ขายทอดตลาด แล้วไม่ พอใช้ หนี้

"บ้านกำลังจะถูกยึด ทำไงดี ?"

ปัญหาที่ระอุขึ้นมาหนักหน่วงและต่อเนื่องในช่วงนี้
คือการขาดสภาพคล่องของลูกหนี้
โดยเฉพาะหนี้ก้อนใหญ่ที่ต้องจ่ายทุกเดือน เช่น บ้าน-รถ
บางรายขาดส่งเกิน 3 เดือนไปแล้ว และกำลังจะถูกยึด !

ขอข้ามขั้นตอนการเจรจาก่อนฟ้องไปเลยนะครับ
เพราะเล่าไปหลายรอบแล้ว รวมถึงช่องทางช่วยเหลือ

วาร์ปไปขั้นที่ "บ้าน" ที่ถูกกรมบังคับคดีสั่ง "ยึดทรัพย์" กันเลย
ซึ่งน่าจะผ่านขั้นตอนหมายศาลเรียกเจรจากับเจ้าหนี้ไปแล้ว
แต่ไม่ได้ไปตามนัด หรือ ไปเจรจา แต่ก็ผิดนัดชำระอยู่ดี
ซึ่งสุดท้ายเจ้าหนี้ก็ต้องขออนุญาตกรมบังคับคดี
สั่ง "ยึดทรัพย์" และ "ขายทอดตลาด" เพื่อนำเงินมาใช้หนี้
เอาล่ะ นี่คือสิ่งที่ลูกหนี้ต้องเจอและต้องทำ


1.กรมบังคับคดีจะมีใบปิดประกาศ สั่งยึดทรัพย์-ขายทอดตลาด
เมื่อเราได้รับหมายนี้ สิ่งแรกที่ต้องทำหลังจากตกใจ คือ...
อ่านรายละเอียดของหมายให้ชัดเจน เช่น...
ชื่อ, โฉนดที่ดินที่จะมายึด, ราคาประเมิน และ หมายจากสำนักงานไหน
หากไม่ตรงหรือไม่ถูกต้อง ให้รีบไปยื่นเรื่องคัดค้านภายใน 7 วัน
เช่นเดียวกับราคาประเมิน หากต่ำเกินจริง ก็ยื่นคัดค้านได้ เช่น...
ซื้อบ้านมา 1 ล้านบาท ราคาประเมินในหมายแค่ 5 แสนบาท
ก็ให้รีบไปคัดค้าน เพื่อพิจารณาใหม่ (นำหลักฐานไปให้ครบ)

2.เรายังมีสิทธิเจรจากับเจ้าหนี้ได้อีกครั้ง
แม้จะยากกว่าเดิม เพราะเลยเถิดมาถึงขั้นบังคับยึดทรัพย์แล้ว
ซึ่งภาวะปกติ แทบจะเจรจาไม่ได้เลย แต่ตอนนี้ดีขึ้นหน่อย
เพราะมีแบงก์ชาติคอยช่วยอยู่ รีบติดต่อ โครงการต่าง ๆ เลย
เช่น ทางด่วนแก้หนี้, โครงการไกล่เกลี่ยหนี้ และ คลินิกแก้หนี้
อาจมีคำถามว่า "โครงการเหล่านี้ช่วยแค่เฉพาะ...
หนี้บัตรเครดิต-สินเชื่อบุคคล-เช่าซื้อ ไม่ใช่หรอ"
แต่ลองก่อนก็ไม่เสียหายครับ เพราะมีหัวข้อหนี้อื่น ๆ ด้วย


3.ก่อนเจรจาให้สำรวจความสามารถตัวเองก่อน
หากระยะถัดไปไม่มีกำลังผ่อนต่อแล้ว
และราคาประเมินใกล้เคียงกับมูลหนี้คงค้าง
ปล่อยยึดไปก็คงจะดีกว่า ลดภาระยะยาว
ไม่ควรยึดติด ว่าอุตส่าห์ผ่อนมาตั้งนาน
ยื้อไปก็เป็นภาระ ไม่ตายก็หาใหม่ได้
บ้านคือที่อยู่อาศัย ดังนั้นเช่าอาศัย ก็อยู่ได้เหมือนกัน

หรือหากยังมีกำลังผ่อนต่อ ต้องขอเจรจาให้ถึงที่สุด
พร้อมด้วยหลักฐานและเหตุผลที่น่าเชื่อถือ
งวดที่ขาดส่งอาจจะต้องจ่ายทั้งหมดพร้อมเบี้ยปรับ
ก็ต้องหาเงินมาโปะให้เจ้าหนี้
เพื่อเพิ่มความรู้สึกเชิงบวกต่อเจ้าหนี้

โดยขั้นตอนเหล่านี้เรามีเวลาราว 3 เดือน
ก่อนจะประกาศขายทรัพย์ทอดตลาด

4.หากเจ้าหนี้ไม่ยอมเจรจา และ เลิกไว้ใจเราแล้ว
มี 2 กรณีมาแนะนำ คือ ...

4.1.อยากขายได้ราคาที่สูงกว่า "ทอดตลาด"
เพราะขาย "ทอดตลาด" จะขายเร็ว มากกว่าขายคุ้ม
ดังนั้นเราต้องรีบหาคนซื้อบ้าน จะวิธีไหนก็แล้วแต่
ลด แลก แจก แถม เพื่อให้เราได้ประโยชน์กว่า "ขายทอดตลาด"
เมื่อหาผู้ซื้อได้แล้ว ไปเจรจาพร้อมสัญญาจะซื้อจะขาย
บอกว่ากำลังขายบ้านแล้ว และจะปิดหนี้หลังขายเสร็จ

4.2.อยากเก็บบ้านไว้
วิธีนี้ต้องหาญาติ พี่น้อง หรือคนสนิท มาซื้อบ้านต่อ
โดยนำสัญญาจะซื้อจะขาย ไปเจรจาเช่นเคย

ซึ่งมีข้อแนะนำ 2 แบบในการจะขายต่อให้กลุ่มนี้
4.2.1.ขายแบบตรง ๆ นั่นแหล่ะ
4.2.2.ให้คนกลุ่มนี้ไปซื้อตอน "ขายทอดตลาด"
เพราะจะได้ราคาต่ำ (ราคาประเมินของกรมบังคับคดี)
โดยเข้าร่วมประมูล (มีมัดจำและค่าธรรมเนียมเข้าร่วม)
จุดนี้ดีอย่าง คือ หลังประมูลได้ สามารถขอพักชำระได้ 3 เดือน
คือ พอประมูลเสร็จ ร้องขอพักชำระ เพื่อเตรียมเงินมาซื้อได้
จะไปกู้แบงก์ หรือ ขายสินทรัพย์อื่น อะไรก็ได้
โดยนำหลักฐานไปยื่นขอหลังประมูลทรัพย์ได้
แต่...


ตอนประมูล "ขายทอดตลาด" อาจจะไม่ง่ายนัก
หากทำเลบ้านเรา เป็นที่สนใจของผู้ซื้อรายอื่น
นอกจากประมูลแข่ง ก็ต้องไปคุกเข่าขอร้อง
ผู้ประมูลรายอื่น ว่าขอเถอะ บ้านนี้เลี้ยงผีไว้ ไรก็ว่าไป ...
แต่คู่แข่งจะยอมหรือไม่ ไม่มีใครรับประกัน

ขายทอดตลาด แล้วไม่ พอใช้ หนี้

คำแนะนำเพิ่มเติมคือ ...
ตั้งแต่รับหมายสั่งยึดทรัพย์และขายทอดตลาด
หากต้องการยื้อเวลา และรักษาบ้านไว้
สิ่งที่ควรหาคือ ทนายความ เพื่อขอคำปรึกษาต่าง ๆ

แต่สิ่งที่ไม่แนะนำคือ การละเลย...
ปล่อยยึดไปเถอะ ไม่ผ่อนแล้ว
โดยไม่ดูสาระในหมายจากกรมบังคับคดี
เพราะบางครั้ง ราคาประเมินต่ำกว่าราคาจริง
ซึ่งหากขายแล้วได้เงินต่ำกว่ามูลหนี้คงค้าง
ท่านจะมีสิ่งที่เรียกว่า "ติ่งหนี้" ตามมาด้วย
เพราะยังมีส่วนต่างคงเหลือ
เจ้าหนี้ก็จะมาฟ้องเรียกเก็บเพิ่มจากเราอีก
มันไม่จบ...

ที่จริงตอนนี้ใครที่เริ่มสภาพคล่องขัดสน
ต้องเริ่มประเมินตนเองได้แล้ว รีบไปเจรจา
ขอพัก ขอลด ขอปรับโครงสร้าง อะไรก็ได้
เพราะตอนนี้เจรจาง่าย ก่อนที่จะเลยเถิดขั้นฟ้อง
คุยก่อนดีกว่า ยอมรับไปเลยว่าช่วงนี้ช็อต
มีวิธีช่วยเหลืออย่างไรบ้าง คุยบ่อย ๆ จนสำเร็จ

ทุกปัญหามีทางออก โดยเฉพาะเรื่องหนี้
อ้อ...หนังสือ "วิชาหนีหนี้" จำหน่ายแล้วนะ
ลองอ่านดู น่าจะปรับมุมมองการใช้เงินได้ดีเลย
เป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะครับ
หนึ่งเอง หนึ่งไง จะใครล่ะ ^^

บ้านติดธนาคาร ธกส. อยู่ 6-7 แสนบาท รวมดอกเบี้ย 7-8 แสน

ตอนนี้ มีค้างหนี้ บัตร อิออนด้วย

ทางด้าน อิออน ทำการขายทอดตลาด

แล้วเค้าจะแบ่ง ให้ ธกส. 

มีหนังสือบังคับคดีมาบ้าน

จะมีการขายทอดตลาด 6 ครั้ง

แต่ล่ะครั้ง เราจะโดนหัก ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างค่ะ

เราจะเหลือ เงินไหม

ในคดีแพ่ง เมื่อศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่ยอมชำระ เจ้าหนี้ก็ต้องไปทำการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้มาขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ในกระบวนการบังคับคดีนั้น มีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น ยึดที่ดิน ยึดทรัพย์สินภายในบ้าน ยึดรถ หรืออายัดเงินเดือน แล้วแต่ว่าลูกหนี้จะมีอะไรให้ดำเนินการ

ในเรื่องการยึดที่ดินขายทอดตลาด เมื่อเจ้าหนี้ไปดำเนินการตั้งเรื่องที่สำนักงานบังคับคดีแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะได้ยึดทรัพย์โดยออกหมายยึดทรัพย์ หลังจากนั้นก็จะผ่านขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการกันไป จนท้ายที่สุดจะมีการประกาศขายออกมา ส่งมอบให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นโจทก์ จำเลย หรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม เพื่อที่จะแจ้งวันที่จะทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดมานั้น ส่วนจะทำการขายวัน เวลา ใด รายละเอียดจะอยู่ในใบประกาศการขายทอดตลาด

สิ่งที่เจ้าหนี้และลูกหนี้จะต้องทำก็คือ เมื่อได้รับใบประกาศขายทอดตลาดมาแล้ว จะต้องดูวัน เวลา สถานที่ขายให้ดี เพราะเจ้าหนี้ และลูกหนี้ จะต้องไปดูแลการขาย สาเหตุที่เจ้าหนี้และลูกหนี้จะต้องไปดูแลการขายก็เพราะว่าในการดำเนินการขายทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น โดยเฉพาะทรัพย์สินที่เป็นที่ดิน เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำการประเมินราคาทรัพย์สินนั้นก่อน ซึ่งราคาประเมินนี้ จะเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาซื้อขายกันทั่วไป

นอกจากนี้ ในการขายครั้งแรก เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเปิดการขายในราคาเริ่มต้นที่ 80 เปอร์เซ็นต์ ของราคาประเมิน หากครั้งแรกไม่มีผู้ซื้อ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะทำการขายในครั้งที่สอง ซึ่งการขายในครั้งที่สองนี้ ราคาเริ่มต้นของเจ้าพนักงานจะเริ่มที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของราคาประเมิน 

ฉะนั้น หากในการขายครั้งที่สองนี้ มีผู้เข้าซื้อทรัพย์สินนั้นเพียงรายเดียวโดยไม่มีผู้ใดเข้าประมูลแข่ง ผู้ซื้อทรัพย์รายนั้น ก็จะซื้อทรัพย์นั้นไปในราคาเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าหนี้และลูกหนี้เป็นอย่างมาก ที่ว่าเกิดความเสียหายก็คือ หากทรัพย์สินนั้นขายได้ในราคาต่ำ จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้น้อยลง และหากยังไม่พอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว เจ้าหนี้อาจจะดำเนินการยึดทรัพย์สินอื่นๆของลูกหนี้มาขายอีก

แต่ว่า ถ้าหากขายทรัพย์สินได้ในราคาสูงๆก็จะดีไป เพราะจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้มากขึ้น หากพอที่จะชำระหนี้ได้หมด เจ้าหนี้ก็จะไม่ตามมายึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้อีก หรือหากว่าพอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แล้ว ยังมีเงินเหลือ ลูกหนี้ก็จะได้รับคืน แต่กรณีนี้เกิดขึ้นน้อยมากในความเป็นจริง เพราะที่ดินแปลงนั้นจะต้องเป็นแปลงที่มีคนสนใจซื้อกันมาก จึงจะมีการแข่งราคากันขึ้นไป ฉะนั้น ลูกหนี้จึงต้องระมัดระวังที่จะต้องไปดูแลการขายให้ดี อย่าให้พลาด เพราะหากเจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายไปแล้ว จะแก้ไขอะไรไม่ได้

ในการที่ลูกหนี้ไปดูแลการขายนั้น หากมีผู้เข้าซื้อไม่ว่าจะรายเดียวหรือหลายราย เมื่อราคาประมูลหยุดนิ่งแล้ว ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ซื้อนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจะสอบถามเจ้าหนี้และลูกหนี้ว่าจะคัดค้านราคาที่มีผู้ประมูลซื้อหรือไม่ หากเจ้าหนี้และลูกหนี้เห็นว่าราคาที่เสนอประมูลนั้น เป็นราคาที่ต่ำไป เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ก็มีสิทธิที่จะคัดค้านราคานั้นไว้ได้

แต่การคัดค้านราคานั้น ไม่ว่าเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ จะมีสิทธิคัดค้านราคาได้เพียงครั้งเดียว ซึ่งหมายถึงว่า หากมีการคัดค้านราคา เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำการเลื่อนการขายไปในครั้งหน้า ซึ่งจะเป็นเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ตัวเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ก็ตาม ที่คัดค้านราคาไว้ จะต้องไปหาผู้อื่นมาเข้าซื้อทรัพย์สินนั้น ในราคาที่ผู้ที่คัดค้านราคาต้องการ หรืออย่างน้อยต้องสูงกว่าในราคาที่มีผู้เสนอราคาไว้

หากไม่สามารถหาผู้มาซื้อได้ในการขายครั้งต่อไป เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะทำการขายทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ที่เสนอราคาไว้ในครั้งแรก และในครั้งนี้ จะคัดค้านราคาไม่ได้อีก

ฉะนั้น หากเป็นไปได้ เมื่อลูกหนี้รู้ตัวว่าจะต้องใช้หนี้แก่เจ้าหนี้แล้ว ลูกหนี้ควรที่จะพยายามหาทางขายทรัพย์สินนั้นเองจะดีที่สุด เพราะว่าจะทำให้ได้ราคาที่สูง ซึ่งเป็นราคาที่ซื้อขายกันทั่วไป เมื่อขายได้แล้ว ค่อยนำเงินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หากปล่อยให้เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ไปขายทอดตลาดแล้ว จะทำให้ขายทรัพย์นั้นได้ราคาต่ำ ลูกหนี้เองก็จะเสียประโยชน์

คนทั่วไปมักคิดว่าการขายทอดตลาด จะทำให้ได้ราคาที่สูง แต่ในความเป็นจริงมักหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะในการขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น มีไม่กี่รายหรอกที่จะได้ราคาสูง ที่ดินแปลงที่จะขายได้ในราคาสูงนั้น จะต้องเป็นแปลงที่สวย และน่าซื้อ และนอกจากนี้จะต้องมีผู้เข้าสู้ราคากัน ประเภทที่ต่างฝ่ายต่างก็ต้องการจะได้เท่านั้น จึงจะประมูลกันไปในราคาที่สูง

แต่ส่วนใหญ่ของการขายทอดตลาดนั้น จะมีผู้เข้าสู้ราคากันไม่มากนัก บางแปลงรายเดียว บางแปลงสองราย ประมาณนั้น จึงทำให้ได้ราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดทั่วไป การที่ติดต่อขายเองจะดีกว่า

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ หากเกิดกรณีที่ลูกหนี้ถูกยึดบ้านและที่ดินไปขายทอดตลาด และมีการขายไปแล้ว หากลูกหนี้ยังพักอาศัยอยู่ในที่ดินแปลงนั้น จะต้องเตรียมตัวย้ายออกในทันที เพราะว่าผู้ที่เขาซื้อทรัพย์ได้นั้น เขาสามารถไปขอให้ศาลบังคับให้ลูกหนี้ออกไปได้เลยโดยไม่ต้องไปฟ้องขับไล่

เมื่อก่อนนั้น หากผู้ที่ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดได้ จะบังคับให้ลูกหนี้ย้ายออก เขาจะต้องไปฟ้องขับไล่อีกทีหนึ่ง แต่เดี๋ยวนี้กฎหมายได้แก้ไขแล้ว ผู้ซื้อทรัพย์ไม่จำเป็นต้องไปฟ้องขับไล่แล้ว ไปร้องศาล ศาลก็บังคับขับไล่ให้ทันที และหากยังไม่ยอมออก ศาลก็จะสั่งให้ขังได้ ฉะนั้น ลูกหนี้จึงต้องเตรียมตัวไว้หากเกิดกรณีดังที่กล่าวมานี้