เงิน ประกัน กับ ค่า เช่า ล่วงหน้า

รู้ยัง ! ห้ามเก็บค่าเช่าล่วงหน้า หรือเรียกเก็บเงินประกัน เกินกว่าหนึ่งเดือน 1 เดือน หมดสัญญาเช่าเมื่อไหร่ คืนเงินประกันทันทีและห้ามเรียกให้ผู้เช่าชำระค่าน้ำค่าไฟ เกินกว่าอัตราที่จ่ายจริง  

ด้วยคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2561 ประกาศ เผยแพร่ ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2561 และมีผลใช้แล้ว เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2561 สำหรับ ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย ที่จัดแบ่งให้เช่าตั้งแต่ 5 หน่วยขึ้นไป ไม่ว่าจะอยู่ในอาคารเดียวกันหรือหลายอาคารรวมกัน เช่น ห้องพัก บ้าน อาคารชุด อพาร์ตเม้นท์ หรือสถานที่พักอาศัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่จัดขึ้นสำหรับการให้เช่าเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย แต่ไม่รวมถึงหอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก และโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
สำหรับสาระสำคัญตามประกาศนี้ เช่น
– เมื่อสัญญาเช่าอาคารสิ้นสุด ผู้ประกอบธุรกิจต้องคืนเงินประกันที่ได้รับจากผู้เช่าทันที เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะตรวจสอบความเสียหายที่ผู้เช่าต้องรับผิดชอบ หากผู้เช่ามิได้ทำความเสียหาย ให้ผู้ประกอบธุรกิจคืนเงินประกันภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สัญญาเช่าอาคารสิ้นสุด และได้กลับเข้าครอบครองอาคาร
– ข้อสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้เช่าต้องไม่ใช้ข้อสัญญาที่เป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดจากการผิดสัญญาหรือการกระทำละเมิดของผู้ประกอบธุรกิจ
– ต้องไม่ใช้ข้อสัญญาที่กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บค่าเช่าล่วงหน้าเกินกว่าหนึ่งเดือน
– ต้องไม่ใช้ข้อสัญญาที่กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บเงินประกันเกินกว่าหนึ่งเดือนของอัตรา
ค่าเช่าอาคารเมื่อคำนวณเป็นรายเดือน
– ต้องไม่ใช้ข้อสัญญาที่กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจกำหนดอัตราค่าบริการกระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปาเกินกว่าอัตราที่ผู้ให้บริการกระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปาเรียกเก็บจากผู้ประกอบธุรกิจ
– ต้องไม่ใช้ข้อสัญญาที่กำหนดให้ผู้เช่าต้องรับผิดในความเสียหายต่ออาคาร ทรัพย์สิน และอุปกรณ์
เครื่องใช้ต่าง ๆ ในเหตุใดอันมิใช่ความผิดของผู้เช่า และในเหตุสุดวิสัย

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2561
โดย อาจารย์อภิชาติ โกศล หัวหน้าฝ่ายบริการวิชาการ คณะนิติศาสตร์

สอบถามเพิ่มเติม หรือมีปัญหาทางด้านกฎหมาย สอบถามได้ที่ ฝ่ายบริการวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี

เงิน ประกัน กับ ค่า เช่า ล่วงหน้า

ประกาศราชกิจจานุเบกษา ห้ามเจ้าของธุรกิจเรียกเก็บเงินค่าเช่าล่วงหน้าเกิน 1 เดือน และห้ามเก็บค่าน้ำ ค่าไฟ เกินกว่าที่ทางการไฟฟ้า-ประกาศ เรียกเก็บ

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้เช่าและเจ้าของที่พักอาศัย ซึ่งจะมีผลในเดือนพฤษภาคม 2561 โดยเป็นสถานที่ตั้งแต่ 5 หน่วยขึ้นไป รวมไปถึงห้องพัก บ้าน อาคารชุด อพาร์ทเมนต์ แต่ไม่รวมถึงหอพักที่ว่าด้วยหอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม

โดยสาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ มีทั้งการที่ผู้ใช้เช่า ต้องทำหลักฐานการตรวจสภาพอาคารแนบท้ายสัญญาเช่า และให้ผู้เช่าเก็บเป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ หากสัญญาเช่าสิ้นสุดลง ผู้ให้เช่าต้องคืนเงินประกันผู้เช่าทันทีภายใน 7 วัน เว้นแต่ผู้เช่าจะทำความเสียหายไว้

เงิน ประกัน กับ ค่า เช่า ล่วงหน้า

ขอบคุณข้อมูล : bangkokbiznews

ความแตกต่างระหว่าง.. เงินล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ และ เงินจอง

, 28/05/202011/03/2022, Enterpreneur Corner, Line Today, กิจการ, นักบัญชี, วารสาร, เงินจอง, เงินประกัน, เงินมัดจำ, เงินล่วงหน้า,

11 มีนาคม 2565

เงิน ประกัน กับ ค่า เช่า ล่วงหน้า

เงินที่กิจการ ‘รับมาล่วงหน้า‘ จากการขายสินค้า หรือให้บริการ

การประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในบางกิจการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้ามักจะมีการเรียกเก็บเงินบางส่วนจากค่าสินค้าหรือบริการจากลูกค้า ซึ่งเงินบางส่วนที่เรียกเก็บนั้นมักจะมีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน เช่น เงินล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง ‘เพื่อเป็นหลักประกันในการซื้อสินค้าหรือบริการในภายหลัง’

เงินล่วงหน้า (Advanced Payment)

หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่กิจการได้จ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ มักจะมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ก่อนทำสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งอาจะมีการเรียกเก็บในอัตรา 5-15 % ของมูลค่าตามสัญญาหรือข้อตกลง อันเป็นเงื่อนไขว่าจะมีการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการแก่กัน

เงินประกัน (Bail)

หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่กิจการให้ไว้เป็นการรับประกันว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือสัญญา หากผิดเงื่อนไขหรือสัญญาจะมีการชดใช้ค่าเสียหายหรือสัญญา โดยวิธีการริบเงินประกันหรือเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสัญญาหรือข้อตกลง

เงินมัดจำ (Deposit)

หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่ให้ไว้ ณ วันทำสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะมีการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ อันจะต้องปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหลักประกันว่าจะต้องปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลง และอาจถือเป็นส่วนหนึ่งในการชำระค่าสินค้าหรือให้บริการ

เงินจอง (Reserve money)

หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่จ่ายให้ก่อนที่จะทำสัญญาหรือข้อตกลงในภายหลัง อันเป็นหลักประกันเบื้องต้นว่าจะมีการทำสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่ง ณ วันทำสัญญาหรือข้อตกลงอาจจะมีการชำระเงินมัดจำค่าสินค้า หรือค่าบริการเพิ่มเติมนอกเหนือจากเงินจอง อย่างไรก็ดีหากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการไม่มาทำสัญญาหรือข้อตกลงอาจจะถูกริบ หรือยึดเงินจองดังกล่าวได้

วารสารเพื่อนักบัญชีรุ่นใหม่

ที่ติดตามความเคลื่อนไหวทางด้านบัญชีแบบไม่ตกเทรนด์ เหมาะสําหรับนักบัญชี และผู้ที่สนใจ เพื่ออัพเดทความรู้ความเคลื่อนไหว มาตรฐานทางด้านบัญชีที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งแนวปฏิบัติและการประยุกต์ใช้

Tag