ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ความรู้เกี่ยวกับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ (ชุดสีกากี)

                เครื่องแบบเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นซึ่งกฎกระทรวงฉบับที่  11  (พ.ศ. 2542)  ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น  พ.ศ. 2509  ได้ระบุไว้ดังนี้

                เครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (ชุดสีกากี)  มี  2  ประเภท

                                1. เครื่องแบบสีกากีคอพับ (แขนยาว / แขนสั้น)                 

                                2. เครื่องแบบสีกากีคอแบะ

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 1 : ตัวอย่างเครื่องแบบกากีคอพับ  (แขนยาว / แขนสั้น)

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 2 : ตัวอย่างเครื่องแบบกากีคอแบะ

 ความรู้เกี่ยวกับเครื่องแบบพิธีการ  (ชุดขาวข้าราชการ)

                เครื่องแบบพิธีการมี  5  ประเภท

1.       เครื่องแบบปกติขาว

2.       เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง

3.       เครื่องแบบครึ่งยศ

4.       เครื่องแบบเต็มยศ

5.       เครื่องแบบสโมสร

                ในที่นี้พูดถึงเฉพาะเครื่องแบบที่พบเห็นกันบ่อยๆ  มีดังนี้

1. เครื่องแบบปกติขาว  (กางเกงขาว + เสื้อขาว)  ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้าย

ชาย  ให้ใช้เสื้อแบบราชการสีขาว  ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง  ติดเครื่องหมายแสดงประเภทที่อกเสื้อด้านขวา  ให้ดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่  5  ดุม  ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชฯที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้าย

หญิง  ให้ใช้เสื้อนอกคอแบะสีขาวแบบคอแหลมหรือคอป้าน  แขนยาวถึงข้อมือ  มีตะเข็บหลัง  4  ตะเข็บ  ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง  ติดเครื่องหมายแสดงประเภทที่อกเสื้อด้านขวา  ที่แนวสาบอกมีกระดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  1.5  เซนติเมตร  3  ดุมสำหรับแบบเสื้อคอแหลม  และดุม  5   ดุมสำหรับแบบเสื้อคอป้าน  มีกระเป่าล่างข้างละ  1  กระเป๋า  เป็นกระเป๋าเจาะเฉียงเล็กน้อยไม่มีใบกระเป๋า  และให้ใช้เสื้อคอพับแขนยาวผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อกะลาสี  ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบ  เครื่องราชฯที่อกเสื้อด้านซ้าย

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 3 : ตัวอย่างเครื่องแบบปกติขาว

2.     เครื่องแบบเครื่องยศ  หรือปกติขาวครึ่งยศ  (กางเกงดำ + เสื้อขาว)  เครื่องราชฯลักษณะ  และส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบปกติขาว  เว้นแต่กางเกงหรือกระโปรง  ให้ใช้ผ้าสักหลาดหรือเสิร์จสีดำประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 4 : ตัวอย่างเครื่องแบบครึ่งยศ

3.     เครื่องแบบเต็มยศ  (กางเกงดำ + เสื้อขาว)  เครื่องราชอิสริยาภรณ์  สายสะพาย  (ถ้ามี)

นิยมแต่งในวันที่  5  ธันวามหาราช  ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบครึ่งยศ  สวมสายสะพาย

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 5 : ตัวอย่างเครื่องแบบเต็มยศ

การประดับเครื่องหมายข้าราชการส่วนท้องถิ่น

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 6 : ภาพรวมการแต่งกายข้าราชการส่วนท้องถิ่น

จากภาพตามโมเดลข้างบนนี้  เป็นภาพรวมการแต่งกายข้าราชการส่วนท้องถิ่น  หรือการประดับเครื่องหมายข้าราชการ  สำหรับข้าราชการใหม่ทุกท่านอาจจะได้มองเห็นการแต่งกายที่ถูกต้องตามกฎกระทรวงฉบับที่  11 (พ.ศ. 2542)  ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น  พ.ศ. 2509  ซึ่งโมเดลเป็นตัวอย่างเครื่องแบบข้าราชการกระทรวงมหาดไทย  ซึ่งในแต่ละกระทรวงจะมีวามแตกต่างกันในส่วนของเครื่องหมายแสดงสังกัดนั่นเอง  สามารถอธิบายตามโมเดลได้ดังนี้

1.             เสื้อ (ชาย-หญิง)  เสื้อสีกากีคอพับแขนยาวมีกระเป๋าหน้าอกข้างละ  1  กระเป๋ามีแถบอยู่ตรงกลางตามแนวดิ่งใบปกกระเป๋ารูปมน  ชายกลางแหลมตัวเสื้อผ่าอกตลอด  ติดกระดุมตามแนวอกเสื้อ  6  เม็ด  (รวมกระดุมคอเม็ดบนสุด)  ไม่มีจีบด้านหลัง

2.             กางเกง  และกระโปรง

2.1      กางเกงสีกากี  ขายาว  ขาตรง  ไม่มีลวดลาย  ไม่พับปลายขา  กระเป๋าข้างตรง  มีซิปด้านหน้าหรือด้านข้าง  มีจีบหน้า  หรือไม่มีก็ได้

2.2      กระโปรงสีกากี  ยาวปิดเข่า  ปลายบานเล็กน้อยห้ามปลายบานเป็นสุ่ม  หรือตัดปลายยาวครึ่งน่อง  มีตะเข็บหน้า  2  ตะเข็บ  ตะเข็บหลัง  2  ตะเข็บ  หรือไม่มีก็ได้  แต่ห้ามจีบรอบ

                                หมายเหตุ : การแต่งกายชุดสีกากี  เป็นการแต่งกายของข้าราชการตามระเบียบสำนักนายก  รัฐมนตรีเป็นระเบียบคนละฉบับ  ชุดปกติขาวไม่ใช่ข้าราชการก็แต่งได้

3 .     ป้ายชื่อ

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 7 : ป้ายชื่อสีดำ

ป้ายชื่อพื้นที่ดำ  แสดงชื่อตัวเอง  ไม่มีคำนำหน้า  ชื่อสกุล  และชื่อตำแหน่ง  ไม่มีสัญลักษณ์และขอบขาว  ติดที่หน้าอกเสื้อเหนือกระเป๋าด้านขวาประมาณ  0.5  เซนติเมตร

4.      เข็มขัด  ทำด้วยโลหะสีทอง  เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าทางนอนกว้าง  3.5  เซนติเมตร  ยาว  5  เซนติเมตร  มีครุฑอยู่ตรงกลางหัวเข็มขัด  ขณะคาดเข็มขัดห้ามคาดเข็มขัดปล่อยชายยาว  ปลายเข็มขัดควรโผล่เฉพาะที่หุ้มด้วยโลหะเท่านั้น  หรือไม่ก็สอดซ่อนปลายไว้

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 8 : เข็มขัด

5.      เครื่องหมายแสดงสังกัด  จะมีความแตกต่างกันในแต่ละกระทรวงในส่วนของกระทรวงมหาดไทย  จะมีลักษณะทำด้วยโลหะโปร่งสีทอง  เป็นรูปตราราชสีห์  (ห้ามเคลือบพลาสติก)  ติดบริเวณคอเสื้อทั้งสองข้างหันเข้าหากันติดกลางปกเสื้อ

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 9 : เครื่องหมายแสดงสังกัด

6.      รองเท้า 

ชาย : เป็นรองเท้าหุ้มส้น  หรือหุ้มข้อ  ทำด้วยหนังหรือวัสดุเทียมหนังสีดำ  หรือสีน้ำตาล  ไม่มีลวดลาย  ถุงเท้าสีเดียวกับรองเท้า

หญิง : เป็นรองเท้าหุ้มส้นปิดปลายเท้า  หรือรัดส้นปิดปลายเท้า  ทำด้วยหนังหรือวัสดุเทียมหนังสีดำ  หรือสีน้ำตาล  ไม่มีลวดลาย  ส้นสูงไม่เกิน  10  เซนติเมตร  ถุงเท้ายาวสีเนื้อ

ความรู้เกี่ยวกับแพรแถบเหรียญที่ระลึก  (แพรแถบสี)

                หลายคนคงเคยสงสัยเวลาที่เห็นเครื่องแบบราชการพลเรือน  หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่นบริเวณอกด้านซ้ายจะมีแถบสีลักษณะต่างกันออกไป  แถบสีนั้นเรียกว่า  แพรแถบย่อ”  ซึ่งจะกี่ชั้น  ชั้นละกี่เหรียญก็ตามแต่  ซึ่งโดยทั่วไปจะมีชั้นละ  3  เหรียญ  แพรแถบทำด้วยผ้าแพรแถบ  ไม่มีพลาสติกหุ้มติดที่หน้าอกเหนือกระเป๋าด้านซ้ายประมาณ  0.5  เซนติเมตร  ในตอนต้นนี้จะกล่าวถึงแพนแถบย่อเหรียญที่ระลึกก่อนเพราะถือเป็นแพรแถบขั้นต้นที่สามารถปรับระดับได้  เหรียญที่ระลึกเนื่องในวโรกาสต่างๆ  จะใช้ประดับชุดปกติขาวในงานพิธีการหรือชุดปฏิบัติงาน  (ชุดกากี)

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 10 : แพรแถบสี

อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ของข้าราชการส่วนท้องถิ่น

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 11 : อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ระดับซี 1

ระดับซี  1  เครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (ชุดกากี)  2  แถบเล็ก  อย่างบาง  แถบบนขมวด

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 12 : อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ระดับซี 2

ระดับซี  2  เครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (ชุดกากี)  1  แถบเล็ก  แถบบนขมวด

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 13 : อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ระดับซี 3-4

ระดับซี  3-4  เครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (ชุดกากี) 2  แถบเล็ก  แถบบนขมวด

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 14 : อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ระดับซี 5-6

ระดับซี  5-6  เครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (ชุดกากี)  3  แถบเล็ก  แถบบนขมวด

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 15 : อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ระดับซี 7-8

ระดับซี  7  -8  เครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (ชุดกากี)  1  แถบใหญ่  แถบบนขมวด

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 16 : อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ระดับซี 9ขึ้นไป

ระดับซี  9ขึ้นไป  เครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (ชุดกากี)  1  แถบใหญ่  แถบบนขมวด  เพิ่มครุฑพ่าห์

อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ของลูกจ้างประจำ

                                ลูกจ้างประจำผู้ที่มีอัตราค่าจ้างเท่ากับเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการ  ระดับ  1  :  เครื่องแบบปฏิบัติการ  (ชุดกากี)  2  แถบเล็กอย่างบาง  กว้าง  5  มิลลิเมตร  แถบบนขมวดกลมไม่ตวัดปลาย

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 17 : อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ของลูกจ้างประจำ ระดับซี 1-2

                                ลูกจ้างประจำที่มีอัตราค่าจ้างเท่ากับเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการระดับ  2  เครื่องแบบปฏิบัติการราชการ  (ชุดกากี)  1  แถบ  กว้าง 1  เซนติเมตรอย่างอ่อน  แถบบนขมวดไม่ตวัดปลาย

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 18 : อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ของลูกจ้างประจำ ระดับซี 3-4

                                ลูกจ้างประจำที่มีอัตราค่าจ้างเท่ากับเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการ  ระดับ  3 และ  4 เครื่องแบบปฏิบัติการ (ชุดกากี)  2แถบเล็กอย่างอ่อน  แถบบนขมวดกลมไม่ตวัดปลาย

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 19 : อินทรธนูเครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (สีกากี)  ของลูกจ้างประจำ ระดับซี 5-6

                                ลูกจ้างประจำผู้ที่มีอัตราค่าจ้างเท่ากับเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการ  ระดับ  5 และ 6 เครื่องแบบปฏิบัติราชการ  (ชุดกากี)  3แถบเล็กอย่างอ่อน  แถบบนขมวดกลมไม่ตวัดปลาย

อินทรธนูของเครื่องแบบพิธีการ  (ชุดปกติขาว)

                                เครื่องแบบพิธีการของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอินทรธนูแข็งกว้าง  4  เซนติเมตร  ตามความยาวของบ่า  พื้นสักหลาดสีดำ  ติดทับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอด้านคอปลายมนติดกระดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนดเล็ก  อินทรธนูมีลายดังนี้

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 20 : อินทรธนูของเครื่องแบบพิธีการ (ชุดปกติขาว) ตำแหน่งระดับ 1

พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ตำแหน่งระดับ  1  มีแถบสีทองกว้าง  5  มิลลิเมตร  เป็นขอบพื้นสำดำล้วนไม่มีช่อชัยพฤกษ์

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 21 : อินทรธนูของเครื่องแบบพิธีการ (ชุดปกติขาว) ตำแหน่งระดับ 2

                                พนักงานองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น  ตำแหน่งระดับ  2  มีแถบสีทองกว้าง  1  เซนติเมตร  เป็นขอบและปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก  1  ดอกไม่เกิน  1  ใน  4  ส่วนของอินทรธนู

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 22 : อินทรธนูของเครื่องแบบพิธีการ (ชุดปกติขาว) ตำแหน่งระดับ 3-4

                                พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ตำแหน่งระดับ  3  และระดับ  4  มีแถบสีทองกว้าง  1  เซนติเมตร  เป็นขอบและปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก 2 ดอก  เรียงตามส่วนยาวของอินทรธนูไม่เกินครึ่งหนึ่งของอินทรธนู

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

                ภาพที่ 23 : อินทรธนูของเครื่องแบบพิธีการ (ชุดปกติขาว) ตำแหน่งระดับ 5-6

                                พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งระดับ  5  และระดับ  6  มีแถบสีทองกว้าง  1  เซนติเมตร  เป็นขอบและปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก  3  ดอก เรียงตามส่วนยาวของอินทรธนูไม่เกิน  3 ใน 4 ส่วนของอินทรธนู

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 24 : อินทรธนูของเครื่องแบบพิธีการ (ชุดปกติขาว) ตำแหน่งระดับ 7-8

                                พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ตำแหน่งระดับ  7  และระดับ  8  มีแถบสีทองกว้าง  5  เซนติเมตรเป็นขอบและปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์ยาวตลอดส่วนกลางของอินทรธนู

ระเบียบการใส่ชุดปกติขาว 2564

ภาพที่ 25 : อินทรธนูของเครื่องแบบพิธีการ (ชุดปกติขาว) ตำแหน่งระดับ 9ขึ้นไป

                                พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ตำแหน่งระดับ  9  ขึ้นไป  มีลักษณะเหมือนช่อชัยพฤกษ์  ระดับ  7-8  แต่เพิ่มเส้นฐานขึ้นมา  1  เส้น

ท่านสามารถเลือกซื้อสินค้าคุณภาพดี ราคาถูก ได้ที่ร้านน้ำใจไทยเครื่องหมาย

http://www.namjaithaikuangmai.com/

ติดต่อสอบถาม 086-0536039

line: @namjaithai (มี@ด้วยนะครับ)

ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก www.google.co.th