่างบันทึกการประชุมของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี ครั้งที่ 14 (The Joint Commission for Bilateral Cooperation: JC)  และการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 5 ระหว่างไทยกับมาเลเซีย (The Joint Development Strategy (JDS) for Border Areas)  ซึ่งร่างบันทึกการประชุมทั้ง 2 ฉบับนี้ จะมีการรับรองในการประชุมระหว่างวันที่ 9-10 สิงหาคม 2565 โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมที่กรุงเทพมหานคร หลังจากทั้งสองประเทศว่างเว้นการประชุมมานานกว่า 6 ปี สำหรับสาระสำคัญของร่างบันทึกการประชุมแต่ละฉบับมีดังนี้

ฉบับแรก ร่างบันทึกการประชุมของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี ครั้งที่ 14 มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความคืบหน้าความร่วมมือระหว่างไทยกับมาเลเซียอย่างรอบด้านและขับเคลื่อนความร่วมมือในทุกระดับทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี โดยดำเนินการผ่านความร่วมมือในด้านต่างๆ อาทิ

ด้านการเมืองและความมั่นคง อาทิ 1) กระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงตามแนวชายแดนมากขึ้น เตรียมพร้อมรับมือกับการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ และร่วมมือแก้ไขประเด็นบุคคลสองสัญชาติและสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย 2) ขจัดการลักลอบค้ายาเสพติด 3) ความร่วมมือด้านการทหาร

ด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว อาทิ 1) ตั้งเป้าการค้าร่วมกันที่ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2568 2) อำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนข้ามแดน 3) เชื่อมโยงของโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ในพื้นที่ภาคใต้ของไทยและพื้นที่ทางเหนือของมาเลเซีย 4) ร่วมมือด้านแรงงาน โดยไทยขอให้มาเลเซียพิจารณาการอำนวยความสะดวกให้แรงงานไทยจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปทำงานในมาเลเซีย

ด้านสังคมและวัฒนธรรม อาทิ 1) ให้มีการแข่งขัน Goodwill Games ต่อไป ซึ่งเป็นการแข่งขันกีฬาระหว่าง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย กับ 6 รัฐ ทางตอนเหนือของมาเลเซีย 2) สร้างความเข้าใจด้านวัฒนธรรม 3) รวบรวม แลกเปลี่ยนข้อมูล และพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรทางธรณีวิทยาตามแนวชายแดน นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือในสาขาใหม่ๆ อาทิ การเชื่อมโยงการชำระเงินระหว่างประเทศผ่านระบบดิจิทัลด้วย QR ระหว่างไทยกับมาเลเซีย

นางสาวรัชดากล่าวต่อว่า ฉบับที่สอง คือ ร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 5 ระหว่างไทยกับมาเลเซีย มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ และแสดงเจตนารมณ์ร่วมในการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนไทย – มาเลเซีย ซึ่งมีสาระสำคัญ อาทิ

1.จัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์คณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย - มาเลเซีย ปี ค.ศ.2022-2026 เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนบริเวณชายแดน

2.เชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานที่ไร้รอยต่อตามพื้นที่ชายแดน เช่น เร่งรัดการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ - ด่านบูกิตกายูฮิตัม บูรณาการเชื่อมต่อรถไฟทางคู่เส้นทางระหว่างเมืองอีโปห์ - เมืองปาดังเบซาร์ และเมืองปาดังเบซาร์ - อำเภอหาดใหญ่ เร่งรัดการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้าโก-ลกแห่งใหม่ ที่อำเภอตากใบ - เปิงกาลันกุโบร์ และสะพานมิตรภาพสุไหงโกลก - รันเตาปันยัง แห่งที่ 2

3.เชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย โดยในพื้นที่ฝั่งไทย ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ที่ จังหวัดสงขลา เขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดนราธิวาส ที่จะจัดตั้งใหม่

4.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความร่วมมือด้านการเงินและการธนาคาร อาทิ 1) จัดอบรมทักษะอาชีพ การสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน และการแลกเปลี่ยนนักศึกษาในพื้นที่ชายแดนไทย - มาเลเซีย 2) แลกเปลี่ยนการพัฒนาระบบการเงินอิสลาม และบทบาทของสถาบันการเงิน เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่ม MSME และนักธุรกิจท้องถิ่นในพื้นที่ชายแดน

นโยบายของไทยต่อมาเลเซีย

นโยบายของไทยต่อมาเลเซียเน้นมุ่งส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน และสร้างพื้นฐานที่เข้มแข็งให้ความสัมพันธ์ทุกระดับงอกงามอยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผล เคารพซึ่งกันและกันในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่ดี เพราะเหตุการณ์ในประเทศหนึ่งย่อมจะส่งผลเกื้อหนุนหรือกระทบต่ออีกประเทศหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย

ด้านการทูต

ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับมาเลเซียเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2500 เอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์คนปัจจุบันคือ นายปิยวัชร นิยมฤกษ์ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมีนาคม 2550 นอกจากนี้ ไทยยังมีสถานกงสุลใหญ่ในมาเลเซีย 2 แห่ง (สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง และสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู) และมีสถานกงสุลประจำเกาะลังกาวี (ซึ่งมีดาโต๊ะ ชาซรีล เอสเคย์ บิน อับดุลลาห์ กงสุลกิตติมศักดิ์เป็นหัวหน้าสำนักงาน) สำหรับหน่วยงานของส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ภายใต้สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สำนักงานแรงงาน ส่วนหน่วยงานของไทยอื่นๆ ที่ตั้งสำนักงานในมาเลเซียคือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัทการบินไทย สำหรับหน่วยงานของมาเลเซียในไทยได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซีย (เอกอัครราชทูตมาเลเซียคนปัจจุบันคือ ดาโต๊ะ ชารานี บิน อิบราฮิม) และสถานกงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา

ด้านการเมือง

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียได้พัฒนาแน่นแฟ้นจนมีความใกล้ชิดกันมาก เนื่องจากทั้งสองประเทศมีผลประโยชน์ร่วมกันหลายประการ การแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่าง ๆ ทั้งระดับพระราชวงศ์ชั้นสูง รัฐบาล และเจ้าหน้าที่ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ แต่แม้ว่าสองฝ่ายจะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกัน ก็ยังคงมีประเด็นปัญหาในความสัมพันธ์ ซึ่งต้องร่วมมือกันแก้ไข อาทิ การปักปันเขตแดนทางบก บุคคลสองสัญชาติ การก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น

นโยบายของไทยต่อมาเลเซียเน้นมุ่งส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน และสร้างพื้นฐานที่เข้มแข็งให้ความสัมพันธ์ทุกระดับงอกงามอยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผล เคารพซึ่งกันและกันในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่ดี เพราะเหตุการณ์ในประเทศหนึ่งย่อมจะส่งผลเกื้อหนุนหรือกระทบต่ออีกประเทศหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ด้านเศรษฐกิจ

ด้านการค้า ในปี 2549 การค้าไทย-มาเลเซียมีมูลค่า 14,962.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยขาดดุลการค้า 1,730.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาเลเซียเป็นคู่ค้าลำดับที่ 4 ของไทย สินค้าส่งออกของไทยที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา สินค้านำเข้าจากมาเลเซียที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ

ด้านการลงทุน ในปี 2549 นักลงทุนมาเลเซียได้รับอนุมัติจาก BOI จำนวน 35 โครงการ (จาก 40 โครงการที่ยื่นขอ) คิดเป็นมูลค่า 5,368.1 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 73.7 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ด้านการท่องเที่ยว ในปี 2549 นักท่องเที่ยวมาเลเซียมาไทย 1.59 ล้านคน และในช่วงมกราคม-มิถุนายนของปีเดียวกันมีนักท่องเที่ยวไทยไปมาเลเซีย 460,000 คน

ความร่วมมือในกรอบ JDS

เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2547 นายกรัฐมนตรีไทยและมาเลเซียได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (Thailand-Malaysia Committee on Joint Development Strategy for border areas – JDS) โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือการพัฒนาความกินดีอยู่ดีของประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา ยะลา สตูล ปัตตานี และนราธิวาส) กับ 4 รัฐภาคเหนือของมาเลเซีย (ปะลิส เกดะห์ กลันตัน และเประ เฉพาะอำเภอเปิงกาลันฮูลู) โดยมีโครงการความร่วมมือหลายสาขา อาทิ การพัฒนาโครงการพื้นฐานและการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว การเกษตร ประมง และปศุสัตว์ เป็นต้น ความร่วมมือในกรอบ JDS จะสนับสนุนความร่วมมือในกรอบการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT) ที่ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2536

สังคมและวัฒนธรรม

ด้านสังคม ไทยกับมาเลเซียมีความใกล้ชิดกันในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการไปมาหาสู่ กันในฐานะเครือญาติและเพื่อนฝูง ซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือกันทั้งในด้านการค้าและด้านอื่น ๆ ทั้งสองประเทศมีโครงการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างกัน รวมทั้งความร่วมมือด้านการบริหารจัดการสัญจรข้ามแดนเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในพื้นที่และส่งเสริมการติดต่อด้านการค้าและการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังอนุญาตให้คนถือสัญชาติของอีกฝ่ายหนึ่งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายแดนใช้บัตรผ่านแดนซึ่งออกให้โดยหน่วยงานปกครองท้องถิ่นของแต่ละฝ่ายแทนการใช้หนังสือเดินทางเพื่อผ่านด่านพรมแดนระหว่างกันได้

ด้านศาสนาและวัฒนธรรม มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำศาสนาอิสลาม ทั้งในระดับจุฬาราชมนตรีและผู้นำศาสนา ทั้งจากส่วนกลางและในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการบริหาร จัดการโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามและวิทยาลัยอิหม่าม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านกิจการศาสนาอิสลาม

ด้านวิชาการ ทั้งสองประเทศมีการประชุมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันเพื่อทบทวนและติดตามผลการดำเนินงานของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งมีสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ และ Economic Planning Unit (EPU) ของมาเลเซียเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงาน ความร่วมมือในกรอบทวิภาคีที่ฝ่ายไทยให้แก่ฝ่ายมาเลเซีย ได้แก่ การจัดหลักสูตรประจำปี (Annual International Training Course: AITC) หลักสูตรศึกษานานาชาติ (Thai International Postgraduate Programme: TIPP) ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (Technical Cooperation Among Development Country: TCDC) และยังร่วมกันจัดการฝึกอบรมให้กับประเทศที่สาม (Third Country Training Programme: TCTP) ส่วนมาเลเซียได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการให้ทุนฝึกอบรมประจำปีภายใต้โครงการ Malaysia Technical Cooperation Programme (MTCP) ในสาขาต่าง ๆ ให้แก่ประเทศไทย เพื่อให้คัดเลือกผู้ไปรับการฝึกอบรมที่มาเลเซีย โดยในช่วง พ.ศ. 2540-2548 มีชาวไทยได้รับทุนดังกล่าวรวม 165 ทุน

ด้านวิชาการ

ทั้งสองประเทศมีการประชุมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันเพื่อทบทวนและติดตามผลการดำเนินงานของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งมีสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ และ Economic Planning Unit (EPU) ของมาเลเซียเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงาน ความร่วมมือในกรอบทวิภาคีที่ฝ่ายไทยให้แก่ฝ่ายมาเลเซีย ได้แก่ การจัดหลักสูตรประจำปี (Annual International Training Course: AITC) หลักสูตรศึกษานานาชาติ (Thai International Postgraduate Programme: TIPP) ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (Technical Cooperation Among Development Country: TCDC) และยังร่วมกันจัดการฝึกอบรมให้กับประเทศที่สาม (Third Country Training Programme: TCTP) ส่วนมาเลเซียได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการให้ทุนฝึกอบรมประจำปีภายใต้โครงการ Malaysia Technical Cooperation Programme (MTCP) ในสาขาต่าง ๆ ให้แก่ประเทศไทย เพื่อให้คัดเลือกผู้ไปรับการฝึกอบรมที่มาเลเซีย

การท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มใหญ่ที่สุดที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยในปี 2546 ( เดือน มกราคม – พฤศจิกายน ) มีนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย 1,160,769 คน คิดเป็นร้อยละ 13.04 ของจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างชาติทั้งหมด ซึ่งตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นจากปี 2545 คิดเป็นร้อยละ 1.59 นอกจากนี้ จากสถิติของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พบว่าวัตถุประสงค์ของชาวมาเลเซีย ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเหล่านี้ คือ เพื่อการท่องเที่ยวเป็นกลุ่มใหญ่ (89.39%) และมีระยะเวลาพำนักอยู่ในประเทศเฉลี่ยประมาณ 3.73 วัน มีการใช้จ่ายเฉลี่ย 4,412 บาท/วัน ในขณะเดียวกัน มาเลเซียก็เป็นประเทศที่ชาวไทยเดินทางไปเป็นอันดับ 1 โดยในปี 2544 มีนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางไปมาเลเซียจำนวน 627,864 คน ( คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.17 ของ

นักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปต่างประเทศ ) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2543 ร้อยละ 16.64 ชาวไทย เหล่านี้จะพำนักอยู่ในมาเลเซียเฉลี่ยประมาณ 10.27 วัน มีการใช้จ่ายเฉลี่ย 3,615 บาท/วัน

การลงทุน

จากสถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติ ให้การส่งเสริมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนปี 2545 ในแง่ของจำนวนโครงการ มาเลเซียเป็นผู้ลงทุนอันดับที่ 6 รองจาก ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ ในส่วนของมูลค่าการลงทุน มาเลเซียเป็นผู้ลงทุนอันดับที่ 9 รองจาก ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และเยอรมัน

ในปี 2545 การลงทุนของมาเลเซียในไทยโดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านผลิตภัณฑ์โลหะเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งมากเป็นอันดับ 1 แทนที่สาขาการเกษตรและผลิตผลทางการเกษตร โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.1 ของจำนวนโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งหมดในปี 2545 รองลงมาได้แก่สาขาเกษตรและผลิตผลทางการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 30.4 อย่างไรก็ดี ในแง่ของมูลค่าการลงทุน สาขาเกษตรและผลิตผลทางการเกษตรเป็นสาขาที่มีมูลค่าการลงทุนมากที่สุดแทนที่สาขาอุตสาหกรรมบริการ โดยคิดสัดส่วนร้อยละ 43.3 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด รองลงมาได้แก่ สาขาผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง โดยคิดเป็นร้อยละ 42.5 ซึ่งเพิ่มขึ้นก่อนหน้าถึงประมาณ 3 เท่าตัว

แรงงาน

กระทรวงแรงงาน ฯ คาดว่ามีแรงงานไทยในมาเลเซียประมาณ 36,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคการเกษตรและมีภูมิลำเนาอยู่ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสามารถใช้บัตรผ่านแดน (Border pass) เข้าไปทำงานตามชายแดน ในจำนวนนี้ประมาณ 10,000 คน เดินทางเข้าไปทำงานสวนปาล์มน้ำมัน ยางพารา และไร่อ้อย โดยไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ แต่ได้รับใบอนุญาตให้ทำงานถูกต้องตามกฎหมายของมาเลเซีย ส่วนอีกประมาณ 10,000 คน ลักลอบทำงานในมาเลเซียโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายตามร้านอาหาร โรงงานขนาดเล็ก สวนผักผลไม้ งานก่อสร้าง

สำหรับแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานโดยถูกต้องตามกฎหมายมีประมาณ 6,500 คน ส่วนใหญ่แจ้งการเดินทางด้วยตนเอง และบริษัทจัดหางานจัดส่งไปทำงาน แรงงานไทยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ และเกษตรกรรม

แรงงานไทยยังคงเป็นที่นิยมในมาเลเซีย รัฐบาลรัฐและรัฐบาลกลางมาเลเซีย จึงมักผ่อนปรนให้แรงงานไทยเข้าไปทำงานในมาเลเซียได้ แม้จะโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากแรงงานไทยส่วนใหญ่ไม่ก่อปัญหาให้กับทางการมาเลเซียเหมือนแรงงานอินโดนีเซียและบังกลาเทศ แต่จากการที่แรงงานไทย ลักลอบเข้าไปทำงานในมาเลเซียอย่างไม่ถูกต้อง จึงมักถูกเอารัดเอาเปรียบเรื่องค่าจ้าง และไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงได้

เมื่อกลางปี 2546 รัฐบาลมาเลเซียได้ปรับเปลี่ยนนโยบายแรงงานต่างชาติเพื่อแก้ไขปัญหาว่างงานในประเทศ รวมทั้งเพื่อลดการการพึ่งพาแรงงานต่างชาติลง แต่นโยบายดังกล่าวไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อแรงงานไทยบริเวณชายแดนมากนัก เนื่องจากความต้องการแรงงานไทยยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม

2.ความตกลงสำคัญๆกับไทย

ทั้งสองฝ่ายได้จัดทำความตกลงในกรอบต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เพื่อส่งเสริมและขยายความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข วิทยาศาสตร์ และคมนาคม ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายได้จัดทำความตกลงในด้านต่างๆ เพิ่มเติม อาทิ ความตกลงทางการค้าทวิภาคี เมื่อ 6 ตุลาคม 2543 การจัดทำ Bilateral Payment Arrangement (BPA) หรือ Account Trade เมื่อ 27 กรกฎาคม 2544 ซึ่งขณะนี้ธนาคารกลางของมาเลเซีย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของไทย พร้อมที่จะดำเนินการอย่างสมบูรณ์ และระหว่างการเยือนเกาะลังกาวีของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ระหว่าง 27-28 กรกฎาคม 2546 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ ระหว่างกรมศุลกากรทั้งสองฝ่าย เพื่ออำนวยความสะดวก ด้านพิธีการในการเคลื่อนย้ายสินค้า และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างตลาดหลักทรัพย์ของทั้งสองฝ่ายอีกด้วย

นายกรัฐมนตรีไทยและมาเลเซียตกลงกันเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2547 ระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ให้จัดตั้งคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพี้นที่ชายแดน (Thailand-Malaysia Committee on Joint Development Strategy for border areas – JDS) โดยครอบคลุม 5 จังหวัดภาคใต้ของไทย (สตูล สงขลา ยะลา นราธิวาส และปัตตานี) และ 4 รัฐทางเหนือของมาเลเซีย ( ปะลิส เกดะห์ กลันตัน และ เประ – เฉพาะอำเภอ Pengkalan Hulu) โดยมุ่งจะพัฒนาสภาพเศรษฐกิจและสังคมของพี้นที่ดังกล่าว ความร่วมมือภายใต้คณะกรรมการนี้ครอบคลุม 9 สาขาได้แก่ 1. ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยงคมนาคม 2. ด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์รวมทั้งการศึกษา 3. ด้านการท่องเที่ยว 4. ด้านวัฒนธรรมและการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระดับประชาชนต่อประชาชน 5. ด้านการค้าและการลงทุน 6.ด้านการเกษตร รวมทั้งประมง ปศุสัตว์ และชลประทาน 7. ด้านการเงินและการคลัง โดยเฉพาะการพัฒนาธนาคารอิสลามในประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดภาคใต้ 8. ด้านพลังงาน 9. ด้านการบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น

ความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ประเทศมาเลเซีย

วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์พบว่าพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยและพื้นที่ชายแดนตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ถือเป็นสนามวิจัยทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีความเหลื่อมล้ำทับซ้อนกันระหว่างความเป็นชาติและความเป็นชาติพันธุ์ การกำหนดพรมแดนแห่งรัฐระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียในปี 2452 ทำให้กลุ่มชนเชื้อสายมลายูจำนวนมากกลายเป็นพลเมืองของประเทศไทย ขณะเดียวกันกลุ่มชนเชื้อสายไทยส่วนหนึ่งได้กลายเป็นพลเมืองของประเทศไทย ขณะเดียวกันกลุ่มชนเชื้อสายไทยส่วนหนึ่งได้กลายเป็นพลเมืองของประเทศมาเลเซีย สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนทั้งสองกลุ่ม มีความแตกต่างจากชนส่วนใหญ่ของประเทศตน และคล้ายคลึงกับชนส่วนใหญ่ของประเทศเพื่อนบ้าน ที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ ขณะที่กลุ่มชนชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยอยู่ในสังคมร่วมกับชนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างสงบสุข แต่ชาวไทยเชื้อสายมลายูต้องดำรงอยู่ในสังคมที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและความรุนแรง การสำรวจวรรณกรรมที่ทำการศึกษากลุ่มชนทั้งสองกลุ่มพบว่าแม้จะมีการศึกษาเกี่ยวกับชนทั้งสองกลุ่มในหลายประเด็นแต่การศึกษาที่มุ่งเจาะลึกถึงแก่นของการแสดงออกที่มีต่อกันระหว่างกลุ่มชนผ่านการสื่อสารอันเป็นกลไกสำคัญในการสร้างหรือลดความขัดแย้งระหว่างกันยังคงมีช่องว่างขององค์ความรู้อยู่มาก

บันทึกประวัติศาสตร์และการหยิบใช้ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชาวไทยเชื้อสายมลายูมักมีลักษณะเชิงลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชน แต่สำหรับชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยกลับเป็นไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม เมื่อพิจารณาข้อมูลที่ค้นพบกับแนวคิดการขัดเกลาทางสังคมจะพบว่าในประเทศมาเลเซียทั้งระบบการศึกษา และครอบครัวของชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยต่างช่วยกันขัดเกลาให้ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยที่เกิดในรัฐกลันตันเติบโตมาด้วยความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของตนและประวัติศาสตร์แห่งชาติมาเลเซีย เนื่องจากมีสถาบันครอบครัวสถาบันการศึกษา และสถาบันอื่นๆ ทาหน้าที่เป็น “ตัวแทน” ในการขัดเกลาทางสังคม แต่ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของชาวไทยเชื้อสายมลายูกลับเป็นประวัติศาสตร์ปกปิด สถาบันครอบครัวส่วนใหญ่ก็ไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของตนเอง ส่วนสถาบันการศึกษาก็สอนแต่เพียงประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ค่อนข้างจะไม่ลงรอยกับประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของชาวไทยเชื้อสายมลายู สิ่งนี้ทำให้สถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษาไม่สามารถทาหน้าที่ในการเป็นตัวแทนในการขัดเกลาทางสังคมให้กับเยาวชนชาวไทยเชื้อสายมลายูได้ ขณะเดียวกันตัวแทนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อมวลชนก็มักนำเสนอภาพของความขัดแย้งรุนแรงระหว่างชาติพันธุ์อยู่เสมอ

การศึกษายังพบว่าเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยมักถูกนำไปใช้ในเชิงบวก แต่เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายมลายูมักถูกนำไปใช้ในเชิงลบ ส่วนภาพลักษณ์ของชาวไทยเชื้อสายมลายูส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเชิงลบ แต่ภาพลักษณ์ของชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยมักมีลักษณะเป็นเชิงบวก

เมื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาชนทั้งสองกลุ่มมาเปรียบเทียบกันจะค้นพบความแตกต่างที่สำคัญคือมโนทัศน์ที่อธิบายพฤติกรรมการสื่อสารของชาวไทยเชื้อสายมลายูที่มีต่อชาวไทยเชื้อสายไทยได้แสดงให้เห็นถึงบรรยากาศการสื่อสารในเชิงลบเป็นส่วนใหญ่ แต่มโนทัศน์ที่อธิบายพฤติกรรมการสื่อสารของชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยที่ค้นพบกลับแสดงให้เห็นถึงบรรยากาศการสื่อสารในเชิงบวกมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาพฤติกรรมการสื่อสารในลักษณะที่เป็นการปรับตัวเข้าหากันและแยกตัวออกจากกัน เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวมักเกิดขึ้นบนพื้นฐานของความไม่ลงรอยกันในบางสิ่งบางอย่าง สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือชาวไทยเชื้อสายมลายูมีพฤติกรรมการสื่อสารที่พยายามปรับตัวเข้าหากันในเชิงรักษาสายสัมพันธ์ภายใต้สถานการณ์ไม่สงบในพื้นที่ แต่ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยกลับแสดงการปรับตัวเข้าหากันในเชิงเพิ่มความสัมพันธ์อันดีให้มีมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยแสดงการแยกตัวออกจากชาวมาเลเซียเชื้อสายมลายูเมื่อต้องมีการติดต่อสื่อสารในเรื่องศาสนา และวัฒนธรรมเท่านั้น

แต่ชาวไทยเชื้อมลายูนอกจากจะแสดงพฤติกรรมแยกตัวออกจากชาวไทยเชื้อสายไทยด้วยเหตุผลทางศาสนาและวัฒนธรรมแล้วยังมีเหตุผลเรื่องอำนาจของคู่สื่อสารและผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่อีกด้วย นอกจากนี้ยังพบว่ามีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสื่อสารของชนทั้งสองกลุ่ม แต่ในปัจจัยย่อยที่เป็นรายละเอียดของแต่ละปัจจัยหลักนั้นจะมีความแตกต่างกันอยู่พอสมควรโดยความแตกต่างดังกล่าวสามารถจำแนกได้เป็นสองประเด็นได้แก่ประเด็นหลักเกิดจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่และประเด็นรองเกิดจากอำนาจที่มีมากกว่าของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งน้ำหนักอยู่ที่ประเด็นหลังมากกว่า ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของชนทั้งสองกลุ่มมีลักษณะค่อนข้างใกล้เคียงกัน

หากนำข้อมูลข้างต้นนี้มาพิจารณาผ่านแนวคิดกระจกสะท้อนตัวตนของ Charles Horton Cooley ซึ่งเป็นรากเหง้าของแนวคิดการขัดเกลาทางสังคมจะพบว่าสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและจิตวิทยาในประเทศไทยกำลังสะท้อนภาพในเชิงลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยเชื้อสายมลายูกับชาวไทยเชื้อสายไทยและรัฐบาลไทย ขณะเดียวกันสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและจิตวิทยาในประเทศมาเลเซียก็กำลังสะท้อนภาพในเชิงบวกระหว่างชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยกับชาวมาเลเซียเชื้อสายมลายูและรัฐบาลมาเลเซีย

สภาพแวดล้อมดังกล่าวเปรียบได้กับกระจกสะท้อนตัวตนของชนทั้งสองกลุ่ม ซึ่งกระจกสะท้อนบานนี้อาจสะท้อนภาพในเชิงลบหรือบวก ตรงไปตรงมาหรือบิดเบี้ยวก็ได้ แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือกระจกสะท้อนบานนี้สะท้อนภาพที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ที่พบว่าบรรยากาศในการสื่อสารของชาวไทยเชื้อสายมลายูส่วนใหญ่มีลักษณะในเชิงลบ ขณะที่บรรยากาศการสื่อสารของชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยส่วนใหญ่มีลักษณะที่เป็นเชิงบวก

การศึกษาสภาพแวดล้อมทางสังคมของชาวไทยเชื้อสายมลายูพบว่าความเป็นมลายูของชาวไทยเชื้อสายมลายูมักไม่ค่อยได้รับการยอมรับในสังคมไทย ขณะที่ความเป็นไทยของชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยค่อนข้างได้รับการยอมรับจากสังคมมาเลเซีย

นอกจากนี้เอกลักษณ์บางอย่างของชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยก็ยังลงรอยกับเอกลักษณ์ของความเป็นชาติมาเลเซีย เช่นการเป็นภูมิบุตร แต่ความลงรอยดังกล่าวแทบไม่พบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อพิจารณาข้อมูลที่ค้นพบกับแนวคิดของ Brown จะพบว่าความเป็นชาติของทั้งประเทศไทยและประเทศมาเลเซียมีลักษณะผสมผสานกันระหว่างชาติในเชิงการเมืองและชาติในเชิงวัฒนธรรม แต่หากพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่าประเทศมาเลเซียมีลักษณะของความเป็นชาติในเชิงการเมืองมากกว่าประเทศไทย

เนื่องจากสังคมมาเลเซียยังคงยืนยันในความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ขณะเดียวกันก็มีแนวคิดการอยู่ร่วมกันอย่างแบ่งปันและร่วมกันทำงานเพื่อชาติที่เป็นจุดรวมของชาวมาเลเซีย แต่สำหรับประเทศไทยแม้รัฐบาลจะพยายามให้สิทธิแก่พลเมืองในชาติเท่าเทียมกัน แต่ประเทศไทยก็มิได้เป็นพหุสังคมอย่างแท้จริง เอกลักษณ์ของความเป็นไทยที่มีศูนย์รวมอยู่ที่ส่วนกลางของประเทศก็ยังคงต่อต้านเอกลักษณ์ทางสังคมของชาวไทยเชื้อสายมลายูอยู่ในหลายรูปแบบ ข้อมูลที่ได้ตอกย้ำแนวความคิดของ Brown ที่ว่าความเป็นชาติในเชิงการเมืองเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่าความเป็นชาติในเชิงวัฒนธรรม

ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายมลายูและชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยแสดงภาพรวมที่เหมือนกัน ได้แก่ การสื่อสารในลักษณะที่ไม่แสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจน แสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจน และการแสดงออกให้เห็นชัดเจนเป็นอย่างมาก ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยสามารถใช้เอกลักษณ์ร่วมกันกับชาวมาเลเซียเชื้อสายมลายูได้ในหลายลักษณะ แต่ชาวไทยเชื้อสายมลายูแทบไม่มีการใช้เอกลักษณ์ใดๆ ในการสร้างความเป็นพวกพ้องเดียวกันกับชาวไทยเชื้อสายไทยเลย

ดังนั้นควรมีการค้นหาเอกลักษณ์ร่วมของคนในพื้นที่ (เช่นความเป็นคนพื้นที่ดั้งเดิมเหมือนกัน) และเน้นย้ำเอกลักษณ์ดังกล่าวให้เป็นเสมือนอุดมการณ์ที่สามารถทาให้ชนทุกกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่มีความรู้สึกร่วมกันว่าเป็นพวกพ้องเดียวกัน (โดยจะต้องเป็นอุดมการณ์ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของชาติพันธุ์) อุดมการณ์ดังกล่าวจะผลักดันให้ชนทุกกลุ่มมีความต้องการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ของตน ข้อค้นพบจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าขณะที่ความเป็นไทยของชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยค่อนข้างได้รับการยอมรับในสังคมมาเลเซีย แต่ความเป็นมลายูของชาวไทยเชื้อสายมลายูยังไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร

ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้มีการยอมรับความเป็น “คนมลายู” ของชาวไทยเชื้อสายมลายูในพื้นที่ ทั้งที่เป็นการยอมรับในลักษณะที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ อาทิ การส่งเสริมให้มีการยอมรับการใช้ภาษามลายูถิ่นในพื้นที่มากขึ้น ส่งเสริมเรื่องความเข้าใจในวิถีชีวิตแบบอิสลาม การแสดงการยอมรับดังกล่าวจะเป็นกุญแจสำคัญนำไปสู่บรรยากาศแห่งการการสื่อสารที่ดีระหว่างกัน การศึกษาพบว่าในประเทศมาเลเซียมีการหยิบใช้ความแตกต่างทางด้านเอกลักษณ์ของกลุ่มชนในเชิงบวก ขณะที่ในประเทศไทยการหยิบใช้เอกลักษณ์ในลักษณะดังกล่าวแทบไม่มีให้เห็น ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้คนในพื้นที่และคนในส่วนอื่นของประเทศไทยมองความแตกต่างทางวัฒนธรรมและสังคมของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ในลักษณะที่เป็นจุดเด่นมากกว่าจุดด้อย โดยมุ่งไปที่การชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างสามารถนามาซึ่งความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันได้

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าบริบทรอบข้างในด้านความแตกต่างทางวัฒนธรรมและศาสนาของชาวไทยเชื้อสายมลายูและชาวไทยเชื้อสายไทยแม้จะทาให้ชนทั้งสองกลุ่มต้องแยกตัวออกจากกันบ้างแต่ก็มิได้ส่งผลกระทบเทียบเท่าการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ไม่สงบและการใช้อำนาจที่มีมากกว่าของเจ้าหน้าที่ของรัฐในทางที่ผิด ดังนั้นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นก็คือการยุติเหตุการณ์ไม่สงบ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่และการทำให้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน ส่วนผลกระทบที่เกิดจากอำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นก็ควรแก้ไข โดยการสร้างความยุติธรรมที่แท้จริงให้เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยการบังคับใช้กฎหมายทุกรูปแบบให้มีความยุติธรรมต่อชนทุกกลุ่มในพื้นที่ ความยุติธรรมดังกล่าวจะทำให้อำนาจที่อยู่ในมือของเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ถูกใช้ไปในทางที่ผิด ซึ่งนำไปสู่บรรยากาศแห่งการสื่อสารที่ดีระหว่างกันในที่สุด บทบาทของมาเลเซียในฐานะประธานองค์การการประชุมโลกอิสลามและมุมมองที่มีต่อความไม่สงบในภาคใต้ของไทย

ในฐานะที่เคยเป็นประธาน OIC มาเลเซียมีความอ่อนไหวในความจำเป็นที่จะปกป้องผลประโยชน์ของชาวมุสลิมทั่วโลก ในความหมายนี้ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่รัฐบาลมาเลเซียจะมีความสนใจต่อการดูแลชาวมุสลิมกลุ่มน้อย โดยรัฐบาลที่มิใช่มุสลิม อย่างไรก็ตามรัฐบาลมาเลเซียก็ไม่มีนโยบายต่อชาวมุสลิมเชื้อสายมาเลย์เป็นพิเศษ มาเลเซียจะมีปฏิกิริยาต่อปัญหาใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งเข้าไปเกี่ยวข้องกับชาวมาเลย์-มุสลิมเป็นเรื่องๆ ไป การขานรับของมาเลเซียจะถูกถือเป็นมาตรวัดในการพิจารณา ทั้งในความอ่อนไหวของไทย ตลอดจนข้อเรียกร้องทางการเมืองในมาเลเซีย ในฐานะประธานของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement) หรือNAM ชื่อเสียงระหว่างประเทศของมาเลเซียได้รับการยกระดับขึ้นมา แต่บางที สิ่งที่สำคัญกว่าอื่นใดก็คือนโยบายต่างประเทศของมาเลเซียที่ได้ย้ำถึงความส ำคัญที่มีต่อหลักการที่มีความสำคัญเป็นพิเศษในเรื่องการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความสัมพันธ์ในภูมิภาค” ครั้งหนึ่งรัฐสภาของมาเลเซียได้มีมติประณามการใช้กำลังอย่างไม่เหมาะสมโดยกองกำลังรักษาความสงบของไทยในเหตุการณ์ตากใบ (Tak Bai incident) แต่ที่สำคัญแรงผลักดันในเรื่องนี้นั้นมาจากข้อพิจารณาในด้านมนุษยธรรมมากกว่าแรงผลักดันทางการเมือง สำหรับชาวมาเลเซียทุกเชื้อชาติส่วนใหญ่นั้นประเทศไทยถูกพิจารณาอยู่ตลอดเวลาว่าเป็นประเทศที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุด สะดวกสบายและเป็นประเทศที่เป็นมิตรที่จะเยี่ยมเยือนไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของธุรกิจหรือความเพลิดเพลิน

ด้วยเหตุผลนี้คนมาเลเซียจานวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เดินทางไปภาคใต้อยู่เสมอจึงต้องการเห็นการแก้ไขวิกฤติการณ์เสียแต่เนิ่นๆ คนทุกอาชีพในมาเลเซียมีความกังวลหากวิกฤติการณ์ขยายตัวออกไปก็จะมีอันตรายอย่างแท้จริง ความขัดแย้งก็จะลามมาถึงมาเลเซีย ซึ่งไม่อาจจินตนาการถึงสิ่งที่จะตามมาได้ อย่างน้อยที่สุดความเงียบและสงบของมาเลเซียก็จะถูกทาลายลงไป

การให้ที่ลี้ภัยทางการเมืองแก่ชาวมุสลิมเชื้อสายมาเลย์จากภาคใต้ของไทยในปี 2548 โดยรัฐบาลมาเลเซีย ถูกมองว่าเป็นดั่งหลักฐานความพยายามของมาเลเซียที่จะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของไทย ทรรศนะนี้รัฐบาลมาเลเซียไม่เห็นด้วย โดยมาเลเซียมองว่าเรื่องของผู้ลี้ภัยเป็นปัญหาด้านมนุษยธรรมแท้ๆ บางทีอาจจะเป็นเรื่องความอ่อนไหวทางการเมืองที่ว่าทาไมรัฐบาลมาเลเซียจึงไม่มีทางเลือกนอกไปจากการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ลี้ภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อหลีกหนีพรรคฝ่ายตรงข้ามคือพรรคอิสลาม (Pan Islamic Party) ที่จะทาให้ประเด็นนี้เป็นการเมือง แต่ประเด็นเรื่องมนุษยธรรมจะมีมากกว่า นี่มิได้เป็นครั้งแรกที่มาเลเซียให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยมุสลิมที่หนีมาจากความรุนแรงทางการเมืองที่บ้าน แต่แน่นอนมันย่อมมิใช่การสมรู้ร่วมคิดที่มาเลเซียประโคมขึ้นมา เมื่อมองย้อนกลับไปมาเลเซียค่อนข้างจะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและมีชีวิตชีวากับประเทศไทย ด้วยเหตุผลที่ได้อธิบายมาแล้ว รวมทั้งช่วงเวลาที่มีความตึงเครียด โดยรวมแล้วความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเต็มไปด้วยไมตรีจิตและมิตรภาพ เช่นกันมาเลเซียและประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ของความสำเร็จในความร่วมมือด้านความมั่นคงมากกว่าสี่สิบปี ซึ่งในที่สุดได้นาไปสู่การยุบพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา ความสัมพันธ์ไทย-มาเลเซีย (ปี 2549-2550) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานี้ (2547-2550) เป็นช่วงที่รัฐบาลไทยและมาเลเซียฟื้นฟูความเข้าใจและความร่วมมือได้กว้างขวางกว่าเดิม รัฐบาลทั้งสองต่างมุ่งมั่นที่จะรักษาความสงบสุขจากภัยคุกคามของขบวนการแบ่งแยกดินแดน อาชญากรรมข้ามชาติ และกลุ่มผู้ก่อการร้ายสากล ด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีและวิถีของ ASEAN มาเลเซียได้เสนอที่จะให้การฝึกอบรมด้านอาชีวศึกษาให้แก่เยาวชนไทยเชื้อสายมาเลย์จากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในทานองเดียวกัน รัฐบาลไทยได้แสดงความสนใจที่จะให้มาเลเซียช่วยเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยระหว่างรัฐบาลไทยกับผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พัฒนาการเช่นนี้ได้ช่วยเพิ่มความก้าวหน้าของความร่วมมือทั้งในกรอบความมั่นคงและในกรอบเศรษฐกิจของ JDA จิตวิญญาณแห่งความเป็นพันธมิตรและมิตรภาพเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างประเทศเพื่อนบ้านดังที่รัฐบาลไทยและมาเลเซียแสดงต่อกัน เป็นหนึ่งในลักษณะที่สำคัญที่สุดในความสัมพันธ์ไทย-มาเลเซียตลอด 50 ปีที่ผ่านมา และอาจจะนานกว่านั้น

แม้ความมั่นคงจะเป็นประเด็นหลักในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและมาเลเซีย แต่ก็มีความร่วมมือในด้านอื่นๆ ด้วย เช่นความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และความร่วมมือในประเด็นต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข และการศึกษา อย่างไรก็ดี ความร่วมมือประเภทหลังอาจดูสำคัญน้อยกว่าเรื่องความมั่นคง ข้อห่วงกังวลในลาดับแรกของรัฐบาลไทยและมาเลเซียตลอด 50 ปี ที่ผ่านมาและต่อไปอีกหลายสิบปีจะยังเป็นการรักษาความมั่นคงทางภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งทางบกและทางทะเล ต่อไป ประเทศไทยกับมาเลเซียมีภารกิจร่วมกันในการนาเอาความสงบสุขกลับมาสู่ภาคใต้ตอนล่างของไทย ประเทศมาเลเซียมี Taskforce 2001 ที่นาเอาคนหนุ่มสาวจากประเทศไทยไปฝึกฝนที่เรียกกันว่า Vocational training ทั้งสองประเทศมีหน่วยงานที่พร้อมจะทางานร่วมกันในนามรัฐบาล โครงการดังกล่าวเริ่มมาตั้งแต่สมัยของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร มาถึงรัฐบาลปัจจุบัน (รัฐบาลภายใต้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) รวมทั้งการนาเอานักการศาสนาไปมาเลเซียเพื่อเข้าฝึกอบรมการสอนอิสลามตามแนวทางที่ถูกต้อง จากการศึกษาและวิจัยอาจสรุปได้ว่าที่ผ่านมาแม้ว่าความขัดแย้งในสามจังหวัดภาคใต้ของไทยจะดารงอยู่อย่างยาวนาน แต่ก็มีช่วงเวลาของความสงบอยู่เป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามนับจากปี2547 ซึ่งมีการปล้นปืนที่ค่ายกองพันพัฒนาตาบลปิเล็ง อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เป็นต้นไปก็ดูเหมือนว่าสามจังหวัดภาคใต้ของไทยจะไม่เคยมีความสงบอย่างต่อเนื่องอีกเลย โดยเฉพาะเมื่อความรุนแรงเกิดขึ้นอีกครั้งที่มัสญิดกรือเซะ เมื่อวันที่ 28 เมษายน ปี 2547 ซึ่งทาให้มีผู้เสียชีวิต 32 คนและเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 3 นาย ตามมาด้วยเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงที่อำเภอตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ปีเดียวกันที่ทาให้มีผู้เสียชีวิตในเบื้องต้น 6 คน และเสียชีวิตระหว่างการขนย้ำย โดยรถยนต์ทหารอีก 78 คน ทั้งเหตุการณ์ที่มัสญิดกรือเซะและที่อำเภอตากใบส่งผลกระทบทางจิตใจต่อชาวมุสลิม ทั้งภายในและนอกประเทศ โดยเฉพาะที่อำเภอตากใบนั้นชาวมุสลิมส่วนใหญ่เชื่อว่าผู้ประท้วงทาการประท้วงด้วยความบริสุทธิ์ใจ ความขัดแย้งอื่นๆ ที่ตามหลังสองเหตุการณ์ดังกล่าวยังคงดารงอยู่อย่างต่อเนื่อง และที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-มาเลย์และต่อชาวมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโลกมุสลิมอย่างมาก ได้แก่ การอพยพของชาวมุสลิม 131 คนจากจังหวัดนราธิวาส ไปยังมาเลเซียด้วยข้ออ้างที่ว่าในบ้านเกิดของพวกเขาไม่มีความปลอดภัย หลังจากอิมามที่ได้รับความเคารพในหมู่บ้านของพวกเขา ถูกอ้างว่าถูกสังหารโดยคนในเครื่องแบบ ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนจานวนมากที่มองว่าประเทศไทยเคยเป็นดินแดนที่มีผู้ลี้ภัยมาอยู่อาศัย มิใช่ดินแดนที่ผู้คนลี้ภัยไปอยู่ที่อื่น

แม้ว่าเหตุการณ์ใหญ่ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นจะได้รับการประท้วงจากมาเลเซีย แต่ที่ชาวมาเลย์และประเทศอื่นๆ รวมตัวประท้วงมากที่สุดได้แก่เหตุการณ์ที่อำเภอตากใบ ซึ่งมีการประท้วงที่กงสุลไทยที่อยู่

ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐกลันตัน และกงสุลไทยในกรุงปีนังอีกด้วย และนาไปสู่สงครามคาพูดจากทั้งสองฝ่ายอยู่เป็นเวลานานงานวิจัยชิ้นนี้จึงมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การสารวจทัศนคติ การรับรู้ และความเข้าใจของเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียที่มีต่อความขัดแย้งในภาคใต้ตอนล่างของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเหตุการณ์ถล่มมัสญิดกรือเซะและการปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงที่อำเภอตากใบ

ผลจากการศึกษาวิจัยตลอดจนการสัมภาษณ์แกนนาของมาเลเซียทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล รวมถึงนักวิชาการและประชาชนทั่วไป พบว่าชาวมาเลเซียส่วนใหญ่ต้องการให้ภาคใต้มีความสงบร่มเย็นและเป็นเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดต่อไป การวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ ที่มาเลเซียมีต่อสถานการณ์และชะตากรรมของชาวมุสลิมเชื้อสายมาเลย์ในสามจังหวัดภาคใต้ของไทย ก็เนื่องจากความเป็นที่อุมมะฮ์ (ประชาชาติมุสลิม) มากกว่าความเป็นศัตรู ชาวมุสลิมจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และองค์การการประชุมอิสลาม (OIC) ต่างก็มีความคิดเห็นไปในทานองเดียวกันว่าเหตุการณ์ในสามจังหวัดภาคใต้เป็นเรื่องของการแยกดินแดน ความใกล้ชิดกับวัฒนธรรมมาเลย์มากกว่าจะเป็นเรื่องของศาสนา ประเทศมาเลเซียและทุกองค์กรมุสลิมต้องการให้ประเทศไทยแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธีมากกว่าการใช้วิธีอื่นใด

ความตกลงที่สำคัญกับไทย
1. ความตกลงว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกรุงสยาม-อังกฤษ (ลงนามเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2454)
2. ความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกของการเดินรถไฟ (ลงนามเมื่อปี 2465)
3. ความตกลงว่าด้วยการจราจรข้ามแดน (ลงนามเมื่อปี 2483)
4. ความตกลงว่าด้วยการคมนาคมและขนส่งทางบก (ลงนามเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2497)
5. ความตกลงว่าด้วยการเดินรถไฟร่วม (ลงนามเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2497)
6. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ (ลงนามเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2505)
7. ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ (ลงนามเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2509)
8. ความตกลงว่าด้วยการศุลกากร (ลงนามเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2511)
9. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตรา (ลงนามเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2513)
10. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการประมง (ลงนามเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2514)
11. ความตกลงว่าด้วยการสำรวจและปักปันเขตแดน (ลงนามเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2515)
12. ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรร่วมมาเลเซีย - ไทย (ลงนามเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2522)
13. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการเกษตร (ลงนามเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2522)
14. ความตกลงว่าด้วยการแบ่งเขตทางทะเล / ทะเลอาณาเขต (ลงนามเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2522)
15. ความตกลงว่าด้วยการแบ่งเขตไหล่ทวีป (ลงนามเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2522)
16. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการขนส่งสินค้าเน่าเสียง่ายผ่านแดนมาเลเซียไปยังสิงคโปร์ (ลงนามเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2522)
17. ความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าไป-กลับระหว่างฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกของมาเลเซียผ่านแดนไทยโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย(ลงนามเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2523)
18. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน (ลงนามเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2525)
19. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาลุ่มน้ำโก-ลก (ลงนามเมื่อเดือนพฤษภาคม 2526)
20. ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมไทย-มาเลเซีย (ลงนามเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2530)
21. ความตกลงว่าด้วยการเดินเรือข้ามฟากบริเวณปากแม่น้ำโก-ลก (ลงนามเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2533)
22. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา (ลงนามเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2536)
23. ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (ลงนามเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2538)
24. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านยางพารา (ลงนามเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2542)
25. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือชายแดน (ลงนามเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2543)
26. ความตกลงว่าด้วยการค้าทวิภาคี (ลงนามเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2543)
27. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดทำ Bilateral Payment Arrangement (Account Trade) (ลงนามเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2544)
28. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ 3 ฝ่าย ด้านยางพารา อินโดนีเซีย - มาเลเซีย – ไทย (ลงนามเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2545)
29. บันทึกความเข้าใจเพื่ออำนวยความสะดวกด้านพิธีการในการเคลื่อนย้ายสินค้า (ลงนามเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2546)
30. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างตลาดหลักทรัพย์ไทยกับมาเลเซีย (ลงนามเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2546)
31. ความตกลงโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกแห่งที่ 2 เชื่อมบ้านบูเก๊ะตา
อ.แว้ง จ.นราธิวาส กับบ้านบูกิตบุหงา รัฐกลันตัน (ลงนามเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2547)
32. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษา (ลงนามเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2550)

การเยือนของผู้นำระดับสูงฝ่ายไทย
พระราชวงศ์

- เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2544 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเยือนมาเลเซีย
- เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จฯ เยือนรัฐกลันตันอย่างเป็นทางการ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของสุลต่านแห่งรัฐกลันตัน เพื่อทรงร่วมเสวยพระกระยาหารค่ำในวโรกาสที่สุลต่านแห่งรัฐกลันตันทรงครองราชย์ครบ 25 ปี
- เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จฯ เยือน
รัฐกลันตันเพื่อทรงร่วมงานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำในวโรกาสพิธีอภิเษกสมรสของมกุฏราชกุมารรัฐกลันตันกับ น.ส.กังสดาล พิพิธภักดี (สตรีไทยที่มีภูมิลำเนาที่ จ.ปัตตานี)
- เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม - 1 กันยายน 2550 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ เพื่อทรงร่วมพิธีฉลอง 50 ปี การได้รับเอกราชของมาเลเซียรัฐบาล
- เมื่อวันที่ 24-25 เมษายน 2544 นายกรัฐมนตรีเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ
- เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2544 นายกรัฐมนตรีเยือนมาเลเซียเพื่อร่วมพิธีเปิด SEA GAMES
- เมื่อวันที่ 8-9 มีนาคม 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ
- เมื่อวันที่ 27 -28 กรกฎาคม 2546 นายกรัฐมนตรีเยือนเกาะลังกาวีเพื่อประชุมหารือประจำปี (Annual Consultation) ครั้งที่ 1
- เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนมาเลเซียในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี
- เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2547 นายกรัฐมนตรีเยือนมาเลเซีย
- เมื่อวันที่ 9-12 มิถุนายน 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ
- เมื่อวันที่ 9-10 สิงหาคม 2548 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) เดินทางเยือนมาเลเซียในฐานะผู้แทนพิเศษ (Special Envoy)ของนายกรัฐมนตรีเพื่อหารือเรื่องความร่วมมือด้านความมั่นคง
- เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2548 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) เยือนมาเลเซียในฐานะผู้แทนพิเศษ (Special Envoy) ของนายกรัฐมนตรี เพื่อเข้าร่วมพิธีศพภริยานายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
- เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2548 รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอกชิดชัย วรรณสถิตย์) เดินทางเยือนมาเลเซีย
- เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2549 นายกรัฐมนตรี (พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์) เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ
- เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2550 นายกรัฐมนตรี (พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์) เข้าร่วมการประชุม LANGKAWI International Dialogue ครั้งที่ 8ณ เกาะลังกาวี
- เมื่อวันที่ 20-22 สิงหาคม 2550 นายกรัฐมนตรี (พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์) เยือนอย่างเป็นทางการ และเข้าร่วมการประชุมหารือประจำปี (Annual Consultation) ครั้งที่ 3 ณ เกาะปีนัง
- เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม - 1 กันยายน 2550 นายกรัฐมนตรี (พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์) เข้าร่วมพิธีฉลอง 50 ปี การได้รับเอกราชของมาเลเซีย

นโยบายของมาเลเซียที่มีต่อประเทศไทย

ประเด็นการขอมีสถานภาพเป็นภูมิบุตร หรือบุมีปุตราถือว่าสำคัญที่สุด ตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียถือว่า บุคคลที่สืบเชื้อสายเป็นชาวมลายูหรือสืบเชื้อสายเป็นชาวซาบาห์หรือชาวซาราวักในมาเลเซียเท่านั้นที่เป็นบุมีปุตรา นอกจากนั้นจะไม่ใช่บุมีปุตรา ฉะนั้น จะมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นบุมีปุตราเพียงสองกลุ่มเท่านั้นคือ กลุ่มชาติพันธุ์มลายูและกลุ่มชาติพันธุ์กาดาซันจากรัฐซาราวักและซาบาห์ ส่วนลูกหลานที่เป็นบุมีปตราก็จะต้องมีบิดาหรือมารดาที่สืบเชื้อสายมลายูหรือชาวซาบาห์หรือซาราวักเท่านั้น ผู้ที่ถือสิทธิเป็นบุมีปุตราจะถือว่าเป็นพลเมืองชั้นหนึ่ง จะมีสิทธิพิเศษมากมายนับว่าเหนือกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ในมาเลเซีย ทุกกลุ่มชาติพันธุ์จึงต้องดิ้นรนเพื่อให้ได้สถานภาพบุมีปุตรา อย่างไรก็ตาม จากการต่อสู้ทางสายกลางของชาวพุทธเชื้อสายไทยนั้น นับว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะว่าชาวพุทธเชื้อสายไทยถึงแม้ว่า แรกเริ่มไม่มีสถานภาพเป็นบุมีปุตรา แต่สิทธิต่างๆ หมายถึง สิทธิด้านการเมืองเศรษฐกิจและสังคม จะเหมือนกับบุมีปุตราที่เป็นชาวมลายูทุกประการ ปัจจุบันนี้ชาวพุทธเชื้อสายไทยมีสถานภาพเป็นภูมิบุตรแล้ว เมื่อประมาณ กลางปี ค.ศ. ๒๐๑๓ ซึ่งถือว่าเป็นสถานภาพที่สูงกว่าชาวจีนและชาวอินเดียในมาเลเซีย

การขอมีสิทธิเป็นสมาชิกของพรรคอัมโนประเด็นนี้ถือว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพราะว่าประเทศมาเลเซียนั้น พรรคอัมโน ซึ่งเป็นพรรคของชาวมลายูเป็นพรรคการเมืองที่ผูกขาดในการบริหารปกครองประเทศ ผู้ที่เป็นสมาชิกของพรรคอัมโนจะได้รับผลประโยชน์และสิทธิต่างๆ มากกว่าพรรคอื่นๆ สำหรับชาวพุทธเชื้อสายไทยนั้น นับตั้งแต่มีการต่อสู้การเรียกร้องสิทธิทางการเมือง คุณเจริญ อินทร์ชาติ คุณซิวชุน เอมอัมไพ ซึ่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติล้วนแต่เป็นสมาชิกของพรรคอัมโนทั้งสิ้น

ที่แตกต่างกันในการดำเนินนโยบายที่มีต่อชนกลุ่มน้อยชาวพุทธเชื้อสายไทยนั้น จะเห็นว่ารัฐบาลมาเลเซียตอบสนองด้วยการให้มีการจัดตั้งองค์กรกลุ่มชาติพันธ์ชาวพุทธเชื้อสายไทยที่ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเกิดสมาคมสยามมาเลเซียและสมาคมไทยกลันตันที่ทำการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิผลประโยชน์ของกลุ่มชาติพันธ์ รัฐบาลมาเลเซียมีการให้คำมั่นแก่ชาวพุทธเชื้อสายไทยถึงการสงวนสิทธิในตำแหน่งสภานิติบัญญัติไว้สำหรับชาวพุทธเชื้อสายไทยหนึ่งที่นั่งตามประชากรจำนวนประมาณ 60,000 คน และผู้ที่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติคนแรกที่เป็นชาวพุทธเชื้อสายไทยในปีค.ศ. 1995(พ.ศ. 2538) ก็คือ ประธานของสมาคมสยามมาเลเซีย ชื่อว่าคุณเจริญ อินทร์ชาติ ปัจจุบันนี้ ผู้ที่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติต่อจากคุณเจริญ อินทร์ชาติ โดยเริ่มจากปีค.ศ. 2002(พ.ศ. 2545) คือ คุณซิวชุน เอมอัมไพ จนท่านเป็นสุภาพสตรีชาวพุทธเชื้อสายไทย ซึ่งในอดีตท่านเคยเป็นรองประธานของสมาคมสยามมาเลเซียและที่ปรึกษาของมุขมนตรีแห่งรัฐปะลิสนั้นเอง

ความร่วมมือในกรอบ JDS
เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2547 นายกรัฐมนตรีไทยและมาเลเซียได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (Thailand-Malaysia Committee on Joint Development Strategy for border areas – JDS) โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือการพัฒนาความกินดีอยู่ดีของประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา ยะลา สตูล ปัตตานี และนราธิวาส) กับ 4 รัฐภาคเหนือของมาเลเซีย (ปะลิส เกดะห์ กลันตัน และเประ เฉพาะอำเภอเปิงกาลันฮูลู) โดยมีโครงการความร่วมมือหลายสาขา อาทิ การพัฒนาโครงการพื้นฐานและการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว การเกษตร ประมง และปศุสัตว์ เป็นต้น ความร่วมมือในกรอบ JDS จะสนับสนุนความร่วมมือในกรอบการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย

การเยือนฝ่ายมาเลเซีย
พระราชวงศ์
- เมื่อวันที่ 27-30 มีนาคม 2543 สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
- เมื่อวันที่ 11-14 มิถุนายน 2549 สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซียเสด็จฯ เยือนไทยเพื่อทรงร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

รัฐบาล
- เมื่อวันที่ 5-7 กรกฎาคม 2545 นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย (ดาโต๊ะ ซรี ดร. มหาธีร์ บิน โมฮัมหมัด) เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ
- เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2545 ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย – มาเลเซีย จังหวัดสงขลา
- เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2547 ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเยือนไทยอย่างเป็นทางการในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง
- เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 ดาโต๊ะ ซรี นาจิบ ราซัค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซียเยือนไทย
- เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2547 ดาโต๊ะ ซรี ไซด์ ฮามิด อัลบาร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การต่างประเทศมาเลเซียเยือนไทยเพื่อเป็นประธานร่วมในการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (Thailand-Malaysia Committee on Joint Development Strategy for border areas – JDS) ครั้งที่ 1 ที่กระทรวงการต่างประเทศ
- เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2547 นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเยือนไทยเพื่อร่วมการประชุมหารือประจำปี (Annual Consultation) กับนายกรัฐมนตรี ที่จังหวัดภูเก็ต และเป็นประธานร่วมในพิธีวางศิลาฤกษ์ โครงการก่อสร้างสะพานดังกล่าวทั้งในฝั่งไทยและฝั่งมาเลเซียเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2547
- เมื่อวันที่ 28-29 มกราคม 2548 ดาโต๊ะ ซรี ดร. จามาลุดดีน จาร์จิส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาเลเซียเยือนไทยณ จังหวัดภูเก็ต เพื่อร่วมการประชุมว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเกี่ยวกับการจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีคลื่นยักษ์
- เมื่อวันที่ 17-19 มีนาคม 2548 ดาโต๊ะ ซรี ราฟีดาห์ อาซิซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมมาเลเซียเยือนไทยเพื่อกระชับความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุน
- เมื่อวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2548 ตุน ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียและภริยา เยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาล
- เมื่อวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2549 ดาโต๊ะ ซรี นาจิบ ราซัค รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซียเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-มาเลเซียที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศเป็นประธาน
- เมื่อวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2550 ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเยือนไทยอย่างเป็นทางการ
- เมื่อวันที่ 28-29 มิถุนายน 2550 ดาโต๊ะ ซรี ไซด์ ฮามิด อัลบาร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียเยือนไทยเพื่อเป็นประธานร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ 10 จัดที่กระทรวงการต่างประเทศ

สรุป

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียนั้นมีมาตั้งแต่ช้านาน ประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียนั้นเป็นประเทศที่ อยู่ติดกันกับประเทศไทยและเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์มาตั้งนาน ทั้ง สองประเทศมีความสัมพันกันหลายๆ ด้าน เช่น การศึกา การเมื่อง แรงงานการลงทุน และอีกหลายๆ ด้านที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่า อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยกับประเทศาเลเวียำนั้นถือ ได้ว่าเป็นบ้านพี่เมื่องน้อง และนโยบายของทั้ง สองประเทศนั้น ก็มีตามที่กล่าวมา

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียเป็นลักษณะใด

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียมีพลวัตร รวมทั้งตั้งอยู่บนผลประโยชน์ร่วมกัน โดยทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงการมี “จุดมุ่งหมาย” ร่วมกัน โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีเพื่อสนับสนุนความเชื่อมโยงในอาเซียนทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางและความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน

ไทยกับมาเลเซียมีความใกล้ชิดกันในระดับใด

ด้านสังคม ไทยกับมาเลเซียมีความใกล้ชิดกันในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการไปมาหาสู่ กันในฐานะเครือญาติและเพื่อนฝูง ซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือกันทั้งในด้านการค้าและด้านอื่น ๆ ทั้งสองประเทศมีโครงการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างกัน รวมทั้งความร่วมมือด้านการบริหารจัดการสัญจรข้ามแดนเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ...

การปกครองของไทยมีความคล้ายคลึงกับประเทศใดบ้าง

ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเช่นเดียวกับประเทศกัมพูชา และประเทศมาเลเซีย ด้านการเมืองการปกครอง แต่พระราชาธิบดีของแต่ละรัฐในมาเลเซียผลัดเปลี่ยนกันเป็นประมุข ของประเทศ นอกจากยังมีการเมืองการปกครองที่แตกต่างจากเวียดนาม และลาวซึ่งมีการปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมที่มีประธานาธิบดีเป็น

การปกครองของไทยกับประเทศมาเลเซียมีสิ่งใดแตกต่างกัน

แต่การปกครองส่วนท้องถิ่นของมาเลเซียมีหลักการแตกต่างไปจากไทย กล่าวคือ รัฐจำนวน 13 รัฐ เป็นผู้มีอำนาจในการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนไทย มีกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ