รองเท้า แก้ รองช้ำ ยี่ห้อ ไหน ดี

รู้จักรองช้ำ หรือ โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (Plantar Fasciitis)

รองช้ำ คือ ภาวะที่มีการอักเสบของเอ็นใต้ฝ่าเท้า เป็นโรคที่พบได้บ่อยทั้งหญิงและชายเพราะมีสาเหตุของอาการส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมและการใช้ชีวิตประจำวัน การอักเสบจะเกิดขึ้นที่เอ็นบริเวณส้นเท้าต่อเนื่องไปจนถึงเอ็นร้อยหวาย ในรายที่เป็นมานาน หรือไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาการจะเรื้อรังมากขึ้น และมักเอกซเรย์พบหินปูนงอกบริเวณกระดูกส้นเท้าด้วย

รองช้ำเป็นโรคที่คนเป็นแล้วช้ำใจตามชื่อ

  1. เป็นโรคเรื้อรัง เป็นๆหายๆ รักษาไม่หายขาด
  2. อาการปวดบริเวณฝ่าเท้าลามไปถึงอุ้งเท้า จะเริ่มมีอาการตั้งแต่ก้าวแรกที่ก้าวลงจากเตียงในตอนเช้าที่เราตื่นนอน
  3. กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถทำงาน หรือ เที่ยวเล่น ได้อย่างเต็มที่

คนที่เป็นรองช้ำจำเป็นต้องใช้รองเท้าที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะให้เหมาะสมกับสุขภาพเท้าและโรคภัยที่เป็นอยู่ ถ้าเลือกรองเท้าให้เหมาะก็จะช่วยแก้อาการปวดเท้าจากรองช้ำได้

สาเหตุของ รองช้ำ

โรคปวดรองช้ำ เกิดจากการที่เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ โดยเอ็นฝ่าเท้า (Plantar fascia) นั้นเป็นเอ็นแผ่นบางๆ ที่ห่อหุ้มเท้ายึดจากส้นเท้าไปที่ปลายนิ้วเท้า ทำหน้าที่เป็นตัวรับแรงกระแทกขณะยืน เดิน และวิ่ง

เมื่อเราใช้เอ็นฝ่าเท้าทำงานมากเกินไป หรือ ใช้งานผิดปกติ เช่น การลงน้ำหนักตัวในท่าที่บิดจากปกติ หรือ การถูกกระแทก ถูกกดบีบจากการเคลื่อนไหว อย่างการเดิน วิ่ง หรือเต้น ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็จะเกิดการลงน้ำหนักซ้ำๆ  หรือลงน้ำหนักมากกว่าปกติจากลักษณะ นำไปสู่การฉีกขาดเล็กๆ ของเอ็นฝ่าเท้า และส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรังขึ้นได้ในที่สุด

อาการของคนเป็นรองช้ำ

คือ อาการเจ็บที่ส้นเท้าและลามไปทั่วฝ่าเท้า ในบางครั้งอาจลามไปที่อุ้งเท้าด้วย ลักษณะของอาการเจ็บจะเป็นแบบปวดจี๊ดขึ้นมาและปวดแสบ โดยมากความเจ็บปวดจะค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อย จนคิดว่าเดี๋ยวอาการปวดก็หายไป แต่ก็จะกลับมาปวดอีก

อาการปวดจะรุนแรงที่สุดเมื่อเริ่มมีการลงน้ำหนักที่ส้นเท้าในก้าวแรก เช่น เมื่อลุกเดินก้าวแรกหลังตื่นนอน หรือหลังจากนั่งพักเป็นเวลานาน นอกจากนี้

อาจมีอาการปวดมากขึ้นได้ในช่วงระหว่างวัน หลังจากที่เท้าต้องรับน้ำหนักเป็นเวลานาน เช่น ยืนหรือเดินเป็นเวลานาน และเมื่อมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นก็จะยิ่งมีอาการปวดมากขึ้น

อันตรายของโรครองช้ำ

แม้จะดูเหมือนโรคนี้ไม่อันตรายร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันได้

การรักษาโรคนี้โดยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ การเจ็บปวดต่อเนื่อง การที่เส้นประสาทเล็กๆ บริเวณฝ่าเท้าได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งอาจทำให้เกิดความรู้สึกชาและเหมือนมีเข็มตำที่ส้นเท้า นอกจากนี้การผ่าตัดนำพังผืดออกอาจส่งผลให้ฝ่าเท้าแบนอีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นรองช้ำ / เร่งอาการปวดในคนที่เป็นรองช้ำ

เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้ที่ปวดฝ่าเท้าบ่อยๆ  ผู้ที่มีฝ่าเท้าผิดปกติ หรือ ผิดรูป ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากหรือใส่รองเท้าผิดจากรูปเท้าตัวเอง

พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ตั้งแต่อายุน้อยๆ ไปจนถึงอายุมาก โดยช่วงอายุที่พบบ่อย คือ 40-60 ปี มีปัจจัยเสี่ยงคือ

  • การรับน้ำหนักเป็นเวลานาน ทำให้เอ็นที่ฝ่าเท้ารับน้ำหนักมาก พบได้บ่อยในผู้ที่ต้องยืนเป็นเวลานานในระหว่างวัน เช่น ผู้ที่ต้องยืนตลอดกะการทำงานทั้ง 8 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น
  • น้ำหนักตัวมาก น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอาจก่อให้เกิดพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้
  • สวมใส่รองเท้าที่ไม่ได้คุณภาพ เช่น ไม่มี Insole รองรับการกระจายน้ำหนัก
  • ลักษณะการทำกิจกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เพิ่มระยะทางการวิ่งออกกำลังกาย การเดิน/วิ่งบนพื้นผิวที่ต่างไปจากเดิมหรือบนพื้นผิวแข็ง (เช่น พื้นซีเมนต์หรือคอนกรีต)
  • เอ็นร้อยหวายยึด ทำให้ส้นเท้าไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หรือข้อสันหลังอักเสบ อาจทำให้มีโอกาสเกิดการอักเสบที่เส้นเอ็นในจุดใดจุดหนึ่งที่เชื่อมต่อกับกระดูก ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้
  • ปัจจัยทางโครงสร้างร่างกาย เช่น เท้าแบนเกินไป อุ้งเท้าโก่งมากเกินไป หรือเส้นเอ็นยึดบริเวณน่องทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อเท้าได้ตามปกติ

“การเลือกรองเท้าให้เหมาะกับคนเป็นรองช้ำ ถือเป็นการรักษาอาการอย่างหนึ่ง”

เพราะปัจจัยเสียงอย่างหนึ่งต่อการเป็นรองช้ำ และเป็นตัวเร่งให้มีอาการปวดเพิ่มขึ้น คือ อาการปวดตุบๆ บริเวณส้นเท้าลามไปถึงอุ้งเท้า ในขณะที่เคลื่อนไหว เดิน ยืน หรือ วิ่ง เพราะเอ็นฝ่าเท้า (Plantar fascia) ที่อักเสบอยู่ถูกกดทับหรือดึงรั้ง การสวมใส่รองเท้าที่ไม่มีคุณภาพและไม่เหมาะกับอาการของโรค มีแต่จะทำให้อาการแย่ลง รักษายากขึ้น ดังนั้นผู้ที่เป็นรองช้ำจึงควรเลือกรองเท้าที่มีคุณสมบัติแก้อาการปวดรองช้ำมาใส่ ได้แก่

  1. เลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับรูปเท้า ไม่หลวม ไม่คับแน่นเกินไป
  2. สำหรับผู้ที่มีปัญหาอุ้งเท้าผิดปกติ ต้องพิจารณาตัดรองเท้าที่เหมาะกับรูปเท้า ต้องการดูรองเท้าสั่งตัดแก้อาการรองช้ำ
  3. เลือกรองเท้าที่มี Insole เพื่อช่วยทำให้ลดการกระแทก กด เอ็นฝ่าเท้าเวลาเดิน ปรับการลงน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. เลือกรองเท้าที่มี Arch of Foot ที่ทำหน้าที่รองรับและกระจายน้ำหนักบริเวณฝ่าเท้าได้ดีเป็นพิเศษ ช่วยประคองรูปเท้าให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องขณะเคบื่อนไหวหรือก้าวเดิน เพื่อลดอาการปวด และป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น
  5. เลือกรองเท้าที่พื้นมีความสามารถในการรองรับแรงกระแทกที่ดีเป็นพิเศษ พื้นรองเท้าหนา มีความนุ่มและยืดหยุ่น ใส่แล้วไม่ยวบหรือทรุดตัว

“อย่าให้รองช้ำ ทำคุณต้องช้ำใจ” เลือกรองเท้าแก้รองช้ำตั้งแต่ตอนนี้

“สุขภาพที่ดี เริ่มต้นที่เท้า”

.

คลินิกตรวจสุขภาพเท้า โดยผู้เชี่ยวชาญได้ที่โรงงาน ใกล้ Central พระราม 2 หรือช็อบบน ICON SIAM ในห้าง Siam Takashimaya ชั้น 2 แผนกรองเท้าสุขภาพ

foot clinic เปิดบริการ จันทร์-เสาร์ 8.30-17.30 น. Tel 02-896-3800

รองช้ำต้องใส่รองเท้าแบบไหน

เลือกรองเท้าที่มี Insole เพื่อช่วยทำให้ลดการกระแทก กด เอ็นฝ่าเท้าเวลาเดิน ปรับการลงน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ เลือกรองเท้าที่มี Arch of Foot ที่ทำหน้าที่รองรับและกระจายน้ำหนักบริเวณฝ่าเท้าได้ดีเป็นพิเศษ ช่วยประคองรูปเท้าให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องขณะเคบื่อนไหวหรือก้าวเดิน เพื่อลดอาการปวด และป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น

รองเท้าแตะแก้รองช้ำ ยี่ห้อไหนดี

10 อันดับ รองเท้าแตะเพื่อสุขภาพ ยี่ห้อไหนดี รวมแบรนด์ Skechers, OOFOS, Birkenstock.
CROCS - รุ่น Swiftwater Expedition..
Skechers - รุ่น Max Cushioning San On-The-GO..
OOFOS - รุ่น OORIGINAL BLACKME_PASTEBIN%.
Skechers - รุ่น GOwalk 6 On-The-GO..
Peak - รุ่น Tachi Slipper..

รองเท้าพื้นนิ่ม ยี่ห้อไหนดี

แนะนำ 10 รองเท้าเพื่อสุขภาพ ยี่ห้อไหนดี นุ่ม ใส่สบาย เดินหรือยืนนานก็ไม่เมื่อย ปี 2022. Skechers รองเท้า ผู้ชาย GOrun Elevate Performance Shoes. Skechers รองเท้าผู้หญิง GOwalk Joy Shoes. Dortmuend ProSeries Mule JF567 Nature.

รองเท้าเพื่อสุขภาพยี่ห้อไหนดีที่สุด

1. Scholl. รองเท้าเพื่อสุขภาพ Scholl ภาพจาก : schollshoesthailand.com. ... .
2. Heel Care. Heel Care ภาพจาก : FB/Heel care. ... .
3. Crocs. Crocs ภาพจาก : momoshop.com.tw. ... .
4. SKECHERS. SKECHERS ภาพจาก : central.co.th. ... .
5. FitFlop. FitFlop ภาพจาก : central.co.th. ... .
6. MAGO. รองเท้าเพื่อสุขภาพ MAGO..