ความ สํา คั ญ ของเวลาและยุค สมัย ทางประวัติศาสตร์

เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
ผลการเรียนรู้ รู้และเข้าใจวิธีการแบ่งยุคและสามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของไทย และภูมิภาคที่สำคัญของโลกและสามารถเปรียบเทียบเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทยและสากลถึงความสัมพันธ์ในความต่อเนื่องของเวลา
การศึกษาประวัติศาสตร์ทำให้มนุษย์เรามีความรู้ถึงเรื่องต่าง ๆ ของพฤติกรรมของมวลมนุษย์ในอดีต ตลอดจนเรื่องของความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และเรื่องราวอื่น ๆ อีกมากมาย อีกทั้งยังทำให้มนุษย์ในยุคสมัยต่อมามีความเข้าใจถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันอันต่อเนื่องและเกี่ยวพันมาจากอดีต จนสามารถใช้สติปัญญาความรู้และเหตุผลจากการศึกษาประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์วิจารณ์ เหตุการณ์ในอนาคตอันมีความสำคัญต่อ มวลมนุษย์  ความสำคัญ 1. ช่วยให้มนุษย์ได้รู้ได้เข้าใจถึงพฤติกรรมของมนุษย์
2. ช่วยให้มนุษย์ได้เข้าใจตัวเองดีขึ้น
3. เป็นบทเรียนอันดีแก่สถานการณ์ในปัจจุบัน
สาขาของวิชาประวัติศาสตร์
เป็นวิชาที่มีเนื้อหาและขอบเขตกว้างขวางมาก จึงมีความเกี่ยวข้องกับวิชาต่าง ๆ ดังนี้
1. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ว่าด้วยความเป็นมาในทางเศรษฐกิจในอดีต
2. ประวัติศาสตร์การเมือง ว่าด้วยการปกครองและการเมืองในอดีต
3. ประวัติศาสตร์สังคม ว่าด้วยสภาพความเป็นมาทางสังคมในอดีต
เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ไม่อาจสร้างขึ้นเองอย่างเลือนลอยได้ตามความพอใจของผู้หนึ่งผู้ใด แต่ประวัติ
ศาสตร์เป็นผู้ทำหน้าที่สืบสวนค้นคว้าข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทีเกิดขึ้นในอดีตแล้สนำมาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการบันทึกเรื่องราว     ทางประวัติศาสตร์ การแบ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตามแหล่งข้อมูล
1. หลักฐานชั้นต้น (Primary source)
สิ่งที่บันทึก, สร้างหรือจัดทำขึ้นโดยผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง เช่น จารึก, เอกสารทางวิชาการ, จดหมายโต้ตอบ
2. หลักฐานชั้นรอง (Secondary source)
สิ่งที่บันทึกสร้างหรือจัดทำขึ้นหลังจากเหตุการณ์นั้น ๆ ผ่านพ้นไปแล้ว
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร – จารึก, พงศาวดาร, จดหมายเหตุ, บันทึกส่วนตัว
2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร – โบราณสถาน, โบราณวัตถุ, เงินตรา
วิธีศึกษาประวัติศาสตร์
หมายถึงหลักเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติที่ผู้ศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างเข้าใจในปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์อย่างถูกต้องตามข้อเท็จจริง และเป็นประโยชน์
ยึดถือหลักดังนี้
1. ศึกษาอย่างมีหลักเกณฑ์และเหตุผล
2. คำนึงถึงมิติแห่งเวลา (Time Dimension)
3. รู้จักคิด วินิจฉัย วิพากษ์ วิจารณ์และสามารถสรุปได้อย่างมีเหตุผล
การนับและการเปรียบเทียบศักราชแบบไทย
1. การนับศักราช
1.1 การนับศักราชแบบไทย
1.1.1 พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชทางพระพุทธศาสนานิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเป้นศาสนาประจำชาติไทยเริ่มนับพุทธศักราชที่ 1 (พ.ศ. 1) เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว 1 ปี ส่วนบางประเทศ เช่น พม่า ศรีลังกา เริ่มนับพุทธศักราชที่ 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน (ช่วงเวลาก่อน พ.ศ. 1 เรียกว่า สมัยก่อนพุทธกาล หรือก่อน พ.ศ.)
1.1.2 มหาศักราช (ม.ศ.) การนับมหาศักราชนี้ กษัตริย์ผู้ครองคันธาระราชของอินเดียทั้งขึ้น เริ่มภายหลังพ.ศ. 621 ปี เผยแพร่ เข้ามาในไทย
1.1.3 จุลศักราช (จ.ศ.) ตั้งขึ้นในพม่า เริ่มหลัง พ.ศ. 1181 ปี พบมากในศิลาจารึกและพงศาวดารต่าง ๆของ
ล้านนา, สุโขทัย, อยุธยา รัตนโกสินทร์ตอนต้น
1.1.4 รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)
เริ่มนับปีที่รัชกาลที่ 1 สถาปนากรุงเทพมหานครขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2325 เป็นรัตนโกสินทร์ศกที่ 1
1.2 การนับศักราชแบบสากล
1.2.1. คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
เป็นศักราชทางศาสนาคริสต์ คริสต์ศักราชที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ พระเยซูคริสต์ประสูต (พ.ศ. 544) คำว่า คริสต์ศักราช ใช้อักษรย่อว่า ค.ศ. หรือ A.D (AnnoDomini) หมายถึง ปีแห่งพระผู้เป็นเจ้า
1.2.2 ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ)
เป็นศักราชทางศาสนาอิสลาม ยึดปีที่ท่านนบีกระทำฮิจเราะห์ (การอพยพโยกย้าย) จากเมือเมกกะไปเมือเมตินะ ฮ.ศ.1 ตรงกับ พ.ศ. 1165
การบอกช่วงเวลาอย่างกว้าง ๆ โดยไม่ระบุศักราช
ทศวรรษ (รอบ 10 ปี)
ศตวรรษ (รอบ 100 ปี)
สหัสสวรรษ (รอบ 1000ปี)
2. การเปรียบเทียบศักราช หลักเกณฑ์มีดังนี้
ม.ศ. – 621 = พ.ศ.
จ.ศ + 1181 = พ.ศ.
ร.ศ. + 2324 = พ.ศ
ค.ศ + 543 = พ.ศ
อ.ศ + 1122 = พ.ศ.
การแบ่งช่วงเวลาตามแบบสากล
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ ต้องอาศัยการวิเคราะห์ตีความจากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ โครงกระดูก งานศิลปะ
1.1 แบ่งตามเทคโนโลยี การทำเครื่องมือเครื่องใช้
1. ยุคหิน (อายุประมาณ 500,000 – 6,000 ปีล่วงมาแล้ว) แบ่งเป็นหินเก่า
- หินกลาง
- หินใหม่
2. ยุคโลหะ (ประมาณ 4000 – 1500 ปี ล่วงมาแล้ว แบ่งเป็น
- ยุคสำริด
- ยุคเหล็ก
1.2 แบ่งตามลักษณะการดำรงชีวิตของผู้คน
1. ยุคเร่ร่อน ล่าสัตว์ (500,000 ปี – 6000 ปีล่วงมาแล้ว)
2. ยุคหมู่บ้านเกษตรกรรม (6000 –2500 ปีล่วงมาแล้ว)
3. ยุคสังคมเมือง (กำเนิดตั้งแต่เมื่อ 2500 ปีล่วงมาแล้ว)
ตารางแสดงการแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตามแบบสากล
ประเภทของยุค แบ่งตามเทคโนโลยีเครื่องมือเครื่องใช้ ช่วงระยะเวลาโดยประมาณ ลักษณะการดำเนินชีวิต
ยุคหินเก่า 500,000 ปี 10,000ปี ล่วงมาแล้ว มนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ เก็บหาอาหาร อาศัยอยู่ในถ้ำ ใช้เครื่องมือหินที่ทำแบบหยาบ ๆ รู้จักเขียนภาพตามผนังถ้ำ
ยุคหิน ยุคหินกลาง 10,000 ปี 6,000 ปี ล่วงมาแล้ว มนุษย์ดำรงชีวิตเหมือนมนุษย์ยุคหินเก่า รู้จักทำเครื่องมือหินที่ประณีตมากขึ้น รู้จำทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะผิวเรียบมัน
ยุคหินใหม่ 6,000 ปี – 2,500 ปี ล่วงมาแล้ว มนุษย์อาศัยอยู่เป็นชุมชนใหญ่ขึ้น ดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก รู้จักปลูกข้าว มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว หมู ชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่ายุคหินใหม่ รู้จักทำสำริดเป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับ
ยุคโลหะ ยุคเหล็ก 2,500 ปี – 1,500 ปี ล่วงมาแล้ว การดำรงชีวิตเจริญและซับซ้อนมากกว่ายุคสำริด มีการติดต่อค้าขายกับอารยธรรมต่างแดน ทำให้ผู้คนมีความเจริญแตกต่างกัน มีการนำเหล็กมาทำเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ซึ่งมีความคงทนกว่าสำริดใช้งานได้ดีกว่า
2. สมัยประวัติศาสตร์
เริ่มเมื่อมนุษย์รู้จักใช้ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อ กิจกรรม แบ่งเป็น
1. ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ แต่ละประเทศเริ่มต้นและสิ้นสุดไม่พร้อมกัน เช่น อารยธรรมเมโสโบเตเมีย , อารยธรรมกลุ่มแม่น้ำไนล์
2. ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มภายหลังกรุงโรมแตก พ.ศ. 1019 จนกระทั่ง พ.ศ. 1996
3. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มภายหลังกรุงคอนสแตนติโนเปิดแตก จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2ล
4. ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน
การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ไทย
1. แบ่งตามสมัย
1.1 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (700,000 – 1400 ปี ล่วงมาแล้ว) แบ่งเป็นยุคหิน , ยุคโลหะ พบหลักฐานทางโบราณคดีทั่วทุกภูมิภาคของไทย
1.2 สมัยประวัติศาสตร์ ทำบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก ดินแดที่เป็นประเทศไทยเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 12 โดยใช้อายุของจารึกที่พบที่ประสาทเขาน้อย จังหวัดสระแก้วเป็นเกณฑ์กำหนด เพราะปรกฎศักราชชัดเจน ตรงกับ พ.ศ. 1180
2. แบ่งตามอาณาจักร
- สมัยทวารวดี
- สมัยละโว้ (ลพบุรี)
- สมัยศรีวิชัย
- สมัยตามพรลิงค์
3. แบ่งตามราชธานี
- สมัยสุโขทัย
- สมัยอยุธยา
- สมัยธนบุรี
- สมัยรัตนโกสินทร์
4. แบ่งตามราชวงศ์ เช่น สมัยราชวงศ์พระร่วง , ราชวงศ์อู่ทอง
5. แบ่งตามรัชกาล
- สมัยพ่อขุนรามคำแหง
- สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
6. แบ่งตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
- สมัยบูรณาญาสิทธิราชย์
- สมัยประชาธิปไตย
การเทียบเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์
ตารางตัวอย่างแสดงลำดับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย
ช่วงเวลา เหตุการณ์สำคัญ
พุทธศตวรรษ 18-21 (พ.ศ1792 – 2006) ช่วงอาณาจักรสุโขทัย
พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทย
พุทธศตวรรษที่ 19-24 (พ.ศ. 1893 – 2310) ช่วงอาณาจักรอยุธยา
พ.ศ. 2006 สุโขทัยตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา
ถือเป็นการสิ้นสุดอาณาจักรสุโขทัย
พ.ศ. 2055 ขาวโปตุเกสเดินทางถึงกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2112 เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1
พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (เมื่อยังเป็นรัชทายาท)
ประกาศอิสรภาพ
พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำสงครามยุทธหัตถี
พ.ศ. 2228 – 2230 ออกญาโกษาธิบดี (ปาน) ราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ
ประเทศฝรั่งเศส
พ.ศ. 2310 เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
ต้นพุทธศตวรรษที่ 24 (พ.ศ. 2310 – 2325) ช่วงอาณาจักรธนบุรีและสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราช
พ.ศ 2318 เกิดศึกอะแซหวุ่นกี้ (พม่า) ที่เมืองพิษณุโลก
ต้นพุทธศตวรรษที่ 24 (พ.ศ. 2325- ปัจจุบัน) ช่วงอาณาจักรรัตนโกสินทร์
พ.ศ. 2325 – 2352 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ย้ายราชธานีมาที่กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2328 เกิดสงครามเก้าทัพ
พ.ศ. 2369 ไทยทำสนธิสัญญาเบอร์นีย์กับอังกฤษ
พ.ศ. 2394 – 2411 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เริ่มสมัยปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย
พ.ศ. 2398 ไทยทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ
พ.ศ. 2411 – 2453 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง
ปฏิรูปประเทศทุกด้าน ไทยเสียดินแดนประเทศราชให้
ฝรั่งเศสและอังกฤษ
พ.ศ. 2475 เริ่มการปกครองระบอบประชาธิปไตย
พ.ศ. 2489 – ปัจจุบัน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
มหาราช
ตารางตัวอย่างแสดงลำดับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ช่วงเวลา เหตุการณ์สำคัญ
พ.ศ. 432 – 1482 เวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของจีน
พุทธศตวรรษที่ 13 ก่อตั้งอาณาจักรศรีวิชัย สร้างบุโรพุทโะ
พุทธศตวรรษที่ 14 พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 รวมอาณาจักรขอม
พุทธศตวรรษที่ 15 ยโศวรมันที่ 1 สร้างเมืองพระนคร
พ.ศ. 1552 – 1768 ราชวงศ์ลี (Ly) ปกครองเวียดนาม
พ.ศ. 1587 – 1630 สมัยพระเจ้าอนิรุทธ์รวมพม่า
พ.ศ. 1656 – 1683 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 สร้างเมืองนครธม
พ.ศ. 1800 – 1826 พวกมองโกลรุกรานเวียดนาม
พ.ศ. 1830 พวกมองโกลชนะพุกาม
พ.ศ. 2054 โปรตุเกสยึดครองมะละกา
พ.ศ. 2065 มาเจลแลนเดินทางรอบโลกถึงฟิสิปปินส์ และสเปน
ยึดครองฟิลิปปินส์
พ.ศ. 2184 ฮอลันดายึดมะละกาจากโปรตุเกส
พ.ศ. 2362 อังกฤษเช่าเกาะสิงคโปร์
พ.ศ. 2367 – 2369 สงครามพม่า – อังกฤษครั้งที่ 1
พ.ศ. 2394 สงครามพม่า – อังกฤษครั้งที่ 2
พ.ศ. 2505 ฝรั่งเศสยึดครองเวียดนามตอนล่าง (โคชินโชนา)
พ.ศ. 2428 สงครามพม่า – อังกฤษครั้งที่ 3 พม่าเสียเอกราช ฝรั่งเศส
ได้เวียดนามตอนเหนือ (ตังเกี๋ย) และตอนกลาง (อันนัม)
พ.ศ. 2441 สหรัฐอเมริกายึดครองฟิลลิปปินส์
พ.ศ. 2451 อังกฤษได้ 4 รัฐมลายูจากไทย
พ.ศ. 2484 – 2488 สงครามมหาเอเชียบูรพา และญี่ปุ่นยึดครองเอเชียตะวัน
ออกเฉียงใต้
พ.ศ. 2489 ฟิลิปปินส์ได้เอกราชจากสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2491 พม่าได้เอกราชจากอังกฤษ
พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้เอกราชจากเนเธอร์แลนด์
พ.ศ. 2497 ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ได้เอกราชจากฝรั่งเศส
พ.ศ. 2500 มลายูได้เอกราชจากอังกฤษ
พ.ศ. 2506 ก่อตั้งมาเลเซีย
พ.ศ. 2508 สิงคโปร์แยกจากมาเลเซีย ก่อตั้งเป็นประเทศสิงค์โปร์
พ.ศ. 2527 บูรไนได้เอกราชจากอังกฤษ
พ.ศ. 2545 ติมอร์ตะวันออกได้เอกราชจากอินโดนีเซีย ที่มา  http://ecurriculum.mv.ac.th/social/social/m1/sara4/unit1/lesson1/sakkaraht/00000-3515.htmlนาย ณัฐชนน พูนธวัฒน์  เลขที่5 ม.4/3

เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร

ความส าคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมานานเท่าใด บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนหรือหลัง เมื่อ เปรียบเทียบกับเหตุการณ์อื่นๆ บอกให้รู้ถึงความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องของเหตุการณ์ใน ประวัติศาสตร์ ท าให้เข้าใจและวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ ในประวัติศาสตร์ได้ดีขึ้น

ความสําคัญของเวลาและช่วงเวลามีอะไรบ้าง

ดังนั้น เวลาและช่วงเวลาจึงมีความสาคัญดังนี้ 1. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นหรือสิ้นสุดในเวลาใด ช่วงเวลาใด 2. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมานานเท่าใดแล้วเมื่อนับถึงปัจจุบัน 3. บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อน หรือหลัง เมื่อเปรียบเทียบกับ เหตุการณ์อื่น ๆ

การนับเวลาในประวัติศาสตร์มีความสําคัญอย่างไร

การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ การนับเวลาเป็นศักราชจะมีประโยชน์เพื่อทำให้ทราบเรื่องราวในประวัติศาสตร์ แต่ในบางครั้งเราอาจจะนำเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตมาระบุเป็นการแบ่งช่วงเวลาได้เช่นเดียวกัน ซึ่งการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์จะสามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ ตามระบบสากล และตามแบบไทย การแบ่งช่วงเวลาตามแบบสากล

ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์มีอะไรบ้าง

ดังนั้น แต่ละสังคมจะเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ไม่พร้อมกัน สมัยประวัติศาสตร์ หากแบ่งตามประวัติศาสตร์สากลแล้ว สามารถแบ่งได้เป็น ๔ สมัยได้แก่ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์สมัยกลาง ประวัติศาสตร์ สมัยใหม่และประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน